ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease/ PID)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease/ PID)

นพ.ระพีพัฒน์ เอื้อกิจรุ่งเรือง
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.นพ.สิทธิชา สิริอารีย์


 

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หมายถึง ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน อันได้แก่ มดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis)(1, 2)

อุบัติการณ์ของการเกิดโรค

ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานถึงอุบัติการณ์ของโรคที่ชัดเจน แต่ในต่างประเทศได้มีการเก็บข้อมูลพบว่า ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกด้วยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบถึงปีละ 106,000 ราย และมีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักการรักษาในโรงพยาบาลถึงปีละ 60,000 ราย

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์มากกว่า แต่พบน้อยในสตรีตั้งครรภ์ สตรีวัยก่อนมีระดู สตรีวัยหลังหมดระดู และสตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีการศึกษาแล้วประมาณอยู่ที่ 2,000 US dollar ต่อคน และหากผู้ป่วยมีการพัฒนาของโรคกลายเป็นภาวะปวดในอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง (chronic pelvic pain)จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นถึง 6,000 US dollar ต่อคน

พยาธิกำเนิด (Pathogenesis)

การเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อจากระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนล่างขึ้นสู่ส่วนบนเท่านั้น โดยปกติปากมดลูกจะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเคลื่อนตัวสู่ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน ทำให้ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบนเป็นบริเวณที่ปลอดเชื้อโรค แต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หรือการทำหัตถการผ่านทางช่องคลอดและปากมดลูก จะทำให้เชื้อโรคสามารถเคลื่อนตัวสู่ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน และก่อให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้(1)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบยังสามารถพบได้ในหญิงที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่อุบัติการณ์ค่อนข้างน้อย โดยเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดก่อให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ Streptococci, Staphylococci, Enterobacteriaceae (เชื้อประจำถิ่นที่เป็นสาเหตุหลักคือ Klebsiella spp.,Escherichia coli.,Proteus spp.) ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดจึงก่อโรคในเฉพาะหญิงบางรายเท่านั้น แต่จากการศึกษารายงานว่า ปัจจัยที่มีผลคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อมูกบริเวณปากช่องคลอด และปัจจัยในด้านจำนวนของเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด(3, 4)

เชื้อก่อโรค (Microbiology)

  1. Neisseria gonorrheae คือเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ โดย 15 % ของหญิงที่ติดเชื้อ N.gonorrheae จะพัฒนากลายเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ(5) อาการแสดงของหญิงที่เกิดจากเชื้อนี้จะมีความรุนแรงกว่าการเกิดโรคจากเชื้อ Chlamydia(6) ดังนั้นผู้ป่วยมักมาเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการทำให้มีการพัฒนาของโรคต่อไปกลายเป็นฝีที่ปีกมดลูกน้อยกว่า
  2. Chlamydia trachomatis เป็นอีกเชื้อโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ นอกจากนั้นเชื้อนี้ยังเป็นเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์(7) จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis ร่วมด้วย อาการแสดงของการติดเชื้อโรคนี้จะไม่รุนแรง บางรายอาจไม่แสดงอาการก่อนที่จะกลายเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบก็ได้(6)
  3. Mycoplasma genitalium เป็นอีกเชื้อก่อโรคชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อย โดยสามารถตรวจพบได้ประมาณ 10 % ของผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ(8)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ 35 % มักเกิดจากการติดเชื้อหลายชนิดร่วมกัน เชื้ออื่นๆที่สามารถพบได้ เช่น Atopobium, Sneathia, Leptotrichia, group A and B streptococci, E.coli, Klebsiella spp, Proteus mirabilis, Haemophilus spp, Bacteroides/Prevotella spp, Peptococcus และ Peptostreptococcus spp (9-12)

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)

ปัจจัยด้านเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากที่สุด

  1. การมีคู่นอนหลายคน (Multiple sexual partner) จากการศึกษาพบว่าหญิงที่มีคู่นอนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปในช่วงเวลา 6 เดือนจะเพิ่มโอกาสต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากกว่าคนทั่วไป 3.4 เท่า รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์จะเพิ่มโอกาสต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากกว่าคนทั่วไป 3.2 เท่า นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการมีคู่นอนหลายคนเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (13, 14)
  2. การที่คู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI in partner) โดยเฉพาะการติดเชื้อ gonococcal หรือ chlamydial urethritis ในเพศชายที่ 1 ใน 3 อาจไม่แสดงอาการ ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเพิ่มขึ้น(10)
  3. อายุ (Age) จากการศึกษาพบว่าภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักพบในหญิงอายุช่วง 15-25 ปี มากที่สุด(5) นอกจากนั้นการติดเชื้อซ้ำมักเกิดในหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบตั้งแต่อายุน้อย โดยหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบตั้งแต่อายุน้อยกว่า 15 ปี พบว่ามีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำถึง 54 % และหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในช่วงอายุ 15-19 ปี มีโอกาสติดเชื้อซ้ำ 30%(7)
  4. ประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในอดีต (Previous PID) พบว่า 1 ใน 4 ของหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจมีภาวะการติดเชื้อซ้ำได้(15)
  5. การใส่ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device/ IUD) จากงานวิจัยพบว่าการใส่ห่วงคุมกำเนิดจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเล็กน้อย โดยมักจะเกิดในช่วง 3 สัปดาห์แรก(16)หลังจากการทำหัตถการ หากเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องถอดห่วงคุมกำเนิด(17)
  6. ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอด เช่นการติดเชื้อ bacterial vaginosis(18)

ปัจจัยป้องกัน (Protective factor)

การใช้เครื่องมือคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย (barrier method) สามารถป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณปากมดลูกจากเชื้อ gonococcal และ chlamydial ได้ถึง 50 % หากสามารถใช้ได้อย่างถูกวิธี(19)

การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด (Oral contraceptive pills) ยังมีการศึกษาถึงผลต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ บางงานวิจัยพบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดจะเพิ่มการติดเชื้อ gonococcal และ chlamydial บริเวณปากมดลูก(20) แต่บางงานวิจัยพบว่ายาเม็ดคุมกำเนิดสามารถลดการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ 50%(21)

ลักษณะทางคลินิก (Clinical features)(1)

อาการ (Symptoms)

  1. ปวดท้องน้อย อาจเป็นได้ทั้ง 1 หรือ 2 ข้าง
  2. ตกขาวลักษณะผิดปกติ หรือตกขาวลักษณะเหมือนหนอง (Purulent vaginal discharge)
  3. เจ็บลึกๆขณะมีเพศสัมพันธ์ (deep dyspareunia)
  4. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

อาการแสดง (Signs)

  1. กดเจ็บบริเวณท้องน้อย (lower abdominal tenderness)
  2. เจ็บบริเวณปีกมดลูกขณะที่ตรวจภายใน (Adnexal tenderness)
  3. เจ็บเมื่อมีการโยกปากมดลูกขณะตรวจภายใน (Cervical motion tenderness)
  4. ไข้ > 38.3 องศาเซลเซียส

การวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากอาการและอาการแสดง มีความไวและความจำเพาะที่ต่ำ (positive predictive value 65-90 %) จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม(22)

การตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory test)(1, 2, 22)

  1. Cervical / vaginal swab for Nucleic acid amplification test (NAAT) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ Gonorrhea หรือ Chlamydia (การตรวจไม่พบเชื้อไม่ได้หมายความว่าไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ)
  2. ESR, C-reactive protein, white cell count มีค่าสูงขึ้น แต่ความจำเพาะค่อนข้างต่ำ และในรายที่ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่รุนแรงอาจพบค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  3. การย้อมเชื้อจาก vaginal/ cervical discharge หากตรวจไม่พบเชื้อจะมีความน่าเชื่อถือสูง (negative predictive value 95 %) แต่หากตรวจพบเชื้อจากการย้อมผู้ป่วยอาจไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบก็ได้ (positive predictive value 17 %)
  4. การตรวจด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่การตรวจด้วย doppler ultrasound อาจพบภาวะ increase blood flow ได้ แต่ต้องแยกกับภาวะอื่นด้วย
  5. MRI หรือ CT scan ในอุ้งเชิงกราน เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการแยกโรคระหว่างภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบกับภาวะอื่นออกจากกันได้

เกณฑ์การวินิจฉัย

ต้องมีการตรวจร่างกายพบเกณฑ์การวินิจฉัยขั้นต่ำข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจมีทั้ง 3 ข้อก็ได้

  1. Cervical motion tenderness
  2. Uterine tenderness
  3. Adnexal tenderness

นอกจากนั้นควรตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ตามเกณฑ์การวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยหากมีข้อใดข้อหนึ่งจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น

  1.  ไข้ >38.3°C (oral temperature)
  2. มูกที่ปากมดลูกมีลักษณะคล้ายหนอง
  3. ตรวจพบจำนวนเม็ดเลือกขาวเพิ่มขึ้นจากสารคัดหลั่งในช่องคลอด
  4. elevated erythrocyte sedimentation rate
  5. elevated C-reactive protein
  6. ตรวจพบการติดเชื้อ N. gonorrhoeae / C. trachomatis ที่บริเวณปากมดลูก

การตรวจอื่นที่สามารถวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้

  1. การทำ endometrial sampling แล้วพบว่าผลทางพยาธิวิทยาเป็น endometritis
  2. การตรวจด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) จะสามารถวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ หากโรคดำเนินไปจนเกิดเป็นก้อนฝีบริเวณรังไข่ (tubo-ovarian abscess) หรือมีท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinx)
  3. การผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปทางหน้าท้อง (Laparoscopic examination) ตรวจพบ salpingitis หรือพบภาวะ Perihepatitis (Fitz-Hugh Curtis Syndrome) ซึ่งจะพบในรายที่การอักเสบลุกลามขึ้นไปในช่องท้องส่วนบน

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)(2)

  1. Ectopic pregnancy
  2. Acute appendicitis
  3. Endometriosis
  4. Ovarian cyst with complication
  5. Urinary tract infection
  6. Irritable bowel syndrome
  7. Functional pain (pain of unknown etiology)

การดูแลรักษา (Management)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่ง สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน และสามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้หากอาการอยู่ในระดับ mild หรือ moderate หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรักษาแบบผู้ป่วยใน(1)

  1.  ไม่สามารถแยกโรคกับภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดได้ (surgical condition)
  2.  ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
  3.  อาการรุนแรง เช่น ไข้สูง คลื่นไส้อาเจียนมาก
  4. โรคดำเนินต่อจนกลายเป็นฝีบริเวณปีกมดลูก
  5. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์
  6.  ไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานได้

เป้าหมายของการรักษา (Goals of treatment)(1)

1. เพื่อคงภาวะเจริญพันธ์ให้คงอยู่ (preserve fertility)

2. รักษาการติดเชื้อ (treat infection)

3. บรรเทาอาการของผู้ป่วย (alleviate symptom)

4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน (prevent further complications)

5. ป้องกันภาวะติดเชื้อกระจายไปสู่ตำแหน่งอื่น (prevent spread of infection)

การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคได้ โดยเฉพาะ Gonorrhea และ Chlamydial นอกจากนั้นยังควรให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกลุ่ม anaerobes และ bacterial vaginosis ด้วย

Parenteral regimens(1)

  • Cefotetan 2 g IV every 12 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours or
  • Cefoxitin 2 g IV every 6 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours or
  • Clindamycin 900 mg IV every 8 hours + Gentamycin loading dose IV or IM 2 mg/kg, follow by a maintenance dose 1.5 mg/kg every 8 hours. Single daily dose 3-5 mg/kg can be substituted

การใช้ยาปฎิชีวนะ parenteral regimens ควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำนานอย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมงจึงจะพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน

  • หากเลือก parenteral regimens ที่ใช้ cefotetan / cefoxitin หากต้องการเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานควรเปลี่ยนเป็น doxycycline 100 mg twice daily ต่อจนครบ 14 วัน
  • หากเลือก parenteral regimens ที่ใช้ clindamycin / gentamycin ควรเปลี่ยนเป็น clindamycin 450 mg orally four times daily หรือ doxycycline 100 mg twice daily จนครบ 14 วัน
  • หากวินิจฉัยเป็นฝีบริเวณปีกมดลูก (tubo-ovarian abscess) ควรเปลี่ยนยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเป็น clindamycin 450 mg orally four times daily / metronidazole 500 mg twice daily ร่วมกับ doxycycline 100 mg twice daily จนครบ 14 วัน
  • การใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม 2nd และ 3rd generation cephalosporin เช่น ceftizoxime, cefotaxime, และ ceftriaxone พบว่าประสิทธิภาพในการครอบคลุมเชื้อกลุ่ม anaerobe ได้น้อยกว่า cefotetan หรือ cefoxitin

 

Alternative regimen(1)

 

  • Ampicillin/Sulbactam 3 g IV every 6 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

เป็นสูตรยาที่สามารถใช้ได้เนื่องจากสามารถครอบคลุมเชื้อ gonococcal, chlamydia และ anaerobe สูตรยานี้สามารถใช้รักษาภาวะฝีบริเวณปีกมดลูก (tubo-ovarian abscess) ได้ด้วย

Intramuscular/Oral Treatment(1)

  • Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days
    WITH* or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days or
  • Cefoxitin 2 g IM in a single dose and Probenecid, 1 g orally administered concurrently in a single dose + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days
    WITH or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days or
  • Other parenteral third-generation cephalosporin (e.g., ceftizoxime or cefotaxime) + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days

WITH* or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

เป็นสูตรยาที่เหมาะกับผู้ป่วยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรง จากการศึกษาพบว่าการตอบสนองของผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรนี้ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และหาก การรักษาด้วยยาสูตรนี้แล้วอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง ควรประเมินอาการของผู้ป่วยใหม่อีกครั้งและควรเปลี่ยนสูตรยาเป็นยาปฏิชีวนะที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

Alternative IM/Oral Regimens(1)

  • Azithromycin 500 mg IV daily for 1-2 doses, followed by 250 mg orally daily for 12-14 days or in combination with metronidazole or
  • Azithromycin 1 g orally once a week for 2 weeks + ceftriaxone 250 mg IM single dose (Metronidazole should be considered to provide anaerobic coverage)

เชื่อว่าการให้ยาในสูตรนี้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากการให้ยาทางหลอดเลือดดำ(23)

ในรายที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม cephalosporin สามารถพิจารณาให้ยากกลุ่ม fluoroquinolones 14 วันแทนได้ ร่วมกับการให้ metronidazole 500 mg twice daily 14 วัน

  • Levofloxacin 500 mg orally once daily or
  • Ofloxacin 400 mg twice daily or
  • Moxifloxacin 400 mg orally once daily

อย่างไรก็ตามก่อนทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกก่อน หากผลเพาะเชื้อออกควรให้ยาปฏิชีวนะตามความไวต่อยาตามผลเพาะเชื้อนั้น และหากมีการติดเชื้อ quinolone-resistant N.gonorrhea หรือกลุ่มเชื้อดื้อยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย(1)

  • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มเติม เช่น HIV infection, GC และ chlamydia
  • คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 60 วันก่อนมีอาการ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม และรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ที่สามารถคลุมเชื้อ N.gonorrhea และ C.trachomatis ได้ หากผู้ป่วยไม่มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 60 วันก่อนมีอาการให้รักษาคู่นอนคนสุดท้ายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย

การติดตามอาการ(1)

หญิงที่เข้ารับการรักษาควรได้รับการประเมินหลังการรักษาที่ 72 ชั่วโมง หากผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสูตรรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามอาการไม่ดีขึ้น ควรได้รับการประเมินอาการใหม่ และควรเปลี่ยนการรักษาเป็นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนั้นยังเป็นอีกหนึ่งข้อบ่งชี้ในการรับเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ในรายที่ผลการเพาะเชื้อตรวจพบเชื้อ N.gonorrhea และ C.trachomatis ที่เป็นสาเหตุของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบควรได้รับการตรวจเพาะเชื้อซ้ำหลังจากการรักษาครบ 3 เดือน โดยไม่คำนึงว่าคู่นอนจะได้รับการรักษาด้วยหรือไม่ และหากไม่สามารถตรวจทำได้ภายใน 3 เดือนหลังการรักษา ควรตรวจที่ 12 เดือนหลังการรักษา

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วย HIV

อาการแสดงของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วย HIV จากการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ(24) การรักษาสามารถใช้ยาในสูตร IM/Oral regimens ได้ไม่แตกต่างกับป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ รวมถึงเชื้อก่อโรคในผู้ป่วย HIV ก็ไม่แตกต่างจากป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่สามารถตรวจพบ M.huminis และ streptococcal ได้เพิ่มขึ้น

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วยที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด

จากงานวิจัยพบว่าการใส่ห่วงคุมกำเนิดจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเล็กน้อย โดยมักจะเกิดในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังจากการทำหัตถการ หากเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องถอดห่วงคุมกำเนิด เนื่องจากผลการรักษาไม่แตกต่างกัน(25) และควรประเมินอาการหลังจากการรักษาที่ 48-72 ชั่วโมง โดยที่การศึกษาทำในหญิงที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดไม่มีฮอร์โมน แต่ข้อมูลในส่วนของห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนยังมีการศึกษาที่น้อยอยู่

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว (long-term complication)

การเป็นซ้ำของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Recurrent PID)(26)

ในหญิงที่เคยมีประวัติการเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น โดยเฉพาะหญิงวัยรุ่นจะมีโอกาสการกลับเป็นซ้ำมากกว่าผู้ใหญ่

ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain)(26)

เป็นภาวะที่มีอาการปวดท้องน้อยโดยที่อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนก็ได้ นานเป็นระยะเวลามากกว่า6 เดือน โดยจากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของหญิงที่เคยมีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะกลายเป็นโรคนี้ โดยที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเชื่อว่าเกิดจากพังผืดในอุ้งเชิงกราน และกระบวนการอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อร่วมด้วย

ภาวะมีบุตรยาก (infertility)(26)

เนื่องจากมีการอักเสบภายในอุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดความเสียหายต่อที่นำไข่ ทำให้เกิดพังผืดและทำให้ท่อนำไข่ตันในที่สุด โดยที่สาเหตุมักสัมพันธ์กับการติดเชื้อ C.trachomatis นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาที่ช้าเกินไป โดยข้อมูลพบว่าการรักษาหลังจากที่มีอาการแล้วช้ากว่า 3 วันขึ้นไปจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 3 เท่า

ท้องนอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

การมีรอยแผลหรือพังผืดที่บริเวณท่อนำไข่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดการท้องนอกมดลูก

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)(27)

จากการศึกษาพบว่าหญิงที่มีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้น 2 เท่ามากกว่าคนทั่วไป และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบหลายครั้ง ซึ่งยังไม่ทราบถึงกลไกของการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากผู้ป่วยจะมีภาวะไม่มีบุตรเนื่องจากมีบุตรยากทำให้ความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas R. Frieden M, MPH. Pelvic inflammatory disease. center of disease control and prevention. 2015;64.
  2. Jonathan Ross MC, Ceri Evans, Deirdre Lyons, Gillian Dean, Darren Cousins, PPI representative. 2018 United Kingdom National Guideline for the Management of Pelvic Inflammatory Disease. Public health regulation 1916 venereal disease act 1917. 2018.
  3. Morre SA, Karimi O, Ouburg S. Chlamydia trachomatis: identification of susceptibility markers for ocular and sexually transmitted infection by immunogenetics. FEMS immunology and medical microbiology. 2009;55(2):140-53.
  4. Ness RB, Kip KE, Hillier SL, Soper DE, Stamm CA, Sweet RL, et al. A cluster analysis of bacterial vaginosis-associated microflora and pelvic inflammatory disease. American journal of epidemiology. 2005;162(6):585-90.
  5. Forslin L, Falk V, Danielsson D. Changes in the incidence of acute gonococcal and nongonococcal salpingitis. A five-year study from an urban area of central Sweden. The British journal of venereal diseases. 1978;54(4):247-50.
  6. Reekie J, Donovan B, Guy R, Hocking JS, Kaldor JM, Mak DB, et al. Risk of Pelvic Inflammatory Disease in Relation to Chlamydia and Gonorrhea Testing, Repeat Testing, and Positivity: A Population-Based Cohort Study. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2018;66(3):437-43.
  7. Hillis SD, Nakashima A, Marchbanks PA, Addiss DG, Davis JP. Risk factors for recurrent Chlamydia trachomatis infections in women. American journal of obstetrics and gynecology. 1994;170(3):801-6.
  8. Gaydos C, Maldeis NE, Hardick A, Hardick J, Quinn TC. Mycoplasma genitalium as a contributor to the multiple etiologies of cervicitis in women attending sexually transmitted disease clinics. Sex Transm Dis. 2009;36(10):598-606.
  9. Hebb JK, Cohen CR, Astete SG, Bukusi EA, Totten PA. Detection of novel organisms associated with salpingitis, by use of 16S rDNA polymerase chain reaction. The Journal of infectious diseases. 2004;190(12):2109-20.
  10. Eschenbach DA, Buchanan TM, Pollock HM, Forsyth PS, Alexander ER, Lin JS, et al. Polymicrobial etiology of acute pelvic inflammatory disease. The New England journal of medicine. 1975;293(4):166-71.
  11. Thompson SE, 3rd, Hager WD, Wong KH, Lopez B, Ramsey C, Allen SD, et al. The microbiology and therapy of acute pelvic inflammatory disease in hospitalized patients. American journal of obstetrics and gynecology. 1980;136(2):179-86.
  12. Chow AW, Malkasian KL, Marshall JR, Guze LB. The bacteriology of acute pelvic inflammatory disease. American journal of obstetrics and gynecology. 1975;122(7):876-9.
  13. Flesh G, Weiner JM, Corlett RC, Jr., Boice C, Mishell DR, Jr., Wolf RM. The intrauterine contraceptive device and acute salpingitis: a multifactor analysis. American journal of obstetrics and gynecology. 1979;135(3):402-8.
  14. Kreisel K, Torrone E, Bernstein K, Hong J, Gorwitz R. Prevalence of Pelvic Inflammatory Disease in Sexually Experienced Women of Reproductive Age – United States, 2013-2014. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2017;66(3):80-3.
  15. Westrom L. Effect of acute pelvic inflammatory disease on fertility. American journal of obstetrics and gynecology. 1975;121(5):707-13.
  16. Grimes DA. Intrauterine device and upper-genital-tract infection. Lancet (London, England). 2000;356(9234):1013-9.
  17. Workowski KA, Bolan GA. Sexually transmitted diseases treatment guidelines, 2015. MMWR Recommendations and reports : Morbidity and mortality weekly report Recommendations and reports. 2015;64(Rr-03):1-137.
  18. Ness RB, Hillier SL, Kip KE, Soper DE, Stamm CA, McGregor JA, et al. Bacterial vaginosis and risk of pelvic inflammatory disease. Obstetrics and gynecology. 2004;104(4):761-9.
  19. Ness RB, Randall H, Richter HE, Peipert JF, Montagno A, Soper DE, et al. Condom use and the risk of recurrent pelvic inflammatory disease, chronic pelvic pain, or infertility following an episode of pelvic inflammatory disease. American journal of public health. 2004;94(8):1327-9.
  20. Louv WC, Austin H, Perlman J, Alexander WJ. Oral contraceptive use and the risk of chlamydial and gonococcal infections. American journal of obstetrics and gynecology. 1989;160(2):396-402.
  21. Rubin GL, Ory HW, Layde PM. Oral contraceptives and pelvic inflammatory disease. American journal of obstetrics and gynecology. 1982;144(6):630-5.
  22. Jonathan Ross SG, Marco Cusini and Jorgen Jensen. 2017 European guideline for the management of pelvic inflammatory disease. 2017.
  23. Ness RB, Soper DE, Holley RL, Peipert J, Randall H, Sweet RL, et al. Effectiveness of inpatient and outpatient treatment strategies for women with pelvic inflammatory disease: results from the Pelvic Inflammatory Disease Evaluation and Clinical Health (PEACH) Randomized Trial. American journal of obstetrics and gynecology. 2002;186(5):929-37.
  24. Venugopal S, Gopalan K, Devi A, Kavitha A. Epidemiology and clinico-investigative study of organisms causing vaginal discharge. Indian Journal of Sexually Transmitted Diseases and AIDS. 2017;38(1):69-75.
  25. Tepper NK, Steenland MW, Gaffield ME, Marchbanks PA, Curtis KM. Retention of intrauterine devices in women who acquire pelvic inflammatory disease: a systematic review. Contraception. 2013;87(5):655-60.
  26. Trent M, Haggerty CL, Jennings JM, Lee S, Bass DC, Ness R. Adverse adolescent reproductive health outcomes after pelvic inflammatory disease. Archives of pediatrics & adolescent medicine. 2011;165(1):49-54.
  27. Lin HW, Tu YY, Lin SY, Su WJ, Lin WL, Lin WZ, et al. Risk of ovarian cancer in women with pelvic inflammatory disease: a population-based study. The Lancet Oncology. 2011;12(9):900-4.
Read More
TORCH1

TORCH infection in pregnancy

Torch infection in pregnancy

นพ. ระพีพัฒน์ เอื้อกิจรุ่งเรือง
รศ. สุชยา ลือวรรณ


การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ morbidity และ mortality ในหญิงตั้งครรภ์สูงขึ้น รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย โดยการติดเชื้อที่ส่งผลทั้งมารดาและทารกในครรภ์จะสามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในช่วง ระหว่างการตั้งครรภ์ (antepartum) ระหว่างระยะคลอด (intrapartum) และระยะหลังคลอด (postpartum)(1)

 

Specific Causes of Some Fetal and Neonatal Infections

  • Antepartum
    • Transplacental
    • Viruses: varicella-zoster, Coxsackie, human parvovirus B19, rubella, cytomegalovirus, human immunodeficiency virus
    • Bacteria: listeria, syphilis, Borrelia
    • Protozoa: toxoplasmosis, malaria
  • Ascending infection
    • Bacteria: group B streptococcus, coliforms
    • Viruses: herpes simplex
  • Intrapartum
    • Maternal exposure
      • Bacteria: gonorrhea, chlamydia, group B streptococcus, tuberculosis, mycoplasmas
      • Viruses: herpes simplex, papillomavirus, human immunodeficiency virus, hepatitis B, hepatitis C
  • External contamination
    • Bacteria: staphylococcus, coliforms
    • Viruses: herpes simplex, varicella zoster
  • Postpartum
    • Human transmission: staphylococcus, herpes simplex virus
    • Respirators and catheters: staphylococcus, coliforms

