การประชุม ระบบ E-meeting

 

๑.   ก่อนการประชุม

 กำหนดวันเวลา สถานที่ และผู้เข้าร่วมประชุม

 จัดทำวาระการประชุม

– เวียนแจ้งขอส่งวาระการประชุม

– รวบรวมวาระและเอกสารประกอบ

– เสนอผู้บริหารตรวจระเบียบวาระ

 ส่งหนังสือเชิญประชุมและวาระโดยส่งทาง E-mail

– หนังสือเชิญประชุม

– วาระการประชุม

– เอกสารประกอบการประชุม

– รายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

–  สำเนาถึง เลขานุการภาควิชา เลขานุการคณะ และเลขานุการผู้บริหาร

 การเตรียมส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ

– จองห้องประชุม

– จัดทำบันทึกแจ้งกำหนดการประชุม และขอให้จัดส่งวาระการประชุมทาง E-mail

– เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์โสต ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง, surface, ไมโครโฟน, จอ LED

– จัดทำบันทึกขออนุมัติอาหารว่าง อาหารกลางวัน

– จัดทำบันทึกยืมค่าเบี้ยประชุม

– จัดเตรียมเอกสารสำหรับลงนามรับเบี้ยประชุม

– จัดเตรียมข้อมูลนำเสนอในรูปแบบ power point

– นำข้อมูลของการประชุมทั้งหมดลงในระบบ E-meeting

– ปรับรูปแบบตัวอักษรของข้อมูลระเบียบวาระทั้งหมดให้เป็น Angsana New เท่านั้น โดยไม่สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายต่าง ๆ แทรก

– เข้าระบบ E-meeting ในส่วนของ Admin ผ่าน username และ password

– บรรจุวาระการประชุมลงในระบบ

– Upload เอกสารประกอบการประชุมทั้งหมดลงในระบบ

– ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด

– โทรศัพท์เตือนเลขาภาควิชา และเลขาผู้บริหารเพื่อเตือนประชุม

– วางป้ายชื่อกรรมการให้ถูกต้อง โดยเรียงลำดับตามพยัญชนะ

– วางน้ำดื่มและแก้วน้ำให้เรียบร้อย

 การส่งสรุปวาระการประชุมให้ประธาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

๒.  ระหว่างการประชุม

       กรรมการลงนามรับเบี้ยประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมลงชื่อเข้าร่วมประชุม

       นำเสนอข้อมูลตามวาระการประชุม

 บริการอาหารว่างให้แก่คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุม

 บันทึกการประชุม

 กรณีที่มีการมอบรางวัลหรือแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รางวัลต่าง ๆ

– จัดทำบันทึกเชิญ และแจ้งกำหนดวัน เวลา สถานที่

– จัดเตรียมของสำหรับแสดงความยินดีหรือแสดงความขอบคุณในโอกาสต่าง ๆ

– ประสานแจ้งช่างภาพ เพื่อบันทึกภาพ (กรณีที่ช่างภาพมาไม่ทันเวลา จะมีกล้องสำรอง เช่น มือถือ)

▪ กรณีที่กรรมการไม่ส่งวาระการประชุมตามกำหนดเวลา

– ติดต่อผู้บริหารที่รับผิดชอบในแต่ละด้าน เพื่อให้ส่งวาระการประชุม โดย

๑. ส่ง E-mail แจ้ง

๒. ขอเลขานุการแจ้งเตือน

3. การขอเข้าพบโดยตรง

 กรณีที่มีการเสนอวาระหรือข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการประชุมเพียงเล็กน้อย

– แจ้งประธานให้ทราบ

– เพิ่มเติมวาระหรือข้อมูลลงในระบบ E-meeting กรณีที่สามารถทำได้ทันเวลา

– หากไม่ทัน ให้ผู้นำเสนอแจ้งกับที่ประชุมว่าเป็นเรื่องเพิ่มเติมจากระเบียบวาระ

 กรณีที่เครื่อง Surface มีปัญหาในการใช้งานในระหว่างการประชุม

– เจ้าหน้าที่ตรวจสอบปัญหาเบื้องต้น

– หากไม่สามารถแก้ไขได้ แจ้งเจ้าหน้าที่สารสนเทศเพื่อแก้ไข

 

๓.       หลังการประชุม

– ทำบันทึกแจ้งมติที่ประชุมส่งให้ผู้ที่เสนอวาระประชุม เพื่อนำไปดำเนินการต่อ

– จัดทำรายงานการประชุม

– จัดทำบันทึกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คืนเงินยืมค่าเบี้ยประชุม บันทึกเบิกค่าเบี้ยประชุม ส่งบันทึกอนุมัติ อาหารกลางวัน อาหารว่างให้โภชนาการ

 การตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการประชุม

– เพื่อให้รายงานการประชุมถูกต้อง ครบถ้วน ได้มีการสรุปรายงานการประชุม และส่งให้ผู้ที่นำเสนอในที่ประชุม ตรวจสอบ ก่อนนำบันทึกในรายงานการประชุม เพื่อเสนอที่ประชุมรับรองในวันประชุม

งานลงทะเบียนรับหนังสือจากภายนอก เป็นการรับหนังสือจากส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ตลอดจนคณะ สถาบัน สำนักมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้.

1. ทำการเปิดรับเอกสาร

                   – ไปรษณีย์ (ธรรมดา/ลงทะเบียน /EMS/พัสดุ)

– ส่งด้วยตนเอง (เจ้าหน้าที่นำเอกสารมาส่งเอง)

– จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. จัดลำดับเอกสาร

– เรียงลำดับความเร่งด่วนของหนังสือ เช่น ด่วน  ด่วนมาก  ด่วนที่สุด

– เอกสารลับ (เป็นเอกสารปิดผนึกที่ประทับตราลับไว้ที่หน้าซอง เอกสารด้วยหมึกสีแดง  ลงทะเบียนรับ และจัดส่งให้ผู้รับโดยตรง)

– เอกสารไม่สมบูรณ์ (เป็นเอกสารที่ไม่ได้ลงนาม หรือไม่มีหนังสือแนบส่งตามที่ระบุไว้ใน สิ่งที่ส่งมาด้วย)

3.วิเคราะห์เอกสาร (อ่านและวิเคราะห์หนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้ว เพื่อจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป เช่น

– งานบริหารทั่วไป

– งานบริหารงานบุคคล

– งานคลัง

– งานบริหารโรงพยาบาล

– งานนโยบายและแผน

– งานบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

– งานอาคารสถานที่

– งานซ่อมบำรุง

– งานบริการการศึกษา

– งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

– งานพัสดุและยานพาหนะ

– งานประชาสัมพันธ์

– งานบริหารงานวิจัย

– งานห้องสมุด

– ศูนย์ ฯ เป็นต้น

4. ลงทะเบียนรับหนังสือ (ลงเลขลำดับของทะเบียนรับหนังสือ โดยเรียงลำดับเลขติดต่อกันจนถึงสิ้นปีปฏิทิน) บันทึกข้อมูลลงในระบบสารบรรณออนไลน์ (Computer Online)

– วัน/เดือน/ปี ที่รับ

– ระบุเวลาที่ลงรับ

– ลงรหัสแฟ้มเอกสาร เช่น แฟ้มประชุม กำหนดรหัส 5.1 กรณีแฟ้มทั่วไป 12.3    เป็นต้น (รหัสแฟ้มมาจากสำนักงบประมาณ)

5. สแกนหนังสือที่ลงทะเบียนรับ (สแกนตามเลขที่รับของคณะฯ)

6. ลงทะเบียนในสมุดรับ-ส่ง ของแต่ละภาควิชา/ฝ่าย/งาน/ศูนย์ฯ เซ็นรับเอกสารไว้เป็นหลักฐาน

– แยกเอกสารของแต่ล่ะหน่วยงาน

– จัดลำดับความเร่งด่วน

– ลงสมุดรับ-ส่งของแต่ละภาควิชา/ฝ่าย/งาน/ศูนย์ฯ

– รอเจ้าหน้าที่ของแต่ละภาควิชา/ฝ่าย/งาน/ศูนย์ฯ มาเซ็นรับ

7.เจ้าหน้าที่ของแต่ละภาควิชา/ฝ่าย/งาน/ศูนย์ฯ (ลงนามรับหนังสือตามเวลาที่กำหนดไว้ช่วงเช้า 10.00 น. ช่วงบ่าย 14.00 น.

8.เสร็จสิ้นกระบวนการรับ-ส่ง หนังสือ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน มี 3 ขั้นตอนดังนี้

1. รับหนังสือจากหน่วยงานภายใน  ภาควิชา/ฝ่าย/งาน ภายในคณะแพทยศาสตร์หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น สถาบัน/สำนัก /คณะ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

2. รับหนังสือจากหน่วยงานภายนอก  ส่วนราชการ/ บุคคลภายนอก/บริษัท/ ห้าง และร้านเอกชน

3. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วส่งคืนงานบริหารทั่วไป  เพื่อดำเนินการต่อไป 

หลักการร่างหนังสือราชการ

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ศึกษาและจดจำรูปแบบหนังสือราชการ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 หรือ เพิ่มเติม/ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน)

2. เข้าใจในโครงสร้างของหนังสือราชการแต่ละชนิด เช่น หนังสือภายนอก และหนังสือภายใน

3. จับประเด็นของเรื่องที่จะร่าง

4. บอกความประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับสามารถพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว

5. กรณีมีความประสงค์หลายข้อ ให้แยกเป็นข้อ ๆ

6. กรณีจำเป็นจะต้องอ้างตัวบทกฎหมาย หรือตัวอย่างให้ระบุให้ชัดเจน เพื่อผู้รับสามารถค้นหามาตรวจสอบได้สะดวก

7. ใช้ถ้อยคำให้กะทัดรัด    ได้ใจความ

8.ใช้ถ้อยคำเป็นภาษาราชการ

9.การใช้ถ้อยคำปฏิเสธ ให้ใช้ภาษาที่นุ่มนวล รื่นหู***

 

การร่างหนังสือ

มีขั้นตอนดังนี้

1. รับหนังสือจากผู้ที่มีหน้าที่เสนอหนังสือ ๐๘๔ ๐๔๒๒๐๔๙ , ๕๑๔๑

2. อ่านเนื้อหาในหนังสือให้เข้าใจ จับประเด็นสำคัญของหนังสือ

3. พิมพ์ร่างหนังสือในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามชนิดของหนังสือ เช่น หนังสือภายใน หรือ หนังสือภายนอก

4. ตรวจทานคำถูกผิดและสำนวนในร่างในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อนพิมพ์ (สำเนา)

5. พิมพ์สำเนาแล้วอ่านตรวจทานความถูกต้องอีกครั้ง

6. พิมพ์ฉบับจริง

7. เสนอคณบดีเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือลงนามในหนังสือ

แนวทางในการปฏิบัติและแก้ไข

๑. รับหนังสือจากภายนอก / ภายใน นำมาวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในเนื้อหาของหนังสือนั้น

๒. กรณีที่อ่านแล้วไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของหนังสือติดต่อเจ้าของหนังสือเพื่อสอบถามให้ชัดเจน

๓. ร่างหนังสือในเครื่องคอมพิวเตอร์

–  กรณีเร่งด่วน หากหน่วยงานนั้นมีแบบตอบรับ หรือ E-mail ตอบรับได้ทันทีพิมพ์ร่างหนังสือในเครื่องคอมพิวเตอร์

4. ตรวจทานคำถูกผิดและสำนวนในร่างในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อนพิมพ์ (สำเนา)

5. พิมพ์สำเนาแล้วอ่านตรวจทานความถูกต้องอีกครั้ง

6. พิมพ์ฉบับจริง  ถ้าเป็นหนังสือภายนอกให้พิมพ์ซองด้วย

7. เสนอคณบดีเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือลงนามในหนังสือ

ขั้นตอนการแจ้งเกิด

1. ใบรับรองการเกิด (ห้องคลอด)

2. หนังสือรับรองการเกิด (หมวดทะเบียนราษฎร หน่วยสารบรรณ)

3. สูติบัตร (แขวงศรีวิชัย 4)

การปฏิบัติรับการแจ้งเกิดมีดังนี้.

1. รับใบรับรองการเกิด

  • เจ้าหน้าที่ห้องคลอดมาส่งเอง
  • ญาติผู้ป่วยนำมาส่งเอง

2. ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของใบรับรองการเกิด

  • ชื่อ – นามสกุล, ภูมิลำเนาของบิดาและมารดาของเด็กทารก
  • ข้อมูลของเด็กที่คลอด (วัน/เดือน/ปีเกิด, เวลาเกิด, น้ำหนัก, เพศ, ผู้ทำคลอด ความพิการ)
  • ในกรณีที่ใบรับรองการเกิดไม่สมบูรณ์หรือไม่แน่ใจ(เด็กแท้ง, เด็กแฝด)  ควรโทรศัพท์ประสานกับที่ห้องคลอดเพื่อสอบถามรายละเอียดของข้อมูลและแก้ไขให้ถูกต้อง

