Critical Error (ความผิดที่ร้ายแรง)

หมายถึง งานหรือกิจกรรมใดก็ตาม ถ้าหากปฏิบัติโดยเข้าใจผิด หรือละเลยการปฏิบัติสิ่งนั้น แล้วยังผลให้การปฏิบัติกิจกรรมนั้นจะต้องหยุด หรือปฏิบัติไม่สำเร็จ และถ้ายังขืนปฏิบัติต่อไปจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เครื่องมือ หรือต่อตนเอง เกณฑ์ความผิดที่ร้ายแรงตั้งไว้เพื่อช่วยการตัดสินผู้เรียนที่ปฏิบัติผิดพลาด เช่น ในการฉีดยาเข้ากล้าม ถ้าลืมเตรียมเข็มฉีดยา ให้ถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง

Critical errors ของหัตถการต่าง ๆ ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่จะได้กล่าวต่อไปนี้ ได้ดัดแปลงมาจากผลการประชุมของคณาจารย์ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์ 8 สถาบัน เพื่อกำหนดใช้เป็นเกณฑ์ร่วมในการประเมินผลนักศึกษาแพทย์ทุกสถาบันโดยมีข้อสรุปว่า นอกเหนือไปจากการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อนั้น ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกายบริเวณที่เกี่ยวข้องการสวมถุงมือ และ/หรือ การสวมเสื้อปลอดเชื้อ การเตรียมผู้ป่วยและเครื่องมือ การบันทึกรายงาน การปฏิบัติ การติดตามผู้ป่วยภายหลังหัตถการ แล้ว critical error ของแต่ละหัตถการมีดังนี้ :-

 

1.    Assisting of normal delivery including episiotomy and repair

1.1         ไม่ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ

1.2         ตัดฝีเย็บโดยทำให้เกิดบาดแผลต่อสวนนำของเด็ก หรือตัดลึกลงไปมากจนทะลุหรือผ่าน rectum

1.3         ไม่ได้ดูดของเหลวในปาก หรือจมูกเด็กทันทีที่ศีรษะคลอด

1.4         จับศีรษะเด็ก โดยกด soft part และเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด carotid

1.5         ทำคลอดไหล่หน้ารุนแรงผิดปกติ

1.6         จับเด็กไม่ดีทำให้เด็กหลุดจากมือ

1.7         ตัดสายสะดือโดยไม่ผูกหรือหนีบให้แน่นไว้ก่อน หรือเกิดอันตรายอื่น ๆ ต่อเด็ก

1.8         ทำคลอดรกผิดวิธี

1.9         ไม่สามารถตรวจว่ารกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดครบหรือไม่

1.10     ไม่ได้ตรวจแผลฝีเย็บและช่องทางคลอด

 

2.    Low forceps extraction

2.1         ไม่ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ

2.2         ไม่ได้ตรวจหา condition ที่ fulfill ก่อนใส่เครื่องมือ เช่น ปากมดลูก, A-P suture, bladder empty หรือไม่

2.3         ใส่ blade ไม่ได้

2.4         Lock ไม่ได้

2.5         ดึงศีรษะไม่ออก

2.6         ไม่ได้ตรวจช่องทางคลอดภายหลังทำคลอดรกแล้ว

2.7         มีภยันตรายที่ร้ายแรงต่อแม่และเด็กขณะนั้น

 

3.    Vacuum extraction

3.1         ไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ

3.2         ไม่ได้ตรวจหา condition ที่ fulfill ก่อนใส่เครื่องมือ หรือตรวจท่าของเด็กผิด

3.3         ถ้วยสุญญากาศไปจับที่อวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ศีรษะเด็ก และไปครอบ large fontanel

3.4         ดึงจน cup หลุด แต่ศีรษะเด็กยังไม่คลอด

3.5         ไม่ได้ตรวจช่องคลอดภายหลังทำคลอดรกแล้ว

                                               

4.    Breech assisting

4.1         ไม่ได้ฉีดชาก่อนตัดฝีเย็บ

4.2         ไม่รอให้คลอดเองจนถึงระดับสะดือ

4.3         ไม่จับบริเวณสะโพก และต้นขาเล็ก แต่บีบหน้าท้องเด็ก

4.4         คลอดไหล่และแขนไม่ได้ หรือไม่ถูกวิธี

4.5         ทำคลอดศีรษะเด็กก่อนเห็นชายผม

 

5.    Amniotomy

5.1         ไม่ได้สำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำคร่ำ จากประวัติและการตรวจร่างกาย

