Combined Estrogen-Progestin Contraception

พ.ญ. บงกช ชาครบัณฑิต
อ.พ.ญ. อุบล แสงอนันต์


การคุมกำเนิดเป็นการช่วยให้พ่อแม่ได้เตรียมความพร้อมกับระยะเวลาที่จะมีลูก ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา และองค์ประกอบต่างๆ ภายในครอบครัว และสภาพแวดล้อม ช่วยให้สุขภาพอนามัยแม่และเด็กดีขึ้น โดยการลดการตาย และอัตราทุพพลภาพของมารดา และส่งเสริมสุขภาพของสตรี โดยการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ปรารถนา ลดการทำแท้งไม่ปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง (high risk pregnancy)

จากข้อมูลทางสถิติในประเทศไทยพบว่า

อัตราการเจริญพันธุ์รวมยอด (Total Fertility Rate-TFR) ร้อยละ 1.2 ในปี 2551 (แหล่งข้อมูล: UNDP 2008)
อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี 50.5 : 1,000 ประชากรกลุ่มเดียวกันในปี 2551(แหล่งข้อมูล: กระทรวงสาธารณสุข)
อัตราการคุมกำเนิดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (Contraceptive Prevalence Rate – CPR) ร้อยละ 75 ในปี 2551  (แหล่งข้อมูล: กระทรวงสาธารณสุข)
จำนวนการทำแท้งในประเทศไทย ประมาณ 300,000 ราย ต่อปี
อัตราตายจากการแท้งไม่ปลอดภัยของผู้หญิงไทย 300 ต่อ 100,000 ผู้หญิงที่ทำแท้ง (แหล่งของข้อมูล: กรมอนามัย 2542)
สัดส่วนแพทย์สูตินรีเวชต่อประชากรผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1: 19,600
ค่าใช้จ่ายโดยภาครัฐในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการแท้ง ในปี 2552 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าความสูญเสียทางด้านจิตใจ สูญเสียอวัยวะ (ถูกตัดมดลูก) และอื่นๆ (แหล่งของข้อมูล:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

วิธีการคุมกำเนิดที่นิยมใช้ในสตรีอายุ 15 ถึง 44 ปีในประเทศสหรัฐอเมริกาคือ การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (31%) การทำหมันถาวร (27%) และการใช้ถุงยางอนามัย (18%) ตามลำดับ(1)

การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนรวม คือการใช้ฮอร์โมนสตรี (Female sex steroids) ซึ่งประกอบด้วย synthetic Estrogen และ synthetic progesterone (Progestin) เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ให้ประสิทธิภาพสูงมากหากใช้อย่างถูกต้อง (theoretical failure rate 0.1%) ให้ประโยชน์ทั้งเรื่องการคุมกำเนิด และด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการคุมกำเนิดด้วย

ส่วนประกอบของฮอร์โมนรวม (1,2)

  1. Estrogen : ชนิดที่นำมาใช้ในการคุมกำเนิดคือ Ethinyl Estradiol (EE) ซึ่งออกฤทธิ์ได้ทันที และ Mestranol (EE ที่เติม methyl group) ซึ่งต้องผ่านการตัด methyl group ก่อน กลายเป็น EE จึงจะสามารถออกฤทธิ์ได้ EE 35 mcg จะให้ระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดเทียบเท่ากับ Mestranol 50 mcg
  2. Progestin : เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เลียนแบบ Progesterone ตามธรรมชาติ Progestin แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ตามความสามารถในการจับกับ estrogen androgen และ progesterone receptors
  • 17-acetoxy progestins (e.g., medroxyprogesterone acetate) เช่น medroxyprogesterone acetate, megestrol, cyproterone acetate
  • 19-nortestosterone
    • Estranes : First generation : norethisterone (norethindrone), norethindrone acetate, lynestrenol, norethynodrel
    • Gonanes
      • Second generation : norgestrel, levonorgestrel
      • Third generation : มีฤทธิ์ androgenic effect น้อย เช่น Norgestimate, Desogestrel, gestodene, drospirenone

กลไกการคุมกำเนิด(1)

ทั้ง Estrogen และ Progestin สามารถยับยั้งการตกไข่ได้ ซึ่งเมื่อนำฮอร์โมนมารวมกัน จะเสริมฤทธิ์ในการยับยั้ง การตกไข่ได้มากขึ้น โดยใช้ปริมาณยาที่น้อยลงกว่าการใช้ฮอร์โมนตัวเดียว ออกฤทธิ์ในการกดการสร้าง gonadotropin ของ pituitary gland ทำให้ Ovarian follicle ไม่พัฒนา กดการสร้าง FSH และ LH ทำให้ไม่มี midcycle LH surge จึงไม่มีการตกไข่ และไม่เกิด corpus luteum ไม่มีการสร้าง Progesterone

ฤทธิ์ในการยับยั้งการตกไข่แปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ ซึ่งในยาคุมกำเนิดยุคใหม่มีปริมาณยาลดลง ทำให้มี ระดับ FSH และ LH ที่สูงขึ้น จึงอาจทำให้มีการตกไข่ได้หากลืมรับประทานยา หรือได้รับยาที่มีผลต่อระดับฮอร์โมน และพบว่ายังมีการเจริญของ ovarian follicle ได้

