LIFELONG EDUCATION

หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อต่อยอดสู่หลักสูตรปริญญาได้

จิตเวชศาสตร์ขั้นสูง

จิตเวชศาสตร์เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางประสาทวิทยาที่ใช้อธิบายการทำงานของสมอง ทฤษฎีทางจิตวิทยา และเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวของกับจิตเวชศาสตร์คลินิก รวมไปถึงทักษะการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามหลักการของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) โดยคำนึงถึงปัจจัยทางชีวภาพและด้านจิตและสังคม

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์พื้นฐาน ประกอบไปด้วย การสัมภาษณ์ทางจิตเวชและการตรวจสภาพจิต
แบบประเมินทางจิตเวช การประเมินทางระบบประสาทและโรคทางกาย กายวิภาคของระบบประสาท สรีรวิทยาและชีวเคมีของระบบประสาท การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ของระบบประสาท พัฒนาการทางประชาน ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการเกิดโรคทางจิตเวช ระเบียบวิธีวิจัย สถิติพื้นฐาน โรคจิตเภท โรคผิดปกติทางอารมณ์และกลุ่มโรคทางจิตอื่น ๆ โรควิตกกังวล การรักษาโดยการใช้ยาในจิตเวช พื้นฐานจิตบำบัด การสร้างจิตพลวัติ และจิตบำบัดประคับประคอง การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจและกลุ่มจิตบำบัด การฝึกทำจิตบำบัดประคับประคอง ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ กรณีศึกษาผู้ป่วย และวารสารสโมสรทางจิตเวชศาสตร์

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์คลินิก ประกอบไปด้วย การให้คำปรึกษาการรักษาปัญหาจิตเวชกับแพทย์
ต่างแผนก การดูแลปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคที่รักษาไม่หาย โรคติดเชื้อเอชไอวี สภาพจิตใจที่ส่งผล
ต่อการเจ็บป่วยทางกาย โรคจิตเวชที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติด บุคลิกภาพแปรปรวน นิติจิตเวช ความผิดปกติทางเพศและการนอน ปัญหาจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น จิตบำบัดอิงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดอิงทฤษฎี cognitive theory จริยธรรมในจิตเวชปฏิบัติ จิตเวชศาสตร์ชุมชน การฝึกทำจิตบำบัดระยะยาว ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ กรณีศึกษาผู้ป่วย และวารสารสโมสรทางจิตเวชศาสตร์คลินิก

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติจะเน้นการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยจริงภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ ประกอบไปด้วย การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยนอกที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยจิตเวช การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ณ โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทางกายที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ทั้งแผนกผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกผ่านระบบการให้คำปรึกษาต่างแผนก การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ จิตบำบัดแบบกลุ่ม การให้คำปรึกษารายบุคคล และการปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

...
ศ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์

ช่องทางในการติดต่อสอบถาม

...
นายวีรพงศ์ นวลศรี
psychiatry@cmu.ac.th
053-935422

ความเข้าใจในอาชีพจิตแพทย์ (Career Path in Psychiatry)

หลักสูตรนี้สร้างขึ้นเพื่อเปิดโอกาสผู้ที่สนใจรู้จักและเข้าใจเส้นทางในสายอาชีพจิตแพทย์มากขึ้น ตั้งแต่การกระบวนการฝึกอบรมเพื่อสอบวุฒิบัตรและอนุมัติบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ให้แพทย์กลายเป็นจิตแพทย์ การทำงานของจิตแพทย์ บทบาทของจิตแพทย์ในระบบสาธารณสุขไทยในบริบทต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกเส้นทางในอนาคตของตัวเอง

หลังจากลงทะเบียน ในหลักสูตรอบรมระยะสั้น ในหัวข้อ ความเข้าใจในอาชีพจิตแพทย์ (Career Path in Psychiatry)  ให้ส่งหลักฐานการไปยัง line@  >> คลิก <<

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.พญ.ณันน์ทพร การเวกปัญญาวงศ์
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ช่องทางในการติดต่อสอบถาม

...
นายวีรพงศ์ นวลศรี
weerapong.n@cmu.ac.th
053-935-422

จิตเวชศาสตร์สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติ (Psychiatry for Practitioners)

หลักสูตรนี้สร้างขึ้นเพื่อเปิดโอกาสผู้ที่สนใจรู้จักและเข้าใจด้านจิตเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติมากขึ้น ตั้งแต่อธิบายเนื้อหาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ด้านสมอง ปัจจัยทางชีวภาพและด้านจิตและสังคมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตใจอธิบายวิธีการซักประวัติตรวจสภาพจิตเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วย รวมถึงการวางแผนรักษาอย่างเป็นองค์รวมในผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาซับซ้อนได้ และการกระบวนการฝึกอบรมเพื่อสอบวุฒิบัตร อนุมัติบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ให้แพทย์กลายเป็นจิตแพทย์ การทำงานของจิตแพทย์ บทบาทของจิตแพทย์ในระบบสาธารณสุขไทยในบริบทต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกเส้นทางในอนาคตของตัวเอง

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) พ เบญจลักษณ์ มณีทอน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ช่องทางในการติดต่อสอบถาม

...
นายวีรพงศ์ นวลศรี
weerapong.n@cmu.ac.th
053-935422

Social story วิธีสอนทักษะสังคมสำหรับเด็กออทิสติก

คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรการอบรมนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ส่วน โดยมีเนื้อหาดังนี้

เนื้อหาส่วนที่ 1 ลักษณะและความสำคัญของเรื่องเล่าทางสังคม ประกอบไปด้วย ความหมายของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและทักษะสังคม ลักษณะทางสังคมของเด็กออทิสติก ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องเล่าทางสังคม ส่วนประกอบของเรื่องเล่าทางสังคม
เนื้อหาส่วนที่ 2 การเขียนเรื่องเล่าทางสังคม ประกอบไปด้วย ลักษณะของข้อความ และประเภทของประโยคบนพื้นฐานการออกแบบเฉพาะบุคคล
เนื้อหาส่วนที่ 3 การผลิตเรื่องเล่าทางสังคม ประกอบไปด้วย การใส่ภาพประกอบ และขั้นตอนการผลิตเรื่องเล่าทางสังคม
นื้อหาส่วนที่ 4 การใช้งานเรื่องเล่าทางสังคม ประกอบไปด้วย การจัดสิ่งแวดล้อม ช่วงเวลาและระยะเวลาในการอ่านเรื่องเล่าทางสังคม การจัดท่านั่ง ข้อควรระวังเมื่อใช้
เนื้อหาส่วนที่ 5 ประสบการณ์จากผู้ใช้จริง ประกอบไปด้วย บันทึกการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานเรื่องเล่าทางสังคมจริง จำนวน 1-2 ท่าน