บทนำ/วัตถุประสงค์

     บทนำ

       การศึกษาวิชากุมารเวชศาสตร์ เป็นการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่การศึกษาของแพทย์ปีที่ 3 จนถึงปีที่ 6 ทั้งยังเป็นวิชาที่เชื่อมโยงคาบเกี่ยวกับภาควิชาอื่น ๆ ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ทั่วไปของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะแพทยศาสตร์โดยรวม นั่นคือเพื่อให้บัณฑิตแพทย์
1) มีจรรยาแพทย์ และจริยธรรมอันดีงาม
2) มีความกระตือรือร้น และมีความสามารถที่จะศึกษาต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ และอนามัย
4) มีความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพ 


       ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์เป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 นักศึกษาแพทย์ปี 3 สอนร่วมกับกระบวนวิชา พ.คพ.331423  (ภาควิชาอายุรศาสตร์) เป็นการสอนบรรยาย 1 ชั่วโมง ตอนต้นของกระบวนวิชา และภาคปฏิบัติ บ่ายวันพุธ (13.00 - 16.00 น.) ทุกวันพุธ รวม 10 สัปดาห์

ระยะที่ 2 นักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 จำนวน 4 สัปดาห์ (4 (1-18-0) หน่วยกิต) เป็นทั้งการเรียนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติที่หอผู้ป่วยใน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

ระยะที่ 3 นัก ศึกษาแพทย์ปีที่ 5 จำนวน 4 สัปดาห์ (4 (1-18-0) หน่วยกิต) เป็นทั้งการเรียนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติที่หอผู้ป่วยใน หอทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยนอก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

ระยะที่ 4 นัก ศึกษาแพทย์ปีที่ 6 จำนวน 6 สัปดาห์ (8 (0-48-0) หน่วยกิต) ปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์ 3 สัปดาห์ และโรงพยาบาลสมทบ 3 สัปดาห์ เป็นการเรียนที่เน้นหนักในปฏิบัติโดยนำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ ที่หอผู้ป่วยใน หอทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และโรงพยาบาลสมทบ

 

วัตถุประสงค์ทางด้านความรู้ความสามารถทางวิชาชีพเพื่อบัณฑิตแพทย์
ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
( ดัดแปลง มาจากเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบอาชีพ เวชกรรม ของแพทยสภา พ.ศ. 2536 )

     นักศึกษาสามารถนำ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก และ ทักษะในการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหัตถการต่างๆ มาประยุกต์ ใช้ในการวินิจฉัย การปฏิบัติรักษา การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยและการป้องกัน ปัญหาทางสุขภาพในเด็ก ที่พบได้บ่อย และ/หรือ มีความสำคัญในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมดังนี้

1. อาการสำคัญ/ปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์
2.โรค/ภาวะ/กลุ่มอาการที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญ หรือปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์
3. การตรวจโดยใช้เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน เครื่องมือพิเศษ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4. หัตถการที่จำเป็นหรือมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาทางสุขภาพ
     1. อาการสำคัญ/ปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์: ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยาสามารถ วินิจฉัยแยกโรค และ สามารถปฏิบัติรักษาเบื้องต้นได้เหมาะสม สำหรับอาการสำคัญ หรือกลุ่มของอาการสำคัญดังต่อไปนี้
 
  • ปัญหาพฤติกรรมในเด็ก
  • หอบเหนื่อย เขียวคล้ำ
  • คอพอก ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด
  • ก้อนที่คอ
  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  • ภาวะผิดรูป
  • พัฒนาการปกติและผิดปกติ
  • การเจริญเติบโตปกติและผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก ท้องผูก
  • ท้องเดิน ปวดท้อง ท้องอืด
  • อุจจาระเป็นเลือด อุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ท้องโต
  • ก้อนเนื้องอก
  • ซีด
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เลือดออกง่าย
  • ไข้
  • ไข้ออกผื่น
  • ความผิดปกติ, ผิดรูปแต่กำเนิด
  • ตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
  • ท้องอืด, อาเจียน, ถ่ายเป็นเลือด ในเด็กแรกเกิด
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด, หลังกำหนด
  • ปัญหาจากการคลอดในทารก
  • ภาวะหายใจผิดปกติในเด็กแรกเกิด
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะมีเลือดปน
  • บวม
  • ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะสีผิดปกติ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ชัก
  • ซึม ไม่รู้สต
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เลือดกำเดาออก
  • หอบเหนื่อย ไอ
  • ผื่น คัน
  • รอยโรคที่ผิวหนังที่พบใน systemic diseases
  • ผื่นในเด็กแรกเกิด
 
     2. โรค/ภาวะ/กลุ่มอาการที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญ หรือปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์

     2.1โรค/ภาวะ/กลุ่มอาการ ฉุกเฉิน : ต้องรู้ และสามารถปฏิบัติรักษาได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที

  • status asthmaticus
  • cardiac arrest, cardiac arrythmia, syncope
  • heart failure
  • child abuse
  • sepsis/ meningitis
  • acute abdomen (surgery)
  • massive upper GI hemorr. , hepatic failure
  • bleeding (APCD, hemophilia, disseminated intravascular clotting)
  • severe anemia
  • shock (hypovolemic, anaphylactic, septic, cardiogenic)
  • diabetic ketoacidosis
  • hyperkalemia, hyponatremia
  • hypoglycemia
  • metabolic acidosis
  • acute hypertension (AGN)
  • anuria (oliguria, acuted urinary retention)
  • acute poisoning (insect sting, poisonous snake, poisonous plants, mushroom, organophosphate, carbamate, paraquat,amphetamine, gasoline poisoning)
  • acute increased intracranial pressure
  • coma
  • convulsion, status epilepticus
  • vit A defficiency (xerophthalmia), beriberi
  • injury (submersion, electrical injury)
  • pneumothorax
  • pulmonary edema , drowning , near drowning
  • respiratory arrest
  • respiratory obstruction, suffocation
  • superior vena cava obstruction
  • drug allergy (angioedema, erythema multiform etc..)
  • neonatal metabolic disorders (hypoglycemia, hypocalcemia, hypothermia)
  • neonatal respiratory distress
  • perinatal asphyxia
  • shock in neonate
  • neonatal convulsion


     2.2 โรค/ภาวะ/กลุ่มอาการ ที่พบบ่อย และ/หรือ มีความสำคัญในประเทศไทย : ต้องมีความรู้ความสามารถให้การ วินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและป้องกันได้เหมาะสมตามสถานการณ์และสถานภาพ แบ่งได้ ดังนี้

I. INFECTIOUS AND PARASITIC DISEASES
    - Bacteria
  • Staphylococcus aureus
  • nontyphoidal Salmonella (gastroenteritis, septicemia)
  • rickettsiosis (scrub typhus, murine typhus)
  • Streptococcus (scarlet fever, erysipelas, impetigo)
  • H. influenzae
  • pertussis (whooping cough)
  • Shigella
  • S. pneumoniae (pneumococcal)
  • tuberculosis (childhood tuberculosis)
  • tetanus neonatorum
  • diphtheria
  • typhoid and paratyphoid fever
  • group B streptococcus, GNR (in neonates)
  • syphilis (congenital syphilis)

 


    - Virus
  • dengue hemorrhagic fever, chikungunya fever
  • human immunodeficiency virus (HIV) infections (AIDS)
  • herpes simplex infections
  • exanthem subitum
  • rabies
  • cytomegalovirus (congenital and acquired)
  • enterovirus (poliovirus, coxackie virus..)
  • varicella-zoster virus
  • measles
  • rubella
  • infectious mononucleosis (EB virus)
  • Japanese encephalitis
  • mumps
  • viral hepatitis (A,B…) (prevention in NB)

 


    - Fungus
  • systemic mycoses
    (candidiasis, cryptococcosis, aspergillosis, penicillosis)
  • superficial mycoses
    (tinea, pityriasis versicolor, candidosis) 

    - Parasite
  • Pneumocystis carinii (in HIV-infected children)
  • ectoparasites (pediculosis, scabies)
  • intestinal parasites
  • malaria (treatment of malaria)
  • tissue parasites (cysticercosis, toxoplasmosis)

Other: unclassified pathogens: mycoplasma, chlamydia
Other: immunization



พ.คพ.331423

นักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 (FCP2) ปีการศึกษา 2566

พ.คพ.301 (331423) : พื้นฐานในการปฏิบัติงานทางคลินิก (Fundamentals fo Clinical Practic 2)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

ผศ.นพ.กฤช  มกรแก้วเกยูร,  ผศ.พญ.ณัฐพร  หงษาวงค์

การเรียน การสอนและการปฏิบัติงาน

      เป็นกระบวนวิชาเกี่ยวกับ การซักประวัติ การตรวจร่างกายผู้ป่วย (มีทั้งการปาฐกถาและสาธิตถึงเทคนิค และให้ทดลองตรวจด้วยตนเอง) เป็นการสอนนักศึกษาแพทย์ปีที่ 3 ช่วงปลายปีการศึกษา เฉพาะวันอังคาร และวันพฤหัสบดี นาน 4 สัปดาห์ (ก่อนเริ่มการเรียนการสอนปี 4) 

วัตถุประสงค์การเรียนการสอน

  1. 1. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ทราบและเข้าใจถึงบทบาทของแพทย์ต่อการดูแลผู้ป่วยเด็ก
  2. 2. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถเข้สใจถึงพัฒนาการ และการเจริญเติบโตอย่างปกติในเด็ก และสามารถประเมินการเจริญเติบโตที่ปกติในเด็กได้
  3. 3. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถทราบถึงแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก และเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนวิชากุมารเวชศาสตร์ (พ.กม.319401) อันจะนำมาสู่การซักประวัติ และตรวจร่างกายที่ถูกต้องต่อไป
  4. 4. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถเขียนรายงานทางการแพทย์ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
  5.  

วิธีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับผู้ป่วย

      นักศึกษาแพทย์เวียนมาอยู่ที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ครั้งละ 80 - 82 คน กลุ่มละ1 สัปดาห์ รวม 4 กลุ่ม (4 สัปดาห์) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จัดแบ่งนักศึกษาแพทย์ 80 - 82 คนนี้เป็น 6 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 10 - 11 คน จัดให้มีอาจารย์ผู้ดูแล 1 ท่านต่อนักศึกษา 6 กลุ่มย่อย นาน 1 สัปดาห์
  1. 1. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ทราบและเข้าใจถึงบทบาทของแพทย์ต่อการดูแลผู้ป่วยเด็ก
  2. 2. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถเข้สใจถึงพัฒนาการ และการเจริญเติบโตอย่างปกติในเด็ก และสามารถประเมินการเจริญเติบโตที่ปกติในเด็กได้
  3. 3. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถทราบถึงแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก และเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนวิชากุมารเวชศาสตร์ พ.คพ.331404 อันจะนำมาสู่การซักประวัติ และตรวจร่างกายที่ถูกต้องต่อไป
  4. 4. เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถเขียนรายงานทางการแพทย์ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง

วิธีการสอน

ทุกวันตั้งแต่ 9.30 - 12.00 และ 13.00 - 14.30 น. วันอังคาร และวันพฤหัสบดี
  1. 1. Orientation (10.00 - 12.00 น.) แจ้งให้ทราบถึงวิธีการเรียนการสอน แนะนำสถานที่ บุคคล อธิบายรายละเอียดของวิธีการซักประวัติ Hx (อ.กฤช  มกรแก้วเกยูร) และการตรวจร่างกาย(อ.ประไพ เดชคำรณ) ของการเขียนรายงาน แนะนำหนังสือที่จะใช้แจ้งให้ทราบถึงเป้าหมายของนักศึกษาแพทย์ ในการเรียนการสอนของภาควิชากุมารเวชศาสตร์
  2. 2. Demonstration เกี่ยวกับการตรวจร่างกายที่ปกติ (13.00 - 14.30 น.) โดยแบ่ง นักศึกษาแพทย์เป็น 6 กลุ่มใหญ่
  3. 3. Chief resident จะจ่ายผู้ป่วยให้นักศึกษาแพทย์แต่ละกลุ่มย่อยกลุ่มละ 1 คน

  



 


พ.กม.319401



นักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.401 (319401) : กุมารเวชศาสตร์ 1 (Pediatrics I)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

ผศ.นพ.ชินณุวัฒน์  สงวนเสริมศรี, ผศ.พญ.วัชรีวรรณ สนธิชัย, ผศ.พญ.กนกกาญจน์ สันกลกิจ, อ.พญ.มะลิวัลย์ เต็งสุจริตกุล
 

คำอธิบายกระบวนวิชา

 

          ความรู้พื้นฐานของภาวะและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศทางด้านระบาดวิทยา สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพ พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา อาการและอาการแสดง การดำเนินโรค และการพยากรณ์ ทักษะการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่จำเป็นพร้อมการแปลผล การแปลผลภาพรังสี การฝึกทักษะหัตถการพื้นฐาน อภิปรายวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย หลักการรักษา ประเด็นทางจริยเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ และการสร้างเสริมสุขภาพ ทักษะการสื่อสารให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ

 

วัตถุประสงค์กระบวนวิชา

  1. นักศึกษาสามารถอธิบายความรู้พื้นฐานของภาวะและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ที่พบบ่อย
  2. นักศึกษาสามารถซักประวัติตรวจร่างกายวินิจฉัยโรคส่งตรวจและแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพรังสีพื้นฐาน
  3. นักศึกษาสามารถทำหัตถการพื้นฐานทางกุมารเวชศาสตร์
  4. นักศึกษาสามารถอธิบายแผนการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพโดยการอ้างอิงหลักฐานหลักจริยเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  5. นักศึกษาสามารถสื่อสารให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 


พ.กม.319492



 

นักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.491 (319492) : กุมารเวชปฏิบัติทั่วไป (General Pediatrics)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

ผศ.นพ.ชินณุวัฒน์  สงวนเสริมศรี, ผศ.พญ.วัชรีวรรณ  สนธิชัย, ผศ.พญ.กนกกาญจน์ สันกลกิจ, อ.พญ.มะลิวัลย์ เต็งสุจริตกุล
 

