บทความเกี่ยวกับสาขาโรคหัวใจ 5

Written by 

        กีวีแท้จริงเป็นผลไม้ดั้งเดิมในประเทศจีน เมื่อต้นศตวรรษที่20ได้มีผู้นำเมล็ดไปปลูกในนิวซีแลนด์จนเป็นที่แพร่หลาย ในระยะหลังมีการปลูกเพื่อการค้าไปทั่ว ทั้งในสหรัฐอเมริกา อิตาลี ชิลี ฝรั่งเศส กรีซ บราซิลหรือแม้แต่ญี่ปุ่น

         ผลกีวีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารอาหารต่างๆเช่น myoinositol, วิตามิน C , วิตามิน E (พบมากในเมล็ด), โฟเลทและโปตัสเซียม นอกจากนี้ยังมีปริมาณสารอาหารบางอย่างพอสมควรเช่น galactose myosamine, serotonin, alkaloids, saponins และ วิตามินที่ละลายน้ำทั้งหลาย กีวีแต่ละสายพันธ์อาจมีส่วนประกอบของ chlorophylls, carotenoids, lutein และ anthocyanin ในปริมาณที่แตกต่างกันไป 

        ตั้งแต่โบราณกาลในเมืองจีนมีการรับประทานกีวีเพื่อรักษาโรคทางเดินอาหาร ปวดข้อ ท้องอืด และริดสีดวงทวาร รวมถึงรักษามะเร็งหลายชนิด ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจและเป็นที่ยอมรับว่าการรับประทานกีวี อาจมีผลดีต่อสุขภาพจริง แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มากพอและส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น
        กีวีนั้นไม่ได้มีแต่ประโยชน์อย่างเดียว พบว่ามีโทษบ้างแต่ไม่มาก เช่น สาร oxalate ทำให้รู้สึกระคายเคืองในปาก บางคนอาจแพ้กีวีได้ บางรายงานกล่าวว่ากีวีอาจเป็น 1 ใน 10 อาหารที่แพ้บ่อยที่สุดในคนฝรั่งเศส ฟินแลนด์หรือสวีเดน อุบัติการณ์อาจแตกต่างกันแล้วแต่เชื้อชาติและอายุ แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่าอาการจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนแพ้อาหารชนิดอื่น

        หลักฐานเกี่ยวกับการแพทย์ที่พอจะสรุปได้เบื้องต้นแสดงในตาราง

หลักฐานทางการแพทย์ในการนำมาใช้

Rating

Antioxidant และ anti-inflammatory activities

-อาจช่วยลดการดำเนินของโรคเรื้อรังหรือโรคเสื่อมทั้งหลาย

Emerging

GI tract health

-อาจช่วยเพิ่มการทำงานของลำไส้

Emerging

Cardiovascular health

-ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และโรคอ้วนโดยไปลดระดับ cholesterol ในเลือด

Preliminary

Dermatological activity

-ผลสดทำให้แผลหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก

       -รักษาผิวหนังอักเสบ

Preliminary

Antimicrobial action

ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย บางรายงานพบฤทธิ์ต่อต้าน HIV

Preliminary

Anticancer actions

-การศึกษาในหลอดทดลอง ช่วยลดการกลายพันธ์และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

Preliminary

Miscellaneous effects

-เพิ่มภูมิคุ้มกัน

       -ลดพิษจากยาต่างๆ

       -ลดอาการเหนื่อยอ่อน

       -ช่วยลดปัญหาเรื่องการนอนหลับยาก

Preliminary

Our Vision

Contact Us

  • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 
    คณะแพทยศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 
     
  • โทรศัพท์  053-935413-15, 053-936473

     
    Facebook for Pediatrics