หนังสือ "พยาธิเส้นด้าย"

หนังสือเล่มนี้ได้รับการส่งเสริมการพิมพ์จากโครงการตารา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จัดทำโดย

          โรคพยาธิเส้นด้าย (strongyloidiasis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากพยาธิเส้นด้าย (Strongyloides spp.) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อชนิด Strongyloides stercoralis และมีส่วนน้อยที่ติดเชื้อจากชนิด Strongyloides fuelleborni fuelleborni และ Strongyloides fuelleborni kelleyi พบการกระจายของพยาธิได้ทั่วโลกในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งร้อน มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 30 ถึง 900 ล้านคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีระบบสาธารณสุขต่ำกว่ามาตรฐานและบางพื้นที่พบประชากรติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 60 ในปัจจุบันพบว่าการประเมินการติดเชื้อยังต่ำกว่าความเป็นจริง สำหรับราชอาณาจักรไทยการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ พบการกระจายได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคมากหรือน้อยแตกต่างกัน โดยพบโรคพยาธิเส้นด้ายมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและถือเป็นโรคประจำถิ่น (endemic)

          อาการของโรคพยาธิเส้นด้ายในคนพบตั้งแต่มีการติดเชื้อต่ำและยังไม่แสดงอาการ จนถึงมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง อย่างไรก็ตามถ้าหากไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นของตัวอ่อนพยาธิได้จะท่าให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง (hyperinfection syndrome) และในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องส่งผลท่าให้มีตัวอ่อนพยาธิกระจายไปทั่วร่างกาย (disseminated strongyloidiasis) ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการตายสูงจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019; COVID-19) ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 เมือง Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน จนถึงปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก เริ่มมีรายงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายในผู้ป่วยโรค COVID-19 เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบกดภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายอย่างรุนแรง (Strongyloides hyperinfection syndrome; SHS) ดังนั้นการศึกษาในด้านต่าง ๆ ของพยาธิเส้นด้ายจึงนับว่ามีความจำเป็น

          หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงพยาธิเส้นด้ายในด้านต่างๆ ได้แก่ อนุกรมวิธาน สัณฐานวิทยาและวงจรชีวิต (รายละเอียดในบทที่ 2) พยาธิสภาพและอาการ (รายละเอียดในบทที่ 3) ระบาดวิทยาของหลายทวีปรวมทั้งราชอาณาจักรไทย (รายละเอียดในบทที่ 4) การตรวจวินิจฉัยและยาที่ใช้ในการรักษา (รายละเอียดในบทที่ 5) และเนื่องจากมีรายงานการดื้อยา ของพยาธิเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาวิจัยหาพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าพยาธิเส้นด้ายและมีความปลอดภัยเพื่อจะน่ามาใช้ในการรักษาต่อไป (รายละเอียดในบทที่ 6)

Facebook Comments Box
Contact