กลไกสำคัญของ Progestin ในการคุมกำเนิดคือ เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อบาง ไม่เหมาะสำหรับการฝังตัว มูกปากมดลูก (cervical mucus) ข้นเหนียว ตัวอสุจิผ่านได้ยากขึ้น และการเคลื่อนไหวของท่อนำไข่ที่เปลี่ยนไป

รูปแบบการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนรวม

ในปัจจุบัน การใช้ฮอร์โมนรวม มีหลายรูปแบบ

  1. ยาเม็ดคุมกำเนิด (combined oral contraceptives : COCs) เป็นชนิดที่นิยมมากที่สุด
  2. ยาฉีดคุมกำเนิด (combination injectable contraceptives : CICs)
  3. แผ่นแปะคุมกำเนิด (Transdermal contraceptive patch)
  4. วงแหวนคุมกำเนิด (contraceptive vaginal ring)

ยาเม็ดคุมกำเนิด (combined oral contraceptives : COCs)

แต่ละเม็ดประกอบด้วย Estrogen และ Progestin ในยา 1 แผง อาจมี 21 เม็ด 24 เม็ด หรือ 28 เม็ด หากเป็นแบบ 21 เม็ด ให้รับประทานวันละ 1 เม็ด เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์และหยุด 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีประจำเดือนออกมาเป็นปกติ (withdrawal uterine bleeding) หากเป็นแบบ 28 เม็ด ให้รับประทานติดต่อกันทุกวันเพื่อป้องกันการหลงลืม ซึ่ง 7 เม็ดสุดท้ายจะไม่มี ฮอร์โมน อาจเป็นแป้ง วิตามิน หรือธาตุเหล็กแทน

ชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ

1. Monophasic COC เป็นกลุ่มที่มีปริมาณEstrogen และProgestin เท่ากันทุกเม็ด

จะแบ่งตามขนาดของ Estrogen ได้อีกเป็น

1.1 High dose : มีขนาดของ EE ≥ 50 mcg มักไม่ค่อยใช้เพื่อการคุมกำเนิด แต่จะใช้เพื่อรักษาอาการทางนรีเวช

ชื่อยา ชนิดและขนาดของฮอร์โมนสังเคราะห์/เม็ด
Estrogen (mcg) Progestin (mcg)
Ovulen M 100 Ethynodiol Diacetate 1000
Lyndiol M 75 Lynestrenol 2500
Anovlar EE 50 Norethisterone Acetate 4000
Gynovlar EE 50 Norethisterone Acetate 3000
Minilyn EE 50 Lynestrenol 2500
Ovostat EE 50 Lynestrenol 1000
Eugynon, Ovral EE 50 Nogestrel 500
Norinyl, Noriday M50 Norethisterone Acetate 1000
Microgynon ED50 EE50 Levonorgestrel 125

1.2 Low dose : มีปริมาณของ EE < 50 mcg

  • 30 – 35 mcg
  • 20 mcg
  • 10 mcg : Lo Loestrin Fe : ประกอบด้วย EE 10 mcg และ norethindrone 1 mg 24 เม็ด EE 10 mg 2 เม็ด และ ferrous fumarate 75 mg 2 เม็ด ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่างจาก high dose
ชื่อยา ชนิดและขนาดของฮอร์โมนสังเคราะห์/เม็ด
Estrogen (mcg) Progestin (mcg)
Diane-35, Preme, Tina, Sucee EE 35 Cyproterone acetate 2000
Cilest EE 35 norgestimate 250
Yasmin EE 30 drospirenone 3 mg
Microgynon ED30, Nordette, Microgest, AnNa EE 30 Levonorgestrel (LNG) 150
Marvelon ,Prevenon EE 30 Desogestrel (DG)150
Minulet, Gynera EE 30 Gestodene(GSD) 75
Mercilon EE 20 Desogestrel 150
Meliane EE 20 Gestodene 75

2. Multiphasic COC ในแต่ละเม็ดจะมีปริมาณฮอร์โมนไม่เท่ากัน

1.1. Biphasic COC : เป็นชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 2 ระดับ

1.2. Triphasic COC: จะมีฮอร์โมนแตกต่างเป็น 3 ระดับ เพื่อให้ระดับฮอร์โมนใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด

ชื่อยา ชนิดและขนาดของฮอร์โมนสังเคราะห์/เม็ด
Estrogen (mcg) Progestin (mcg)
Oilezz EE (40×7) + (30×15) DG (25×7) + (125×15)
Triquilar EE (30×6) +(40×5) + (30×10) LNG (50×6) + (75×5) +(125 x 10)
Trinordiol EE (30×6) +(40×5) + (30×10) LNG (50×6) + (75×5) +(125 x 10)

Missed pills

– หากลืมรับประทานยา 1 เม็ด ให้รับประทานยาเม็ดที่ลืมทันทีที่นึกได้ และรับประทานยาเม็ดต่อไปตามเวลาปกติ ไม่ต้องใช้ การคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วย

– เมื่อลืมรับประทานยามากกว่า 2 เม็ดขึ้นไป ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วย (back up contraception) 7 วัน

– ตามคำแนะนำของ WHO 2004(3) : กรณีใช้ยาคุมกำเนิดที่มี EE 30-35 mcg การลืมรับประทานยา 2 เม็ด ไม่จำเป็นต้องใช้ การคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วย

ข้อดีของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม มีประโยชน์ทั้งในด้านการคุมกำเนิด และด้านอื่นๆนอกเหนือจากการ คุมกำเนิดด้วย

