♦ องค์ประกอบและแนวคิดของ METS สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้

  1. Technical skills in medical education: เป็นเนื้อหาหลักหรือประเด็นสำคัญด้านวิชาการที่เกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งแบ่งเป็น 7 module และมีความจำเพาะต่อคณาจารย์แต่ละประเภทในคณะฯ
  2. Non-technical skills in medical education: ประกอบด้วยการอบรมที่เน้นเรื่องคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเป็นอาจารย์ รวมทั้งเน้นในประเด็นที่สอดคล้องกับการทำให้โรงเรียนแพทย์เป็นพื้นที่ปลอดภัย ตามแนว SAFE medical school ซึ่งมีการอบรมหลายรูปแบบ รวมทั้งการอบรมที่จัดขึ้นโดยงานบริหารทรัพยากรบุคคล (human resource: HR) และศูนย์ MeDhri (Med CMU human resource institute)
  3. ส่งเสริมการมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของคณาจารย์ ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เสวนาประสาครูแพทย์สวนดอก (AcadeMED Talk) หรือการจัด Medical Education CMU KM day ประจำปี รวมทั้งระบบการให้คำปรึกษาแก่คณาจารย์ในเรื่องที่เกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษาในทุกแง่มุม

องค์ประกอบที่ 1 ซึ่งเป็นส่วน technical skill in medical education และเป็นเนื้อหาหลักของ METS ประกอบด้วย 7 module ซึ่งนับตั้งแต่ module 2-7 จัดเป็นเนื้อหาด้านแพทยศาสตรศึกษาที่ซับซ้อนมากขึ้น (advanced medical education modules: AME) และเป็นช่วงของการค้นหาอาจารย์ผู้มีความโดดเด่นหรือมีความสนใจด้านแพทยศาสตรศึกษาเป็นพิเศษ (talent pool) ซึ่งแนะนำให้ค่อยๆเรียนตามลำดับขั้นตั้งแต่ module 2 จนถึง 7 แต่อาจมีข้อยกเว้นได้ในบาง module ซึ่งจะกล่าวต่อไป โดยรายละเอียดแต่ละ module เป็น ดังนี้