ยาที่ใช้รักษาตกขาวและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์


Bacterial  Vaginosis (BV)

เป็น clinical syndrome  เกิดจากการที่มี  bacteria  อื่น ๆ มาแทนที่   lactobacillus spp.  ซึ่งพบเป็นปกติใน  vagina  อยู่แล้ว เช่น  Bacteroides  spp.,  Mobiluncus  spp. ,  G. vaginalis  และ   Mycoplasma hominis  เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องตกขาว หรือภาวะกลิ่นเหม็น อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มี   clinical criteria  ของ BV  ครบ จะไม่มีอาการใดๆ  เลย   การเปลี่ยนแปลงของ  bacteria  นี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนัก  ถึงแม้ว่า  BV  จะสัมพันธ์กับ  sexual activity  และมักไม่พบในคนที่ไม่มี   sexually active  แต่ก็ไม่ถือว่าเป็น  STD  และการรักษา    male  partner  ก็ไม่พบว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดซ้ำ

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย  (Clinical  criteria)    

จะต้องมีอย่างน้อย    3  เกณฑ์การวินิจฉัย

  1. Homogeneous  , thin, white discharge เคลือบบางๆที่ผนังช่องคลอด
  2. การพบ  clue cell  จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  3. vaginal pH  >  4.5
  4. positive amine odor  เมื่อผสมกับ 10% KOH  (  whiff test  )

ใน  wet  mount  preparetion  จะมี  WBC  น้อย     ถ้ามี  WBC  มากให้นึกถึง  การติดเชื้ออื่นๆ  เช่น  TV หรือ  GC  ร่วมด้วย

การรักษา   

หลักการ  คือการบรรเทาอาการ   ดังนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

Recommended Regimens

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Metronidazole gel, 0.75%, one full applicator (5 g) intravaginally, once a day for 5 days หรือ

Clindamycin cream, 2%, one full applicator (5 g) intravaginally at bedtime for 7 days

Alternative Regimens

Clindamycin 300 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Clindamycin ovules 100 mg intravaginally once at bedtime for 3 days

 

แนะนำให้ผู้ป่วยงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของalcohol ระหว่างที่รับประทานยา metronidazole  และหลังจากหยุดยา  24  ชั่วโมง  เนื่องจากทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก

ไม่พบหลักฐานในมนุษย์ว่าmetronidazole  มีฤทธิ์  mutagenicity  แต่อย่างไรก็ตามมักแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ oral form ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

พบว่า  BV สัมพันธ์กับการเกิด  PROM  , preterm  labour ในหญิงตั้งครรภ์

การ  follow  up  ไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการแล้ว  แต่การ  recurrent  พบได้บ่อย   ให้การรักษาซ้ำแบบเดิม  หรืออาจใช้  alternative treatment  ไม่มี  long-term  maintenance  regimen

ไม่แนะนำให้รักษา sex partner


 

Trichomoniasis

เกิดจากเชื้อ  Trichomonas  vaginalis  ในผู้ชายส่วนมากไม่มีอาการ  แต่จะเป็นผู้นำเชื้อ ในผู้หญิงจะเป็นแหล่งของเชื้อ     อาการแสดงคือ  ตกขาวสีเหลืองเขียว  มีฟอง มีกลิ่นเหม็น และมีการอักเสบบวมแดง และคันของปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด  ปากมดลูกอาจมีลักษณะบวมแดงคล้ายผิวสตรอเบอรี่   แต่พบได้น้อย  อย่างไรก็ตามตากขาวเป็นฟอง (frothy)  นี้ไม่จำเพาะต่อเชื้อ  TV  เท่านั้น  อาจพบในช่องคลอดอักเสบอื่นๆ ได้ด้วย  บางรายมีปัสสาวะแสบขัด    ลักษณะของเชื้อ คล้ายลูกแพร์  เคลื่อนไหวแบบกระตุก  มีหนวด  4  เส้น  ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย  ถ้าตายรูปร่างคล้ายเม็ดเลือดขาว   ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การรักษา

Recommended Regimens

Metronidazole 2 g orally in a single dose หรือ

Tinidazole 2 g orally in a single dose

Alternative Regimen

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 7 days

 

แนะนำให้ผู้ป่วยงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของalcohol ระหว่างที่รับประทานยา และหลังจากหยุดยา  24  ชั่วโมง สำหรับ metronidazole และ 72 ชม สำหรับยา tinidazole  เนื่องจากทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก

ควรรักษา  sexual  partners  ด้วย เนื่องจากจะช่วยลดอาการ และการแพร่กระจายเชื้อ และแนะนำให้งดเพศสัมพันธ์จนกว่าไม่มีอาการแล้วทั้งคู่

การ  follow  up  ไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการแต่ถ้า  treatment failure  ควรรักษาซ้ำด้วย  metronidazole  500  mg orally x2 x 7  days  และถ้ายังไม่หายใช้  metronidazole 2 gm orally  นาน 5 วัน

หลีกเลี่ยงการใช้  metronidazole  ในช่วงตั้งครรภ์  แต่หลังจาก  first  trimester  อาจใช้  2  gm  metronidazole  single dose  ได้

การรักษา trichomoniasis ด้วยยาเหน็บอย่างเดียวจะไม่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่นอกช่องคลอดได้  เช่น  urethra ,  skene’s glands,  Bartholin’s  glands  ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดซ้ำ


 

Vulvovaginal Candidiasis

ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Candida albican  หรืออาจจะจาก spp. อื่น เช่น  C. glabata , C tropicalis  อาการที่เฉพาะคือ อาการตกขาวคัน แต่อาจมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น  vaginal soreness, vulvar burning, dyspareunia และ external dysuria ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัย

มักจะอาศัยจากประวัติ ตกขาวคัน ร่วมกับตรวจพบ  erythema  บริเวณ vagina   ตกขาวมีลักษณะ curd’s like discharge จาก wet smear หรือ 10 % KOH preparation พบ  pseudohyphae หรือ yeast cell การที่พบ yeast cell ในช่องคลอดอย่างเดียวโดยไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษา  เนื่องจากอาจพบได้ใน 10-20 % ของช่องคลอดปกติ

การรักษา

Intravaginal Agents:

Butoconazole 2% cream 5 g intravaginally for 3 days* หรือ

Butoconazole 2% cream 5 g (Butaconazole1-sustained release), single intravaginal application หรือ

Clotrimazole 1% cream 5 g intravaginally for 7–14 days* หรือ

Clotrimazole 100 mg vaginal tablet for 7 days หรือ

Clotrimazole 100 mg vaginal tablet, two tablets for 3 days หรือ

Miconazole 2% cream 5 g intravaginally for 7 days* หรือ

Miconazole 100 mg vaginal suppository, one suppository for 7 days* หรือ

Miconazole 200 mg vaginal suppository, one suppository for 3 days* หรือ

Miconazole 1,200 mg vaginal suppository, one suppository for 1 day* หรือ

Nystatin 100,000-unit vaginal tablet, one tablet for 14 days หรือ

Tioconazole 6.5% ointment 5 g intravaginally in a single application* หรือ

Terconazole 0.4% cream 5 g intravaginally for 7 days หรือ

Terconazole 0.8% cream 5 g intravaginally for 3 days หรือ

Terconazole 80 mg vaginal suppository, one suppository for 3 days

Oral Agent:

Fluconazole 150 mg oral tablet, one tablet in single

ในกรณีที่มีอาการอยู่หลังการรักษาครบควรมาพบแพทย์  และถ้าเกิดบ่อยมากกว่า 4  ครั้ง ใน 1 ปี ควรหาสาเหตุของการเกิดซ้ำบ่อยๆ ด้วยเช่น เบาหวานการได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน  immunocompromised host สุขอนามัยส่วนตัว อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่พบโรคประจำตัว แนะนำให้เพาะเชื้อดู เพราะมีประมาณร้อยละ 10-20 ที่ไม่ใช่เชื้อ c.albicans สำหรับการรักษาแนะนำให้ใช้ยานานขึ้น เช่นสอดยานาน 7-14 วัน หรือให้ยารับประทาน fluconazole 100,150 หรือ 200 mg ทุก 3 วัน จำนวน 3 doses และให้ maintenance dose ทุกสัปดาห์นาน 6 เดือน หรือใช้เป็นยาเหน็บ ด้วย

clotrimazole 200 mg สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือ clotrimazole 500-mg เหน็บสัปดาห์ละครั้ง

สำหรับการรักษา  sex partner  พบว่าไม่ป้องกันการเกิดซ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม ในpartner ที่มีอาการของ  balanitis  หรือ penile dermatitis ควรรักษาด้วย  topical agent


 

Pelvic Inflammatory Disease (PID)

อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย  ได้แก่  ปวดท้อง  กดเจ็บบริเวณปีกมดลูก  ไข้  อาจร่วมกับหนาวสั่น  ปัสสาวะแสบ  มีการอักเสบของท่อปัสสาวะ  มี discharge  เป็นหนองมีกลิ่นเหม็นจากช่องคลอด  ตรวจพบก้อนที่ปีกมดลูก  WBC  และ  ESR  สูงขึ้น            อาการที่พบบ่อยที่สุดของ  acute  PID  คือ  ปวดท้องน้อย  ซึ่งพบได้ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย

  • ร้อยละ 75  ของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อใน  endocervix  และมีตกขาวคล้ายหนองจากช่องคลอด
  • ใน  acute PID  อาการคลื่นไส้  อาเจียน มักเป็นอาการที่เกิดตอนหลังๆ  ต่างจาก  acute  appendicitis  ซึ่งมักมีอาการทางลำไส้ นำมาก่อน
  • Fitz – Hugh -Curtis  syndrome  หรือการอักเสบรอบๆตับ ที่เกิดจาก  acute PID  ทั่วไป พบได้ร้อยละ  5-10  ของโรคนี้  แต่การรักษาก็เหมือน  acute  PID   ทั่วไป
  • ประมาณ  1 ใน  3  ของผู้ป่วย มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • น้อยกว่าร้อยละ 50  ของผู้ป่วย มีจำนวน  WBC   มากกว่า 10,000  cells/cu.mm.

การวินิจฉัย

อาศัยลักษณะทางคลินิก และการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน  เช่น  การย้อมกรัมของ  discharge  ที่ปากมดลูก  โดยทั่วไปยอมรับกันว่า  การตรวจทางกล้อง   laparoscope  เป็นมาตรฐานของการวินิจฉัย  (gold  standard)  การวินิจฉัยทางคลินิกของ PID  ถูกต้องเพียงร้อยละ  65-70  เนื่องจากมีลักษณะทางคลินิกที่ไม่ค่อยจำเพาะ  มีรายงานพบว่า  ร้อยละ 12  ที่ให้การวินิจฉัย  PID  แต่เมื่อตรวจด้วย  laparoscope  พบมีพยาธิสภาพอย่างอื่น  และร้อยละ 23  พบว่าอวัยวะในเชิงกรานปกติ   ผู้ป่วยบางรายอาจมีการอักเสบอยู่เฉพาะภายในเยื่อบุท่อนำไข่ หรือภายในเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้การส่อง  laparoscope  เห็นว่าปกติก็ได้    นอกจากนี้การทำ  laparoscope  ทุกรายย่อมไม่สะดวกในทางปฏิบัติ  ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง  และความชำนาญ ดังนั้น  CDC   (Center for disease control)   จึงได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก  ของ  PID  ดังนี้

Minimum Criteria :   เกณฑ์ขั้นต่ำ

  • Lower abdominal tenderness  กดเจ็บโดยตรงที่ท้องน้อย
  • Adnexal  tenderness  กดเจ็บบริเวณปีกมดลูก
  • Cervical  motion tenderness  โยกปากมดลูกเจ็บ

ควรให้การรักษาแบบ  empirical  treatment  ในกรณีที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยครบ 3  ข้อ โดยยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยหรือหาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นไปได้

Additional  Criteria :  เกณฑ์เสริมการวินิจฉัย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกมากควรจะต้องมีการประเมินทางคลินิกอื่นๆ อีกเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยผิดพลาดและการรักษาที่ไม่จำเป็น  เกณฑ์การวินิจฉัยที่เพิ่มเติมนี้ก็เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย

  • Oral  temperature  >  38.3  c
  • Abnormal cervical or vaginal mucopurulent discharge
  • ตรวจพบปริมาณเม็ดเลือดขาวจำนวนมากจาก vaginal discharge smear
  • ESR  เพิ่มขี้น
  • C – reactive protein  เพิ่มขึ้น
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบการติดเชื้อหนองใน (N. gonorrhoeae) หรือ  คลามิเดีย  (C. trachomatis)

Elaborate Criteria: เกณฑ์ละเอียดปลีกย่อย

  • หลักฐานทางพยาธิวิทยาของเยื่อบุโพรงมดลูกพบการอักเสบ
  • ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเทคนิคทางรังสีอื่นๆ   เห็น  TOA
  • ลักษณะทาง  laparoscope  เข้าได้กับ  PID

การวินิจฉัย  PID    จะต้องมีเกณฑ์ขั้นต่ำครบทุกข้อ  และมีเกณฑ์วินิจฉัยอื่นๆ  ไม่ต่ำกว่า 1 ข้อ ขึ้นไป

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

พิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

  • Basic lab :  CBC,  Urinalysis
  • Beta – hCG  จาก  serum หรือ  urine  กรณีที่ต้องการแยกจากครรภ์นอกมดลูก
  • culdocentesis  ได้หนอง ย้อมกรัมพบแบคทีเรียและ WBC   การเพาะเชื้ออาจช่วยในการเลือกยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันลดความจำเป็นลงมาก
  • Ultrasound  ช่วยในการแยกโรคอื่นที่สงสัยร่วมด้วย  หรือแยกกันยาก เช่น ครรภ์นอกมดลูก หรือในกรณีที่ไม่สามารถได้ข้อมูลจากการตรวจภายใน เนื่องจากผู้ป่วยเกร็งหน้าท้องทำให้ตรวจได้ยากลำบาก
  • laparoscopy   มักทำในรายที่ไม่แน่ใจในการวินิจฉัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เพื่อแยกภาวะที่ต้องผ่าตัด

การวินิจฉัยแยกโรค

  • Ectopic pregnancy
  • Ruptured ovarian cyst
  • Acute appendicitis
  • Endometriosis
  • Inflammatory bowel disease
  • Myoma with degeneration
  • Abortion (  threatened , septic )
  • Diverticulitis

