การดูแลเพศทางเลือกแบบองค์รวม

การดูแลเพศทางเลือกแบบองค์รวม

ธาวินี กฤตสรรค์วงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อ. พญ. ณัฐนิตา มัทวานนท์


ภาวะเพศหลากหลายคือการที่บุคคลหนึ่งมีความรู้สึกภายใน การแสดงออก หรือความรู้สึกดึงดูดทางเพศที่แตกต่างไปจากเพศกำเนิดที่ติดตัวมา ซึ่งเรื่องเพศมีหลายแง่มุมมากกว่าแค่เพศหญิงแต่กำเนิดและชายแต่กำเนิด โดยอาจแบ่งได้เป็น 4 แง่มุมหลักๆ ดังนี้ (1)

  1. Biological sex หรือ natal sex คือเพศที่ติดตัวมาแต่กำเนิด กำหนดโดยอวัยวะเพศ ประกอบด้วยเพศหญิง, เพศชาย และ เพศกำกวม
  2. Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศ) คือ เพศที่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นจากภายใน โดยไม่ขึ้นกับเพศกำเนิด ประกอบด้วยความต่อเนื่องตั้งแต่ Female ถึง Male
  3. Gender role หรือ gender expression คือ เพศตามบุคลิกภาพ พฤติกรรม นิสัย และการแสดงออก ประกอบด้วยความต่อเนื่องตั้งแต่ Feminine ถึง Masculine
  4. Sexual orientation หรือเพศวิถี คือ รูปแบบพื้นฐานอารมณ์ ความรัก และ ความสนใจทางเพศ โดยอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับที่สังคมส่วนใหญ่เห็นชอบก็ได้ ประกอบด้วย
    • Sexually attracted เพศที่บุคคลพึงมีความสัมพันธ์ทางกาย
    • Romantically attracted เพศที่ที่บุคคลพึงมีความรัก และ ความสนใจ

โดยลักษณะของเพศ และ เพศสภาพทั้ง 4 มุมมองนี้ไม่ได้แบ่งเป็นเพียงกลุ่มหญิงกับกลุ่มชายเท่านั้น หากแต่เป็นความแตกต่างที่ต่อเนื่องระหว่างชายและหญิง (Unidimensional continuum) ซึ่งแต่ละแง่มุมก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ผู้มีเพศกำเนิดชาย อาจจะมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบผู้หญิง ชอบแสดงออกเป็นกลางๆระหว่างชายและหญิง แต่มีความสนใจและดึงดูดทางเพศกับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวก็ได้ เป็นต้น หากพิจารณาตามแง่มุมทางเพศต่างๆ 4 ชนิดข้างต้นจะพบว่ามีความเป็นไปได้มากมาย และบางครั้งอาจไม่สามารถจัดกลุ่มได้ชัดเจน นอกจากแง่มุมทางเพศข้างต้นแล้ว ยังมีคำที่ใช้บ่อยในกลุ่มเพศหลากหลายคำอื่น ๆ เช่น

  • Cisgender คือ ผู้ที่เพศกำเนิดตรงกับเพศสภาพ
  • Transgender หรือคนข้ามเพศ เป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้ระบุผู้ที่เพศกำเนิดไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ โดยมักแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
  • Transgender woman, Transwoman, Transfeminine หรือหญิงข้ามเพศ คือ ผู้ที่เพศกำเนิดเป็นชายและมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นหญิง และมักต้องการเปลี่ยนลักษณะแสดงออกทางเพศเป็นหญิง
  • Transgender man, Transman, Transmasculine หรือชายข้ามเพศ คือ ผู้ที่เพศกำเนิดเป็นหญิงและมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นชาย และมักต้องการเปลี่ยนลักษณะแสดงออกทางเพศเป็นชาย
  • Gender Dysphoria คือ ความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่เข้ากันระหว่าง อัตลักษณ์ทางเพศ, การแสดงออกทางเพศ และเพศกำเนิด
  • Gender nonconforming คือการที่อัตลักษณ์ทางเพศ ความชอบ บุคลิก การแสดงออก ความรู้สึกดึงดูดทางเพศ แตกต่างไปจากความเป็นชายหรือหญิงในบริบทของสังคมนั้นๆ

 

โดยในปัจจุบัน สังคมมีความตระหนักถึงความหลากหลายทางเพศมากขึ้น จึงมีการสร้างแนวทางต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพื่อให้กลุ่มเพศทางเลือกสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียม อาทิเช่นประเทศเนเธอแลนด์ได้ผ่านร่างผ่านกฎหมายอนุญาตให้มีการแต่งงานในเพศเดียวกัน และรับบุตรบุญธรรมได้เมื่อปี ค.ศ. 2000 เป็นประเทศแรกในโลก ตามมาด้วยประเทศเบลเยียม ในปี ค.ศ. 2003 และ แคนาดา ในปี ค.ศ. 2005 ในปัจจุบันมี 30 ประเทศที่มีกฎหมายดังกล่าว โดยประเทศไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ผ่านร่างกฎหมายในปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา(2)

ในทางการแพทย์ก็มีความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของกลุ่มเพศหลากหลายซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงและแตกต่างจากประชากรทั่วไปในบางแง่มุม โดยเฉพาะในกลุ่ม transgender ที่ต้องการปรับเปลี่ยนลักษณะทางเพศโดยการใช้ฮอร์โมนหรือการผ่าตัด ทำให้องค์กรทางการแพทย์ต่าง ๆ ได้ออกแนวทางในการดูแลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยในปี ค.ศ. 2012 WPATH ได้จัดทำแนวทางการดูแลรักษาหรือ Standard of care ฉบับใหม่หรือ version 7 (1) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 2017 ทาง endocrine society ของสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์ clinical practice guideline สำหรับการดูแลด้านฮอร์โมนในกลุ่ม transgender (3-5) ประเทศออสเตรเลียก็ได้ออกแนวทางการดูแล transgender ในปี ค.ศ.2018 (6) ส่วนหน่วยงานทางสูตินรีเวชเช่น American college of Obstetrics and Gynecology ได้ตีพิมพ์ committee opinion ในการดูแลกลุ่มเพศหลากหลายในปี ค.ศ. 2011 (reaffirmed ในปี ค.ศ.2019) (4) และแนวทางดูแลวัยรุ่นที่มีเพศหลากหลายเมื่อปี ค.ศ. 2017 (5) นอกจากนี้ American society of reproductive medicine ยังได้ออกแนวทางการให้บริการด้านภาวะเจริญพันธุ์ในกลุ่มเพศหลากหลายในปี ค.ศ. 2015 อีกด้วย (7)

การวินิจฉัย

ในปัจจุบันการวินิจฉัยได้เปลี่ยนทิศทางจากการพยายามระบุความแตกต่างทางเพศของบุคคล (gender identity disorder) ไปสู่การระบุความทุกข์ด้านจิตใจ (Gender dysphoria) ที่เกิดจากความอึดอัดขับข้องใจในความไม่เข้ากันของเพศกำเนิดและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยแนวทางการวินิจฉัย gender dysphoria ในปัจจุบันจะอ้างอิงตาม criteria ของ DSM 5 ที่จัดทำขึ้นโดย American Psychiatric Association (APA) ในปี ค.ศ. 2013 โดยเกณฑ์การวินิจฉัยแสดงใน Figure 1 (8)

Figure 1DSM5 criteria for gender dysphoria (3, 8)

