Surgical management of uterine atony

นพ.สันต์ธีร์ ติยะธะ
ศ.นพ จตุพล ศรีสมบูรณ์


ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine atony) เป็นสาเหตุหลักของภาวะตกเลือดหลังคลอด (PPH : Post-partum hemorrhage) มากถึงร้อยละ 80 (1) โดยภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยสูติกรรมทั่วโลก พบมาก 140,000 รายต่อปี หรือทุก 4 นาทีจะมีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 1 ราย นอกจากการเสียชีวิตแล้ว การตกเลือดหลังคลอดยังส่งผลที่ตามมาหลายอย่างเช่น การหายในลำบากเฉียบพลัน ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ภาวะมีบุตรยาก และต่อมใต้สมองตายจากการขาดเลือด (Pituitary necrosis :Sheehan syndrome) (2)

 

ความหมายของภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยทั่วไป หมายถึง ภาวะที่มีการเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ในการคลอดทางช่องคลอด หรือมากกว่า 1000 มิลลิลิตร ในการผ่าท้องคลอด มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังการคลอด เรียกว่า Primary PPH แต่หากเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 24 ชั่วโมง จนถึง 12 สัปดาห์ เรียกว่า Secondary PPH
ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว แต่หากหลังให้ยาไปแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีและยังมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรพิจารณาว่าล้มเหลวในการรักษาด้วยยา โดยระยาเวลาของการให้ยาหรือให้ยากี่ตัวจะถือว่าล้มเหลวยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่หากมดลูกไม่ตอบสนองต่อยา จำเป็นจะต้องรักษาภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีด้วยหัตถการต่างๆ และการผ่าตัดห้ามเลือดเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยต่อไป

ปัจจัยส่งเสริมของภาวะมกลูกหดรัดตัวไม่ดี (3)

  1. ระยะคลอดยืดเยื้อยาวนาน (Failure to progression)
  2. มดลูกขยายหรือยืดตัวมากเกินไป (Overdistended uterus) เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกตัวโต(Macrosomia)
  3. การคลอดที่ต้องใช้หัตถการต่างๆ เช่น การใช้มือเข้าไปหมุนเปลี่ยนท่าทารกในโพรงมดลูก (Internal podalic version) การทำคลอดด้วยคีม (Forcep extraction)
  4. การเสียเลือดมาก จากหลายสาเหตุเช่น จากแผลผีเย็บหรือการฉีกขาด ทำให้มดลูกมี hypoxia ยิ่งส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี และยิ่งเสียเลือดมากยิ่งขึ้น
  5. เคยคลอดบุตรหลายคน (Multiparity) โดยเฉพาะในรายที่เคยมีประวัติตกเลือดหลังคลอดมาก่อน
  6. มีแผลที่ตัวมดลูกมาก่อน เช่น เคยผ่าตัดทำคลอด ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หรือ hysterotomy
  7. มีเนื้องอกที่ตัวมดลูก ซึ่งจะขัดขวางการกดรัดตัวของมดลูก
  8. รกลอกตัวก่อนกำหนด และมี couvelaire uterus คือ การเห็นผนังมดลูกมีสีคล้ำเป็นจ้ำๆ เนื่องจากเลือดออกชนิด concealed ได้แทรกซึมเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนถึงใต้ชั้น serosa
  9. การชั้นนำคลอด (Induction of labour) หรือการกระตุ้นเสริมการหดรัดตัวมดลูก (Augmentation)
  10. การหดรัดตัวหลังคลอดไม่ดีโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic atony)

Surgical management of uterine atony

ผู้ป่วยที่ล้มเหลวในการรักษาด้วยยาจะต้องได้รับการดูแลร่วมกันเป็นทีม (สูติแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ทีมห้องผ่าตัด ทีมห้องคลอด ธนาคารเลือด และหอผู้ป่วยหนัก) ร่วมกับการดูแลรักษารักษาเบื้องต้นที่ต้องทำเช่น การเปิดเส้นเลือดให้สารน้ำหรือส่วนประกอบของเลือด ให้ออกซิเจน ตรวจติดตามสัญญาณชีพ และปริมาณปัสสาวะ เป็นต้น
หัตถการที่ใช้ในการรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัวนั้นมีอยู่หลายวิธี โดยการเลือกใช้แต่ละวิธีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ความพร้อมของสถานพยาบาล ประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ ความรุนแรงของการการตกเลือดหลังหลอด สภาวะผู้ป่วย และความต้องการในการมีบุตร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแพทย์ควรเลือกหัตถการที่สามารถอนุรักษ์ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ป่วยก่อนเป็นอันดับแรก แต่หากภาวะตกเลือดรุนแรงมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบอนุรักษ์ ดังนั้นการรักษาโดยการตัดมดลูกเพื่อหยุดภาวะตกเลือดก็เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไปเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วย

1.การแพ็คในโพรงมดลูกให้แน่น (Tamponade)

พิจารณาในรายที่รักษาด้วยยาล้มเหลว หรือใช้เพื่อหยุดเลือดขณะรอผ่าตัด(4) โดยเฉพาะรอเพื่อการส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่พร้อมมากกว่า มีการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าการใช้ balloon tamponade จะไม่ประสบความสำเร็จแต่การการแพ็คในโพรงมดลูกให้แน่นจะช่วยลดปริมาณเลือดที่ออกและเป็นการยืดเวลาเพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไปในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5)

1.1 Double condom intrauterine balloon tamponade

SxPPH 1

อุปกรณ์

  • Condom 2 ชิ้น
  • Silk No.0 หรือ 1
  • Folay cath No.16
  • Sterile water หรือ Sterile saline 500-700 ml
  • Irrigate syringe
  • ชามรูปไต
  • Top gauze หรือ Tampon
    ในกรณีใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะ Uterine atony หลังผ่าตัด Cesarean section
  • Speculum หรือ AP retractor
  • Sponge Holder forceps

วิธีทำ

  1. นำ condom 2 อันมาซ้อนกัน ใช้ปลายสาย Folay cath เป็นตัวดันจากด้านใน condom
  2. รูด condom ตัวในออกจนสุด แล้วค่อยรูด condom ตัวนอกออก
  3. ถอยปลาย Folay cath ออกจาก condom 1-2 เซนติเมตร
  4. นำ Silk มาผูก condom ให้ติดกับ Folay cath โดยเว้นระยะห่างจากปลาย condom 5-7 เซนติเมตร
  5. วิธีการผูก ผูก 1 ครั้ง อ้อมซ้าย-ขวา ผูกอีก 1 ครั้ง อ้อมซ้าย-ขวา ผูกอีก 1 ครั้ง แล้วจึงผูกเงื่อนตาย ตัดปลายสายให้เหลือ 1-2 เซนติเมตร
  6. นำ Silk อีกเส้นมาผูกเหมือนกัน โดยเว้นระยะห่างจากปมแรก 1-2 เซนติเมตร
  7. เท Sterile water ลงชามรูปไต ทำกาตรวจสอบโดยการใช้ Irrigated Syringe ดูด Serine water ประมาณ 20-30 มิลลิลิตร
  8. ยก Folay cath ขึ้น เพื่อดูว่าเกิดการรั่วและการเลื่อนหลุดของ condom balloon หรือไม่

การใส่ Double Condom Intrauterine Balloon Tamponade

  1. ผู้ป่วยอยู่ในท่า Lithotomy
  2. ล้วง blood clot ที่อยู่ในมดลูกออกให้หมดก่อน
  3. ใช้นิ้วช้ีและนิ้วกลางของมือด้านที่ถนัดคีบปลาย condom balloon
  4. ในขณะท่ีใส่ condom balloon เข้าไปในโพรงมดลูก มืออีกข้างช่วยกดยอดมดลูก เพื่อให้ cervical os ลงมาอยู่ใกล้ช่องคลอด
  5. ใส่ condom balloon เข้าไปทาง cervical os โดย condom ทั้งหมดต้องอยู่ในโพรงมดลูก
  6. ยื่นปลาย Foley cath ให้ผู้ช่วยเติม sterile water โดยใช้ irrigated syringe โดยมือข้างที่ถนัดพยายามอย่าให้ condom balloon เลื่อนหลุดออกจากโพรงมดลูก
  7. ใช้มืออีกข้างช่วยบีบสาย Foley cath ไว้ทุกครั้งที่ผู้ช่วยไปดูด Sterile water เพื่อมาเติมใน condom balloon จน condom balloon โปร่งตึงคลำได้ที่ cervical os
  8. นำ Top gauze หรือ Tampon ใส่เข้าไปในช่องคลอด เพื่อนดันแทนนิ้วมือไม่ให้ condom balloon หลุดออกจากโพรงมดลูก โดยจะใช้ Top gauze หรือ Tampon ประมาณ 1-3 ชิ้น
  9. เติม sterile water ต่อจนเลือดหยุดไหล โดยทั่วไปจะเติม sterile water 500 – 700 มิลลิลิตร
  10. เมื่อได้ sterile water ที่ต้องการ หรือเลือดหยุดไหล ให้หนีบที่ปลาย Foley cath และใช้มือดันไว้ก่อน 5-15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหล
  11. ใส่ Top gauze หรือ Tampo ในช่องคลอดเติมจนแน่นเพื่อให้มั่นใจว่า condom balloon ไม่เลื่อนหลุด
  12.  นำ Silk หรือยางมาผูก ที่ปลาย Foley cath เพ่ือไม่ให้น้ำไหลออกมา

การใส่ Remove Double Condom Intrauterine Balloon Tamponade

  1. ผู้ป่วยอยู่ในท่า Lithotomy
  2. ตัดไหมหรือยางผูกปลาย Folay cath ออก
  3. ปล่อยน้ำออกจาก condom balloon ไหลออกให้หมด
  4. คีบ Top gauze หรือ Tampon ที่ใส่ไว้ออกจนหมด
  5. ใช้นิ้วหรือ Forcep จับส่วนของ condom ที่โผล่ออกมาจาก cervical os แล้วจึงดึง condom balloon ออกจากโพรงมดลูก พร้อมสาย Folay cath
  6. สังเกตว่ามีเลือดไหลออกมาอีกหรือไม่ และตรวจภายในว่ามีวัสดุเหลือออยู่ในช่องคลอด

1.2 Bakri tamponade balloon

วิธีทำ : Transvaginal Placement

  1. นำส่วน balloon portion of catheter ใส่เข้าไปในมดลูก ให้มั่นใจว่าใส่เข้าใน cervical canal

วิธีทำ : Tranabdominal Placement, Post Cesarean Section

  1. ใส่ Bakri balloon ผ่านทาง Cesarean incision แล้ว inflate ส่วนแรกในส่วนของมดลูกและปากมดลูก
  2. ส่วนกลางของ Bakri balloon ให้ปลายสายสอดผ่านทาง vaginal canal อาจให้ผู้ช่วย ช่วยดึงปลายสายทาง vaginal canal
  3. เย็บปิด Uterine incition ตามวิธีปกติ ระวังการเย็บอาจเย็บโดน Bakri balloon ทำให้รั่วได้

ใส่สายสวนปัสสาะวะไปพร้อมในเวลาเดียวกัน แต่หากไม่ใส่ให้ติดตามปริมาณปัสสาวะที่ออกมาด้วย

