งานบริการทางพยาธิวิทยา

หน่วยศัลยพยาธิวิทยา

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่ตรวจสิ่งส่งตรวจในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อจากร่างกายผู้ป่วยโดยอยู่ในสภาพสดหรือแช่มาในน้ำยาฟอร์มาลีน ชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตรวจที่กำหนดไว้ (คู่มือสิ่งส่งตรวจ 2564) เพื่อให้การวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากที่สุด สิ่งส่งตรวจจะได้รับการตรวจด้วยตาเปล่าจากพยาธิแพทย์ และทำการเลือกบริเวณเพื่อทำการเตรียมชิ้นเนื้อสำหรับส่งตรวจเป็นจุลพยาธิต่อไป

การส่งตรวจวินิจฉัยระหว่างผ่าตัด (Intraoperative diagnosis with frozen section examination) เป็นการตรวจ ให้การวินิจฉัย และรายงานผลโดยพยาธิแพทย์ให้แก่แพทย์ระหว่างการผ่าตัดเพื่อวางแผนการผ่าตัด (คู่มือสิ่งส่งตรวจ 2564)

หน่วยจุลพยาธิวิทยา

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่ทำชิ้นเนื้อที่ได้รับจากหน่วยศัลยพยาธิให้อยู่ในลักษณะพาราฟินบล๊อคและตัดออกมาเป็นสไลด์แก้วส่งให้พยาธิแพทย์ตรวจวินิจฉัยต่อไป

หน่วยอิมมูโนฮีสโตเคมีและฮีสโตเคมี

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่ย้อมอิมมูโนฮีสโตเคมี (immunohistochemical stain) และฮีสโตเคมี (histochemical stain) จากชิ้นเนื้อพาราฟินบล๊อคในรายที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือเพื่อวางแผนการรักษาของผู้ป่วย

 

 

 

หน่วยเซลล์วิทยา

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่รับและเตรียมสิ่งส่งตรวจประเภทสารน้ำที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (exfoliative cytology) เช่น น้ำเจาะไขสันหลัง เจาะปอด/ช่องท้อง สิ่งส่งตรวจที่ได้จากการเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก (fine needle aspiration cytology) และสิ่งส่งตรวจเพื่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (cervicovaginal pap smear) สิ่งส่งตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตรวจที่กำหนดไว้ (คู่มือสิ่งส่งตรวจ 2564)

 

หน่วยตรวจศพ

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่ตรวจศพที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่โดยพยาธิแพทย์

หน่วยโฟลไซโตเมทรี

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหน้าที่ตรวจ immunophenotyping โดย flow cytometry จากไขกระดูก เลือด สารน้ำ สิ่งส่งตรวจจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตรวจที่กำหนดไว้ (คู่มือสิ่งส่งตรวจ 2564)

หน่วยอณูพยาธิวิทยา

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้บริการการตรวจ ดังนี้

  • การตรวจยีน BCR-ABL gene เชิงคุณภาพ (BCR-ABL detection by RT-PCR)
  • การตรวจยีน BCR-ABL gene เชิงปริมาณ (RQ-PCR) (Real-time quantitative PCR)
  • การตรวจ JAK2 V617F mutation (JAK2 V617F detection by PCR )
  • การตรวจ PML-RARA fusion gene (PML-RARA fusion gene detection by RT-PCR )
  • การตรวจ HPV DNA (oropharyngeal squamous cell carcinoma)
  • การตรวจ HPV DNA co-testing
  • การตรวจหาเชื้อ HSV และTB (HSV and TB detection by real-time PCR)
  • การตรวจ Chromogranin A (Blood)
  • การตรวจ EGFR mutation (Blood)
  • การตรวจยีน mutation ด้วยเทคนิค next-generation sequencing

 

FNA CLINIC

เป็นหน่วยงานของภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ภายใต้การดูแลของหน่วยเซลล์วิทยา เป็นคลินิกที่พยาธิแพทย์ทำการเจาะดูดเอาตัวอย่างเซลล์จากก้อนเนื้องอกหรือรอยโรคในอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น ต่อมไทรอยด์ เต้านม ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แล้วทำการวินิจฉัยทางเซลล์วิทยา โดยมักจะถูกส่งปรึกษาจากห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไป  ห้องตรวจผู้ป่วยนอก รวมถึงหอผู้ป่วยใน

          ปัจจุบันที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 13.00-15.00 น. ที่ห้องตรวจเบอร์ 6 หู คอ จมูก และทุกวันพุธ เวลา 13.00-15.00 น. ที่ห้องตรวจเบอร์ 1 ศัลยกรรม