การพัฒนาของเพศสภาพ

อัตลักษณ์ทางเพศเป็นผลรวมของปัจจัยหลายด้านทั้งด้านชีววิทยา เพศวิทยา และจิตวิทยา เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่วัยเด็ก เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิสัมพันธ์ต่อครอบครัว เพื่อน และ สิ่งแวดล้อม โดยพบว่าภาวะ gender dysphoria ในวัยเด็กมักจะหายไปเองก่อนเข้า puberty และมีเพียง 15% ของเด็กที่มี gender dysphoria เท่านั้นที่ต้องการปรับเปลี่ยนลักษณะภายนอกเมื่อเป็นวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของภาวะ gender dysphoria ในเด็กสามารถใช้คาดคะเนแนวโน้มได้ กล่าวคือในเด็กที่มี gender dysphoria รุนแรง จะมีโอกาสที่ภาวะดังกล่าวจะเป็นต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ และความทุกข์ใจที่ต่อเนื่องส่งผลให้พบภาวะทางจิตเวชร่วมได้บ่อย เช่น ภาวะวิตกกังวล และ ซึมเศร้า เป็นต้น

เนื่องจากวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสรีระทางกายเป็นแบบชายหรือหญิงชัดเจน ทำให้ภาวะ gender dysphoria แย่ลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Gender dysphoria ไม่จำเป็นต้องปรากฏตั้งแต่เด็ก สามารถปรากฏใหม่ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ได้

Transgender care

ควรดูแลแบบองค์รวมทั้งทางกาย ทางจิตใจ สิ่งแวดล้อม และ สังคม ทีมผู้ดูแลจึงควรประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) อาทิ จิตแพทย์ แพทย์ผู้ดูแลเรื่องฮอร์โมน และ ศัลยแพทย์ รวมไปถึงนักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาเป็นต้น โดยเป้าหมายของการรักษานั้นจะแตกต่างกันขึ้นกับความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก การรักษาจะประกอบไปด้วย psychological support, social transitioning, Hormonal treatment และ sex reassignment surgery

การดูแลเบื้องต้น

  1. ประเมินเพศ และ เพศสภาพ,โรคทางอายุรกรรม, โรคทางจิตเวช รวมถึงประเมินครอบครัว และ สิ่งแวดล้อม
  2. วินิจฉัยภาวะ Gender dysphoria ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-V ตาม figure 1 และควรระมัดระวังโรคทางจิตเวชที่มีอาการคล้ายคลึง อาทิ Body dysmorphic disorder, Body identity integrity disorder, Eunuchism
  3. ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะ Gender dysphoria, วิธีการรักษา, ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง, ข้อจำกัด, ประโยชน์ และ ความเสี่ยงของการรักษา ที่สำคัญควรแก้ความเข้าใจผิดเกินจริงของผลการรักษารวมถึงให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อการเจริญพันธ์ และ ปรึกษาเรื่องการรักษาความสามารถในการเจริญพันธ์ก่อนการรักษา หากผู้รับคำปรึกษายังไม่บรรลุนิติภาวะ ควรมีผู้ปกครองร่วมตัดสินใจ
  4. รักษาโรคทางอายุรกรรมและจิตเวชที่มีอยู่ พิจารณาส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาด้วยฮอร์โมน หรือ ผ่าตัดเมื่อครบเกณฑ์ที่กำหนด

Psychological assessment

ก่อนเริ่มการรักษาทั้งหมด ควรได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากภาวะทางจิตใจอื่น ๆ อาจจะมีอาการแสดงที่คาบเกี่ยวกับภาวะ gender dysphoria ได้ การวินิจฉัยที่ผิดพลาดจะนำสู่การรักษาที่ไม่เหมาะสม และอาจจะเกิดความเสียใจหลังการได้รับฮอร์โมนข้ามเพศหรือการผ่าตัดแปลงเพศ นอกจากนี้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีความเสี่ยงสูงต่อโรคทางจิตใจเช่นภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ซึ่งต้องการการดูแลรักษาจากผู้ที่เชี่ยวชาญ และควรได้รับการรักษาจนอาการด้านจิตใจอยู่ในภาวะสงบและมีความสามารถในการตัดสินใจอย่างครบถ้วนเสียก่อน จึงค่อยตัดสินใจเริ่มการรักษาด้วยฮอร์โมนหรือการผ่าตัด

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม(Social transitioning)

เป็นการเปลี่ยนการแสดงออกทางเพศ และ บทบาททางเพศไปเป็นแบบเพศที่ต้องการ และให้สังคมรับรู้ เพื่อลองดูว่าผลจากการเปลี่ยนนี้เป็นไปอย่างที่คาดหวังหรือไม่ ภาวะ gender dysphoria ดีขึ้นหรือไม่ โดยสามารถเลือกเปลี่ยนแปลงเป็นบางช่วงเวลา หรือตลอดเวลาก็ได้ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล การเปลี่ยนแปลงทางสังคมควรทำร่วมกับการทำจิตบำบัด และควรมีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำในช่วงเปลี่ยนแปลง การทำ social transitioning ช่วยทำให้ยอมรับตนเอง และสามารถเลือกทางที่เหมาะตามเพศสภาพของตนได้ดีขึ้น โดย Social transitioning นี้สามารถเริ่มก่อนการรับฮอร์โมนหรือเริ่มพร้อมๆกับการใช้ฮอร์โมนก็ได้

Psychosocial support

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มคนข้ามเพศมีโอกาสเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำสูงกว่าทั่วไป รวมทั้งมีอัตราการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายสูง การยอบรับ สนับสนุนจากคนรอบข้างและสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนข้ามเพศสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งในใจ ยอมรับในตัวตน และสามารถใช้ชีวิตในเพศที่ต้องการเป็นได้จริงอย่างมีความสุข

การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน(Gender-Affirmation Hormonal treatment)

เมื่อผ่านการประเมินจากผู้เชียวชาญด้านจิตเวชแล้ว และมีความเหมาะสมที่จะเริ่มการใช้ฮอร์โมนได้ ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลและเข้าใจเกี่ยวกับข้อดีข้อเสีย และผลที่จะเกิดขึ้น ทั้ง reversible และ irreversible อย่างครบถ้วนเสียก่อน นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงการเก็บรักษาภาวะเจริญพันธุ์และให้ทางเลือกในการเก็บก่อนที่จะเริ่มการรักษาเสมอ

Transwoman

การบริหารยาในหญิงข้ามเพศนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าชายข้ามเพศเนื่องจาก Estrogen ใน physiologic level ไม่สามารถกดปริมาณ Testosterone ได้เพียงพอ จึงต้องใช้ฮอร์โมน 2 ชนิดคู่กันคือ Estrogen และ Androgen lowering agent โดยมีเป้าหมายระดับฮอร์โมนในเลือดเทียบเท่ากับหญิงวัยเจริญพันธุ์คือ ระดับ Testosterone < 50 ng/dl และ ระดับ Estradiol = 100-200 pg/ml

