แนะนำหลักสูตร
การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชศาสตร์

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มมานานกว่า 50 ปี เป็นสถานฝึกอบรมกุมารแพทย์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เนื่องจากมีผู้ป่วยหลากหลายโรค หลากหลายเชื้อชาติ มีทั้งโรคที่พบบ่อย โรคในท้องถิ่น รวมถึงโรคหายากต่างๆ แพทย์ที่มาฝึกอบรมจะได้รับรู้ประสบการณ์ตั้งแต่การดูแลทารกแรกเกิด เด็กทั่วไป เด็กวัยรุ่น และตั้งแต่แบบปฐมภูมิไปจนถึงตติยภูมิตามสาขาวิชาต่างๆ ที่กุมารแพทย์ควรทราบ
การศึกษาฝึกอบรมในระดับนี้เป็นการศึกษาที่เน้นการเรียนด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำ กำกับและดูแล พร้อมกับมีตำราและวารสารมากมายจากห้องสมุด online
Training curriculum
1. ระยะเวลาการฝึกอบรม
- 1.1 แพทย์ประจำบ้าน ใช้เวลา 3 ปี
- 1.2 แพทย์ใช้ทุน ใช้เวลา 36 เดือน หลังจากผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1 ปีแล้ว
2. ระดับการฝึกอบรม
- ระดับชั้นปีที่ 1 เป็นการฝึกอบรมที่ครอบคลุมวิชากุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
-
ระดับชั้นปีที่ 2 เป็นการฝึกอบรมที่กำหนดให้มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการดูแลรักษาผู้ป่วย มีความรู้ทางสาขาวิชาย่อยเพิ่มมากขึ้นและมีความสามารถในการกำกับดูแล (supervision) แพทย์ประจำบ้านรุ่นน้องและนักศึกษาแพทย์
ระดับชั้นปีที่ 3 เป็นการฝึกอบรมที่กำหนดกำหนดมีความรู้ทางสาขาย่อยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น กำกับดูแลแพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์ เป็นหัวหน้าทีมในการดูแลรักษาผู้ป่วย และวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการสัมมนาและการบรรยาย
3. การฝึกอบรมประกอบด้วย
-
3.1 การปฏิบัติงานด้านกุมารเวชศาสตร์ทั่วไป โดยดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยในตึกผู้ป่วยกุมาร 2, 3, 4 และ 5 ตึกผู้ป่วยหนักทั้ง PICU 1 และ PICU 2 ตึกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด (NICU) ตึกผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย (Nursery III, IV) และทารกแรกเกิดปกติ (Nursery II) ตึกผู้ป่วยพิเศษ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องตรวจสุขภาพเด็ก เป็นระยะเวลา 22-26 เดือน ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ประจำบ้านอาวุโสและ/หรืออาจารย์ของภาควิชาฯ
3.2 การปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านตามอนุสาขาวิชาต่างๆ ของภาควิชาฯ หรือคณะ ไม่มากกว่า 6 เดือน3.3 การปฏิบัติงานสาขาวิชาเลือกต่างๆ ของสถาบันสมทบ เป็นระยะเวลา 1-2 เดือน3.4 การปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านหัวหน้าตึกผู้ป่วย (chief ward) เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน3.5 การปฏิบัติงานในสาขากุมารเวชศาสตร์สังคมและชุมชนที่โรงพยาบาลชุมชน และในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 10 เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์และการตรวจสุขภาพเด็กที่บ้านเด็กกำพร้า กิ่งแก้ว เดือนละ 2 ครั้ง3.6 มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ที่ภาควิชาฯ และคณะเป็นผู้จัด ทั้งเป็นผู้อภิปราย หรือผู้เข้าฟัง และเป็นผู้ดำเนินการเพื่อฝึกทำการสอนและถ่ายทอดความรู้แก่แพทย์และนักศึกษาแพทย์ด้วย3.7 ฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการตรวจวินิจฉัย การรักษาภาวะและโรคต่างๆ ทางกุมารเวชศาสตร์ โดยวิธีการอันทันสมัย3.8 ฝึกอบรมการหาข้อมูลทางการแพทย์จาก CD ROM, Medline3.9 ทำการวิจัยขั้นพื้นฐานในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ เพื่อให้ภาควิชาฯ พิจารณาก่อนส่งรายชื่อเพื่อสอบวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์3.10 ฝึกอบรมและ/หรือดูงานการสาธารณสุขมูลฐานในชุมชน เช่น อนามัยโรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงและดูแลเด็กประจำหมู่บ้าน ศูนย์สงเคราะห์เด็กกำพร้า เด็กติดเชื้อ HIV โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนสอนเด็กปัญญาอ่อน ศูนย์สงเคราะห์เด็กที่ถูกทารุณกรรม ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด ฯลฯ3.11 ดูงานด้านการสงเคราะห์ ฝึกอบรม เยาวชนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น ดูงานที่ศาลเยาวชนและครอบครัว สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน3.12 ให้บริการแก่สังคมและชุมชน เช่น การออกตรวจเด็กกำพร้าที่สถานสงเคราะห์บ้านกิ่งแก้ว การตรวจสุขภาพเด็กในงานวันเด็ก3.13 การฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง (continuity clinic) โดยรับเด็กทารกแรกเกิดหรือผู้ป่วยเด็กโรคไม่เรื้อรัง เป็นคนไข้ในความดูแลตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการฝึกอบรม โดยนัดตรวจผู้ป่วยเป็นระยะๆ ทุก 1-2 เดือน ของวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เพื่อให้คำแนะนำในการเลี้ยงดู การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย3.14 ทำ Portfolio เป็นบันทึกประวัติของแพทย์ประจำบ้านตั้งแต่เข้ารับการฝึกอบรมจนจบหลักสูตรประกอบด้วย บันทึกประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคต่าง ๆ บันทึกกิจกรรมทางวิชาการ คะแนนที่ได้จากการประเมินผลและผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ในการติดตามผล การฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้านแต่ละคน3.15 การประเมินผล เพื่อให้ได้การฝึกอบรมได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการผลิตกุมารแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ
สวัสดิการ
1. โรงพยาบาลจัดสรรที่พักให้แก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนในระหว่างฝึกอบรม
2. แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 จะได้รับผ้าสำหรับตัดเครื่องแบบคนละ 4 ชุด ส่วนแพทย์ปีที่ 2 และ 3 จะได้รับคนละ 2 ชุด
3. แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านที่ไม่มีต้นสังกัดในการเข้ารับการฝึกอบรม สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้เฉพาะผู้ประกันตนเท่านั้น โดยใช้สิทธิได้หลังจากส่งเงินสมทบจำนวนร้อยละ 3 ของเงินเดือนให้สำนักงานประกันสังคมครบ 3 เดือน
4. แพทย์ประจำบ้านที่มีต้นสังกัดส่งเข้ารับการฝึกอบรมให้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกับข้าราชการทั่วไป
5. การเดินทางไปฝึกอบรมในวิชาเลือกนอกคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้รับการช่วยเหลือค่าเดินทางไป-กลับโดยรถไฟชั้น 2 นั่ง-นอนปรับอากาศ 1 ครั้งต่อปีการศึกษา
การสมัครฝึกอบรมสำหรับแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน
ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น.
ณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชั้น 6 อาคารบุญสม มาร์ติน
ติดต่อ
https://w1.med.cmu.ac.th/personnel/job-news/
- แพทย์ประจำบ้าน สาขากุมารเวชศาสตร์ รับจำนวน 7 ตำแหน่ง
- แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์
- สาขาทารกแรกเกิดและปริกำหนด 2 ตำแหน่ง
- สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม 1 ตำแหน่ง
- สาขาโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม 1 ตำแหน่ง
- สาขาโรคติดเชื้อ 1 ตำแหน่ง
- สาขาโรคไต 1 ตำแหน่ง
- สาขาโรคหัวใจ 2 ตำแหน่ง
- สขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก 2 ตำแหน่ง
โดยมีขั้นตอนการสมัครตามกำหนดการของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
-
รอบที่ 1 ตั้งแต่ 1-31 ตุลาคม 2565
ประกาศของราชวิทยาลัยฯ http://www.thaipediatrics.org/pages/Training/Detail/41/ 247
สมัครแพทย์ แผน (ก) ---> : https://www.tmc.or.th/tcgme/Pages/SelectTier -
สอบสัมภาษณ์ : ครั้งที่ 1 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565
ครั้งที่ 3 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565
ณ ชั้น 6 อาคารบุญสม มาร์ติน
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการสอบสัมภาษณ์ - วันที่ .....(รอประกาศจากแพทยสภา)......
หลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูง สาขากุมารเวชศาสตร์
ชื่อหลักสูตร: ภาษาไทย: หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ: Higher Graduate Diploma Program in Clinical Sciences in Pediatrics
ระยะเวลา 2 ปี (และใช้เวลาในการศึกษาไม่เกิน 3 ปีการศึกษา)
หลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรฯ
หลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรฯ (ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
ชื่อหลักสูตร :
(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขากุมารเวชศาสตร์ (อฝส.) พ.ศ.2561
(ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Pediatrics Board
ชื่อวุฒิบัตร:
(ภาษาไทย) วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Pediatrics
หลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรฯ (ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขากุมารเวชศาสตร์ (ภาควิชากุมารเวชศาสตร์) พ.ศ.2561

คู่มือปฏิบัติงาน
คู่มือการปฏิบัติงาน ของแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2565 |
![]() |
ภาคผนวก 1 |
![]() |
ภาคผนวก 2 |
![]() |
ภาคผนวก 3 |
![]() |
ตารางกิจกรรมทางวิชาการ
การประชุมวิชาการของภาควิชา (ปีการศึกษา 2565)
- Activity ทุกเดือน (ตลอดปีการศึกษา 2565)
- Topic Review
- Mortality conference
- Clinico-pathological conference (CPC)
- Communication skill-Palliative care-Ethics conference
- Journal club
- Interesting case (Resident 2)
- Interesting case (English Conference)
- Refreshing course
- Special lecture
- Social communication
- ตารางศึกษาดูงานของแพทย์ปี 2 และปี 3
การประชุมวิชาการระหว่างภาควิชาฯ
- Nursery X-ray conference
- Pediatric X-ray conference
- Perinatal conference
- Inter Department Endocrinte Conference
งานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน
การทดสอบความรู้ความสามารถแก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน
ตารางการสอบประจำปีการศึกษา 2565
แบบฟอร์มประเมิน
แบบฟอร์มการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้าน
|
ลำดับ | แบบฟอร์ม |
1 | Journal club |
2 | Topic Review |
3 | Ambulatory case Conference |
4 | Clinicopatho-pathological conference |
5 | Dead case Conference |
6 | Interesting case |
7 | Morning Conference |
8 | Social/communication Skill/ Palliative care/Ethic Conference |
9 | Surgico-Pediatric Conference |
10 | Medical Counseling Checklist (Communication skill) |
11 | Chart audit |
แบบประเมิน Entrustable Professional Activities (EPA) ของแพทย์ประจำบ้าน
EPA | NAME |
---|---|
1 | แบบประเมินการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับเด็ก |
2 | การบริบาลทารกแรกเกิด (Care for newborn) |
3 | แบบประเมินการรักษาโรคหรือภาวะผิดปกติชนิดเฉียบพลันที่พบบ่อยในเด็กที่หอผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยฉุกเฉินและหอผู้ป่วยใน |
4 | แบบประเมินการการดูแลรักษาเบื้องต้นและวางแผนการรักษาในผู้ป่วยที่สัญญาณชีพไม่คงที่ |
5 | หัตถการที่ใช้บ่อยของกุมารแพทย์ทั่วไป (Performing the common procedure of general pediatricians) |
- Lumbar puncture | |
- Umbilical catheterization | |
- Central line assessment | |
- Blood component transfusion | |
6 | แบบประเมินการส่งปรึกษาศัลยกรรมโดยกุมารแพทย์ (Surgico-pediatric consulting evaluation) |
7 | การประเมินและให้การดูแลรักษาเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม/สุขภาพจิตที่พบบ่อย (Assess and manage patients with common behavioral/mental health problems) |
- Delayed speech | |
- ADHD |
หัวข้อ EPA ที่ต้องประเมินในขณะที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยและห้องตรวจผู้ป่วยนอก <<Download>>
รายชื่อหัตถการและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและรักษา แยกตามสาขาวิชา (E-logbook) <<Download>>
แบบฟอร์ม Portfolio |
Portfolio (file 1/2) Portfolio (file 2/2) |
คู่มือการเขียนงานวิจัย (อฝส.) | Download |
ภาพกิจกรรม
ปฐมนิเทศแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2562 :
สัมมนาบุคลากร (แพทย์ประจำบ้านร่วมกับอาจารย์) :
ปฐมนิเทศแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2561 :
ตรวจสถาบันการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน :