How to spot uterine mass: uterine sarcoma?

ฉันท์หทัย นันท์ชัย
อาจารย์ ฉลอง ชีวเกรียงไกร


มะเร็งมดลูก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตาม The National Comprehensive Cancer Network (NCCN) 2018(1) ได้แก่

• มะเร็งเยื่อบุผิวโพรงมดลูก (Malignant epithelial carcinoma)

  • Pure endometroid carcinoma
  • Serous or Clear cell adenocarcinoma
  • Undeferential carcinoma
  • Carcinosarcoma (CS) ซึ่งเดิมจัดอยู่ในกลุ่ม sarcoma แต่ปัจจุบันให้กำหนดระยะตามมะเร็งเยื่อบุผิวโพรงมดลูก

• มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา (Malignant mesenchymal (Sarcoma))

  • Endometrial stromal sarcoma (ESS)
    • Low grade -> พยากรณ์โรคดี และตอบสนองดีต่อฮอร์โมน
    • High grade -> พยากรณ์โรคไม่ดี และไม่ค่อยตอบสนองต่อฮอร์โมน จึงจัดอยู่ใน Undifferentiated or poorly differentiated endometrial sarcoma (UUS)
  • Uterine leiomyosarcoma (uLMS)
  • Undeferential uterine sarcoma (UUS)
  • Rare subtype: Adenosarcoma (AS)

มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา (Uterine sarcoma) เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อย โดยมีอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 1 ของมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรีหรือประมาณร้อยละ 3-7 ของมะเร็งมดลูก แต่ก็มีความจำเป็นที่สูติแพทย์ทั่วไปจะต้องวินิจฉัยให้ได้

มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา เป็นมะเร็งที่พยากรณ์โรคไม่ดี อัตราการรอดชีวิตโดยรวม (overall survival rate) เฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 50 เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะวินิจฉัยแยกโรค เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักจะพบก้อนเนื้อที่มดลูกเหมือนๆกับโรคเนื้องอกมดลูกชนิดอื่นที่เจอได้บ่อยกว่า

Differential diagnosis of uterine mass

  • Benign leiomyoma or leiomyoma variant
  • Uterine adenomyoma or diffuse adenomyosis
  • Uterine sarcoma
  • Uterine carcinosarcoma (considered an epithelial neoplasm)
  • Endometrial carcinoma
  • Metastatic neoplasm (typically from another reproductive tract primary)
  • Endometrial processes that may enlarge the uterus – Endometrial polyp, endometrial hyperplasia, hematometra

ซึ่งในเนื้อหาครั้งนี้จะเน้นเปรียบเทียบ Uterine sarcoma และ Uterine fibroid (Leiomyoma) ไปด้วย

ระบาดวิทยา

มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา พบอุบัติการณ์น้อยแต่รุนแรง ในปัจจุบันจากข้อมูล Surveillance, Epidemiology และ End Results ของ National cancer database พบอุบัติการณ์มะเร็งชนิดนี้เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 7.6 เป็น 9.1 ของมะเร็งมดลูกทั้งหมด (ปี ค.ศ. 1998 ถึง 2001) (2) ส่วนใหญ่พบในระยะแรกๆ ระยะ 1 พบ 60 %, ระยะ 2 และ 3 พบ 16 %, ระยะ 4 พบ 22 % ของมะเร็งชนิดนี้ (3)

ความเสี่ยง

  1. Age อายุเฉลี่ยประมาณ 60 ปี แต่ก็มีพบมะเร็งชนิดนี้ในคนอายุน้อย 20 ปี แต่น้อยมาก (2)
  2. Race พบอุบัติการณ์ของ Leiomyosarcomas ในคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาวถึง 2 เท่า (4, 5)
  3. Tamoxifen การใช้ระยะเวลานาน (≥ 5 ปี) พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา แต่ยังไม่ทราบความสัมพันธ์ชัดเจน(6)
  4. Pelvic radiation มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมาสัมพันธ์กับการที่มีประวัติการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก่อน ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับชนิด carcinosarcoma(7) ส่วนชนิด leiomyosarcoma จากการศึกษาพบว่ามี 1 ใน 208 คนของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้มีประวัติการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชงกรานมาก่อน(8)
  5. Hereditary conditions การศึกษายังน้อยสำหรับเรื่องพันธุกรรมการเกิดมะเร็งชนิดนี้
  6. อื่น ๆ เช่น parity, menarche หรือ menopause ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด

 

Uterine sarcoma

Leiomyoma

1.              Age

Old age, postmenopausal status

(60 yr)

Reproductive aged

(20s – Black, 30s or 40s – White)

2.              Race (9)

Black

Black

3.              Tamoxifen

Associated ( 5 yrs)

4.              Pelvic radiation

Associated

Not Associated

5.              Hereditary conditions

Retinoblastoma

hereditary leiomyomatosis

renal cell carcinoma syndrome.

 

Associated

 

Not Associated

6.              Estrogen exposed

Early menarche, Parity decrease, Hormone Estrogen

 

Not Associated

 

Associated

 

ลักษณะทั่วไป

• Uterine leiomyosarcoma (uLMS)

มะเร็งกล้ามเนื้อมดลูกที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 1-2 ของมะเร็งมดลูกทั้งหมด และพบประมาณร้อยละ 0.1-0.3 ที่วินิจฉัยก่อนผ่าตัดเป็นเนื้องอกมดลูก (Leiomyoma) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี

• Endometrial stromal sarcoma (ESS)

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก พบร้อยละ 0.2 ของมะเร็งมดลูกทั้งหมด หรือประมาณร้อยละ 15 ของมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุมากกว่า 40-60 ปี

• Adenosarcoma (AS)

ในส่วนของซาร์โคมาซึ่งมักจะเป็น ESS เนื้องอกชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม low malignant potential พบได้ในสตรีช่วงอายุ 14-89 ปี ส่วนใหญ่จะพบในวัยหมดประจำเดือน

• Carcinosarcoma (CS)

มะเร็งชนิดนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนคือ มะเร็งเยื่อบุผิว carcinoma และมะเร็งของเนื้อเยื่อ sarcoma พบได้ร้อยละ 50 ของมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา ส่วนใหญ่พบในวัยหมดประจำเดือน จากการศึกษาพบว่ามะเร็ง CS มีต้นกำเนิดมาจากมะเร็งเยื่อบุผิว และการกระจายของโรคเป็นแบบเดียวกัน FIGO จึงกำหนดระยะของมะเร็งตามมะเร็งเยื่อบุผิว

อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คลำได้ก้อน มดลูกโตขึ้น ปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน ตกขาวผิดปกติ พบก้อนยื่นออกมาในช่องคลอด อาการและอาการแสดงจะคล้ายกับเนื้องอกมดลูก (Leiomyomas)

อาการและอาการแสดงเฉพาะ

o LMS มดลูกโตขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือนโดยไม่มีประวัติการได้รับฮอร์โมนทดแทน มีอาการปวดท้อง ท้องอืดจากก้อนเนื้องอกที่แตกและมีเลือดออกในช่องท้อง

o ESS ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยจะไม่มีอาการ มีรายงานพบ ESS ร่วมกับ Polycystic ovary ในกรณีที่พบเนื้องอกมดลูกที่พยาธิวิทยาเข้าได้กับ Endometrial stromal tumor ควรซักประวัติเพื่อตรวจหา ESS ของมดลูกด้วย

o AS ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเยื่อบุโพรงมดลูกและกล้ามเนื้อมดลูก น้อยมากที่จะลุกลามออกนอกตัวมดลูก

o CS อาจตรวจพบระดับของ CA 125 มีค่าสูง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะ 3-4 คือพบการลุกลามออกนอกตัวมดลูกแล้ว และสัมพันธ์กับการฉายรังสีมาก่อนร้อยละ 37

