ขอบข่ายการพิจารณาโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

งานประเภทที่ 1

รายละเอียด
เอกสารอ้างอิง
1. การวิจัยและทดลองในเชื้อโรค กลุ่ม 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561
2. งานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการแลกเปลี่ยน DNA โดยกระบวนการทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นที่ยอมรับ แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
ภาคผนวกที่ 2 ข้อ 2.1 ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการแลกเปลี่ยน DNA โดยกระบวนการทางสรีรวิทยา
3. การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่รับรองแล้วว่าปลอดภัย แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ภาคผนวกที่ 2 ข้อ 2.2 บัญชีรายชื่อเจ้าบ้าน/พาหะที่จัดว่าปลอดภัย
4. การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกิด จาก self-cloning ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายน้อยต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักฐานยืนยัน แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
5.การวิจัยและทดลอง human/animal cell/cell lines ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำหรือมาจากแหล่งกำเนิดที่มีการทดสอบว่าไม่มี infectious agent รวมถึง untransformed cell lines พิจารณาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ Material Safety Data Sheet for Cell Cultures ของ cell lines ที่ใช้ (ตัวอย่าง Product Sheet เช่น Product Sheet ของ A549 cell)
6.การวิจัยและทดลองดัดแปลงพันธุกรรมในพืชที่ใช้สารพันธุกรรมจากพืช ชนิดนั้นเอง และไม่เป็นวัชพืชร้ายแรงหรือไม่สามารถผสมข้ามกับวัชพืชได้ แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
7. การวิจัยและทดลองดัดแปลงพันธุกรรมในสัตว์ที่ใช้สารพันธุกรรมจาก สัตว์ชนิดนั้นเอง และไม่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (invasive alien species) ในประเทศไทย แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

งานประเภทที่ 2
 

รายละเอียด
เอกสารอ้างอิง
1. การวิจัยและทดลองในเชื้อโรค กลุ่ม 2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561
2.การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับพิษจากสัตว์กลุ่มที่ 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการพิษจากสัตว์ที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 19 พ.ศ. 2562
3. การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสารพิษหรือสารชีวภาพที่ไม่ใช่อนุภาคโปรตีนก่อโรค หรือ อนุภาคโปรตีนก่อโรค (Toxin or prion) ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับที่ 2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561 (รหัสเชื้อโรคหมวด R และ T)
4.การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่ไม่ได้อนุญาต แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ภาคผนวกที่ 2 ข้อ 2.2 บัญชีรายชื่อเจ้าบ้าน/พาหะที่จัดว่าปลอดภัย
5. การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่รับรองแล้วว่าปลอดภัยแต่ยีนที่จะนำมาเชื่อมมีลักษณะเป็น
– ตัวกำหนดให้เกิดพิษภัย
– DNA หรือ RNA จากจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์สัตว์หรือพืช ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับที่ 2
– มียีน สร้างโปรตีนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการแบ่งเซลล์
DNA หรือ RNA จากจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับที่ 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561
6.การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกิดจาก self-cloning ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายปานกลางต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักฐานยืนยัน แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
7. การวิจัยและทดลองดัดแปลงพันธุกรรมพืชที่ได้รับสารพันธุกรรมจากพืช ชนิดอื่น หรือสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ต้องไม่มีสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตก่อโรค ต่างถิ่น (exotic pathogen) แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
8. การวิจัยและทดลองดัดแปลงพันธุกรรมสัตว์ที่ได้รับสารพันธุกรรมจาก สัตว์ชนิดอื่น หรือสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ต้องไม่มีสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตก่อโรคต่างถิ่น แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่