Nutrition in pregnancy

พญ. พรรณารัตน์ ขุนทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. พญ. สายพิณ พงษธา


 

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ย่อมเป็นการสงเสริมกระบวนการดังกล่าว ในขณะที่การได้รับสารอาหารที่น้อยหรือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์(1-5) เพื่อสุขภาพของมารดาและทารกที่สมบูรณ์ในบทความฉบับนี้จะได้กล่าวถึงภาวะโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ที่ควรทราบ

การประเมินภาวะโภชนาการ

การประเมินภาวะโภชนาการที่ดีนั้นควรเริ่มประเมินตั้งแต่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนด้านโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ โดยควรจะมีการประเมินร่วมกันเป็นทีมเพื่อผลลัพธ์ที่ดี ประกอบไปด้วย สูติแพทย์ และนักโภชนาการที่มีความรู้ด้านโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์รวมถึงระหว่างการตั้งครรภ์

ซักประวัติ

ประวัติทางการแพทย์และการผ่าตัด ประวัติทางการแพทย์สามารถบ่งบอกพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีหลายภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพและโภชนาการของมารดาและทารกในครรภ์ดังแสดงในตารางที่ 1 เช่น ผู้ที่รักษาโรคอ้วนด้วยวิธีผ่าตัด(Bariatric surgery) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารบางประเภทได้ และต้องการการดูแลเรื่องโภชนาการอย่างใกล้ชิด

Nutrition T1

ตารางที่ 1 Medical history that poses potential nutrition-related risks in pregnancy

ประวัติทางด้านสูติกรรม เช่น ประวัติครรภ์ก่อนทารกมีภาวะ Neural tube defect ซึ่งครรภ์นี้ควรได้รับ folic acid 4 mgต่อวันก่อนการตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงในครรภ์ต่อไป เป็นต้น

การบริโภคอาหาร สอบถามโดยการใช้แบบสอบถามอย่างย่อ(ตารางที่2) เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีความชำนาญด้านโภชนาการ(6) ซึ่งแบบสอบถามนี้ปรับมาเพื่อประเมินการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และให้คำแนะนำอย่างง่ายในการปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

Nutrition T2

ตารางที่ 2 Brief dietary assessment questionnaire

ตรวจร่างกาย

การตรวจวัดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์และส่วนสูงเพื่อนำมาคำนวณดัชนีมวลกาย(BMI)เป็นสิ่งสำคัญ โดยดัชนีมวลกายปกติอยู่ในช่วง18.5-24.9kg/m2 สำหรับชาว Caucasian, Hispanic, แล Black ส่วนสำหรับชาว Asians ควรน้อยกว่า 23kg/m2 (7)

ตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะของโรคหรือการขาดสารอาหารต่างๆ เช่น การมีต่อมน้ำลายพาโรติดโต และมีการกร่อนของสารเคลือบฟัน ในภาวะ Bulimia เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจลักษณะที่จำเพาะกับการขาดวิตามิน ซึ่งพบได้ในสถานที่ยากจน หรือในผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น alcoholism, malabsorption, inborn errors of metabolism, และ hemodialysis

การส่งต่อผู้ป่วย

หญิงตั้งครรภ์ที่ควรจะได้รับคำปรึกษาจากนักโภชนากรเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิด ได้แก่

  • Diabetes, hypertension, metabolic disorder or gastrointestinal disorder
  • Bariatric surgery
  • Overweight or obesity (8)
  • ผู้รับประทานอาหารรสหวานที่มีแคลอรี่สูง (high intake of sweetened beverages or foods)
  • ผู้ที่ภาวะทุพโภชนาการ
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ใช้สารเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เพื่อประเมินภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ โดยปกติจะตรวจค่าฮีโมโกลบินและค่าความเข้มข้นของเลือดในการฝากครรภ์ครั้งแรกและในช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองระดับวิตามินดี (serum 25-hydroxyvitamin D) ไม่จำเป็นต้องตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย(9, 10) ควรทำในรายที่มีความเสี่ยงในการขาดวิตามินดี เช่น คนอ้วน ผู้ที่ได้รับแสงแดดในปริมาณน้อย หรือผู้ที่มีประวัติทุพโภชนาการจากโรคต่างๆ (Celiac disease, inflammatory bowel disease) เป็นต้น

คำแนะนำภาวะโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์

  • ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ควรรับประทาน folic acid 0.4-0.8 mg ต่อวัน
  • ผู้หญิงที่มีภาวะ metabolic disease เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ควรได้รับการรักษาจนสามารถควบคุมโรคได้ดีก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากภาวะดังกล่าวเพิ่มภาวะแทรกซ้อนมากมาย ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน หรือความดันสูงขณะตั้งครรภ์(11) เพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตของทารกในครรภ์(12, 13) เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอด(14) เป็นต้น

คำแนะนำภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

น้ำหนักของมารดาก่อนการตั้งครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

คำแนะนำของ Institute of Medicine (IOM)ล่าสุดได้แนะนำเกณฑ์ที่เหมาะสมของน้ำหนักมารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวไว้ดังนี้ (15)

  • BMI < 18.5kg/m2 (underweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 12.5-18 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.5-16 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 7-11.5 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 5-9 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)

น้ำหนักของมารดาก่อนตั้งครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักของทารกและระยะเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักพบในรายที่น้ำหนักขึ้นน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยในรายที่น้ำหนักขึ้นน้อยจะเสี่ยงต่อภาวะทารกตัวเล็ก และคลอดก่อนกำหนด สำหรับรายที่มีน้ำหนักขึ้นเยอะเสี่ยงต่อทารกตัวโต ซึ่งมักพบในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าได้กับภาวะ overweight และ obese (8) ดังนั้น The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) จึงแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มนี้ควรได้รับคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสม(2)

คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

Institute of Medicine (IOM) ได้แนะนำปริมาณของสารอาหารต่างๆที่ควรจะได้รับในระหว่างตั้งครรภ์ที่ครอบคลุมถึงร้อยละ 97ของประชากร

ปริมาณแคลอรี่ (Calories)

มารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวควรเพิ่มปริมาณแคลอรี่ 340kcal/day ในช่วงไตรมาสที่2 และเพิ่ม 450 kcal/dayในไตรมาสที่3(16) ส่วนในไตรมาสแรกไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณแคลอรี่

สารอาหารหลัก (Macronutrients)

Protein

หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการโปรตีนตลอดการตั้งครรภ์ 1kg เพื่อการเจริญของรกและตัวอ่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นต้องการในช่วง 6เดือนหลัง ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรที่จะเพิ่มปริมาณโปรตีนที่ได้รับต่อวันจาก 0.8g/kg/day เป็น 1.1g/kg/day

Carbohydrate

ความต้องการของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นเป็น 175g/day จากเดิม 130g/day ในหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยควรจะบริโภคอาหารประเภทไฟเบอร์วันละ 28 g ร่วมกับการรับประทานน้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก

Fat

ควรหลีกเลี่ยงไขมันประเภท Trans fatty acids เนื่องจากสามรถผ่านรกได้และรบกวนการเผาผลาญของไขมันประเภท Essential fatty acid ซึ่งเป็นไขมันที่มีบทบาทในการช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก (17) นอกจากนี้ Trans fatty acids ยังส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

สารอาหารรอง (Micronutrients)

ปริมาณวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอที่หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับในแต่ละวันดังแสดงในตารางที่ 3

Nutrition T3

ตารางที่3 Recommended Dietary Allowances (RDA) or Adequate Intake (AI) and Tolerable Upper Limit (UL) for adult pregnant and lactating women

ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานอาหารได้ครบถ้วนไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินบำรุงแก่หญิงตั้งครรภ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับไม่เพียงพอจากอาหาร จึงควรได้รับเสริมจากวิตามินบำรุงแกหญิงตั้งครรภ์ซึ่งควรจะประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มักได้รับไม่เพียงพอจาการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว เช่น

  • ธาตุเหล็ก 27 mg
  • แคลเซียมอย่างน้อย 250 mg(elemental calcium 1,000 mg/day)
  • โฟลิค อย่างน้อย 0.4 mg(o.6 mg ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม)
  • ไอโอดีน 150mcg
  • Vitamin D 200-600 IU(ยังไม่มีปริมาณที่แน่นอน)

สารอาหารรอง(micronutrient)ที่มีความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้

Iron

ธาตุเหล็กเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาของตัวอ่อนและรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของมารดา โดยการให้ธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ 15-30 mg/day เพียงพอสำหรับการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น CDC จึงแนะนำว่าควรให้ธาตุเหล็กเสริมในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก (18) สำหรับมารดาที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กควรได้รับการเสริมธาตุเหล็ก 30-120 mg/day จนกระทั่งความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Calcium

การเจริญของระบบกระดูกของทารกต้องการแคลเซียมทั้งหมดประมาณ 30g ซึ่งนับเป็นปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณแคลเซียมทั้งหมดของหญิงตั้งครรภ์ ร่วมกับการมีการดูดซึมแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ 49(19) โดยปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันของหญิงตั้งครรภ์ช่วงอายุ19-50ปี คือ 1,000 mg/day และ 1,300 mg/day สำหรับช่วงอายุ 14-18 ปี 50

การให้แคลเซียมไม่มีประโยชน์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพแข็งแรงที่สามารถรับประทานแคลเซียมได้อย่างเพียงพอ แต่อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในมารดาที่มีความเสี่ยงสูง(20)นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีผลในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หรือลดโอกาสการเกิดภาวะทารกตัวเล็ก (21)

Vitamin D

ในปี ค.ศ.2010 Institute of Medicine (IOM) ได้แนะนำปริมาณวิตามินDที่ควรได้รับเท่ากับ 600 IUในหญิงวัยเจริญพันธ์ รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ส่วน The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) แนะนำให้วิตามิน D เสริมแก่หญิงที่มาฝากครรภ์ทุกราย(10)โดยส่วนใหญ่มีปริมาณของวิตามิน D เป็นส่วนประกอบประมาณ 400 IU แต่บางชนิดอาจมีปริมาณวิตามิน D ที่แตกต่างกันตั้งแต่ 200-1,000 IU

อย่างไรก็ตามปริมาณวิตามิน D ที่หญิงตั้งครรภควรได้รับในแต่ละวัน และประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับประทานวิตามิน Dยังต้องการการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำ

Folic acid

หญิงที่วางแผนการตั้งครรภ์ควรได้รับการเสริมโฟลิค 0.4-0.8 mg/day เป็นเวลา 1เดือนก่อนการตั้งครรภ์และ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพื่อลดโอกาสการเกิด Neural tube defect ของทารก(22, 23) หลังจากนั้นรับประทานวันละ 0.6 mg เพื่อความต้องการในการเจริญเติบโตของทารกและรก

Choline

มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางและcognitive function ของทารก โดยปริมาณที่แนะนำคือ 450 mg/day

Iodine

ภาวะขาดไอโอดีนสามารถส่งผลเสียทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์โดยทำให้เกิดภาวะ hypothyroid ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดย The American Thyroid Association recommends แนะนำให้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์,หญิงตั้งครรภ์, หรือ หญิงให้นมบุตร รับประทานไอโอดินเสริมจากยาเม็ดบำรุงครรภ์ในปริมาณ 150mcg/day ในรูปของ potassium iodide (24)

ผลเสียจากการได้รับวิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆที่มากเกินไป

Vitamin A

การที่ได้รับวิตามินเอมากกว่า 10000 IU/day มีความเสี่ยงต่อการความผิดปกติของทารก(25) สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีผู้ขาดวิตามินเออยู่มากการให้วิตามินเอเสริมน้อยกว่า 10000 IU/day หรืออาทิตย์ละไม่เกิน 25000 IU อาจมีประโยชน์สำหรับสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารก เช่น ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์โดยไม่มีผลต่อความผิดปกติของทารก(26) แต่ไม่ได้ลดอัตราการตายของหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด(27)

Iodine

การได้รับไอโอดีนที่มากเกินไปสามารก่อให้เกิดโรคคอพอกในทารกได้(28-30) โดยที่ปริมาณที่มากเกินไปนั้นยังไม่ทราบปริมาณที่ชัดเจน

Vitamin D

ยังไม่ทราบปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างชัดเจนแต่ได้มีการประมาณไว้ว่าไม่ควรได้รับเกิน 4000 IU/day (10)

ปริมาณสารน้ำที่ต้องการ

ในระหว่างการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคน้ำวันละ 3ลิตร โดยได้จาการดื่มน้ำวันละ 2.3ลิตร และส่วนที่เหลือได้จากการบริโภคอาหาร

การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ความปลอดภัยด้านอาหาร

การหลีกเลี่ยงโรคที่มากับอาหาร

โรคที่มากับอาหารสามารถทำให้เกิดโรคในหญิงตั้งครรภ์รวมไปถึงภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนด ความพิการในทารก และทำให้ทารกตายได้ โดยเชื้อโรคที่มักมากับอาหาร ได้แก่ Toxoplasmosis มักมาจากอาหารดิบ, Listeria monocytogenes พบในอาหารสำเร็จรูป, Brucellosis พบในนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว หญิงตั้งครรภ์ควร :

  • มีสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือบ่อย
  • รับประทานอาหารปรุงสุก
  • รับประทานนม น้ำผัก และน้ำผลไม้ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • รับประทานผักและผลไม้ที่ผ่านการล้างอย่างน้อย 30วินาที
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบบางชนิดเนื่องจากมีเชื้อโรคปนอยู่โดยไม่สามารถล้างออกได้ เช่น หัวไชเท้า ถั่วเขียว เป็นต้น
  • ล้างมือ ภาชนะใส่อาหาร และเครื่องครัวให้สะอาด

การเลือกรับประทานปลา

เนื่องจาการรับประทานปลาอาจมีการปนเปื้อนของปรอทอยู่มาก ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายต่อระบบประสาทของทารก ดังนั้น FDA จึงแนะนำหญิงตั้งครรภ์ไว้ดังนี้ :

  • ควรงดรับประทานปลาฉลาม ปลาดาบ, king mackerel, และ tilefish ดังแสดงในตารางที่ 4
  • ควรรับประทานปลาที่มีปริมาณปรอทปนเปื้อนน้อย สัปดาห์ละ 12 ออนซ์(ประมาณสองมื้ออาหาร)เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแซลม่อน ปลาดุก ยกเว้นปลาทูน่าขาวที่ไม่ควรเกินอาทิตย์ละ 6ออนซ์ ดังแสดงในตารางที่ 4

Nutrition T4

ตารางที่ 4 FDA advice on fish consumption in women who are pregnant, might become pregnant, or are nursing

สำหรับการรับประทานปลาดิบ ที่ได้มีการแช่แข็งปลาเป็นอย่างดี เช่น การรับประทานซูชินั้นสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

Caffeine

ในปี ค.ศ. ACOG ได้แนะนำว่าในหญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคคาเฟอีนน้อยกว่า 200mgต่อวัน 150(31)เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร(32)

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาสมุนไพร และอาหารเสริมจากสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ (33, 34) ยกเว้น ขิง สามารถใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์

การบริโภคอาหารที่มีตับเป็นส่วนประกอบหลัก

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีตับเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณมากเนื่องจากทำให้ได้รับ vitamin A มากเกิน (35-40)

การตั้งครรภ์แฝด

ปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์แฝดเป็นดังนี้ (41)

  • BMI< 18.5kg/m2 (underweight) ควรได้รับ 4000 kcal/day
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรได้รับ 3000-3500 kcal/day
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรได้รับ 3250 kcal/day
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรได้รับ 2700-3000 kcal/day

น้ำหนักที่ควรเพิ่มในระหว่างการตั้งครรภ์แฝดเป็นดังนี้

  • BMI < 18.5kg/m2 (underweight) ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 16.8-24.5 kg
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 14.1-22.7 kg
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.4-19.1 kg