 


 

TORCH infection หรือการติดเชื้อกลุ่ม TORCH เป็นการติดเชื้อไวรัสและโปรโตซัวที่สำคัญที่ส่งผลต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ประกอบด้วย

  • T : Toxoplasmosis
  • O : Other : Parvovirus B19, Zika virus, syphilis
  • R : Rubella
  • C : Cytomegalovirus
  • H : Herpes simplex virus

Toxoplasmosis


TORCH1

เป็นการติดเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii โดยที่โปรโตซัวชนิดนี้มีพาหะหลัก(definite host)คือแมว และมีช่วงชีวิต 3 ระยะคือ

Tachyzoite : เป็นระยะที่มีการติดเชื้อในช่วงแรก เชื้อจะมีการแบ่งตัว (replicated) และแทรกตัว (invade) ผ่านรกทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกได้

Bradyzoite : เป็นการติดเชื้อในระยะพัก (latent phase)

Sporozoite : เป้นระยะที่มีการติดเชื้อในพาหะ (host) จะตรวจพบ oocysts ได้ และสามารถทนต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกได้

สาเหตุของการติดเชื้อ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สุกและมี oocysts ของเชื้อเข้าไป หรือเกิดจากการสัมผัสอุจจาระของแมวที่มีการติดเชื้อ

ระบาดวิทยาของโรค

อัตราการเกิดโรคอยู่ที่ประมาณ 0.8-10 รายต่อ 10,000 ประชากร(2) ความชุกของการติดเชื้อของทารกในครรภ์ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ โดยอายุครรภ์ที่ 13 สัปดาห์พบการติดเชื้อร้อยละ 6 ที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์พบการติดเชื้อร้อยละ 45 และที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์พบการติดเชื้อร้อยละ 72 แต่ทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อายุครรภ์น้อยจะเกิดความรุนแรงของโรคมากกว่า(3)

อาการทางคลินิก (clinical manifestation)

หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มักไม่แสดงอาการในการติดเชื้อช่วงแรก บางรายหญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตุ่มผืน (maculopapular rash) หรือต่อมน้ำเหลืองโตได้ (lymphadenopathy)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ไม่เพิ่มภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction) ทารกที่เกิดมาอาจมีปัญหาน้ำหนักตัวน้อย ตับม้ามโต (hepatospleenomegaly) ตัวเหลือง (jaundice) หรือซีดได้ ทารกที่ติดเชื้อจะมีลักษณะอาการแสดงที่เด่นชัด 3 ประการคือ

1.Chorioretinitis 2. Intracranial calcifications 3. Hydrocephalus

การวินิจฉัย (diagnosis)

การตรวจหาการติดเชื้อโปรโตซัวชนิดนี้จากสารคัดหลั่งได้ยาก ในปัจจุบันใช้การตรวจ IgG และ IgM เพื่อบ่งบอกสถานะการติดเชื้อของหญิงตั้งครรภ์ได้ โดย

IgM จะมีค่า titer ที่สูงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อภายใน 10 วันแรก และจะค่อยลดลงจนไม่สามารถตรวจได้เมื่อการติดเชื้อผ่านไป 3-4 เดือน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจตรวจพบค่า titer ได้จบถึง 1 ปี

IgG จะมีค่า titer ที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อ และจะมีค่า titer สูงที่สุดในช่วง 1-2 เดือนแรก จากนั้น IgG จะคงอยู่ไปตลอด นอกจากนั้นยังมีการใช้ avidity test ในการประเมินระดับ IgG ด้วย โดยหากค่า avidity test ต่อ IgG นั้นมีระดับต่ำจะสัมพันธ์กับ acute infection หากค่า avidity test มีค่าสูง หมายถึงการติดเชื้อน่าจะผ่านมาอย่างน้อย 3-5 เดือนแล้ว

IgA และ IgE ใช้ร่วมในการประเมิน โดยค่า titer จะเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีการติดเชื้อใหม่

หากสงสัยการติดเชื้อของทารกในครรภ์ การตรวจจำเป็นจะต้องใช้วิธี DNA amplification techniques จากน้ำคร่ำหรือเลือดของทารกในครรภ์ ร่วมกับการใช้ การตรวจคลื่นความถี่สูงในการประเมินร่วมด้วย(4)

การดูแลรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองสำหรับการติดเชื้อ toxoplasmosis ยกเว้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่อาศัยในเขตที่มีการเกิดโรคเยอะ โดยที่จะคัดกรอง IgG ก่อนการตั้งครรภ์

การรักษาให้เพื่อเป้าหมายในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของทารกในครรภ์ โดยยาที่ให้คือ spiramycin หากทารกได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อแล้ว มีการศึกษาโดยให้ยาpyrimethamine, sulfonamides, และ folinic acid เพื่อลดจำนวนโปรโตซัว แต่ผลการรักษานั้นยังไม่แน่ชัด ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อโปรโตซัวนี้(5)

 

Parvovirus B19


เป็นการติดเชื้อไวรัสชนิด single-stranded DNA โดยในคนทั่วไปจะทำให้เกิดโรค fifth disease หรือ erythema infectiosum โดยเชื้อนี้จะเข้าไปเจริญในเซลล์ที่มีการเจริญเร็ว โดยเฉพาะ erythrocyte precursors ทำให้เกิดภาวะซีดได้ โดยเฉพาะทารกในครรภ์ โดยการแพร่กระจายของเชื้อจะแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่ง(1)

อาการแสดงทางคลินิก

ร้อยละ 20-30 ของหญิงตั้งครรภ์จะไม่มีอาการแสดงให้เห็น กลุ่มที่มีอาการแสดงจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเอยกล้ามเนื้อ (flulike symptom) ในช่วงแรกจากนั้นจะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า (slapped cheek) บางรายอาจมีอาการผื่นตามลำตัวหรือข้ออักเสบได้

ทารกมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ได้ถึง 1 ใน 3 ของมารดาที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแท้ง ทารกบวมน้ำ(nonimmune hydrops)และ ทารกตายคลอดได้(stillbirth)(6)

การวินิจฉัย

TORCH2

การตรวจ IgG และ IgM ใช้ในการบ่งบอกสถานะของหญิงตั้งครรภ์(6) นอกจากนั้นยังเป็นอีกปัจจัยในการติดตามทารกในครรภ์ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ด้วย ดังแสดงในภาพ

แต่การตรวจ IgM จะเริ่มพบได้หลังจากเกิดการติดเชื้อไปแล้ว 7-10 วัน และจะคงอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ส่วน IgG จะเริ่มตรวจได้หลังจาก IgM มีการสร้างไม่นานนัก

ปัจจุบันมีการตรวจ viral DNA โดยวิธี PCR ในหญิงที่มีอาการสงสัยการติดเชื้อไวรัสนี้ได้

การตรวจทารกในครรภ์สามารถส่ง viral DNA จาก amniotic fluid หรือ fetal blood จากการทำ cordocentesis ก็ได้(7)

การดูแลรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อโรค แต่หากตรวจพบหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ ควรได้รับการดูแลโดยการทำ ultrasound เพื่อติดตามค่า MCA PSV เพื่อดูภาวะซีดของทารกในครรภ์ทุกๆ 2 สัปดาห์จนครบ 10 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ หากทารกมีภาวะซีดจากการติดเชื้อจะมีข้อบ่งชี้ในการให้เลือดผ่านทางสายสะดือ (fetal transfusion)

การป้องกัน (prevention)

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันไวรัสชนิดนี้ รวมถึงยาต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษาเฉพาะโรคด้วย แนะนำให้อยู่ห่างจากผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อนี้

 

Syphilis(8)


ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นแบคทีเรียชนิดเกลียว สามารถติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกได้โดยการแพร่ผ่านรกโดยตรง และขณะคลอดทางช่องคลอดที่มีรอยโรค

อาการแสดงของซิฟิลิส

แบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

ซิฟิลิสปฐมภูมิ(primary syphilis) หลังจากได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวจนเกิดแผล 3 – 90 วัน และจะมีอาการแสดงคือ มีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก บริเวณที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ลักษณะเป็นแผลริมแข็งสีแดง ตุ่มแข็ง ไม่เจ็บ ขอบยกนูน พื้นแผลเรียบ ไม่มีเลือดออกก่อนจะเกิดแผล มักจะไม่มีหนองที่แผล มักพบต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง อาการหายไปได้เองใน 2-8 สัปดาห์

ซิฟิลิสทุติยภูมิ(secondary syphilis) เกิดตามหลังระยะปฐมภูมิประมาณ 4-10 สัปดาห์(หลังจากเกิดแผลริมแข็ง) มีเชื้อปริมาณสูงแพร่ไปทั่วร่างกาย และส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ อวัยวะ อาการสำคัญคือมีผื่นขึ้นบนผิวหนังตามร่างกายแบบ diffuse macular rash และฝ่ามือและฝ่าเท้าแบบ target-like lesions ต่อมน้ำเหลืองโตทั่ว ๆ

ซิฟิลิสระยะแฝง(latent syphilis) แบ่งเป็น 2 ระยะ

  1. ระยะแฝงช่วงต้น(Early latent syphilis) คือไม่มีอาการ และมีประวัติได้รับเชื้อมาน้อยกว่า 1 ปี
  2. ระยะแฝงช่วงปลาย(Late latent syphilis/latent syphilis of unknown duration) คือไม่มีอาการ และมีประวัติได้รับเชื้อมากกว่า 1 ปี หรือไม่ทราบเวลาที่แน่นอนในการติดเชื้อ ในระยะแฝงช่วงปลายจะไม่ถ่ายทอดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แต่ในสตรีตั้งครรภ์สามารถถ่ายทอดเชื้อไปยังทารกได้

ซิฟิลิสระยะตติยภูมิ (tertiary or late syphilis) พบน้อยในสตรีตั้งครรภ์ พบหลังจากระยะปฐมภูมิ ประมาณ 3-10 ปี หรืออาจช้ากว่านี้ ในระยะนี้จะตรวจพบรอยโรคที่ผิวหนัง เยื่อบุ กระดูก ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ ตับ ม้าม มีการทำลายของระบบประสาท(neurosyphilis) และระบบหัวใจหลอดเลือด(vascular syphilis) และอวัยวะอื่น ๆ

การวินิจฉัย

ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร่วมกับประวัติและการตรวจร่างกาย

  • ตรวจหาเชื้อ Treponema pallidum นำน้ำเหลืองจากแผลไปส่องด้วยกล้อง dark field microscope
  • การทดสอบแอนติบอดีที่ไม่จำเพาะ(nontreponemal test) ได้แก่ Venereal disease research laboratory (VDRL) และ Rapid plasma reagin (RPR) มีความจำเพาะต่ำ แต่ใช้ในการคัดกรองและติดตามผลการรักษา บอกค่าเป็น titer โดยทั่วไปในระยะทุติยภูมิค่ามักจะมากกว่า 1:32
  • การทดสอบแอนติบอดีที่จำเพาะ(treponemal test) ได้แก่ fluorescent treponemal-antibody absorption tests(FTA-ABS), microhemagglutination assay for antibodies to T.pallidum (MHA-TP) หรือ Treponema pallidum passive particle agglutination (TPPA/TPHA) test, Treponama pallidum enzyme immunoassay (TP-EIA), และ Chemiluminescence immunoassay (CIA) ใช้ในการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ให้ผลบวกได้นานหลังการรักษาแล้ว จึงไม่ใช้ในการติดตามการรักษา

การรักษา(9)

ซิฟิลิสช่วงต้น(Early infectious stage) ได้แก่ ซิฟิลิสปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ระยะแฝงช่วงต้น

  • Benzathine penicillin G 2.4 ล้านยูนิต IM ครั้งเดียว (ให้แบ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกข้างละ 1.2 ล้านยูนิต และอาจลดอาการปวดจากการฉีด โดยผสมกับ 1%lidocaine ที่ไม่มี epinephrine จำนวน 0.5- 1ml) กรณีแพ้ยา penicillin ให้รักษาด้วย penicillin หลัง desensitization หรือ
  • Ceftriaxone 1-2 gm IV หรือ IM วันละ 1 ครั้ง นาน 10-14 วัน หรือ
  • Erythromycin sterate 500 mg กินวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารนาน 14 วัน

Erythromycin ให้ผลการรักษาต่ำ ผ่าน blood brain barrier และ placental barrier ได้ไม่ดี ทารกต้องได้รับการตรวจเลือด และติดตามดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด (CDC 2015 ไม่แนะนำให้ใช้ erythromycin แล้ว)

ซิฟิลิสช่วงปลาย(Late infectious stage) ได้แก่ ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงปลาย ซิฟิลิสตติยภูมิ ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ยกเว้นซิฟิลิสระบบประสาท

  • Benzathine penicillin G รวม 7.2 ล้านยูนิต, แบ่งให้ 3 ครั้ง ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิต IM ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์กรณีแพ้ยา penicillin ให้รักษาด้วย penicillin หลัง desensitization

ซิฟิลิสระบบประสาท(neurosyphilis) และซิฟิลิสที่เข้าดวงตา(ocular syphilis/uveitis)

