ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสมุนไพรอยู่เป็นจำนวนมาก การนำพืชสมุนไพรและสารสกัดจากพืชที่มีการใช้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ต่อเชื้อปรสิตและพาหะนำโรคต่าง ๆ มาใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคปรสิต ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากสารสกัดที่ได้จากพืชธรรมชาติส่วนใหญ่ มีรายงานถึงความเป็นพิษค่อนข้างต่ำและสามารถสลายตัวได้ง่าย ทำให้ค่อนข้างปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสารพิษหรือฤทธิ์ตกค้างในธรรมชาติ จึงมีผลกระทบค่อนข้างต่ำต่อระบบนิเวศวิทยาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คาดว่าในอนาคตอันใกล้ มีแนวโน้มในการนำเอาพืชสมุนไพรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทดแทน และลดบทบาทการใช้สารเคมีสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

3

          ดังนั้นกลุ่มศึกษาวิจัยสมุนไพรเพื่อการควบคุมปรสิตและพาหะนำโรค จึงมุ่งเป้าในการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาสารสกัดสำคัญจากพืชสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาต่อไปในเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ไมโครเทคโนโลยี และนาโนเทคโนโลยี ทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลของสารสกัดสำคัญจากพืชสมุนไพร ที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นตำรับหรือผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและแพร่หลาย นอกจากนั้นยังสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายทั่วประเทศ หรือผลิตเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติ

นักวิจัย

ผลงานตีพิมพ์ พ.ศ. 2563 – 2566

  1. Donchai W., Aldred A.K., Junkum A., Chansang A. Controlled release of DEET and Picaridin mosquito repellents from microcapsules prepared by complex coacervation using gum Arabic and chitosan. Pharmaceutical Sciences Asia 2022;49;506-517.
  2. Junkum A., Intirach J., Chansang A., Champakaew D., Chaithong U., Jitpakdi A., Riyong D., Somboon P., Pitasawat B. Enhancement of Temephos and Deltamethrin Toxicity by Petroselinum crispum Oil and its Main Constituents against Aedes aegypti (Diptera: Culicidae). Journal of Medical Entomology 2021;58;1298-1315;JIF 2.435: Q2.
  3. Champakaew D., Junkum A., Sontigun N., Sanit S., Limsopatham K., Saeung A., Somboon P., Pitasawat B. Geometric morphometric wing analysis as a tool to discriminate female mosquitoes from different suburban areas of Chiang Mai province, Thailand. PLoS ONE 2021;16;JIF 3.752: Q2.
  4. Junkum A., Maleewong W., Saeung A., Champakaew D., Chansang A., Amornlerdpison D., Aldred A.K., Chaithong U., Jitpakdi A., Riyong D., Pitasawat B. Ligusticum sinense nanoemulsion gel as potential repellent against Aedes aegypti, Anopheles minimus, and Culex quinquefasciatus (Diptera: Culicidae). Insects 2021;12.;JIF 3.141: Q1. 
Contact