Estrogen ที่นิยมใช้คือ Estradiol valerate และ Estradiol Cypionate โดยให้ขนาด 2-6 มิลลิกรัมต่อวันในรูปแบบรับประทาน, 0.025-0.2 มิลลิกรัมต่อวันในรูปแบบผ่านผิวหนัง และ 5-30มิลลิกรัมทุก 2 อาทิตย์ในรูปแบบฉีดกล้ามเนื้อ(Figure 4) ไม่แนะนำให้ใช้ Ethinyl Estradiol เนื่องด้วยความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันสูงสุด และ ยังไม่สามารถวัดระดับเลือดได้อีกด้วย ผลจากการใช้ Estrogen คือกดการผลิต Testosterone กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงร่างกายให้แสดงความเป็นหญิง และ ปกป้องมวลกระดูกโดยเฉพาะในรายที่ผ่าน Gonadectomy ผลข้างเคียงจาก Estrogen ที่สำคัญคือภาวะลิ่มเลือดอุดตันซึ่งพบมาที่สุดในรูปแบบรับประทานเนื่องจากผ่านกระบวนการ First pass effect ต่างจากรูปแบบผ่านผิวหนัง และ ฉีดซึ่งมีประโยชน์มากในใช้ฮอร์โมนในวัยสูงอายุ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันนอกจากขึ้นกับรูปแบบการได้รับฮอร์โมนแล้วยังขึ้นกับปริมาณ จึงควรเฝ้าระวังไม่ให้ระดับ Estrogen ในเลือดมากเกิน 200 pg/ml ไม่แนะนำให้ติดตามระดับ D-dimer ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนในรายที่มีประวัติภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือมีประวัติครอบครัวชัดเจน Androgen lowering agent ที่ใช้คือ Cyproterone acetate โดยให้ขนาด 25-50 มิลลิกรัมต่อวัน Spironolactone 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน และ GnRH agonist 3.75 มิลลิกรัม ทุก1เดือน ผลข้างเคียงหรือข้อด้อยของ Androgen lowering agent คือ Cyproterone acetate จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Meningioma, Hyperprolactinemia และ Depression Spironolactone สามารถทำให้โพแทสเซียมในร่างกายต่ำ และ GnRH agonist ข้อเสียคือราคาที่สูง Androgen lowering agent ประเภท Peripheral androgen blocker เช่น Flutamide, Dutasteride ไม่สามารถลดระดับ Androgenได้เพียงพอ(3)

Second-line therapyได้แก่ Progestin หรือ Medroxyprogesterone ลดปริมาณ Testosteroneและเชื่อว่าช่วยกระตุ้นการพัฒนาเต้านมแต่ไม่มีการศึกษาชัดเจนในส่วนดังกล่าว ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันจึงไม่นิยมใช้progestinอย่างเป็นประจำ Finesteride หรือ 5alpha reductase inhibitor ช่วยรักษาอาการผมร่วง(Male pattern hair loss) ในรายที่ Extrogen ได้ระดับแล้วผมยังคงไม่หยุดร่วง แต่ไม่แนะนำให้ใช้ประจำ เนื่องจากผลข้างเคียง Sexual dysfunction และ Depression(9)

Feminization เป็นการเปลี่ยนแปลงสรีระของร่างกายให้มีความเป็นหญิง(Figure 2) การเปลี่ยนแปลงเต้านมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญอันดับต้นที่ให้ความสำคัญ ผลจากฮอร์โมนสูงสุดเมื่อ 2 ปี และพบว่าน้อยกว่า 20% เต้านมพัฒนาถึง Tanner stage 4-5 สัดส่วนสรีระเป็นหญิงมากขึ้น คือ ลดปริมาณกล้ามเนื้อ เพิ่มไขมันบริเวณสะโพก และ ต้นขา เสียงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมน ซึ่งสามารถทำ Voice training exercise, Laryngeal surgical treatmentได้ ขนบริเวณหน้าและลำตัวลดลง หากไม่สามารถลดได้ทั้งหมดสามารถทำเลเซอร์กำจัดขนร่วมได้ คะแนน Ferriman-Gallowayดีขึ้นใน 2 ปี หยุดผมร่วงแบบผู้ชาย(9)

Figure 2Feminizing (3)

การใช้ Estrogen ควรมีการติดตามที่ได้มาตรฐานเพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงตาม(Figure 3) ติดตามระดับฮอร์โมนทั้ง Estrogen และ Testosterone หลีกเลี่ยงฮอร์โมนเกินระดับซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อลิ่มเลือดอุดตัน,ตับทำงานผิดปกติ และ ความดันสูง ติดตามระดับ Prolactin เนื่องจากสามารถขึ้นผิดปกติได้จาก Estrogen และ Cyproterone acetate เนื่องจากกระตุ้นการเจริญเติบโตของ Lactrotroph cells จนทำให้เกิด Prolactinoma พบราว 20% และมักเป็นชนิด Microprolactinoma ในรายที่ใช้ Spironolactone ควรติดตามระดับโพแทสเซียม เฝ้าระวังความเสี่ยงต่อมะเร็งอันได้แก่ มะเร็งเต้านมความเสี่ยงเทียบเท่ากับหญิงทั่วไป แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองตามหญิงทั่วไปหากไม่มีความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติม มะเร็งเต้านมในหญิงข้ามเพศมักปรากฎในระยะสุดท้ายซึ่งต่างจากชายข้ามเพศที่มักพบในระยะเริ่มต้น มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศดังนั้นในสภาวะที่มี Testosterone ต่ำจึงไม่ควรเกิดขึ้น อีกทั้ง Estrogen ไม่กระตุ้น Hypertrophy/Premalignant ของต่อมลูกหมาก จึงทำให้โดยรวมลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ยังมีรายงานต่อมลูกมากโต และ มะเร็งต่อมลูกหมาก จึงแนะนำให้ติดตามโดยการตรวจ per rectal examination และระดับ PSA ทุกปีตั้งแต่อายุ 50 ปีในรายที่ เริ่มฮอร์โมนตอนอายุมากกว่า 20 ปี

ความเสี่ยงด้านหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไขมันเป็นในทางที่ดี ระดับ LDLลดลง HDL triglycerides เพิ่มขึ้น แต่น้ำหนัก, ความดัน และ ระดับ Insulin resistance เพิ่มขึ้น (3)

Figure 3 Follow up Transwoman (3)

Figure 4 Hormone regimen (3)

Transman

การบริหารยาในชายข้ามเพศนั้นมีความง่ายกว่าหญิงข้ามเพศ เพียงTestosterone อยู่ในระดับจะสามารถกดการผลิตของ Estrogen ได้อย่างสมบูรณ์ Testosterone ที่นิยมใช้คือTestosterone enanthate/cypionate 100-200 mg ทุก 2 อาทิตย์, Testosterone gel 50-100 มิลลิกรัมต่อวัน Testosterone patch 2.5-7.5 มิลลิกรัมต่อวัน(Figure 4) Testosterone ในรูปแบบของ Oral 17-alkylate testosterone ไม่แนะนำเนื่องจากทำอันตรายให้ตับอย่างรุนแรง Testosterone ช่วยกดการสร้าง Estrogen เปลี่ยนแปลงสรีระร่างกายให้มีความเป็นชายมาก ลดอาการวัยทอง และ กระดูกพรุน ก่อนการใช้ฮอร์โมนควรตรวจข้อห้ามก่อนโดยข้อห้ามเด็ดขาดของ Testosterone คือการตั้งครรภ์ ข้อห้ามอื่นๆเช่น ความดันสูงชนิดรุนแรง, นอนกรน, Polycytemia รวมถึงประเมินภาวะที่สามารถเป็นหนักขึ้นหากได้ฮอร์โมนคือ หัวใจล้มเหลว และ Polycytemia (3)

หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ(Abnormal uterine bleeding) ซึ่งมักเกิดจากระดับ Testosterone ไม่เพียงพอ สามารถแก้ไขโดย Oral progesterone : Oral Lynestrenol/Medroxyprogesterone 5-10 mg/d, Endometrial ablation และ ใช้ GnRH analogue/DMPA เพื่อหยุดประจำเดือนในช่วงก่อนการเริ่มฮอร์โมน

Masculinizing เป็นการเปลี่ยนแปลงสรีระของร่างกายให้มีความเป็นชาย(รูปภาพที่ 3) ประจำเดือนเริ่มหยุดในเวลาที่ต่างกันตั้งแต่ 1-12 เดือน, มีคลิตอริสโตขึ้น, เพิ่มความต้องการทางเพศ สรีระรูปร่างเริ่มคล้ายชายมากขึ้นคือ กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น การกระจายของไขมันเป็นไปตามรูปลักษณ์ของชาย เสียงทุ้มมากขึ้น แต่พบว่า 10% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงจึงต้องทำ Voice therapy ร่วมด้วย ขนเพิ่มมากขึ้น เพิ่ม Ferriman-Galloway score แต่อาจพัฒนาผมร่วงแบบ Androgenic alopecia ได้ ซึ่งสามารถรักษาด้วย Finesteride 1mg/d นาน 12 เดือน นอกจากนี้ยังเพิ่มสิวทั้งบริเวณหน้า และ หลังอีกด้วย อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดเรื่องส่วนสูงและรูปทรงของกระดูกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้(9)(Figure 5)