เอกสารอ้างอิง

  1. Institute of Medicine Committee on Nutritional Status During P, Lactation. Nutrition During Pregnancy: Part I Weight Gain: Part II Nutrient Supplements. Washington (DC): National Academies Press (US)  Copyright (c) 1990 by the National Academy of Sciences.; 1990.
  2. ACOG Committee opinion no. 549: obesity in pregnancy. Obstet Gynecol. 2013;121(1):213-7.
  3. Ramakrishnan U, Grant F, Goldenberg T, Zongrone A, Martorell R. Effect of women’s nutrition before and during early pregnancy on maternal and infant outcomes: a systematic review. Paediatric and perinatal epidemiology. 2012;26 Suppl 1:285-301.
  4. Shaw GM, Wise PH, Mayo J, Carmichael SL, Ley C, Lyell DJ, et al. Maternal prepregnancy body mass index and risk of spontaneous preterm birth. Paediatric and perinatal epidemiology. 2014;28(4):302-11.
  5. Feodor Nilsson S, Andersen PK, Strandberg-Larsen K, Nybo Andersen AM. Risk factors for miscarriage from a prevention perspective: a nationwide follow-up study. BJOG : an international journal of obstetrics and gynaecology. 2014;121(11):1375-84.
  6. Widen E, Siega-Riz AM. Prenatal nutrition: a practical guide for assessment and counseling. Journal of midwifery & women’s health. 2010;55(6):540-9.
  7. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet (London, England). 2004;363(9403):157-63.
  8. Deputy NP, Sharma AJ, Kim SY. Gestational Weight Gain – United States, 2012 and 2013. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2015;64(43):1215-20.
  9. Holick MF, Binkley NC, Bischoff-Ferrari HA, Gordon CM, Hanley DA, Heaney RP, et al. Evaluation, treatment, and prevention of vitamin D deficiency: an Endocrine Society clinical practice guideline. The Journal of clinical endocrinology and metabolism. 2011;96(7):1911-30.
  10. ACOG Committee Opinion No. 495: Vitamin D: Screening and supplementation during pregnancy. Obstet Gynecol. 2011;118(1):197-8.
  11. Bodnar LM, Catov JM, Klebanoff MA, Ness RB, Roberts JM. Prepregnancy body mass index and the occurrence of severe hypertensive disorders of pregnancy. Epidemiology (Cambridge, Mass). 2007;18(2):234-9.
  12. Nohr EA, Bech BH, Davies MJ, Frydenberg M, Henriksen TB, Olsen J. Prepregnancy obesity and fetal death: a study within the Danish National Birth Cohort. Obstet Gynecol. 2005;106(2):250-9.
  13. Salihu HM, Dunlop AL, Hedayatzadeh M, Alio AP, Kirby RS, Alexander GR. Extreme obesity and risk of stillbirth among black and white gravidas. Obstet Gynecol. 2007;110(3):552-7.
  14. Dietz PM, Callaghan WM, Morrow B, Cogswell ME. Population-based assessment of the risk of primary cesarean delivery due to excess prepregnancy weight among nulliparous women delivering term infants. Matern Child Health J. 2005;9(3):237-44.
  15.  Institute of M, National Research Council Committee to Reexamine IOMPWG. The National Academies Collection: Reports funded by National Institutes of Health. In: Rasmussen KM, Yaktine AL, editors. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines. Washington (DC): National Academies Press (US) National Academy of Sciences.; 2009.
  16. Kaiser LL, Campbell CG. Practice paper of the Academy of Nutrition and Dietetics abstract: nutrition and lifestyle for a healthy pregnancy outcome. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 2014;114(9):1447.
  17.  Innis SM. Trans fatty intakes during pregnancy, infancy and early childhood. Atherosclerosis Supplements. 2006;7(2):17-20.
  18. Recommendations to prevent and control iron deficiency in the United States. Centers for Disease Control and Prevention. MMWR Recommendations and reports : Morbidity and mortality weekly report Recommendations and reports. 1998;47(Rr-3):1-29.
  19. Hacker AN, Fung EB, King JC. Role of calcium during pregnancy: maternal and fetal needs. Nutrition reviews. 2012;70(7):397-409.
  20. Hofmeyr GJ, Lawrie TA, Atallah AN, Duley L, Torloni MR. Calcium supplementation during pregnancy for preventing hypertensive disorders and related problems. The Cochrane database of systematic reviews. 2014(6):Cd001059.
  21. Buppasiri P, Lumbiganon P, Thinkhamrop J, Ngamjarus C, Laopaiboon M, Medley N. Calcium supplementation (other than for preventing or treating hypertension) for improving pregnancy and infant outcomes. The Cochrane database of systematic reviews. 2015(2):Cd007079.
