หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา เวชศาสตร์ชุมชน

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา เวชศาสตร์ชุมชน

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Community Medicine (International Program)

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เวชศาสตร์ชุมชน)

ชื่อย่อ ปร.ด. (เวชศาสตร์ชุมชน)

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Doctor of Philosophy (Community Medicine)

ชื่อย่อ Ph.D. (Community Medicine)

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

หลักสูตร แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

หลักสูตร แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตร แบบ 1.1

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

หลักสูตร แบบ 1.2

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 5 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 7 ปีการศึกษา

 

ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย

ปรัชญาของหลักสูตร

เวชศาสตร์ชุมชน เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค และการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพในชุมชน เพื่อนำไปสู่การป้องกันและควบคุม หรือแก้ไขก่อนที่โรคหรือปัญหาสุขภาพจะลุกลามหรือแพร่ระบาด ซึ่งถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรค และสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านเวชศาสตร์ชุมชน ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1) มีคุณธรรม และจริยธรรมของผู้ให้บริการสุขภาพ โดยคำนึงถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ และชุมชนเป็นศูนย์กลาง

2) มีความสามารถในการทำวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ ของการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพในชุมชน และการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ

3) สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หรือปัญหาสุขภาพในชุมชน ไปสู่การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตร แบบ 1.1

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีค่าลำดับขั้นสะสมตลอดหลักสูตรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 และวิทยานิพนธ์ปริญญาโทมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ เวชศาสตร์ชุมชน และเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานทางวิชาการหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ปี และ/หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชา เวชศาสตร์ชุมชน

 

หลักสูตร แบบ 1.2

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ ที่มีค่าลำดับขั้นสะสมตลอดหลักสูตรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.0 และเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานทางวิชาการหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ปี และ/หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน

2. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ ที่มีค่าลำดับขั้นสะสมตลอดหลักสูตรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 และเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานทางวิชาการ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ปี และ/หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน

 

หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

จำนวนหน่วยกิต

หลักสูตรแบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

หลักสูตรแบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

 

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรแบบ 1.1 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

ก. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

332898 พว.ป. 898 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย

1) นักศึกษาต้องจัดสัมมนาและการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษา และต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา

2) นักศึกษาต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือเข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อระบาดวิทยา สถิติทางการแพทย์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชนตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาเวชศาสตร์ชุมชนกำหนด

3) นักศึกษาต้องเข้าร่วมประชุมวิชาการที่มีการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชนที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนกำหนด อย่างน้อย 1 ครั้ง ตลอดหลักสูตร และจะต้องทำรายงานสรุปเนื้อหาการประชุมเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน

4) นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ชุมชนด้วยวาจา หรือนำเสนอด้วยโปสเตอร์ต่อที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีรายงานการประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบผลงาน ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง ตลอดหลักสูตร

5) นักศึกษาต้องตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง

6) นักศึกษาต้องรายงานความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

7) นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา

หลักสูตรแบบ 1.2 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

ก. วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

332897 พว.ป. 897 วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย

1) นักศึกษาต้องจัดสัมมนาและการนำเสนอผลงานในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ภาคการศึกษา และต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา

2) นักศึกษาต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือเข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อระบาดวิทยา สถิติทางการแพทย์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชนตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาเวชศาสตร์ชุมชนกำหนด

3) นักศึกษาต้องเข้าร่วมประชุมวิชาการที่มีการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชนที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนกำหนดอย่างน้อย 2 ครั้ง ตลอดหลักสูตร และจะต้องทำรายงานสรุปเนื้อหาการประชุมเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน

4) นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ชุมชนด้วยวาจา หรือนำเสนอด้วยโปสเตอร์ต่อที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีรายงานการประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบผลงาน ไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง ตลอดหลักสูตร

5) นักศึกษาต้องตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง

6) นักศึกษาต้องรายงานความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร บัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

7) นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา