การแต่งตั้งและแนวทางดำเนินการของคณะกรรมการส่งเสริมวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Research Promotion Committee, Faculty of Medicine, Chiang Mai University)

รายจ่ายหมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

"ค่าตอบแทน" หมายความว่า เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ทางราชการ เช่น

1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ

2. เงินค่าตอบแทนตำแหน่งและเงินอื่น ๆ ให้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง อาทิ เงินช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินช่วยเหลือในการทำศพ

3. ค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกอาสารักษาดินแดนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

4. ค่าตอบแทนกรรมการตรวจคะแนน กรรมการสำรอง และเสมียนคะแนนในการเลือกตั้ง

5. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและควบคุมงานก่อสร้างที่มีคำสั่งแต่งตั้งจากทางราชการ

6. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความเจ็บป่วยนอกเวลาราชการ

7. เงินรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

8. เงินประจำตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัย

9. เงินสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมของส่วนราชการ

10. เงินสมนาคุณอาจารย์สาขาวิชาที่ขาดแคลนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

11. เงินสมนาคุณอาจารย์สาขาวิชาที่ขาดแคลนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

12. เงินค่าฝ่าอันตรายเป็นครั้งคราว

13. เงินค่าที่พักผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ

14. เงินพิเศษที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างของสำนักราชการในต่างประเทศตามประเพณีท้องถิ่น

15. ค่าจ้างนอกเวลา ค่าอาหารทำการนอกเวลา

16. ค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของทางราชการ

17. เงินรางวัลกรรมการสอบ

18. ค่าตรวจกระดาษคำตอบ

19. ค่าคุมสอบ

20. ค่าพาหนะเหมาะจ่าย

21. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ

22. ค่าป่วยการในการพิสูจน์รังวัดที่ดิน

23. ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ

24. เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศff

Go Top

"ค่าใช้สอย"หมายความว่า รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการใด ๆ (นอกจากบริการสาธารณูปโภค) รายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ และรายจ่ายเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ ตัวอย่างรายจ่ายค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ

1. ค่าปักเสาพาดสายภายนอกสถานที่ราชการเพื่อให้ราชการได้ใช้บริการไฟฟ้า รวมถึงค่าติดตั้งหม้อแปลง เครื่องวัด และอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการไฟฟ้า

2. ค่าจ้างเหมาเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม รวมถึง การปรับปรุงระบบไฟฟ้า การเพิ่มกำลังไฟฟ้า การขยายเขตไฟฟ้า การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์

3. ค่าวางท่อประปาภายนอกสถานที่ราชการ เพื่อให้ราชการได้ใช้บริการน้ำประปารวมถึงค่าติดตั้งมาตรวัดน้ำและอุปกรณ์ประปา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการประปา

4. ค่าจ้างเหมาเดินท่อประปาและติดตั้งอุปกรณ์ประปาเพิ่มเติม รวมถึง การปรับปรุงระบบประปา การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบประปาและอุปกรณ์

5. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโทรศัพท์ ยกเว้น ค่าตู้สาขา ค่าเครื่องโทรศัพท์พ่วงภายในและเครื่องโทรศัพท์ภายใน

6. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

7. ค่าเย็บหนังสือหรือเข้าปกหนังสือ

8. ค่าซักฟอก

9. ค่าตักสิ่งปฏิกูล

10. ค่าระวางบรรทุก

11. ค่าเช่าทรัพย์สิน (นอกจากค่าเช่าบ้านข้าราชการ)

12. ค่าโฆษณาและเผยแพร่ (รายจ่ายเกี่ยวกับการจ้างเหมาโฆษณาและเผยแพร่ เช่น การโฆษณาและเผยแพร่ข่าวทางวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โรงมหรสพ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น)

13. ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

14. ค่าบริการรับใช้

15. ค่าเบี้ยประกัน

16. ค่าจ้างเหมาบริการ (ค่าจ้างเหมาบริการให้ผู้รับจ้างทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งมิใช่เป็นการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติมครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง เช่น ค่าจ้างเหมาสูบน้ำ ค่าจ้างแบกหามสัมภาระ ค่าออกของ ค่าบริการกำจัดปลวก ค่าจ้างผู้แสดงแบบและค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน เป็นต้น)

หมายเหตุ การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ถ้าเป็นการจ้างเหมาทั้งค่าสิ่งของและค่าแรงงานให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าใช้สอย ในกรณีที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมทรัพย์สินเองให้ปฏิบัติดังนี้

1. ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอกให้เบิกจ่ายเป็นค่าจ้างเหมาบริการ ตามรายการหมายเลข 16 ในตัวอย่างรายจ่ายค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ

2. ค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าวัสด

Go Top

"ค่าวัสดุ" หมายความว่า

1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้

1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ

1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี หรือ

1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ หรือ

1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สินเพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม

2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าวัสดุ ข้อยกเว้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีราคาหน่วยหนึ่งไม่เกิน 20,000 บาท ให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าวัสดุ

Go Top

รายจ่ายหมวดค่าสาธารณูปโภค

"ค่าสาธารณูปโภค"หมายความว่า รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการสาธารณูปโภค เช่น

1. ค่าไฟฟ้า

2. ค่าน้ำประปา

3. ค่าโทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ ค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ และให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้บริการดังกล่าว และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น ค่าเช่าเครื่อง ค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์ ค่าบำรุงรักษาสาย ฯลฯ

4. ค่าไปรษณีย์ ค่าโทรเลข ค่าธนาณัติ ค่าซื้อดวงตราไปรษณีย์ยากร ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์

