ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นภาควิชาที่มีการดำเนินงานด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการทั้งในระดับปรีคลินิค และคลีนิค การดำเนินงาน ด้านปรีคลินิค ได้แก่การเรียนการสอนและการวิจัยในกลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาในระดับ ปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ส่วนการดำเนินงานด้านคลินิคได้แก่การเรียนการสอนและการวิจัยในกลุ่มวิชาจิตเวชศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุขศาสตร์ โดยมีงานบริการทางวิชาการทั้งในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์และจิตเวชศาสตร์คือการป้องกัน ตรวจวินิจฉัยโรค รักษาและฟื้นฟูสภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตลอดจนการพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักศึกษา ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป

วัตถุประสงค์ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์

1. ให้ความรู้พื้นฐานทางพฤติกรรมศาสตร์แก่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาอื่นที่ เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ

2. ให้การศึกษาทางจิตเวชศาสตร์แก่นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและหลังปริญญาทั้งภาคทฤษฏี และปฏิบัติ

3. ทำการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตเวชศาสตร์

4. ให้บริการทางคลินิกสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตวิทยาคลินิก สังคมสงเคราะห์จิตเวชและ กิจกรรมบำบัด ฯ

5. ให้บริการชุมชนเกี่ยวกับความรู้ทางจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์

ประวัติ

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ได้แยกจากหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2519 โดยมีหัวหน้าภาควิชาเรียงลำดับดังนี้

1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์จำลอง ดิษยวณิช  ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กอบเกียรติ  รักษ์เผ่าพันธ์  1 มีนาคม 2532 – 15 สิงหาคม 2532

3. ผู้ช่วยศาสตราจาย์ นายแพทย์วิชิต  ลีลามานิตย์  กันยายน 2532 – กันยายน 2536

4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ไพรัตน์   พฤกษชาติคุณากร  กันยาน 2536 – กันยายน 2540

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมณี  ภิญโญพรพาณิชย์  กันยายน 2540 – กันยายน 2544

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วุฒิชัย   บุณยนฤธี  22 กันยายน 2544 – 21 กันยายน 2548

7. ศาสตราจารย์ นายแพทย์มานิต  ศรีสุรภานนท์  22 กันยายน 2548 – 21 กันยายน 2552

8. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ณรงค์  มณีทอน  22 กันยายน 2552  – 21กันยายน 2556

9. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ณรงค์  มณีทอน  22 กันยายน 2556  – 21 กันยายน 2560

10. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเบญจลักษณ์ มณีทอน 22 กันยายน 2560 – 21 กันยายน 2564

11. ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) แพทย์หญิงเบญจลักษณ์ มณีทอน 22 กันยายน 2564 – ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

          ภาควิชาฯใช้วิสัยทัศน์ของคณะฯ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันชั้นนำ ระดับมาตรฐานสากล)

 

พันธกิจ

          ด้านการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และเป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อชี้นำด้านสุขภาพจิตในวงกว้าง ให้บริการทางสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐานสากล ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สมรรถภาพหลักความสามารถในการทำวิจัยเสนอสมรรถนะหลักว่าเท่าเทียมกันคือ: ความสามารถด้านการสอนการวิจัย และการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวช

 

ค่านิยมองค์กร

             บุคลากรทุกคนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในการการเรียนการสอน การวิจัย และงานบริการ อาจารย์อาวุโสหรือผู้ที่มีประสบการณ์จะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและทำเป็นตัวอย่างให้แก่อาจารย์ใหม่ ทั้งด้านการสอน การวิจัย และการดูแลผู้ป่วยการทำงานด้านต่าง ๆ รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญจะทำเป็นทีม และได้รับความเห็นชอบจากกรรมการด้านต่าง ๆ ประจำภาควิชาฯ

 

กลยุทธ์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุด

            1. คณะทำงานด้านการเรียนการสอน

            2. คณะทำงานด้านการวิจัย

            3. คณะทำงานด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคม

โดยคณะกรรมการชุดต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้

           1. ระดมความคิดวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมภายนอกและภายเพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็งของภาควิชาฯ

           2. กำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์และพันธกิจของภาควิชาฯให้สอดคล้องกับของคณะและมหาวิทยาลัย

           3. กำหนดวัตถุประสงค์ของภาควิชาฯ

           4. วิเคราะห์ และเลือกกำหนดกลยุทธ์ และแนวทางในการพัฒนา

           5. นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategic implementation) โดยการกำหนดเป้าหมายการดำเนินการการวางแผนปฏิบัติการ (action plan) การปรับปรุงพัฒนาภาควิชาฯ

           6. การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control and Evaluation) โดยติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานและการติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ

โครงสร้างภาควิชาจิตเวชศาสตร์

หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์
รองหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์
งานด้านการเรียนการสอน
งานด้านวิจัย
งานด้านบริการวิชาการ

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นภาควิชาที่มีการดำเนินงานด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการทั้งในระดับปรีคลินิก และคลินิก
การดำเนินงาน ด้านปรีคลินิกได้แก่การเรียนการสอนและการวิจัยในกลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาในระดับ ปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์
ส่วนการดำเนินงานด้านคลินิกได้แก่การเรียนการสอนและการวิจัยในกลุ่มวิชาจิตเวชศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุขศาสตร์

การวิจัย สร้างสรรค์งานวิจัยมาตรฐานสากล เพื่อชี้นำด้านสุขภาพจิตในวงกว้าง

-ความสามารถในการดำเนินการส่งมอบหลักสูตร งานวิจัย และการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ

-ความสามารถในการบูรณาการบริการสุขภาพจิตกับการศึกษาและงานวิจัย

-สร้างเครือข่ายวิจัยแบบสหสาขาและความร่วมมือในการให้บริการสุขภาพที่เป็นเลิศ

การให้บริการตรวจรักษาของภาควิชาจิตเวชศาสตร์

-บริการด้านการรักษา-คลินิก

-ตรวจสุขภาพจิตสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ

-บริการด้านสุขภาพจิตสำหรับ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาบัณฑิตศึกษา