Dermatoses of Pregnancy

พ.ญ. เกื้อหนุน บัวไพจิตร


ผิวหนังจะเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสรีระวิทยาของการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ทำให้จึงเกิดโรคผิวหนังที่มีความจำเพาะได้ในคนตั้งครรภ์ โดยเราจะเรียกลักษณะผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดขึ้นเฉพาะในคนตั้งครรภ์และหลังคลอดว่า “Dermatoses of pregnancy”

กลุ่มอาการที่พบบ่อยได้แก่[1-3]

  • Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy
  • Prurigo of pregnancy
  • Pruritic folliculitis of pregnancy
  • Pustular psoriasis of pregnancy
  • Pemphigoid gestationis

 

PUPPP

Pruritic urticarial papules & Plaques of pregnancy หรือย่อว่า PUPPP อาจเรียกอีกแบบได้ว่า Polymorphic eruption of pregnancy (PEP) (เป็นคำเรียกในประเทศอังกฤษ) [3, 4]

Incidence

PUPPP เป็นรอยโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อยและจำเพาะที่สุดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ พบได้ 1:160 – 1:300 ของสตรีตั้งครรภ์[4, 5] โดยสามในสี่เป็นสตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน และจะพบเพิ่มขึ้น 8-12 เท่าในการตั้งครรภ์แฝด(พบได้ 8:200 ของสตรีที่ตั้งครรภ์แฝด)[7] เชื่อว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง หรือเกิดจากการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนในระดับสูง

Clinical manifestations and diagnosis

การวินิจฉัย PUPPP อาศัยประวัติ และลักษณะจำเพาะของโรคที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายเป็นหลัก

ลักษณะจำเพาะคือ “erythematous papules within striae” โดยจะเริ่มเกิดบริเวณ striae ที่บริเวณหน้าท้องก่อน (ยกเว้นช่วงรอบสะดือ) จากนั้นจึงจะมีการกระจายของรอยโรคไปยังแขนขา และจะมีการรวมตัวกันเป็น urticarial plaques (hives) มักจะไม่เกิดบริเวณในหน้า ผ่ามือ และผ่าเท้า อาจจะพบลักษณะของวงกลมสีขาวล้อมรอบ erythematouse papules ได้บ่อย เรียกว่า target-like lesion และผู้ป่วยทั้งหมดจะมีอาการคันตามแขนและขาได้[7]

Subtypes of PUPPP [8]

  • Type I : Classical clinical presentation : ลักษณะพบได้บ่อยของ PUPPP ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยไม่มีรอยโรคบริเวณในหน้า ผ่ามือ และผ่าเท้า
  • Type II : maculopapular type : จะมีลักษณะของ erythematous patches with overlying papules and vesicles
  • Type III : ลักษณะร่วมกันของ type I & type II

PUPPP มักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ (ประมาณ 35 สัปดาห์) แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังคลอด ส่วนไตรมาสที่หนึ่งและสองจะพบ PUPPP ได้น้อยมาก [6]

PUPPP อาจจะมีอาการแย่ลงทันทีหลังคลอด แต่อาการเหล่านั้นจะหายไปได้เองหลังคลอดประมาณ 15 วัน

Diagnosis

การวินิจฉัย PUPPP ไม่จำเป็นต้องอาศัยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการวินิจฉัย เพราะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย แต่หากการวินิจฉัยนั้นไม่แน่นอน สามารถอาศัยการวินิจฉัยด้วยการทำ skin biopsy โดยจะมีลักษณะที่ไม่จำเพาะ ได้แก่การพบ spongiosis และ parakeratosis ในผิวหนังชั้น Epidermis[5] ในส่วนของชั้น Dermis จะพบเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบผนังหลอดเลือด โดยการชักนำของ T-helper cell บางครั้งจะเห็น eosinophils หรือ neutrophils ได้หากมีการบวมขึ้นของชั้น Dermis

Etiology

สาเหตุของ PUPPP ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิฐานได้จากหลายสาเหตุ เช่นการถูกยืดออกของผิวหนังหน้าท้อง โดย PUPPP จะพบมากขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ผนังหน้าท้องถูกยืดออกมากๆ เชื่อว่าการยืดออกของผิวหนังจะทำให้มีการทำลาย connective tissue บริเวณนั้นและทำให้เกิดการอักเสบตามมาได้[9]

อีกสาเหตุหนึ่งคือ การตอบสนองต่อ fetal antigen ที่ผ่านมาทางกระแสเลือด โดยจะเห็นได้จากการตรวจพบ fetal DNA ในรอยโรคที่ผิวหนัง[10]

Treatment

จุดมุ่งหมายของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ การลดอาการต่างๆ ของผู้ป่วย โดยการให้ low to mid potency topical corticosteroids เป็นยาเริ่มต้นในการรักษา ร่วมกับครีมบำรุงให้ความุ่มชื้นแกผิว หากไม่ดีขึ้นอาจเสริมการรักษาด้วย Nonsedating oral antihistamines [3, 11] การให้ systemic glucocorticoids เช่น prednisolone จะสงวนไว้สำหรับคนที่มีอาการคันมากๆ เท่านั้น

Prognosis

PUPPP ไม่เพิ่มความเสี่ยงในมารดาและทารก และอัตราการเกิดซ้ำเกิดได้ไม่บ่อยนัก [7]

 

Prurigo of pregnancy

ประกอบด้วย Prurigo gestationis of Besnier, Nurse’s early onset prurigo of pregnancy, and Spangler’s popular dermatitis of pregnancy, linear IgM disease of pregnancy [5, 6]

Incidence

อุบัติการณ์ของการเกิดโรค Prurigo of pregnancy ประมาณ 1:300 – 1:450 ของสตรีตั้งครรภ์ ส่วนสาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับประวัติภูมิแพ้[12]

อาการและอาการแสดง

การวินิจฉัยโรคนี้ ทำโดยการวินิจฉัยตามอาการ และลักษณะรอยโรคที่มีความจำเพาะ กล่าวคือ รอยโรคนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองและสาม โดยจะพบบ่อยที่อายุครรภ์ 25 ถึง 30 สัปดาห์[3] แต่ก็ยังมีรายงานว่าสามารถพบได้ในทุกไตรมาส ลักษณะที่พบคือ erythematous, excoriated nodules, or papules โดยจะอยู่บนด้าน extensor ของแขนขาและลำตัว บางรายอาจลักษณะเป็น crusted และ eczematous ได้[12]

 

ผื่นดังกล่าวมักจะหายได้ทันทีหลังคลอด แต่ก็มีบางครั้งสามารถคงอยู่ได้นานมากกว่า 3 เดือน

การวินิจฉัยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และทางพยาธิวิทยา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากสามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลินิกอยู่แล้ว แต่ก็มีการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ IgE ในผู้ป่วยบางราย และหากทำการตัดชิ้นเนื้อ จะพบลักษณะของ perivascular mononuclear cell infiltrate without eosinophils ในชั้น epidermis อาจแสดงลักษณะของ acathosis, hyperkeratosis, and parakeratosis

Differential diagnosis

  • PUPPP
  • pruritic folliculitis of pregnancy

Treatment & Prognosis

จุดมุ่งหมายหลักของการรักษาคือ การลดอาการผู้ป่วย โดยการใช้ steroid ที่มีความเข้มข้นต่ำถึงปานกลาง แบบเฉพาะที่เป็นหลัก ร่วมกับ nonsedating oral antihistamines เป็นยาเสริมในการรักษา

รอยโรคนี้ไม่มีผลต่อทารก และความเสี่ยงในมารดา แต่อาจมีการเกิดซ้ำได้ในท้องต่อไป[5, 6]

 

Pruritic Folliculitis of Pregnancy

Incidence

อุบัติการณ์ของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พบได้ประมาณ 1:3192 ของสตรีตั้งครรภ์[6]

อาการและอาการแสดง

รอยโรคนี้จะพบได้ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม โดยพบในไตรมาสที่สามมากกว่า และมักจะพบในหญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ลักษณะของโรคเป็น follicularly-based papules and pustules โดยจะเริ่มเกิดตรงบริเวณลำตัวก่อน แต่บางครั้งก็มีการกระจายไปยังแขนขาได้ ลักษณะการเกิดโรคคล้ายคลึงกับ steroid induced acne แต่ก่อนการวินิจฉัยควรมีการเพาะเชื้อเพื่อแยกการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราออกไปก่อน

โดยทั่วไปรอยโรคนี้จะสามารถหายได้เองใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อย่างไรก็ตามอาจคงอยู่ได้ถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด

 

Differential diagnosis

  • prurigo of pregnancy
  • PUPPP
  • Infectious folliculitis

Treatment

เริ่มต้นการรักษาควรใช้ยาทา steroid เฉพาะที่เสริมด้วย nonsedating oral antihistamines รอยโรคนี้ไม่มีผลต่อมารดาและทารก ไม่มีข้อมูลเรื่องการเกิดซ้ำของรอยโรค

 

Pemphigoid Gestationis

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Herpes gestationis” เนื่องจากมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆ (blistering) คล้ายที่พบในการติดเชื้อ Herpes แต่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับ herpes viral infection [3]

 

Incidence

พบได้ประมาณ 1/10,000 ถึง 1/50,000 ของสตรีตั้งครรภ์ อาการนี้พบได้เฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ หรือสตรีที่มีเนื้องอกของเนื้อรกเท่านั้น สัมพันธ์กับความผิดปกติของ HLA-DR3 และ HLA-DR4 ได้บ่อย[6] อาการเหล่านี้อาจคงอยู่ได้นานนับปีหลังจากคลอดบุตรไปแล้ว

 

Clinical manifestation

เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการคันนำมาก่อนจากนั้นจะเริ่มมีผื่น ส่วนมากจะเกิดอาการขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง หรือสาม ส่วนไตรมาสแรกจะพบอาการเหล่านี้ได้น้อยมาก หากพบมักจะเป็นเพียง case report เท่านั้น  ลักษณะที่สำคัญคือ ผื่นจะเริ่มเกิดขึ้นบริเวณลำตัวก่อน ลักษณะเป็น urticarial plaques หรือ plaques ล้อมรอบสะดือ จากนั้นก็จะกลายเป็น vesicle หากมีการแตกของผื่นอย่างรวดเร็วอาจกลายเป็น Bullae ได้ สามารถพบผื่นชนิดนี้ได้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย แต่พบได้ไม่บ่อยที่ใบหน้าและเยื่อบุผิว (ร้อยละ 70 เกิดขึ้นที่ลำตัวและรอยสะดือ, ร้อยละ95 เกิดที่แขนขา)[13]

รอยโรคที่เยื่อบุพบได้น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้ป่วยทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยที่มีรอยโรคคล้าย Pemphigoid gastationis เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุ ลักษณะเดียวกันกับที่พบใน cicatricial pemphigoid หลังคลอดรอยโรคดังกล่าวจะหายไปได้เอง โดยไม่มีการทิ้งรอยแผลเป็น และจะไม่มีการเกิดซ้ำหลังการตั้งครรภ์ หากตรวจ Immunofluorescence จะพบ IgA ต่อ BP 180 antigen ซึ่งจะแตกต่างจาก classical pemphigoid gestationis

Course

Pemphigoid gestationis ส่วนใหญ่มักจะหายไปได้เองหลังคลอด ภายในระยะเวลาเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจะมีรอยโรคกำเริบขึ้นหลังคลอด โดยพบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบหลังคลอดจะสัมพันธ์กันการได้รับยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด หรือการมีประจำเดือน นอกจากนี้รอยโรคชนิดนี้ยังสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปและอาการของโรคอาจแย่ลง[5]

Diagnosis

สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยการทำ skin biopsy เพื่อดูลักษณะทางพยาธิวิทยาทั่วไป และการส่งตรวจ direct immunofluorescence

