Head-Sign: Sonolucent Skulls

Sonolucent Skulls

Diffuse demineralization of the skull almost always occurs with fetal skeletal dysplasia syndromes. In the case of severe demineralization of the bony calvarium, the cranium is thin without an acoustic shadow and so poorly ossified that the intracranial structure can easily be seen. This increased visualization of the intracranial structures may be confused with such abnormalities as exencephaly due to acrania or acalvaria. Unlike exencephaly, however, there is an intact but poorly ossified skull. Careful scanning reveals concomitant limb anomalies.

      Fig 1, Fig 2

Differential Diagnosis

The main differential diagnoses of the sonolucent skull are as follows:

  • osteogenesis imperfecta (most common)
  • hypophosphatasia (rare)
  • achondrogenesis type I (rare)
  • acalvaria

Fig 1: Hypophosphatasia  Cross-sectional scan of skull: thin and sonolucent calvarium (arrow = falx cerebri)

Fig 2: Compressible skull  Poorly ossified skull associated with osteogenesis imperfecta is easily compressed (arrow) and the cerebral gyri is clearly visualized

Video clips of sonolucent skulls

Sonolucent skull:  The thin skull is so poorly ossified that cerebral gyri and sulci could be seen easily

Acalvaria:  The head with intact skin but no skull, the gyri and sulci of brain can easily be seen

Differential diagnosis

The differential diagnoses and some sonographic features of skull defects are as follows:

Anencephaly:

  • absent bony calvarium above the orbits
  • orbits well visualized
  • absence of supratentorial brain
  • residual brain
  • possibly spina bifida
  • polyhydramnios

Excencephaly

  • calvarium absent
  • disorganized supratentorial brain tissue

Amniotic band syndrome (ABS)

  • asymmetric or bizarre cephalocele
  • other deformities, including limb amputation

Limb-body wall complex

  • asymmetric or bizarre encephaloceles
  • similar to ABS except fetal body adherent to placenta
  • usually more severe than ABS
  • associated bizarre defects of fetal body

Cephalocele

  • midline defect
  • extracranial cyst or brain tissue
  • possibly ventriculomegaly
  • lemon sign may be present

Open neural tube defects

  • lemon sign
  • banana sign
  •  mild ventriculomegaly
  • spinal defect

Fetal demise

  • overlapping sutures (Spalding’s sign)
  • poor visualization of intracranial structures
  • associated findings of fetal demise

Microcephaly

  • calvarium present
  • decreased brain tissue
  • head circumference 2-3 standard deviations below that expected for the menstrual age

Craniosynostosis

  • complete or partial
  • deformed skull
  • possibly microcephaly
  • abnormal cephalic index.

In addition, considerable overlap may be found in these features among abnormalities. For instance, the lemon sign was originally described with opened NTD, however, it may not be present in an opened NTD identified in the third trimester of pregnancy, and a mild lemon sign may be identified in normal fetuses.

    Read More

    Head-Sign: Skull Defects

    Skull Defects

    Cranial defects vary from a small meningocele, which is very difficult to visualize, to complete absence of the cranium such as with anencephaly or exencephaly. In practice, there is no problem in the diagnosis of complete absence of the skull or a large defect, however, severe bone demineralization, such as osteogenesis imperfecta, may give the appearance of a large skull defect. Partial defects, or small cephaloceles are occasionally difficult to visualize.

    Fig 1, Fig 2, Fig 3

    Fig1: Schematic drawing: Occipital meningocele, protrusion of the brain tissue and meninges through the skull defect

    Fig 2: Occipital cephalocele  Transverse scan of the skull: small defect of occipital bone with meningocele (*) (arrow = ventriculomegaly)

    Fig 3: Occipital cephalocele  Transverse scan of the skull: defect of occipital bone with meningoencephalocele (arrow)

    Video clips of intracranial massive fluid collection

    Anterior meningocele:  Sagittal scan of the fetal face: frontal bone defect with midline cystic mass (meningocele)

    Occipital cephalocele:  Transverse scan the level of cerebellum: small defect of occipital bone with encephalocele

    Differential diagnosis

    The differential diagnoses and some sonographic features of skull defects are as follows:

    Anencephaly:

    • absent bony calvarium above the orbits
    • orbits well visualized
    • absence of supratentorial brain
    • residual brain
    • possibly spina bifida
    • polyhydramnios

    Excencephaly

    • calvarium absent
    • disorganized supratentorial brain tissue

    Amniotic band syndrome (ABS)

    • asymmetric or bizarre cephalocele
    • other deformities, including limb amputation

    Limb-body wall complex

    • asymmetric or bizarre encephaloceles
    • similar to ABS except fetal body adherent to placenta
    • usually more severe than ABS
    • associated bizarre defects of fetal body

    Cephalocele

    • midline defect
    • extracranial cyst or brain tissue
    • possibly ventriculomegaly
    • lemon sign may be present

    Open neural tube defects

    • lemon sign
    • banana sign
    •  mild ventriculomegaly
    • spinal defect

    Fetal demise

    • overlapping sutures (Spalding’s sign)
    • poor visualization of intracranial structures
    • associated findings of fetal demise

    Microcephaly

    • calvarium present
    • decreased brain tissue
    • head circumference 2-3 standard deviations below that expected for the menstrual age

    Craniosynostosis

    • complete or partial
    • deformed skull
    • possibly microcephaly
    • abnormal cephalic index.

    In addition, considerable overlap may be found in these features among abnormalities. For instance, the lemon sign was originally described with opened NTD, however, it may not be present in an opened NTD identified in the third trimester of pregnancy, and a mild lemon sign may be identified in normal fetuses.

      Read More

      Head-Sign: Cystic Brain Lesions

      Cystic Brain Lesions

      Cystic lesions of the brain have a number of causes but ventriculomegaly and choroid plexus cyst are the most common. Usually, the location and associated abnormalities are very helpful in the differential diagnosis. For example, interhemispheric cyst is commonly related to agenesis of the corpus callosum. Likewise, ventriculomegaly and dorsal sac in the case of holoprosencephaly are often associated with other abnormalities, whereas others are mostly isolated findings. The choroid plexus cyst is always a lateral cyst located in the choroid plexus and is often isolated and not difficult to diagnose. Cystic lesions of Dandy-Walker malformations are always located in the posterior fossa.

      Fig 1, Fig 2, Fig 3, Fig 4

      Fig1: Choroid plexus cysts  Transverse scan of the skull: bilateral large choroid plexus cyst (arrow)

      Fig 2: Porencephaly Some part of cerebral tissue is absent (*)

      Fig 3: Ependymoma  Complex cystic mass (*) in the skull combined with fluid collection and partial absence of brain tissue

      Fig 4: Semilobar holoprosencephaly  Oblique coronal scan of the skull: common ventricle (*) with partial separation

      Video clips of cystic brain lesions

      Choroid plexus cyst: Transvere scan at the level of lateral ventricles: bilateral choroid plexus cyst (*) with lemon sign

      Arachnoid cyst: Transverse scan of the head: isolated cystic, circular, thin-walled brain lesion (*)

      Colpocephaly:  Transverse scan of the head: bilateral marked dilatation of occipital horn (*) of lateral ventricles

      Differential diagnosis

      The differential diagnoses of intracranial cystic lesion are as follows:

      Midline cyst

      • prominent cavum septum pellucidi (very common)
      • dorsal sac of holoprosencephaly (common)
      • interhemispheric cyst of agenesis of corpus callosum (uncommon)
      • vein of Galen aneurysm (rare)
      • arachnoid cyst (rare)
      • enlarged cavum vergae interhemispheric cystic lesions

      Lateral cyst

      • choroid plexus cyst (very common)
      • unilateral hydrocephalus (uncommon)
      • porencephaly/schizencephaly (uncommon)
      • arachnoid cyst (rare)
      • neoplastic cyst (very rare)
      • periventricular cyst formation secondary to CMV infection

      Posterior fossa cyst

      • enlarged cisterna magna (>10 mm (very common)
      • Dandy-Walker malformation (common)
      • arachnoid cyst (very rare)
      • median retrocerebellar fluid collections remain the most difficult to prognosticate, retrocerebellar cysts often being difficult to differentiate from enlarged cisterna magna and Dandy-Walker complex.
      Read More

      Head-Sign: Massive Intracranial Fluid Collections

      Massive Intracranial Fluid Collections

      The three common causes of massive intracranial fluid collections with an intact cranial vault are hydrocephalus, which is usually secondary to aqueductal obstruction, holoprosencephaly, and hydranencephaly. The unique features of each condition can distinguish these three entities from each other.

      Fig 1, Fig 2

      Fig1: Hydranencephaly  Transverse scan of the skull: absent brain tissue, present falx cerebri (arrow)

      Fig 2: Severe hydrocephalus Markedly dilated ventricles with extremely thin brain, choroid plexus dangling (arrow) (arrowhead = falx cerebri)

      Video clips of intracranial massive fluid collection

      Holoprosencephaly: Absent brain tissue (*), without falx cerebri, and fused thalamus (solid circle)

      Hydranencephaly: Transthalamic view: totally destructive brain lesion (solid circle) but preserving thalamus (*) and posterior fossa

      Severe hydrocephalus: Transverse scan of the head: markedly dilated ventricles with extremely thin cerebral tissue (solid circle = dangling choroid plexus, * = dilated third ventricle)

      Differential diagnosis

      • Hydrocephalus secondary to aqueductal stenosis (about 1 in 2000 births):
        • thin cerebral mantle with falx cerebri
        • separated thalami and dilated third ventricle
        • obvious choroid dangling sign
        • usually no midline face defects
      • Hydranencephaly (uncommon; 1.0-2.5 in 10,000 births):
        •  no cerebral mantle with falx cerebri
        • normal thalami (not separated or fused)
        • minimal choroid dangling sign
        • no midline face defects
      • Holoprosencephaly (rare; 1 in 16,000 neonates):
        • cerebral mantle with or without dorsal sac, no falx cerebri
        • fused thalami
        • minimal choroid dangling sign
        • associated midline face defects (very common).
      Read More

      Head-Sign: Ventriculomegaly

      Ventriculomegaly

      Ventriculomegaly is the enlargement of the cerebral ventricles with the cause unknown. The term hydrocephalus is usually reserved for more severe cases of ventriculomegaly, and this usually implies obstruction of flow of the CSF. Obstructive hydrocephalus within the fetus is most commonly non-communicating (blockage within ventricles) rather than communicating (extraventricular blockage). Moreover, underdevelopment of the brain and destructive brain lesions can also cause ventriculomegaly.

      Brain destruction is another cause of ventriculomegaly and may include in utero damage due to a CNS infection. CNS infections may be associated with brain atrophy, with resultant microcephaly and ventriculomegaly.

      The main causes of fetal ventriculomegaly are aqueductal stenosis, Chiari II malformation, Dandy-Walker complex and agenesis of the corpus callosum.

      Fig1, Fig2, Fig3, Fig4

      Fig1: Schematic drawing: Coronal view: Ventriculomegaly with wide separation of the thalami

      Fig 2: Schematic drawing: Transventricular view: Ventriculomegaly secondary to aqueductal stenosis

      Fig 3: Schematic drawing: Transventricular view: Ventriculomegaly secondary to aqueductal stenosis

      Fig 4: Schematic drawing: Transthalamic view: Ventriculomegaly with dilated third ventricle secondary to aqueductal stenosis

      Fig 5: Mild ventriculomegaly Lateral ventricle (solid circle), width of 11 mm, with choroid plexus dangling sign (arrow)

      Fig 6: Ventriculomegaly  Lateral ventricle (*), width of 15 mm, with choroid plexus dangling sign (arrow)

      Fig 7: Severe hydrocephalus Markedly dilated ventricles with extremely thin brain (arrow)

      Fig 8: Hydrocephalus Transthalamic view: wide separation the third ventricle (*) and dilated lateral ventricles

      Fig 9: Severe hydrocephalus Markedly dilated ventricles (solid circle) with extremely thin brain (arrow), (arrowhead = falx cerebri)

      Fig 10: Bossing forehead secondary to hydrocephaly Facial profile view: sunken nose related to forehead bossing in case of hydrocephaly

      Mild (borderline) ventriculomegaly [Fig5, Fig6] is used when the atrial width is 10-15 mm. Some consider early ventricular dilatation as separation (>3 mm) of the dependent choroid from the medial ventricular wall. This occurs bilaterally in 0.15-0.7% of fetuses and unilaterally in 0.07% of pregnancies. This can be related to an increased risk of CNS and non-CNS anomalies. Isolated borderline ventriculomegaly is normal variant in most cases, however, it may represent the earliest manifestation of cerebral anomalies (4%), chromosomal abnormalities (4%) (mostly trisomy 21) and overall abnormal outcomes (20%).

      However, early and unexplained mild ventriculomegaly appears to have a good prognosis but a long postnatal clinical follow-up is required.

      Overt (or moderate to severe) ventriculomegaly [Fig7, Fig8, Fig9, Fig10] is usually defined for an atrial width of more than 15 mm in the second and third trimesters(8). This may involve isolated cases (30-60%) or cases associated with other CNS anomalies, most frequently neural tube defects (NTDs) and midline defects. The degree of antenatal ventriculomegaly is related to pediatric neurological morbidity and, when it is >15 mm, it is associated with an increase in abnormal neurological development.

      Unilateral ventriculomegaly is a rare finding usually due to focal obstruction of the CSF pathway at the level of Monro’s foramen. Examination of the lateral ventricles using the angled technique helps to distinguish between unilateral and bilateral hydrocephalus. Unilateral ventriculomegaly is usually an isolated finding and when isolated has little measurable effect on developmental outcome.

      Hydrocephalus: Transverse scan of the head: markedly dilated ventricles (solid circle) with very thin cerebral tissue (* = dangling choroid plexus)

      Mild ventriculomegaly: Transverse scan of the head: lateral ventricle (*) width of 10 mm diameter

      Hydrocephaly: Overt ventriculomegaly with dilatation of the third ventricle

      Mild ventriculomegaly: Transventricular view: mild dilatation of the lateral ventricle (10 mm.) with dangling choroid plexus

      Severe hydrocephalus: Transverse scan of the head: markedly dilated ventricles with extremely thin cerebral tissue (solid circle = dangling choroid plexus, * = dilated third ventricle)

      Sonographic findings:

      • Enlargement of the lateral ventricle atrium >10 mm.
      • Minimal separation of the choroid plexus in either proximal or distal cerebral ventricle.
      • Dangling choroid plexus with an abnormal choroid angle (more than 29 degrees)(14). Dangling can be easily recognized without measuring it in most cases.
      • When ventriculomegaly is detected, a careful anatomic survey of the fetus is necessary to determine any associated anomalies. Furthermore, hydrocephalus is associated with a significant risk of chromosomal abnormalities. When objective difficulties preclude detailed sonographic examination, MRI is helpful(15).
      • Sonographic differential diagnoses of ventriculomegaly include
        • Arnold-Chiari malformation type II:
          • deformed cranium (lemon sign), which usually disappears in the third trimester
          • obliteration of cisterna magna (banana sign)
          • associated open spinal defect
          • minimal hydrocephalus
          • pointed frontal horns
        • Dandy-Walker malformation:
          • midline posterior fossa cyst
          • cyst communicates with the fourth ventricle
          • vermian agenesis
          • hypoplastic cerebellar hemispheres
          • elevated tentorium
          • mild to moderate hydrocephalus
        • Agenesis of the corpus callosum:
          • third ventricle elevated
          • separation of frontal horns
          • associated colpocephaly
          • mild ventriculomegaly
        • Aqueduct stances:
          • moderate to massive hydrocephalus
          • normal fourth ventricle
          • normal posterior fossa
          • normal cranial configuration
        • Cephalocele:
          • open defect, usually occipital skull base
          • obliteration of the cisterna magna
          • occasional lemon sign
          • mild to moderate hydrocephalus
          • polyhydramnios.
      Read More

      Gynecologic surgical consideration in COVID-19 pandemic

      Gynecologic surgical consideration in COVID-19 pandemic

      นพ.ธนวิชญ์ พูลสิน
      อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี


      โรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV2 (Severe acute respiratory syndrome-Coronavirus-2) โดยองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศโรคที่เกิดจาการติดเชื้อ SARS-CoV2 อย่างเป็นทางการโดยใช้ชื่อ COVID-19 ซึ่งคำว่า “COVID” หมายถึง Corona virus disease และ “19” หมายถึงปีค.ศ.2019 (1)ซึ่งเป็นปีที่พบผู้ป่วยรายแรกที่ประเทศจีน โดยองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศเป็นการระบาดเป็นวงกว้างในเดือนมีนาคมปี 2563

      จากการศึกษาในปัจจุบัน โรค COVID-19 สามารถแพร่การจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือผ่านทาง Air droplets(2) และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศ (Airborne)(3) ได้ในบางสถานการณ์ เช่น หัตถการที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ หรือในการผ่าตัดก็อาจเกิดขึ้นได้, อาการของโรค COVID-19 นั้นเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น โดยจะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 ที่จะมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องการการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตหรือ ICU, เมื่อผู้ป่วยโรค COVID-19 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนหอผู้ป่วย ICU มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนหอผู้ป่วยอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ในส่วนอื่นๆ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการใช้ชุด PPE ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจหรือส่วนประกอบของเลือด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัด (4)

      ข้อพิจารณาทั่วไปสำหรับการผ่าตัดในภาวการณ์ระบาดของโรค COVID-19(1, 5, 6)

      เชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถพบได้ในส่วนต่างๆของร่างกายรวมถึงช่องท้อง ซึ่งอาจแพร่กระจายได้ในแบบ Airborne ผ่านการใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ทำให้เกิดละอองฝอยหรือควันเช่นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจี้ (Electrosurgical instrument) มีการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถอยู่ในละอองได้นานถึง 3 ชั่วโมง(7) แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะสรุปได้ว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถแพร่กระจายผ่านการผ่าตัดทางหน้าท้องในห้องผ่าตัดได้

      การผ่าตัดทุกกรณีถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการอาจจะติดเชื้อไวรัส SARS-CoV2 และสามารถแพร่การจายเชื้อในห้องผ่าตัดได้ ดังนั้นการผ่าตัดจึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสให้มากที่สุด เช่นการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นในการตัดหรือหยุดเลือดระหว่างการผ่าตัด

      การประเมินความเสี่ยงต่อการติดโรค COVID-19 ควรจะประเมินในผู้ป่วยทุกรายที่จะได้รับการผ่าตัด โดยประเมินทั้งอาการของโรค COVID-19 หรือ URI symptom เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย หรือประเมินการสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 กับผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV2 ก่อนการผ่าตัดทุกรายไม่ว่าจะวิธี RT-PCR หรือ Serological test มีความจำเป็นเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ ในผู้ป่วยที่ผลการตรวจ COVID-19 เป็นบวก การผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนควรเลื่อนออกไปก่อน และจะต้องมีห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดในภาวะฉุกเฉิน ผู้ที่ทำงานในห้องผ่าตัดทุกคนควรจะได้รับการฝึกฝนการใช้ชุดป้องกัน PPE อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงการจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัด การจำกัดทางเข้าออก เพื่อป้องการการแพร่ระบาด(1)