การรักษา

แนะนำให้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลในกรณีต่อไปนี้คือ

  • Uncertained diagnosis  ถ้ายังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน หรือไม่สามารถแยกภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่ต้องผ่าตัดได้  เช่น ectopic  pregnancy  หรือ acute appendicitis
  • สงสัยภาวะ  pelvic abscess หรือ  TOA
  • ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยรุ่น ( adolescent )  เนื่องจาก  compliance ในการรักษาอาจจะไม่ดี ทำให้การรักษาไม่ครบ
  • ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส  HIV  เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมี   leukopenia  หรือ  leukocytosis  น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV  และมีแนวโน้มที่จะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด  ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แบบผู้ป่วยใน
  • ผู้ป่วยมีอาการมาก  ไข้สูงมากกว่า  38  C  คลื่นไส้ อาเจียนมากจนไม่สามารถรับประทานยาได้
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหรือทนต่อการรักษาในขนานยาแบบผู้ป่วยนอกได้
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบผู้ป่วยนอกใน 24  ชั่วโมง  เช่น มีไข้  ปวดท้อง
  • ไม่แน่ใจในการติดตามผลการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้  หรือ ไม่สามารถกลับมา  follow up  ภายหลังการรักษา  72   ชั่วโมง

หลักการรักษา

1.  ให้การรักษาประคับประคอง และตามอาการ  ได้แก่

  • จัดผู้ป่วยนอนในท่า  Fowler’s position
  • ให้ยาแก้ปวด
  • ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการที่มีไข้   หรือในกรณีที่อาเจียนมาก  ทานอาหารไม่ได้  และบางกรณีอาจต้องให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารทางปาก  เพื่อสังเกตอาการของโรคอื่นที่อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

2. ให้ยาปฏิชีวนะ

ควรให้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ  และได้ผลต่อ  N. gonorrhoeae,  C. trachomatis ,   Gram negative facultative bacteria , anerobe และ  streptococci   โดยไม่ต้องรอผลเพาะเชื้อเพราะใช้เวลานาน   อย่างไรก็ดีการพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ   ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย   การยอมรับของผู้ป่วย  และ  susceptibility   ต่อเชื้อด้วย    ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาในแง่ของภาวะแทรกซ้อนระยะยาว  เช่น   การมีบุตรยากจากท่อนำไข่ตีบตัน   การตั้งครรภ์นอกมดลูก

Center for Disease Control ( 2006 )  ได้แนะนำแนวทางการรักษา  PID  ดังนี้คือ

Recommended Parenteral Regimen A

Cefotetan 2 g IV every 12 hours

หรือ

Cefoxitin 2 g IV every 6 hours

PLUS

Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

Regimen นี้ให้ไปอย่างน้อย  48  ชั่วโมง จนกว่าลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น  เช่น ไข้ลดลง    direct or rebound tenderness  ลดลง  ตรวจภายใน   cervical motion,  uterus, adnexal tenderness  ลดลง    และหลังจากที่จำหน่ายผู้ป่วยแล้วให้รับประทาน  Doxycycline  ต่อในขนาด 100 mg วันละ  2  ครั้ง จนได้ครบ  course  รวมทั้งหมด  14  วัน

Recommmended Parenteral Regimen B

Clindamycin 900 mg IV every 8 hours

PLUS

Gentamicin loading dose IV or IM (2 mg/kg of body weight), followed by a maintenance dose (1.5 mg/kg) every 8 hours. Single daily dosing may be substituted.

ให้ regimen นี้ไปอย่างน้อย 48  ชั่วโมง จนกว่าลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น   และหลังจากที่จำหน่ายผู้ป่วยแล้วให้รับประทาน  Doxycycline  ต่อในขนาด 100 mg วันละ  2  ครั้ง จนได้ครบ  course  รวมทั้งหมด  14  วัน

หรืออาจพิจารณาเลือกให้รับประทาน  clindamycin  ขนาด  450 mg วันละ 4  ครั้ง  จนครบ  course  14  วัน

กรณีที่เป็น  TOA  หลายท่านแนะนำให้เลือก  Clindamycin  มากกว่า  Doxycline  เนื่องจากครอบคลุม  anaerobes   ได้ดีกว่า   แต่มีการศึกษาที่แนะนำ  alternative  regimen  ที่แนะนำคือ  Ampicillin / salbactam  ร่วมกับ  Doxycycline ก็ได้ผลดีใน  TOA

  • Clindamycin  เมื่อให้  IV  พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา  C. trachomatis   แต่สำหรับใน  oral form ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัด
  • ถ้าใส่ห่วงอนามัยอยู่  ควรเอาออกหลังเริ่มยาปฏิชีวนะไปแล้ว  24-48  ชั่วโมง  ควรตรวจประเมินผู้ป่วยซ้ำภายใน  2-3 วัน  และเมื่อครบ 7  วัน และ 21  วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายจากโรค
  • อย่างไรก็ดี ทั้ง  regimen A และ B  ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยทุกรายเสมอไป

Alternative Parenteral Regimens

มีข้อมูลที่จำกัด แต่อย่างน้อยมีการศึกษาอยู่ 1 รายงานว่าได้ผล

Levofloxacin 500 mg IV once daily* WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg IV every 8 hours หรือ

Ofloxacin 400 mg IV every 12 hours*  WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg IV every 8 hours หรือ

Ampicillin/Sulbactam 3 g IV every 6 hours PLUS

Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

Recommended Regimen A

Levofloxacin 500 mg orally once daily for 14 days* หรือ

Ofloxacin 400 mg orally twice daily for 14 days* WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

Regimen B

Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days หรือ

Cefoxitin 2 g IM in a single dose and Probenecid,  1 g orally administered concurrently in a single dose PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days หรือ

Other parenteral third-generation cephalosporin (e.g., ceftizoxime or cefotaxime) PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days

WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

3.  การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดโดยทั่วไปมักจะตัดมดลูกออกพร้อมรังไข่ทั้งสองข้าง  แต่ก็สามารถเก็บมดลูกและรังไข่อีกข้างไว้ได้ในกรณีที่เป็น TOA ข้างเดียวและในรายที่ยังต้องการมีบุตรต่อไปในอนาคต  อย่างไรก็ดีต้องพิจารณาตามพยาธิสภาพและความรุนแรงในผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป  โดยสรุปแนะนำให้ผ่าตัดในรายต่อไปนี้  คือ

  • มีการแตกของก้อนหนอง (  TOA )  เกิดขึ้น  ซึ่งในกรณีนี้ถ้ารักษาด้วยยาอย่างเดียว จะมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90  แต่ถ้าทำผ่าตัดเอามดลูก   ก้อนหนอง  และปีกมดลูกออกทั้งสองข้าง  พบว่าสามารถลดอัตราตายได้  7  เท่า
  • รายที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้แน่นอน และแยกภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม  เช่น  acute appendicitis  ไม่ได้  ก็อาจจำเป็นต้องทำผ่าตัด  ดีกว่าวินิจฉัยผิดและไส้ติ่งแตก
  • ในรายที่สามารถทำการ   drainage  ก้อนหนองผ่านทางช่องคลอดได้  ( colpotomy )
  • ในรายที่มีการอุดตันของลำไส้  เนื่องจากส่วนของลำไส้ไปติดกับก้อนหนอง
  • Failure medical treatment   เช่น  กรณี  TOA  ให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว 48-72  ชั่วโมง อาการยังไม่ดีขึ้น  มีไข้สูง และปวดท้องมากอยู่  ก้อนโตขึ้น
  • สำหรับ  chronic  PID  ควรทำผ่าตัดเมื่อ  มีอาการปวดแบบ  persistent  หรือปวดรุนแรงมากขึ้น  มีการอักเสบซ้ำบ่อยๆ  ทำให้นอนในโรงพยาบาลหลายครั้ง  ก้อนหนองมีขนาดโตขึ้น  มี  dyspareunia  จากการอักเสบเรื้อรังของอุ้งเชิงกราน  มีการกดหลอดไตทั้งสองข้าง จาก  pelvic  cellulitis
  • งดร่วมเพศจนกว่ามา  follow up  หลังการรักษาแล้วปกติ

4.  ควรตามคู่นอนของผู้ป่วยมาตรวจด้วย  บางท่านแนะนำให้รักษาฝ่ายชายไปเลย  ด้วยยาที่สามารถคลุมเชิ้อ  N. gonorrhoeae,  C. trachomatis  ทั้งนี้เพื่อป้องกันอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ  เพราะร้อยละ 40  ของคู่นอนจะสามารถแยกเชื้อได้โดยไม่มีอาการ

5.  ควร   screening  โรคอื่นๆ ด้วย เช่น  ซิฟิลิส      ( VDRL ) ,  เอดส์ (  Anti HIV ) ,  HBsAg

6. แนะนำการตั้งครรภ์ต่อไปให้รีบมาฝากครรภ์  หรือรีบมาตรวจทันทีที่สงสัยว่าตั้งครรภ์  เพื่อแยกภาวะครรภ์นอกมดลูก  โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

 


 Gonorrhea

สาเหตุเกิดจากเชื้อ  Neisseria  gonorrhea  การวินิจฉัย อาศัยประวัติการสัมผัสโรค อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยและการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ  ได้แก่

Gram stain : ควรเก็บตัวอย่างจากในท่อปัสสาวะและ ใน endocervical canal  อย่างไรก็ตาม อาจตรวจไม่พบเชื้อได้ถึง  30-50 %

Culture :  โดยใช้ Thayer-Martin media ให้ใช้ไม้พันสำลีหมุนป้ายออกมาจาก endocervix 2 ครั้งติดกัน

การรักษา

ยาที่จะใช้รักษาโรคหนองในควรจะได้ผลทั้งชนิด PPNG ( Penicillinase – Producing Neisseria Gonorrhea ) และ Non PPNG  มีประสิทธิภาพสูง ได้ผลดี  มีอัตราการหายจากโรคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 เพื่อป้องกันการกระจายโรค  นอกจากนี้ควรจะคำนึงถึง toxicity ของยา  ความร่วมมือของผู้ป่วย ซึ่งควรใช้การรักษาที่สั้นที่สุด คือ ยาใช้เพียงครั้งเดียว

ยารักษาโรคหนองใน CDC ( 2006 )

ประเภทที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Recommended Regimens*

Ceftriaxone 125 mg IM in a single dose หรือ

Cefixime 400 mg orally in a single dose หรือ

Ciprofloxacin 500 mg orally in a single dose* หรือ

Ofloxacin 400 mg orally in a single dose* หรือ

Levofloxacin 250 mg orally in a single dose* PLUS

TREATMENT FOR CHLAMYDIA IF CHLAMYDIAL INFECTION IS NOT RULED OUT

Alternative Regimens

Spectinomycin 2 g in a single IM dose หรือ

Single-dose cephalosporin regimens หรือ

Single-dose quinolone regimens

  • สำหรับสตรีตั้งครรภ์ เลือกขนาดข้างต้นชนิด  cephalosporin หรือ spectinomycin  2 gm IM Single dose ( โดยเฉพาะรายที่แพ้  penicillin )
  • ไม่ว่าจะเป็นขนานใดที่กล่าวมาควรตามด้วยการรับประทาน  Doxycycline 100 mg  วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 7 วัน เพื่อรักษา  Chlamydia ซึ่งพบร่วมด้วยบ่อย
  • ผู้ที่สัมผัสโรคที่ควรได้รับการประเมินและรักษาคือ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 30 วันของการมีอาการ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใน  60 วันของการวินิจฉัย  เนื่องจากผู้ที่สัมผัสโรคมีโอกาสติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 78 จึงควรได้รับการตรวจเชื้อ ถ้าตรวจไม่พบเชื้อในการตรวจครั้งแรก และไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยจะมาติดตามผล  อาจพิจารณาให้การรักษาไปเลย เป็นการรักษาทางระบาดวิทยา
  • ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • ควรทำการประเมินผลการรักษาโดยการเพาะเชื้อจากตำแหน่งที่เกิดโรค ภายใน 5-7 วันหลังสิ้นสุดการรักษา

 


 

Chlamydial Infection

Chlamydia  เชื่อว่าเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช มีบทบาทในภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ  ปากมดลูกอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ   หนองในเทียม : Nongonococcal urethritis-NGU  เป็นคำที่ใช้เรียกในผู้ชายที่มีอาการปวดแสบปัสสาวะและมีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ แต่ตรวจไม่พบเชื้อหนองในจากการย้อมและการเพาะเชื้อ  พบแต่เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ในผู้หญิงจะใช้คำว่า nonspecific genital infection : NSGI

อาการและอาการแสดง   

โดยทั่วไปจะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยตรวจภายในอาจพบปากมดลูกบวมแดง มีมูกปนหนองออกมา ( mucopurulent cervicitis )  บางรายมี urethritis และ proctitis ร่วมด้วย

Gram stain specimen จาก endocervix จะพบเม็ดเลือดขาวชนิด PMN มากกว่า 10 เซลล์ต่อกำลังขยาย 1,000 เท่า  โดยไม่พบเชื้ออื่น เช่นเชื้อหนองใน เชื้อเริม หรือ Trichomonas  ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยหนองในเทียมในผู้หญิง

แนวทางการรักษา  (CDC  2006)

Recommended Regimens

Azithromycin 1 g orally in a single dose หรือ

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 7 days

Alternative Regimens

Erythromycin base 500 mg orally four times a day for 7 days หรือ

Erythromycin ethylsuccinate  800 mg orally four times a day for 7 days หรือ

Ofloxacin 300 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Levofloxacin 500 mg orally once daily for 7 days

  • ควรงดเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • ควรรักษา sexual partner ด้วย
  • ถ้าผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้องจะได้ผลสูงมาก อัตราหายมากกว่าร้อยละ 95 ถ้าไม่หายอาจเกิดจากมี  Trichomonas vaginalis หรือ anaerobic infection อื่นๆร่วมด้วย

 


 

Genital Herpes

สาเหตุของโรคเกิดได้ทั้งจาก HSV type 1 และ type 2 อย่างไรก็ตามลักษณะทางคลินิกไม่แตกต่างกัน ภายหลังจากการที่มีการติดเชื้อแล้วร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสให้หมดไปได้ เชื้อไวรัสสามารถแฝงตัวอยู่ที่  nerve ganglion ได้ จึงทำให้เกิดโรคซ้ำอยู่ได้เรื่อยๆ  และบางส่วนไม่มีอาการแสดง

อาการและอาการแสดง   

ผู้ที่เริ่มเป็นครั้งแรก( primary ) มักมี  constitutional symptoms  ร่วมด้วย คือ มีไข้  ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลียมาก อาการดังกล่าวจะเป็นมากใน 3-4 วันแรก และค่อยๆ หายไปภายใน 3-4 วัน  มีการอักเสบที่ช่องคลอด ปากมดลูก และท่อปัสสาวะรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก  ถ่ายปัสสาวะลำบาก บริเวณที่อักเสบจะมีตุ่มน้ำเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย และจะแตกออกภายใน24-48 ชั่วโมง เห็นเป็นรอยถลอกมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม อวัยวะเพศบวมแดง และมีตกขาวได้ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมแผลจะค่อยๆ ตกสะเก็ดและหายไปโดยไม่เกิดแผลเป็นในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

