Overview01

MFM Research Cluster เป็นกลุ่มวิจัยด้านสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก ทำการศึกษาค้นคว้าควบคู่ไปกับการเรียนการสอน การบริการ และการฝึกอบรมในสาขาวิชานี้ ตามภาระกิจของมหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยหลักจะสัมพันธ์กับปัญหาสำคัญด้านนี้ของคนไทย ทำการศึกษาทั้ง basic science และ clinical application

กลุ่มวิจัยนี้ (MFM Research cluster) ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิจัยของภาควิชาสูติ-นรีเวช มช. ซึ่งมีผลให้เป็นภาควิชาที่ได้รับการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม จากการประเมินระดับชาติโดยสกว. 2555 ซึ่งเป็นการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรากฏว่าภาควิชาฯ ได้รับการประเมินระดับ 5 (ระดับดีเยี่ยม) ซึ่งเป็นภาควิชาเดียวของคณะแพทย์เชียงใหม่ และสูติฯที่เดียวของประเทศ ที่ได้ระดับดีเยี่ยม (จากงานประกาศผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ) สกว จึงได้ให้ เกียรติบัตรนี้ไว้แก่ภาควิชาสูติ แพทย์ มช เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการก้าวสู่สถาบันการศึกษาระดับคุณภาพต่อไป

Research Cluster: Maternal Fetal Medicine Faculty of Medicine, Chiang Mai University

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นกลุ่มวิจัยที่มีความเลิศด้านการให้บริการและวิจัยในด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ที่อยู่ในแนวหน้าของประเทศไทย

พันธกิจ (Mission)

  1. พัฒนางานด้านการวิจัยด้านการวินิจฉัยและรักษาทารกในครรภ์ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เน้นทั้งการวิจัยที่พัฒนาจากงานบริการที่มีมาตรฐานสูง งานวิจัยทางคลินิกและเชื่อมโยงกับการวิจัยขั้นพื้นฐาน การสร้างผลงานวิจัยที่มีความต่อเนื่อง และมีคุณภาพสูงที่ตีพิมพ์ในวารสารมาตรฐานในระดับนานาชาติ และเป็นเลิศในประเทศไทยของสาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารก
  2. สร้างโอกาสและประสบการณ์ในการทำวิจัยจากงานบริการให้แก่แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ต่อยอดสาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารก และรวมไปถึงนักศึกษาแพทย์
  3. สร้างงานบริการขั้นสูงแก่ประชาชนส่วนใหญ่อย่างมีมาตรฐานที่สามารถเป็นบ่อเกิดของงานวิจัยที่เป็นประโยชน์สูงแก่ชุมชน จนเป็นต้นแบบของ Routine to Research และรองรับด้วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  4. ร่วมมือกับหน่วยงานและภาควิชาที่เกี่ยวข้องในการให้บริการและวิจัยร่วมกัน โดยเน้นบริการที่เป็นขั้นสูงและเป็นประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
  5. เป็นแหล่งฝึกอบรม และแหล่งให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกที่สำคัญของประเทศไทย
  6. ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกันคิดหรือกัลยาณมิตร (mentoring) ให้กับอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ และนักวิจัยที่ต้องการที่ปรึกษา ค้นหาและสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่มาทดแทนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น

ภาระกิจงานบริการซึ่งเป็นแหล่งหลักของงานวิจัย

  1. การวินิจฉัยและควบคุมโรคธาลัสซีเมียด้วยยุทธวิธีก่อนคลอด
  2. การวินิจฉัยและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ด้วยยุทธวิธีก่อนคลอด
  3. การวินิจฉัยขั้นสูงของทารกพิการโดยกำเนิด
  4. การรักษาทารกในครรภ์

Action plan เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

1) เครือข่วยวิจัยหรือการเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ

  1. นักวิจัยในกลุ่มอื่น ๆ ในคณะแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันในสาขาวิชาฯ
    • ภาควิชาพยาธิวิทยา (ผ.ศ. พญ. กรกนก สุขพันธ์ และคณะ)
    • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ (ผ.ศ. พญ. ชนิพร ปวนอินตา และคณะ)
    • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
      •  หน่วยโลหิตวิทยา (ร.ศ. พญ. พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ และคณะ)
      • หน่วยโรคหัวใจ (ร.ศ. พญ. แรกขวัญ สิทธิวางค์กุล และคณะ)
      • หน่วยทารกแรกคลอด (ผ.ศ. วัชรี ตันติประภา และคณะ)
  2. เครือข่ายในท้องถิ่น (32 โรงพยาบาลในภาคเหนือตอนบน) ซึ่งสร้างไว้แล้ว และจะพัฒนาต่อไป
  3. เครือข่ายวิจัยต่างสถาบันภายในประเทศที่สร้างไว้แล้ว และจะพัฒนาต่อไป
    •  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (นักวิจัยหลัก ร.ศ. นพ. ถวัลย์วงศ์ รัตนศิริ)
    • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (นักวิจัยหลัก ศ. พญ. อุ่นใจ กออนันตกุล)
    • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (นักวิจัยหลัก ผ.ศ. พันเอก พญ. จุฑาวดี วุฒิวงศ์)
    •  โรงพยาบาลราชวิถี (นักวิจัยหลัก ร.ศ. นพ. เอกชัย โควาวิสารัช)
    •  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (นักวิจัยหลัก ผ.ศ. นาวาอากาศเอก น.พ. วิบูลย์ เรืองชัยนิคม)
  4. 4) การเชื่อมโยงกับสถาบันต่างประเทศที่เกื้อกูลกันทางวิชาการและการวิจัย (กำลังพัฒนาการเชื่อมโยงกับ BGI (Beijing Genomics Institute) และในอนาคตจะเชื่อมโยงกับ U of London)

2) ห้องปฏิบัติการ (ดำเนินการอยู่แล้วให้ขึ้นโดยตรงกับศูนย์เพื่อความคล่องตัวและเชื่อถือ)

  1. ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียสำหรับสตรีตั้งครรภ์
  2. ห้องปฏิบัติการทางพันธุศาสตร์สำหรับการวินิจฉัยธาลัสซีเมียของทารกในครรภ์
  3. ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์สำหรับสตรีตั้งครรภ์
  4. บริการการตรวจทางห้องปฏิบัติการการตรวจวินิจฉัยดีเอ็นเอทารกในเลือดมารดา
  5. เครื่องตรวจอัลตราซาวด์รายละเอียดสูง (สำหรับ fetal echocardiography)

3) กำลังคน

  1. อาจารย์เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกมีอยู่แล้ว 7 คน ต้องการเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 คนเมื่อจัดตั้งศูนย์และอีกอย่างน้อย 2 คนใน 5 ปี (1 คนใน 1-2 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นอีก 1 คน) (เป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องเตรียมคนไว้ทดแทน ซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาไปเป็นนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ เพราะเป็นงานวิจัยทางคลินิกที่อาจารย์ต้องสอนและบริการแบบเต็มเวลา)
  2.  เจ้าหน้าประจำศูนย์รวม 4 คน ดูแลฐานข้อมูลของศูนย์ (มีความสำคัญมากสำหรับงานวิจัยประเภท R-to-R และงานวิจัยทางคลินิก) จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 2 คน คนงาน 1 คน
  3. ผู้ช่วยวิจัย (research associate) มีอยู่แล้ว 4 คน ต้องการมาทดแทนที่ใกล้เกษียณอยู่ 2 คน
  4. นักวิทยาศาสตร์ทางห้องปฏิบัติการ มีอยู่แล้ว 4 คน ต้องการเพิ่มจำนวน 2 คน
  5. แพทย์ต่อยอดเฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารก ปีละ 2 คน (เรียนคนละ 2 ปี)

4) งบประมาณ

ที่กำลังได้รับการสนับสนุนอยู่

  • ทุนเพชรวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทุนในโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 2554-2558

ที่ได้รับการสนับสนุนที่จบโครงการไปแล้ว

  • การสนับสนุนจากสกว. เมธีวิจัยอาวุโส 2550-2556
  • สกว. นักวิจัยรุ่นใหม่
  • สกว. นักวิจัยรุ่นกลาง
  • สกว. นักวิจัยรุ่นกลาง

Overview