ตารางกำหนดการประชุม staff

กำหนดการประชุมอาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปี 2554

เดือน

ประชุมภาควิชาฯ

ประชุมคณะฯ

มกราคม

31 / ม.ค. /54

 

วัน อังคาร ที่ 25 มกราคม 2554

กุมภาพันธ์

 

21 / ก.พ. / 54 (ตัดเกรดปี 5)

 

23 / ก.พ. / 54 (ตัดเกรดปี 6)

 วัน พฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์  2554

มีนาคม

 

2 / มี.ค. / 54 (ตัดเกรดปี 4)

21 / มี.ค. / 54

วัน พฤหัสบดี ที่  3 มีนาคม 2554

วัน พุธ ที่ 9 มีนาคม 2554

เมษายน

25 / เม.ย. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 21 เมษายน  2554

พฤษภาคม

23 / พ.ค. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม 2554

มิถุนายน

27 / มิ.ย. / 54

 

 วัน พฤหัสบดี ที่ 16 มิถุนายน  2554

กรกฎาคม

25 / ก.ค. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม 2554

สิงหาคม

22 / ส.ค. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 18 สิงหาคม  2554

กันยายน

26 / ก.ย. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน  2554

ตุลาคม

31 / ต.ค. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 20 ตุลาคม  2554

พฤศจิกายน

28 / พ.ย. / 54

 

วัน พฤหัสบดี ที่ 17 พฤศจิกายน 2554

ธันวาคม

26 / ธ.ค. / 54

 

วัน  พฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม  2554

 

Read More

รายงานการประชุมอาจารย์ประจำกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน 24 พย 53

รายงานการประชุมอาจารย์ประจำกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลา 15.30-16.30 น.

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. ศ. นพ. ธีระ ทองสง (ประธาน)
  2. ศ. นพ. จตุพล ศรีสมบูรณ์
  3. รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  4. พญ. อุบล แสงอนันต์
  5. พญ เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  6. ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  7. นพ. ชำนาญ เกียรติพีรกุล

 

วาระการประชุม

1. หลักสูตรและการสอบของแพทย์ประจำบ้าน

เนื่องจากขณะนี้ครบระยะเวลา 5 ปี นับจากการร่างหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงของแพทย์ประจำบ้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจากข้อสรุปของที่ประชุมมีความเห็นดังนี้

  • ลดระยะเวลาการเรียนทั้งหมดจาก 3 ปี เหลือเพียง 2 ปี ตามนโยบายของคณะแพทย์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จำนวนหน่วยกิตจากเดิม 42 หน่วย และลดลงเหลือ 36 หน่วย ล่าสุดจะปรับลดลงเหลือเพียง 24 หน่วยกิต โดยจะตัดชั่วโมง IS (independent study) ออก และอาจพิจารณาตัดบางรายวิชาที่ไม่จำเป็นออกด้วย โดยอาจารย์อุบลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาในเบื้องต้น และส่งให้อาจารย์ประจำกลุ่มแพทย์ประจำบ้านรับรองอีกครั้งหนึ่ง
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้รับรองหลักสูตร) : เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการผลิตสูตินรีแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป้าหมายหลักคือการให้บริการต่อประชาชนในภูมิภาคเหนือ ดังนั้นจึงพิจารณาให้ผู้ทรงคุณวฺฒิ 3 ท่านซึ่งปฏิบัติงานในภาคเหนือ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ นพ. พิษณุ ขันติพงษ์, นพ. สุธิต คุณประดิษฐ์ และ นพ. เล็ก นพดลรัตน์กุล
  • การสอบวัดผลของแพทย์ประจำบ้าน ปกติจัดสอบ 2 ครั้งต่อปี และประเมินผลรวมทั้งตัดเกรดโดยการรับรองของหัวหน้าภาควิชาสูติ-นรีเวชวิทยา และได้มีการส่งอีเมล์เวียนอาจารย์ทุกท่านในภาควิชาขอความร่วมมือส่งข้อสอบ (พร้อม reference) ท่านละจำนวน 25 ข้อต่อปี ซึ่งที่ผ่านมายังได้ข้อสอบไม่ครบถ้วนและยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นจึงคิดว่าจะมีการขอความร่วมมืออาจารย์ทุกท่านในภาควิชาในการออกข้อสอบอีกครั้ง โดยมีการส่งอีเมล์แจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ เช่น ทยอยขอทุก 3 เดือน เป็นต้น และจะมีการเก็บข้อมูลว่ามีอาจารย์ท่านใดได้ทำการส่งข้อสอบมาแล้วบ้าง รวมถึงอาจารย์จตุพลเสนอว่าอาจส่งตัวอย่างข้อสอบเก่า หรือ file ของ reference ที่จำเป็น เช่น William Obstetrics หรือ Novak Gynecology แนบไปกับอีเมล์ที่แจ้งขอข้อสอบด้วย เพื่อความสะดวกแก่อาจารย์ผู้ออกข้อสอบ

