การใช้ยาต้านไวรัสในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี

(Antiretroviral therapy in HIV infected pregnant women)

ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ


            การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกให้มีประสิทธิภาพเริ่มต้นตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก โดยให้การปรึกษาสตรีตั้งครรภ์และคู่สมรสเพื่อการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในคลินิกฝากครรภ์ เพื่อให้สามารถเริ่มยาต้านไวรัสได้เร็วที่สุดตามข้อแนะนำของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์นั้นติดเชื้อเอชไอวี ก่อนการเริ่มยาต้านไวรัส ควรให้ข้อมูลและคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์ของการได้รับยาต้านไวรัสต่อมารดาและทารกในครรภ์ ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส และการปฏิบัติตัวระหว่างการรับประทานยาต้านไวรัส ในเอกสารคำสอนนี้ได้รวบรวมแนวทางการให้ยาต้านไวรัสในสตรีตั้งครรภ์และทารกหลังคลอด ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสที่พบได้บ่อย แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการขณะได้รับยาต้านไวรัส ตามแนวทางของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้แพทย์ทั่วไปและสูติแพทย์นำไปใช้ในเวชปฏิบัติต่อไป

 

ข้อแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสในสตรีตั้งครรภ์และทารกหลังคลอด

 

1.      สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน และ CD4 < 350 cells/mm3

1.1.   ระยะก่อนคลอด

  • ให้เริ่ม Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) ทันที
  • หลีกเลี่ยงการให้ efavirenz ในไตรมาสแรก
  • ให้สูตรที่มี zidovudine ร่วมด้วย
  • หลีกเลี่ยง nevirapine ในกรณีที่ CD4+ count > 250 cells/mm3 (เนื่องจากมีโอกาสเกิดตับอักเสบจาก nevirapine สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ CD4 < 250 cells/mm3)
  • สูตรที่แนะนำในประเทศไทย = zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lopinavir/ritonavir (200/50) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง

 

1.2.   ระยะเจ็บครรภ์คลอด

  • ให้ยาสูตรเดิมต่อ ร่วมกับ
  • เพิ่ม zidovudine 300 mg 1 เม็ด ทุก 3 ชั่วโมง หรือ 600 mg ครั้งเดียว

 

1.3.   ระยะหลังคลอด (มารดา)

  • ให้ยาสูตรเดิมต่อ จนกว่าจะส่งต่อให้อายุรแพทย์เพื่อปรับยาต้านไวรัสสูตรสำหรับผู้ใหญ่

 

1.4.   ระยะหลังคลอด (ทารก)

  • GA > 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์
  • GA 30 – 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 8 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์
  • GA < 30 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์

 

2.      สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน และ CD4 > 350 cells/mm3

2.1.   ระยะก่อนคลอด

  • ให้เริ่ม HAART เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสอง หรือ 14 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ให้สูตรที่มี zidovudine ร่วมด้วย
  • หลีกเลี่ยง nevirapine ในกรณีที่ CD4+ count > 250 cells/mm3 (เนื่องจากมีโอกาสเกิดตับอักเสบจาก nevirapine สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ CD4 < 250 cells/mm3)
  • การให้ zidovudine monotherapy ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ (ควรใช้เฉพาะในกรณี HIV RNA levels < 1000 copies/mL)
  • สูตรที่แนะนำในประเทศไทย = zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lopinavir/ritonavir (200/50) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง

 

2.2.    ระยะเจ็บครรภ์คลอด

  • ให้ยาสูตรเดิมต่อ ร่วมกับ
  • เพิ่ม zidovudine 300 mg 1 เม็ด ทุก 3 ชั่วโมง หรือ 600 mg ครั้งเดียว
  • เพิ่ม nevirapine 200 mg ครั้งเดียว ในกรณีที่ได้รับ zidovudine monotherapy

 

2.3.   ระยะหลังคลอด (มารดา)

  • หยุดยาทุกตัวหลังคลอด ยกเว้น
  • ในกรณีได้ nevirapine ให้ zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมงต่ออีก 7 วันหลังคลอด

 

2.4.   ระยะหลังคลอด (ทารก)

  • GA > 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์
  • GA 30 – 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 8 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์
  • GA < 30 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์

 

3.      สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ (หรือเคยได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่ปัจจุบันไม่ได้รับยาแล้ว)

3.1.   ระยะก่อนคลอด

  • ให้ยาต้านไวรัสสูตรเดิมต่อ
  • ตรวจ HIV antiretroviral drug-resistance testing ในกรณีเคยได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่ปัจจุบันไม่ได้รับยาแล้ว หรือได้รับยาอยู่แต่ยังตรวจพบเชื้อไวรัส (detectable viral load โดยเฉพาะถ้า viral load > 1000 copies/mL หลังได้รับยามาอย่างน้อย 6 เดือน)
  • หากสูตรเดิมไม่มี zidovudine ให้พิจารณาเปลี่ยนเป็นสูตรที่มี zidovudine ร่วมด้วยยกเว้นเคยดื้อยาหรือมีผลข้างเคียงจากยา เช่น ซีด
  • หลีกเลี่ยงการให้ efavirenz ในไตรมาสแรก (หากสูตรเดิมมี efavirenz อยู่ ให้เปลี่ยนเป็น zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lopinavir/ritonavir (200/50) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง และสามารถเปลี่ยนกลับเป็นสูตรเดิมได้หลังเข้าไตรมาสสอง)
  • หากหยุดยาในไตรมาสแรก ให้หยุดยาทุกตัว แล้วเริ่มใหม่ในไตรมาสสอง

 

3.2.   ระยะเจ็บครรภ์คลอด

  • ให้ยาสูตรเดิมต่อ ร่วมกับ
  • เพิ่ม zidovudine 300 mg 1 เม็ด ทุก 3 ชั่วโมง หรือ 600 mg ครั้งเดียว

 

3.3.   ระยะหลังคลอด (มารดา)

  • ให้ยาสูตรเดิมก่อนเปลี่ยน หรือส่งต่อให้อายุรแพทย์เพื่อปรับยาต้านไวรัสสูตรสำหรับผู้ใหญ่

 

3.4.   ระยะหลังคลอด (ทารก)

  • GA > 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์
  • GA 30 – 35 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 8 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์
  • GA < 30 สัปดาห์ : zidovudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 สัปดาห์

 

4.      สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน และอยู่ในระยะเจ็บครรภ์คลอด

4.1.   ระยะเจ็บครรภ์คลอด

  • ให้ zidovudine 300 mg 1 เม็ด ทุก 3 ชั่วโมง หรือ 600 mg ครั้งเดียว ร่วมกับ ให้ nevirapine 200 mg ครั้งเดียว
  • หากคาดว่าจะคลอดภายใน 2 ชั่วโมง ไม่ควรให้ nevirapine เนื่องจากยายังไม่สามารถผ่านไปยังทารกได้ทัน ทำให้ดื้อยาโดยไม่จำเป็น (ให้เฉพาะ zidovudine 600 mg ครั้งเดียว)

 

4.2.   ระยะหลังคลอด (มารดา)

  • ให้ zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lopinavir/ritonavir (200/50) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง จนกว่าจะทราบผล CD4
  • CD4 > 350 cells/mm3 : ให้ zidovudine (300) + lamivudine (150) 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lopinavir/ritonavir (200/50) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง จนครบ 4 สัปดาห์ แล้วหยุดยาทั้งหมด
  • CD4 < 350 cells/mm3 : ส่งปรึกษาอายุรแพทย์เพื่อให้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ใหญ่
  • ในกรณีไม่ได้ nevirapine (ได้เฉพาะ zidovudine) สามารถหยุด zidovudine หลังคลอด จนกว่าจะทราบผล CD4 หาก < 350 cells/mm3 ให้ส่งปรึกษาอายุรแพทย์เพื่อให้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ใหญ่

 

4.3.   ระยะหลังคลอด (ทารก)

  • zidovudine syrup 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับ lamivudine syrup 2 mg/kg/dose ทุก 12 ชั่วโมง นาน 4 – 6 สัปดาห์ ร่วมกับ nevirapine syrup 4 mg/kg/dose ทุก 24 ชั่วโมง นาน 2 – 4 สัปดาห์
  • หยุดยา ziduvudine + lamivudine หลังจากหยุดยา NVP แล้ว 2 สัปดาห์