Figure 5 Masculinizing (3)

การใช้ Testosterone ควรมีการติดตามที่ได้มาตรฐานเพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงตามรูปภาพที่ 6 ติดตามระดับฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันระดับฮอร์โมนที่สูงเกินจะเกิดผลข้างเคียง และ ต่ำกว่ามาตรฐานจนไม่สามารถรักษามวลกระดูก วัดระดับความเข้มข้นเลือดเพื่อเฝ้าระวัง polycythemia รวมถึงติดตามน้ำหนัก ความดัน และ ระดับไขมันอย่างสม่ำเสมอ ติดตามความเสี่ยงมะเร็ง มะเร็งเต้านมยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองคล้ายหญิงเนื่องจากยังมีรายงานมะเร็งเต้านมแม้จะผ่านการตัดเต้านมมาแล้ว ซึ่งมักเกิดบริเวณที่เป็น Subareola area และมาในระยะเริ่มต้น มะเร็งมดลูกตามทฤษฎีแล้วการได้รับ Testosterone เข้าไปสามารถเปลี่ยนเป็น Estrogen ได้และกระตุ้นให้เกิด Endometrium hyperplasia และ Endometrial carcinoma ตามมาแต่ในความเป็นจริงพบการรายงานมะเร็งมดลูกในชายข้ามเพศน้อย อีกทั้งในรายที่ทาน Testosterone และเข้ารับการผ่าตัดนำมดลูกออกพบผลพยาธิของมดลูกส่วนใหญ่เป็น Atrophic endometrium อีกด้วย อย่างไรก็ตามยังคงแนะนำการผ่าตัดนำมดลูกเพื่อลดความเสี่ยงอยู่ดี โดย Laparoscopic เป็นวิธีการมาตรฐาน หรือจะผ่าตัดทางช่องคลอดก็ไม่เป็นข้อห้ามเช่นกัน มะเร็งรังไข่ยังมีรายงานแต่ไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น มะเร็งปากมดลูกหากยังไม่ได้รับการตัดมดลูกยังคงแนะนำให้มาตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปีตามหญิงทั่วไป(3)

ความเสี่ยงด้านหัวใจและหลอดเลือดยังไม่แน่ชัด พบว่าลักษณะของไขมันเป็นไปในทางไม่ดีคือ เพิ่มระดับ LDL, Triglycerides และลดระดับ HDL ส่วนของ Insulin resistance ผลการศึกษายังกำกวม Testosterone เพิ่มระดับ Hemoglobin และ Hematocrit แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน การตรวจคัดกรองภาวะ Thrombophilia ในทุกคนที่ไม่แนะนำเช่นกัน (3)

Figure 6 Follow up Transman (3)

Gender-Affirming Surgery

มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ต้องการการผ่าตัด และมุมมองการผ่าตัดอาจเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงทางกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. การผ่าตัดที่ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญพันธ์ เช่น การผ่าตัดเต้านม การผ่าตัดเสริมความงาม 2.การผ่าตัดที่มีผลต่อการเจริญพันธ์ เช่น Gonadectomy การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Irreversible ดังนั้นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดควรมีนิติภาวะที่เหมาะสมอย่างน้อยอายุต้องมากกว่า 18 ปี แต่ WHO ได้กล่าวว่าอายุไม่ควรเป็นข้อบ่งชี้เดียว หากพบว่า Social transition, ผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไม่เป็นที่พอใจ รวมถึงยังมีความลังเลในการผ่าตัด ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด หากทานฮอร์โมนควรทานเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีก่อนการผ่าตัดยกเว้นไม่ต้องการทานฮอร์โมน หรือมีข้อห้ามทางการแพทย์ และมีการลงความเห็นทั้งจากจิตแพทย์ และ แพทย์ที่ดูแลเรื่องฮอร์โมนว่าสามารถทำการผ่าตัดได้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์(Figure 7) ผู้แปลงเพศที่ตรงตามข้อบ่งชี้ตามรูปภาพที่ 7 ระยะเวลาในการผ่าตัดที่ไม่มีผลต่อการเจริญพันธุ์ขึ้นกับหลายปัจจัยทั้งสุขภาพจิต กฎหมายของแต่ละประเทศ ไม่มีอายุกำหนดไว้แน่นอน(3)

Figure 7 Criteria for Gender-Affirming Surgery (3)

Transwoman

การผ่าตัดที่มีผลต่อการเจริญพันธ์คือ Gonadectomy, Penectomy, vaginoplasty และ reconstructive surgery การทำ Vaginoplasty หรือ Neovagina สามารถทำได้โดยการกลับหนังpenileเข้าหรือจะใช้จากลำใส้ได้เช่นกัน Reconstructive surgery เป็นการผ่าตัดอวัยวะเพศภายนอกให้คล้ายเพศหญิงโดยจะดัดแปลง Scrotum เป็น Labia majora สร้าง Labia minora, Critoris and hood ขึ้นมาใหม่ การผ่าตัดควรระวังไม่ตัดเส้นประสาท ในบางครั้งอาจสร้างจุดรวมเส้นประสาทเทียบเท่า G spot ในผู้หญิง ผลข้างเคียงที่พบได้หลังผ่าตัดคือ Prolapse neovagina, Rectovaginal fistula, แผลรักษาตัวช้า และ ช่องคลอดตีบแคบแนะนำให้ถ่างขยายสม่ำเสมอหลังผ่าตัด(10)

การผ่าตัดอื่นที่ไม่มีผลต่อการเจริญพันธ์ เช่น Laryngeal surgery เพื่อเปลี่ยนเสียงให้มีความนุ่มนวลขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ Breast surgery แนะนำให้รอจนรับประทานฮอร์โมนไปอย่างน้อย 2 ปีจึงพิจรณาผ่าตัดเสริมหน้าอกเพื่อรอให้ฮอร์โมนออกฤทธิ์ได้เต็มที่ก่อนนั่นเอง Removal hair การทำเลเซอร์เพื่อลดขนที่ไม่จำเป็นออก(10)

Transman

การผ่าตัดแปลงเพศในเพศชายควรรอ1-2ปี หลังทานAndrogen การผ่าตัดที่มีผลต่อการเจริญพันธ์คือ Complete hysterectomy, Oophorectomy, Vaginectomy สามารถผ่าตัดผ่านการส่องกล้องหรือ ทางช่องคลอดได้เช่นกัน การสร้าง Neopenis เป็นการผ่าตัดที่หลายขั้นตอน ราคาสูง และ มีความพึงพอใจหลังผ่าตัดที่ต่ำต่างจากการผ่าตัดแปลงเพศหญิงข้ามเพศ วิธีการผ่าตัดในปัจจุบันคือการทำ flap ซึ่ง Radical forearm flap เป็นส่วนที่นิยมมากที่สุด สามารถทำให้ Neopenis แข็งตัวได้โดยการนำเส้นประสาทมาต่อเข้าที่กล้ามเนื้อ flap และฝึกฝนให้กล้ามเนื้อหดตัว หรือ ทำโดยการใส่ Medical device เข้าไปแทน(10)

การผ่าตัดที่ไม่มีผลต่อการเจริญพันธ์ เช่น Metaloidoplasty คือการดึง Clitoris มาด้านหน้าทำให้สามารถยืนปัสสาวะได้คล้ายผู้ชาย Create scrotum สร้างจาก Labia majora และใส่ถุงอัณฑะเทียมเข้าไปแทน Mastectomy เป็นการผ่าตัดที่สำคัญในการสร้างลักษณะให้คล้ายชาย โดยส่วนใหญ่ขนาดหน้าอกจะเล็กลงหากใช้ Testosterone การผ่าตัดสามารถทำก่อนอายุ 18 ปีโดยระยะเวลาที่ทำขึ้นกับแต่ละบุคคล(10)

Figure 8 Medical Risk Associated with Sex Hormone Therapy (3)

Reference

1. Coleman E, Bockting W, Botzer M, Cohen-Kettenis P, DeCuypere G, Feldman J, et al. Standards of Care for the Health of Transsexual, Transgender, and Gender-Nonconforming People, Version 7. International Journal of Transgenderism. 2012;13(4):165-232.