 

2. การจัดงานคืนสู่เหย้าสูติศาสตร์เชียงใหม่

  • ผู้รับผิดชอบหลักคือ กลุ่มอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้าน
  • วันจัดงานคือ วันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ 1-2 ธันวาคม 2554, สถานที่ ยังไม่แน่ชัด แต่คาดว่าจะเป็นที่โรงแรม
  • โครงงานโดยรวมคือ มีส่วนของประชุมวิชาการ โดยเน้น Clinical practice guideline ของแต่ละหน่วย เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับสูตินรีแพทย์ทั่วไป ซึ่งในส่วนนี้สามารถเชิญแพทย์ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมได้ และส่วนของงานช่วงเย็นและกลางคืนจะเป็นงานเลี้ยงคืนสู่เหย้า ซึ่งเชิญสูตินรีแพทย์ที่เคยได้รับการฝึกอบรมจากเชียงใหม่ทุกคนมาร่วมงาน (ซึ่งประมาณคร่าวๆอาจมีศิษย์เก่าทั้งหมดราวๆ 300+ คนที่ได้รับการเชิญ)
  • คาดว่าน่าจะมีการแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ชุด คือ จัดการเรื่องประชุมวิชาการ และ จัดการเรื่องงานเลี้ยงช่วงเย็น
  • คิดว่าน่าจะมีการจัดทำหนังสือทำเนียบรุ่นร่วมด้วย (ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องขอรูปของศิษย์เก่าทุกคนด้วย)
  • ในเบื้องต้นได้มอบหมายให้ อาจารย์เฟื่องลดา เป็นผู้รับผิดชอบในการหาที่อยู่และอีเมล์ของศิษย์เก่าสูติเชียงใหม่ทั้งหมด  และอาจารย์จตุพลจะรับผิดชอบในการติดต่อกับทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์เพื่อหารายชื่อสูติแพทย์ทั้งหมดเพื่อนำมาคัดเลือกเฉพาะผู้ที่จบจากเชียงใหม่อีกครั้ง
  • การประชาสัมพันธ์งาน โดยคร่าวๆน่าจะผ่านทางโปสเตอร์, e-mail, วารสารสูตินรีแพทย์สัมพันธ์, งานประชุมราชวิทยาลัยกลางปี เป็นต้น ซึ่งถ้าได้รายละเอียดเพิ่มเติม จะมีการนัดประชุมเป็นระยะๆต่อไป