      การคัดเลือกผู้ป่วยที่จะทำการผ่าตัด(8)

      American college of surgeon (ACS) ได้แบ่งช่วงเวลาของการระบาดเป็น 3 ระยะ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยและข้อจำกัดของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดดังตาราง โดยในระยะ Acute phase I ซึ่งยังมีผู้ป่วย COVID-19 ไม่มากนัก สามารถดำเนินการผ่าตัดตามปกติ แต่ควรให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดใน 3 เดือน ในระยะถัดมาอาจดำเนินการผ่าตัดเฉพาะผู้ป่วยเร่งด่วนเท่านั้น รวมถึงได้มีการศึกษาของ Ross (9) ได้แบ่งช่วงเวลาของการระบาดเป็น 4 ระยะ โดยในระยะ Alert ซึ่งยังไม่มีผู้ป่วย COVID-19 การผ่าตัดสามารถดำเนินการได้ตามปกติ แต่ในระยะต่อมาที่มีผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มมากขึ้น ควรลดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนออกไปร้อยละ 50 ไปจนถึงงดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนทั้งหมด

      ตารางที่ 1 ข้อแนะนำในการผ่าตัดในแต่ละช่วงเวลาระบาดของ COVID-19

      Guidelines ช่วงของการระบาด การจัดการ
      ACS Acute phase I : Semi-urgent setting
      ผู้ป่วย COVID-19 ยังไม่มาก
      ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าตัดใน 3 เดือน
      Acute phase II : Urgent setting, escalation phase
      ผู้ป่วย COVID-19 มากขึ้น ทรัพยากรณ์ถูกจำกัด
      ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าภายในไม่กี่วัน
      Acute phase III : Hospital resources are all directed to COVID-19 patient ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าภายในไม่กี่ชั่วโมง
      Ross et al. ALERT : ยังไม่มีผู้ป่วย COVID-19 การผ่าตัดดำเนินการปกติ
      LEVEL 2 : เริ่มมีผู้ป่วย COVID-19 – ลดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนลงครึ่งหนึ่ง

      – จัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัดที่เร่งด่วน

      LEVEL 1 : อัตราครองเตียงผู้ป่วยวิกฤติ >90% – งดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนทั้งหมด
      CONDITION ZERO : อัตราครองเตียงผู้ป่วยวิกฤติ >100% – ผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น

      ดัดแปลงจาก Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8. (8)

      การจัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัดนั้น American college of surgeon (ACS) ได้จัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัดโดยใช้ Elective Surgery Acuity Scale ได้ดังนี้

      • Tier 1 : Low acuity surgery ได้แก่ Elective surgery
      • Tier 2 : Intermediate surgery ได้แก่ Urgency surgery
      • Tier 3 : High acuity surgery ได้แก่ Emergency surgery

      ตารางที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัด

      Priority Definition Action
      Tier 1a Low acuity surgery/healthy patient (Outpatient surgery; Not life-threatening illness) เลื่อนการผ่าตัดออกไป
      Tier 1b Low acuity surgery/unhealthy patient
      Tier 2a Intermediate acuity surgery/healthy patient (Not life-threatening but potential for future morbidity and mortality) เลื่อนการผ่าตัดถ้าสามารถเลื่อนได้
      Tier 2b Intermediate acuity surgery/unhealthy patient
      Tier 3a High acuity surgery/healthy patient ไม่สามารถเลื่อนการผ่าตัดได้
      Tier 3b High acuity surgery/unhealth patient

      ดัดแปลงจาก Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8. (8)

      จะเห็นได้ว่าการเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนในภาวะของการระบาดของโรค COVID-19 นั้น เป็นการเพิ่มทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หอผู้ป่วยวิกฤต รวมถึงเป็นการลดผู้ป่วยที่เดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ลดโอกาสการสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดสู่ชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม การเลื่อนการผ่าตัดผู้ป่วยนั้น จะต้องทำควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงที่โรคจะดำเนินต่อถ้าหากยังไม่ได้รับการผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กันไป รวมถึงการคัดเลือกผู้ป่วยในการผ่าตัด อาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์การระบาด

      การผ่าตัดผู้ป่วยทางนรีเวชในภาวการณ์ระบาดของ COVID-19(5, 10)

      American Association of Gynecologic Laparoscopists (AAGL) ได้ปรับรูปแบบของ Elective Surgery Acuity Scale ดังตารางที่แนบมา ให้เข้ากับการผ่าตัดทางนรีเวช เพื่อเป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัดทางนรีเวชในช่วงของการแพร่ระบาด แต่อย่างไรก็ตาม การจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ผู้ผ่าตัดร่วมกับลักษณะอาการทางคลินิกของผู้ป่วย และสถานการณ์การระบาดในแต่ละช่วงเวลา (10)

      ตารางที่ 3 ตัวอย่างการตัดลำดับการผ่าตัดตามความเร่งด่วนของโรค

      Tier Gynecology examples Urogynecology examples Reproductive examples
      Tier 1a/1b – Benign appearing adnexal mass, asymptomatic

      – Hysterectomy without anemia, stable symptom

      – Myomectomy, asymptomatic

      – Endometriosis stable symptom

      – Chronic pelvic pain requiring diagnosis (diagnostic laparoscopy)

      – AUB, without anemia, low suspicion malignancy

      – Bleeding requiring diagnosis (hysteroscopy)

      -Persistent PMP, low suspicion (neg EMB)

      – Stress urinary incontinence surgery

      – Surgery for asymptomatic prolapse in patients without other significant sequelae

      – Asymptomatic mesh exposure

      – Neuromodulation for urinary urgency incontinence, retention, or fecal incontinence

      – Diverticulectomy

      – Benign ovarian cyst aspiration
      Tier 2a/2b – AUB with secondary anemia, stable

      – AUB age >50 y with inability to sample in office

      – Endometriosis poorly controlled pain or fertility desired

      – Endometrial polyps age >50 y

      – Symptomatic ovarian cyst

      – Myomectomy symptomatic fibroid

      – Fistula repair

      – Mesh related complication (infection or severe pain)

      – Surgery for advance prolapse in patients with significant sequelae (urinary retention, recurrent UTI, pain)

      – Missed abortion <12 weeks
      Tier 3a/3b – Endometrial hyperplasia/EIN, highly suspicious for atypia/malignancy

      – Adnexal mass, complex, suspicious for torsion, malignancy

      – AUB, secondary anemia, unstable, worsening bleeding

      – Deeply infiltrating endometriosis with severe bower/bladder symptoms, intractable severe pain

      – CIN II, CIN III treatment

      – Symptomatic ovarian cyst, intractable, severe pain

      – Large fibroids, with hydronephrosis, debilitating pain, bulk symptoms, or urinary retention

      – Other potential GYN malignancy cases

      -Sterilization procedures for woman who are not LARC candidates

      – Mesh in a viscus

      – Advance stage prolapse with evidence of upper tract obstruction and unable to retain pessary

      – Obstructed voiding after MUS

      – Incarcerated prolapse

      – Myomectomy for infertility

      – Hysteroscopic metroplasy (for infertility)

      – Transvaginal oocyte aspiration in infertile woman

      – Embryo transfer

      – Ovarian cyst that is affecting ability to do egg retrieval

      – Myomectomy, asymptomatic but affecting uterine cavity in infertile woman or affecting ability to monitor and perform egg retrieval

      – Hysteroscopic polypectomy/myomectomy infertility

      Tier 4a Emergency surgery – Ruptured ectopic with hemodynamic instability

      – Hemorrhage from SAB, incomplete

      – Ruptured TOA

      – Ovarian torsion

      – Perforated viscus or complete bowel obstruction

      – Delayed postoperative hemorrhage

      – Termination of pregnancy

      – Wound dehiscence

      – Prolapsing fibroid

      – Hematocolpos/ hematometra

      – Hemorrhage post egg retrieval

      ที่มา Joint Statement on Re-introduction of Hospital and Office-based Procedures for the Practicing Urogynecologist and Gynecologist. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):1030-2.

      *Tier b หมายถึงผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรือโรคประจำตัว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถ้าหากติดโรค COVID-19 ซึ่งมีผลต่อการจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด

      จากการศึกษาและคำแนะนำต่างๆ ได้สรุปเป็นแนวทางสำหรับการผ่าตัดทางนรีเวชในโรคที่สำคัญต่างๆได้ดังนี้(5)

