ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 เดิมสังกัดโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ และได้โอนจากกรมการแพทย์ มาสังกัดในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  กระทรวงสาธารณสุข เดิมมีเตียงจำนวน 120 เตียง ห้องผ่าตัด 2 ห้อง ต่อมาได้รับการจัดสรรเพิ่มอีก 40 เตียง และปรับปรุงสร้างอาคารเพิ่มเติม เป็น 300 เตียง ห้องผ่าตัด  4 ห้อง  หอผู้ป่วยศัลยกรรม 80 เตียง

  • หัวหน้าภาควิชา  : ศ. น.พ. โอกาส พลางกูร
  • สาขาวิชาที่เปิดสอน
    • General Surg. A  ศ. โอกาส  ศ. ธันยโสภาค ศ. เบญจพันธุ์  ศ. วรวัฒน์
    • General Surg. B  ศ. ระเบียบ  Prof. R.A Wise  ศ. พงษ์ศิริ
  • การเรียนการสอนและการฝึกอบรม
    • นักศึกษาแพทย์รุ่นแรก จำนวน  63 คน เริ่มเรียนทางคลินิกชั้นปีที่ 5 ในปี พ.ศ.2504
    • รับแพทย์ประจำบ้านรุ่นแรกในปี พ.ศ.2504 จำนวน 8 คน
    • รับ Intern รุ่นแรก 24 คน จากศิริราชและจุฬา โดยแพทยสภาให้เปิดการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2504
  • การจัดการการเรียนการสอน
    • Problems Based Learning
    • ตัดชั่วโมงบรรยาย เหลือ 80 ชั่วโมง จาก 300 ชั่วโมง
    • เน้นการเรียนกลุ่มย่อย และการเรียนแบบผสมผสาน
    • การสอนข้างเตียงเริ่ม เวลา 07.00 น. จนถึงปัจจุบัน
    • Conferences ระหว่างภาควิชาในสาขาต่างๆ
    • พ.ศ.2508 ย้ายสังกัดจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไปยังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

    ในปี พ.ศ.2513 ทางโรงพยาบาลมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนเตียงไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ภาควิชาศัลยศาสตร์จึงต้องย้ายมายังอาคาร 7 ชั้น มีการเพิ่มจำนวนห้องผ่าตัดเป็นจำนวน 6 ห้อง และเพิ่มจำนวนเตียงเป็น 475 เตียง
    ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (พ.ศ.2513 – พ.ศ. 2525) ภาควิชาศัลยศาสตร์ได้เปิดสอนในสาขาวิชาเฉพาะทาง เริ่มจากหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ, หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ และหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง  และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นคณะแพทยศาสตร์ก็ได้เปิดการเรียนการสอนในภาควิชาอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

    • การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

      • ยกเลิกการฝึกอบรม Inter ในปี พ.ศ.2525
      • ให้ นศพ. ปี 6 ทำหน้าที่ Extern และส่งไปฝึกอบรมที่โรงพยาบาลศูนย์ คือ รพ.พุทธชินราช, รพ.ศูนย์ลำปาง และ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

    ปี พ.ศ.2526 ทางโรงพยาบาลได้เพิ่มอาคารตึกผ่าตัดเป็น 20 ห้อง และได้ย้ายผู้ป่วยส่วนหนึ่งไปยังอาคารสุจิณโณ ทำให้มีจำนวนเตียงเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยได้มากกว่าเดิม และได้สร้างอาคารตรวจผู้ป่วยนอก (OPD) และห้องฉุกเฉิน พร้อมแยกห้องผ่าตัด CVT, NEURO รวมทั้ง ICU ออกไปจากเดิม

    นอกจากนั้นภาควิชาศัลยศาสตร์เริ่มจัดการประชุมวิชาการส่วนภูมิภาค โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทยแห่งประเทศไทย จัดประชุมครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2528 และจะหมุนเวียนไปจัดการประชุมที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา จนถึงปัจจุบัน

    • การเรียนการสอนและการฝึกอบรม
      • เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข มีโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ทำให้นักศึกษาแพทย์มีจำนวนมากขึ้น จึงต้องใช้โรงพยาบาลศูนย์ลำปางเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนทางคลินิก ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-6
      • หลังจากส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภาควิชาจึงเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน หลักสูตร 4 ปี แบ่งเป็นหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ (URO), หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic), หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ (Neuro), หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด (CVT) และหน่วยกุมารศัลยศาสตร์ (Pediatric)

     

    ในปี พ.ศ.2538 ภาควิชาศัลยศาสตร์เริ่มแบ่งหน่วยศัลยศาสตร์ตามระบบ ปัจจุบันมีทั้งหมด 12 หน่วย

    • หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ (URO)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic)
    • หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ (Neuro)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด (CVT)
    • หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ (Pediatric)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินอาหารและส่องกล้อง (Upper GI)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal หรือ Lower GI)
    • หน่วยศัลยศาสตร์หลอดเลือด (Vascular)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ระบบตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Hepato-biliary & Pancreas : HBP)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม (Head & Neck & Breast : HNB)
    • หน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤตศัลยศาสตร์ (Trauma and Critical care)
    • หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทรวงอก (Chest)

    ภาควิชาศัลยศาสตร์ได้เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านทุกหน่วยและมีแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (Fellow) เฉพาะบางหน่วย ปัจจุบันหน่วยที่เปิดฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดคือหน่วยศัลยศาสตร์หลอดเลือด, หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ และหน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ

     

    ภาควิชาศัลยศาสตร์ถือเป็นกำลังสำคัญในการผลิตและฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ เพื่อออกไปรับใช้ประชาชน สังคมและพัฒนาประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

     

    Loading