Module 1: Basic Medical Education

♦ Module 1: Basic Medical Education เป็นเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษาที่คณาจารย์ทุกคนในคณะฯ ต้องได้รับการอบรม ซึ่งเป็นการอบรมในรูปแบบออนไลน์ที่ประกอบด้วย module ย่อย 4 module (online medical education modules: OME) ยกเว้นอาจารย์ใหม่ในแต่ละปี จะเป็นการจัดอบรมแบบ on site ที่ใช้เวลาประมาณ 4 วัน โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของอาจารย์ใหม่ ที่เรียกว่า associate instructor learning program หรือ AILP

♦ เนื้อหาของ OME หรือใน METS module 1 นี้ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่

  • OME module 1 เป็นเรื่องของ basic teaching and learning ซึ่งประกอบด้วย 7 หัวข้อย่อย ได้แก่ learning psychology, OLE concept, educational objective & lesson plan, teaching method, supervision & feedback & reflection, small group and large group teaching, copyright in medical education และ flipped classroom
  • OME module 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ assessment & evaluation ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ได้แก่ principle of assessment and evaluation, standard setting and grading, MCQ, item analysis, written examination and MEQ และ portfolio
  • OME module 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ clinical teaching and assessment ซึ่งประกอบด้วย 8 หัวข้อย่อย ได้แก่ ward round & teaching on the run, bedside & OPD teaching, procedural skill teaching, teaching technique with standardized patient (SP), performance assessment and workplace-base assessment, milestones & EPA & DOPS, OSCE: theory และ OSCE: how to organize OSCE, from theory to practice
  • OME module 4 เป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับด้านแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งมีความสำคัญและควรรู้ ได้แก่ quality assurance (QA) in medical school, generation gap, mental support for students, team based learning (TBL) และ problem based learning (PBL)

♦ หลังจากผ่านการอบรม METS module 1 ในรูปแบบของ OME แล้ว คณาจารย์จะปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอนที่ได้รับมอบหมายเพื่อเป็นการสั่งสมประสบการณ์ (on boarding phase) โดยในระหว่างนั้นสามารถขอคำปรึกษารวมทั้งรับการชี้แนะถ้าต้องการ (consultation & coaching) ตามระบบ METS ได้จัดสรรไว้ โดยจะมีการประเมินผลเพื่อวัดว่าคณาจารย์ได้เรียนรู้ตามเกณฑ์หรือไม่ ทั้งการประเมินโดยตรง เช่น การนับจำนวนชั่วโมงอบรมตามเกณฑ์ของคณะฯ หรือการประเมินโดยอ้อม เช่น ผลการประเมินการสอนจากนักศึกษาดีขึ้นหรือไม่หลังจากที่คณาจารย์ได้รับการอบรมแล้ว โดยความคาดหวังของผลลัพธ์ที่ได้ หลังจากได้รับการอบรม METS module 1 ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

  • ความรู้: ผลลัพธ์ที่ต้องการคือคณาจารย์มีความรู้ในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษา และทำการวัดและประเมินผลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
  • ทักษะ: มีทักษะการสอนที่เหมาะสมกับบริบท และนำทฤษฎีที่ได้รับการอบรมมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ มีความเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (facilitator) และ มีความเป็นมืออาชีพ (professionalism)
  • ทัศนคติ: มีพลังในเชิงบวกในชั้นเรียน ละเว้นการ bullying และปฏิบัติตัวได้เหมาะสมกับความเป็นอาจารย์ สามารถให้ feedback ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน และเน้นความเสมอภาคและเท่าเทียมแก่ผู้เรียนทุกคน

 

วิธีการฝึกอบรม

♦ อาจารย์ใหม่ (AI) การอบรมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร AILP ซึ่งเป็นการอบรมประมาณ 4 วัน รูปแบบมีทั้ง on site หรืออาจเป็น online โดยปรับตามสถานการณ์ในขณะนั้น และภายหลังการอบรมจะให้เขียนแบบประเมิน reflection เพื่อสรุปความรู้สำคัญที่ได้จากอบรม และแผนการที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์

♦ คณาจารย์ทุกท่านในคณะฯ และบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาทีเกี่ยวข้อง เป็นการอบรมแบบ online และ on demand, on your own pace โดยสามารถเข้าอบรมได้ผ่าน website ของศูนย์บริหารกลยุทธและพัฒนาบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (MED CMU Human Resource Institute: MeDhri)

♦ Key Performance Index (KPI) สำหรับ Module 1

เพื่อให้เกิดการพัฒนาการอบรมหรือส่งมอบความรู้ของ METS Module 1 อย่างต่อเนื่อง และเพื่อติดตามประสิทธิภาพของ METS  module 1 ต่อการส่งมอบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการติดตาม ดังนี้

1.ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินการอบรมทั้งหลังการอบรม และในช่วงเวลาอื่น ๆ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ผ่าน website METS, แจ้งโดยตรงผ่าน faculty developer team member และ แจ้งในที่ประชุมที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาทุกระดับ

2.ติดตาม KPI 3 ระดับ [1) input/enrollment, 2) process, 3) outcome] โดยมีรายละเอียด ดังนี้