5. ค่าบริการทางด้านโทรคมนาคม เช่น ค่าโทรภาพหรือโทรสาร (FACSIMILE) ค่าเทเลกซ์ (TELEX) ค่าวิทยุติดตามตัว ค่าวิทยุสื่อสาร ค่าสื่อสารผ่านดาวเทียม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต (INTERNET) และค่าสื่อสารอื่น ๆ และให้หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้บริการดังกล่าวและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ

Go Top

รายจ่ายหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

"ค่าครุภัณฑ์"หมายความว่า

1. รายจ่ายเพื่อซื้อ และเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้

1.1 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน 5,000 บาท หรือ

1.2 สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์

2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1 เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น

3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าครุภัณฑ์

ตัวอย่างรายจ่ายค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

1. ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นการติดตั้งครั้งแรกในอาคารหรือสถานที่ราชการพร้อมการก่อสร้าง หรือภายหลังการก่อสร้าง

2. ค่าติดตั้งระบบประปาและอุปกรณ์ซึ่งเป็นการติดตั้งครั้งแรกในอาคารหรือสถานที่ราชการพร้อมการก่อสร้าง หรือภายหลังการก่อสร้าง

3. ค่าซื้อหรือแลกเปลี่ยนที่ดิน

4. ค่าชดเชยกรรมสิทธิ์ที่ดิน

5. ค่าเวนคืนที่ดิน

6. ค่าเวนคืนที่ดิน

7. ค่าจัดสวน

8. ค่าถมดิน

9. อาคารต่าง ๆ

10. ค่าต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร

11. บ้านพัก

12. สนามเด็กเล่น

13. สนามกีฬา

14. สนามบิน

15. สระว่ายน้ำ

16. สะพาน

17. ถนน

18. รั้ว

19. บ่อน้ำ

20. อ่างเก็บน้ำ

21. เขื่อน

22. แพ, เรือนแพ

23. มุ้งลวด

24. เหล็กดัด

25. ค่าออกแบบ ค่าควบคุมงานที่จ่ายให้แก่เอกชน นิติบุคคล หรือบุคคลภายนอกอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งิสิ่งก่อสร้าง

26. ค่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งก่อสร้าง

Go Top

รายจ่ายหมวดเงินอุดหนุน

"เงินอุดหนุน"

มี 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) "เงินอุดหนุน" หมายความว่า เงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลือหรือจ่ายเป็นค่าบำรุงแก่องค์การ เอกชน นิติบุคคล หรือกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (2) "เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ" หมายความว่า เงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลือแก่องค์การ เอกชน นิติบุคคล หรือกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์ตามรายการและรายละเอียดที่สำนักงบประมาณกำหนด

ตัวอย่างรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุน เงินบำรุงและอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศ

1. ค่าบำรุงสมาชิกสหภาพวิทยุแห่งเอเชีย

2. ค่าบำรุงองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

3. ค่าบำรุงสถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. ค่าบำรุงองค์การศิลปินระหว่างชาติ

5. ค่าบำรุงสำนักงานพิกัดอัตราศุลกากรระหว่างประเทศ

6. ค่าบำรุงองค์การสหประชาชาติ

7. ค่าบำรุงองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ

8. อุดหนุนกิจกรรมของศาสนาอื่น

9. อุดหนุนบูรณะศาสนาของศาสนาอื่น

10. อุดหนุนยุวพุทธิกสมาคม

11. อุดหนุนพุทธสมาคม

12. เงินนิตยภัต

13. เงินพระกฐิน

14. เงินบูชากัณฑ์เทศน์

เงินอุดหนุนโดยอนุโลม 1. ค่าฌาปนกิจ 2. ค่าสินบน 3. ค่ารางวัลนำจับ 4. เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจะกำหนดเพิ่มเติม

Go Top

รายจ่ายหมวดรายจ่ายอื่น

"รายจ่ายอื่น" หมายความว่า รายจ่ายต่าง ๆ ซึ่งไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดหนึ่งหมวดใดดังกล่าวข้างต้น หรือรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนดให้อยู่ในหมวดนี้ เช่น

1. เงินราชการลับ

2. ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการออกของ

3. ค่าภาษีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ

4. ค่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งไม่เกี่ยวกับครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างหรือไม่ได้มาซึ่งครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง เช่น ค่าจ้างศึกษาพัฒนาระบบการจราจร ค่าจ้างบริหารการจัดการระบบต่าง ๆ

5. ค่าปรับที่จ่ายคืนให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง

6. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว


เงินนอกงบประมาณ หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ นอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน

เงินนอกงบประมาณของส่วนราชการที่เบิกเงินกับคลัง จำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. เงินฝาก

2. เงินขายบิล

3. เงินทุนหมุนเวียน

4. เงินทดรองราชการ

Go Top

"การควบคุมด้านการเงิน หมายถึง การกำกับดูแลกิจกรรมด้านการเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน ถ้าหากมีคำถามว่า ทำไมจึงต้องมีการควบคุมด้านการเงิน ? คำตอบก็คือว่า"

1. เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร

2. เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ

3. เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการใช้จ่ายเงินโดยประหยัดและมี ประสิทธิภาพ

4. เพื่อป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และป้องกันมิให้เกิดการรั่วไหล สูญหาย

5. เพราะจะต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน


การเบิกเงิน

10.1 ต้องเป็นไปตามแผนงาน งาน โครงการ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี

10.2 กระทำได้ภายในปีงบประมาณ

10.3 กระทำได้ภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ

10.4 ต้องถึงกำหนดหรือใกล้จะถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงิน

10.5 ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือที่กระทรวงการคลังอนุญาต * กค 0502/ว 101 ลว. 10 ก.ค. 33 * กค 0502/ว 74 ลว. 1 พ.ค. 35

10.6 ต้องมีหลักฐานการขอเบิก

10.7 ต้องมีการลงบัญชีในวันนั้น

Go Top