ผู้ป่วย 2 ใน 3 จะเกิดโรคซ้ำได้อีก แต่ความรุนแรงของอาการจะน้อยลง

การวินิจฉัย       

อาศัยอาการและอาการแสดงทางคลินิก เป็นตุ่มน้ำใส อยู่กันเป็นกลุ่มๆ เมื่อทำ Tzanck test  โดยทำให้ตุ่มน้ำใสแตก แล้วขูดบริเวณก้นแผลป้ายบน slide แล้วย้อมด้วย wright’s stain หรือ Giemsa stain เพื่อดู  multinucleated giant cell ซึ่งให้ผลบวกร้อยละ 70-85  หรือย้อม pap smear จากก้นแผลพบ multinucleated  giant cell และ eosinophillic intranuclear inclusion bodies  ให้ผลบวกเพียงร้อยละ 50-60  มีผลบวกเทียมจากการติดเชื้อไวรัสอื่นและมีผลลบเทียมได้

การรักษา 

ไม่มีการรักษาให้หายขาด  acyclovir มีประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลาของการมีแผลเริมและลดเวลาของการแยกเชื้อไวรัสจากแผล

สำหรับรายที่มีลักษณะทางคลินิกครั้งแรก

Recommended Regimens*

Acyclovir 400 mg orally three times a day for 7–10 days หรือ

Acyclovir 200 mg orally five times a day for 7–10 days หรือ

Famciclovir 250 mg orally three times a day for 7–10 days หรือ

Valacyclovir 1 g orally twice a day for 7–10 days

* สามารถยืดการรักษาออกไปได้ถ้าแผลไม่หายดี

การให้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

(Suppressive Therapy for Recurrent Genital Herpes)

Recommended Regimens

Acyclovir 400 mg orally twice a day หรือ

Famiciclovir 250 mg orally twice a day หรือ

Valacyclovir 500 mg orally once a day หรือ

Valacyclovir 1.0 g orally once a day

การดูแลรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

  1. Topical treatment ใช้ 0.9 % NSS  หรือ Zinc sulphate solution 0.25-1 % ล้างแผลวันละ 2-3 ครั้งให้สะอาด  อาจใช้น้ำเย็นประคบแผลหรือนั่งแช่ sitz bath ด้วยน้ำอุ่นสะอาด บางคนชอบ   cold saline sitz bath
  2. ให้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวด
  3. ถ้ามีอาการปัสสาวะลำบากใช้  xylocaine jelly ทา ถ้าจำเป็นอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ถ้าปัสสาวะไม่ออก
  4. ถ้ามี secondary bacterial infection  ให้ยาปฏิชีวนะรักษา
    • งดมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีรอยโรค เพื่อลดการแพร่กระจายโรคไปยังผู้อื่น
    • เน้นให้เช็คมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
    • ถ้าตั้งครรภ์ควรแจ้งให้สูติแพทย์ทราบเมื่อมาฝากครรภ์เพื่อที่จะวางแผนการดูแลรักษาต่อไปในระยะใกล้คลอด

 


 

Chancroid

แผลริมอ่อน  เกิดจากเชื้อ  Hemophilus decreyi  ในประเทศไทยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 รองจากหนองในเทียมและหนองในและพบบ่อยที่สุดในกลุ่มของแผลที่อวัยวะเพศ  โดยแผลส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปากช่องคลอด fourchette, labia, vestibule, clitoris ,รอบๆ urethra อาจลามไปถึงรอบ anus, vagina และ cervix ได้ อาจทำให้ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เจ็บเวลาร่วมเพศหรือมีตกขาว แผลจะเริ่มด้วย macule หรือ papule หลังจากนี้ 1-2 วัน จะกลายเป็น papule แล้วแตกออกเป็นแผลซึ่งมีลักษณะนุ่ม ขอบไม่แข็ง มีขอบเขตชัดเจน แต่ขอบแผลกะรุ่งกะริ่ง  แผลตื้นประมาณ 1-2 มม. มีสีแดงรอบๆแผล  ที่พื้นแผลมีเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ปนหนองขูดแล้วมีเลือดออก    อาจพบ  bubo ได้ที่ขาหนีบร้อยละ 30-50 ซึ่งส่วนใหญ่จะยุบเองไม่แตกออก   แต่ถ้าแตกออกจะทำให้เกิด  auto-inoculation และต่อมาเป็นแผลเป็น

การวินิจฉัย

ต้องแยกจากและซิฟิลิส ซึ่งขอบแข็งไม่เจ็บ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องเพาะเชื้อจากแผลหรือหนองที่ bubo ย้อม gram stain จากแผลจะเห็น gram negative bacillus มีลักษณะเป็นสายคล้ายฝูงปลา( school of fish ) แต่เห็นได้ยากเนื่องจากมี bacteria หลายชนิดปะปนกัน

การรักษา

  • ใช้ NSS  ทำความสะอาดแผล
  • ถ้า  bubo ขนาดใหญ่ควรใช้เข็มขนาดใหญ่เบอร์ 18 ดูดหนองออก โดยดูดจากผิวหนังที่ปกติ ห้ามใช้มีดกรีดเพราะจะเกิดแผลใหญ่ รักษายาก