3.   จริยธรรมของแพทย์ประจำบ้าน

ในปัจจุบันสังเกตว่าจริยธรรมของแพทย์ประจำบ้านค่อนข้างน้อยลงเรื่อยๆตามรุ่นและเวลาที่ผ่านไป เช่น เรื่องความรับผิดชอบในการเข้า activity และ conference ต่างๆ ซึ่งล่าสุด อาจารย์ธีระ ได้มีวิธีการในการเสริมสร้างจริยธรรมผ่านทางสื่อ IT โดยจัดทำเป็น website ของภาควิชา โดยผู้ดูแล web board คือ อาจารย์ธีระ อาจารย์โอภาส อาจารย์สุชยา และ คุณรุ่งอรุณ เป็นผู้ร่วมดูแลด้วย ซึ่งเนื้อหาใน website นี้มีทั้งส่วนวิชาการที่เป็น lecture หรือข้อคิดดี ๆ ข้อแนะนำ หรือ article ต่างๆของอาจารย์ทุกท่านให้ภาค และมีส่วนของ webboard ซึ่งจะรณรงค์ให้อาจารย์ทุกท่านเข้าไปแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งสอดแทรกข้อคิดดีๆให้กับแพทย์ประจำบ้านเป็นระยะ ซึ่งจะถือว่าวิธีนี้จะเป็นอีกยุทธวิธีหนึ่งในการส่งเสริมและสอนด้านจริยธรรม โดยตัวชี้วัดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ อาจดูจากอัตราการเข้า conference ของแพทย์ประจำบ้านเพิ่มมากขึ้น (ซึ่งทุกวันนี้อาจารย์อุบลได้มีบันทึกอยู่เป็นประจำแล้วว่า แพทย์ประจำบ้านแต่ละคนมาร่วม Activity กี่ครั้ง และถ้าไม่ถึง 50% จะมีการเรียกมาพบเป็นการส่วนตัวกับอาจารย์ประจำกลุ่ม resident  ต่อไป)

 

อ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

Read More

ผลคัดเลือกแพทย์ใช้ทุน 2554


บันทึกข้อความ


 ส่วนราชการ   ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์     โทร. 5552-5


ที่   ศธ 6393(8).21/                                 วันที่    


เรื่อง   ขอแจ้งผลการคัดเลือกแพทย์ใช้ทุน ประจำปีการศึกษา  2554



 


 เรียน    คณบดี


 


            ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์     ขอแจ้งผลการคัดเลือกแพทย์ผู้ทำสัญญาฯเพื่อปฏิบัติงานในภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปีการศึกษา  2554 ดังรายชื่อเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้


 


1. นายพิชญ์  จันทร์ดียิ่ง


2. นส. ศิรินาถ  ศิริเลิศ


3. นส. ศศิวิมล  ศรีสุโข


4. นายธนัท  จิรโชติชื่นทวีชัย


5. นส.ศศิวรรณ  สุทัสน์มาลี        (สำรอง)


 


 


(รศ.นพ.ชเนนทร์  วนาภิรักษ์)


หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา


 


 


 


 


 

Read More

Contact Us

ติดต่อภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

Read More

Welcome

ยินดีต้อนรับสู่

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

Read More

ขอจัดตั้งรายการครุภัณฑ์ประจำปี 2555

เรียน  อาจารย์ทุกท่าน

 
เนื่องด้วยทางคณะฯ  ได้มีหนังสือขอให้ทางภาควิชาฯ  เสนอขอจัดตั้งซื้องบประมาณครุภัณฑ์ประจำปี  2555  จากงบประมาณดังต่อไปนี้
                                        
 1.  งบประมาณแผ่นดิน                    (ขอจัดตั้งได้ไม่จำกัดวงเงิน)
2.  งบรายได้หน่วยกิต                     จำนวนงบที่ได้รับ   48,000  บาท
3.  งบเร่งรัดการผลิตแพทย์เพิ่ม         จำนวนงบที่ได้รับ   338,000  บาท 
 
อาจารย์ท่านใดต้องการเสนอขอครุภัณฑ์จากงบดังกล่าว  กรุณาส่งรายละเอียดของครุภัณฑ์  ได้แก่ ใบเสนอราคา และสเปคของครุภํณฑ์ที่จะขอได้ที่คุณรัตติยา  ก่อนวันที่  22  พย. 53
                                                                                                                              
                                                                                                                              รัตติยา
Read More

สัมนาภาค 2553

 รายงานการสัมมนาภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

28 -29  สิงหาคม  2553

ณ Natural Wellness Resort & Spa อ. สันทราย จ. เชียงใหม่

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

           

                1.  คณาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา                         

                2.  เจ้าหน้าที่และพยาบาลภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา    

                3.  แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา                                                 

 

การสัมมนาในวันที่  28  สิงหาคม  2553 

                อ. ชเนนทร์  กล่าวเปิดงานต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม  พร้อมนำเสนอ  เกี่ยวกับเรื่อง   การจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ  (TQA  :  Organizational Excellence Model)  ดังรายละเอียดที่แนบ

 

การสัมมนาช่วงบ่าย เวลา 13.30 น.