Balloon Inflation

  1. inflate ด้วย sterile water ไม่ควร inflate ด้วยอากาศ หรือแก็สชนิดต่างๆ
  2. ปริมาณ sterile water ไม่ควรเกิน 500 มิลลิลิตร การใส่ปริมาณน้ำมากเกินไปจะทำให้ balloon เลื่อนจากมดลูก มายังตำแหน่งช่องคลอดได้
  3. ยืนยันตำแหน่งที่ถูกต้องและปริมาณน้ำที่ใส่ไปด้วยการใช้อัลตราซาวด์
  4. ดึงสาย Bakri balloon เบาๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ balloon กดห้ามเลือดที่ออกมาที่ผิวของโพรงมดลูก ให้ใช้น้ำหนักถ่วงไม่เกิน 500 กรัม
  5. ใส่ vaginal packing
  6. ติดตามปริมาณเลือดที่ออกมาจากโพรงมดลูก และสัญญาณชีพ ร่วมด้วย

Balloon Removal

ระยะเวลาในการใส่บอลลูนภายในโพรงมดลูก ยังไม่มีกำหนดที่แน่ชัด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ทั้งนี้ต้องประเมินว่า ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดมาอีก และสัญญาณชีพปกติ ก็อาจพิจารณา ถอดบอลลูนออกได้ โดยระยะเวลาที่แนะนำไม่ควรนานมากกว่า 24 ชั่วโมง มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ใช้ intrauterine balloon tamponade กับ postpartum memorrhage outcome ซึ่งดูจากปริมาณเลือดที่ออกมาหลังใส่ balloon ,อัตราการนอนในหอผู้ป่วยหนัก , ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และ ภาวะไข้หลังคลอด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ในผู้ป่วยที่ใช้ intrauterine balloon tamponade นาน 2-12 ชั่วโมง และ มากกว่า 12 ชั่วโมง ดังนั้นในการศึกษานี้จึงแนะนำว่าควรใส่อย่างน้อยนาน 12 ชั่วโมง (6)

การ Deflation ให้ใช้ syringe ดูด fluid content ใน balloon ออกจนหมดในทีเดียว หรืออาจค่อยๆ ลดปริมาตรของน้ำในบอลลูนก่อน เพื่อสังเกตว่ายังคงมีเลือดออกหรือไม่ ก่อนที่จะทำการถอดออกจากโพรงมดลูก

ในการศึกษาแบบ case series พบว่ามีโอกาสสำเร็จในการควบคุมการตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัวมากถึง 57 เปอร์เซ็นต์ในการคลอดแบบผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และ 100 เปอร์เซ็นต์ ในการคลอดทางช่องคลอด โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้อุปกรณ์ด้วย (7-11)

หากเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น มีการศึกษาแบบ systematic review เปรียบเทียบการแพ็คในโพรงมดลุกให้แน่น ,uterine compression suture , pelvic devasularization และ arterial embolization พบว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่เปรียบเทียบได้ว่าชนิดไหนมีโอกาสสำเร็จมากกว่ากัน (9) เพียงแต่การใช้ Balloon tamponade มีข้อดีคือ รวดเร็ว และราคาประหยัด มากกว่าวิธีอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อนของการแพ็คในโพรงมดลูกให้แน่น คือ การติดเชื้อภายในโพรงมดลูก และมดลูกแตก แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เคยมีรายงานว่าการเลื่อนของ Balloon จนทำให้เกิดมดลูกทะลุได้ (12)

SxPPH 3

SxPPH 2

2. Compressive suture

เป็นการเย็บผูกมดลูกเพื่อให้บีบมัดตัวมดลูกหรือเพื่อให้ผนังมดลูกทางด้านหน้าและด้านหลังกดเข้าหากัน ให้เลือดออกลดลง

2.1 B-Lynch suture

ในกรณีผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง สามารถตรวจดูภายใน uterine cavity ได้

ขั้นตอนการทำ B-Lynch suture (13)

  1. เริ่มเย็บ lateral borderข้างใดข้างหนึ่งก่อนด้วยVicryl suture (No. 1 or 0) เข็ม round-bodied , 90-mmปักเข็มด้านล่างห่างจากขอบ Right lateral border 3 cm ปักเข็มเข้าไปใน uterine cavity
  2. จากนั้นให้ปลายเข็มโผล่ขึ้นมาห่าง upper incision 3 cm และห่างจากขอบมดลูกด้าน lateral เข้ามา 4 cm
  3. Vicryl_จะโผล่ขึ้นมาเหนือแผล ดึงขึ้นมาพาดอ้อมผ่านuterine fundus ให้ห่างจากcornual border ประมาณ 3–4 cm พาดผ่านด้าน posterior ในแนวตั้ง
  4. หลังจากนั้นปักเข็มทางด้าน posterior ในระดับเดียวกับกับด้าน anterior เพื่อเข้า uterine cavity ทางด้านหลัง
  5. ดึง Vicryl เพื่อรัดมดลูกด้วยแรงปานกลาง ร่วมกับการทำmanual compression (by 1st assistant)
  6. จากนั้นปักเข็มออกทางด้าน posterior ที่ระดับเดียวกัน ในแนวนอน ห่างขอบมดลูกด้าน lateral เข้ามา 4 cmเช่นกัน
  7. ดึง Vicrylผ่าน posterior ของ uterus fundus ในแนวตั้ง อ้อมกลับมาทางด้านหน้า เช่นเดียวกับที่ทำอีกข้างร่วมกับการทำ manual compression
  8. จากนั้น ปักเข็มกลับเข้ามาใน uterine cavity ในตำแหน่งเดียวกับด้านขวา คือ 3 cm เหนือต่อ upper incision และปักเข็มออกมาด้านหน้า ใต้ต่อ lower incision 3 cm
  9. รวบปลาย Vicryl_ ทั้งสองด้าน พร้อมกับให้ผู้ช่วยทำ bimanual compressionเพื่อลดการเกิด trauma ต่อบริเวณที่เย็บระหว่างนี้ ควรตรวจดูบริเวณ vagina ว่าไม่มีเลือดออกเพิ่มเติมหากเลือดหยุดดี สามารถผูกไหมได้ (double knot)
SxPPH 4

ภาพขั้นตอนการทำ B-Lynch suture

โดยเทคนิคสามารถใช้ร่วมกัน balloon tamponade ได้ เรียกว่า uterine sandwich

2.2 Hayman suture (Modified B-Lynch suture)

Richard Hayman และ Subaratnam Arulkumaran (14) ได้ประยุกต์วิธีการเย็บจาก B-Lynch sutureซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องเปิดโพรงมดลูก ไม่จำเป็นต้องมี uterine incision เหมาะกับกรณี PPH ที่คลอดทางช่องคลอด เป็นวิธีที่สามารถหยุดเลือดที่เกิดจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวได้ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ (15-19) ซึ่งเป็นวิธีทำได้ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย กระทบต่อภาวะเจริญพันธ์และการตั้งครรภ์ในอนาคตค่อนข้างน้อย(20-21)

ขั้นตอนการทำ จะใช้ Vicryl หรือ Dexon No. 2 ผูกมัดมดลูกจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เริ่มจากส่วนเหนือต่อ reflection ของกระเพาะปัสสาวะ และผูกรวมกันที่บริเวณ fundus ส่วนใหญ่จะทำ 2 suture แต่หากมดลูกมีขนาดใหญ่หรือเพื่อให้ compression ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลื่อนหลุด สามารถทำได้มากกว่า 2 sutureและผูก knot ให้แน่นที่บริเวณ fundus ได้

SxPPH 5

ภาพแสดงลักษณะของ Hayman suture

การทำ Compressive suture จะเกิดผลข้างเคียงเช่น uterine necrosis, erosion และ pyometra ส่วนในเรื่องของความสามารถในการเจริญพันธ์พบว่า หากติดตามไปหากจากผู้ป่วยที่ทำ Compressive sutue พบว่าไม่มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อภาวะการณ์เจริญพันธ์และการตั้งครรภ์ในอนาคต(22-23)

