กลุ่มวิจัย (Cluster): เวชศาสตร์มารดาและทารก

โครงการวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ในการควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในเครือข่าย 32 โรงพยาบาลภาคเหนือ งานวิจัยการวินิจฉัยก่อนคลอดโรคหัวใจพิการ (fetal echocardiography) และการควบคุมโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธีก่อนคลอด

การวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่

โครงการวิจัยการควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ (ภายใต้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ) 

โครงการ: วินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์

หน่วยงานหลัก: เวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลศูนย์ 32 โรงพยาบาลในภาคเหนือตอนบน

ทีมงานวิจัย

  • ศ. นพ. ธีระ ทองสง Theera Tongsong, MD.
  • รศ. พญ. พรรณี ศิริวรรธนาภา Pannee Sirivatanapa, M.D.
  • รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ Chanane Wanapirak, M.D.
  • รศ. นพ. ดร. วีรวิทย์ ปิยะมงคล Wirawit Piyamongkol, MD.
  • รศ. พญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล Supatra Sirichotiyakul, MD.
  • รศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ Fuanglada Tongprasert, MD.
  • รศ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ Kasemsri Srisupundit, MD.
  • รศ. พญ. สุชยา ลือวรรณ Suchaya Luewan, MD.
  • รศ. พญ. กุณฑรี ไตรศรีศิลป์ หมื่นพินิจ  Kuntharee Traisrisilp, MD.
  • ผศ. นพ. ภูดิศ เจต๊ะวรรณ  Phudit Jatavan, MD.
  • อ. พญ. ศิรินาถ ศิริเลิศ Sirinart Sirilert, MD.
  • รศ. พญ. สายพิณ พงษธา Saipin Pongsatha, MD.
  • ผศ. พญ. วัชรี ตันติประภา Watcharee Tantiprapa, MD.
  • รศ. พญ. แรกขวัญ สิทธิวางค์กูล Rekwan Sittiwangkul, MD.
  • ผศ.พญ. วรางค์ทิพย์ คูวุฒยากร Varangthip Khuwuthyakorn, MD.
  • ผศ.พญ. ฌานิกา โกษารัตน์ Shanika Kosarat, MD.
  • ศ. นพ. สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์ Surapan Khunamornpong, MD.
  • รศ.พญ. กรกนก สุขพันธ์ Kornkanok Sukpan, MD.

กลุ่มอาการดาวน์: หนึ่งในปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทยที่ยังไม่มีการควบคุมอย่างได้ผล เนื่องจากคือขาดข้อมูลของวิธีคัดกรองที่เหมาะกับคนไทย การตรวจคัดกรองก่อนคลอดที่มีประสิทธิภาพสูงในตะวันตกไม่สามารถใช้กับประเทศไทยได้ ทีมวิจัยจึงทำการศึกษาหายุทธวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรองและควบคุมโรคนี้ในคนไทย ซึ่งการให้ได้คำตอบจะต้องการตรวจสตรีตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 40,000 ราย โดยมุ่งหวังว่าเมื่อจบโครงการทารกดาวน์รายใหม่ในภาคเหนือตอนบนจะลดลง 80% และเมื่อนำข้อมูลไปเป็นแนวทางสร้างนโยบายระดับชาติ คาดว่าโรคนี้ในประเทศไทยจะลดลงกว่า 50%

วัตถุประสงค์หลัก

  1.  ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธวิธีในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในคนไทยด้วยซีรั่มมาร์กเกอร์
  2. ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธวิธีในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในคนไทยด้วยอัลตราซาวด์มาร์กเกอร์ (nuchal translucency & genetic sonogram)
  3. ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธวิธีในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในคนไทยด้วยมาร์กเกอร์หัวใจทารก (cardiac markers: fetal echocardiography)
    ขยายความ: เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่มีผลต่อคุณภาพประชากรไทยโดยตรง ซึ่งมีความคาดหวังอย่างเป็นรูปธรรม ทีมวิจัยมีความเชื่อมั่นสูงว่าโครงการนี้จะมีผลนำไปสู่ภาคปฏิบัติ (implementation) และความชุกของทารกกลุ่มอาการดาวน์จะลดลงอย่างเป็นรูปธรรม หรือคุณภาพของทารกดาวน์จะดีขึ้นจากการวินิจฉัยก่อนคลอด โดยทีมงานมีความคาดหวังสูงว่านี่จะเป็น trial ใหญ่ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุด จะเป็นหลักฐานอ้างอิงสำคัญในการวางนโยบาย หรือแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในระดับชาติ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังน่าจะเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์รอง

  1. ศึกษาถึงความคุ้มทุนของการตรวจคัดกรองโดยซีรั่มมาร์กเกอร์กับการคัดกรองด้วยอายุเพียงอย่างเดียว
  2. หาค่ามาตรฐานของซีรั่มมาร์กเกอร์ในสตรีตั้งครรภ์ไทย (PAPP-A, beta-hCG, alpha-fetoprotein, unconjugated estriol, และ inhibin)
  3. ค้นหาประสิทธิภาพของแต่ละซีรั่มมาร์กเกอร์ในการทำนายทารกกลุ่มอาการดาวน์
  4. ประสิทธิภาพของอัลตราซาวด์มาร์กเกอร์ต่าง ๆ ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ ทั้งในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองเพื่อประเมินประสิทธิภาพของยุทธวิธีในการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ จากข้อมูลพื้นฐานของประชากรไทย
  5. ศึกษาถึงประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองทารกพิการโดยกำเนิด ด้วยอัลตราซาวด์ โดยสูติแพทย์ในระดับโรงพยาบาลจังหวัด/ชุมชน
  6. ศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ของการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ด้วยซีรั่มมาร์กเกอร์ในประชากรวงกว้าง
    ขยายความ: เนื่องจากในโครงการนี้ เป็นการเกณฑ์ประชากรวงกว้างประมาณ 40,000 ราย ทำให้มีโอกาสที่ดีมากที่จะทำการศึกษาข้อมูลที่ซ่อนเร้นอยู่ในสตรีตั้งครรภ์ทารกดาวน์ และยังเป็นการศึกษาต่อยอดซึ่งจะให้ข้อมูลที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มเติม โดยที่ทีมงานวิจัยนี้คาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลเร้นลับจากมารดาที่มีทารกดาวน์ (90 ราย: ซึ่งไม่มีโอกาสทำได้ในงานทางคลินิกของโรงพยาบาลทั่วไปเพียงโรงพยาบาลเดียว) เป็นโอกาสอันดีที่ทีมวิจัยจะได้เชื้อเชิญคู่สมรสที่มีทารกในครรภ์เป็นกลุ่มอาการดาวน์ มาเข้าสู่การศึกษาต่อยอด ทั้งในด้านซีรั่มมาร์กเกอร์ และอัลตราซาวด์มาร์กเกอร์ที่จะทำการศึกษาประชากรตัวอย่างนี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้

  • หลักฐานทางวิชาการในการกำหนดนโยบายควบคุมโรคระดับประเทศ (โรคนี้จะลดลงอย่างเป็นรูปธรรม)
  • กลุ่มอาการดาวน์ในภูมิภาคที่ศึกษาจะลดลงประมาณ 80% ใน 3 ปี
  • ได้ค่ามาตรฐานของซีรั่มมาร์คเกอร์ต่าง ๆ ของคนไทย ที่นำไปสร้างซอฟท์แวร์คะเนความเสี่ยงในแต่ละการตั้งครรภ์
  • ได้เครือข่ายสารธารณสุขที่เพิ่มประสิทธิภาพ/คุณภาพชีวิตของประชาชนภาคเหนือ
  • มีทีมให้คำปรึกษากลุ่มอาการดาวน์ที่มีมาตรฐานเกิดขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ จำนวน 32 แห่ง
  • เพิ่มศักยภาพกลุ่มวิจัยด้านวินิจฉัยก่อนคลอด โดยมีนักวิจัยเพิ่มขึ้นในทุกระดับ
  • มีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติชั้นนำของโลก 50 เรื่อง

กลุ่มเป้าหมายของผลวิจัย: สตรีตั้งครรภ์ทั่วประเทศ, โรงพยาบาลที่รับฝากครรภ์, กระทรวงฯ (กำหนดนโยบาย)

ผลที่ได้รับในรอบ 3 ปี:

  • ได้เครือข่ายสารณสุขโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ จำนวน 32 แห่ง ซึ่งได้ประสานกันปฏิบัติงานคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ได้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งมีระบบการส่งตัวอย่างเลือดตรวจ แจ้งผล และส่งตัวผู้ป่วย ที่คล่องตัวแล้ว
  • มีทีมให้คำปรึกษากลุ่มอาการดาวน์ที่มีมาตรฐานเกิดขึ้นแล้วในโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ จำนวน 32 แห่ง
  • มีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติชั้นนำของโลก 42 เรื่อง (จำนวนสูงสุดเท่าที่ทีมงานเคยทำได้)
  • ผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกไปแล้ว 8 ท่าน หลังปริญญาเอก 1 ท่าน (พร้อมผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับสากล)
  • ได้ทำการตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ไปแล้วกว่า 14,000 ราย
  • ตรวจกลุ่มอาการดาวน์ได้แล้วตามสัดส่วนที่คาดหวัง 31 ราย จากทารกดาวน์ทั้งหมด 35 รายใน 3 ปี

โครงการวิจัยในการสนับสนุนของทุนเพชรวิจัย

มีโครงการจำเพาะที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารกจำนวน 6 โครงการดังนี้

  1. โครงการที่ 1: A comparison of fetal cardiac function prenatally assessed by Doppler ultrasound and post-abortal myocardial examination among fetuses with anemia, thalassemia disease, chromosomal abnormalities, and congenital heart diseases (หัวหน้าโครงการ: น.พ. ธเนศ เจต๊ะวรรณ โดยมี ศ.นพ. ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และ ศ. นพ. ธีระ ทองสง เป็น mentor)
  2. โครงการที่ 2: A comparison of cord blood oxidative stress markers and inflammatory markers between hemoglobin Bart’s fetuses and unaffected fetuses (หัวหน้าโครงการ: ผ.ศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ)
  3. โครงการที่ 3: Prevalence of chromosomal abnormalities including 22q11.2 deletion in fetuses with cardiac malformation diagnoses on prenatal fetal echocardiography at Maharaj Nakorn ChiangMai hospital (หัวหน้าโครงการ: ร.ศ. น.พ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล)
  4. โครงการที่ 4: Dried Blood Spot (DBS) PAPP-A and Free hCGß in the First Trimester Prenatal Screening (หัวหน้าโครงการ: ร.ศ. น.พ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์)
  5. โครงการที่ 5: Changes in anti-angiogenic factors levels in the placenta and circulation of the women complicated by fetal Hemoglobin Bart’s disease (หัวหน้าโครงการ: อ. พญ. สุชยา ลือวรรณ)
  6. โครงการที่ 6: Workshop on fetal echocardiography 3 ครั้ง (ปีละ 1 ครั้ง) (หัวหน้าโครงการ: ศ. นพ. ธีระ ทองสง)
  7. โครงการที่ 7: Prenatal diagnosis of beta-thalassemia disease by using droplet digital PCR analysis of cell-free fetal DNA in maternal plasma
    (หัวหน้าโครงการ:  ร.ศ. พ.ญ. พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ : Pimlak Charoenkwan)
  8. โครงการที่ 8: Hematological and ultrasonographic characteristics of fetuses with hemoglobin H disease at mid-pregnancy (หัวหน้าโครงการ: ร.ศ. พ.ญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล : Supatra Sirichotiyakul)

โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง

  1. Association between unexplained elevated maternal serum beta hCG and adverse pregnancy outcome)
    แพทย์หญิงพนารัตน์ สิริคุณาลัย (แพทย์ต่อยอดเวชศาสตร์มารดาและทารก)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  2. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ : Outcomes of Pregnancy with Gestational Diabetes Mellitus: 10-Year Experience of Practice Guideline Implementation.
    พญ.สุพรรษา ศรีชุ่มจิตร (Supansa Srichumchit) (แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย อ. พ.ญ. สุชยา ลือวรรณ
  3. ความสัมพันธ์ของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และระดับ alpha-fetoprotein ในเลือดของมารดา : Associations between adverse perinatal outcome and maternal serum alpha-fetoprotein measurements
    นายแพทย์พงษ์สันต์ พันธะไชย (Mr. Pongsun Puntachai) (แพทย์ต่อยอดเวชศาสตร์มารดาและทารก)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  4. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีที่เป็นพาหะโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้า : The pregnancy outcomes among women with beta-thalassemia trait
    พญ.จิตรากานต์ เจริญบุญ (Chitrakan Chareonboon) (แพทย์ต่อยอดเวชศาสตร์มารดาและทารก)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  5. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีที่เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี : Maternal and Fetal Outcomes among Pregnant Women with Hemoglobin E trait
    พญ.วลัยรัตน์ เข็มทอง (Walairat Kemthong) (แพทย์ต่อยอดเวชศาสตร์มารดาและทารก)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  6. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในสตรีที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดแอลฟ่า-1 : Pregnancy outcome in women with alpha-thalassemia-1 trait
    อ. พญ. กุณฑรี ไตรศรีศิลป์ (Kuntharee Traisrisilp)
  7. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในสตรีที่เป็นโรคโฮโมซัยกัสฮีโมโกลบินอี : Pregnancy outcome in women with homozygous hemoglobin E disease
    อ. นพ. ภูดิศ เจต๊ะวรรณ (Phudit Jatavan, M.D.; Research Fellow: เวชศาสตร์มารดาและทารก)
  8. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ : Pregnancy outcomes in younger adolescent women who delivered at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
    นายแพทย์ เจษฎา ใจพรหม (Jedsada Jaiprom แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย อ. พญ. กุณฑรี ไตรศรีศิลป์
  9. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีที่อายุมากกว่า 40 ปี ที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ : Pregnancy Outcomes of Mothers with Very Advanced Maternal Age (40 years or more)
    อ. พญ. กุณฑรี ไตรศรีศิลป์ (Kuntharee Traisrisilp, M.D.), Theera Tongsong, M.D.
  10. Adherence to Guidelines on the Diagnosis of Cephalo-pelvic Disproportion at Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital
    แพทย์หญิง ศศิวิมล ศรีสุโข : Sasivimol Srisukho (แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ร.ศ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  11. ภาวะการขาดไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ : Maternal iodine insufficiency and adverse pregnancy outcomes
    พ.ญ. ชลรส เจริญรัตน์ : Cholaros Charoenratana, M.D. (แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  12. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ Unconjugated Estriol (uE3) ในเลือดมารดากับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ไม่ดี : Association between isolated abnormal levels of maternal serum unconjugated estriol in the second trimester and adverse pregnancy outcomes
    พ.ญ. ธนิยาภรณ์เศรษฐิยานันท์ Thaniyaporn Settiyanan, M.D. (แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ร.ศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  13. การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการแยกเนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดากับชนิดร้ายแรง โดยใช้ IOTA Simple Rules : IOTA Simple Rules for Prediction of Benign and Malignant Ovarian Tumor
    พญ. ดังชีวัน ตินนังวัฒนะ Dangcheewan Tinnangwattana M.D. (แพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช)
    อาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย ศ. นพ. ธีระ ทองสง
  14. Fetal Cardiac Doppler Indices in Fetuses with Hemoglobin Bart’s Disease at 12-14 Weeks of Gestation
    Suchaya Luewan, M.D.
  15. Prenatal Differentiation between Truncus Arteriosus (type II and III) and Pulmonary Atresia with Ventricular Septal Defect
    Kuntharee Traisrisilp, M.D.
  16. Quantitative Cardiac Assessment in Fetal Tetralogy of Fallot
    Phudit Jatavan, M.D.
  17. Dried Blood Spot (DBS) PAPP-A and Free hCGß in the First Trimester Prenatal Screening
    Chanane Wanapirak, M.D.