3. ญาติหรือผู้แทนกรอกใบรับแจ้งการเกิด

  • แนะนำในกรณีผู้ป่วยหรือญาติ ที่ต้องการความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล
  • ตรวจสอบสัญชาติ ถ้าเป็นบุคคลต่างด้าวหากมีพาสปอร์ต แนะนำให้นำพาสปอร์ตไปแปลชื่อให้เป็นภาษาไทยก่อนจะนำไปแจ้งเกิด (สถานที่รับแปลภาษา เช่น ข้างที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น)

4. เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลออนไลน์

  • ใช้ข้อมูลจากใบรับรองการเกิดและใบรับแจ้งการเกิดพร้อมเอกสาร หลักฐาน ของบิดามารดาเด็ก ที่นำมาแสดง

5. ญาติหรือผู้ป่วยมาติดต่อขอรับใบแจ้งเกิด

  • ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานสำหรับการขอใบแจ้งเกิด

– ทะเบียนบ้าน, บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนสมรส

– ตัวอักษร ตัวสะกดผิด ให้ แก้ไขโดยใช้ปากกาสีแดงขีดทับตัวอักษรที่ผิดลงนานกำกับและเขียนคำที่ถูกต้อง

– ชื่อ – สกุล ไม่ตรงกับข้อมูลในใบรับรองการเกิดที่ได้รับ หากสงสัยว่าเป็นการแจ้งเท็จ ให้แจ้งบิดา มารดาของเด็กและชี้แจงโทษของการแจ้งเท็จให้ทราบ

  • ตรวจสอบข้อมูลบิดา มารดาของเด็ก

– กรณีมารดาเด็กไม่ประสงค์จะระบุชื่อบิดาของเด็ก ให้ลงบันทึกไว้และแนบเอกสารประกอบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

6. การขอรับใบสูติบัตร ณ แขวงศรีวิชัย

  • เจ้าหน้าที่จัดทำใบรับแจ้งการเกิด, หนังสือรับรองการเกิด, พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนสมรสของบิดามารดา(ถ้ามี)โดยออกหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้แจ้งเพื่อนำไปแจ้งการเกิดที่แขวงศรีวิชัยต่อไป

– กรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่บิดามารดาของเด็ก จะต้องนำหลักฐานได้แก่ หนังสือรับรองการเป็นญาติของบิดา มารดาเพื่อแสดง ณ แขวงศรีวิชัยด้วย

7. เจ้าหน้าที่ส่งใบรับรองการเกิด ณ แขวงศรีวิชัย

  • กรณีถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งเกิดจากผู้ป่วยหรือผู้แจ้ง เจ้าหน้าที่จะทำการแก้ไขข้อมูลที่เป็นเอกสาร ณ แขวงศรีวิชัยทันที และบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อแก้ไขในระบบที่หมวดทะเบียนราษฎร หน่วยสารบรรณ งานบริหารทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มช. ต่อไป

เอกสารที่ บิดา/มารดา หรือญาติ ต้องนำมาแจงเกิด

1. บัตรประจำตัวประชาชนของ บิดา/มารดา (ฉบับสำเนา)

2 . ทะเบียนบ้าน (ฉบับสำเนา)

3 . ทะเบียนสมรส (ฉบับสำเนา) ถ้ามี

ขั้นตอนการแจ้งตาย

– รับหนังสือรับรองการตายจากหอผู้ป่วย

– ตรวจเช็คความถูกต้องในหนังสือรับรองการตาย เช่น การเขียนชื่อ สกุล สัญชาติ วันที่ ถึงแก่กรรมตามทะเบียน

– ตรวจเช็คความถูกต้องตามจำนวนที่เซ็นรับไว้ในสมุดของหอผู้ป่วย

– ออกเลขที่หนังสือรับรองการตาย

– มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หรือญาติ นำไปแจ้ง ณ แขวงศรีวิชัย 4

– รวบรวมสำเนาหนังสือรับรองการตาย แล้วเก็บไว้เป็นหลักฐานในการค้นหา

เอกสารที่ต้องนำมาแจ้งตาย

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตายและผู้ที่จะไปแจ้งตาย

2. ทะเบียนบ้านของผู้ตายและผู้ที่จะไปแจ้งตาย

สามารถ Download แบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่นี่ Click