คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน

เราได้ยินได้อย่างไร

เมื่อมีเสียงผ่านเข้ามา ใบหู จะช่วยดักเสียงให้เข้าช่องหู เสียงที่กระทบแก้วหูจะส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง ทำให้กระดูกหูค้อน ทั่งและโกลน ขยับ พลังงานเสียงจะส่งต่อเข้าไปยังอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เกิดกระแสประสาทส่งผ่านเส้นประสาทการได้ยินไปสมอ ทำให้รับรู้และเข้าใจเสียงที่ผ่านเข้ามา

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

  1. สูญเสียการได้ยินจากการนำเสียงเสื่อม เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบ ช่องหูตีบ หูผิดรูปแต่กำเนิด หูชั้นกลางอักเสบ กระดูกหูติดหรือหลุด การบาดเจ็บจากการกระแทกหรือจากแรงดันต่อหู
  2. สูญเสียการได้ยินจากประสาทหู เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นในหรือเส้นประสาทหู เช่น การรับเสียงดัง การใช้ยาที่เป็นพิษต่อหู การติดเชื้อของหูชั้นใน หูตึงเหตุสูงอายุ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน เนื้องอกของเส้นประสาทหู
  3. สูญเสียการได้ยินแบบผสม เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นนอก และ/หรือหูชั้นกลาง ร่วมกับ หูชั้นในและ/หรือเส้นประสาท
  4. สูญเสียการได้ยินจากสมอง เกิดจากพยาธิสภาพของก้านสมอง เช่น มีเนื้องอกในสมองหรือสมองขาดเลือด
  5. สูญเสียการได้ยินที่ไม่มีพยาธิสภาพใด ๆ เกิดจากสภาวะจิตใจ อารมณ์หรือแสร้งทำ ทำให้ระดับการได้ยินที่ตรวจได้แย่กว่าความเป็นจริงหรือผลตรวจเปลี่ยนแปลงโดยอธิบายไม่ได้ เช่น การแกล้งหูเสื่อมเพื่อหวังค่าตอบแทน

ข้อควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

  1. หลีกเลี่ยงการรับเสียงดัง หากจำเป็นควรใช้เครื่องมือป้องกันเสียง เช่น ปลั๊กอุดหู
  2. ไม่แคะหู
  3. ระมัดระวังการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ การติดเชื้อหวัด สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
  4. ดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ออกกำลังกายและควบคุมโรคประจำตัว (ถ้ามี) อย่างสม่ำเสมอ
  5. หากมีอาการผิดปกติทางหู เช่น หนองไหลจากหู ปวดหู การได้ยินลดลง เสียงรบกวนในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรมาพบแพทย์หู คอ จมูก
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เปน็ พิษต่อหู ควรตรวจสอบยาที่ใช้หรือแจ้งแพทย์ก่อนจ่ายยาให้ท่าน

รายการยาที่เป็นพิษต่อหู

ยากินหรือฉีด
1. ยาปฎิชีวนะ
1) Aminoglycosides
– Amikacin
– Dihydrostreptomycin
– Gentamicin
– Kanamycin
– Neomycin
– Netilmicin
– Paromomycin
– Spectinomycin
– Streptomycin
– Tobramycin
2) Macrolides
– Azithromycin
– Clarithromycin
– Erythromycin
– Ketolides (telithromycin)

3) Chloramphenicol
4) Polymyxin B
5) Vancomycin

2. ยาขับปัสสาวะ
– Furosemide
– Bumetanide
– Ethacrynic acid
– Others (piretanide, azosemide, triflocin, indapamide)
3. ยาต้านมะเร็ง
1) Platinum compound
– Cisplatin
– Carboplatin
– Oxaliplatin
– Others (nedaplatin, AMD-473, satraplatin)
2) Vinca alkaloids
– Vinblastine
– Vincristine
– Vinorelbine

3) Bleomycin
4) Nitrogen mustard
4. ยาลดการอักเสบ
– Salicylates (ASA)
– NSAIDs
– Quinine
5. ยาขับเหล็ก
– Desferrioxamine (DFO)
6. โลหะหนัก
– Mercury
– Lead
7. น้ำยาฆ่าเชื้อ
– Chlorhexidine
– Alcohol

ยาหยอดหู
– Aminoglycoside
– Gentamicin
– Neomycin/polymyxin
– Chloramphenicol

ข้อแนะนำ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ฟังที่มีการสูญเสียการได้ยิน
1. เลือกสถานที่เงียบและมีแสงสว่างพอเพียง
2. มองหน้าคู่สนทนา อ่านปากและสังเกตการแสดงสีหน้า
3. ตั้งใจฟัง
4. ใช้เครื่องช่วยฟัง (ถ้ามี)
5. ค้นหาว่าเหตุใดจึงมีความลำบากในการสื่อสาร เช่น สาเหตุจากผู้พูด สิ่งแวดล้อม
เนื้อหาที่สื่อสาร หรือตนเอง
6. หากอยู่ในสถานการณ์ที่สื่อสารได้ลำบากควรแจ้งคู่สนทนาให้ชัดเจน เช่น หากผู้พูด
พูดเบาไป ควรบอกให้พูดดังขึ้น แทนคำพูดว่า “อะไรนะ”
7. แจ้งคู่สนทนาว่ามีการสูญเสียการได้ยิน
8. เตรียมพร้อมและวางแผนสำหรับการสนทนา หากอยู่ในสถานการณ์ที่สื่อสารได้ลำบาก
9. อย่าแกล้งทำเป็นว่าเข้าใจ ควรแจ้งให้ผู้พูดทราบ ว่าแท้จริงแล้ว ได้ยินว่าอย่างไร
10. คิดในด้านบวก อดทน และงดการต่อว่าผู้อื่น หรือตนเอง

ข้อแนะนำสำหรับผู้พูด เมื่อต้องพูดกับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน
1. ให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง ก่อนจะเริ่มพูดอาจเรียกชื่อให้หันหน้ามาก่อน
2. ไม่มีสิ่งของหรือมือบังหน้าและปากขณะพูด
3. มองหน้าผู้ฟังให้ผู้ฟังเห็นหน้าและปากขณะพูด
4. งดพูดข้ามห้อง ระยะที่ดีที่สุดเมื่อพูด คือ ห่างประมาณ 3-6 ฟุต
5. พูดให้ช้าและชัดเจนอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเน้นคำจนเกินปกติ
6. พูดดังขึ้น แต่ไม่ต้องตะโกน
7. พูดด้วยน้ำเสียงปกติ
8. ถ้าผู้ฟังไม่ได้ยิน ให้พูดซ้ำใหม่อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่ได้ยิน ใหเ้ปลี่ยนรูปประโยคใหม่
ไม่ควรพูดซ้ำเดิม
9. อย่าตัดผู้เสียการได้ยินออกจากวงสนทนา ควรช่วยให้มากที่สุด
10. คิดในด้านบวก อดทนและเข้าใจผู้ฟังที่มีการสูญเสียการได้ยิน

เอกสารอ้างอิง
1. http://www.vestibular.org/images/ear_diagram_lg.gif
2. พิชิต สิทธิไตรย์, สายสวาท ไชยเศรษฐ, สุวิชา แก้วศิริ, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ บรรณาธิการ. ตำราหู คอ จมูกสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. เชียงใหม่: บริษัท แลงเกวจ เซ็นเตอร์ แอนด์ แอดเวอร์ทิสเมนท์ จำกัด; 2560.
3. https://www.who.int/deafness/hearing_impairment_grades/en/
4. https://www.who.int/medicines/areas/priority_medicines/BP6_21Hearing.pdf