      1. การผ่าตัดฉุกเฉิน (Emergencies)
        เช่น Ovarian cyst with complication, Twist ovarian cyst, Ectopic pregnancies ไม่สามารถเลื่อนการผ่าตัดได้ อย่างไรก็ตาม ควรประเมินความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หรือตรวจหาเชื้อไวรัสตามแนวทางทุกราย
      2. Myoma Uteri
        ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยการใช้ยายังได้ผลดี ควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนั้นต่อไป ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยายังไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนการรักษาเป็นวิธีอื่นที่ยังไม่ต้องผ่าตัดก่อน แต่ถ้ายังคงมีอาการมาก สามารถดำเนินการผ่าตัดได้
      3. Endometriosis
        ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยการใช้ยายังได้ผลดี ควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนั้นต่อไป ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยายังไม่ได้ผล พิจารณาใช้ GnRH agonist เพื่อลดอาการของโรค แต่ถ้ายังคงมีอาการมาก สามารถดำเนินการผ่าตัดได้ในช่วงที่การระบาดของ COVID-19 เริ่มลดลง
      4. Ovarian lesions
        ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการประเมินความเสี่ยงตาม International Ovarian Tumor Analysis (IOTA) models โดยหากมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าร้อยละ 5 ไม่ควรเลื่อนการผ่าตัดออกไป ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่รังไขขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร ควรได้รับการผ่าตัดแม้ไม่มีอาการ การรักษาด้วยยาแนะนำสำหรับ functional cyst เท่านั้น
      5. Operation for infertility
        หัตถการเกี่ยวกับการรักษาผู้มีบุตรยาก ถูกประเมินให้อยู่ในกลุ่ม Tier 3
      6. Urogynecology
        การผ่าตัดทาง Urogynecology ส่วนใหญ่แล้วเป็นการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน ควรจะเลื่อนการผ่าตัดออกไปในช่วงเวลาที่มีการระบาดอย่างรุนแรง โดยสามารถเลือกใช้วีธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อนเป็นอันดับแรก การผ่าตัดควรพิจารณาในผู้ป่วยที่มีอาการมาก และสามารถผ่าตัดในช่วงที่การระบาดเริ่มมีแนวโน้มลดลง
      7. Endometrial cancer
        การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการผ่าตัดแบบ Type A Hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy สำหรับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองจะทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องนั้นจะมีประโยชน์ในการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล
      8. Cervical cancer
        ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป ในโรคระยะลุกลาม สามารถรักษาโดยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
      9. Vulva cancer
        ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป ในโรคระยะลุกลาม สามารถรักษาโดยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี สำหรับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) และ Non-invasive Paget สามารถเลื่อนการผ่าตัดในช่วงการระบาดได้
      10. Ovarian cancer
        ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไปตามแนวทางการรักษา สามารถส่งตรวจทางพยาธิวิทยาแบบ Frozen section ระหว่างการผ่าตัดได้เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

      การคัดเลือกผู้ป่วยในช่วงเริ่มต้นของการระบาด(6)

      • การผ่าตัดควรให้ความสำคัญกับกลุ่มโรค Time sensitive disease เช่น มะเร็งโพรงมดลูกในระยะเริ่มต้น (Early-stage endometrial cancer) หรือ มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น (Early-stage cervical cancer) ซึ่งในโรคกลุ่มนี้ถ้าหากการผ่าตัดถูกเลื่อนไปนาน อาจส่งผลต่อพยากรณ์โรคในอนาคตได้
      • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะช่วยลดเวลาการนอนโรงพยาบาลได้
      • ควรตรวจหาเชื้อ SARS-CoV2 ในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดทุกราย

      การคัดเลือกผู้ป่วยในช่วงที่มีการระบาดสูง(6)

      • ควรเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเลื่อนการผ่าตัดควรพิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

      หลังจากผ่านพ้นช่วงของการระบาดไปแล้ว สามารถเริ่มต้นการผ่าตัดได้มากขึ้นตามศักยภาพของโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงการตรวจหาเชื้อไรวัสก่อนการผ่าตัดต่อไป

      การเลือกช่องทางในการผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดส่องกล้อง(11)

      สิ่งที่เป็นที่น่ากังวลในการระบาดของเชื้อไวรัสระหว่างการผ่าตัด ได้แก่ควันที่เกิดจากการผ่าตัด (Surgical smoke) ซี่งเกิดจากการใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เช่นเครื่องจี้ไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดละอองฝอยได้ (Aerosol) แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะยืนยันได้ว่าสามารถพบเชื้อ SARS-CoV2 ในควันหรือละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัด จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าควันหรือละอองฝอยในห้องผ่าตัดที่เกิดจากการผ่าตัดทั้งแบบส่องกล้อง และผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้นไม่ได้แตกต่างกันหากมีระบบจัดการควันที่ดี(r) ทั้งนี้การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้น ละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัดสามารถฟุ้งกระจายภายในห้องผ่าตัด ในขณะที่การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นเป็นการผ่าตัดที่ใช้จี้ไฟฟ้าและแก๊สจำนวนมาก แต่ละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัดนั้นจะอยู่ในช่องท้องไม่มีทางเปิดออกสู่ภายนอก ซึ่งการดูดควันจากการผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นจะผ่านระบบปิดซึ่งสามารถผ่านตัวกรองได้ และยังมีวิธีอื่นๆในการลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป เมื่อพิจารณาจากหลายๆปัจจัยในการป้องกันกันฟุ้งกระจายของละอองฝอย ร่วมกันการผ่าตัดส่องกล้องนั้นยังมีประโยชน์ในแง่ของระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่สั้นลง การฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

      แนวทางการผ่าตัดแบบส่องกล้องในช่วงของการระบาด(12, 13)

      การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดได้ในหลายๆกรณี เช่น การใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องซึ่งอาจมีการรั่วออกสู่ภายนอกได้ ละอองฝอยหรือควันจากการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า ในช่วงแรกของการระบาดนั้น หลายๆองค์กรได้มีคำแนะนำว่า การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้นปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง แต่ในเวลาต่อมา การผ่าตัดแบบส่องกล้องสามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดได้ในหลายๆวิธีดังต่อไปนี้ จึงมีคำแนะนำถึงการผ่าตัดส่องกล้องมากขึ้น

      • แพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการผ่าตัด
        ควรให้แพทย์ผ่าตัดที่มีประสบการณ์สูงเป็นผู้ผ่าตัด และควรใช้เวลาผ่าตัดให้สั้นเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดโอกาสสัมผัสเชื้อให้มากที่สุด
      • การจัดการกับลมภายในช่องท้อง
        ควรใช้ความดันลมในช่องท้องลดลงจากภาวะปกติเพื่อป้องการการรั่วซึมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการศึกษาส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ความดันลมในช่องท้องประมาณ 10-12 mmHg ซึ่งต่ำกว่าความดันที่ใช้ปกติที่ 10-15 mmHg และไม่ควรปล่อยลมในช่องท้องออกเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ผ่าตัดออกจากช่องท้อง หรือปล่อยลมออกโดยไม่ผ่านตัวกรอง และหลีกเลี่ยงการจัดท่าแบบ Trendelenburg หากเป็นไปได้
      • การใช้ Trocar
        ได้มีการศึกษาและคำแนะนำเพื่อลดการรั่วของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์รอบๆ Trocar โดย ลดขนาดของแผลบริเวณหน้าท้อง เพื่อใส่ Trocar ได้แต่ไม่ให้แก้สรั่วออกมา หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ควรถอด Trocar หลังจากปล่อยแก๊สออกจากช่องท้องหมดแล้วเพื่อลดการรั่วของแก๊ส, ตรวจสอบการรั่วของ Trocar ก่อนเริ่มการผ่าตัดทุกครั้ง ควรต่อ Trocar เข้ากับระบบกรองอากาศเพื่อกรองควันที่จะถูกดูดออกมา
      • การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า
        ในหลายการศึกษาได้แนะนำให้ควรลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือลดพลังงานของเครื่องจี้ไฟฟ้าระหว่างการผ่าตัด แนะนำให้ใช้วิธี Sharp หรือ Blunt dissection มากขึ้น, Society of European Robotic Gynaecological Surgery แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ Ultrasonic sealing, ได้มีคำแนะนำจาก The Turkish Association of Endocrine Surgeons แนะนำว่าเครื่องจี้ไฟฟ้าแบบ Bipolar สามารถสร้างควันและละอองฝอยน้อยกว่าแบบ Monopolar จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ Monopolar
      • การดูดควันและแก๊สออกจากช่องท้อง

      ได้มีคำแนะนำจากหลายๆองค์กรแนะนำให้ใช้เครื่องดูดควันแบบระบบปิดที่ต่อเข้ากับระบบกรองอากาศ และแนะนำให้ดูดควันที่เกิดจากการผ่าตัดและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องออกให้หมดก่อนที่จะนำชิ้นเนื้อออกหรือนำเครื่องมือออกจากช่องท้อง การปิดช่องท้องควรทำหลังจากที่ดูดควันและแก้สออกจากช่องท้องทั้งหมดแล้ว

      • การดูแลหลังผ่าตัดส่องกล้อง
        พิจารณาให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น อาจให้ออกจากโรงพยาบาลในวันที่ผ่าตัดหากฟื้นตัวได้ดี เพื่อลดการสัมผัสภายในโรงพยาบาล แต่ต้องมีระบบติดตามผู้ป่วยที่ดี

      แนวทางผ่าตัดเปิดหน้าท้องในช่วงการระบาด(1)

      • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือลดการใช้ลง ควรใช้ Sharp หรือ Blunt dissection ให้มากขึ้นเพื่อลดการเกิดควันและละอองฝอย
      • หากจำเป็นต้องใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า ควรลดระดับความแรงลงและใช้เวลาในการจี้ลดลง
      • ใช้เครื่องดูดควันที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองอากาศ
      • พยายามลดการฟุ้งกระจายของเลือดและของเหลวต่างๆระหว่างการผ่าตัด

      แนวทางการส่องกล้องทางโพรงมดลูก (Hysteroscopy) ในช่วงการระบาด(14, 15)

      การส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้น เป็นหัตถการที่สามารถมองเห็นความผิดปกติและสามารถรักษาได้ในเวลาเดียวกัน เป็นการลดจำนวนครั้งในการมาโรงพยาบาลขอผู้ป่วยได้ และยังเป็นทางเลือกหลักในการรักษาความผิดปกติในโพรงมดลูก นอกจากนี้ การส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้นเป็นการทำหัตถการหรือใช้ห้องผ่าตัดแบบวันเดียว จึงส่งผลกระทบต่อทรัพยากรโดยรวมของโรงพยาบาลค่อนข้างน้อย โดยในช่วงที่มีการระบาดสูงสุด ควรเลือกส่องกล้องทางโพรงมดลูกในผู้ป่วยที่เร่งด่วนหรือมีอาการที่ส่งผลกระทบรุนแรง แต่ในช่วงที่การระบาดลดลงแล้ว สามารถส่องกล้องทางโพรงมดลูกในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงได้
      โดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จากการส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้นต่ำมาก เนื่องจากการส่องกล้องทางโพรงมดลูกจะมีการใส่น้ำเพื่อขยายโพรงมดลูก จึงเกิดละอองฝอยระหว่างการส่องกล้องทางโพรงมดลูกน้อย โดยมีแนวทางการส่องกล้องทางโพรงมดลูกดังนี้

      • ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัดที่จะทำ Hysteroscope โดยเฉพาะขณะที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจหรือถอดท่อช่วยหายใจ เจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องควรรอภายนอกห้องผ่าตัดเพื่อลดโอกาสการสัมผัส
      • แนะนำให้ใช้ Conscious sedation หรือ Regional anesthesia มากกว่า General anesthesia
      • ลดเวลาการทำหัตถการให้ได้มากที่สุด
      • แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เกิดควันหรือละอองฝอยในการทำหัตถการ เช่น กรรไกร ที่จับเนื้อเยื่อ
      • ใช้เครื่องดูดควันที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองอากาศ
      • ทำความสะอาดห้องผ่าตัดและอุปกรณ์การผ่าตัดอย่างเหมาะสม

      สรุป

      การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นั้นส่งผลต่อระบบสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในแง่ของทรัพยากรโรงพยาบาลที่จะถูกนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 รวมถึงส่งผลกระทบต่อการผ่าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน การจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด ถึงแม้ว่าการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนจะถูกเลื่อนออกไป แต่การผ่าตัดฉุกเฉินก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้เกิดมาตรการต่างๆมากมายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อย่างเช่นการคัดกรองหรือตรวจหาเชื้อไวรัสก่อนการผ่าตัด และการเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดน้อยที่สุด โรค COVID-19 ยังคงระบาดไปอีกระยะหนึ่ง และยังต้องการการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเพื่อปรับแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงของการระบาดได้ดียิ่งขึ้นไป

      เอกสารอ้างอิง

      1. Rosa ESJC, Ribeiro PA, Brito LGO, Gomes MTV, Podgaec S, Ribeiro H, et al. Gynecological Surgery and COVID-19: What is the Impact and How Should I Manage it? Rev Bras Ginecol Obstet. 2020;42(7):415-9.

      2. Li Q, Guan X, Wu P, Wang X, Zhou L, Tong Y, et al. Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia. N Engl J Med. 2020;382(13):1199-207.

      3. The Lancet Respiratory M. COVID-19 transmission-up in the air. Lancet Respir Med. 2020;8(12):1159.

      4. Wright JD, Advincula AP. Gynecologic surgical considerations in the era of COVID-19. Semin Perinatol. 2020;44(6):151296.

      5. Chiofalo B, Baiocco E, Mancini E, Vocaturo G, Cutillo G, Vincenzoni C, et al. Practical recommendations for gynecologic surgery during the COVID-19 pandemic. Int J Gynaecol Obstet. 2020;150(2):146-50.

      6. Thomas V, Maillard C, Barnard A, Snyman L, Chrysostomou A, Shimange-Matsose L, et al. International Society for Gynecologic Endoscopy (ISGE) guidelines and recommendations on gynecological endoscopy during the evolutionary phases of the SARS-CoV-2 pandemic. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2020;253:133-40.

      7. van Doremalen N, Bushmaker T, Morris DH, Holbrook MG, Gamble A, Williamson BN, et al. Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1. N Engl J Med. 2020;382(16):1564-7.

      8. Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8.

      9. Ross SW, Lauer CW, Miles WS, Green JM, Christmas AB, May AK, et al. Maximizing the Calm before the Storm: Tiered Surgical Response Plan for Novel Coronavirus (COVID-19). J Am Coll Surg. 2020;230(6):1080-91.e3.

      10. Joint Statement on Re-introduction of Hospital and Office-based Procedures for the Practicing Urogynecologist and Gynecologist. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):1030-2.

      11. Mintz Y, Arezzo A, Boni L, Baldari L, Cassinotti E, Brodie R, et al. The risk of COVID-19 transmission by laparoscopic smoke may be lower than for laparotomy: a narrative review. Surg Endosc. 2020;34(8):3298-305.

      12. Ghazali W, Nallaluthan P, Hasan RZ, Adlan AS, Boon NK. Gynecological Endoscopic Society of Malaysia Statement and Recommendations on Gynecological Laparoscopic Surgery during COVID-19 Pandemic. Gynecol Minim Invasive Ther. 2020;9(4):185-9.

      13. Tommaselli GA, Grange P, Ricketts CD, Clymer JW, Fryrear RS, 2nd. Intraoperative Measures to Reduce the Risk of COVID-19 Transmission During Minimally Invasive Procedures: A Systematic Review and Critical Appraisal of Societies’ Recommendations. Surg Laparosc Endosc Percutan Tech. 2021.

      14. Carugno J, Di Spiezio Sardo A, Alonso L, Haimovich S, Campo R, De Angelis C, et al. COVID-19 Pandemic. Impact on Hysteroscopic Procedures: A Consensus Statement from the Global Congress of Hysteroscopy Scientific Committee. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):988-92.

      15. Farkas Z, Krasznai ZT, Lampe R, Torok P. COVID 19 pandemic and minimally invasive gynecology: consequences and future perspectives. Minim Invasive Ther Allied Technol. 2021;30(5):311-6.

       

      Read More

      How we get to this point? Part II

      เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ? (ภาคสอง)

      ธีระ ทองสง


      ภาคสอง คือเรื่องเล่าต่อจากภาคหนึ่ง ใน CCOG-2016 ในภาคหนึ่งได้มีการทบทวนความหลังของบ้านหลังนี้ ว่าเราก่อร่างสร้างบ้านมาอย่างไร บูรพาจารย์ต่างเคยทุ่มเทสักเพียงใดกว่าจะตั้งตัวเป็นภาควิชาที่มั่นคงได้ และภาคสองนี้ เป็นเรื่องเล่าว่าเราสานต่อภารกิจนี้มาอย่างไรจนกลายเป็นสูติฯล้านนาอย่างที่เรารู้จักกันในวันนี้

      เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ? คำถามนี้มักจะถามในเชิงการยอมรับว่าเราต้องโดดเด่น เป็นหนึ่งในเรื่องอันใดสักเรื่องหนึ่ง แต่เกรงว่านี้จะเป็นการคุย หรือยอมรับเพื่อการอวดตัวเองไปสักหน่อย ดังนั้นก่อนเริ่มต้นจำเป็นต้องแน่ใจเสียก่อนว่าเรามีดีอะไร? ถึงต้องการเล่าให้ผู้อื่นว่ามีความเป็นมาอย่างไร ปานประหนึ่งว่านี่คือตำนานที่น่าสนใจ!!!

      เรามีดีอย่างไร ถึงต้องมาทบทวนเรื่องราวของพวกเรา?

      กว่าสิบกว่าปีมานี้ ทุกครั้งที่สัมภาษณ์สมัครแพทย์ประจำบ้าน จะมีบางคนหรือหลายคน พูดว่าเลือกสูติเชียงใหม่ เพราะเป็นสูติฯที่มีชื่อเสียง หรือบ้างก็บอกว่าเป็นสูติฯที่ดีที่สุด อาจารย์เอาใจใส่มาก ๆ (เราไม่ได้พูดเอง) ตั้งแต่เป็นน.ศ.พ. ก็เรียนตำราสูติฯของเชียงใหม่ ฯลฯ กล่าวได้ว่าทุกปีมีการพูดในลักษณะนี้ จะเป็นเพียงการเอาใจผู้สัมภาษณ์เพื่อขอคะแนนเห็นใจ หรือรู้สึกจริง ๆ ล้วนแต่ทำให้เราต้องกลับมามองตัวเองอยู่เสมอมา