1. ในด้านการคุมกำเนิด

เป็นการคุมกำเนิดที่ให้ประสิทธิภาพสูงมาก ทำให้ลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ด้านสาธารณสุขได้ ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ ไม่ปลอดภัย

การใช้ COCs ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ จึงทำให้ลดการเกิด ectopic pregnancy ได้ ความเสี่ยงในการเกิด ectopic pregnancy ของสตรีที่ใช้ COCs ประมาณ 1 : 500 ของสตรีที่ไม่ได้ใช้ COCs ซึ่งในการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสติน มีแนวโน้มจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ectopic pregnancy(1)

2. ด้านอื่นนอกเหนือจากการคุมกำเนิด(1)

ยาฉีดคุมกำเนิด (Combination injectable contraceptives : CICs)(4)

เป็นฮอร์โมนรวมคุมกำเนิดในรูปแบบยาฉีดเดือนละ 1 ครั้ง ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเลือดระดูออก กระปริดกระปรอย ของยากลุ่ม Progentin ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาเร็วกว่า และแก้ปัญหาเรื่องการลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมประกอบด้วย Progesterone และ Estrogen สูตรต่างๆกัน

  • Dihydroxyprogesterone acetophenide (DHPA) 75 mg + Estradiol Enanthate (E2EN)5 mg
  • Dihydroxyprogesterone acetophenide 120 mg + estradiol enanthate 10 mg
  • Dihydroxyprogesterone acetophenide 150 mg + estradiol enanthate 10 mg
  • Dihydroxyprogesterone acetophenide 150 mg + estradiol benzoate 10 mg
  • Medroxyprogesterone acetate (DMPA) 25 mg + estradiol cypionate (E2C)5 mg
  • Norethisterone enanthate (NET-EN) 50 mg + estradiol valerate (E2V) 5 mg
  • Progestin 50 mg + estradiol benzoate 5 mg

จากการศึกษาพบว่า DMPA 25 mg + E2C 5mg และ NET-EN 50 mg + E2V 5 mg พบภาวะขาดระดู และ เลือดระดูออก กระปริดกระปรอยน้อยกว่าการใช้การคุมกำเนิดด้วย Progestin เพียงอย่างเดียว แต่พบว่ามักใช้วิธีนี้ไม่นานและเปลี่ยนวิธี คุมกำเนิดด้วยสาเหตุเรื่องผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ หรือการฉีดที่บ่อยเกินไป (ทุก 1 เดือน) ไม่มีแพร่หลายในโรงพยาบาล จึงทำให้การคุมกำเนิดวิธีนี้ไม่นิยมมากนัก

แผ่นแปะคุมกำเนิด (Transdermal contraceptive patch)(5)

เป็นแผ่นกันน้ำขนาด 20 ตร.ซม. ประกอบด้วย EE 750 mcg และ norelgestromin 6 mg (active metabolite ของ norgestimate) ในแต่ละวันจะให้ EE 20 mcg และ norelgestromin 150 mcg ใช้แปะบริเวณก้น ท้อง ต้นแขน หรือต้นขา ไม่ควรแปะบริเวณเต้านม อาจทำให้คัดตึงเต้านมได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีนี้หากมีปัญหาเรื่องผิวหนังหรือมีผิวแพ้ง่าย เปลี่ยนแผ่นแปะทุก 1 สัปดาห์ในวันเดียวกันและควรเปลี่ยนตำแหน่งที่แปะ ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ เว้นระยะ 1 สัปดาห์ หลังแปะสามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างจาก COCs(6) แต่พบว่า compliance ดีกว่าการใช้ COCs(7) ในคนอ้วนพบโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นเช่นเดียวกับ COCs(8)

ควรเริ่มแปะในวันแรกของรอบประจำเดือน หากเริ่มแปะในวันอื่นๆของรอบประจำเดือน ควรใช้การคุมกำเนิด วิธีอื่นร่วมอย่างน้อย 7 วัน สามารถใช้แผ่นแปะต่อเนื่องเพื่อลดความถี่ของรอบประจำเดือนได้ โดยแปะต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ เว้นระยะ 1 สัปดาห์ พบว่าลดจำนวนวันที่มีประจำเดือนลงได้ มี spotting น้อยกว่า แต่พบภาวะขาดระดูมากกว่า (12% : 1%)(9)

การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด ไม่ต้องผ่านดูดซึมที่ลำไส้ และไม่ต้องผ่านการ metabolite ที่ตับ ทำให้ไม่รบกวนระดับ ยาอื่นๆ ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่างจากการใช้ COCs ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว มีผลข้างเคียง เรื่องอาการคัดตึงเต้านม คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องประจำเดือน มากกว่าการใช้ COCs พบว่าการใช้แผ่นแปะเพิ่มความเสี่ยง ในการเป็น VTE เพิ่มขึ้นกว่าการใช้ COCs(10)

วงแหวนคุมกำเนิด (contraceptive vaginal ring)

ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นรูปวงแหวน กว้าง 54 มม. หนา 4 มม. ชั้นนอกของวงแหวนจะประกอบด้วย EE และ etonogestrel (metabolite ของ desogestrel) ใน 1 วัน vaginal ring จะให้ EE 15 mg และ ENG 120 mcg(11) ระดับยาจะเพิ่มทันทีที่ใส่วงแหวน และค่อยๆลดระดับลง ความเข้มข้นของระดับ EE ใน vaginal ring จะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนรวมวิธีอื่น(12) ความสามารถในการคุมกำเนิดเท่ากับ COCs และ transdermal patch (0.3% หากใช้อย่างถูกต้อง และ 9% ในการใช้จริง)(13) และภาวะเจริญพันธุ์กลับมาเร็ว (เฉลี่ยประมาณ 19 วัน หลังถอดวงแหวนออก)(14) สามารถควบคุมรอบประจำเดือนได้ดีกว่า COCs และแผ่นแปะคุมกำเนิด(15) มีการศึกษาพบว่ามี breakthrough bleeding น้อยกว่า(16,17)

กลไกสำคัญในการคุมกำเนิดคือการยับยั้งการตกไข่(18) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เมื่อใส่วงแหวน ในช่องคลอดนาน 3 สัปดาห์ เว้นระยะ 1 สัปดาห์เพื่อให้มีเลือดระดูออกมา จากนั้นใส่วงใหม่ สำหรับรอบต่อไป ในวันเดียวกันกับวันที่ถอดวงแหวน มีบางการศึกษาพบว่าสามารถให้ผลในการยับยั้งการตกไข่ได้นาน 5 สัปดาห์ หากไม่เปลี่ยนวงแหวน(19) นอกจากนี้กลไกอื่นๆ เหมือนผลจาก Estrogen และ Progestin จาก COCs

การใส่วงแหวนคุมกำเนิดทำได้โดยการบีบวงแหวนเข้าหากันและสอดเข้าช่องคลอดให้ลึกที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันหลุด และลดความรู้สึกในช่องคลอด การใส่วงแหวนในวันแรกของประจำเดือนจะเป็นการยืนยันว่าไม่มีการ ตั้งครรภ์เกิดขึ้นก่อนหน้า แต่อาจไม่สะดวกนัก ในการใช้วงแหวนคุมกำเนิดครั้งแรก สามารถเริ่มช่วงไหนของรอบ ประจำเดือนก็ได้ แต่จากการศึกษาพบว่า หากใส่วงแหวนหลังมีประจำเดือนวันแรกนานเกิน 10 วัน จะไม่สามารถยับยั้ง การตกไข่ได้ จึงควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วม เช่น ถุงยางอนามัย อย่างน้อย 7 วันหลังใส่วงแหวน(20)

ไม่ควรถอดวงแหวนออกขณะมีเพศสัมพันธ์ หากมีเหตุให้ถอดวงแหวนออกหรือวงแหวนหลุด ควรล้างด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น (ห้ามใช้น้ำร้อน) และใส่กลับเข้าไปในช่องคลอดเช่นเดิม หากถอดออกเกิน 3 ชั่วโมง จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมจนกว่าจะใส่วงแหวนครบ 7 วัน

หากใส่วงแหวนไว้เกิน 3 สัปดาห์แต่น้อยกว่า 5 สัปดาห์ ให้ถอดออก 1 สัปดาห์และเริ่มรอบใหม่ตามปกติ แต่หากใส่วงแหวนไว้นานเกิน 5 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนวงใหม่และใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วม 7 จนกว่าจะใส่วงแหวนครบ 7 วัน(19)

ผลข้างเคียงโดยรวมเหมือนกันกับ COCs พบว่ามีอากรคัดตึงเต้านมและคลื่นไส้น้อยกว่าการใช้ COCs(21) psychosexual function ดีขึ้น(22) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์น้อย(21) แต่จะพบผลข้างเคียงเฉพาะที่มากกว่า การใช้ COCs เช่น vaginitis (12.2% : 6.8%) leucorrhea (4.8% : 1.6%)(21) vaginal wetness (63% : 43%) นอกจากนี้ยังมีการศึกษา พบว่าการใช้วงแหวนคุมกำเนิด สามารถลดอาการ dysmenorrheal(23) ได้มากกว่า COCs และมีผลกับ insulin sensitivity น้อยกว่า(24)

ผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนรวมในการคุมกำเนิด

  1. Breakthrough bleeding : พบได้บ่อยที่สุดจากการใช้ COCs โดยเฉพาะเมื่อใช้ Estrogen ขนาดต่ำ และเมื่อใช้แบบต่อเนื่อง (extended regimen) สาเหตุที่ทำให้เกิด breakthrough bleeding ได้มากที่สุดเกิดจาก การลืมรับประทานยา(25) สามารถแนะนำให้สังเกตอาการต่ออย่างน้อย 3 cycles หากยังมีเลือดออกจากช่องคลอดอยู่ ควรสงสัยว่ามีสาเหตุอื่นหรือไม่
  2. Amenorrhea : สามารถเกิดขึ้นได้ในการกินยาคุมกำเนิดปกติโดยเฉพาะ Estrogen ขนาดต่ำ (EE 20 mcg) ซึ่ง อาจทำให้กังวลเรื่องการตั้งครรภ์ได้ อาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนมารับประทาน COCs ที่มีขนาด EE 30-35 mcg
  3. Post-pill amenorrhea : โอกาสเกิดความผิดปกติทาง endocrine ในสตรีที่กินยาคุมกำเนิดเท่ากับสตรีปกติ(26) การกินยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง 1 ปี หลังหยุดกินยา ระยะเวลาเฉลี่ยที่จะมีประจำเดือน คือ 32 วัน และสามารถมีบุตรได้ภายใน 90 วัน 98.9 %(27) แต่หากยังไม่มีประจำเดือนหลังหยุดกินยาคุมกำเนิด 6 เดือน ควรประเมินเรื่องภาวะขาดระดูเหมือนสตรีปกติ
  4. ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ คัดตึงเต้านม อารมณ์เปลี่ยนแปลง และ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น พบได้น้อยลงในยากลุ่มใหม่ๆ แต่อาจเกิดขึ้นได้ในการเริ่มยาช่วงแรกๆ และจะค่อยๆดีขึ้น(1)

ผลจากการใช้ฮอร์โมนรวมในการคุมกำเนิด

1. Cardiovascular Disease : พบว่าการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดที่มีปริมาณ Estrogen ต่ำ จะลดความเสี่ยงต่อ ระบบหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าการใช้ปริมาณสูง(28) แต่เนื่องจากอุบัติการณ์ในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) พบน้อยมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สุขภาพแข็งแรง ความเสี่ยงในการเกิด coardiovascular disease ขึ้นกับปริมาณ Estrogen ที่ใช้ แต่ไม่สัมพันธ์กับชนิดของ Progestin

พบว่าการสตรีอายุ > 35 ปี และสูบบุหรี่ เมื่อใช้ฮอร์โมนรวมในการคุมกำเนิด พบอุบัติการณ์ในการเกิด coronary heart disease เพิ่มขึ้นจาก thrombotic mechanism(29) ซึ่งความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามปริมาณ Estrogen ที่ใช้ แต่ในสตรีที่ไม่สูบบุหรี่พบน้อยมาก และไม่เพิ่มความเสี่ยงหลังหยุดใช้ฮอร์โมน

ในยาคุมกำเนิดกลุ่ม third generation (desogestrel, norgestimate, gestodene) พบว่ามีผล lipid metabolism ที่ดีขึ้น แต่อัตราการเกิด myocardial infarction ไม่ได้แตกต่างกับกลุ่ม second generation อย่างมีนัยสำคัญ(30)

มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ischemic stroke (จาก 4.4 เป็น 8.5 : 100,000 คน)(31) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ischemic stroke ประมาณ 1.3 เท่า และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ปริมาณ Estrogen ขนาดสูงขึ้น

2. Venous thromboembolic disease (VTE) : เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด VTE ไม่ว่าจะเป็น low dose หรือ high dose estrogen พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิด VTE มากขึ้นในคนอ้วน และสตรีที่อายุ > 35 ปี แต่ก็พบความเสี่ยงน้อยมาก ในสตรีที่สุขภาพแข็งแรง

การใช้ third generation progestin พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด VTE มากกว่า progestin รุ่นแรกๆ(32,33) ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากมีภาวะดื้อต่อการกระตุ้น protein C

การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิด VTE มากกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด(33)

3. ความเสี่ยงเรื่องมะเร็ง :

  • มะเร็งรังไข่ การใช้ COCs พบว่าลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ เมื่อใช้ฮอร์โมนรวมคุมกำเนิดต่อเนื่อง 4 ปี สามารถลดโอกาศเกิดมะเร็งรังไข่ได้ 50% และเมื่อใช้ต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งได้ 80% ผล protective effect ยังคงอยู่หลังหยุดใช้ฮอร์โมน 30 ปี (1)
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดจาก Progestin ยับยั้ง endometrial proliferation เมื่อใช้ฮอร์โมนรวมคุมกำเนิดต่อเนื่อง 2 ปี สามารถลดโอกาศเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ 40% และเมื่อใช้ ต่อเนื่องมากกว่า 4 ปี สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งได้ 60% ผล protective effect ยังคงอยู่หลังหยุดใช้ฮอร์โมน 15 ปี(1)
  • มะเร็งปากมดลูก พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Invasive cervical cancer (CIN3) เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการใช้ COCs (≥ 5 ปี RR 1.9)(34) ความเสี่ยงจะลดลงหลังหยุดใช้ฮอร์โมนเกิน 10 ปี อาจสัมพันธ์กับสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือมีคู่นอนหลายคน ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HPV มากขึ้น อาจเกิดจาก 16 alpha-hydroxyestrone ซึ่งเป็น metabolite ของ estradiol เป็น cofactor ในการกระตุ้นการแบ่งตัวของ oncogenic HPV มีการศึกษาในสตรีที่ใช้ COCs และไม่มีการติดเชื้อ HPV พบว่าไม่เพิ่ม ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก(35)
  • มะเร็งเต้านม ยังไม่พบลักฐานว่าการใช้ฮอร์โมนรวมเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม และไม่เพิ่มความเสี่ยงในสตรีที่มี BRCA1 gene(1)
  • มะเร็งลำไส้ การใช้ COCs พบว่าลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ มีการศึกษาพบว่าสามารถลดโอกาสเกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่ (CA colon) ได้ 37% และลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ตรง (CA rectum) ได้ 34% และเมื่อใช้ต่อเนื่องมากกว่า 8 ปี สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ได้ 40%(1)

4. ผลกับยาอื่นๆ(1)

ยาบางชนิดมีผลกับประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของฮอร์โมนรวมยาที่มีผลทาง clinic อย่างชัดเจน(28) เช่น phenytoin, phenobarbital, carbamazepine, oxcarbazepine, felbamate, topiramate และ rifampin ซึ่งจะไปกระตุ้นตับให้สร้างเอนไซม์ cytochrome P450 ทำให้ระดับ EE ในกระแสเลือดลดลง มีความเสี่ยงที่จะคุมกำเนิดล้มเหลว แต่ยากันชักบางชนิดไม่มีผลกับระดับฮอร์โมน เช่น valproic acid, vigabatrin,lamotrigine, gabapentin, tiagabine, levetiracetam, zonisamide, ethosuximide และ benzodiazepines

มีรายงานว่า St. John’s wort และ nevirapine สามารถกระตุ้นให้ตับสร้าง cytochrome P450 ได้ ทำให้ระดับ EE and norethindrone ในกระแลเลือดลดลง ยาต้านเชื้อรา เช่น griseofulvin, ketoconazole และ itraconazole สามารถกระตุ้นตับให้สร้างเอนไซม์เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลงได้

ยาปฏิชีวนะ Ampicillin และ tetracycline ทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง เนื่องจากยาไปทำลายแบคทีเรีย ในทางเดินอาหาร (primarily clostridia) ซึ่งทำหน้าที่ hydrolysis สาร steroid glucuronides ส่งผลให้การดูดซึม steroid กลับผ่าน enterohepatic circulation ลดลง

Ascorbic acid (vitamin C) และ acetaminophen อาจทำให้ระดับ EE ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

การใช้ฮอร์โมนรวมในการคุมกำเนิดมีผลกับการกำจัดยาบางชนิดในกระแสเลือด เช่น benzodiazepines (chlordiazepoxide, alprazolam, diazepam และ nitrazepam) Caffeine และ theophylline จะถูกกำจัดผ่านทาง P450 isozymes การใช้ฮอร์โมนรวมอาจทำให้ระดับยาเหล่านี้สูงขึ้น แต่ระดับยาบางชนิดอาจลดลง เช่น analgesic drugs, Salicylic acid และ morphine ซึ่งอาจต้องใช้ปริมาณยาที่มากขึ้นเพื่อให้ถึงระดับที่ต้องการ

ข้อบ่งห้ามในการใช้ฮอร์โมนรวมในการคุมกำเนิด

Centers of Disease Control (CDC) 2010(36)

  • อายุ > 35 ปี และ สูบบุหรี่ > 15 มวนต่อวัน
  • มีความเสี่ยงในการเกิด arterial cardiovascular disease หลายอย่าง
  • ความดันโลหิตสูง (SBP ≥160 mmHg, DBP ≥100 mmHg)
  • Venous thromboembolism (VTE)
  • มี Thrombogenic mutation
  • มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease)
  • มีประวัติ stroke
  • มีภาวะแทรกซ้อนของ valvular heart disease
  • SLE (กรณีมี antiphospholipid Ab positive)
  • Migraine with aura
  • มะเร็งเต้านม
  • ตับแข็ง
  • Hepatocellular adenoma หรือ malignant hepatoma

ACOG guideline สำหรับการใช้ hormonal contraception ในสตรีที่มีโรคทางอายุรกรรม(37)

สตรีที่มีความเสี่ยงทางด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด

ACOG ยอมรับให้ใช้การคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในสตีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อ้วน สูบบุหรี่ และอายุมากว่า 35 ปี

  • ความดันโลหิตสูง : จากการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น (SBP ~ 8 mmHg, DBP ~ 6 mmHg) จากความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด MI และ Stroke ในกรณีที่ความเสี่ยงสูงควรต้องประเมิณความคุ้มค่าในการใช้ฮอร์โมนรวม แต่ในสตรีที่ควบคุมความดันโหิตได้ดี ไม่มี end-organ vascular disease ไม่สูบบุหรี่ อายุ ≤ 35 ปี สามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้
  • ไขมันในเลือดสูง : estrogen จะลด LDL และเพิ่ม HDL แต่เพิ่มระดับ triglyceride หากระดับ TG เพิ่มไม่มาก จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด atherogenesis ส่วน progestin จะมีฤทธิ์ตรงข้าม แต่ใน progestin รุ่นใหม่ที่มีฤทธ์ androgen น้อยจะเพิ่ม HDL มากกว่า TG ซึ่งควรเจาะตรวจ lipid profile ในช่วงแรกที่เริ่มใช้ยา ควรระวังการใช้ฮอร์โมน หากระดับ LDL > 160 mg/dL หรือมี cardiovascular risk หลายอย่าง
  • เบาหวาน : การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 การใช้ฮอร์โมนรวม ก็ไม่รบกวน metabolic control และไม่ได้เร่งการเกิด vascular disease ACOG แนะนำให้ใช้ COCs ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สูบบุหรี่ อายุ < 35 ปี ไม่มีโรคความดันโลหิตสูง ไม่มี Diabetic retinopathy หรือ Diabetic nephropathy หรือ vascular disease อื่นๆ
  • สูบบุหรี่ : จากระบาดวิทยาและ case control study ใน 40 ปีที่ผ่านมา พบว่า COCs เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด MI ในสตรีที่สูบบุหรี่ แต่เนื่องจากข้อมูลไม่มากพอ ACOG จึงแนะนำให้ใช้ COCs ดัวยความระมัดระวังในสตรีที่อายุ > 35 ปีที่สูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน : อาจมีผลต่อการคุมกำเนิดของ COCs เพิ่ม pregnancy rate แต่ในบางการศึกษา พบว่า pregnancy rate ไม่ต่างจากสตรีทั่วไป แต่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ซึ่งในคนอ้วน การใช้ levonorgestrel IUD น่าจะมีประโยชน์มากกว่า
  • สตรีอายุ > 35 ปี : การใช้ COCs ที่มี EE < 50 ปลอดภัยในสตรีที่แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ และมีผลดีกับ มวลกระดูก และ vasomotor symptom ในสตรีวัยทอง ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตามควรประเมิณความคุ้มค่ากับโอกาสเกิด cardiovascular disease โดยเฉพาะคนอ้วน และ อายุเยอะ ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุ > 35 ปี