ลักษณะทางพยาธิวิทยา

• LMS

o ลักษณะภายนอก ส่วนใหญ่อยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นก้อนเดี่ยว ก้อนขนาด 6-9 ชม. เมื่อเปรียบเทียบกับ Leiomyoma จะมีลักษณะนุ่มกว่า ผิวหน้าตัดเป็นสีเทา เจอบริเวณเนื้อตายและเลือดออก เนื้องอกแยกออกจากลักษณะเนื้อมดลูกปกติได้ไม่ชัดเจน

o ลักษณะทางพยาธิวิทยา ( หากลักษณะเข้าได้ 2/3 ข้อ นึกถึง sarcoma)(ตาราง 1)

  • Coagulative tumor cell necrosis
  • Nuclear atypia
  • High mitotic figure (MF) per 10 HPF

บางครั้งจะมีรายงานเป็น Low, intermediate หรือ high grade แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั่วไป

ควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากกลุ่ม benign smooth muscle tumor บางชนิดที่อาจมีลักษณะ Atypical histologic features หรือ unusual growth patternและต้องแยกโรคจาก smooth muscle tumor of uncertain malignant potential (STUMP) (ตาราง 2)

• ESS

  • ลักษณะภายนอก เนื้องอกมีลักษณะนุ่ม ผิวขรุขระ มีสีเหลืองซีด อยู่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก กล้ามเนื้อมดลูก หรือทั้ง 2 บริเวณ เนื้องอกชนิดนี้สามารถลุกลามเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หลอดเลือดและต่อมน้ำเหลืองในบริเวณพารามีเทรียม (Parametrium) ดั้งนั้น ขณะตรวจชิ้นเนื้อมดลูก ควรจะตรวจหลอดเลือดบริเวณปีมกลูกและ broad ligament ด้วย
  • ลักษณะทางพยาธิวิทยา ตรวจพบเซลล์คล้าย endometrial stromal cell ของเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วง proliferative โดยจะพบ mild nuclear atypia ร่วมกับ mitotic activity น้อยกว่า 5 MF/10 HPFs ส่วนใหญ่ไม่พบหย่อมเนื้อตาย

• High-grade ESS

o ลักษณะภายนอก ส่วนใหญ่จะพบก้อนเป็น polypoid หน้าตัดเป็นสีขาวขเทา มักพบหย่อมเนื้อตายหรือบริเวณเลือดออกในก้อน และอาจพบการลุกลามเข้ากล้ามเนื้อมดลูก

o ลักษณะทางพยาธิวิทยา พบเซลล์ที่มี severe nuclear pleomorphism, high mitotic activity มากกว่า 10 MF/10 HPFs อาจจะพบหย่อมเนื้อตายหรือไม่ก็ได้ ตรวจไม่พบกล้ามเนื้อเรียบหรือ endometrial stromal differentiation

• AS

  • ลักษณะภายนอก ก้อนคล้ายติ่งเนื้อ ติดแน่นในโพรงมดลูก ผิวหน้าตัดมีสีเทาน้ำตาล อาจพบหย่อมเนื้อตายหรือเลือดออกได้ มีการลุกลามเข้ากล้ามเนื้อมดลูกได้ประมาณร้อยละ 15 แต่จะเป็นการลุกลามแบบลึกแค่ร้อยละ 5
  • ลักษณะทางพยาธิวิทยา
    • ประกอบด้วยส่วนผสมของเนื้องอกเยื่อบุผิวชนิดไม่ร้าย และ low grade sarcoma โดยส่วนใหญ่มักเป็น ESS
    • Periglandular cuff เป็นบริเวณ gland มีลักษณะเป็น cystic และมีส่วนที่เป็น stroma ล้อมรอบ
    • ลักษณะพยาธิคล้าย Phylloides tumor ของเต้านม
    • ค่าเฉลี่ย Mitotic activity เท่ากับ 9 MF/10 HPFs แต่ถ้าพบ Periglandular cuff ถึงแม้ Mitotic activity เท่ากับ 2 MF/10 HPFs ก็สามารถวินิจฉัยได้
    • ลักษณะค้าย Pure sarcoma คือ ส่วนใหญ่จะพบ nuclear atypia เพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง พบ mesenchymal cell แบบ heterogeneous ร้อยละ 10 พบ sarcomatous overgrowth ร้อยละ 2

• CS

  • ลักษณะภายนอก ก้อนค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาลแดงอ่อน อยู่บนฐานกว้าง (Sessile) หรืออาจะมีก้าน (Pedunculated) ทำให้มีก้อนยื่นในโพรงมดลูกและอาจมีก้อนโผล่พ้นปากมดลูกออกมา ภายในก้อนอาจพบหย่อมเนื้อตายหรือบริเวณเลือดออกได้
  • ลักษณะทางพยาธิวิทยา
    • พบได้ 2 ส่วน Carcinoma และ Sarcoma
    • Carcinoma มักจะเป็น cell type ชนิด serous (2ใน3) หรือ endometroid (1ใน3) อาจพบ clear cell, mucinous หรือ squamous cell ได้ มักจะเป็น grade 3 (80%) grade 1 หรือ 2 (อย่างละ 10%)
    • Sarcoma มักจะเป็นแบบ heterogenous ที่พบบ่อยคือ malignant skeleton muscle หรือ cartilage เกือบทั้งหมดเป็น high grade sarcoma

การพยากรณ์โรค :

โรคมะเร็งในกลุ่มนี้พยากรณืโรคไม่ค่อยดี

  • LMS อัตราการรอดชีวิตภายใน 5 ปี ของผู้ป่วยที่มีรอยโรคอยู่ภายในมดลูกประมาณร้อยละ 51 ในโรคระยะที่ 1 และร้อยละ 25 ในโรคระยะที่ 2 ส่วนผู้ป่วยที่มีรอยโรคกระจายออกนอกมดลูก พบว่าทั้งหมดเสียชีวิตในเวลาต่อมา
  • High-grade ESS อัตราการรอดชีวิตภายใน 5 ปี ของผู้ป่วยที่ไม่มีและมีการลุกลามเข้าเส้นเลือดเท่ากับร้อยละ 83 และ 17 ตามลำดับ
  • CS อัตราการรอดชีวิตภายใน 5 ปี โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30
  • AS มีการกลับเป็นซ้ำส่วนใหม่ และมีอัตราที่ต่างกันในแต่ละระยะของโรค

การวินิจฉัย

มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา การวินิจฉัยควรได้จากการอ่านผลทางพยาธิวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยหลังจากทำการผ่าตัด myomectomy หรือ hysterectomy เนื่องจากว่าก้อนเนื้อมีลักษณะคล้ายกับก้อนเนื้องอกมดลูก leiomyoma

การตรวจร่างกาย เป็นพื้นฐานที่ต้องทำ สามารถตรวจพบก้อน บอกตำแหน่ง ขนาด ลักษณะผิวของก้อนเรียบ/ขรุขระ ลักษณะความนุ่ม/แข็ง ก้อนติดแน่น (Fixed mass) ซึ่งมักเป็นลักษณะของก้อนเนื้อร้าย แต่ในบางโรค เช่น เยื่อบุโพงรมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) หรือเคยมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมาก่อน การตรวจภายในก็จะพบว่ามีการติดเเน่นของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้ ดังนั้นโรคนี้ไม่สามารถวินิจฉัยได้เลยจากการตรวจร่างกาย

การตรวจ Endometrial biopsy จากการศึกษาการทำ endometrial sampling วินิจฉัยมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมาได้แค่ร้อยละ 33 ถึง 68 ของมะเร็งชนิดนี้ (10, 11) และมี sensitivity ที่ค่อยข้างต่ำ(12) ส่วนการตรวจ biopsy ตรงบริเวณที่สงสัย หากเป็นชนิดที่ก้อนโผล่ออกมาจากปากมดลูกควรจะเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจ ส่วนการสุ่มเข้าไปเก็บชิ้นเนื้อในโพรงมดลูก(Imaging-guided biopsy, laparoscopy) มีโอกาสที่จะไม่ได้รอยโรค เพราะฉะนั้นหากผลตรวจเป็น negative ก็ไม่สามารถแยกโรคมะเร็งมดลูกซาร์โคมาออกได้