      • ยุคหลัง ๆ นี้ใคร ๆ หลายคนก็พากันมาอีเลคทีฟที่เราปีละมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือเฟลโล่ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เด่นชัดมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นี่อาจเป็นสัญญาณบอกความนิยมของคนในวงการอยู่ไม่น้อย จากสูติภูธรที่ใคร ๆ ไม่ใยดี วันนี้ต้องจองคิวล่วงหน้า ไม่ได้มากันง่าย ๆ แล้วนะ
      • หลายครั้งจากสื่อโซเชียลนศพ. เรสซิเดนท์ทางไลน์ ทางเฟส ยกให้ตำราสูติฯเชียงใหม่ เป็นเล่มแรกลำดับต้นของตำราที่ใช้ทั่วประเทศ ไม่ผิดเลยที่พูดว่าในประเทศนี้มีคนเรียนสูติ-นรีเวชส่วนมากใช้ตำราเรียนของเรา ร่วม 20 ปีแล้ว
      • เรามีผลงานวิจัยค้นคว้าจากความตั้งใจของอาจารย์อย่างมากมาย เป็นอันดับที่หนึ่งของสูติฯในประเทศไทย (อันนี้เช็คดูง่ายๆ จาก Pubmed / Scopus ยาวนานต่อเนื่องมาเป็นเวลานับกว่า 10 ปี เป็นเรื่องจริงที่เห็นเป็นรูปธรรม จนกระทั่งสกว.ประเมินแล้วให้ลงความเห็นเป็นสถาบันการศึกษาที่มีผลงานคะแนนดีเยี่ยม (ต่อเนื่องกันมา) เป็นลำดับที่หนึ่งในการประเมินมาทุกครั้งที่ผ่านมา ย่อมเป็นตัวบ่งชี้สำคัญต่อการยอมรับในวงวิชาการการพูดว่าเราคือสูติศาสตร์ที่ดีที่สุด แม้จะฟังดูน่าหมั่นไส้ แต่ก็พูดอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ อาจารย์ของเราได้รับทุนวิจัยจากองค์กรภายนอกมากมาย เป็นภาควิชาที่มีคลัสเตอร์วิจัยถึงสองคลัสเตอร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น ถ้าพูดถึงการนำเสนอผลงานวิชาการสูติฯ ที่ราชวิทยาลัย แล้ว ตรวจสอบจากการประชุมวิชาการประจำปีแล้ว พบว่าสูติฯเชียงใหม่เราก็มีผลงานนำเสนอมากที่สุดต่อเนื่องกันมากว่า 15 ปี เช่นกัน แสดงถึงความเป็นแหล่งวิชาการที่มั่นคง ยั่งยืนอีกหลักฐานหนึ่ง จริงไหม
      • Conference ที่หลับบ้าง ๆ ตื่นบ้าง แต่ก็ยังคงได้รับการโหวตจากแบบสอบถามของผู้ที่จบไปแล้วพูดเป็นเสียงเดียวกัน (จากแบบสอบถามผู้เรียน) ว่า morning conference เป็น conference ที่เรสซิเดนท์ได้รับประโยชน์มากที่สุด และแตกต่างจากทุกที่ จนกลายเป็นจุดเข้มแข็งโดดเด่น เป็นข่าวรับอรุณที่สร้างประสบการณ์ให้กับทุกชีวิต ซึมซับความรู้และเปลี่ยนประสบการณ์ (แม้บางท่านจะฝืนใจบ้างก็ตาม หลับตั้งแต่ morning tip) นับว่าเป็น activity ที่แตกต่างอย่างมีคุณค่า
      • ติวนอกเวลา เป็นทางเลือกที่แตกต่างยิ่งกว่า ส่วนมากต่างรู้สึกว่านี่เป็นทางเลือกที่ช่วยสร้างบรรยากาศวิชาการให้เข้มข้น ที่ทุกคนเลือกได้ ความหมายที่สำคัญที่สุดมิใช่ความรู้ที่ได้รับในแต่ละวัน แต่การสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมิอาจนิ่งเฉยต่อวิชาการ เป็นจุดเอื้อต่อการเป็นสังคมครอบครัวใหญ่ของเรา เป็นจุดกำเนิดของความเป็นครอบครัวใหญ่มาหลาย generation ต่างจากชีวิตสูติฯ ที่อื่นๆ หรือภาควิชาอื่น ๆ ที่วัน ๆ ทำงานหนักเหนื่อยแล้วแยกย้ายกันไป แต่เราต้องได้พบปะพูดคุยกันทั้งก่อนและหลังติว จึงเป็นสูติฯใกล้ชิดที่ไม่อาจมีใครเหมือน เป็น option เสริมยามค่ำคืนที่ได้รับความนิยมสูง
      • คุณูปการทางวิชาการ แม้จะเป็นภาควิชาโลโซ เรียบง่าย แต่เราก็มีผลงานไฮโซ ไม่มีห้องเรียนอันอลังการ มันก็เป็นเพียงภายนอก หลายอย่างได้เปลี่ยนไปให้เห็นได้ในช่วงอายุคน จากอิทธิพลของวิชาการหลากหลาย แม่ชักเพราะเด็กบาร์ทบวมน้ำที่เราคุ้นเคยเมื่อสามสิบปีก่อน หายไปแล้วจากสวนดอก เด็กธาลัสซีเมียพุงป่องที่ต้องเข้าคิวกันเติมเลือดเป็นภาพที่ไม่คุ้นตากันแล้วในปัจจุบัน จำนวนเด็กดาวน์หายไปกว่าครึ่งของประชากรแถบนี้ คุณูปการของภาคฯที่สร้างองค์ความรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตผู้คนในสังคมแถบนี้อย่างเป็นรูปธรรม เราเห็นชัดเจน และเห็นแล้วว่านี่คือสูติศาสตร์ที่มิใช่เพียงแค่สถานที่ทำคลอด แต่เป็นสถานบริการวิชาการเปลี่ยนแปลงสังคม เหล่านี้ล้วนได้สร้างความรู้สึกดีให้กับลูกศิษย์ทั้งใหม่เก่าตลอดมา
      • อาจารย์ที่เก่งและดี มีคุณภาพ จำนวนมาก (จากการรับเชิญเป็นวิทยากร เขียนแต่งตำรา ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมายาวนาน) เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือรู้จักกันในนามรางวัลช้างทองคำ มหาวิทยาลัยจัดสรรให้ปีละครั้งแก่อาจารย์ดีอาจารย์เก่ง คณะแพทย์เราก็ได้มาหลายเชือก 10 ปีมานี้ ราว 20 เชือกแล้ว แต่สูติฯของเราคว้ามาถึง 9 เชือก นอกจากนั้นอาจารย์เราหลายท่านยังได้รับรางวัลระดับชาติมากมายเลยทีเดียว เช่น อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ อาจารย์ดีเด่น สออ. บุคคลต้นแบบของกรมอนามัย นั่นก็เป็นอีกหลักฐานที่บอกว่าสูติฯมช.เราเป็นสูติฯคุณภาพทางวิชาการจริง ๆ เราคงไม่มโนไปเอง จริงไหม
      • แบบสอบถาม feedback ของผู้ที่จบไปจำนวนมาก บอกว่าเขาภูมิใจ เต็มใจ ที่จะบอกกับใคร ๆ ว่าจบเชียงใหม่ (นี่ถือเป็นคำจำกัดความของความสำเร็จของภาควิชาก็ว่าได้)

        วัฒนวิถีของภาควิชา

        เอาเป็นว่าเราคงเป็นสูติฯที่ดีระดับหนึ่ง การเติบโตสู่ความสำเร็จขององค์กรมาจากคุณภาพภายใน มิใช่การสร้างภาพด้วยตึกสวยงาม ห้องเรียนอลังการ สื่ออีเลคโทรนิคเพียบพร้อม อีเว้นต์หรู ๆ แต่อยู่ที่การเรียนการสอนอย่างทุ่มเทเสียสละ อันนำไปสู่การใฝ่รู้ไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จ คือคุณภาพอาจารย์ ผู้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ศิษย์เก่งดีและมีสุข จบไปอย่างรู้สึกว่าศิษย์มีครู ภารกิจสำคัญของบ้านหลังนี้มิใช่แค่การฝึกปรือให้เขาเชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช หากแต่คือฝึกให้เขาใฝ่รู้และใฝ่ดี ใฝ่รู้ทำให้เขาเก่ง ใฝ่ดีทำให้ความเก่งเกิดประโยชน์กับผู้คน (ใช่ตนเอง) และมีความสุข ซึ่งทำให้ความใฝ่รู้มีความยั่งยืน ไม่มีวิธีการสอนใดดีไปกว่าการทำให้เห็น เป็นให้ดู ทุกย่างก้าวของครูอยู่ในสายตาของลูกศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบต่องานบริการ หรือวิชาการ จะถูกจดจำ พฤติกรรมของครูมีผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียน เชื่อว่าเรามีแบบอย่างดี ๆ เช่นนั้นมากมายให้ซึมซับจดจำ และเราจะไม่ยอมให้ใครจากไปโดยไม่ได้รับความรู้สึกดีจากบ้านหลังนี้ไป สิ่งนี้มีความหมายมาก ครูเองก็อาจไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งที่ครูทำ ครูเป็น ในวันนี้ มีอิทธิพลสักเพียงใดต่อใครหลายคนไปชั่วชีวิต จุดเด่นคือเรามีวัฒนธรรมการสร้างผลงานและความสุขในองค์กรที่เหมือนบ้าน ซึ่งต้องการความตั้งใจที่มุ่งมั่น ความสัมพันธ์ที่น่าอยู่ วัฒนธรรม (วิถีของคนส่วนใหญ่) ทางวิชาการของภาควิชา