                เป็นการแนะนำตัวของเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายของภาควิชาฯ

1.  ห้องตรวจหน่วยวางแผนครอบครัว    

                คุณสุปราณี  น้อยอ่ำ  กล่าวแนะนำตัวและแนะนำบุคลากรของห้องตรวจหน่วยวางแผนครอบครัว   ซึ่งมีพยาบาลรวมทั้งหมด  3  คน  ผู้ช่วยพยาบาล  4  คน  และเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยวิจัยอีก 1 คน (จ้างด้วยเงินวิจัย)  โดยให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนแนะนำตำแหน่งและหน้าที่การทำงานของแต่ละคน มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง 

 

2.  ห้องสำนักงานภาควิชาฯ(ด้านการศึกษา)

                อ.โอภาส  เชิญเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและนักศึกษาแพทย์ของภาควิชาฯ  คือ คุณสุรพร, คุณสุพาณี, และคุณอังสนา  มาแนะนำตัวและให้แต่ละคนพูดถึงหน้าที่การทำงานในความรับผิดชอบของแต่ละคน   ซึ่งปัญหาที่ต้องการจะขอความร่วมมือจากอาจารย์คือ 

                1.  ขอให้อาจารย์ช่วยส่งรายงานของนักศึกษาแพทย์ที่ส่งให้ตรวจขอความกรุณาส่งคืนตาม                     เวลาที่กำหนดด้วย

                2.   ขอความร่วมมืออาจารย์ช่วยสอนกระบวนวิชา  Introduction  to Clinical Medicine

                3.   ขอให้ช่วยแจ้งนักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาในการเรียนให้คุณอังสนาทราบด้วย  เพื่อเก็บ        เป็นข้อมูลไว้ที่ภาควิชาฯ และจะได้ช่วยเหลือนักศึกษาได้ทันการ 

                4.   ขออาจารย์ช่วยส่งข้อสอบเพื่อเก็บไว้ในคลังข้อสอบตามเวลาด้วย

 

หัวข้อที่อาจารย์ในภาควิชาฯต้องการให้ปรับปรุงคือ 

  1. ขอให้ระมัดระวังเรื่องการตรวจเช็คทำคะแนนเกรดของนักศึกษาแพทย์อย่าให้มีการผิดพลาดอีก
  2. กระบวนการทำงาน เช่น การรวมคะแนนและเช็คคะแนนนักศึกษาแพทย์  ขอให้ลดขั้นตอนระยะเวลาลง จากที่ต้องตรวจเช็คกัน 3 คน ให้ลดลงเหลือแค่ 2 คน และขอให้มีความถูกต้องและแม่นยำให้มากยิ่งขึ้น

ห้องปฏิบัติการภาควิชาฯ 

คุณวราภรณ์  ภิรมย์เลิศอมร  แนะนำเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ คือ คุณสุดารัตน์ สามฉิมโฉมซึ่งทำงานด้วยกัน 2 คน  ปกติจะมี 3 คน ตอนนี้ได้ลาออกไป 1 คน จึงเหลือคนทำงานห้องปฏิบัติการอยู่เพียง 2 คน เป็นข้าราชการ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราวรับเงินเดือนจากเงินกองทุนมีบุตรยากของภาควิชาฯ  อีก 2 คน (ขณะนี้ลาออกไปแล้ว 1 คน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีคนเข้าออกบ่อยที่สุด  เพราะความไม่มั่นคงและแน่นอนของเงินเดือน ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้คือ  ถูกห้องตรวจ OPD 3  ต่อว่าเรื่องผลเลือดที่ส่งมาตรวจทำไมผลเลือดถึงได้ช้า  ซึ่งขั้นตอนที่ช้าเพราะทางห้องเจาะเลือดส่งเลือดมาให้ตรวจช้า  ผลเลือดจึงออกไม่ทันตามกำหนด ประกอบกับห้องปฏิบัติการมีเจ้าหน้าที่เพียง 2 คน  ต้องมีงานของภาวะการมีบุตรยาก เช่น การเก็บไข่ ซึ่งต้องใช้เวลา และไม่ทราบเวลาที่จะต้องทำแน่นอน

 