  22. Folic acid for the prevention of neural tube defects: U.S. Preventive Services Task Force recommendation statement. Annals of internal medicine. 2009;150(9):626-31.
  23. Wolff T, Witkop CT, Miller T, Syed SB. Folic acid supplementation for the prevention of neural tube defects: an update of the evidence for the U.S. Preventive Services Task Force. Annals of internal medicine. 2009;150(9):632-9.
  24. Stagnaro-Green A, Abalovich M, Alexander E, Azizi F, Mestman J, Negro R, et al. Guidelines of the American Thyroid Association for the diagnosis and management of thyroid disease during pregnancy and postpartum. Thyroid : official journal of the American Thyroid Association. 2011;21(10):1081-125.
  25. Rothman KJ, Moore LL, Singer MR, Nguyen US, Mannino S, Milunsky A. Teratogenicity of high vitamin A intake. The New England journal of medicine. 1995;333(21):1369-73.
  26. Checkley W, West KP, Jr., Wise RA, Baldwin MR, Wu L, LeClerq SC, et al. Maternal vitamin A supplementation and lung function in offspring. The New England journal of medicine. 2010;362(19):1784-94.
  27. McCauley ME, van den Broek N, Dou L, Othman M. Vitamin A supplementation during pregnancy for maternal and newborn outcomes. The Cochrane database of systematic reviews. 2015(10):Cd008666.
  28. Connelly KJ, Boston BA, Pearce EN, Sesser D, Snyder D, Braverman LE, et al. Congenital hypothyroidism caused by excess prenatal maternal iodine ingestion. The Journal of pediatrics. 2012;161(4):760-2.
  29. Thomas Jde V, Collett-Solberg PF. Perinatal goiter with increased iodine uptake and hypothyroidism due to excess maternal iodine ingestion. Hormone research. 2009;72(6):344-7.
  30. Nishiyama S, Mikeda T, Okada T, Nakamura K, Kotani T, Hishinuma A. Transient hypothyroidism or persistent hyperthyrotropinemia in neonates born to mothers with excessive iodine intake. Thyroid : official journal of the American Thyroid Association. 2004;14(12):1077-83.
  31. ACOG CommitteeOpinion No. 462: Moderate caffeine consumption during pregnancy. Obstet Gynecol. 2010;116(2 Pt 1):467-8.
  32. Li J, Zhao H, Song JM, Zhang J, Tang YL, Xin CM. A meta-analysis of risk of pregnancy loss and caffeine and coffee consumption during pregnancy. Int J Gynaecol Obstet. 2015;130(2):116-22.
  33. Marcus DM, Snodgrass WR. Do no harm: avoidance of herbal medicines during pregnancy. Obstet Gynecol. 2005;105(5 Pt 1):1119-22.
  34. Friedman JM. Teratology society: presentation to the FDA public meeting on safety issues associated with the use of dietary supplements during pregnancy. Teratology. 2000;62(2):134-7.
  35. Nelson M. Vitamin A, liver consumption, and risk of birth defects. BMJ (Clinical research ed). 1990;301(6762):1176.
  36. Kolb E. [The problem of a high content of vitamin A in the liver of calves, cattle, sheep and swine for the consumer. Amount of accumulation and mechanism of teratogenic effect (review article)]. Berliner und Munchener tierarztliche Wochenschrift. 1994;107(10):342-7.
  37. Julkunen P, Hasunen K, Idanpaan-Heikkila J. [Health risks related to high content of vitamin A in liver]. Nordisk medicin. 1990;105(5):149-50, 53.
  38. Blomhoff R, Alexander J. [Vitamin A and toxicity. Should pregnant women and small children reduce their intake of liver products and vitamin A?]. Tidsskrift for den Norske laegeforening : tidsskrift for praktisk medicin, ny raekke. 1993;113(24):3037-9.
  39. Hartmann S, Brors O, Bock J, Blomhoff R, Bausch J, Wiegand UW, et al. Exposure to retinoic acids in non-pregnant women following high vitamin A intake with a liver meal. International journal for vitamin and nutrition research Internationale Zeitschrift fur Vitamin- und Ernahrungsforschung Journal international de vitaminologie et de nutrition. 2005;75(3):187-94.
  40. van den Berg H, Hulshof KF, Deslypere JP. Evaluation of the effect of the use of vitamin supplements on vitamin A intake among (potentially) pregnant women in relation to the consumption of liver and liver products. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 1996;66(1):17-21.
  41. Goodnight W, Newman R. Optimal nutrition for improved twin pregnancy outcome. Obstet Gynecol. 2009;114(5):1121-34.