 

การวินิจฉัยการรักษาล้มเหลว

          เมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสล้มเหลว ควรเปลี่ยนสูตรยาต้านไวรัสหรือปรึกษาอายุรแพทย์โรคติดเชื้อเพื่อให้การดูแลรักษาต่อ

1. การรักษาล้มเหลวทางไวรัส (virological failure)

  • ตรวจพบ viral load มากกว่า 400 copies/mL หลังได้รับยาสม่ำเสมอนาน 6 เดือน หรือ
  • ตรวจพบ viral load มากกว่า 50 copies/mL หลังได้รับยาสม่ำเสมอนาน 12 เดือน หรือ
  • เคยตรวจพบ viral load น้อยกว่า 50 copies/mL แล้วกลับตรวจพบ viral load มากกว่า 50 copies/mL ขณะได้รับยาสม่ำเสมอ

 

2. การรักษาล้มเหลวทางระบบภูมิคุ้มกัน (immunological failure)

  • ระดับ CD4 เพิ่มน้อยกว่า 50 cells/mm3 หลังได้รับยามานาน 12 เดือน หรือ
  • ระดับ CD4 ลดลงมากกว่า 30% จากค่าสูงสุด หรือ
  • ระดับ %CD4 ลดลงมากกว่า 3 หรือ
  • ระดับ CD4 ลดลงน้อยกว่าก่อนเริ่มรักษา

 

แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวี

1. CD4

  • ตรวจก่อนเริ่มยาทุกราย
  • ตรวจซ้ำหลังได้รับยา 6 เดือน

2. Viral load

  • ตรวจเมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์
  • ในกรณีไม่สามารถตรวจหาปริมาณ virus ได้ สตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีปริมาณ viral load น้อยกว่า 1000 copies/mL หากได้รับยาสม่ำเสมอนานอย่างน้อย 8 – 12 สัปดาห์

3. CBC

  • ตรวจก่อนเริ่มยาทุกราย
  • ตรวจซ้ำหลังได้รับยาทุก 4 – 8 สัปดาห์ (zidovudine)

4. AST/ALT

  • ตรวจก่อนเริ่มยาทุกราย
  • ตรวจซ้ำหลังได้รับยาทุก 4 – 8 สัปดาห์ (nevirapine)

5. GCT

  • ตรวจก่อนเริ่มยาทุกราย (lopinavir/ritonavir)
  • ตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห์ หรือ หลังได้รับยา 4 สัปดาห์

 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยหรือรุนแรง และข้อควรระวังในการใช้ยาต้านไวรัสแต่ละชนิดในสตรีตั้งครรภ์

1. Zidovudine (AZT 200 mg/tab)

  • ผลข้างเคียง : คลื่นไส้อาเจียน, bone marrow suppression (anemia, neutropenia)
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รักษาตามอาการ
  • อาการซีด เกิดหลังได้รับยา 2 – 3 สัปดาห์ จนถึงหลายเดือน
  • ในรายที่ Hb < 8 g/dL หรือ Hct < 24% ไม่ควรใช้ AZT
  • ในรายที่ซีดไม่มาก ให้ ferrous และ folic acid supplementation และให้ยาต่อ
  • ในรายที่ซีดรุนแรง เปลี่ยนยา AZT เป็น d4T

 

2. Lamivudine (3TC 150 mg/tab)

  • ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง

 

3. Stavudine (d4T 30 mg/tab)

  • ผลข้างเคียง : peripheral neuropathy, lactic acidosis
  • Peripheral neuropathy เกิดหลังได้รับยาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 50 และพบบ่อยขึ้นหากได้ยา d4T ร่วมกับ ddI การรักษาให้รักษาตามอาการ และพิจารณาหยุดยาต้านไวรัสหากอาการเป็นมากขึ้น
  • Lactic acidosis เกิดหลังจากได้รับยาหลายเดือน เป็นผลข้างเคียงที่พบได้น้อย แต่รุนแรงจนเสียชีวิตได้ เริ่มแรกอาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย จากนั้นจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว และมีภาวะหายใจล้มเหลวตามมา การตรวจระดับ lactate จะพบว่ามีค่าสูงกว่า 5 mmol/L และมีค่า arterial pH ต่ำ ภาวะนี้จะพบบ่อยขึ้นหากได้รับยา  d4T ร่วมกับ ddI การรักษาให้หยุดยาต้านไวรัส และ supportive treatment
  • ห้ามให้ยา d4T ร่วมกับ ddI ขณะตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด

 

4. Nevirapine (NVP 200 mg/tab)

  • ผลข้างเคียง : skin rash, hepatotoxicity
  • Skin rash เกิดหลังได้รับยา 2 – 3 วัน จนถึงหลายสัปดาห์ ผื่นมีลักษณะ diffuse maculopapular rash อาจคันหรือไม่ก็ได้ ในรายที่รุนแรงอาจมี mucous membrane involvement ร่วมด้วย ในรายที่มีอาการน้อย ให้รักษาด้วย antihistamine และให้ยาต้านไวรัสต่อ หรือเปลี่ยนยา NVP ในรายที่เป็นรุนแรง
  • Hepatotoxicity เกิดหลังได้รับยา 1 – 2 สัปดาห์ จนถึงหลายเดือน อาจไม่มีอาการแต่ตรวจพบ serum transaminase elevation หรือมี clinical ของ hepatitis โดยมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ระดับ CD4 ก่อนเริ่มยามากกว่า 250 cells/mm3, มีระดับ AST หรือ ALT สูงก่อนเริ่มยา, ติดเชื้อ HBV หรือ HCV ร่วมด้วย การป้องกันทำได้โดยให้เริ่ม NVP 200 mg ทุก 24 ชั่วโมง ใน 2 สัปดาห์แรกในรายที่ไม่เคยได้รับยามาก่อน, หลีกเลี่ยงการให้ NVP ในรายที่มีระดับ CD4 > 250 cells/mm3 และหากตรวจพบว่า AST/ALT > 2.5 เท่าของ upper limit ก่อนหรือขณะได้รับยา NVP ไม่ควรใช้ NVP ควรเปลี่ยนไปใช้ EFV หรือ LPV/r แทน

 

5. Tenofovir (TDF)

  • ผลข้างเคียง : nephrotoxicity, ลด bone mineral density
  • Nephrotoxicity เกิดหลังได้รับยาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ จะตรวจพบระดับ serum creatinine สูง, พบ proteinuria, glycosuria, hypokalemia เป็นต้น วิธีการป้องกันคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไตร่วมด้วย และตรวจติดตามระดับ serum creatinine ทั้งก่อนและหลังให้ยา หากพบว่ามีระดับสูงมากขึ้น อาจพิจารณาลดขนาดยา หรือเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น
  • นอกจากนี้ TDF ยังพบว่ามีผลทำให้มวลกระดูกลดลงในผู้ป่วยบางราย และทำให้เกิดภาวะ osteomalacia ได้ในผู้ใหญ่ที่ใช้ยานี้ สำหรับทารกในครรภ์ที่มารดาได้รับ TDF เป็นระยะเวลานานจะพบภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (fetal growth retardation) และลดความหนาแน่นของกระดูกของทารกในครรภ์

 

6. Efavirenz (EFV, stocrin 600 mg/tab)

  • ผลข้างเคียง : hepatotoxicity, teratogenicity
  • Hepatotoxicity คล้ายกับ NPV
  • Teratogenicity มีรายงานการเกิด anencephaly, anophthalmia, microphthalmia และ cleft palate ในลิงที่ได้รับ EFV และมีรายงานการเกิด myelomeningocele และ anophthalmia ในทารกที่มารดาได้รับ EFV ในระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ EFV ในสตรีตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสแรก

 