หัวข้อที่อาจารย์ในภาควิชาฯต้องการให้ปรับปรุงคือ

  1. ขอให้ตรวจสอบดูว่า มี Lab  ตัวไหนที่ทำซ้ำซ้อนกับ  Lab กลางของคณะฯ(จะได้ขอโอนให้ Lab กลางของคณะฯทำ)
  2.  อ. ชเนนทร์กำลังดำเนินการขอเปลี่ยนเงินค่าจ้างเงินเดือนของลูกจ้างชั่วคราวทั้ง 2 คนให้เปลี่ยนไปเป็นรับเงินเดือนของคณะฯแทน

 

พยาบาลห้องวิจัย

คุณวราภรณ์  จันทรวงศ์  กล่าวแนะนำพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ประจำอยู่ห้องวิจัย มีจำนวนพยาบาลทั้งหมด  8  คน  และผู้ปฏิบัติงานพยาบาล 1 คน พนักงานธุรการ 1 คน รวมเป็น 10 คน โดยให้แต่ละคนแนะนำตำแหน่งและหน้าที่การทำงานของแต่ละคน มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง   

 

หัวข้อที่อาจารย์ในภาควิชาฯต้องการให้ปรับปรุงคือ

  1. พยาบาลแต่ละคนควรมีผลงานวิจัยเป็นของตัวเองอย่างน้อย 1 เรื่อง
  2. อยากให้พยาบาลแต่ละคนเวียนกันทำงานในแต่ละหน่วย  เผื่อมีใครลาจะได้มีคนทำงานแทนกันได้

 

ห้องสำนักงานภาควิชาฯ (ด้านธุรการทั่วไป)

คุณรัตติยา  นำทีมเจ้าหน้าที่ห้องภาควิชาฯ  มีทั้งหมด  6 คน โดยให้แต่ละคนแนะนำตำแหน่งและหน้าที่การทำงานของแต่ละคน มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง   

 

หัวข้อที่อาจารย์ในภาควิชาฯต้องการให้ปรับปรุงคือ

                1.   กระบวนการงานด้านธุรการ  หากมีผู้ใดลาหรือไม่อยู่   จะต้องมีผู้ทำงานแทนได้

                2.   การจะเสนอหนังสือให้หัวหน้าภาคฯเซ็นต์  ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องประสานงาน, เรื่องใหม่เรื่องที่อาจารย์พิจารณาว่าสำคัญ ควรแจ้งรายละเอียดที่มาที่ไปของเรื่องก่อนเสนอเซ็นต์ เพื่อจะทำให้เรื่องดำเนินไปเร็วขึ้น

 

การสัมมนาในวันที่  29  สิงหาคม  2553 

            อ. ชเนนทร์  เชิญตัวแทนสาย ข และ ค แต่ละกลุ่มขึ้นไปนำเสนอผลการพิจารณาแบบการประเมินการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ  ระดับปฏิบัติการ (ตามแบบฟอร์มของคณะฯ)

 

หน่วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ห้องปฏิบัติการ และห้องตรวจวางแผนครอบครัว

                คุณรุ่งอรุณ  ได้ออกไปนำเสนอผลการพิจารณาแบบการประเมินการปฏิบัติงานของหน่วยดังรายละเอียดคือ

สรุปการยอมรับและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแบบการประเมินการปฏิบัติงาน 

บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับปฏิบัติการ หน่วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ในการประชุมสัมนาภาควิชาฯนอกสถานที่ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2553

 

บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับปฏิบัติการ หน่วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ มีความเห็นยอมรับในการประเมินการปฏิบัติงานตามหัวข้อในแบบประเมินที่ได้รับมา (แบบประเมินจากมหาวิทยาลัย) โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ให้มีการแบ่งน้ำหนักคะแนนของแต่ละหัวข้อให้แตกต่างกัน ในบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำในจุดที่แตกต่างกัน เช่น พยาบาลห้องตรวจผู้ป่วยนอก พยาบาลผู้ช่วยวิจัย และบุคลากรในห้องปฏิบัติการ ดังรายละเอียดข้างล่าง

 

รายการประเมิน

พยาบาล

ห้องตรวจ

พยาบาลช่วยวิจัย

เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการ

ผลการปฏิบัติงาน (คุณภาพ / ความพึงพอใจ)

