การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
(Sexual Intercourse During Pregnancy)

วิทวัส เชยพันธ์


บทนำ

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ เชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรม, สังคม, ความเชื่อทางศาสนา การมีเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าไม่ก่อให้เกิดอันตราย       หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่กังวลว่าจะเป็นอันจรายต่อทารกในครรภ์ การแท้ง และการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยตลอดการตั้งครรภ์ความกังวลในแต่ละช่วงแตกต่างกันออกไป ได้แก่

          ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ : มีความกังวลเรื่องการแท้งและอันตรายต่อทารกในครรภ์มากที่สุด

          ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ : มีความกังวลเรื่องภาวะน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์มากที่สุด

          ช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ : มีความกังวลเรื่องการคลอดก่อนกำหนดมากที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

1.การคลอดก่อนกำหนด

จากการศึกษาวิจัยยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือทำให้เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอดในหญิงตั้งครรภ์สุขภาพดี การมีเพศสัมพันธ์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ไม่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการคลอดก่อนกำหนดซ้ำจากครั้งก่อน และการมีเพศสัมพันธ์ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ ก่อนครบกำหนดคลอดไม่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ทั้งยังพบว่ามีการลดลงชองความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดในช่วง 2 สัปดาห์ที่มีเพศสัมพันธ์

Fetal Fibronectin ใช้ในการตรวจเพื่อดูว่ามีโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีความจำเพาะและความแม่นยำเป็นที่ยอมรับ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อระดับความเข้มข้นของ Fetal Fibronectin ในช่องคลอด ทำให้มีโอกาสเกิด false positive ในช่วง 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรซักประวัติการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ และถ้าผลการตรวจเป็นบวกควรจะตรวจซ้ำ 92 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์

2.การติดเชื้อ

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการรักษาการติดเชื้อในช่องคลอดด้วย metronidazole ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น bacterial vaginosis or Tricomonas vaginalis

3.ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์

การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นและท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น man on top ระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่มีผลต่อภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ ทั้งในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ก่อนกำหนดและครบกำหนดคลอด

4.ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

5.ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

มีการศึกษาวิจัยการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์ ในหญิงตั้งครรภ์ 200 คน ทั้งการตั้งครรภ์เดียวและครรภ์แฝด ในช่วงอายุครรภ์ 24-30 สัปดาห์, 30-36 สัปดาห์ และหลังคลอด พบว่าในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ที่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มากขึ้นกว่า 9 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ที่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่การวิจัยนี้ยังมีปัจจัยรบกวนเกี่ยวหญิงตั้งครรภ์แฝด เพราะโดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อยู่แล้ว คาดว่าน่าจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไปอีก

6.การเจ็บครรภ์คลอด

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ครบกำหนดไม่มีผลต่อการเกิดอาการเจ็บครรภ์คลอด

7.การตกเลือดหลังคลอด

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์และการถึงจุดสุดยอดไม่มีผลต่อการตกเลือดหลังคลอด

8.ผลต่อทารกในครรภ์

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์และการถึงจุดสุดยอดไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ ภาวะน้ำหนักแรกคลอดน้อย การสำลักขี้เทา การตายปริกำเนิด การนอนโรงพยาบาลของทารกหลังคลอด

จากการศึกษาวิจัยหลายๆอัน พบว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ ไม่มีผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่ การติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ส่วนล่าง, การแท้ง, ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

 

จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศและกิจกรรมทางเพศในหญิงตั้งครรภ์ในไทยพบว่า

1.ความถี่ชองการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์มีความถี่ลดลงตลอดการตั้งครรภ์ โดยมีการลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับก่อนการตั้งครรภ์ ความถี่ชองการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่สองใกล้เคียงกับไตรมาสแรก และจะมีการลดลงอย่างชัดเจนในไตรมาสที่สาม

มีการศึกษาพบว่าความถี่ชองการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดลดลงในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการทางเพศที่ลดลง และความกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์

2.ความต้องการทางเพศ

ความต้องการทางเพศลดลงตลอดการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับก่อนการตั้งครรภ์ โดยพบว่า

–   ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ : ผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อาการแพ้ท้อง ความกลัวการแท้งและอันตรายต่อทารกในครรภ์

– ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ : ผลจากการมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงการมากและอาการแพ้ท้องที่ดีขึ้น น่าจะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการทางเพศดีขึ้น แต่มีความความกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์คอยรบกวน

3.ความเสียว การถึงจุดสุดยอด และความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์

พบว่ามีการลดลงอย่างชัดเจนทั้งหมดตลอดการตั้งครรภ์

4.ท่าที่ใช้ในการร่วมเพศขณะตั้งครรภ์

หลักการโดยทั่วไปของท่าที่ใช้การร่วมเพศขณะตั้งครรภ์ที่ดี คือ

          ร่างกายอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายและสบายทั้งคู่

          ทั้งคู่ควรหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักไปที่มดลูกหรือลงน้ำหนักทั้งตัวไปที่ท้องของหญิงตั้งครรภ์

          หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายหรือนอนตะแคงขวาเป็นเวลานาน

 

 

Spooning position เป็นท่าที่ค่อนข้างสบายเพราะไม่มีแรงกดบนหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์และมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ ฝ่ายชายจะอยู่ทางด้านหลังของหญิงตั้งครรภ์และเลือกมุมในการสอดใส่ พยายามหลีกเลี่ยงการนอนตะแคงขวาหากเลือกใช้ท่านี้

                       http://www.menshealth.com/sex-position-playbook

 

Side by side position ท่านี้จะช่วยให้การสัมผัสระหว่างทั้งคู่มากกว่าท่า spooning แต่การจะสอดใส่ก็ต้องมีการพลิกแพลงเล็กน้อย โดยอาจต้องใช้ขาไขว้กันไปมาเพื่อช่วยในการสอดใส่ ท่านี้จะคล้ายท่า spooning ตรงที่

ไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์

                       http://www.menshealth.com/sex-position-playbook

 

 

 

 

 

 

 

Woman on top position ประโยชน์ของท่านี้คือฝ่ายหญิงกำหนดได้เองว่าต้องการให้เป็นไปในมุมไหน ลึกแค่ไหน แต่ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นอาจจะรู้สึกว่าท่านี้จะทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น รวมถึงกรณีเรื่องการทรงตัว ซึ่งอาจจะทำให้หญิงตั้งครรภ์พอใจกับการอยู่ด้านล่างมากกว่า

                       http://www.menshealth.com/sex-position-playbook

 

 

 

 

 

 

 

Rear entry position เป็นท่าที่หญิงตั้งครรภ์คุกเข่าคลาน โดยฝ่ายชายจะสอดใส่จากทางด้านหลัง ประโยชน์ของท่านี้คือการสอดใส่จะไม่ลึกจนเกินไปและไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์ ท่านี้อาจจะใช้เมื่ออยู่บนเตียงหรือปรับร่วมกับท่าถัดไป

                       http://www.menshealth.com/sex-position-playbook

 

 

 

 

 

 

 

Edge of the bed position ท่านี้หญิงตั้งครรภ์จะอยู่บริเวณขอบเตียง โดยฝ่ายชายอยู่นอกเตียงซึ่งอาจจะคุกเข่าหรืออยู่ในท่ายืนก็ได้ และอาจจะใช้ร่วมกับท่า rear entry position ท่านี้ไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์เช่นกัน

                       http://www.menshealth.com/sex-position-playbook

 

จากการศึกษาวิจัยพบว่าท่า “man on top” ใช้มากที่สุดก่อนการตั้งครรภ์แต่เมื่ออยู่ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการใช้ลดลง ช่วงการตั้งครรภ์ท่าที่เลือกใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ท่าที่ไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ side by side และ rear entry เหตุผลของการเปลี่ยนท่าที่ใช้ร่วมเพศช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป ท้องที่โตขึ้นทำให้การมีเพศสัมพันธ์ในท่า “man on top” ค่อนข้างลำบาก

 

 

 

 

 

 

การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากกับช่องคลอด (Oral-vaginal intercourse)

พบว่าบางครั้งก่อให้เกิดอันตราย จากการศึกษาวิจัยพบว่า การเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในช่วงท้ายจาก Air embolism เป็นผลมาจากมีอากาศเข้าไปในช่องคลอดช่วงระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์กันโดยใช้ปากกับช่องคลอด 

สรุป

                แพทย์และทีมที่ให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์มีหน้าที่ในการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่หญิงตั้งครรภ์และสามีถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ อาจเนื่องจากประเพณีวัฒนธรรมและความเคร่งครัดทางศาสนาเป็นสาเหตุให้หญิงตั้งครรภ์ไม่สะดวกที่จะถามเรื่องนี้กับแพทย์ขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะให้ข้อมูลเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นมาก่อน

References

  1. Uwapusitanon W, Choobun T. Sexuality and Sexual Activity in Pregnancy. J Med Assoc Thai 2004; 87(Suppl 3): S45-9
  2. Senkumwong N, Chaovisitsaree S, Rugpao S, Chandrawongse W, Yanunto S. The Changes of Sexuality in Thai Women during Pregnancy. J Med Assoc Thai 2006; 89 (Suppl 4): S124-9
  3. Yost NP, Owen J, Berghella V, Thom E, Swain M. Effect of coitus on recurrent preterm birth. Obstet Gynecol 2006;107(4):793
  4. Grudzinskas JG, Watson C, Chard T. Does sexual intercourse cause fetal distress. Lancet 1979;2:692
  5. Sayle AE, Savitz DA, Thorp JM Jr, Hertz-Picciotto I, Wilcox AJ. Sexual activity during late pregnancy and risk of preterm delivery. Obstet Gynecol 2001;97:283
  6. Koichiro S, Kazumasa H, Takashi S, Fumitaka S, Yuji M. Effect of sexual intercourse on fetal fibronectin concentration in cervicovaginal secretions. Am J Obstet Gynecol 1998;179:255-6
  7. Vincenzo B, Mark K, Cora MP, Christopher C, John CH. Sexual intercourse association with asymptomatic bacterial vaginosis and Trichomonas vaginalis treatment in relationship to preterm birth.  Am J Obstet Gynecol 2002;187:1277-82
  8. Ekwo EE, Gosselink CA, Woolson R, Moawad A, Long CR. Coitus late in pregnancy risk of preterm rupture of amniotic sac membranes. Am J Obstet Gynecol 1993 ;168(1 Pt 1):22-31
  9. 9. Mills JL, Harlap S, Harley EE. Should coitus late in pregnancy be discouraged. Lancet 1981;2(8238):136
  10. 10. Tan PC, Yow CM, Omar SZ.  Coitus and orgasm at term: effect on spontaneous labour and pregnancy outcome. Singapore Med J 2009;50(11):1062
  11. 11. Reshma P, Laura BL, Omaima AS, Erika P. Effect of sexual intercourse on pregnancy outcomes. Am J Obstet Gynecol 2011;518:207
  12. 12. Reshma P, Laura BL, Omaima AS, Erika P. Relationship of sexual intercourse and pre-eclampsia. Am J Obstet Gynecol 2011;789:309
  13. 13. Read JS, Klebanoff MA. Sexual intercourse during pregnancy and preterm delivery effects of vaginal microorganisms The Vaginal Infections and Prematurity Study Group. Am J Obstet Gynecol 1993;168(2):514
  14. Bartellas E, Crane JM, Daley M, Bennett KA, Hutchens D. Sexuality and sexual activity in pregnancy. BJOG 2000;107(8):964-8
  15. Aronson ME, Nelson PK. Fatal air embolism in pregnancy resulting from an unusual sex act. Obstet Gynecol. 1967;30:127
  16. Bernhardt TL, Goldmann RW, Thombs PA, Kindwall EP. Oxygen treatment of cerebral air embolism from orogenital sex during pregnancy. Crit Care Med. 1988;16(7):729-30