Cleft Lip / Palate

บทนำ

ปากแหว่ง/เพดานโหว่ เป็นความพิการโดยกำเนิดของใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด คือ 1 ใน 800 ปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่พบ 1 ใน 1,300 และปากแหว่งเดี่ยว ๆ หรือเพดานโหว่เดี่ยว ๆ พบ 1 ใน 2,000 ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ มีไม่ถึงร้อยละ 10 ของภาวะนี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการอื่น ๆ ในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการอื่นนั้นมักจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ multifactorial โอกาสเป็นซ้ำในครรภ์ต่อไปร้อยละ 4 และถ้าบุตรสองคนแรกมีความพิการนี้ คนต่อไปมีโอกาสเป็นร้อยละ 17

กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งพบได้บ่อย

  • พันธุกรรม
  • กลุ่มความผิดปกติหลาย ๆ อย่าง
  • ความผิดปกติของโครโมโซม
  • Trisomy 13
  • Trisomy 18
  • Trisomy 21
  • XXXXY syndrome
  • Translocation อื่น ๆ
  • Triploidy
  • กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม
  • Amniotic band syndrome
  • Holoprosencephaly
  • Encephalocele
  • Median cleft face syndrome
  • Teratoma ของปาก
  • ไม่มีกระโหลก
  • หัวใจพิการโดยกำเนิด

 แบ่งภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ออกได้ดังนี้

  • ชนิด paramedian มีแนวร่องแยกระหว่างฟันหน้าและเขี้ยว เป็นข้างซ้ายได้บ่อยกว่าข้างขวา เป็นสองข้างได้ร้อยละ 20 ร้อยละ 25 ปากแหว่งอย่างเดียว ร้อยละ 25 เพดานโหว่อย่างเดียว ร้อยละ 50 พบร่วมกันทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่
  • ชนิด median cleft พบน้อย มักร่วมกับ holoprosencephaly
  • ชนิดที่ไม่มีตำแหน่งแน่นอน ซึ่งเกิดขึ้นในราย amniotic band syndrome

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • เห็นรอยแหว่งโดยตรงใน frontal scan ของหน้าอย่างละเอียดอ่อน วางหัวตรวจใต้คาง หน้าผาก หรือข้างแก้ม และปรับตรวจเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณริมฝีปากให้ได้ตลอดแนว คาง โหนกแก้ม จมูก
  • ใน sagittal view มีประโยชน์ในบางกรณี สำหรับเพดานโหว่จะซ่อนเร้นกว่า แต่สามารถตรวจได้ด้วยการเลื่อน frontal scan ของหน้าออกไปทางด้านหลังอีกอาจเห็นเพดานโหว่จากการรวมกันไม่สมบูรณ์ของ maxillary ridge แต่ต้องระวังผลบวกลวงจากเงาดำของ maxilla

Classic Images