5.2         ไม่ได้ตรวจภายในเพื่อสำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำคร่ำ

5.3         เจาะถุงน้ำคร่ำไม่ได้

5.4         เกิดสายสะดือย้อย หลังเจาะถุงน้ำคร่ำ

5.5         ทำให้ปากมดลูกฉีกขาดจนมีเลือดออกมามาก

5.6         ไม่ได้ฟังเสียงหัวใจเด็กก่อน และหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ

 

6.    Manual removal of placenta

6.1         มือไม่ผ่าน internal os เข้าในโพรงมดลูก

6.2         มือที่อยู่บนหน้าท้องไม่อยู่ที่ยอดมดลูก

6.3         ไม่ตรวจรก และ/หรือ เยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ

6.4         ไม่คลึงมดลูกให้แข็งตัวหลังการล้วงรก

 

7.    Low transverse cesarean section

7.1         ไม่คาสาย urethral catheter

7.2         กรีดหรือตัดผนังหน้าท้องจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

7.3         กรีดหรือตัดผนังมดลูกจนไปถูกตัวเด็กทำให้เกิดบาดแผล

7.4         ขยายแผลผ่าตัดอย่างไม่ระมัดระวัง จนทำให้เกิดการฉีดขาดของ uterine vessels

7.5         ทำคลอดเด็กไม่ได้

7.6         ไม่ดูดของเหลวทันทีที่ศีรษะคลอด

7.7         ไม่สำรวจโพรงมดลูกหลังการล้วงรก

7.8         ไม่ถ่างขยายปากมดลูกก่อนเย็บปิดแผลมดลูก ในรายที่ยังไม่เข้าระยะเจ็บท้องคลอด

7.9         เย็บไม่ถึงมุมแผลทั้งสองออก และห้ามเลือดก่อนปิดหน้าท้อง

7.10     ไม่สำรวจจุดเลือดออกและห้ามเลือดก่อนเย็บปิดหน้าท้อง

7.11     ไม่สำรวจเครื่องมือและผ้าซับเลือดก่อนเย็บปิดหน้าท้อง

7.12     เย็บไม่ระวังจนเกิดอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

 

8.    Postpartum tubal sterilization

8.1         ไม่ empty bladder

8.2         ทำโดยไม่ใช้ยาชาหรือยาระงับความรู้สึก

8.3         กรีดหรือตัดผนังหน้าท้องจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

8.4         หา และ/หรือ จับหลอดมดลูกไม่ได้

8.5         จับหรือดึงหลอดมดลูกแรงเกินไปจนฉีกขาด

8.6         ผูกหลอดมดลูกไม่แน่น หรือหลุด ภายหลังการตัดหลอดมดลูกแล้ว

8.7         ผูกและตัดหลอดมดลูกเพียงข้างเดียว

8.8         ไม่สำรวจจุดเลือดออกและห้ามเลือดก่อนการปิดหน้าท้อง

8.9         ไม่สำรวจเครื่องมือและผ้าซับก่อนเย็บปิดแผลผ่าตัด

8.10     เย็บไม่ระวังจนเกิดอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

หมายเหตุ   สำหรับ “interval tubal sterilization” มี critical error เหมือน postpartum tubal sterilization ทุกประการ แต่เพิ่ม “ไม่ตรวจภายในเพื่อดูขนาดและตำแหน่งมดลูก”

 

9.    Dilatation and curettage

9.1         ไม่ให้ยาสลบหรือยาระงับความรู้สึก

9.2         ไม่ตรวจภายในดูขนาดและตำแหน่งของมดลูก

9.3         สอด uterine sound ผิดทิศทาง และ/หรือ รุนแรงเกินไปจนมดลูกทะลุ

9.4         เลือกใช้ Dilator ขนาดไม่เหมาะสมหรือเกินความจำเป็น

9.5         ไม่ดึงเครื่องมือจับปากมดลูกเพื่อตรึงมดลูกขณะขูด

9.6         สอด curette ผิดทิศทาง

9.7         ขูดไม่หมดในกรณีขูดเพื่อการรักษา

9.8         ในกรณีขูดเพื่อการวินิจฉัย ขูด endocervix หลังใส่ uterine sound และไม่แยกดู endocervix กับ endometrium

9.9         ขูดจนมดลูกทะลุ

9.10     ไม่ตรวจชิ้นเนื้อจากการขูด

9.11     ไม่ส่งชิ้นเนื้อตรวจลักษณะทางพยาธิวิทยา