• การตรวจ Frozen section ในระหว่างการผ่าตัด myomectomy หรือ hysterectomy มีความจำเป็นหากหากเราสงสัยว่าจะเป็นก้อนเนื้อร้าย แต่การตรวจ Frozen section ก็ยังไม่ใช่การวินิจฉัยสุดท้ายเนื่องจากว่าเป็นการตรวจชิ้นเนื้อที่จำกัดเฉพาะที่ผู้ผ่าตัดสงสัย แต่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนชนิดการผ่าตัด โดยลักษณะที่ต้องสงสัยของ Sarcoma ซึ่งจะมีความแตกต่างจากก้อนเนื้องอก Leiomyoma มีดังนี้(13-15)

  • Loss of the typical whorl pattern.
  • Homogeneous texture.
  • Yellow color.
  • Soft consistency.
  • Absence of a bulging surface when the capsule is incised.
  • Ill-defined margins (แต่กลุ่ม adenomyoma หรือ leiomyomas ที่มี degenerative change หรือเคยได้รับการรักษาด้วย gonadotropin-releasing hormone agonist or antagonist จะมีลักษณะแบบนี้ได้)

การตรวจทางรังสี(Imaging) ภาพถ่ายรังสีของมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมากับเนื้องอกมดลูก Leiomyomaมีลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากมักจะมีลักษณะเป็นก้อนและอาจมีลักษณะเนื้อตาย (Central necrosis) ได้เหมือนกัน หากต้องการความแม่นยำอาจใช้การตรวจอัลตราซาวน์ ตามด้วยการตรวจ Magnetic resonance imaging (MRI)

การตรวจ Pelvic ultrasound มักจะเลือกเป็นอย่างแรกในการตรวจ ก้อนเนื้อมดลูกที่ควรสงสัยมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา ได้แก่ mixed echogenic, poor echogenic parts ,central necrosis, central doppler findings of irregular vessel distribution, low impedance to flow, high peak systolic velocity อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวก็สามารถเจอได้ในก้อนเนื้อมดลูก leiomyomas เช่นกัน(16)

การตรวจด้วย Magnetic resonance imaging (MRI) อาจจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยวินิจฉัย แต่ยังไม่สามารถใช้ ภาพทาง MRI แค่อย่างเดียววินิจฉัยได้ เนื่องจากลักษณะที่พบ

  • Ill-defined margins มักพบใน Uterine sarcoma (17)
  • Calcifications มักจะไม่ค่อยเจอใน leiomyosarcomas ส่วนใหญ่เจอในก้อนที่กำลังจะมีส่วนของเนื้อตาย(18)
  • Blood flow จะมาเลี้ยงเยอะในก้อนเนื้อ leiomyomas
  • Intralesional hemorrhage มักพบใน Uterine sarcoma (19)

ส่วนการตรวจ Computed tomography (CT) ไม่ช่วยในการแยก leiomyomas และ uterine sarcomas ส่วน Positron emission tomography หรือ CT with fluorodeoxyglucose (FDG) ในทางปฏิบัติ ไม่มีที่ใช้ทั่วไป แต่หากมีการ uptake ที่ก้อนจะบ่งบอกถึง uterine sarcomas มากกว่า leiomyomas (20, 21)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ (Laboratory)

ยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ไหนที่สามารถใช้แยก leiomyomas กับ uterine sarcoma ได้ มีบางการศึกษา ที่พูดถึง lactate dehydrogenase (LDH), CA 125 แต่ยังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอสนับสนุน(22)

ระยะโรค

การแบ่งระยะโรคของมะเร็งมดลูกซาร์โคมา ใช้ตามเกณฑ์ของ International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) ปี ค.ศ.20 ดังตาราง