สตรีที่มีความเสี่ยงทางด้านสูติ-นรีเวชกรรม

  • Breast cancer : การใช้ COCs ลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกเต้านม (benign breast disease) แต่สตรีที่เป็น fibroadenoma เนื้องอกเต้านมที่มี epithelial hyperplasia หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 30 ปีและใช้ COCs > 5 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในสตรีที่มี BRCA 1 gene แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงใน BRCA2 (เนื่องจาก COCs ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่)
  • Uterine fibroid tumor : COCs ลดการเกิด dysmenorrhea และอาจลดภาวะเลือดออกผิดปกติใน Uterine fibroid tumor ได้
  • สตรีหลังคลอดและให้นมบุตร : ในช่วงแรกหลังคลอดบุตร ยังอาจพบภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย ควรใช้ COCs หลังคลอดบุตร 4 สัปดาห์ในสตรีที่ไม่ได้ให้นมบุตร ซึ่ง ACOG แนะนำให้ใช้ DMPA หรือ progestin- only pill มากกว่า

สตรีที่มีโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ

  • Migraine : สามารถใช้ COCs ได้ด้วยความระมัดระวังหากไม่มี focal neurologic sign ไม่สูบบุหรี่ และอายุ < 35 ปี เนื่องจากพบ cerebrovascular event น้อยมาก
  • Systemic lupus erythematosus (SLE) : สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยใน mild lupus ที่ไม่มี phospholipid antibody ไม่มีประวัติ vascular disease หรือ nephritis
  • Sickle cell disease : ไม่มีการศึกษาที่ดีพอที่จะระบุว่า COCs เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด VTE หรือไม่ อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด VTE มากกว่าการใช้ COCs ซึ่ง DMPA จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
  • VTE : ไม่แนะนำให้ใช้ COCs ในสตรีที่มีประวัติ unexplained VTE แม้ว่าจะได้ยาต้านการแข็งตัวของ เลือดแล้วก็ตาม แต่ในสตรีที่มีประวัติ VTE 1 ครั้งจากสาเหตุที่ได้รับการแก้ไขแล้ว นานมากกว่า 1 ปี การใช้ COCs อาจไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด VTE ซึ่งควรพิจารณาเป็นรายๆไป