  1. คำอธิบายกระบวนวิชา


    ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยนอก ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์ แพทย์
    ฝึกหัดและแพทย์ประจำบ้าน โดยการประยุกต์ความรู้พื้นฐานในการแก้ปัญหาของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น



    วัตถุประสงค์กระบวนวิชา

         1. ซักประวัติ ตรวจร่างกายในเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่น ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
         2. ให้การวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย รวมทั้งการวางแผนในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
         3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค รวมทั้งการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
         4. สื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ


    เอกสารที่เกี่ยวข้อง


     

 

พ.กม.319501


 

นักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.501 (319501) : กุมารเวชศาสตร์ 2 (Pediatrics II)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

 อ.นพ.กานต์  เวชอภิกุล, ผศ.พญ.ลลิตา สาธิตสมิตพงษ์, อ.พญ.นฤภร  ลิขิตวีระวงศ์,  อ.พญ,มัลลิการ์ ป้อมรบ

คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา

           ความรู้พื้นฐานของภาวะและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศทางด้านระบาดวิทยาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงพยาธิสภาพพยาธิกำเนิดพยาธิสรีรวิทยาอาการและอาการแสดงการดำเนินโรคและการพยากรณ์ทักษะการซักประวัติตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่จำเป็นพร้อมการแปลผลการแปลผลภาพรังสีการฝึกทักษะหัตถการพื้นฐานอภิปรายวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยหลักการรักษาประเด็นทางจริยเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องการอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์และการสร้างเสริมสุขภาพทักษะการสื่อสารให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ

  1.  

วัตถุประสงค์กระบวนวิชา 

  1. นักศึกษาสามารถอธิบายความรู้พื้นฐานของภาวะและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ที่พบบ่อย
  2. นักศึกษาสามารถซักประวัติตรวจร่างกายวินิจฉัยโรคส่งตรวจและแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพรังสีพื้นฐาน
  3. นักศึกษาสามารถทำหัตถการพื้นฐานทางกุมารเวชศาสตร์
  4. นักศึกษาสามารถอธิบายแผนการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพโดยการอ้างอิงหลักฐานหลักจริยเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  5. นักศึกษาสามารถสื่อสารให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 

พ.กม.319591


 

 

นักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.591 (319591) : กุมารเวชปฏิบัติทั่วไป (General Pediatrics)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

อ.นพ.กานต์  เวชอภิกุล, ผศ.พญ.ลลิตา สาธิตสมิตพงษ์, อ.พญ.นฤภร  ลิขิตวีระวงศ์,  อ.พญ,มัลลิการ์ ป้อมรบ
 





พ.กม.319601


 

นักศึกษาแพทย์ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.601 (319601) : เวชปฏิบัติกุมารเวชศาสตร์ (Clerkship in Pediatrics)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

รศ.นพ.รุ่งโรจณ์  เนตรศิรินิลกุล, ผศ.พญ.ณัฐรุจี  วิวรรธนดิฐกุล, ผศ.นพ.สาธิษฐ์  มะโนปัญญา, อ.นพ.เจน  เจิดอำไพ

คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา

           ฝึกปฏิบัติงานในการตรวจวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคทางกุมารเวชศาสตร์ที่พบบ่อย การทำหัตถการพื้นฐานทางกุมารเวชศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจด้วยวิจารณญาณบนพื้นฐานการอ้างอิงหลักฐาน และจริยเวชศาสตร์ การส่งต่อผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม การให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรค การรักษา และการสร้างเสริมสุขภาพ

 

วัตถุประสงค์กระบวนวิชา

  1. นักศึกษาสามารถวินิจฉัยโรคทางกุมารเวชศาสตร์ที่พบบ่อย
  2. นักศึกษาสามารถวางแผนและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมโดยอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์หลักจริยเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. นักศึกษาสามารถทำหัตถการพื้นฐานทางกุมารเวชศาสตร์
  4. นักศึกษาสามารถแนะนำเรื่องโรคการรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติ
  5. นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการการส่งต่อผู้ป่วย
  6. นักศึกษาสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 


 

 

พ.กม.319691



นักศึกษาแพทย์ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566

พ.กม.691 (319691) : กุมารเวชศาสตร์เฉพาะทาง (PEDIATRIC SUBSPECIALTY)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

รศ.นพ.รุ่งโรจณ์  เนตรศิรินิลกุล, ผศ.พญ.ณัฐรุจี วิวรรธนดิฐกุล, ผศ.นพ.สาธิษฐ์  มะโนปัญญา, อ.นพ.เจน เจิดอำไพ 

  1. คู่มือการเรียนและการปฏิบัติงาน



 


 
 
 

 

Our Vision

Contact Us

  • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 
    คณะแพทยศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 
     
  • โทรศัพท์  053-935413-15, 053-936473

     
    Facebook for Pediatrics