UtSarc1

 NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) 2018: Uterine Neoplasms

การรักษา

การรักษาเบื้องต้น (primary treatment) จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่วินิจฉัย Uterine sarcoma หลังจากการผ่าตัด TAH with BSO
  • กลุ่มที่วินิจฉัย Uterine sarcoma จาก Biopsy หรือ myomectomy ซึ่งมีแนวทางการรักษาตามแนวทางของ NCCN Guideline 2018 ข้างล่างนี้

UtSarc2

NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) 2018: Uterine Neoplasms

การรักษาเพิ่มเติม (additional therapy) หลังจากให้การรักษาเบื้องต้น ก็จะมีการพิจารณาให้การรักษาเพิ่มเติมซึ่งจะแบ่งตามชนิดของพยาธิวิทยา ดังข้างล่างนี้

UtSarc3

NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) 2018: Uterine Neoplasms

UtSarc4

NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) 2018: Uterine Neoplasms

การตรวจติดตามโรค (surveillance)

  • ตรวจติดตามทุก 3-4 เดือน ในช่วง 2-3 ปีแรก หลังจากนั้นตรวจติดตาม ทุก ๆ 6-12 เดือน
  • การตรวจติดตามจะเป็นการติดตามอาการ ตรวจร่างกาย ต่อมน้ำเหลือง ตรวจภายใน และการตรวจทางรังสี เช่น Chest X-ray/ MRI/CT หรืออื่น ๆที่สงสัยการกระจายของโรค

การกลับมาเป็นซ้ำของโรค แบ่งออกเป็น 3 ชนิด

  • Local recurrent มีทางเลือกให้การรักษาด้วยการผ่าตัด Surgical exploration + resection ร่วมกับ systemic therapy หรือ external beam radiation therapy (EBRT)
  • Isolated metastasis ให้พิจารณาว่าสามารถผ่าตัดเอาจุดที่มีการกระจายออกได้ไหม และให้การรักษาร่วมกับ Systemic therapy และ palliative EBRT
  • Distance metastasis ให้การรักษาด้วย Systemic therapy หรือ palliative EBRT หรือการดูแลระยะสุดท้ายของโรคมะเร็ง (Best supportive care)

Systemic therapy ของ uterine sarcoma หลักๆคือกลุ่ม Doxorubicin,Docetaxel/gemcitabine, Doxorubicin/olaratumab,Aromatase inhibitor for ESS