ร้อยละ

ร้อยละ

ร้อยละ

1. ปริมาณงานที่สำเร็จเปรียบเทียบกับงานที่ได้รับมอบหมาย

15

10

10

 2. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ ขั้นตอนการ  ปฏิบัติงาน

    2.1 ระเบียบ

    2.2 ขั้นตอน

 

5

5

 

5

5

 

5

5

3.  การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ

10

10

10

4.  การพัฒนาและปรับปรุงงาน

10

5

10

5.  ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่

10

10

10

6.  ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

15

10

15

7.  การติดต่อประสานงาน

5

10

5

8.  ความถูกต้องในการทำงาน

15

15

15

9.  การประหยัดทรัพยากร/อุปกรณ์

5

10

10

10. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5

10

5

รวม

100

100

100

รายการประเมิน

พยาบาล

ห้องตรวจ

พยาบาลช่วยวิจัย

เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการ

พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ร้อยละ

ร้อยละ

ร้อยละ

1. ความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา

15

10

15

2. ความมีน้ำใจ/เสียสละ/อุทิศเวลา

15

10

15

3. ความตั้งใจในการทำงาน

10

10

10

4. มนุษยสัมพันธ์

10

10

10

5. การพัฒนาตนเอง

10

10

10

6. การรักษาระเบียบวินัย

10

10

10

7. การทำงานร่วมกับผู้อื่น

15

10

10

8. การร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม

5

10

10

9. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส

5

10

5

10. ความยืดหยุ่นผ่อนปรนในการปฏิบัติงาน

5

10

5

รวม

100

100

100

และนอกจากนี้ยังมีความเห็นคล้ายคลึงกับอีก 2 หน่วยในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ควรมี feed back ให้กับผู้ถูกประเมิน
  2. ควรให้ผู้ถูกประเมินมีการประเมินตนเองด้วย
  3. ควรให้คำจำกัดความ/คำอธิบายในแต่ละหัวข้อการประเมินให้ชัดเจน
  4. ผู้ที่เป็นผู้ประเมินควรมีหลายๆฝ่าย / ระดับ เช่น ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ฯลฯ

 

 

หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ,หน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช, เจ้าหน้าที่ห้องภาควิชาฯ

 

                คุณรัตนาภรณ์ เศขรฤทธิ์ , อ. มนัสวี   มะโนปัญญา , คุณรัตติยา , คุณสุรพร  ได้ออกไปนำเสนอผลการพิจารณาแบบการประเมินการปฏิบัติงานของหน่วย  ซึ่งมีความเห็นคล้ายกันสรุปรายละเอียดได้ดังนี้คือ

        1.  เห็นสมควรมีการประเมินการปฏิบัติงาน

      2. รูปแบบที่ใช้ ใช้แบบประเมินของคณะ แต่ขอปรับปรุงดังนี้

                         2.1  ผลการปฏิบัติงาน

                        ข้อ 2 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงาน  และข้อ 5 ความรู้เกี่ยวกับ                                       งานในหน้าที่  น่าจะนำมารวมกันได้

                              2.2  พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

                                                  ข้อ 4 มนุษยสัมพันธ์  ควรเน้นเรื่องการควบคุมความมั่นคงทางอารมณ์                    –                                                   และ เพิ่มการประเมินเรื่อง การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 ข้อเสนอแนะอื่นๆ

1.  ควรมีอาจารย์หัวหน้าหน่วยทุกหน่วยร่วมเป็นกรรมการพิจารณาการประเมินผลด้วย

2.  ใช้การประเมินแบบ 360 องศา ซึ่งประกอบด้วย

                –  Staff  ทุกคนในหน่วย

                –  Fellow + Resident 3 ที่ผ่านหน่วย

                –  เพื่อนร่วมงาน รวมถึงพยาบาลจากฝ่ายการพยาบาลที่ร่วมงานกัน

3. ควรแจ้งผลการประเมินให้ทราบ เพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเอง

 

แพทย์ประจำบ้าน

          สรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน 

             พญ. ศรุตา , พญ. อินทิรา , พญ. ณัฐนิตา , พญ. รวีวรรณ  เป็นตัวแทนของแพทย์ประจำบ้านออกไปสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน  ดังนี้

  1. เนื่องจากจำนวนแพทย์ประจำบ้านมีน้อย  แต่มีภาระงานด้านบริการผู้ป่วย  การออกตรวจผู้ป่วยที่  OPD  มีจำนวนผู้ป่วยมาก  ทำให้บางครั้งมาเข้า Conference  ไม่ทัน อยากจะให้เลื่อนเวลา  Conference  จากเวลา  13.00 น. เป็นเวลา 12.00 น. และจากเวลา 15.00 น. เป็นเวลา  15.30 น.
  2. รูปแบบความรู้การเข้า Morning Conference มีประโยชน์และดีมาก อยากเชิญชวนให้อาจารย์เข้ากันให้มาก ๆ เพื่อขอความคิดเห็นและความรู้จากอาจารย์
  3. อยากให้เพิ่มกิจกรรมวันไหว้ครู  และงานปีใหม่ขอให้จัดร่วมกับบุคคลากรทุกระดับของภาควิชาฯรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ Ward ต่าง ๆด้วย
  4. อยากให้มีการสรุป  Case Conference เป็นภาษาอังกฤษ  เพื่อเป็นการฝึกภาษา
  5. ปีหน้าจะมีแพทย์ประจำบ้านน้อยลง  ทำให้ภาระงานมีมาก อยากขอให้อาจารย์ช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ให้ด้วย

 

สรุปผลการสัมมนาภาควิชาฯ

          อ. ชเนนทร์กล่าวสรุปผลการสัมมนาภาควิชาฯ

          –  เห็นด้วยกับหลักการและข้อเสนอแนะของแต่ละคน โดยจะนำข้อคิดเห็นต่าง ๆดำเนินการไป

               พิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

             –   อ.ชเนนทร์ แจ้งสรุปรายงานผลประเมินของคณะกรรมการ TQA  มาตรวจเยี่ยมที่ภาควิชาฯ

             –   ขอให้อาจารย์ทุกท่านช่วยอ่านรายงาน TQA ถ้าต้องการจะแก้ไขเพิ่มเติมอะไร ขอให้ส่งข้อมูลให้                     คุณสุรพร เป็นผู้รวบรวมไว้เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

 

เลิกประชุมเวลา 16.00 น                                             

 

(นางสาวรัตติยา  รัตนเดชากร)                                                         (รองศาสตราจารย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์)

      จดรายงานการประชุม                                                       ผู้ตรวจรายงานการประชุม                        

                                                         

Read More

เราคว้าหลายรางวัล RTCOG 2010

การประชุมวิชาการประจำปี 2553 ของราชวิทยาลัย ทีมงานของเชียงใหม่เรา คว้ารางวัลที่น่ายินดีมาเพียบ เช่น อ.จารุวรรณ อ.มนัสวี พ.ญ.อินทิรา พ.ญ.เหมย เป็นต้น รายละเอียดดังนี้

การประกวดรางวัลวิจัยดีเด่นของ RTCOG ด้านมะเร็งนรีเวช

อ.พ.ญ. จารุวรรณ แซ่เต็ง ได้รับรางวัลชนะเลิศ

การประกวดรางวัลเฟลโลว์ (GSK awards)

พ.ญ. ปิยรัตน์ อุดมวรรณ รางวัลชนะเลิศด้านเวชศาสตร์มารดาและทารก

พ.ญ. อุษณีย์ แสนหมี่ รางวัลชนะเลิศด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

น.พ. มนัสวี มะโนปัญญา รางวัลที่สอง ด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา

การประกวดผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้าน ปรากฏว่า

พ.ญ. อินทิรา ศรีประเสริฐ (อุ้ม) คว้ารางวัลที่ 1 ชนะเลิศ

พ.ญ. ศรุตา ช่อไสว (ต้า) คว้ารางวัลชมเชย

 

Read More

อ.มนัสวี มะโนปัญญา

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอแสดงความยินดีและต้อนรับ อ.น.พ. มนัสวี มะโนปัญญา (อาจารย์เอ) เข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ในภาควิชา นับเป็นข่าวดี และน่าภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของทั้งภาควิชา และหน่วย gynecologic oncology

Read More