        กว่า 30 ปีหลังจากภาควิชาก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาโดยบูรพคณาจารย์รุ่นบุกเบิก (ดังกล่าวมาในภาคแรก) มีความก้าวหน้าในทุกสาขาวิชาเรื่อยมา ดังที่โดดเด่นมาก ๆ เช่น การพัฒนาวิชาเด็กหลอดแก้วจนเฟื่องฟู (มีอาจารย์ธีระพรเป็นแกนนำ) การผ่าตัดผ่านกล้องนานาชนิด (อาจารย์ชัยเลิศ อาจารย์โอภาส) การผ่าตัดมะเร็งขั้นเทพ (เช่น อาจารย์จตุพล อาจารย์ประภาพร) การวินิจฉัยและรักษาทารกในครรภ์หลากหลายรูปแบบ (อาจารย์พรรณี อาจารย์ชเนนทร์ เป็นต้น) ฯลฯ ในเชิงวิชาการแล้วถือว่าเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยความมุ่งมั่นของคณาจารย์ที่สานต่อปณิธานกันเรื่อยมา ในราว 15-20 ปีมานี้ เราได้แยกหน่วยย่อยสาขาวิชาหลักทั้งสาม เพื่อความสะดวกในการบริการและฝึกอบรมต่อยอด และทำให้การศึกษาค้นคว้ารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความแกร่งทางวิชาการเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตามเราก็มีจุดด้อยบางประการเกิดควบคู่ตามกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำ private practice ของอาจารย์มากขึ้น บรรยากาศวิชาการและและความผูกพันในองค์กรก็ลดลง เกือบยี่สิบปีแล้วที่ความผูกพันอาจารย์กับเรสซิเดนท์จางลง นับจากวันที่อาจารย์ออกไปทำ private นอกภาควิชา (ซึ่งอาจารย์ยุคบุกเบิกไม่ทำ) ทำให้บรรยากาศความเป็นสูติฯล้านนาของเราด้อยลง สมัยก่อนถ้าอาจารย์มีเคสพิเศษก็จะทำในภาควิชา นอกเหนือจากเคสสามัญแล้ว เรายังได้เรียนรู้การดูแลเคสของอาจารย์ ช่วยอาจารย์ผ่าตัด หรือเฝ้าคลอด เป็นต้น วันนี้การเรียนรู้กับเคสอาจารย์ลดลงอย่างน่าใจหาย การมีเคสพิเศษมากกลายเป็นจุดเสื่อมของภาคฯ (อ.กำจัดกล่าวไว้ และให้ข้อคิดว่าถ้าอาจารย์หมอสูติฯ ทำคลอดเกิน 10 รายต่อเดือนจะไม่สามารถเป็นอาจารย์ที่ดีได้) ง่ายต่อการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เราตกต่ำ อาจารย์ขาด conference ออกโอพีดีสาย ปล่อยนักเรียนอย่างเดียวดาย ปล่อยให้แพทย์ประจำบ้านลุยกันไปอย่างขาดการเอาใจใส่ เป็นชีวิตที่แห้งแล้งมากขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สื่อโซเชียลเข้ามามีอิทธิพลต่อมากขึ้น ดึงความใส่ใจออกไปจากหน้าที่ สมาธิสั้นลง ความสุขในการงานลดลงทุกระดับ คุณภาพงานลดลง ความห่างเหินของผู้คน และขาดความใส่ใจในการงานมากขึ้น นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้คุณภาพเรสซิเดนท์ของเราด้อยลง แต่นี่นับเป็นประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นในทุกวงการ ไม่ใช่เฉพาะที่ภาคฯเรา

        อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วถือว่าเราได้ set มาตรฐานของภาคฯไว้สูง เป็นแบบพิมพ์สำหรับคนรุ่นต่อไป สิ่งนี้มีความหมายมาก ครูเองก็อาจไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งที่ครูทำครูเป็นในวันนี้ มีอิทธิพลสักเพียงใดต่อใครหลายคนไปชั่วชีวิต โชคดีสักเพียงใด ที่เราได้มีชีวิตร่วมกันที่ภาควิชาฯ แม้ว่าเรามิใช่กลุ่มคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ตำนานของเราได้สอนให้เห็นว่า “ความสุขในการทำงานเพื่อผู้อื่น” เป็นรากฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาของเรา เมื่อเป็นกลุ่มก้อนหลายท่านเข้า ความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จก็ตามมา เรามิได้วัดความสำเร็จในชีวิตด้วยจำนวน publications หรือรายได้ แต่ปิติใจในการเสียสละและเรียนรู้อย่างมีความสุข เชื่อว่า happiness-based learning เท่านั้น ที่ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

        เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

        ในยุคเปลี่ยนผ่านของรัชกาลแห่งแผ่นดิน เป็นห้วงเวลาที่ผู้คนหวนคิดถึงความดีงาม จึงขอทบทวนหนึ่งพระราชดำรัสที่ทรงตรัสแก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในวันที่เข้าเฝ้าถวายงานครั้งแรกเมื่อปี 2524 “มาทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น” ง่าย ๆ สั้น ๆ พร้อมกับตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุดจากชีวิตพระองค์ท่านเอง ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มิได้อยู่ที่มีอะไรมากที่สุด แต่อยู่ที่เสียสละได้มากที่สุด และมีความสุขที่สุด ชัดไหม !!! อยู่เพื่อตน..อยู่แค่ตนสิ้นใจ อยู่เพื่อคนทั่วไป…อยู่ชั่วฟ้าดิน และนี่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของเราเช่นเดียวกันว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร คำตอบคือความสุขในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น (ไม่ใช่รายได้) เมื่อเราช่วยกันจนหลายคนคิดได้เช่นนี้เราก็กลายเป็นสูติฯล้านนาที่แตกต่าง แม้การดำเนินตามเบื้องพระยุคลบาทของเราเป็นเพียงสเกลเล็ก ๆ ในสังคมนี้ แต่ก็เชื่อว่าอย่างน้อยสักเสี้ยวหนึ่งที่เราได้ดำเนินตามปรัชญาง่าย ๆ สั้น ๆ นี้ ที่ทำให้เรามีปิติจากภายใน มิใยที่ใครจะต้องรับรู้หรือจดจำ ปรากฏการณ์ในการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น สัมผัสได้โดยตรงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น

        ความเอาใจใส่ของอาจารย์ต่อเรสซิเดนท์และเฟลโลว์มีสูง มีผลต่อเนื่องให้แพทย์ประจำบ้านเอาใจใส่น.ศ.พ.มากขึ้นด้วย อาจารย์จำนวนไม่น้อยเสียสละเพื่อลูกศิษย์โดยมิได้หวังผลตอบแทน เป็นความเหน็ดเหนื่อยที่มีความสุขในการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ โดยเฉพาะการวิจัยแต่ละเรื่องที่ต้องร่วมใจกันสร้างสรรค์ตั้งแต่คิดโจทย์วิจัยไปจนตีพิมพ์ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยงเสมือนกัลยาณมิตร ตามมาช่วยผ่าตัดนอกเวลาได้อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เข้าถึงได้ง่าย (available) ซึ่งเป็นผลดีโดยตรงต่อผู้ป่วยและวิชาการของแพทย์ทุกระดับ บรรยากาศสังคมครอบครัวและพี่น้องที่สูงมาก (จากอิทธิพลวิชาการทั้งนอกและในเวลาราชการ)

        มองไปข้างหน้าเพื่อก่อความหวัง มองไปข้างหลังเพื่อเก็บบทเรียน

        เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่สุดของการประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในวันนี้ และเป็นความหวังในวันข้างหน้าให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป คือ คุณภาพครู ดังนั้นความหวังสำคัญที่สุด คือการต้อนรับ staff ใหม่คนต่อไป (รวมไปถึงเรสซิเดนท์) ซึ่งบ้านหลังนี้ที่มีธรรมชาติสอดคล้องกับวัฒนธรรมของเรา คือ คนที่แสวงหาคุณค่ามากกว่ารายได้

        แน่นอนเรามิใช่ภาควิชาที่ดีที่สุด เป็นภาควิชาของคนธรรมดา อาจมีการทำมาหากินด้วยเหตุผลหรือความจำเป็นส่วนตัวอยู่บ้าง หมกมุ่นกับเคสพิเศษ โดด conference มากบ้าง น้อยบ้าง บางครั้งโชคร้ายไม่มีความสุขกับกิจกรรมวิชาการหรืองานสอน ฝีนใจราวด์ ออกโอพีดีสาย สอนให้เสร็จ ๆ ฯลฯ นั่นคงเป็นส่วนที่ทำให้ภาควิชามัวหมอง บูรพาจารย์ไม่ปลื้ม ลูกศิษย์ไม่ภูมิใจ ตนก็เอือมระอาตน ขาดความสุขอันพึงได้จากคุณค่าของงาน ความไม่สมบูรณ์แบบนี้คงเกิดขึ้นบ้างบางเวลา แต่เชื่อว่าในบรรยากาศวิชาการของเรา มักทำให้เราพลันคิดได้ ทบทวนตนเอง นึกถึงความสุขดั้งเดิมของชีวิตครู อันเป็นวิถีชีวิตที่เราเคยเลือกว่าดีที่สุด ย่อมเรียกศรัทธาและความรักในงานกลับมา จำกันได้ดีว่าการได้งานที่เรารัก เหมือนการพักผ่อนไปทั้งชีวิต

        ขอให้บทความนี้มีส่วนบ้างในการสร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคนหนึ่งในสังคมเล็ก ๆ นี้ หวังว่าภาควิชาจะเป็นแหล่งบุญของใครบางคนที่ปรารถนาจะมาเป็นครูหรือศิษย์ที่นี่ ที่ที่ได้เปิดโอกาสให้เขาได้สร้างคุณงามและความเก่งอย่างมีความสุข

        บางส่วนของที่มา:

        1. จากบทสนทนาที่โต๊ะกาแฟในห้องอาจารย์อาวุโส
        2. คำบอกเล่าของผู้คนแถวนี้ และศิษย์เก่าสูติฯมช.
        3. แบบสอบถามผู้เรียน กระบวนวิชาหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
        4. บทสัมภาษณ์ผู้สมัครแพทย์ประจำบ้านจำนวนมากกว่า 10 ราย ต่อปี
        5. Portfolio ของผู้สมัครแพทย์ประจำบ้านกว่า 20 ราย ที่บันทึกว่าทำไมเลือกเรียนสูติฯเชียงใหม่
        Read More

        How we get to this point?

        เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
        How do we get to this point?