ลักษณะทางพยาธิวิทยาจะพบลักษณะของ vesicle ใต้ชั้นผิวหนัง ร่วมกับมีเซลล์ Lymphocyte และ Eosinophils แทรกอยู่รอบๆเส้นเลือด และจะพบว่ามี eosinophils บางส่วนอยู่ที่ dermoepidermal junction และเข้าไปอยู่ใน vesicle พบการบวมและnecrosis ของ basal cell ได้บ่อย

การส่งตรวจ direct immunofluorescence จะพบ complement 3 (C3) ได้ในบริเวณที่ basement membrane ซึ่ง C3 band เป็นลักษณะที่จำเพาะของ pemphigoid gestationis โดยจะตรวจพบ IgG ประมาณร้อยละ 30-40 ของผู้ป่วยทั้งหมด[11]

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นในการวินิจฉัยโรคนี้ แต่พบว่าระดับ eosiophils ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับอาการของโรคที่เป็นมากขึ้น

Etiology

เกิดจาก IgG antibody (BP180) ไปจับกับ antigen ขนาด 180 kilodalton ที่บริเวณ Basement membrane ของผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Bullous pemphigoid antigen 2 (BP-AG2) ซึ่งเป็น glycoprotein ที่มีส่วนช่วยในการเกาะกันของ basal cell of epidermis กับ basement membrane

โดย IgG ดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด complement pathway, กระตุ้น eosinophil, และสร้าง proteolytic  enzymes ออกมาแยก epidermis ออกจากชั้น dermis [3]

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมผู้ป่วยถึงมี antibody ตัวนี้ มีทฤษฎีว่า MHC class II ที่ได้มาจากสามี และสามารถตรวจพบได้ในรก เป็นตัวกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มีการสร้าง antibody ต่อ amniotic basement membrane ซึ่ง antibody นี้สามารถ cross-reaction กับผิวหนัง แล้วก่อให้เกิดโรคได้

Differential diagnosis[5, 14]

  • Pemphigoid gestationis ต้องแยกจาก PUPPP ( papular urticarial papules and plaques of pregnancy) เนื่องจากในระยะเริ่มแรกของโรคจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ต่างกันตรงที่ PUPPP มักเริ่มเกิดอาการที่รอยแตกของผิวหนัง (striae ) บริเวณของท้อง ส่วน Pemphigoid gestationis มักมีอาการบริเวณรอบๆ สะดือ แต่หากต้องการการวินิจฉัยแยกโรคที่แน่นอน จำเป็นต้องมีการทำ Immunofluorescent study เพื่อแยกสองภาวะนี้
  • Dermatitis herpetiformis จะมีลักษณะเป็น vesicular lesion ที่มีอาการคันมาก
  • Erythema multiforme ที่เกิดการติดเชื้อ หรือยา
  • Contact dermatitis and drug reaction

Treatment

จุดประสงค์หลักของการรักษาคือ การลดอาการให้แก่ผู้ป่วย โดยควรเลือกใช้ topical corticosteroids เป็นยาตั้งต้นในการรักษา โดยเริ่มจากยาที่มี potency ต่ำ ไปจนถึงยาที่มี potency สูง และนอกจากนั้นยังสามารถใช้ยา Nonsedating antihistamines ชนิดรับประทานเป็นยาเสริมได้ แต่ไม่แนะนำ antihistamines ชนิดทาเฉพาะที่ เนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่เพียงพอ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ได้มากขึ้น

แต่ถ้าหากการรักษาในเบื้องต้นไม่ได้ผล เนื่องจาก herpes Gestationis มักจะก่อให้เกิดอาการคันมาก อาจมีการใช้ systemic glucocorticoids เช่น prednisolone 0.5-1 mg/kg daily โดยหลังจากได้ผลในการรักษาแล้วควรมีการค่อยๆ ปรับลดขนาดยาลงจนหยุดยาในที่สุด [3, 5, 14]

Prognosis

เนื่องจากผลของ Immune response ระหว่าง placental antigen กับ antibody (ที่มีผลต่อ antigen ที่ผิวหนังด้วย) ทำให้เกิดภาวะรกเสื่อมได้เล็กน้อย ทารกจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะโตช้าในครรภ์ เสียชีวิตก่อนคลอด และการคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นจึงเป็นข้อบ่งชี้ในการติดตามสุขภาพทารกในครรภ์[3]

