Intern ผ่านสูติ ควรมีบทบาทไงดี?

วันปฐมนิเทศน์

เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุมภาควิชาสูติฯ  (กรุณาตรงเวลาด้วย)  ทุกคนต้องมาเข้าปฐมนิเทศ  มิฉะนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานในภาควิชาฯ  ถือเป็นเจตคติที่ดีในการเริ่มต้นการทำงาน

หน้าที่และความรับผิดชอบของแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1

  1. ตรวจรักษา และช่วยเหลืองานแพทย์ประจำบ้าน  รวมทั้งอาจารย์  ในการดูแลผู้ป่วยสูติกรรม  และนรีเวช ในหอผู้ป่วย และห้องตรวจผู้ป่วยนอกต่าง ๆ ทุกวัน  ตามที่ได้กำหนดไว้
  2. จดบันทึก Admission note, Progress note
  3. ช่วยดูแลนักศึกษาแพทย์  โดยเฉพาะ Extern
  4. ควบคุมการทำคลอดของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 และ Extern
  5. เขียนและส่งใบปรึกษาต่างภาควิชา  โดยเหมาะสม
  6. เข้าช่วยการผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมาย
  7. อยู่เวรนอกเวลาราชการตามที่ได้รับมอบหมาย  โดยมีการรับเวรวันธรรมดา เวลา 16:00 น. และวันหยุดราชการ  เวลา  8:00 น.
  8. เป็น first call ร่วมกับ Extern เวลารับผู้ป่วยนอกเวลาโดยปรึกษาแพทย์ประจำบ้านที่อาวุโสกว่าเสมอ
  9. ช่วยแพทย์ประจำบ้านสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย
  10. การลาป่วย  ลากิจ  หรือลาพักร้อน  ต้องแจ้งให้หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์อภิชาติ ทราบก่อนทุกครั้ง  (ยกเว้น ลาป่วย หรือ ลากิจที่จำเป็นจริง ๆตามระเบียบการลาที่ถูกต้อง
  11. หน้าที่อื่นๆ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางโรงพยาบาล หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแล

การปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย

  1. หอผู้ป่วยนรีเวช 2,3,4  เริ่มปฏิบัติงาน เวลา  7:15 น.  ส่วนหอผู้ป่วยสูติกรรม  เริ่มเวลา 8:00 น.  โดย Round ward พร้อมอาจารย์  แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาแพทย์ และจะมีการ Round ward  ตอนเย็นอีกครั้ง  พร้อมแพทย์ประจำบ้าน  เวลาประมาณ 15:30 น.
  2. ช่วย key Lab, order ยา และติดตามผล Lab
  3. ดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยในหอผู้ป่วยที่หมุนเวียนไป  ดังนี้  :-
    • การรับผู้ป่วย Admit ใหม่
    • การบันทึก Admission note, Progress note, Discharge note
    • การเขียน และส่งใบ set ผ่าตัด
    • ไม่ควรออกจาก  ward ถ้ายังปฏิบัติงานไม่เสร็จ หรือมีผู้ป่วยหนัก และเมื่อจะออกไปไหน ต้อง      แจ้งให้พยาบาลทราบ พร้อมเบอร์โทรที่ติดตามได้
    • การตรวจภายในผู้ป่วยที่ Admit ถ้าไม่จำเป็นให้รอตรวจพร้อมแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์
    • ถ้าอยู่ห้องคลอดต้อง Attend คลอดตลอด (ถ้ามีผู้ป่วย) และช่วยดูแล นศพ.ปี 5 ที่ทำคลอดด้วย
  4. ห้องผ่าตัดเริ่มเวลา 8:00 น.  ( ยกเว้น  บางวันเริ่มเวลา  9:00 น.) ให้เข้าช่วยผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  5. การย้ายผู้ป่วยเข้า ICU ต้องปรึกษาแพทย์ประจำบ้าน
  6. การบันทึก  :-
    • Admission note   เขียนประวัติ  การตรวจร่างกายที่สำคัญ  และการวางแผนการรักษา
    • Progress note    ควรบันทึกทุกวัน
    • Discharge note ให้สรุปการวินิจฉัย  การรักษาที่ได้ทำไป ผลการ investigate ที่สำคัญ plan ในการรักษา  ยาที่ให้ไป  ผลการผ่าตัด  ผลพยาธิวิทยา  พร้อมหมายเลข  สไลด์ และข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ลงใน Discharge note โดยควรสรุปให้เสร็จภายใน เวลา  48  ชม.
    • OPD card  บันทึกข้อมูล  ประวัติ  การตรวจภายใน  การส่ง  Investigate และผลที่ได้  การรักษา  และต้องปรึกษาแพทย์ประจำบ้านทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจ  หรือมีปัญหา
    • สมุด ANC ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์ม
  7. การตามผล Lab
    • ให้นักศึกษาแพทย์  แพทย์ใช้ทุน  ช่วยตามผล Lab มาบันทึกไว้ใน Chart กรณีที่เป็น Lab ที่สำคัญเร่งด่วนให้แพทย์ใช้ทุนเป็นผู้ตามผล
    • ผลการเพราะเชื้อในกระแสเลือด  ถ้า  positive  ทางห้องปฏิบัติการจะโทรแจ้งมาที่ ward
    • กรณีนัด Ultrasound, CT scan, BE enema, UGI series หรือ Investigation พิเศษต่าง ๆ ให้แพทย์ใช้ทุนเป็นผู้ไปนัดกับรังสีแพทย์โดยตรง
  8. ใบรับรองแพทย์  ใบมรณบัตร  กรณีไม่ที่ซับซ้อนให้ช่วยออกด้วย
  9. การปรึกษา
    • ให้เขียนใบปรึกษา โดยให้อาจารย์ประจำ ward เป็นผู้ตรวจสอบและเซ็นชื่อ  แล้วส่งไปยังภาควิชานั้น ๆ โดยตรง
    • กรณีนอกเวลาราชการ  ให้หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรวันนั้นเป็นผู้เซ็น
    • กรณีปรึกษาภายในภาควิชาฯ ให้ Notify โดยตรงกับหัวหน้าแพทย์ประจำบ้านที่รับผิดชอบ ward นั้น ๆ

 การปฏิบัติงานที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก 3, 4, 5

  1. ออกตรวจภาคเช้า  เวลา  9:00 – 12:00 น.  ภาคบ่ายเวลา  13:00 – 15:00 น.
  2. ถ้ามีปัญหาให้ปรึกษาแพทย์ประจำบ้าน  หรืออาจารย์ที่ออกตรวจในวันนั้น

การปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม 3

  1. Round ward วันธรรมดา
    • ช่วงเช้าเวลา  7.30 น.
    • ช่วงเย็นเวลาประมาณ 15.30 น.  (อาจช้ากว่านี้ เพราะต้องรอจนเสร็จจากการผ่าตัดก่อน)
  2. เตรียม  Chart  ผู้ป่วย  และตามผล Lab  ให้เรียบร้อยก่อน Round ward
  3. การรับผู้ป่วยใหม่เพื่อเตรียมผ่าตัดทั้งหมด  (ยกเว้น case radical hysterectomy เป็นต้อง ward Onco)  ดังนี้  :-
    • ซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย  แล้วเขียนในใบรับใหม่สีเหลือง ประกอบด้วย :- ซักประวัติ, การตรวจร่างกาย, การตรวจภายในจาก OPD (ไม่อนุญาตให้ Intern ตรวจภายในผู้ป่วยเอง)  และผล Lab Pre op ให้ครบถ้วน
    • ตรวจสอบผล Lap Pre op ประกอบด้วย CBC, UA, Electrolyte, BUN, Cr, LFT, FBS, Lipid profile, CXR, EKG, Tumor marker (Tumor marker เฉพาะ case Ovarian tumor) ให้ครบถ้วน
    • ถ้าผล Lab ผิดปกติ  ให้พิจารณา Repeat Lab, ให้การรักษาเบื้องต้น และเขียนใบ Consult ต่างแผนกไว้รอส่งหลังจาก Resident รับทราบ case แล้ว  (ยกเว้น case m Consult มาแล้วจาก OPD)
    • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือภาวะที่ต้องการดูแลร่วมกับแผนกอื่น ให้เขียนใบ Consult  ต่างแผนกไว้รอส่งหลังจาก Resident รับทราบ case แล้ว  (ยกเว้น case ที่ Consult มาแล้วจาก OPD)
    • Check list ในชุดเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือทางช่องคลอด
    • เตรียม G/M case Benign เตรียม PRC 2 unit, Case Malignancy เตรียม PRC 4 unit
    • เขียนใบส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิประกอบด้วยประวัติ, การตรวจร่างกาย, การตรวจภายใน และ Tumor marker โดย Case Ovarian tumor ใช้ใบเฉพาะ (ใส่ Copy ด้วย) ส่วน Case Benign และ CA อื่น ๆ ใช้ใบส่งตรวจชิ้นเนื้อธรรมดา (Case CA เขียนหัวกระดาษว่า  พยาธินรีเวช ขนาดใหญ่ให้เห็น ชัดเจน)
    • ผู้ป่วย Ovarian Tumor
    • เพิ่ม Copy ใบเหลือง 1 ใบ  เพื่อนำไปแจ้งการส่ง Frozen section กับ อ.สุรพันธ์ ที่ภาควิชาพยาธิ  ก่อนการผ่าตัด 1 วัน
    • Case ที่มีก้อนขนาดใหญ่ หรือ PV จาก OPD คาดว่าผ่าตัดแล้วจะติดมาก  เพิ่มใบเตรียม Bowel 1 หรือ 3 วัน  แล้วแต่ Resident พิจารณา
    • เตรียมใบ Cytology เพื่อส่งตรวจ As cites / Peritoneal washing
  4.  ผู้ป่วยที่ต้องการไป Ward พิเศษ  เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนให้ผู้ป่วยย้าย และแจ้งให้ Resident ทราบทุกครั้ง
  5. ตามใบรายงานผลชิ้นเนื้อทางพยาธิ (ใบจริงที่มีลายเซ็นอาจารย์) ของ case malignancy จากห้องรายงานผลชิ้นเนื้อ  ภาควิชาพยาธิ หลังการผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์
  6. กรุณาอยู่ประจำที่ “Ward” เพื่อเตรียมรับ case ใหม่  และทำ Ward work  ยกเว้นเวลาพักเที่ยงหรือมีธุระจำเป็น ให้แจ้งพยาบาล Ward และฝากเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  7. หลีกเสี่ยงการลา  ยกเว้น มีเหตุจำเป็นเท่านั้น   การลากิจ  ควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์  การลาป่วย  ควรโทรศัพท์แจ้ง Resident 3 ทันทีที่ทำได้  การลาทุกกรณีจะต้องส่งใบลาที่ภาควิชาฯ
  8. มีข้อสงสัยในการทำงานกรุณาสอบถามจาก Resident

การปฏิบัติงานในห้องคลอด 1, 2

  1. รับผู้ป่วยใหม่ทุกราย
  2. ทำคลอดในกรณีที่ได้รับมอบหมาย
  3. จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยอย่างละเอียด
  4. Attend  คลอดตามที่ได้รับมอบหมาย

การปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยทำหมันเปียก  ให้ทำเองภายใต้การดูแลของแพทย์ประจำบ้าน  โดยให้เริ่มทำหลังจากที่ round ward สูติกรรม และห้องคลอดเสร็จแล้ว
  2. เข้าช่วยผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมาย

การอยู่เวรนอกเวลาราชการ

  1. ให้อยู่เวรตามตารางเวรที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน
  2. ต้องนอนเวรบน Ward ตามห้องพักที่ได้จัดไว้ให้
  3. เริ่มรับเวรวันธรรมดา  เวลา 16:00 น.  และวันหยุดราชการ เวลา 8:00 น. เริ่มที่ห้องคลอด 2
  4. เป็น First call ร่วมกับ Extern
  5. ช่วยดูแล นศพ.ปีที่ 5  ทำคลอดร่วมกับ  Extern  (ห้ามปล่อยให้ นศพ.ทำคลอดเอง)
  6. ถ้าจะต้องออกไปทำธุระ  ต้องแจ้งเบอร์โทรให้ติดต่อได้ไว้กับพยาบาลทุกครั้งเสมอ
  7. ไม่ควรอยู่เวรนอกเวลาราชการติดต่อกัน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้