        รศ. ดร. นพ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล


        ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นภาควิชาหลักที่ก่อตั้งมาพร้อมกันกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ.2501 นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกมีจำนวน 65 คน เรียนเตรียมแพทย์ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แล้วจึงย้ายมาเรียนที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ.2504 เมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2507 คณะแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2508

        ที่ตั้งภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาเดิมอยู่ด้านทิศตะวันออกของคณะแพทยศาสตร์ บริเวณติดกับภาควิชาจิตเวชในปัจจุบัน เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ปัจจุบันใช้งานเป็นหอพักพยาบาล หลังจากนั้นจึงย้ายมายังชั้น 3 อาคาร 7 ชั้น (อาคารบุญสม มาร์ติน) ที่อยู่ในปัจจุบัน ในวันที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดินทางมาทำพิธีลงเสาเข็มตึกคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์ กำลังทำผ่าตัด caesarean section ผู้ป่วย abdominal pregnancy ที่ตั้งครรภ์มานานหลายเดือน induction เท่าไรก็ไม่คลอดเสียที

        คณาจารย์รุ่นแรกที่ร่วมก่อตั้งภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้แก่ ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์, ศ.พญ.ดวงเดือน คงศักดิ์, ศ.นพ.วรวุธ สุมาวงศ์ ต่อมาก็มี รศ.พญ.ศุภร ศิลปิศรโกศล และ รศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์ โดย ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาฯคนแรก ภาควิชาฯได้มีความเจริญพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นลำดับ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันตามลำดับ ดังนี้ ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาฯ คนแรก พ.ศ.2504-2518, ศ.พญ.ดวงเดือน คงศักดิ์ รักษาการหัวหน้าภาควิชาฯ ระหว่างที่ ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ ศึกษาต่อต่างประเทศ พ.ศ.2504-2507 (ก่อนที่จะย้ายไป รพ.ศิริราช และ รพ.รามาธิบดี), รศ.พญ.ศุภร ศิลปิศรโกศร พ.ศ.2518-2528, รศ.นพ.กำจัด สวัสดิโอ พ.ศ.2528-2536, ผศ.นพ.วิรัช เจริญเอี่ยม พ.ศ.2536-2539, รศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล พ.ศ.2539-2547, ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ พ.ศ.2547-2551, รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ พ.ศ.2551-2555, รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล พ.ศ.2555-ปัจจุบัน

        แพทย์ประจำบ้านรุ่นแรกได้แก่ รศ.นพ.กำจัด สวัสดิโอ และพญ.พวงเพ็ญ ริมดุสิต เริ่มฝึกอบรมในปี พ.ศ.2503 ในปีเดียวกันนั้น รศ.พญ.ศุภร ศิลปิศรโกศล ซึ่งปฎิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำอยู่แล้ว กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ขณะนั้นรศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์ ได้จบการฝึกอบรมจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ และสมัครเป็นอาจารย์ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ แต่ตำแหน่งเต็ม อ.นพ.วิกุล ที่ รพ.ศิริราช ได้ชวนมาเป็นอาจารย์ประจำที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2503 จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศในปี พ.ศ.2506 ศ.นพ.กอสิน อมาตยกุล กลับมาจาก Edinburgh มาเป็นอาจารย์ประจำ ในปี พ.ศ.2507

        ในสมัยแรก ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ มีกฎว่าหัวหน้าภาควิชาฯ จะต้องเป็นคนตรวจภายในก่อนผ่าตัดแต่เพียงผู้เดียว และมีการประชุม in service meeting ร่วมกับฝ่ายพยาบาล ซึ่งมี อ.ปราณีต สวัสดิรักษา เป็นหัวหน้าพยาบาลหน่วยสูติกรรม ศ.นพ.หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ในการผ่าตัด vesico-vaginal fistula (V-V Fistula) อย่างมาก ซึ่งถ่ายทอดให้กับรศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล ในรุ่นต่อมา นอกจากนี้ ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด radical hysterectomy และ radical vulvectomy และเป็นคนแรกที่รายงานกรณีผู้ป่วย amoebic vaginitis

        ศ.นพ.กอสิน อมาตยกุล เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการหมุนทารกท่าก้นให้กลับมาเป็นท่าหัว การทำหัตถการ embryotomy ในกรณีที่เกิดการคลอดติดขัด (obstructed labor) ของทารกที่อยู่ท่าขวางและเสียชีวิตแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดโดยเทคนิคผ่าตัด Marshall-Marchetti-Krantz (MMK) เป็นผู้ก่อตั้งและคณบดีคนแรกของบัณฑิตวิทยาลัยที่ดูแลการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของทั้งมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการ reproductive endocrinology และริเริ่มการใช้เทคนิค radioimmunology assay

        ในยุคสมัยนั้น อัตราตายของมารดาและทารกสูงมาก สตรีตั้งครรภ์มักเข้ามาในโรงพยาบาลพร้อมกับภาวะแทรกซ้อนสูง ในช่วงที่ รศ.พญ.ศุภร ศิลปิศรโกศร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ได้มอบหมายให้ รศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์ แก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้ก่อตั้ง high-risk clinic ริเริ่มปรับปรุงการดูแลสตรีตั้งครรภ์ ควบคุมระบบระเบียบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน มีระบบ first call, second call medical staffing วางแผนการดูแลผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษอย่างเป็นระบบ ในสมัยนั้นพบโรค cardiac beriberi บ่อย ให้การรักษาโดยการฉีดวิตามินบีให้อาการก็ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะมดลูกแตกก็พบมากมาย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อพยายามคลอดเองที่บ้านไม่สำเร็จ ซึ่งส่วนมากจะพยายามกันอยู่หลายวัน นอกจากนี้ยังได้ริเริ่มให้มีการแบ่งการดูแลออกเป็นหน่วยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) หน่วย Perinatology โดยมี รศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์ เป็นหัวหน้าหน่วย 2) หน่วย Infertile and family planning โดยมี ผศ.นพ.ธวัชชัย ตัณสถิตย์ เป็นหัวหน้าหน่วย และ 3) หน่วย Gynaecologic oncology โดยมี ผศ.นพ.วิรัช เจริญเอี่ยม เป็นหัวหน้าหน่วย

        คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกท่านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีความเป็นผู้บุกเบิกและมีชื่อเสียงในทางวิชาการทั้งด้านการเรียนการสอนและการทำหัตถการเวชปฏิบัติต่าง ๆ ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ที่สำคัญ ได้แก่ ผศ.นพ.ธวัชชัย ตัณสถิตย์ ริเริ่มการทำ laparoscopic examination และ epidural anesthesia สำหรับ painless labor ผศ.นพ.วิโรจน์ สหพงษ์ ริเริ่มการทำหมันผ่านทางช่องคลอด ผศ.นพ.ประโยชน์ จงอยู่สุข ริเริ่มการทำหมันโดยใช้ laprocator และ falope ring ผศ.นพ.จำนง อุตวิชัย และรศ.พญ.พรรณี ศิริวัฒนาภา ริเริ่มการตรวจอัลตราซาวน์ทารกในครรภ์ รศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล หลังกลับจากการศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย Heidelberg ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ริเริ่มการเจาะตรวจน้ำคร่ำ (amniocentesis) โดยในยุคแรกของห้องปฎิบัติการ ศ.นพ.ต่อพงษ์ สงวนเสริมศรี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ พยายามเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อตรวจโครโมโซมแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ยุคต่อมา รศ.ดร.อำนาจ มีเวที ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พยายามเลี้ยงเซลล์แต่ไม่ประสบความสำเร็จอีก จนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจาก รศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล จึงประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก และรศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล ยังเป็นผู้ริเริ่มการเจาะตรวจเนื้อรก (chorionic villus sampling, CVS) การเจาะตรวจเลือดสายสะดือทารกในครรภ์ (cordocentesis และ fetal blood sampling, FBS) ในการตรวจวินิจฉัยและการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งคลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส (premarital counseling clinic)

        ด้านการเรียนการสอน ผศ.นพ.สมพงษ์ คุณเลิศกิจ หลังจากจบการศึกษาต่อด้านแพทยศาสตรศึกษาจากมหาวิทยาลัย Dundee สหราชอาณาจักร ที่มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์ศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง เป็นผู้ที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน จัดการหมุนเวียนเป็น 2 สายที่ประกอบด้วย อาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาแพทย์ ดูแลจุดบริการ 8 จุด ได้แก่ หอผู้ป่วยสูติกรรม (OB1และ OB2) หอผู้ป่วยนรีเวช ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องตรวจ OPD3, OPD4, และ OPD5 โดยผลัดเปลี่ยนกันทุก 3 เดือน การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา จะต้องมีการสอบเพื่อวุฒิบัตรของแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งแต่เดิมประกอบด้วย 3 ส่วน คือ บันทึกรายงานผู้ป่วย 20 ราย การสอบการตรวจร่างกาย และการสอบความรู้ทางพยาธิวิทยา รศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล เป็นผู้ที่ริเริ่มให้มีการติวเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบบอร์ดขึ้น

        ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสำคัญบางส่วนที่แสดงถึงความเป็นมาของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นเลิศ ทั้งด้านการเรียนการสอนระดับก่อนและหลังปริญญา การรักษาพยาบาล ตลอดจนงานวิจัย โดยรวบรวมเรียบเรียงจากหนังสือครบรอบ 25 ปี และ 40 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการบอกเล่าของคณาจารย์อาวุโสที่มาพบปะสังสรรค์รับประทานอาหารกลางวันที่ภาควิชาฯ กันสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีอาจารย์อีกหลายท่านที่มีส่วนในการร่วมสร้างภาควิชาฯ ให้พัฒนาก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน และอาจยังมิได้อ้างอิงในที่นี้ หากพบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใด ผู้เขียนใคร่ขออภัยมา ณ โอกาสนี้

        บรรณานุกรม

        1. นิมิตร มรกต. 4 ทศวรรษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2542

        2. วัฒนา นาวาเจริญ. 50 ปี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552

        Read More