แนวทางการรักษา  ( CDC  2006 )

Recommended Regimens*

Azithromycin 1 g orally in a single dose หรือ

Ceftriaxone 250 mg intramuscularly (IM) in a single dose หรือ

Ciprofloxacin 500 mg orally twice a day for 3 days หรือ

Erythromycin base 500 mg orally three times a day for 7 days

*Ciprofloxacin  ห้ามให้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 10 วัน ก่อนผู้ป่วยมีอาการควรได้รับการตรวจและรักษาด้วย ไม่ว่าจะมีแผลหรือไม่ เนื่องจากบางคนมีเชื้อแต่ไม่มีอาการ

 


 

หูดหงอนไก่ (Condyloma Accuminata)

เกิดจากเชื้อ  Human  papilloma  virus ( HPV) ซึ่งมีหลาย  subtype  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทุกส่วนของอวัยวะเพศที่มีเยื่อบุ squamous epithelium

การวินิจฉัย    

อาศัยลักษณะทางคลินิกของโรคและยืนยันโดยผลตรวจทางพยาธิวิทยา ต้องแยกจากแผลมะเร็ง แผลซิฟิลิส และแผลที่อวัยวะเพศอื่นๆ

แนวทางการรักษา  ( CDC  2006 )

Recommended Regimens for External Genital Warts

ผู้ป่วยใช้เอง

Podofilox 0.5% solution หรือ gel

ใช้ได้กับแผลที่มีขนาดพื้นที่โดยรวมไม่เกิน 10 ตารางซม. และปริมาณยาที่ใช้ทั้งหมดไม่เกิน 0.5 ml ต่อวันให้ผู้ป่วยทาบริเวณ โดยใช้ไม้พันสำลีขนาดเล็กจุ่มน้ำยา หรือถ้าเป็นชนิดเจล ให้ใช้นิ้วทา บริเวณแผลหูดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วหยุดยา 4 วัน นับเน 1 รอบ  ถ้า lesion ยังมีอยู่ จึงทาซ้ำอีก 1 รอบ  สามารถทำซ้ำแบบนี้ได้ 4 รอบ

หรือ

Imiquimod 5% cream.

ให้ผู้ป่วยทา  imiquimod cream วันละครั้งก่อนนอน โดยทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทาติดต่อกันได้นาน 16 สัปดาห์ ต้องล้างบริเวณที่ทาด้วยน้ำสบู่หลังจากทายาแล้ว 6-10 ชม.

แพทย์เป็นผู้รักษา (Provider-Administered)

Cryotherapy with liquid nitrogen หรรือ cryoprobe สามารถทำซ้ำได้ทุก 1-2 สัปดาห์

หรือ

Podophyllin resin 10%–25% ผสมกับ tincture of benzoin.

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยที่ lesion แล้วปล่อยให้แห้ง ทำซ้ำได้ทุกสัปดาห์ และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการดูดซึมยา ควรทาครั้งหนึ่งไม่เกิน 0.5 ml และทาเป็นบริเวณกว้างไม่เกิน 10 ตารางซม. บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผลเปิด และควรล้างออกหลังจากทาไปนาน 1-4 ชม. เพื่อเป็นการลดความระคายเคือง อาจใช้วาสลินทาบริเวณรอบๆ lesion ก่อนทายาเพื่อไม่ให้ยาไหลไประคายเคองบริเวณเนื้อโดยรอบ

หรือ

Trichloroacetic acid (TCA) or Bichloroacetic acid (BCA) 80%–90%.

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก

หรือ

Surgical removal

โดยใช้วิธี excision , curettage หรือจี้ไฟฟ้าตัดแต่  ห้ามใช้ในผู้ที่ใส่  cardiac pacemaker และห้ามใช้ใกล้ปากทวารหนัก

Alternative Regimens

Intralesional interferon หรือ

Laser surgery

Recommended Regimens for Cervical Warts

ควรส่งตรวจ colposcopy เพื่อตรวจละเอียดว่าไม่มี high grade squamous intraepithelial lesion ซ่อนอยู่

Recommended Regimens for Vaginal Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

TCA or BCA 80%–90%

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก

Recommended Regimens for Urethral Meatus Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

Podophyllin 10%–25% in compound tincture of benzoin.

บริเวณที่ทาต้องแห้งก่อน ทาซ้ำได้สัปดาห์ ละครั้ง

Recommended Regimens for Anal Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

TCA or BCA 80%–90% ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก หรือ

Surgical removal โดยผู้เชี่ยวชาญ

หญิงตั้งครรภ์ ถ้าพบหูดที่ช่องคลอดหรือปากมดลูก ให้คลอดได้ทางช่องคลอดถ้าไม่มี  obstructed labour จากหูดที่ใหญ่มากหรือ มี  obstetric indication  ทารกที่คลอดทางช่องคลอด อาจจะเกิด  laryngeal papilloma ได้