สตรีที่ใช้ยาอื่นๆ

  • ยากันชัก : ยากันชักบางชนิดจะกระตุ้นการทำงานของตับ ทำให้ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน ในกระแสเลือดลดลง ซึ่งอาจเกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าควรเพิ่มระดับ COCs เป็น 30, 35 หรือ 50 mcg หรือไม่ อาจพิจารณาใช้ถุงยางอนามัยหรือ IUD เพื่อการคุมกำเนิด
  • ยาปฏิชีวนะ : Rifampin เป็นยาปฏิชีวนะเพียงตัวเดียวที่มีหลักฐานลดระดับ serum steroid
  • ยาต้านไวรัส : ยาต้านไวรัสบางชนิดมีผลต่อระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด แต่ยังไม่มีการศึกษาถึง clinical outcome ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Berek JS, Novak E. Berek & Novak’s gynecology. 15th ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins, 2012.
  2. ธีระ ทองสง. นรีเวชวิทยา (ฉบับสอบบอร์ด). 3rd ed. กรุงเทพฯ พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์, 2551.
  3. World Health Organization. Selected Practice Recommendations for Contraceptive Use, 2nd, WHO, Geneva, Switzerland 2004.
  4. Gallo MF, Grimes DA, Lopez LM, Schulz KF, d’Arcangues C. Combination injectable contraceptives for contraception. Cochrane Database of Systematic Reviews 2008
  5. Ortho Evra (norelgestromin/ethinyl estradiol transdermal system). Product labeling. Raritan, NJ: Ortho-McNeil Pharmaceutical, Inc, Revised September 2006; : CD004568
  6. Gallo MF, Grimes DA, Schulz KF. Skin patch and vaginal ring versus combined oral contraceptives for contraception. Cochrane Database Systematic Review 2003; : CD003552.
  7. Archer DF, Bigrigg A, Smallwood GH, et al. Assessment of compliance with a weekly contraceptive patch (Ortho Evra/Evra) among North American women. Fertil Steril 2002; 77:S27.
  8. Zieman M, Guillebaud J, Weisberg E, et al. Contraceptive efficacy and cycle control with the Ortho Evra/Evra transdermal system: the analysis of pooled data. Fertil Steril 2002; 77:S13.
  9. Stewart FH, Kaunitz AM, Laguardia KD, et al. Extended use of transdermal norelgestromin/ethinyl estradiol: a randomized trial. Obstet Gynecol 2005; 105:1389.
  10. Abrams, LS, Skee, D, Natarajan, J, et al. Tetracycline HCL does not affect the pharmacokinetics of a contraceptive patch. Int J Gynecol Obstet 2000; 70:57.
  11. Timmer CJ, Mulders TM. Pharmacokinetics of etonogestrel and ethinylestradiol released from a combined contraceptive vaginal ring. Clin Pharmacokinet 2000; 39:233.
  12. van den Heuvel MW, van Bragt AJ, Alnabawy AK, Kaptein MC. Comparison of ethinylestradiol pharmacokinetics in three hormonal contraceptive formulations: the vaginal ring, the transdermal patch and an oral contraceptive. Contraception 2005; 72:168.
  13. Lopez LM, Grimes DA, Gallo MF, Schulz KF. Skin patch and vaginal ring versus combined oral contraceptives for contraception. Cochrane Database Syst Rev 2010; :CD003552.
  14. Mulders TM, Dieben TO, Bennink HJ. Ovarian function with a novel combined contraceptive vaginal ring. Hum Reprod 2002; 17:2594.
  15. Bjarnadóttir RI, Tuppurainen M, Killick SR. Comparison of cycle control with a combined contraceptive vaginal ring and oral levonorgestrel/ethinyl estradiol. Am J Obstet Gynecol 2002; 186:389.
  16. Oddsson K, Leifels-Fischer B, Wiel-Masson D, et al. Superior cycle control with a contraceptive vaginal ring compared with an oral contraceptive containing 30 microg ethinylestradiol and 150 microg levonorgestrel: a randomized trial. Hum Reprod 2005; 20:557.
  17. Veres S, Miller L, Burington B. A comparison between the vaginal ring and oral contraceptives. Obstet Gynecol 2004; 104:555.
  18.  Killick S. Complete and robust ovulation inhibition with NuvaRing. Eur J Contracept Reprod Health Care 2002; 7 Suppl 2:13.
  19. Mulders TM, Dieben TO. Use of the novel combined contraceptive vaginal ring NuvaRing for ovulation inhibition. Fertil Steril 2001; 75:865.
  20. Nuva Ring Package Insert: Patient Information. Organon USA, Inc, 2008
  21. Ahrendt HJ, Nisand I, Bastianelli C, et al. Efficacy, acceptability and tolerability of the combined contraceptive ring, NuvaRing, compared with an oral contraceptive containing 30 microg of ethinyl estradiol and 3 mg of drospirenone. Contraception 2006; 74:451.
  22. Sabatini R, Cagiano R. Comparison profiles of cycle control, side effects and sexual satisfaction of three hormonal contraceptives. Contraception 2006; 74:220.
  23. Vercellini P, Barbara G, Somigliana E, et al. Comparison of contraceptive ring and patch for the treatment of symptomatic endometriosis. Fertil Steril 2010; 93:2150.
  24. Battaglia C, Genazzani AD, Artini PG, et al. Ultrasonographic and color Doppler analysis in the treatment of polycystic ovary syndrome. Ultrasound Obstet Gynecol 1998; 12:180.
  25. ESHRE Capri Workshop Group, Collins J, Crosignani PG. Endometrial bleeding. Hum Reprod Update 2007; 13:421.
  26. Jacobs HS, Knuth UA, Hull MG, Franks S. Post-“pill” amenorrhoea–cause or coincidence? Br Med J 1977; 2:940.
  27. Davis AR, Kroll R, Soltes B, et al. Occurrence of menses or pregnancy after cessation of a continuous oral contraceptive. Fertil Steril 2008; 89:1059.
  28. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, et al. Williams obstetrics. 23rd ed. New York: Mcgraw-Hill, 2010.
  29. Lidegaard , Lokkegaard E, Jensen A, et al. Thrombotic stroke and myocardial infarction with hormonal contraception. N Engl J Med 2012; 366:2257.
  30. Lewis MA, Spitzer WO, Heinemann LA, et al. Third generation oral contraceptives and risk of myocardial infarction: an international case-control study. Transnational Research Group on Oral Contraceptives and the Health of Young Women. BMJ 1996; 312:88.
  31. Gillum LA, Mamidipudi SK, Johnston SC. Ischemic stroke risk with oral contraceptives: A meta-analysis. JAMA 2000; 284:72.
  32. Kemmeren JM, Algra A, Grobbee DE. Third generation oral contraceptives and risk of venous thrombosis: meta-analysis. BMJ 2001; 323:131
  33. Douketis JD, Ginsberg JS, Holbrook A, et al. A reevaluation of the risk for venous thromboembolism with the use of oral contraceptives and hormone replacement therapy. Arch Intern Med 1997; 157:1522.
  34. International Collaboration of Epidemiological Studies of Cervical Cancer, Appleby P, Beral V, et al. Cervical cancer and hormonal contraceptives: collaborative reanalysis of individual data for 16,573 women with cervical cancer and 35,509 women without cervical cancer from 24 epidemiological studies. Lancet 2007; 370:1609.
  35. Smith JS, Green J, Berrington de Gonzalez A, et al. Cervical cancer and use of hormonal contraceptives: a systematic review. Lancet 2003; 361:1159.
  36. Centers for Disease Control and Prevention. Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR). U.S. Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use, 2010. Adapted from the World Health Organization Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use, 4th edition. Early release – May 28, 2010. http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr59e0528a1.htm (Accessed on May 28, 2010).
  37. Am Fam Physician. 2007 Apr 15;75(8):1252-1258. http://www.greenjournal.org/content/vol107/issue6/#ACOG_PUBLICATIONS