  • Aqueous crystalline penicillin G 3-4 ล้าน ยูนิต IV ทุก 4 ชั่วโมง (18-24 ล้านยูนิตต่อวัน) นาน 10 – 14 วัน หรือใช้ตำรับรอง
  • Procaine penicillin G 2.4 ล้านยูนิต IM วันละครั้ง ร่วมกับ Probenecid 500 mg รับประทานวันละ 4 ครั้ง นาน 10–14 วัน
  • Ceftriaxone 2 gm IV หรือ IM วันละ 1 ครั้ง นาน 10-14 วัน (ข้อมูลการใช้จำกัด ในสตรีตั้งครรภ์ และนำให้ใช้วิธี desensitization ในกรณีที่แพ้ penicillin)

 

Zika virus(1)


เป็นการติดเชื้อไวรัส RNA ในวงศ์ Flavivirdae ซึ่งมีพาหะหลัก (definite host) คือยุง นอกจากนั้นยังสามารถติดเชื้อจากสารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธุ์ได้ด้วย

อาการแสดงทางคลินิก

ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ Zika virus มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยเช่น ผื่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ หรือ เยื่อบุตาอักเสบได้ ในช่วงแรกของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสสามารถตรวจพบได้จากเลือดของผู้ป่วยและเชื้อจะคงอยู่อย่างน้อยสัปดาห์ถึงเดือน ทารกที่ติดเชื้อ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะใช้การตรวจหสารพันธุกรรม RNA ของเชื้อจากเลือดหรือปัสสาวะของผู้ป่วย ส่วนการตรวจ IgM antibody assays สามารถใช้ตรวจได้แต่อาจให้ผลบวกในการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นในวงศ์ Flavivirus ได้

ในปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองทุกราย แต่ควรได้รับการตรวจคัดกรองในรายที่มีการเดินทางไปในเขตที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ Zika virus

การดูแลรักษาและการป้องกัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อโรค รวมทั้งวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อเช่นกัน

 

Rubella หรือ German measles(1)


หัดเยอรมัน (rubella) เป็น RNA togavirus การติดเชื้อในหญิงไม่ตั้งครรภ์ไม่มีความสำคัญมากนัก แต่หากเกิดการติดเชื้อช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (14 สัปดาห์แรก)จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรและทารกในครรภ์มีความพิการชนิดรุนแรงไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งของ จมูกและคอ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิต้านทานหากสัมผัสกับ สารคัดหลั่งจะมีอัตราการติดเชื้อถึงประมาณร้อยละ 80 ใน ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ หัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ลดลงเพราะมีการสร้างภูมิ ต้านทานด้วยวัคซีนแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

อาการแสดงทางคลินิก

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อ อาการมักไม่รุนแรงเช่น ไข้ ผื่นชนิด maculopapular กระจายทั่ว ๆ โดยเริ่มจากใบหน้าลามสู่ลำตัวและแขนขา ปวดตามข้อ ข้ออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหัวและคอโต เยื่อบุตาอักเสบอีกประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ

เมื่อมีการติดเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 12 ถึง 23 วัน โดยทั่วไปภาวะเลือดมีไวรัส (viremia) จะเกิดประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนผู้ป่วยแสดงอาการ ระยะแพร่เชื้อจะเกิดในช่วงภาวะเลือดมีไวรัส ได้แก่ 1 สัปดาห์ก่อนมีอาการ จนถึง 5 ถึง 7 วันหลังเริ่มมีผื่น

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยใช้การตรวจวิเคราะห์วิทยาเซรุ่ม (serology) ดังนี้

  • ตรวจหาระดับ IgM antibody ด้วยวิธี enzymelinked immunoassay ซึ่งเริ่มพบ 4 ถึง 5 วันหลังจากเริ่มมีอาการแสดงทางคลินิกและคงอยู่จนถึงประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากผื่นเริ่มขึ้น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือระดับ IgM antibodyนี้ สามารถเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยอย่างชั่วคราวเมื่อมีการรับเชื้อใหม่ (reinfection)
  • ตรวจหาระดับ IgG antibody ซึ่งมีระดับสูงสุดหลังจากเกิดผื่นประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ การเพิ่มขึ้นของระดับ antibody อย่างรวดเร็วนี้อาจก่อให้เกิดความซับซ้อนในการวินิจฉัยเว้นแต่ได้เจาะเก็บเลือดครั้งแรกภายใน 2 ถึง 3วันหลังจากเริ่มมีผื่นร่วมด้วย แต่หากไม่มีผลเลือดช่วง 2 ถึง 3วันหลังจากเริ่มมีผื่น การตรวจพบ IgG antibody ไม่สามารถแยกโรคระหว่างการติดเชื้อเฉียบพลันกับการมีอยู่แล้วของภูมิต้านทานได้
  • การทดสอบ IgG ที่มีมาก (avidity) โดยหากพบว่ามีระดับสูงแสดงว่าการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเกิดมานานอย่างน้อย 2 เดือนที่ผ่านมา
  • การแยกเชื้อไวรัส หัดเยอรมัน จากปัสสาวะ เลือด ของเหลวจากบริเวณจมูกร่วมคอ (nasopharynx) และน้ำไขสันหลัง (spinal fluid) ซึ่งพบเป็นระยะเวลาได้ถึง 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีผื่น

ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันในครรภ์ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการอย่างรุนแรงโดยจะสูง ที่สุดหากหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์แรก (ประมาณร้อยละ 90)(10) จากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ ประมาณร้อยละ 54 และ 25 หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อช่วง อายุครรภ์ 13-14 สัปดาห์และช่วงสิ้นสุดไตรมาสที่สอง ตามลำดับ

แนวทางการรักษาและการป้องกัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอย่างจำเพาะสำหรับการติดเชื้อหัดเยอรมัน

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่มีไข้หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ บุคคลใกล้ชิดที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยแนะนำให้ป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายทางละอองเสมหะ และการสัมผัสเยื่อบุตา เยื่อบุปากและจมูก โดยการสวมผ้าปิดปากประมาณ 7 วันหลังเกิดผื่นเพื่อป้องกันการกระจายโรค

การป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention) ทำได้โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกรายที่ยังไม่มีภูมิและไม่ตั้งครรภ์(11) ปัจจุบันวัคซีนที่ใช้คือ วัคซีน MMR เนื่องจากวัคซีนเป็นชนิดเชื้อมีชีวิต (attenuated live virus) หญิงที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้องมีการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังได้รับ

Cytomegalovirus(1)


CMV เป็นไวรัสชนิด DNA มีรายงานในประเทศพัฒนาแล้วพบว่าร้อยละ 0.2 ถึง 2.2 ของทารกแรกเกิดมีการ ติดเชื้อนี้(12) สำหรับประเทศไทยยังไม่มีรายงานอุบัติการณ์ทารกแรกเกิดติดเชื้อนี้แน่ชัด เมื่อมีการติดเชื้อจะตรวจพบไวรัสได้ ในสารคัดหลั่งทุกชนิดของร่างกาย ดังนั้นจึงแพร่กระจายเชื้อ ระหว่างบุคคลผ่านได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง

เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส CMV ครั้งแรกเชื้อจะซ่อนตัวอยู่ใน ร่างกายอย่างสงบ (latent) แต่สามารถถูกกระตุ้นให้กระจายเชื้อไวรัสออกได้อีกเป็นครั้งคราวคล้ายเชื้อไวรัสกลุ่มเริม โดยการกระตุ้นให้กระจายเชื้ออีกครั้งซึ่งเกิดได้แม้มีระดับ IgG antibody อยู่ในระดับสูงดังนั้นการตรวจพบ ว่าหญิงตั้งครรภ์มี IgG antibody แล้วก็ไม่สามารถป้องกันการกลับมาใหม่ (recurrence) การปลุกฤทธิ์คืน (reactivation) การติดเชื้อซ้ำ (reinfection) และไม่สามารถลดการติดเชื้อของทารกในครรภ์ตลอดจนทารกแรกเกิดได้อย่างสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้นการปลุกฤทธิ์คืนของโรคมักไม่มีอาการแต่ยังคงสามารถกระจายเชื้อต่อได้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิต้านทานหากเกิดการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ (primary infection) ระหว่างการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงสุดที่ทารกในครรภ์จะมีการติดเชื้อ โดยพบทารกติดเชื้อ CMVตั้งแต่กำเนิดประมาณร้อยละ 25 ถึง 60 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อปฐมภูมิ โดยพบประมาณร้อยละ36, 40 และ 65 เมื่อมีการติดเชื้อในไตรมาสที่หนึ่ง สองและสามตามลำดับ สำหรับการติดเชื้อซ้ำพบทารกติดเชื้อ CMV ตั้งแต่กำเนิด ร้อยละ 0.15 ถึง 1

อาการแสดงทางคลินิก

หญิงตั้งครรภ์ภูมิคุ้มกันปกติส่วนใหญ่ไม่มีอาการ เพียงประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 อาจมีอาการคล้ายกลุ่มอาการ mononucleosis ได้แก่ ไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโตและข้ออักเสบได้ ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunocompromise) อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้

ทารกที่ติดเชื้อ CMV แต่กำเนิดส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดง เพียงร้อยละ 10 แสดงอาการตามระบบได้แก่ ตัวเหลือง ตับม้ามโต จุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนัง (petechiae) ผื่นจ้ำเขียวบนผิวหนัง (purpuric rash) เจริญเติบโตในครรภ์บกพร่อง (intrauterine growth retardation) น้ำหนักตัวน้อย หายใจลำบาก (respiratory distress) การอักเสบของคอรอยด์และเรตินา (chorioretinitis) ระดับความสามารถทางสมองและประสาทสั่งการบกพร่อง(mental and motor retardation) และ ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia)

การวินิจฉัย

ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกกรองในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย เว้นสงสัยการติดเชื้อ เช่น ตรวจพบลักษณะผิดปกติของทารกในครรภ์จากภาพคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ หญิงตั้งครรภ์มีอาการคล้าย mononucleosis

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อมี ดังนี้

  • การตรวจวิเคราะห์ CMV IgG antibody ในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ 2 ครั้ง คือช่วง เฉียบพลัน (acute) และช่วงพักฟื้น (convalescent) ตรวจระดับ CMV IgM antibody มีความแม่นยำน้อยเนื่องจากไม่สามารถช่วยวินิจฉัยระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับภูมิต้านทานได้อย่างถูกต้อง ระดับ CMV IgM อาจเพิ่มสูงขึ้นได้ นานมากกว่า 1 ปี และพบได้ช่วงการปลุกฤทธิ์คืนหรือการติดเชื้อซ้ำโดยเชื้อสายพันธุ์ใหม่
  • การตรวจระดับ specific CMV IgG avidity มีประโยชน์อย่างมากในการยืนยันการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ ระดับ anti-CMV IgG avidity สูง บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ ของหญิงตั้งครรภ์มาก่อนหน้าการเก็บเลือดตรวจมากกว่า 6 เดือน
  • การเพาะเชื้อไวรัสมีส่วนช่วยได้ แต่ใช้เวลาอย่างน้อย 21 วันในการรายงานผลว่าเพาะเชื้อไม่ขึ้น
  • วิธีตรวจมาตรฐานเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ CMV แต่กำเนิด ได้แก่การเพาะเชื้อไวรัส การตรวจ CMV nucleic acid amplification จากน้ำคร่ำซึ่งมีความไวร้อยละ 70 ถึง 99 โดยความไวสูงสุดเมื่อทำการเจาะเยื่อถุงน้ำคร่ำ (amniocentesis) เพื่อเก็บน้ำคร่ำอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามหากได้ผลลบไม่ สามารถตัดการติดเชื้อของทารกในครรภ์ได้ทั้งหมด และอาจต้องเจาะซ้ำหากสงสัยการติดเชื้อมากหรือการเจาะหลอด เลือดสายสะดือ (cordocentesis) เพื่อนำเลือดทารกตรวจ CMV Ig M antibody หรือเพาะเชื้อไวรัสตรวจ CMV nucleic acid amplification

TORCH3

การดูแลรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อนี้ ในคนไข้ที่มีการติดเชื้อในปัจจุบันจะเป็นการรักษาตามอาการ ยังไม่มียที่ใช้จำเพาะ มีงานวิจัยที่ศึกษาการใช้ยา ganciclovir กินและ valacyclovir แบบฉีด พบว่าได้ผลดีต่อทารกในครรภ์ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อเสนอแนะที่ชัดแจนในการใช้ยารักษา(13)

Herpes simplex virus


เกิดจากการติดเชื้อ Herpes simplex virus ซึ่งมี 2 ชนิด ชนิดที่ 1 มักทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณปาก หรือลำตัวเหนือสะดือ ชนิดที่ 2 มักทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก โดยที่ เชื้อ herpes simplex virus ชนิดที่ 1 จะมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์น้อยกว่าชนิดที่ 2 รวมทั้งในผู้ป่วยใหม่ที่มีการติดเชื้อ herpes simplex virus มักเกิดจากเชื้อชนิดที่ 1 มากกว่าด้วย