7. PIs เช่น LPV/r

  • ผลข้างเคียง : insulin resistance, hyperlipidemia,
  • Insulin resistance และ เบาหวาน เกิดหลังได้รับยากลุ่ม PIs หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน วิธีป้องกันทำได้โดยตรวจ GCT และ/หรือ OGTT ก่อนให้ยา และหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่มนี้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ GDM และควรตรวจ GCT และ/หรือ OGTT ซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห์
  • Hyperlipidemia เกิดหลังได้รับยากลุ่ม PIs หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน จะตรวจพบการเพิ่มขึ้นของระดับ LDL, total cholesterol, triglyceride โดย ATV/r จะพบการเพิ่มของระดับไขมันในกระแสเลือดน้อยกว่า PIs ชนิดอื่นๆ วิธีป้องกันทำได้โดยตรวจ fasting lipid profile ก่อนเริ่มยาและ 3 – 6 เดือนหลังเริ่มยา หากพบว่ามีความผิดปกติของระดับไขมันในกระแสเลือด ให้ปรับเปลี่ยนสูตรยาที่มีผลน้อยต่อภาวะ hyperlipidemia
  • การใช้ยากลุ่ม PIs ในสตรีตั้งครรภ์มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ยากลุ่ม ergot alkaloids เช่น methergine เนื่องจากอาจเกิดภาวะ severe vasoconstriction ได้ จึงห้ามให้ methergine แต่ให้ใช้ oxytocin หรือยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกกลุ่มอื่นแทน

 

 ตารางที่ 1 ประเภทของยาต้านไวรัส, ความปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี และอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย (Classes of antiretroviral drugs, Food and Drug Administration pregnancy (FDA) pregnancy category classification and common side effects)

 

Drug class

FDA category

Nucleoside and nucleoside analog reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)

Zidovudine (AZT)

Stavudine (D4T)

Lamivudine (3TC)

Abacavir (ABC)

Zalcitabine (ddC)

Tenofovir (TDF)

Emtricitabine (FTC)

Didanosine (ddI)

 

 

C

C

C

C

C

B

B

B

Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

Nevirapine (NVP)

Efavirenz (EFV)

Delavirdine (DVL)

 

B

D

C

Protease inhibitors

Lopinavir / ritonavir (LPV/r, Kaletra)

Indinavir (IDV)

Amprenavir (APV)

Fosamprenavir (FPV)

Ritonavir (RTV)

Nelfinavir (NFV)

Atazanavir (ATV)

Saquinavir (SQV)

Darunavir (DRV)

 

C

C

C

C

B

B

B

B

B

Entry inhibitors

Enfuvirtide (ENF)

Maraviroc

 

B

B

Integrase inhibitors

Raltegravir (RAL)

 

C

 

ยาต้านไวรัสสูตรผสมยาหลายชนิดในเม็ดเดียว (fixed-dose combination) ที่มีใช้ในประเทศไทย

  1. GPO-vir Z         = AZT (250) + 3TC (150) + NVP (200)
  2. GPO-vir S30     = d4T (30) + 3TC (150) + NVP (200)
  3. Zilavir               = AZT (300) + 3TC (150)
  4. Lastavir            = d4T (30) + 3TC (150)
  5. Kaletra             = LPV (200) + RTV (50)
  6. Truvada           = TDF (300) + FTC (200)

 

ภาพตัวอย่างขวดยาและเม็ดยาต้านไวรัสชนิดต่างๆ

1. ภาพเม็ดยาต้านไวรัสชนิดต่างๆ

 

1. Atazanavir (Reyataz®) 2. Tenofovir (TDF®) 3. Efavirenz ของ GPO 4. Efavirenz (Stocrin®)

5. Zidovudine (Antivir®) 6. Lastavir® 7. Lamivudine (Lamivir®) 8. Lopinavir / ritonavir ของ GPO

9. Stavudine (Stavir®) 10. Nevirapine (Neravir®) 11. GPO-vir® S30 12. GPO-vir® Z

 

2. Zidovudine (AZT)

 

3. Stavudine (D4T)

 

4. Lamivudine (3TC)

 

5. Nevirapine (NVP)

 

6. Lastavir

 

7. GPO-vir Z

 

8. GPO-vir S30

 

9. Efavirenz (EFV)

 

10.  Efavirenz (EFV)

 

11.  Lopinavir / ritonavir

 

12.  Atazanavir (ATV)

 

13.  Tenofovir (TDF)

 

 

เอกสารอ้างอิง 

  1. การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกด้วยยาต้านไวรัส. ใน: ประพันธ์ ภานุภาค และคณะ, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2553: 293-327.
  2. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse, DJ, Spong CY. Sexually transmitted diseases. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill, 2010: 1235-1257.