3.Uterine and Ovarian Vessel ligation

วิธีการทำ (24)

  • หลังจากเปิดเข้าสู่บริเวณ broad ligament , Mobilize bladder และ ureter
  • ligate uterine artery และ vein บริเวณ lower uterine segment ซึ่งจะตรงกับ 2 – 3 cm ใต้ต่อ transverse uterine incision โดยใช้ absorbable sutureปักเข็ม 2 – 3 cm medial ต่อ uterine vessel ปักให้ลึกถึง myometrium (เพื่อหยุดเลือดที่ออกจาก intramyometrial ascending branch ร่วมด้วย) หลังจากนั้นขึ้นมาด้าน lateral ต่อ vessels ผ่าน broad ligament เรียกว่า low ligation
  • นอกจากนี้ ควรทำ second ligature คือ เย็บผูก ovarian artery บริเวณรอยต่อของ utero-ovarian ligament และ uterusเรียกว่า high ligation

SxPPH 6

ภาพแสดงการทำ Uterine artery ligation

4.Internal iliac artery ligation (Hypogastric artery ligation)

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานมีเส้นเลือดหลักที่เลี้ยงคือ Internal iliacartery หรือ Hypogastric artery โดยการผูกเส้นเลือดดังกล่าวทั้งสองข้างจะทำให้เลือดหยุดได้ โดยที่ไม่ต้องตัดมดลูก

วิธีการทำ (24)

  • เปิด peritoneum ที่คลุม common iliac artery , identify ureter และ retract เข้ามาทางด้านใน
  • เปิด sheath ที่คลุม internal iliac (hypogastric) artery ตามแนวของหลอดเลือด
  • right-angle clamp ลอดผ่านใต้ต่อ artery (lateral to medial direction)ระมัดระวัง ไม่ให้ internal iliac vein ขาด
  • ตำแหน่ง ligation คือ 2 cm distal ต่อ bifurcation เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดposterior division hypogastric ซึ่งทำให้เกิดการขาดเลือดบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อ gluteus
  • nonabsorbable sutures 2-0 silk 2 เส้น ในการ ligation (ก่อนการผูก คลำชีพจรของ external iliac artery ก่อน) และทำhypogastric artery ligation ทั้งสองข้าง

วิธีนี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวการณ์ตกเลือดที่ดี และวิธีทำค่อนข้างซับซ้อน ไม่แนะนำให้ทำโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญ

SxPPH 7

ภาพแสดงการทำ Internal liac artery ligation

5. Hyterectomy

เมื่อวิธีการผ่าตัดแบบอนุรักษ์ไม่ได้ผล การตัดมดลูกจะเป็นวิธีลำดับท้ายที่จะใช้เพื่อหยุดภาวะตกเลือด
การตัดมดลูกอาจทำเป็น Total หรือ Subtotal hysterectomy มีวิธีการเช่นเดียวกับ standard gynecological abdominal hysterectomy การทำ Subtotal hysterectomy มีประโยชน์ในการหยุดภาวะตกเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะตกเลือดรุนแรงได้เร็วกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Michael A Belfort. Overview of postpartum hemorrhage. Up to date 2017
  2. World Health Organization. WHO Recommendations for the Prevention and Treatment of Postpartum Haemorrhage. Geneva: World Health Organization 2012. WHO guidelines Approved by the Guidelines Review Committee. Available at: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK131942/.
  3. ธีระ ทองสง, สุพัตรา ศิริโชติยะกุล. การตกเลือดหลังคลอด. สุติศาสตร์ 2555 ;1:255-267.
  4. Tuncalp O, Souza JP, Gulmezoglu M. New WHO recommendations on preventation and treatmet of postpartum hemorrhage. Int J Gynecol Obstet 2013; 123:254-6.
  5. Grönvall M, Tikkanen M, Tallberg E, et al. Use of Bakri balloon tamponade in the treatment of postpartum hemorrhage: a series of 50 cases from a tertiary teaching hospital. Acta Obstet Gynecol Scand 2013; 92:433.
  6. Einerson BD, Son M, Schneider P, Field I, Miller ES. The association between intrauterine ballon tamponade duration and postpartum hemorrhage outcomes. American Journal of Obstetrics and Gynecology 2017;300:e5
  7. Vitthala S, Tsoumpou I, Anjum ZK, Aziz NA. Use of Bakri balloon in post-partum haemorrhage: a series of 15 cases. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2009; 49:191.
  8. Dabelea V, Schultze PM, McDuffie RS Jr. Intrauterine balloon tamponade in the management of postpartum hemorrhage. Am J Perinatol 2007; 24:359.
  9. Doumouchtsis SK, Papageorghiou AT, Arulkumaran S. Systematic review of conservative management of postpartum hemorrhage: what to do when medical treatment fails. Obstet Gynecol Surv 2007; 62:540.
  10. Vintejoux E, Ulrich D, Mousty E, et al. Success factors for Bakri™ balloon usage secondary to uterine atony: a retrospective, multicentre study. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2015; 55:572.
  11. Revert M, Cottenet J, Raynal P, Cbot E,Quantin C, Rozenberg P, Intrauterine balloon tamponade for management of severe postpartum heamorrhage in a perinatal network: a prospective cohort study.An International Journal of Obstetric and Gynaecology 2016.
  12. Leparco S, Viot A, Benachi A, Deffieux X. Migration of Bakri balloon through an unsuspected uterine perforation during the treatment of secondary postpartum hemorrhage. Am J Obstet Gynecol 2013; 208:e6.
  13. B-Lynch C CA, Lawal AH et al: The B-Lynch surgical technique for the control of massive postpartum haemorrhage:an alternative to hysterectomy? Five cases reported. Br J Obstet Gynaecol 104:372-5, 1997.
  14. Hayman RG, Arulkumaran S, Steer PJ. Uterine compression sutures: Surgical management of postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol 2002;99:502-6
  15.  B-Lynch C, Coker A, Lawal AH, et al. The B-Lynch surgical technique for the control of massive postpartum haemorrhage: an alternative to hysterectomy? Five cases reported. Br J Obstet Gynaecol 1997; 104:372.
  16. Ferguson JE, Bourgeois FJ, Underwood PB. B-Lynch suture for postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol 2000; 95:1020.
  17. Allam MS, B-Lynch C. The B-Lynch and other uterine compression suture techniques. Int J Gynaecol Obstet 2005; 89:236.
  18. Sentilhes L, Gromez A, Razzouk K, et al. B-Lynch suture for massive persistent postpartum hemorrhage following stepwise uterine devascularization. Acta Obstet Gynecol Scand 2008; 87:1020.
  19. Smith KL, Baskett TF. Uterine compression sutures as an alternative to hysterectomy for severe postpartum hemorrhage. J Obstet Gynaecol Can 2003; 25:197
  20. Fuglsang J. Later reproductive health after B-Lynch sutures: a follow-up study after 10 years’ clinical use of the B-Lynch suture. Fertil Steril 2014; 101:1194.
  21. Cowan AD, Miller ES, Grobman WA. Subsequent pregnancy outcome after B-lynch suture placement. Obstet Gynecol 2014; 124:558.
  22. Gizzo S, Saccardi C, Patrelli TS, et al. Fertility rate and subsequent pregnancy outcomes after conservative surgical techniques in postpartum hemorrhage: 15 years of literature. Fertil Steril 2013; 99:2097.
  23. Doumouchtsis SK, Nikolopoulos K, Talaulikar V, et al. Menstrual and fertility outcomes following the surgical management of postpartum haemorrhage: a systematic review. BJOG 2014; 121:382.
  24. John A. Rock HWJ. Te Linde’s Operative Gynecology, Obstetric Problems. 10 ed2008.