มีการศึกษาเป็น Retrospective cohot study ในผู้หญิง 61 คนที่มีปัญหาของ Pemphigoid gestationis พบว่า ร้อยละ 34 มีการคลอดก่อนกำหนด และร้อยละ 34 คลอดทารกน้ำหนักน้อย โดยพยากรณ์โรคจะไม่ดีในรายที่เริ่มมีอาการของโรคตั้งแต่ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง รวมถึงในกลุ่มที่มารดามีรอยโรคลักษณะเป็น Blisters[15]

ทารกร้อยละ 2.8-10 มีการเกิดภาวะ neonatal pemphigoid ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 1 อาทิตย์ และหากมารดาได้รับการรักษาด้วย high dose corticosteroid อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการกด adrenal gland เพียงเล็กน้อย[16]

ร้อยละ10 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเกิด Pemphigoid gestationis จะมีโอกาสในการเกิด Grave’s disease ได้[17]

 

Pustular Psoriasis of Pregnancy

มีอีกชื่อหนึ่งคือ Impetigo herpetiformis การวินิจฉัยทำได้โดยการแยกการติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสออกไปก่อน และจะวินิจฉัยในสตรีที่ไม่เคยมีประวัติของ psoriasis มาก่อน และรอยโรคดังกล่าวสามารถหายไปได้หลังตั้งครรภ์ อุบัติการณ์ของโรคนี้เกิดได้น้อยมาก โดยพบผู้ป่วยที่เกิดรอยโรคดังกล่าวประมาณ 350 คน ตั้งแต่ปี 1872 ถึงปัจจุบัน

อาการและอาการแสดง

การวินิจฉัยโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดง แต่อย่างไรก็ตามควรจะมีการยืนยันด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วย โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มจากมี erythematous plaques with rings of pustules จากนั้น plaques จะมีการขยายออกไปด้านนอกมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตรงกลางจะเริ่มยุบลงและกลายเป็น crust จนท้ายที่สุดก็จะกลายเป็น concentric rings of pustules นอกจากนี้เล็บยังมีลักษณะเป็น onycholytic หรือ pitting ได้

รอยโรคมักเกิดขึ้นที่บริเวณลำตัวและแขนขา จากนั้นถึงจะมีการลุกลามไปยัง มือ เท้า และใบหน้า นอกจากนี้อาจพบแผลบริเวณปากและหลอดอาหารได้

Pustular psoriasis of pregnancy มักจะไม่มีอาการคัน ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียถ่ายเหลว มีไข้หนาวสั่นร่วมด้วยได้ และหลังจากรอยโรคหายไปอาจมีการทิ้งจุดด่างดำไว้ได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนเป็นแผลเป็น

รอยโรคดังกล่าวจะหายไปได้อย่างรวดเร็วหลังคลอด และมีโอกาสเกิดขึ้นใหม่ได้เมื่อมีประจำเดือน, ใช้ยาคุมกำเนิด หรือมีการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ รอยโรคจะมีความรุนแรงมากหากเกิดโรคขึ้นเร็ว

หากมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของ ESR, hypocalcemia ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ hypoparathyroidism, albuminuria, pyuria และ hematuria ได้

การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจจะพบลักษณะ sterile pustules, spongiform pustules with neutrophils in the epidermis, psoriasiform hyperplasia, and parakeratosis ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้เช่นเดียวกันกับ pustular psoriasis ในคนที่มีตั้งครรภ์

ส่วนสาเหตุในการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน progesterone และอาจมีภาวะ hypocalcemia และ hypoparathyriodism เป็นตัวกระตุ้นได้

Differential diagnosis

  • candidiasis และ impetigo แยกได้โดยการเพาะเชื้อ
  • subcorneal pustular dermatosis
  • dermatitis herpetiformis
  • pustular drug eruptions
  • pemphigoid gestationis

Treatment

ยาที่เริ่มต้นใช้ในการรักษาควรเริ่มเป็น systemic steroid เลย โดยเริ่มจาก high dose glucocorticoids เช่น prednisolone 80 mg ต่อวัน หากมีการตอบสนองที่ดีค่อยมีการลดขนาดยาลงช้าๆ พร้อมกับมีการเฝ้าระวังการกำเริบของโรคด้วย นอกจากนี้ควรมีการรักษาภาวะ hypocalcemia ที่อาจเป็นสาเหตุของการกำเริบของโรคอีกด้วย

โรคนี้อาจก่อนให้เกิด placental insufficiency ได้ ทำให้เกิดการแท้ง ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หรือทำให้เสียชีวิตก่อนคลอดได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

 

References

1.             Vaughan Jones, S.A., et al., A prospective study of 200 women with dermatoses of pregnancy correlating clinical findings with hormonal and immunopathological profiles. Br J Dermatol, 1999. 141(1): p. 71-81.

2.             Bos, J.D., Reappraisal of dermatoses of pregnancy. Lancet, 1999. 354(9185): p. 1140.

3.             F.Gary cunningham, K.J.L., Steven L. Bloom, John C. Hauth, Dwight J. Rouse, Catherine Y. Spong, Williams obstetrics, ed. 23. 2010, United States: The McGraw-Hill Companies.

4.             Vaughan Jones, S.A. and M.M. Black, Pregnancy dermatoses. J Am Acad Dermatol, 1999. 40(2 Pt 1): p. 233-41.

5.             Roger D, V.L., Fignon A, et al, Specific pruritic disease of pregnancy. A prospective study of 3192 pregnant women. Arch Dermatol 1994, 1994. 130(734).

6.             Kroumpouzos, G. and L.M. Cohen, Dermatoses of pregnancy. J Am Acad Dermatol, 2001. 45(1): p. 1-19; quiz 19-22.

7.             Kroumpouzos, G. and L.M. Cohen, Specific dermatoses of pregnancy: an evidence-based systematic review. Am J Obstet Gynecol, 2003. 188(4): p. 1083-92.

8.             Katz, S.I., K.C. Hertz, and H. Yaoita, Herpes gestationis. Immunopathology and characterization of the HG factor. J Clin Invest, 1976. 57(6): p. 1434-41.

9.             Lawley, T.J., et al., Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy. JAMA, 1979. 241(16): p. 1696-9.

10.          Beckett, M.A. and N.S. Goldberg, Pruritic urticarial plaques and papules of pregnancy and skin distention. Arch Dermatol, 1991. 127(1): p. 125-6.

11.          Ambros-Rudolph, C.M., Dermatoses of pregnancy. J Dtsch Dermatol Ges, 2006. 4(9): p. 748-59; quiz 760-1.

12.          Regnier, S., et al., A case-control study of polymorphic eruption of pregnancy. J Am Acad Dermatol, 2008. 58(1): p. 63-7.

13.          Ambros-Rudolph, C.M., et al., The specific dermatoses of pregnancy revisited and reclassified: results of a retrospective two-center study on 505 pregnant patients. J Am Acad Dermatol, 2006. 54(3): p. 395-404.

14.          Shornick, J.K., Dermatoses of pregnancy. Semin Cutan Med Surg, 1998. 17(3): p. 172-81.

15.          Pomeranz, M.K., Dermatoses of pregnancy, in Uptodate. 2010.

16.          Aoyama, Y., et al., Herpes gestationis in a mother and newborn: immunoclinical perspectives based on a weekly follow-up of the enzyme-linked immunosorbent assay index of a bullous pemphigoid antigen noncollagenous domain. Arch Dermatol, 2007. 143(9): p. 1168-72.

17.          Shornick, J.K. and M.M. Black, Secondary autoimmune diseases in herpes gestationis (pemphigoid gestationis). J Am Acad Dermatol, 1992. 26(4): p. 563-6.

18           Luewan S, Sirichotiyakul S, Tongsong T. Recurrent impetigo herpetiformis successfully treated with methotrexate: A case report. J Obstet Gynaecol Res. 2010 Dec 15. [Epub ahead of print].