ภาคผนวก

ตาราง 1

UtSarcT1

ตาราง 2

UtSarcT2

เอกสารอ้างอิง

  1. Koh WJ, Abu-Rustum NR, Bean S, Bradley K, Campos SM, Cho KR, et al. Uterine Neoplasms, Version 1.2018, NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology. Journal of the National Comprehensive Cancer Network : JNCCN. 2018;16(2):170-99.
  2. Ueda SM, Kapp DS, Cheung MK, Shin JY, Osann K, Husain A, et al. Trends in demographic and clinical characteristics in women diagnosed with corpus cancer and their potential impact on the increasing number of deaths. American journal of obstetrics and gynecology. 2008;198(2):218.e1-6.
  3. Nordal RR, Thoresen SO. Uterine sarcomas in Norway 1956-1992: incidence, survival and mortality. European journal of cancer (Oxford, England : 1990). 1997;33(6):907-11.
  4. Brooks SE, Zhan M, Cote T, Baquet CR. Surveillance, epidemiology, and end results analysis of 2677 cases of uterine sarcoma 1989-1999. Gynecologic oncology. 2004;93(1):204-8.
  5. Sherman ME, Devesa SS. Analysis of racial differences in incidence, survival, and mortality for malignant tumors of the uterine corpus. Cancer. 2003;98(1):176-86.
  6. Wickerham DL, Fisher B, Wolmark N, Bryant J, Costantino J, Bernstein L, et al. Association of tamoxifen and uterine sarcoma. Journal of clinical oncology : official journal of the American Society of Clinical Oncology. 2002;20(11):2758-60.
  7. Fang Z, Matsumoto S, Ae K, Kawaguchi N, Yoshikawa H, Ueda T, et al. Postradiation soft tissue sarcoma: a multiinstitutional analysis of 14 cases in Japan. Journal of orthopaedic science : official journal of the Japanese Orthopaedic Association. 2004;9(3):242-6.
  8. Giuntoli RL, 2nd, Metzinger DS, DiMarco CS, Cha SS, Sloan JA, Keeney GL, et al. Retrospective review of 208 patients with leiomyosarcoma of the uterus: prognostic indicators, surgical management, and adjuvant therapy. Gynecologic oncology. 2003;89(3):460-9.
  9. Baird DD, Dunson DB, Hill MC, Cousins D, Schectman JM. High cumulative incidence of uterine leiomyoma in black and white women: ultrasound evidence. American journal of obstetrics and gynecology. 2003;188(1):100-7.
  10. Sagae S, Yamashita K, Ishioka S, Nishioka Y, Terasawa K, Mori M, et al. Preoperative diagnosis and treatment results in 106 patients with uterine sarcoma in Hokkaido, Japan. Oncology. 2004;67(1):33-9.
  11. Jin Y, Pan L, Wang X, Dai Z, Huang H, Guo L, et al. Clinical characteristics of endometrial stromal sarcoma from an academic medical hospital in China. International journal of gynecological cancer : official journal of the International Gynecological Cancer Society. 2010;20(9):1535-9.
  12. Hinchcliff EM, Esselen KM, Watkins JC, Oduyebo T, Rauh-Hain JA, Del Carmen MG, et al. The Role of Endometrial Biopsy in the Preoperative Detection of Uterine Leiomyosarcoma. Journal of minimally invasive gynecology. 2016;23(4):567-72.
  13. Schwartz PE, Kelly MG. Malignant transformation of myomas: myth or reality? Obstetrics and gynecology clinics of North America. 2006;33(1):183-98, xii.
  14. Quade BJ. Pathology, cytogenetics and molecular biology of uterine leiomyomas and other smooth muscle lesions. Current opinion in obstetrics & gynecology. 1995;7(1):35-42.
  15. Bell SW, Kempson RL, Hendrickson MR. Problematic uterine smooth muscle neoplasms. A clinicopathologic study of 213 cases. The American journal of surgical pathology. 1994;18(6):535-58.
  16. Amant F, Coosemans A, Debiec-Rychter M, Timmerman D, Vergote I. Clinical management of uterine sarcomas. The Lancet Oncology. 2009;10(12):1188-98.
  17. Schwartz LB, Zawin M, Carcangiu ML, Lange R, McCarthy S. Does pelvic magnetic resonance imaging differentiate among the histologic subtypes of uterine leiomyomata? Fertility and sterility. 1998;70(3):580-7.
  18. Van den Bosch T, Coosemans A, Morina M, Timmerman D, Amant F. Screening for uterine tumours. Best practice & research Clinical obstetrics & gynaecology. 2012;26(2):257-66.
  19. Samuel A, Fennessy FM, Tempany CM, Stewart EA. Avoiding treatment of leiomyosarcomas: the role of magnetic resonance in focused ultrasound surgery. Fertility and sterility. 2008;90(3):850.e9-12.
  20. Rha SE, Byun JY, Jung SE, Lee SL, Cho SM, Hwang SS, et al. CT and MRI of uterine sarcomas and their mimickers. AJR American journal of roentgenology. 2003;181(5):1369-74.
  21. Kitajima K, Murakami K, Kaji Y, Sugimura K. Spectrum of FDG PET/CT findings of uterine tumors. AJR American journal of roentgenology. 2010;195(3):737-43.
  22. Brolmann H, Tanos V, Grimbizis G, Ind T, Philips K, van den Bosch T, et al. Options on fibroid morcellation: a literature review. Gynecological surgery. 2015;12(1):3-15.