อาการแสดงทางคลินิก

  • การติดเชื้อปฐมภูมิ(first episode primary infection) คือการติดเชื้อครั้งแรก โดยไม่มีหลักฐานว่าเคยติดเชื้อมาก่อน ระยะฟักตัว 6-8 วัน มีไข้อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และมีตุ่มน้ำเจ็บคัน อาการหายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์
  • first episode non-primary infection คือ มีอาการครั้งแรก แยกเชื้อเริมได้จากรอยโรค แต่มี antibody ต่อเชื้อเริมคนละสายพันธุ์ ช่วยให้อาการไม่รุนแรง
  • การติดเชื้อซ้ำ(Reactivation หรือ Recurrence) อาการค่อนข้างน้อย หายเร็วกว่า มักเป็นบ่อยในช่วง 1 ปีแรกของการติดเชื้อเริม

การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สามารถเกิดการติดเชื้อได้จาก 3 ทางคือ

  • ติดเชื้อจากรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างคลอด รวมถึงการที่เชื้อมีการกระจายเข้าสู่โพรงมดลูกหลังมีน้ำเดิน ร้อยละ 85
  • ติดเชื้อระยะหลังคลอด พบได้น้อย ร้อยละ 10
  • ติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ ร้อยละ 5

อัตราการติดเชื้อสู่ทารกพบ 0.5-1 ใน 10000 ทารกแรกคลอด โดยที่ทารกที่มีการติดเชื้อ ร้อยละ 40 จะมีการติดเชื้อเฉพาะที่ เช่น ตา ผิวหนัง หรือปาก เป็นต้น ต่อมาจะเกิด encephalitis ร้อยละ 30 และสุดท้ายจะเกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย ร้อยละ 32

การวินิจฉัย(8, 9)

ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรอบเชื้อ herpes ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย หากมีอาการจึงจะมีการตรวจเพิ่มเติม โดยเอาสารคัดหลังบริเวณที่มีรอยโรคไปทำการตรวจ PCR หรือเพาะเชื้อ โดย PCR มีความไวมากกว่าการเพาะเชื้อ

การตรวจ serological assay สามารถใช้ได้ โดย IgG จะตรวจพบหลังมีการติดเชื้อครั้งแรกภายใน 1-2 สัปดาห์

การดูแลรักษา

สำหรับการติดเชื้อและมีอาการครั้งแรก

  • Acyclovir 400 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 7–10 วัน หรือ
  • Valacyclovir 1 g รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 7–10 วัน

กรณีการติดเชื้อซ้ำ

  • Acyclovir 400 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน หรือ
  • Acyclovir 800 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน หรือ
  • Acyclovir 800 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 2 วัน หรือ
  • Valacyclovir 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือ
  • Valacyclovir 1 gm รับประทานวันละ 1 ครั้ง นาน 5 วัน

การให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ(suppressive therapy) ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้ โดยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค ให้ยาดังนี้ (แนะนำให้เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์)

  • Acyclovir 400 mg รับประทาน 3 ครั้งต่อวัน หรือ
  • Valacyclovir 500 mg รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Williams JW. infectious disease. 2013(64):1239.
  2. JP D. Sources of Toxoplasma gondii infection in pregnancy. Until rates of congenital toxoplasmosis fall, control measures are essential. BMJ 321:127. 2000.
  3. SYROCOT (Systematic Review on Congenital Toxoplasmosis) Study Group. a metaanalysis of individual patients’ data Lancet. 2007;369:115.
  4. Sterkers Y PF, Albaba S, et al. Novel interpretation of molecular diagnosis of congenital toxoplasmosis according to gestational age at the time of maternal infection. J Clin Microbiol. 2012;3944, 2012.
  5. Hotop A HH, Gross U. Efficacy of rapid treatment initiation following primary Toxoplasma gondii infection during pregnancy. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2012.
  6. Bonvicini F PC, Salfi NC, et al. Gestational and fetal outcomes in B19 maternal infection: a problem of diagnosis. J Clin Microbiol. 2011;49(10):3514.
  7. Weiffenbach J BR, Gloning KP, et al. Serological and virological analysis of maternal and fetal blood samples in prenatal human parvovirus B19 infection. The Journal of infectious diseases. 2012;205(5):782.
  8. Cunningham FG LK, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, et al. sexual transmitted disease. Williams obstetrics 24th edition. 2013.
  9. Centers for Disease Control and Prevention. Sexually transmitted diseases treatment guidelines. MMWR Recomm Rep 2015. 2015;64(RR-03):1-137.
  10. Zimmerman LA RS. Rubella (German measles). Harrison’s Principles of Internal Medicine, 18th edNew York, McGraw-Hill. 2012.
  11. Coonrod DV JB, Boggess KA, et al. The clinical content of preconception care: infectious diseases in preconception care. American journal of obstetrics and gynecology. 2008.
  12. Kenneson A CM. Review and meta-analysis of the epidemiology of congenital cytomegalovirus (CMV) infection. Rev Med Virol 2007(17:253).
  13. Kimberlin DW LC, Sanchez PJ, et al. Effect of ganciclovir therapy on hearing in symptomatic congenital cytomegalovirus disease involving the central nervous system: a randomized, controlled trial. J Pediatr 2003.

 

 

Read More

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease/ PID)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease/ PID)

นพ.ระพีพัฒน์ เอื้อกิจรุ่งเรือง
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.นพ.สิทธิชา สิริอารีย์


 

 

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หมายถึง ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน อันได้แก่ มดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis)(1, 2)

อุบัติการณ์ของการเกิดโรค

ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานถึงอุบัติการณ์ของโรคที่ชัดเจน แต่ในต่างประเทศได้มีการเก็บข้อมูลพบว่า ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกด้วยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบถึงปีละ 106,000 ราย และมีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักการรักษาในโรงพยาบาลถึงปีละ 60,000 ราย

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์มากกว่า แต่พบน้อยในสตรีตั้งครรภ์ สตรีวัยก่อนมีระดู สตรีวัยหลังหมดระดู และสตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีการศึกษาแล้วประมาณอยู่ที่ 2,000 US dollar ต่อคน และหากผู้ป่วยมีการพัฒนาของโรคกลายเป็นภาวะปวดในอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง (chronic pelvic pain)จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นถึง 6,000 US dollar ต่อคน

พยาธิกำเนิด (Pathogenesis)

การเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อจากระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนล่างขึ้นสู่ส่วนบนเท่านั้น โดยปกติปากมดลูกจะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเคลื่อนตัวสู่ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน ทำให้ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบนเป็นบริเวณที่ปลอดเชื้อโรค แต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หรือการทำหัตถการผ่านทางช่องคลอดและปากมดลูก จะทำให้เชื้อโรคสามารถเคลื่อนตัวสู่ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน และก่อให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้(1)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบยังสามารถพบได้ในหญิงที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่อุบัติการณ์ค่อนข้างน้อย โดยเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดก่อให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ Streptococci, Staphylococci, Enterobacteriaceae (เชื้อประจำถิ่นที่เป็นสาเหตุหลักคือ Klebsiella spp.,Escherichia coli.,Proteus spp.) ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดจึงก่อโรคในเฉพาะหญิงบางรายเท่านั้น แต่จากการศึกษารายงานว่า ปัจจัยที่มีผลคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อมูกบริเวณปากช่องคลอด และปัจจัยในด้านจำนวนของเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด(3, 4)

เชื้อก่อโรค (Microbiology)

  1. Neisseria gonorrheae คือเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ โดย 15 % ของหญิงที่ติดเชื้อ N.gonorrheae จะพัฒนากลายเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ(5) อาการแสดงของหญิงที่เกิดจากเชื้อนี้จะมีความรุนแรงกว่าการเกิดโรคจากเชื้อ Chlamydia(6) ดังนั้นผู้ป่วยมักมาเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการทำให้มีการพัฒนาของโรคต่อไปกลายเป็นฝีที่ปีกมดลูกน้อยกว่า
  2. Chlamydia trachomatis เป็นอีกเชื้อโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ นอกจากนั้นเชื้อนี้ยังเป็นเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์(7) จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis ร่วมด้วย อาการแสดงของการติดเชื้อโรคนี้จะไม่รุนแรง บางรายอาจไม่แสดงอาการก่อนที่จะกลายเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบก็ได้(6)
  3. Mycoplasma genitalium เป็นอีกเชื้อก่อโรคชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อย โดยสามารถตรวจพบได้ประมาณ 10 % ของผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ(8)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ 35 % มักเกิดจากการติดเชื้อหลายชนิดร่วมกัน เชื้ออื่นๆที่สามารถพบได้ เช่น Atopobium, Sneathia, Leptotrichia, group A and B streptococci, E.coli, Klebsiella spp, Proteus mirabilis, Haemophilus spp, Bacteroides/Prevotella spp, Peptococcus และ Peptostreptococcus spp (9-12)

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)

ปัจจัยด้านเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากที่สุด

  1. การมีคู่นอนหลายคน (Multiple sexual partner) จากการศึกษาพบว่าหญิงที่มีคู่นอนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปในช่วงเวลา 6 เดือนจะเพิ่มโอกาสต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากกว่าคนทั่วไป 3.4 เท่า รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์จะเพิ่มโอกาสต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมากกว่าคนทั่วไป 3.2 เท่า นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการมีคู่นอนหลายคนเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (13, 14)
  2. การที่คู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI in partner) โดยเฉพาะการติดเชื้อ gonococcal หรือ chlamydial urethritis ในเพศชายที่ 1 ใน 3 อาจไม่แสดงอาการ ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเพิ่มขึ้น(10)
  3. อายุ (Age) จากการศึกษาพบว่าภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมักพบในหญิงอายุช่วง 15-25 ปี มากที่สุด(5) นอกจากนั้นการติดเชื้อซ้ำมักเกิดในหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบตั้งแต่อายุน้อย โดยหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบตั้งแต่อายุน้อยกว่า 15 ปี พบว่ามีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำถึง 54 % และหญิงที่เริ่มมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในช่วงอายุ 15-19 ปี มีโอกาสติดเชื้อซ้ำ 30%(7)
  4. ประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในอดีต (Previous PID) พบว่า 1 ใน 4 ของหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจมีภาวะการติดเชื้อซ้ำได้(15)
  5. การใส่ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device/ IUD) จากงานวิจัยพบว่าการใส่ห่วงคุมกำเนิดจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเล็กน้อย โดยมักจะเกิดในช่วง 3 สัปดาห์แรก(16)หลังจากการทำหัตถการ หากเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องถอดห่วงคุมกำเนิด(17)
  6. ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอด เช่นการติดเชื้อ bacterial vaginosis(18)

ปัจจัยป้องกัน (Protective factor)

การใช้เครื่องมือคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย (barrier method) สามารถป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณปากมดลูกจากเชื้อ gonococcal และ chlamydial ได้ถึง 50 % หากสามารถใช้ได้อย่างถูกวิธี(19)

การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด (Oral contraceptive pills) ยังมีการศึกษาถึงผลต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ บางงานวิจัยพบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดจะเพิ่มการติดเชื้อ gonococcal และ chlamydial บริเวณปากมดลูก(20) แต่บางงานวิจัยพบว่ายาเม็ดคุมกำเนิดสามารถลดการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ 50%(21)

ลักษณะทางคลินิก (Clinical features)(1)

อาการ (Symptoms)

  1. ปวดท้องน้อย อาจเป็นได้ทั้ง 1 หรือ 2 ข้าง
  2. ตกขาวลักษณะผิดปกติ หรือตกขาวลักษณะเหมือนหนอง (Purulent vaginal discharge)
  3. เจ็บลึกๆขณะมีเพศสัมพันธ์ (deep dyspareunia)
  4. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

อาการแสดง (Signs)

  1. กดเจ็บบริเวณท้องน้อย (lower abdominal tenderness)
  2. เจ็บบริเวณปีกมดลูกขณะที่ตรวจภายใน (Adnexal tenderness)
  3. เจ็บเมื่อมีการโยกปากมดลูกขณะตรวจภายใน (Cervical motion tenderness)
  4. ไข้ > 38.3 องศาเซลเซียส

การวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากอาการและอาการแสดง มีความไวและความจำเพาะที่ต่ำ (positive predictive value 65-90 %) จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม(22)

การตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory test)(1, 2, 22)

  1. Cervical / vaginal swab for Nucleic acid amplification test (NAAT) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ Gonorrhea หรือ Chlamydia (การตรวจไม่พบเชื้อไม่ได้หมายความว่าไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ)
  2. ESR, C-reactive protein, white cell count มีค่าสูงขึ้น แต่ความจำเพาะค่อนข้างต่ำ และในรายที่ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่รุนแรงอาจพบค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  3. การย้อมเชื้อจาก vaginal/ cervical discharge หากตรวจไม่พบเชื้อจะมีความน่าเชื่อถือสูง (negative predictive value 95 %) แต่หากตรวจพบเชื้อจากการย้อมผู้ป่วยอาจไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบก็ได้ (positive predictive value 17 %)
  4. การตรวจด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่การตรวจด้วย doppler ultrasound อาจพบภาวะ increase blood flow ได้ แต่ต้องแยกกับภาวะอื่นด้วย
  5. MRI หรือ CT scan ในอุ้งเชิงกราน เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการแยกโรคระหว่างภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบกับภาวะอื่นออกจากกันได้

เกณฑ์การวินิจฉัย

ต้องมีการตรวจร่างกายพบเกณฑ์การวินิจฉัยขั้นต่ำข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจมีทั้ง 3 ข้อก็ได้

  1. Cervical motion tenderness
  2. Uterine tenderness
  3. Adnexal tenderness

นอกจากนั้นควรตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ตามเกณฑ์การวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยหากมีข้อใดข้อหนึ่งจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น

  1. ไข้ >38.3°C (oral temperature)
  2. มูกที่ปากมดลูกมีลักษณะคล้ายหนอง
  3. ตรวจพบจำนวนเม็ดเลือกขาวเพิ่มขึ้นจากสารคัดหลั่งในช่องคลอด
  4. elevated erythrocyte sedimentation rate
  5. elevated C-reactive protein
  6. ตรวจพบการติดเชื้อ N. gonorrhoeae / C. trachomatis ที่บริเวณปากมดลูก

การตรวจอื่นที่สามารถวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้

  1. การทำ endometrial sampling แล้วพบว่าผลทางพยาธิวิทยาเป็น endometritis
  2. การตรวจด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) จะสามารถวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ หากโรคดำเนินไปจนเกิดเป็นก้อนฝีบริเวณรังไข่ (tubo-ovarian abscess) หรือมีท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinx)
  3. การผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปทางหน้าท้อง (Laparoscopic examination) ตรวจพบ salpingitis หรือพบภาวะ Perihepatitis (Fitz-Hugh Curtis Syndrome) ซึ่งจะพบในรายที่การอักเสบลุกลามขึ้นไปในช่องท้องส่วนบน

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)(2)

  1. Ectopic pregnancy
  2. Acute appendicitis
  3. Endometriosis
  4. Ovarian cyst with complication
  5. Urinary tract infection
  6. Irritable bowel syndrome
  7. Functional pain (pain of unknown etiology)

การดูแลรักษา (Management)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่ง สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน และสามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้หากอาการอยู่ในระดับ mild หรือ moderate หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรักษาแบบผู้ป่วยใน(1)

  1. ไม่สามารถแยกโรคกับภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดได้ (surgical condition)
  2. ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
  3. อาการรุนแรง เช่น ไข้สูง คลื่นไส้อาเจียนมาก
  4. โรคดำเนินต่อจนกลายเป็นฝีบริเวณปีกมดลูก
  5. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์
  6. ไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานได้

เป้าหมายของการรักษา (Goals of treatment)(1)

  1. เพื่อคงภาวะเจริญพันธ์ให้คงอยู่ (preserve fertility)
  2. รักษาการติดเชื้อ (treat infection)
  3. บรรเทาอาการของผู้ป่วย (alleviate symptom)
  4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน (prevent further complications)
  5. ป้องกันภาวะติดเชื้อกระจายไปสู่ตำแหน่งอื่น (prevent spread of infection)

การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคได้ โดยเฉพาะ Gonorrhea และ Chlamydial นอกจากนั้นยังควรให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกลุ่ม anaerobes และ bacterial vaginosis ด้วย

Parenteral regimens(1)

  • Cefotetan 2 g IV every 12 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours or
  • Cefoxitin 2 g IV every 6 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours or
  • Clindamycin 900 mg IV every 8 hours + Gentamycin loading dose IV or IM 2 mg/kg, follow by a maintenance dose 1.5 mg/kg every 8 hours. Single daily dose 3-5 mg/kg can be substituted

การใช้ยาปฎิชีวนะ parenteral regimens ควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำนานอย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมงจึงจะพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน

  • หากเลือก parenteral regimens ที่ใช้ cefotetan / cefoxitin หากต้องการเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานควรเปลี่ยนเป็น doxycycline 100 mg twice daily ต่อจนครบ 14 วัน
  • หากเลือก parenteral regimens ที่ใช้ clindamycin / gentamycin ควรเปลี่ยนเป็น clindamycin 450 mg orally four times daily หรือ doxycycline 100 mg twice daily จนครบ 14 วัน
  • หากวินิจฉัยเป็นฝีบริเวณปีกมดลูก (tubo-ovarian abscess) ควรเปลี่ยนยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเป็น clindamycin 450 mg orally four times daily / metronidazole 500 mg twice daily ร่วมกับ doxycycline 100 mg twice daily จนครบ 14 วัน
  • การใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม 2nd และ 3rd generation cephalosporin เช่น ceftizoxime, cefotaxime, และ ceftriaxone พบว่าประสิทธิภาพในการครอบคลุมเชื้อกลุ่ม anaerobe ได้น้อยกว่า cefotetan หรือ cefoxitin

Alternative regimen(1)

  • Ampicillin/Sulbactam 3 g IV every 6 hours + Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

เป็นสูตรยาที่สามารถใช้ได้เนื่องจากสามารถครอบคลุมเชื้อ gonococcal, chlamydia และ anaerobe สูตรยานี้สามารถใช้รักษาภาวะฝีบริเวณปีกมดลูก (tubo-ovarian abscess) ได้ด้วย

Intramuscular/Oral Treatment(1)

  • Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days
    WITH* or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days or
  • Cefoxitin 2 g IM in a single dose and Probenecid, 1 g orally administered concurrently in a single dose + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days
    WITH or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days or
  • Other parenteral third-generation cephalosporin (e.g., ceftizoxime or cefotaxime) + Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days
    WITH* or WITHOUT Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

เป็นสูตรยาที่เหมาะกับผู้ป่วยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรง จากการศึกษาพบว่าการตอบสนองของผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรนี้ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และหาก การรักษาด้วยยาสูตรนี้แล้วอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง ควรประเมินอาการของผู้ป่วยใหม่อีกครั้งและควรเปลี่ยนสูตรยาเป็นยาปฏิชีวนะที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

Alternative IM/Oral Regimens(1)

  • Azithromycin 500 mg IV daily for 1-2 doses, followed by 250 mg orally daily for 12-14 days or in combination with metronidazole or
  • Azithromycin 1 g orally once a week for 2 weeks + ceftriaxone 250 mg IM single dose (Metronidazole should be considered to provide anaerobic coverage)

เชื่อว่าการให้ยาในสูตรนี้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากการให้ยาทางหลอดเลือดดำ(23)

ในรายที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม cephalosporin สามารถพิจารณาให้ยากกลุ่ม fluoroquinolones 14 วันแทนได้ ร่วมกับการให้ metronidazole 500 mg twice daily 14 วัน

  • Levofloxacin 500 mg orally once daily or
  • Ofloxacin 400 mg twice daily or
  • Moxifloxacin 400 mg orally once daily

อย่างไรก็ตามก่อนทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกก่อน หากผลเพาะเชื้อออกควรให้ยาปฏิชีวนะตามความไวต่อยาตามผลเพาะเชื้อนั้น และหากมีการติดเชื้อ quinolone-resistant N.gonorrhea หรือกลุ่มเชื้อดื้อยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย(1)

  • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มเติม เช่น HIV infection, GC และ chlamydia
  • คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 60 วันก่อนมีอาการ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม และรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ที่สามารถคลุมเชื้อ N.gonorrhea และ C.trachomatis ได้ หากผู้ป่วยไม่มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 60 วันก่อนมีอาการให้รักษาคู่นอนคนสุดท้ายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย

การติดตามอาการ(1)

หญิงที่เข้ารับการรักษาควรได้รับการประเมินหลังการรักษาที่ 72 ชั่วโมง หากผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสูตรรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามอาการไม่ดีขึ้น ควรได้รับการประเมินอาการใหม่ และควรเปลี่ยนการรักษาเป็นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนั้นยังเป็นอีกหนึ่งข้อบ่งชี้ในการรับเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ในรายที่ผลการเพาะเชื้อตรวจพบเชื้อ N.gonorrhea และ C.trachomatis ที่เป็นสาเหตุของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบควรได้รับการตรวจเพาะเชื้อซ้ำหลังจากการรักษาครบ 3 เดือน โดยไม่คำนึงว่าคู่นอนจะได้รับการรักษาด้วยหรือไม่ และหากไม่สามารถตรวจทำได้ภายใน 3 เดือนหลังการรักษา ควรตรวจที่ 12 เดือนหลังการรักษา

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วย HIV

อาการแสดงของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วย HIV จากการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ(24) การรักษาสามารถใช้ยาในสูตร IM/Oral regimens ได้ไม่แตกต่างกับป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ รวมถึงเชื้อก่อโรคในผู้ป่วย HIV ก็ไม่แตกต่างจากป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่สามารถตรวจพบ M.huminis และ streptococcal ได้เพิ่มขึ้น

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้ป่วยที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด

จากงานวิจัยพบว่าการใส่ห่วงคุมกำเนิดจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเล็กน้อย โดยมักจะเกิดในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังจากการทำหัตถการ หากเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องถอดห่วงคุมกำเนิด เนื่องจากผลการรักษาไม่แตกต่างกัน(25) และควรประเมินอาการหลังจากการรักษาที่ 48-72 ชั่วโมง โดยที่การศึกษาทำในหญิงที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดไม่มีฮอร์โมน แต่ข้อมูลในส่วนของห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนยังมีการศึกษาที่น้อยอยู่

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว (long-term complication)

การเป็นซ้ำของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Recurrent PID)(26)

ในหญิงที่เคยมีประวัติการเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น โดยเฉพาะหญิงวัยรุ่นจะมีโอกาสการกลับเป็นซ้ำมากกว่าผู้ใหญ่

ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain)(26)

เป็นภาวะที่มีอาการปวดท้องน้อยโดยที่อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนก็ได้ นานเป็นระยะเวลามากกว่า6 เดือน โดยจากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของหญิงที่เคยมีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะกลายเป็นโรคนี้ โดยที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเชื่อว่าเกิดจากพังผืดในอุ้งเชิงกราน และกระบวนการอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อร่วมด้วย

ภาวะมีบุตรยาก (infertility)(26)

เนื่องจากมีการอักเสบภายในอุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดความเสียหายต่อที่นำไข่ ทำให้เกิดพังผืดและทำให้ท่อนำไข่ตันในที่สุด โดยที่สาเหตุมักสัมพันธ์กับการติดเชื้อ C.trachomatis นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาที่ช้าเกินไป โดยข้อมูลพบว่าการรักษาหลังจากที่มีอาการแล้วช้ากว่า 3 วันขึ้นไปจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 3 เท่า

ท้องนอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

การมีรอยแผลหรือพังผืดที่บริเวณท่อนำไข่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดการท้องนอกมดลูก

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)(27)

จากการศึกษาพบว่าหญิงที่มีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้น 2 เท่ามากกว่าคนทั่วไป และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีประวัติภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบหลายครั้ง ซึ่งยังไม่ทราบถึงกลไกของการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากผู้ป่วยจะมีภาวะไม่มีบุตรเนื่องจากมีบุตรยากทำให้ความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas R. Frieden M, MPH. Pelvic inflammatory disease. center of disease control and prevention. 2015;64.
  2. Jonathan Ross MC, Ceri Evans, Deirdre Lyons, Gillian Dean, Darren Cousins, PPI representative. 2018 United Kingdom National Guideline for the Management of Pelvic Inflammatory Disease. Public health regulation 1916 venereal disease act 1917. 2018.
  3. Morre SA, Karimi O, Ouburg S. Chlamydia trachomatis: identification of susceptibility markers for ocular and sexually transmitted infection by immunogenetics. FEMS immunology and medical microbiology. 2009;55(2):140-53.
  4. Ness RB, Kip KE, Hillier SL, Soper DE, Stamm CA, Sweet RL, et al. A cluster analysis of bacterial vaginosis-associated microflora and pelvic inflammatory disease. American journal of epidemiology. 2005;162(6):585-90.
  5. Forslin L, Falk V, Danielsson D. Changes in the incidence of acute gonococcal and nongonococcal salpingitis. A five-year study from an urban area of central Sweden. The British journal of venereal diseases. 1978;54(4):247-50.
  6. Reekie J, Donovan B, Guy R, Hocking JS, Kaldor JM, Mak DB, et al. Risk of Pelvic Inflammatory Disease in Relation to Chlamydia and Gonorrhea Testing, Repeat Testing, and Positivity: A Population-Based Cohort Study. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2018;66(3):437-43.
  7. Hillis SD, Nakashima A, Marchbanks PA, Addiss DG, Davis JP. Risk factors for recurrent Chlamydia trachomatis infections in women. American journal of obstetrics and gynecology. 1994;170(3):801-6.
  8. Gaydos C, Maldeis NE, Hardick A, Hardick J, Quinn TC. Mycoplasma genitalium as a contributor to the multiple etiologies of cervicitis in women attending sexually transmitted disease clinics. Sex Transm Dis. 2009;36(10):598-606.
  9. Hebb JK, Cohen CR, Astete SG, Bukusi EA, Totten PA. Detection of novel organisms associated with salpingitis, by use of 16S rDNA polymerase chain reaction. The Journal of infectious diseases. 2004;190(12):2109-20.
  10. Eschenbach DA, Buchanan TM, Pollock HM, Forsyth PS, Alexander ER, Lin JS, et al. Polymicrobial etiology of acute pelvic inflammatory disease. The New England journal of medicine. 1975;293(4):166-71.
  11. Thompson SE, 3rd, Hager WD, Wong KH, Lopez B, Ramsey C, Allen SD, et al. The microbiology and therapy of acute pelvic inflammatory disease in hospitalized patients. American journal of obstetrics and gynecology. 1980;136(2):179-86.
  12. Chow AW, Malkasian KL, Marshall JR, Guze LB. The bacteriology of acute pelvic inflammatory disease. American journal of obstetrics and gynecology. 1975;122(7):876-9.
  13. Flesh G, Weiner JM, Corlett RC, Jr., Boice C, Mishell DR, Jr., Wolf RM. The intrauterine contraceptive device and acute salpingitis: a multifactor analysis. American journal of obstetrics and gynecology. 1979;135(3):402-8.
  14. Kreisel K, Torrone E, Bernstein K, Hong J, Gorwitz R. Prevalence of Pelvic Inflammatory Disease in Sexually Experienced Women of Reproductive Age – United States, 2013-2014. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2017;66(3):80-3.
  15. Westrom L. Effect of acute pelvic inflammatory disease on fertility. American journal of obstetrics and gynecology. 1975;121(5):707-13.
  16. Grimes DA. Intrauterine device and upper-genital-tract infection. Lancet (London, England). 2000;356(9234):1013-9.
  17. Workowski KA, Bolan GA. Sexually transmitted diseases treatment guidelines, 2015. MMWR Recommendations and reports : Morbidity and mortality weekly report Recommendations and reports. 2015;64(Rr-03):1-137.
  18. Ness RB, Hillier SL, Kip KE, Soper DE, Stamm CA, McGregor JA, et al. Bacterial vaginosis and risk of pelvic inflammatory disease. Obstetrics and gynecology. 2004;104(4):761-9.
  19. Ness RB, Randall H, Richter HE, Peipert JF, Montagno A, Soper DE, et al. Condom use and the risk of recurrent pelvic inflammatory disease, chronic pelvic pain, or infertility following an episode of pelvic inflammatory disease. American journal of public health. 2004;94(8):1327-9.
  20. Louv WC, Austin H, Perlman J, Alexander WJ. Oral contraceptive use and the risk of chlamydial and gonococcal infections. American journal of obstetrics and gynecology. 1989;160(2):396-402.
  21. Rubin GL, Ory HW, Layde PM. Oral contraceptives and pelvic inflammatory disease. American journal of obstetrics and gynecology. 1982;144(6):630-5.
  22. Jonathan Ross SG, Marco Cusini and Jorgen Jensen. 2017 European guideline for the management of pelvic inflammatory disease. 2017.
  23. Ness RB, Soper DE, Holley RL, Peipert J, Randall H, Sweet RL, et al. Effectiveness of inpatient and outpatient treatment strategies for women with pelvic inflammatory disease: results from the Pelvic Inflammatory Disease Evaluation and Clinical Health (PEACH) Randomized Trial. American journal of obstetrics and gynecology. 2002;186(5):929-37.
  24. Venugopal S, Gopalan K, Devi A, Kavitha A. Epidemiology and clinico-investigative study of organisms causing vaginal discharge. Indian Journal of Sexually Transmitted Diseases and AIDS. 2017;38(1):69-75.
  25. Tepper NK, Steenland MW, Gaffield ME, Marchbanks PA, Curtis KM. Retention of intrauterine devices in women who acquire pelvic inflammatory disease: a systematic review. Contraception. 2013;87(5):655-60.
  26. Trent M, Haggerty CL, Jennings JM, Lee S, Bass DC, Ness R. Adverse adolescent reproductive health outcomes after pelvic inflammatory disease. Archives of pediatrics & adolescent medicine. 2011;165(1):49-54.
  27. Lin HW, Tu YY, Lin SY, Su WJ, Lin WL, Lin WZ, et al. Risk of ovarian cancer in women with pelvic inflammatory disease: a population-based study. The Lancet Oncology. 2011;12(9):900-4.
Read More
Endomet1

Medical treatment in endometriosis

Medical treatment in endometriosis

น.พ. ระพีพัฒน์ เอื้อกิจรุ่งเรือง
ผ.ศ. พ.ญ. ทวิวัน พันธศรี


นิยามของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ Definition

คือการที่เนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูกมีการเจริญกระจายอยู่นอกมดลูก ซึ่งอาจแทรกตัวอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หรืออยู่ตามอวัยวะอื่นๆ เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อไต เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) หรือมีภาวะมีบุตรยากได้ (infertility)(1)

ระบาดวิทยาของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (etiology)

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ และพบได้เล็กน้อยในหญิงวัยหมดระดูที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด

ในผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยหรือมีภาวะมีบุตรยาก จะตรวจพบภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้มาก ส่วนในผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก โดยที่มีหรือไม่มีอาการปวดท้องน้อย จะตรวจพบภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้มากประมาณ ร้อยละ 50 โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (laproscopy) เป็นวิธีที่ควรเลือกใช้ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(1)

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค(1)

  • ภาวะมีบุตรยาก
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย (early menarche)
  • ระยะห่างแต่ละรอบเดือนสั้น (shorter menstrual cycle length)
  • ประจำเดือนมากมาก (hypermenorrhea)
  • ไม่เคยมีบุตร (nulliparity)
  • มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ (Mullerian anomalies)
  • น้ำหนักแรกคลอดน้อย (birth weight less than 7 pounds)
  • มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในครอบครัว
  • มีประวัติสัมผัสสาร เช่น Diethylstilbestrol, dioxin หรือ polychlorinated
  • รับประทานอาหารพวกไขมันและเนื้อแดง
  • มีประวัติเคยรกษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ปัจจัยป้องกันในการเกิดโรค(1)

เคยมีบุตรมาแล้วหลายคน (multiparity)

อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ค่าดัชนีมวลกายสูง

ออกกำลังกาย

รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงเช่น ผักและผลไม้

กลไกการเกิดโรค(1)

ในปัจจุบันเชื่อว่ากลไกการเกิดโรคมีทั้งสิ้น 3 ทฤษฎี คือ

  1. Transplantation theory คิดค้นโดย Sampson ในช่วงปี 1920 โดยเชื่อว่าภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากการฝังตัวของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไหลผ่านท่อนำไข่พร้อมกับการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนในระหว่างการมีประจำเดือนเข้าสู่อุ้งเชิงกราน โดยที่การไหลย้อนกลับของประจำเดือนพบได้มากร้อยละ70-90 ของหญิงทั้งหมด
  2. Coelomic metaplasia theory เชื่อว่าเกิดจากการพัฒนาของ coelomic epithelium ที่จะเจริญต่อไปเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกมีการพัฒนาที่ผิดปกติ
  3. Induction theory ถูกพัฒนามาจาก Coelomic metaplasia theory โดยเชื่อว่าเกิดจากสารชีวะโมเลกุลในร่างกายไปกระตุ้นให้เซลล์บริเวณผนังช่องท้อง มีการพัฒนาเจริญต่อไปเป็นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก

อาการแสดงของโรค (clinical presentation) (2)

ผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักจะมาแสดงด้วยอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน(dysmenorrhea) เจ็บลึกๆเวลามีเพศสัมพันธุ์(dyspareunia) ปวดท้องน้อยเรื้อรัง(chronic pelvic pain) รวมทั้งอาจแสดงด้วยภาวะมีบุตรยากก็ได้ และในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็เป็นได้เช่นกัน

อาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนเป็นอาการที่ทำให้นึกถึงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มากที่สุด ได้มีงานวิจัยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับความปวดกับระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ลักษณะรอยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทุกชนิดมีความสัมกพันธ์กับอาการปวด แต่ความสัมพันธ์ของระดับความปวดกับระดับความรุนแรงของโรคพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ในผู้ป่วยบางรายมีรอยโรคในระดับน้อยแต่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนมาก ในผู้ป่วยบางรายมีรอยโรคในระดับรุนแรงแต่กลับไม่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนหรือมีน้อย

ภาวะมีบุตรยากเป็นอีกภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะทำให้เกิดพังผืด (adhesion) ซึ่งจะขัดขวางการเคลื่อนไหวของท่อนำไข่ทำให้ การดักไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ยาก เป็นผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะแท้งซ้ำซาก (recurrent pregnancy loss) กับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ พบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ว่าจะด้วยยาหรือการผ่าตัด สามารถช่วยลดอัตราการแท้งได้

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ถือเป็นภาวะโรคเรื้อรัง (chronic disease) และส่งผลต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการซึ่งจะรบกวน quality of life ของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

Endomet1

การรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ด้วยยา (medical treatment in endometriosis)

การรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ด้วยยาเป็นการรักษาที่มักจะถูกใช้เป็นอันดับแรกเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยยานั้น เหมาะสมในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มการรักษา อาการไม่รุนแรง รวมทั้งใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดมาแล้วและต้องใช้ยาต่อเนื่องเพื่อกดรอยโรคไม่ให้กลับเป็นซ้ำ

ก่อนการรักษาด้วยยาจำเป็นต้องผ่าตัดส่องกล้องเพื่อประเมินรอยโรคหรือไม่

การผ่าตัดส่องกล้องไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกรายก่อนการเริ่มการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องน้อย ซึ่งรบกวน quality of life ดังนั้นควรเริ่มการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดก่อน ไม่ว่าผู้ป่วยรายนั้นจะมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ โดยที่ยาแก้ปวดที่ให้จะเป็นกลุ่มยาลดการอักเสบ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs) แต่หากผู้ป่วยได้รับยาลดการอักเสบแล้วอาการปวดไม่ทุเลาลงร่วมกับตรวจพบตุ่มนูนในช่องคลอดด้านหลัง หรือตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงแล้วพบถุงน้ำรังไข่ที่มีลักษณะเหมือนถุงน้ำเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จึงพิจารณาผ่าตัดส่องกล้องเพื่อประเมินรอยโรคและผ่าตัดเพิ่มเติม(3-5)

ภาวะ primary dysmenorrhea

การให้ยาแก้ปวด

ในผู้ป่วยกลุ่ม primary dysmenorrhea คือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือน โดยที่ตรวจร่างกายไม่พบรอยโรคอื่นๆ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แฝงอยู่ จากการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs สามารถลดอาการปวดได้เมื่อเที่ยบกับ กลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา นอกจากนั้นยังมีการเปรียบเทียบยากลุ่ม NSAIDs ทั่วไป กับกลุ่ม selective COX2 inhibitors พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดไม่แตกต่างกัน(6)

การรักษาด้วยยาคุมชนิดเม็ด (Oral contraceptives)

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาโดยใช้ OCs (50mcg estrogen) พบว่าสามารถลดอาการปวดได้เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา แต่ข้อมูลในการรักษาภาวะ primary dysmenorrhea โดยการใช้ modern low dose OCs ยังมีไม่เพียงพอ แต่บางงานวิจัยมีการศึกษาโดยใช้ low dose OCs (20 mcg ethinyl estradiol) พบว่าสามารถลดอาการปวดได้ดีกว่ากลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา(7) นอกจากนั้น OCs เป็นยาที่มีความปลอดภัยหากใช้ในหญิงที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นอาจพิจารณาการรักษาภาวะ primary dysmenorrhea ด้วย OCs ได้

การรักษาอาการปวดท้องน้อยที่สัมพันธ์กับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs

เนื่องจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่มีกระบวนการอักเสบเรื้อรัง ดังนั้นยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs จึงสามารถลดอาการปวดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกนำมาใช้เป็นตัวเลือกแรก แต่งานวิจัยที่รองรับทฤษฎีนี้มียังน้อย

ยากลุ่มฮอร์โมน (hormonal therapy)

ยากลุ่มนี้ถูกออกแบบมาให้ออกฤทธิ์กดการสร้าง estrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นรอยโรคของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อตัวลง ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด

• Oral contraceptives

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝอตัวลง ซึ่งจะลดอาการปวดท้องน้อยลดลง แต่ในบางราย estrogenic component ก็ส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญมากขึ้นทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยมากขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากเริ่มรักษา นอกจากนั้นการรักษาด้วยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดยังมีค่าใช้จ่ายน้อยด้วย

การบริหารยาสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือการกินแบบเป็นรอบ และการกินแบบต่อเนื่อง โดยการกินแบบเป็นรอบคือกินยาเม็ดที่มีฮอร์โมนประมาณ 21 วันแล้วหยุดกิน 7 วันหรือกินเม็ดแป้ง 7 วันเพื่อให้มี withdrawal bleeding ซึ่งการกินยาแบบเป็นรอบจะทำให้เกิด withdrawal bleeding ซึ่งจะเพิ่มการเกิดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกรานได้ แต่จากงานวิจัยต่างๆเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาอาการปวดแล้วพบว่าสามารถอาการปวดได้ดีเมือเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฮอร์โมน(8, 9) ส่วนการกินแบบต่อเนื่องคือการกินยาเม็ดที่มีฮอร์โมนต่อเนื่องนาน 6-12 เดือน จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ pseudopregnancy ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอาการปวดลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฮอร์โมน(9-11) โดยที่ขนาดของ ethinyl estradiol ที่ให้ควรเป็น low dose คือ 30-35 mcg ร่วมกับ progestins

• Oral progestins therapy

Progestins เป็นยาที่ออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงและฝ่อลง ซึ่งยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับยากลุ่ม danazol หรือ GnRH analogues(12) แต่มีราคาถูกกว่า

Medroxyprogesterone acetate

เป็นยากลุ่มที่มีการศึกษามาก และพบว่าสามารถรักษาอาการปวดท้องน้อยจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ปริมาณเริ่มต้นที่ 30 mg ต่อวัน