ระเบียนการลา

  1. แพทย์ใช้ทุนปีที่ 1  มีสิทธิลาได้ไม่เกินปีละ 20 วัน  และไม่เกินร้อยละ 10 ของเวลาที่ผ่านภาควิชาฯ  โดยการลาในแต่ละครั้ง ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียต่องานราชการ
  2. การลาทุกครั้งต้องขอใบลาจาก สำนักงานผู้อำนวยการ  เพื่อตรวจสอบวันลา และขอความเห็นชอบจาก หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านในแต่ละจุด  หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านทั้งหมด  และอาจารย์อภิชาติก่อน  แล้วภาควิชาฯ จะส่งใบลาไปยังสำนักงานผู้อำนวยการเอง  และควรจะส่งก่อนวันที่จะลา   ยกเว้น  การลาป่วย ลากิจ  ที่สำคัญจริง ๆ หรือไม่ทราบล่วงหน้า
  3. ในการลาแต่ละครั้ง  ต้องมอบหมายงานของตนเองให้มีผู้รับผิดชอบแทนทุกจุด รวมทั้งการอยู่เวร,  การตรวจ OPD, เวรนอกเวลาราชการ  และแจ้งต่อแพทย์ประจำบ้าน  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทราบด้วยทุกครั้ง   ต้องมีลายเซ็นชื่อของผู้รับผิดชอบแทนในใบลาทุกครั้ง มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ได้ลา

การประเมินผล

มีการประเมินผลในด้านความรู้ และเจตคติ ความสามารถ  ความรับผิดชอบ  ความประพฤติ  บุคลิกภาพ  มนุษยสัมพันธ์   โดยจะมีผู้ประเมินดังต่อไปนี้  :-

  • อาจารย์ในภาควิชาฯ
  • แพทย์ประจำบ้าน
  • ถ้าแพทย์ใช้ทุนท่านใดที่มีคะแนนประเมินผลออกมาต่ำกว่าเกณฑ์  ภาควิชาสูติศาสตร์ จะพิจารณาต่อไปว่าจะให้ผ่านหรือไม่
  • ถ้า ตก เจตคติถือว่าไม่ผ่านเลย  (ไม่มีการซ่อม)

Activity ด้านวิชาการ

Intern  ควรเข้าร่วม Activity  ของภาควิชาฯ ทุกอย่าง  ดังต่อไปนี้  :-

  1. Morning conference ทุกวันราชการ  เวลา 07:00 น.
    • 07:00-07:15 น.  การนำเสนอบทความ  สไลด์ ultrasound หรือ VDO ที่น่าสนใจสั้น ๆ
    • 07:15-08:00 น.  นำเสนอผู้ป่วยที่รับใหม่ในคืนนั้น  โดยแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1
    • ให้มีอาจารย์เข้าร่วม Discuss เรื่องการ Management
  2. Interesting  case conference (ICC) ทุกวันจันทร์  เวลา 13:00-14:30 น. นำเสนอ case ที่น่าสนใจ  โดยแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1
  3. Journal club  ทุกวันอังคารและวันพฤหัส  เวลา 15:00-16:00 น. Intern นำเสนอ Journal ที่น่าสนใจ ซึ่งมีแพทย์ประจำบ้านช่วยเหลือให้ โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา  แต่บางครั้งอาจจะเป็น Topic ที่น่าสนใจ ซึ่งทำโดยแพทย์ประจำบ้าน
  4. Specialty conference  ทุกวันศุกร์  เวลา  13:00-14:00 น. เป็น Activity ของ Specialty :  Infertile, Onco, Perinato, Family planning ให้สลับหมุนเวียนกันทำ