จากการศึกษาพบว่าการใช้ medroxyprogesterone acetate (MPA) ยังช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย(12, 13) นอกจากนั้นมีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ depot MPA 150 mg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน เทียบกับการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดโดยบริหารยาเป็นรอบ และเทียบกับ danazol low dose พบว่า depot MPA สามารถลดอาการปวดได้มีประสิทธิภาพได้ดีที่สุด(14, 15)

ข้อเสียของ depot MPA นั่นคือทำให้เกิดภากวะขาดระดู (amenorrhea) ไม่ตกไข่ (anovulation) และใช้เวลานานหลังหยุดยากว่าที่จะกลับมาตกไข่อีกครั้ง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากร่วมด้วยจึงไม่ควรใช้ยานี้ นอกจากนี้การใช้ DMPA เป็นเวลานาน ยังทำให้มวลกระดูกลดลงหลังใช้ 1- 2 ปี(16)

Dienogest

มีการศึกษาการใช้ dienogest 2 mg ต่อวันเป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เปรียบเทียบกับ depot leuprolide acetate และ intranasal buserelin acetate ซึ่งเป็น GnRH analogues พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดท้องน้อย ไม่แตกต่างกัน และมีข้อดีกว่าคือมีผลข้างเคียงน้อย(17, 18)

Megestrol acetate

ขนาดยาที่มีการศึกษาว่าสามารถลดอาการปวดท้องน้อยได้อยู่ที่ 40 mg ต่อวัน หรืออาจให้เป็น dydrogesterone 20-30 mg ต่อวันหรือ lynestrenol 10 mg ต่อวันสามารถลดอาการปวดท้องน้อยได้(19) แต่ยาในกลุ่มนี้มักพบผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักขึ้น รวมทั้งเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

Intrauterine progesterone

Levonorgestrel IUD จะปล่อย levonorgestrel 20 mcg ต่อวัน ซึ่งจะมีฤทธิ์ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกมีการฝ่อ ทำให้ลดอาการปวดท้องน้อยจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ รวมทั้งลดอาการเจ็บลึกๆขณะมีเพศสัมพันธ์ด้วย นอกจากนั้นในผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณเนื้อเยื่อระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก (rectovaginal endometriosis) ยังลดความรุนแรงลงด้วย(20)

• Progesterone antagonist

ออกฤทธิ์โดยการจับกับ progesterone receptor ทำให้ยับยั้งการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยไม่มีผลต่อระดับของ estrogen ทำให้ไม่มีผลเรื่องกระดูกบาง แต่เนื่องจากยานี้ไม่มีใช้ในสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับมากนัก

Mifepristone

เป็น potent antiprogestagen ขนาดยาที่แนะนำคือ 25-100 mg ต่อวัน แต่มีงานศึกษาบางงานศึกษาพบว่า ปริมาณยาเพียง 5 mg ต่อวันก็สามารถลดอาการปวดท้องจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้(21)

• Gestrinone

Gestrinone หรือ 19-nortestosterone derivative มีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของ progesterone estrogen และ GnRH ดังนั้นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะฝ่อลง ประสิทธิภาพของยา Gestrinone ใกล้เคียงกับกลุ่ม GnRH analogues หลังใช้ยาผู้ป่วยจะมีภาวะขาดระดูตามมาร้อยละ 50-100

ขนาดของยาที่แนะนำคือ 2.5 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (เนื่องจากยามีค่าครึ่งชีวิตที่นาน 28 ชั่วโมง) นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเทียบกับขนาดยาที่ตำกว่า คือ 1.25 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดไม่แตกต่างกัน แต่ขนาดยา 2.5 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีผลเพิ่มมวลกระดูกมากกว่า(22)

• Danazol

มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง โดยลดการหลั่ง GnRH ลด steroidogenesis และเพิ่มการขับออกของ estrogen และ progesterone ทำให้เกิดภาวะ estrogen ต่ำ และ androgen สูง มีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลง นอกจากนั้นยายังมีผลกับระดับภูมิคุ้มกันต่างๆในร่างกาย ควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับ autoimmune disease ขนาดของยาที่แนะนำคือ 400 mg ต่อวัน(23)

ผลข้างเคียงของยาส่วนใหญ่คือ androgenic effect จากภาวะ androgen สูง ทำให้เกิดภาวะขนดก (hirsutism), มีสิว, ผิวมัน,ช่องคลอดแห้ง,ขนาดหน้าอกลดลง, อารมณ์ทางเพศลดลง รวมทั้งเสียงแตกคล้ายผู้ชาย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เมื่อหยุดยาแล้วจะไม่กลับเป็นเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังมีผลต่อตับ ทำให้เกิด hepatocellular damage

ควรระวังการให้ยาในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง, หัวใจวายเรื้อรัง, ไตทำงานบกพร่อง, และคนไข้ที่ตั้งครรภ์

• Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists

ยาจะจับกับ GnRH receptor ทำให้เกิดการหลั่ง LH และ FSH จากนั้นจะสูญเสีย GnRH receptor ทำให้เกิด downregulation ส่งผลให้ LH และ FSH ลดลง ทำให้เกิดภาวะ pseudomenopause ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ leuprolide, buserelin, nafarelin, histrelin, goserelin, deslorelin, และ triptorelin ซึ่งการบริหารยามีทั้ง การกิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง รวมทั้งพ่นเข้าจมูก โดยการรักษาด้วย GnRH agonist 3 เดือน สามารถควบคุมอาการได้นานถึง 6 เดือน(24)

แต่เนื่องจากยามีผลทำให้เกิดภาวะ pseudomenopause จะมีอาการ vasomotor symptom และ bone loss จึงจำเป็นต้องมี add back therapy เพื่อป้องกันภาวะเหล่านี้ ดังนั้นในหญิงที่ยังไม่ถึงช่วงอายุที่มวลกระดูกอยู่ในระดับสูงสุดจึงไม่ควรรักษาด้วยยานี้(25)

• Aromatase inhibitors

มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ aromatase enzyme ซึ่งมีผลลดการเปลี่ยน E1 ไปเป็น E2 ซึ่ง E1 มี potency ต่ำกว่า ทำให้ลดการเจริญของ เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกได้ ลดอาการปวดท้องน้อยได้(26) แต่ผู้ป่วยจะมีภาวะ estrogen ต่ำ ทำให้มีอาการช่องคลอดแห้ง, hot flush, bone loss ได้ นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังใช้ในการกระตุ้นการตกไข่ได้ ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้อาจมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น บางรายอาจตรวจพบถุงน้ำรังไข่หลังจากการใช้ยานี้ได้ เนื่องจากยามีราคาแพงจึงควรเลือกใช้ยานี้กรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมอาการปวดท้องน้อยได้

• Selective Estrogen Receptor Modulators

การใช้ยากลุ่ม SERM ในการรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน

หากการรักษาด้วยยาแล้วไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติม เพื่อประเมินรอยโรคและตัดรอยโรคออกให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ซึ่งอาการปวดหลังจากการผ่าตัดมักจะดีขึ้นร้อยละ 50 และหลังจากการผ่าตัดก็จำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุมรอยโรคไม่ให้กลับเป็นซ้ำในเวลาที่เร็วเกินไป นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในการลดอาการปวดด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. D’Hooghe tM. Endometriosis. Berek & Novak’s Gynecology. 2012;15:505-8.
  2. D’Hooghe TM. Endometriosis. Berek & Novak’s Gynecology. 2012;15:511-3.
  3. Sutton CJG, Ewen SP, Whitelaw N, Haines P. Prospective, randomized, double-blind, controlled trial of laser laparoscopy in the treatment of pelvic pain associated with minimal, mild, and moderate endometriosis**Supported by Birthright Research Grant (Ref:S3/90), Royal College of Obstetricians and Gynaecologists, London and Laserscope, Cwmbran, United Kingdom. Fertility and Sterility. 1994;62(4):696-700.
  4. Abbott JA. The effects and effectiveness of laparoscopic excision of endometriosis: a prospective study with 2-5 year follow-up. Human Reproduction. 2003;18(9):1922-7.
  5. Berlanda N, Somigliana E, Frattaruolo MP, Buggio L, Dridi D, Vercellini P. Surgery versus hormonal therapy for deep endometriosis: is it a choice of the physician? Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2017;209:67-71.
  6. Marjoribanks J, Proctor ML, Farquhar C. Nonsteroidal anti-inflammatory drugs for primary dysmenorrhoea. The Cochrane database of systematic reviews. 2003(4):Cd001751.
  7. Wong CL, Farquhar C, Roberts H, Proctor M. Oral contraceptive pill for primary dysmenorrhoea. The Cochrane database of systematic reviews. 2009(4):Cd002120.
  8. Harada T, Momoeda M, Taketani Y, Hoshiai H, Terakawa N. Low-dose oral contraceptive pill for dysmenorrhea associated with endometriosis: a placebo-controlled, double-blind, randomized trial. Fertil Steril. 2008;90(5):1583-8.
  9. Vercellini P, Buggio L, Berlanda N, Barbara G, Somigliana E, Bosari S. Estrogen-progestins and progestins for the management of endometriosis. Fertil Steril. 2016;106(7):1552-71 e2.
  10. Coffee AL, Sulak PJ, Kuehl TJ. Long-term assessment of symptomatology and satisfaction of an extended oral contraceptive regimen. Contraception. 2007;75(6):444-9.
  11. Vercellini P. Continuous use of an oral contraceptive for endometriosis-associated recurrent dysmenorrhea that does not respond to a cyclic pill regimen. Fertility and Sterility. 2003;80(3):560-3.
  12. Casper RF. Progestin-only pills may be a better first-line treatment for endometriosis than combined estrogen-progestin contraceptive pills. Fertility and Sterility. 2017;107(3):533-6.
  13. Muneyyirci-Delale O, Karacan M. Effect of norethindrone acetate in the treatment of symptomatic endometriosis. International journal of fertility and women’s medicine. 1998;43(1):24-7.
  14. Schlaff WD, Carson SA, Luciano A, Ross D, Bergqvist A. Subcutaneous injection of depot medroxyprogesterone acetate compared with leuprolide acetate in the treatment of endometriosis-associated pain. Fertil Steril. 2006;85(2):314-25.
  15. Crosignani PG, Luciano A, Ray A, Bergqvist A. Subcutaneous depot medroxyprogesterone acetate versus leuprolide acetate in the treatment of endometriosis-associated pain. Human reproduction (Oxford, England). 2006;21(1):248-56.
  16. Zeman S, Havlik P, Zemanova J, Nemec D. [Status of bone mineral density after the long-standing application of contraception Depo-Provera]. Ceska gynekologie. 2013;78(1):116-24.
  17. Harada T, Momoeda M, Taketani Y, Aso T, Fukunaga M, Hagino H, et al. Dienogest is as effective as intranasal buserelin acetate for the relief of pain symptoms associated with endometriosis–a randomized, double-blind, multicenter, controlled trial. Fertil Steril. 2009;91(3):675-81.
  18. Strowitzki T, Marr J, Gerlinger C, Faustmann T, Seitz C. Dienogest is as effective as leuprolide acetate in treating the painful symptoms of endometriosis: a 24-week, randomized, multicentre, open-label trial. Human reproduction (Oxford, England). 2010;25(3):633-41.
  19. Overton CE, Lindsay PC, Johal B, Collins SA, Siddle NC, Shaw RW, et al. A randomized, double-blind, placebo-controlled study of luteal phase dydrogesterone (Duphaston*) in women with minimal to mild endometriosist†. Fertility and Sterility. 1994;62(4):701-7.
  20. Petta CA, Ferriani RA, Abrao MS, Hassan D, Rosa ESJC, Podgaec S, et al. Randomized clinical trial of a levonorgestrel-releasing intrauterine system and a depot GnRH analogue for the treatment of chronic pelvic pain in women with endometriosis. Human reproduction (Oxford, England). 2005;20(7):1993-8.
  21. Zupi E, Marconi D, Sbracia M, Zullo F, De Vivo B, Exacustos C, et al. Add-back therapy in the treatment of endometriosis-associated pain. Fertil Steril. 2004;82(5):1303-8.
  22. Hornstein MD, Gleason RE, Barbieri RL. A randomized double-blind prospective trial of two doses of gestrinone in the treatment of endometriosis. Fertility and Sterility. 1990;53(2):237-41.
  23. Selak V, Farquhar C, Prentice A, Singla A. Danazol for pelvic pain associated with endometriosis. The Cochrane database of systematic reviews. 2007(4):Cd000068.
  24. Surrey ES, Hornstein MD. Prolonged GnRH agonist and add-back therapy for symptomatic endometriosis: long-term follow-up. Obstetrics and gynecology. 2002;99(5 Pt 1):709-19.
  25. Mitwally MF, Gotlieb L, Casper RF. Prevention of bone loss and hypoestrogenic symptoms by estrogen and interrupted progestogen add-back in long-term GnRH-agonist down-regulated patients with endometriosis and premenstrual syndrome. Menopause (New York, NY). 2002;9(4):236-41.
  26. Nawathe A, Patwardhan S, Yates D, Harrison GR, Khan KS. Systematic review of the effects of aromatase inhibitors on pain associated with endometriosis. BJOG : an international journal of obstetrics and gynaecology. 2008;115(7):818-22.

 

Read More