2. Michael Lipka. Gay Marriage Around the World. 2017. Available from: http://www.pewforum.org/2017/08/08/gay-marriage-around-the-world-2013/.

3. Hembree WC, Cohen-Kettenis PT, Gooren L, Hannema SE, Meyer WJ, Murad MH, et al. Endocrine Treatment of Gender-Dysphoric/Gender-Incongruent Persons: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2017;102(11):3869-903.

4. Committee on Health Care for Underserved W. Committee Opinion no. 512: health care for transgender individuals. Obstet Gynecol. 2011;118(6):1454-8.

5. Committee on Adolescent Health C. Committee Opinion No. 685: Care for Transgender Adolescents. Obstet Gynecol. 2017;129(1):e11-e6.

6. Telfer MM, Tollit MA, Pace CC, Pang KC. Australian standards of care and treatment guidelines for transgender and gender diverse children and adolescents. Med J Aust. 2018;209(3):132-6.

7. Ethics Committee of the American Society for Reproductive Medicine. Access to fertility services by transgender persons: an Ethics Committee opinion. Fertil Steril. 2015;104(5):1111-5.

8. American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders 5th edition. American Psychiatric Association 2013;Arlington:451-9.

9. Guy T’Sjoen JA, Louis Gooren. Endocrinology of transgender medicine. Endocrine Reviews. 2019;40(1):20.

10. Joshua D. Safer VT. Care of Transgender Persons. The New England journal of medicine. 2019;381:10.

 

Read More
CACxF1

มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)

มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)

 

พญ. ธาวินี กฤตสรรค์วงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. นพ. กิตติภัต


 

มะเร็งปากมดลูก(Cervical cancer) นั้นเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 4 ของหญิงทั่วโลก และ พบมาถึงอันดับ 2 ในประเทศไทย[1-3] สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกนั้นส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส HPV (Human papilloma virus) ติดเชื้อเซลล์เยื่อบุปากมดลูก[4,5] โดยใช้โปรตีน E6 และ E7 ของไวรัสเข้ามาจับกับ โปรตีน P53 และ Rbของเซลล์เยื่อบุปากมดลูก ทำให้ยับยั้งการตายของเซลล์(Apoptosis) และ กระตุ้นเซลล์เข้าสู่กลไกการแบ่งตัวตามลำดับ ทำให้ต่อมาเซลล์เยื่อบุปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

การจัดระบบกำหนดระยะของโรคที่ดี เกิดจากการบอกระยะการกระจายของโรคได้อย่างแม่นยำ ทำให้ทำนายอัตราการอยู่รอดได้ดี รวมไปถึงสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย การจัดระบบโดย FIGO ในปี 2018[6] จึงได้มีการเปลี่ยนการจัดระบบกำหนดโรคโดยใช้ภาพทางรังสี และ ผลชิ้นเนื้อเข้าร่วมในการจัดระยะของโรคด้วย

การประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษา (Pretreatment Evaluation)[7,8]

  1. ซักประวัติ และ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด
  2. ส่งเลือดตรวจห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Complete blood Count with platelet, Liver function test, Renal function studies
  3. ส่งตรวจชิ้นเนื้อจากปากมดลูก(Cervical biopsy) หรือ หากทำแล้วควรทบทวนผลชิ้นเนื้ออีกครั้ง(Pathological review)
  4. ตัดปากมดลูกเป็นรูปโคนตามข้อบ่งชี้
  5. ส่งภาพทางรังสีเพิ่มเติม
    1. ในระยะที่ 1 แนะนำให้ตรวจ Chest X-ray หากพบความผิดปกติจึง CT chest without contrast ต่อไป
    2. ในระยะที่ IB1-IB2 แนะนำให้ตรวจ Whole body CT scan
    3. ในระยะที่ IB2-IB3 และ II-IV แนะนำให้ตรวจ whole body PET/CT scan
    4. การส่งภาพทางรังสีอื่นขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และ ความเสี่ยงของการกระจายของโรค เช่น ขนาดของมะเร็งมากกว่า 4 เซนติเมตร, Delay presentation และ มีการการผิดปกติในอุ้งเชิงกราน,ช่องท้อง และ ปอด
  6. ให้คำปรึกษาการรักษา และ แนะนำควรหยุดสูบบุหรี่
  7. พิจรณาตรวจผล HIV โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุน้อย เนื่องจาก HPV ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกัน
  8. พิจรณาตรวจภายใต้การระงับความรู้สึกในบางราย และ พิจรณาตรวจส่องกล้องในกระเพาะปัสสาวะ(Cystoscope) และ ส่องกล้องทางทวาร(Proctoscope) โดยเฉพาะในระยะโรคที่มากกว่า หรือ เท่ากับระยะ IB3
  9. พิจรณาการรักษาแบบ Fertility sparing ในรายที่ยังต้องการมีบุตร

การกำหนดระยะโรคโดย FIGO(International Federation of Gynecology and Obstetrics) 2018[6]

ระยะที่ 1 รอยโรคอยู่ที่ปากมดลูกเท่านั้น โดยที่แยกระยะจากความลึกของรอยโรค ความกว้างของรอยโรค, รอยโรคขึ้นไปที่มดลูก และ การกระจายของมะเร็งเข้าเส้นเลือดและ ต่อมน้ำเหลืองไม่เปลี่ยนการจัดระยะโรค แต่การกระจายของมะเร็งเข้าเส้นเลือดและ ต่อมน้ำเหลืองนั้นควรเขียนไว้ในผลรายงานชิ้นเนื้อเนื่องจากมีการรักษาและ การทำนายโรคที่ต่างกัน

ระยะที่ 2 รอยโรคกระจายไปด้านข้าง(Parametrium)และ ด้านล่าง(Upper vagina)ของปากมดลูก โดยที่หากมีการกระจายของรอยโรคไปยังรังไข่จะไม่เปลี่ยนการจัดระยะโรค[9-10] หากไม่มั่นใจขนาดของรอยโรค หรือ การกระจายของรอยโรคว่าลงมาถึงด้านล่างของช่องคลอดแนะนำให้ส่องกล้อง(Colposcope)เพื่อตรวจให้แน่ชัด

ระยะที่ 3 รอยโรคกระจายมากขึ้นด้านข้างถึง Pelvic side wall หรือ อาจกดทับทำให้ไตทำงานผิดปกติ, การกระจายลงด้านล่างถึง lower vagina, กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานและ ด้านข้างเส้นเลือดแดงใหญ่ ในระยะนี้หากพบการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองควรมีการระบุวิธีที่พบด้วยโดยเขียนต่อท้ายชื่อระยะ (r) แทนภาพทางรังสี – radiationและ (p) แทนชิ้นเนื้อ – pathology โดยทั่วไปการกระจายของโรคไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองแบ่งแแกเป็นทั้งหมด 3 ระดับด้วยกันได้แก่ (1)Isolated tumor cells มีรอยโรคในต่อมน้ำเหลืองขนาดน้อยกว่า 0.2 มิลลิเมตร (2)Micrometastasis มีรอยโรคในต่อมน้ำเหลืองขนาด 0.2-2.0 มิลลิเมตร (3)Macrometastasis มีรอยโรคในต่อมน้ำเหลืองขนาดมากกว่า 2.0 มิลลิเมตร โดยที่หากการกระจายของโรคอยู่ในระดับ Isolated tumor cell หรือ Micrometastasis จะไม่เปลี่ยนการจัดระยะโรค[12-14]

ระยะที่ 4 มีการกระจายรอยโรคไปยังอวัยวะข้างเคียงเช่น กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้ตรง, กระจายไปยังอวัยวะอื่นไกลเช่น ตับ ปอด และ กระดูก ในระยะนี้หากพบเพียงการบวมเฉพาะจุด(Bulbous edema) หรือ การหายไปของแนวไขมันในภาพรังสีจะไม่เปลี่ยนการจัดระยะโรค แนะนำให้เก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันก่อนทุกครั้ง

CACxF1

ภาพที่ 1 แสดงการจัดระยะมะเร็งปากมดลูกโดย FIGO 2018[6]

การรักษามะเร็งปากมดลูกโดย NCCN guideline 2019 (National Comprehensive Cancer Network)[15]

การรักษาสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร(Non-fertility sparing treatment)

ระยะที่ IA1 with no Lymphovascular stromal invasion

ตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวย แนะนำให้ใช้มีด(CKC – Cold knife conization) มากกว่าการตัดด้วยห่วงไฟฟ้า(LEEP – Loop electrical excision procedure) เนื่องจากสามารถดูขอบเขตของโรคได้ดีกว่าด้วยไม่มีการทำลายจากความร้อนด้วยการจี้ อย่างไรก็ตามสามารใช้ห่วงไฟฟ้าได้เช่นกันแต่ควรตัดออกมาเป็นชิ้นเดียวและพยายามให้ชิ้นเนื้อที่ถูกตัดถูกทำลายน้อยที่สุด

หากขอบชิ้นเนื้อปราศจากรอยโรค(Invasive Cancer) และ การเปลี่ยนแปลงเซลล์ขั้นสูง(HSIL)เป็นระยะ 3 มิลลิเมตร ให้ทำการผ่าตัด Extrafascial Hysterectomy ในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้การสักเกตุอาการอย่างใกล้ชิดก็เพียงพอเนื่องจากในระยะนี้มีโอกาศน้อยกว่า 1% ที่รอยโรคจะหระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือด

หากขอบชิ้นเนื้อยังมีรอยโรค(Invasive Cancer) และ การเปลี่ยนแปลงเซลล์ขั้นสูง(HSIL) สามารถเลือกการรักษาด้วย ตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยอีกครั้งเพื่อดูขอบเขตที่แน่นอน หรือ ผ่าตัด Extrafascail/Modified radical hysterectomy with pelvic lymph node dissection

ระยะที่ IA1 with Lymphovascular stromal invasion และ ระยะIA2

การรักษาหลักคือการผ่าตัด Modified radical hysterectomy with pelvic lymph node dissection หากผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้การรักษาสามารถเปลี่ยนเป็น Pelvic EBRT(External beam radiotherapy) with VBT(Vaginal Brachytherapy) โดยปริมาณรังสีจุด A อยู่ที่ 70-80 Gy

ระยะที่ IB1,IB2 และ IIA1

การรักษาหลักคือการผ่าตัด Radical hysterectomy with pelvic lymph node dissection and considered para-aortic lymph node dissection หากผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้การรักษาสามารถเปลี่ยนเป็น Pelvic EBRT(External beam radiotherapy) with VBT(Vaginal Brachytherapy) โดยปริมาณรังสีจุด A อยู่ที่ 80-85 Gy อาจพิจรณาให้ Concurrent platinum-containing chemotherapy ร่วมด้วยได้ในบางกรณี

หากระยะที่ IB1 มีความเสี่ยงต่ำที่รอยโรคกระจายไป Parametrium การผ่าตัดสามารถเพียง Modified radical hysterectomy with pelvic lymph node dissection ได้ โดยกลุ่มที่จัดว่ามีความเสี่ยงต่ำต้องมีลักษณะ 3 ข้อด้วยกันคือ (1) ขนาดรอยโรคที่ใหญ่ที่สุดขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร (2) Stromal invasion < 50% (3)ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่น่าสงสัยบนภาพรังสี

ระยะที่ IB3 และ IIA2

ในระยะการรักษาหลักคือการฉายแสง Definitive Pelvic EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT (Point A ≥ 85Gy) ในบางกรณีที่อาจพบว่าการผ่าตัดนั้นมีประโยชน์มากกว่าสามารถใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด Radical hysterectomy with pelvic lymph node dissection ซึ่งเป็นการรักาษารองมาใช้ได้ โดยประโยชน์ที่การผ่าตัดมีมากกว่าการฉายแสงคือ (1)สามารถกำหนดระยะของโรคได้อย่างแม่นยำ (2)สามารถทำส่วนของรอยโรคออกโดยที่ส่วนนั้นอาจจะเป็นส่วนที่ดื้อต่อการฉายแสงและ การได้รับเคโมเทอราปี (3)ในรายที่ต้องการรักษาการทำงานของรังไข่สามารถผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนที่อยู่ของรังไข่(Ovarian transposition)เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากการฉายแสง

นอกจากนี้ในรายที่มีการตอบสนองดีต่อการฉายแสงหรือ การฝังแร่ สามารถพิจรณาผ่าตัดเพิ่มเติมจากการรักษาหลักได้นั่นคือ Definitive Pelvic EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT(Point A 75-80 Gy) with adjuvant hysterectomy

ระยะที่ IIB,III และ IVA (รวมถึง ระยะที่ IB3 และ IIA2)

การรักษาหลักในระยะนี้คือการฉายแสง Definitive Pelvic EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT โดยควรค้นหาเพิ่มว่ามีการกระจายของรอยโรคไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณเส้นเลือดแดงใหญ่หรือไม่ หากมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณดังกล่าวควรขยายบริเวณฉายแสงให้ครอบคลุมบริเวณดังกล่าวหรือ Extended-field EBRT โดยการค้นหาการกระจายโรคไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเส้นเลือดแดงใหญ่นั้นสามารถทำได้ 2 วิธีคือ Radiologic imagingและ Surgical staging; Extraperitoneal/laparoscopic lymph node dissection

หากใช้ Radiologic imaging ไม่ว่าจะเป็น CT,MRI หรือ PET/CT พบรอยโรคที่ Pelvic node โดยไม่พบรอยโรคที่ Para-aortic node การรักษามาตรฐานคือ Definitive Pelvic EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT หรือสามารถพิจรณาค้นหาด้วยวิธี Surgical staging เพื่อยืนยันถึงสภานะการกระจายของรอยโรคบริเวณ Para-aortic node หากพบการกระจายรอยโรคควร Extended-field EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT ซึงหลังการผ่าตัดควรพิจรณา Post-op imaging: Whole abdomen CT/MRI เพื่อยืนยันว่าได้นำต่อมน้ำเหลืองออกอย่างเพียงพอแล้ว ในกรณีที่พบรอยโรคที่สงสัย Distant metastasis ควรเก็บชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันก่อนและรักษาด้วย systemic therapy +/- individualized RT

หากใช้ Surgical staging; Extraperitoneal/laparoscopic lymph node dissection พบรอยโรคที่ Pelvic node โดยไม่พบรอยโรคที่ Para-aortic node การรักษามาตรฐานคือ Definitive Pelvic EBRT with Concurrent platinum-containing chemotherapy with VBT แต่หากพบรอยโรคทั้ง Pelvic nodeและ Para-aortic node ควรค้นหาด้วย Radiologic imaging เพิ่มเติมเพื่อพิจรณารอยโรคที่เป็น Distance metastatic ซึ่งการรักษาหลักจะเปลี่ยนเป็น systemic therapy +/- individualized RT แทนแต่ควรมีการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันก่อนและรักษา

การรักษาหลักในระยะนี้คือการฉายแสงหรือ Radiotherapy ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการฉายแสงร่วมกับให้เคโมเทอราปี มีการตอบสนองโรคดีว่าการฉายแสงอย่างเดียว การรักษาในระยะนี้จึงเน้นไปที่การรักษาที่เรียกว่า CCRT(Concurrent chemoradiotherapy) โดยจะให้ยาเคโมเทอราปีอาทิตย์ละครั้ง เน้นเป็นลักษณะ Single agent chemotherapy โดยยาตัวแรกที่แนะนำให้ใช้คือ Cisplatin 40 mg/m2 once a week ร่วมกับการฉายแสง การรักษาควรเสร็จสิ้นในเวลา 8 อาทิตย์ หากใช้เวลานานกว่า 9-10 อาทิตย์ มีความเสี่ยงสูงที่การรักษาจะล้มเหลว แต่หากใช้เวลาน้อยกว่า 6-7 อาทิตย์มีการทำนายการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี ในบางสถานบริการที่การฉายแสงต้องล่าช้าไม่สามารถให้ได้ทันทีสามารถให้การรักษาด้วยยาเคโมเทอราปีระหว่างรอการฉายแสงได้(NACT : Neoadjuvant chemotherapy) เพื่อลดขนาดของมะเร็งทำให้ง่ายต่อการรักษาด้วยการฉายแสงต่อหรือการรักษาด้วยผ่าตัดต่อไปอีกด้วย และยังช่วบยับยั้งรอยโรคที่เป็น Micrometastasis/Distance metastatic ได้อีกด้วย

ระยะที่ IVB หรือ Distant metastasis

การรักษาขึ้นกับรอยโรคบริเวณปากมดลูกว่าสามารถที่จะรักษาได้หรือไม่ หากสามารถรักษารอยโรคเฉพาะที่ได้ให้รักษาโดยมีทางเลือกในการรักษาคือ (1) Resection +/- Individualized EBRT (2) Local ablative therapies +/- Individualized EBRT (3) Individualized EBRT +/- Systemic therapy และ พิจรณา adjuvant systemic therapy

ในรายที่ไม่สามารถรักษารอยโรคที่ปากมดลูกได้ให้รักษาด้วย Systemic therapy หรือ Best supportive care ในกรณีที่ ECOG score 0-2

การรักษาแบบ Best supportive care นั้นจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเช่น อาการปวด, อุดตันท่อปัสสาวะ, เลือดออก, กลิ่นเหม็นและ น้ำเหลืองคั่ง โดยรักษาโดย Short course radiotherapy (1) 20Gy x 5Fx ใน 1 อาทิตย์ (2) 30 Gy x 10Fx ใน 2 อาทิตย์

การรักษาสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร(Fertility sparing treatment)

ระยะที่สามารถรักษาแบบ Fertility-Sparing ได้นั้นมีจำกัดคือ ระยะที่ IA1, IA2 และ ระยะที่IB1,IB2 ในบางกรณี โดยการรักษามาตรฐานคือCone biopsy, Simple/Radical trachelectomy และแบ่งการรักษาออกตามแต่ละระยะดังนี้

ระยะที่ IA1 with no Lymphovascular stromal invasion

การรักษามาตรฐานคือการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยโดยที่ไม่พบรอยโรคที่ขอบเขตของชิ้นเนื้อ 3 มิลลิเมตร สามารถติดตามการรักษาได้เลย แต่หากพบรอยโรคที่ขอบเขตของชิ้นเนื้ออาจพิจรณา (1)Repeat Cone biopsy หรือ (2) Trachelectomy

ระยะที่ IA1 with Lymphovascular stromal invasion และ ระยะIA2

การรักษามาตรฐานสามารถเลือกตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย(Cone biopsy) ร่วมกับตัดต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน(Pelvic lymph node dissection) หรือตัดปากมดลูก(Radical trachelectomy) ร่วมกับตัดต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน(Pelvic lymph node dissection)

ระยะที่ IB1, IB2

การรักษาในระยะนี้สามารถรักษาได้แค่เพียงบางกลุ่มเท่านั้นคือ ขนาดของรอยโรคที่ใหญ่ที่สุดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร, ไม่ใช่ Small cell neuroendocrine cell type, ไม่ใช่ Gastric type adenocarcinoma จงสามารถรักษาแบบ Fertility-sparing ได้

การรักษามาตรฐานในระยะนี้คือ Radical trachelectomy with pelvic lymph node dissection +/- Para-aortic lymph node dissection โดยมีการรายงานการตั้งครรภ์หลังการตัดปากมดลูกทั้งหมดจำนวน 300 เคส พบว่ามี 10% แท้งขณะไตรมาสที่สอง และ 72% สามารถตั้งครรภ์ถึงครบกำหนด

การรักษาสำหรับ Incidental finding after simple hysterectomy

แนะนำให้ทบทวนชิ้นเนื้อหากเป็นระยะ IA1 with no LVSI สามารถติดตามการรักษาได้ หากพบ LVSI, ระยะโรคมากกว่า IA1, positive margin หรือ มีรอยโรคเหลือชัดเจน ควรประเมิณคนไข้อีกครั้งตั้งแต่ซักประวัติ, ตรวจร่างกาย, ส่งเลือดตรวจทางห้องปฎิบัติการ (Complete blood count, Liver function test, renal function studies), imaging studies

หากขอบเขตชิ้นเนื้อไม่พบรอยโรคและ ผลภาพรังสีไม่พบต่อมน้ำเหลืองโตการรักษาในกลุ่มนี้คือ Pelvic EBRT with VBT +/- Concurrent chemotherapy ในบางรายสามารถพิจรณาผ่าตัดให้ครบคือ Complete parametrectomy/upper vaginectomy with pelvic lymph node dissection +/- Para-aortic lymph node dissection หากชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัดไม่พบการกระจายรอยโรคไปต่อมน้ำเหลืองและ ไม่หลงเหลือรอยโรคสามารถสั่งเกตุอาการโดยไม่จำเป็นต้องฉายแสงเพิ่มเติม แต่หากผลชิ้นเนื้อเข้าได้กับ Peter Criteria ให้รักษาต่อด้วย Pelvic EBRT with concurrent platinum-containing chemotherapy +/- individualized brachytherapy

หากขอบเขตชิ้นเนื้อพบรอยโรค, พบรอยโรคกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในภาพรังสีหรือ ผลชิ้นเนื้อเข้าได้กับ Sedlis Criteria การรักษามาตรฐานในกลุ่มนี้คือ Pelvic EBRT with concurrent platinum-containing chemotherapy +/- individualized brachytherapy ในกรณีที่พบต่อมน้ำเหลืองโตอย่างเห็นได้ชัดให้พิจรณา Surgical debulking of grossly enlarged nodes ก่อนการรักษามาตรฐาน

การรักษาเพิ่มเติมหลังทราบผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัด

หากพบว่ารอยโรคกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเส้นเลือดแดงใหญ่(Para-aortic node positive) ควรค้นหา Distant metastasis ด้วยภาพทางรังสี หากสงสัยควรเก็บชิ้นเนื้อเพื่อยืนยัน หาดไม่มี Distant metastasis การรักษามาตรฐานคือ Extended field EBRT with Chemotherapy +/- VBT หากเป็น Distant metastasis การรักษามาตรฐานคือ systemic therapy +/- individualized RT

ผลชิ้นเนื้อเข้าได้กับ Peter’s Criteria (High risk group) คือมีลักษณะอย่างน้อย 1 ใน 3 ดังนี้ (1)Pelvic node positive (2) Surgical margin positive (3)Parametrium positive การรักษามาตรฐานคือ Pelvic EBRT with chemotherapy +/- VBT

ผลชิ้นเนื้อเข้าได้กับ Sedlis’s criteria (Intermediate risk group) คือมีลักษณะอย่างน้อย 2 ใน 3 ดังนี้ (1) Tumor size > 4 cm (2) LVSI positive (3) deep invasion 1/3 หรือมีคุณลักษณะตามภาพที่ 2 การรักษามาตรฐานคือ Pelvic EBRT +/- VBT การให้ Chemotherapy ในกลุ่มนี้ไม่ใช่ข้อห้ามแต่เป็นคำแนะนำระดับ 2B เท่านั้น

CACxF2

ภาพที่ 2 แสดง Sedlis’s criteria [16]

การติดตามหลังการรักษา (Surveillance)

แนะนำให้ตรวจติดตามทุก 3-6 เดือนใน 2 ปีแรก และทุก 6-12 เดือนใน 3-5 ปีต่อมา หลังจากนั้นให้ตรวจติดตามทุก 1 ปี โดยทุกครั้งที่ตรวจติดตามให้ซักประวัติถึงอาการผิดปกติต่างๆ, ตรวจร่างกาย, ถามเกี่ยวกับสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ ในบางรายอาจต้องการความช่วยเหลือเช่น สารหล่อลื่นต่างๆเป็นต้น รวมถึงคอยประเมิณการกลับมาของโรคด้วย อีกทั้งควรตรวจ PAP smear ทุกปีหลังรักษา

การตรวจเลือดทางห้องปฎิบัติการ เช่น Complete blood count, liver and renal function studies ควรตรวจตามอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย รวมถึงการดูภาพถ่ายรังสีเพิ่มเติมนอกจากแนะนำเช่นกัน

การตรวจภาพทางรังสีในระยะที่ I ให้ตรวจขึ้นกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ยกเว้นในระยะที่ IB3 หรือ ระยะที่มีการรักษาต่อด้วยการฉายแสง แนะนำให้ตรวจ Whole body CT ที่ 3-6 เดือนหลังการรักษาเสร็จสิ้น ในส่วนของระยะที่ II-IV แนะนำให้ตรวจ Whole body CT with contrast ที่ 3-6 เดือนหลังการรักษาเสร็จสิ้น พิจรณา MRI with contrastในบางรายที่จำเป็นได้ ในรายที่เป็นการรักษาแบบ Fertility-sparing แนะนำให้ตรวจ pelvic MRI with contrast ที่ 6 เดือนหลังการผ่าตัด และ ทุก 1 ปีเป็นเวลา 2-3 ปี การตรวจภาพทางรังสีอื่นขึ้นกับอาการที่สงสัยการกลับมาของโรคเช่น มีอาการแสดงใหม่ของอุ้งเชิงกราน,ช่องท้อง หรือ ทรวงอก, ตรวจร่างกายคลำได้ก้อน และ พบต่อมน้ำเหลืองโตเป็นต้น

นอกจากการตรวจติดตามแล้วควรให้ความรู้กับคนไข้ รวมไปถึงแนะนำให้มีการปรับลักษณะการใช้ชีวิตให้ออกกำลังกาย, หยุดสูบบุหรี่, การรับประทานอาหาร และ ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์หลังการรักษาอีกด้วย

หากสงสัยว่ารอยโรคคงที่หรือ กลับมาใหม่แนะนำให้ส่งภาพทางรังสีตามอาการที่สงสัย หรือ Whole body PET/CT เพื่อแยกว่าเป็น Local/regional recurrence หรือเป็นไร Distance metastasis โดยการกลับมาเป็นของโรคพบมากที่สุดบริเวณ Pelvic recurrence และ Para-aortic lymph node รองลงมาตามลำดับ

ลักษณะของการผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษามะเร็งปากมดลูกแบบ non-fertility sparing การรักษามาตรฐานเน้นไปที่การตัดมดลูกโดยตัดเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณรอบข้างมากขึ้นตามระยะของโรคซึ่งบอกถึงความน่าจะเป็นในการกระจายรอยโรคไปด้านข้าง โดยการตัดมดลูกนั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 แบบคือ

Extrafascial hysterectomy(Type A) เป็นการตัดมดลูกที่ชิดกับมดลูก มีช่องคลอดติดมาเล็กน้อยซึ่งการตัดแบบนี้เป็นลักษณะเดียวกับ Simple Trachelectomy ที่เป็นการรักษาองค์ Fertility sparing

Modified radical hysterectomy(Type B) เป็นการตัดมดลูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันด้านข้างจนถึงระดับเดียวกับท่อปัสสาวะ ช่องคลอดด้านบน 1-2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นการตัดลักษณะเดียวกับ Radical Trachelectomy และในการตัดมดลูกชนิดนี้แบ่งได้อีก 2 ลักษณะคือ B1 – not remove lateral paracervical nodesและ B2 – Remove lateral paracervical nodes

Radical hysterectomy(Type C) เป็นการตัดมดลูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันด้านข้างจนถึงชิด internal iliac vessels 1ใน3ของช่องคลอดด้านบน ในการตัดมดลูกชนิดนี้แบ่งได้อีก 2 ลักษณะคือ C1 – Nerve preservationและ B2 – No nerve preservation

CACxF3

ภาพที่ 3 แสดงรายละเอียดลักษณะการผ่าตัดมดลูกและ ปากมดลูก[17,18]

เอกสารอ้างอิง

  1. Cervical Cancer: Estimated Incidence, Mortality and Prevalence Worldwide in 2012. International Agency for Research on Cancer and World Health Organization; 2012.
  2. Parkin DM, Bray F, Ferlay J, Pisani P. Global cancer statistics, 2002. CA Cancer J Clin 2005;55:74-7108.
  3. Kamangar F, Dores GM, Anderson WF. Patterns of cancer incidence, mortality, and prevalence across five continents: defining priorities to reduce cancer disparities in different geographic regions of the world. J Clin Oncol 2006;24:2137-2150.
  4. Kjaer SK, Frederiksen K, Munk C, Iftner T. Long-term absolute risk of cervical intraepithelial neoplasia grade 3 or worse following human papillomavirus infection: role of persistence. J Natl Cancer Inst 2010;102:1478-1488.
  5. Rodriguez AC, Schiffman M, Herrero R, et al. Longitudinal study of human papillomavirus persistence and cervical intraepithelial neoplasia grade 2/3: critical role of duration of infection. J Natl Cancer Inst 2010;102:315-324.
  6. Bhatla N, Aoki D, Sharma DN, et al. FIGO Cancer Report 2018. Cancer of the cervix uteri. Int J Gynecol Obstet 2018;143(Suppl):22-36. Copyright 2018, with permission from International Federation of Gynecology and Obstetrics.
  7. Siegel CL, Andreotti RF, Cardenes HR, et al. ACR Appropriateness Criteria(R) pretreatment planning of invasive cancer of the cervix. J Am Coll Radiol 2012;9:395-402.
  8. Patel S, Liyanage SH, Sahdev A, et al. Imaging of endometrial and cervical cancer. Insights Imaging 2010;1:309-328.
  9. Shimada M, Kigawa J, Nishimura R, et al. Ovarian metastasis in carci- noma of the uterine cervix. Gynecol Oncol. 2006;101:234–237.
  10. Landoni F, Zanagnolo V, Lovato-Diaz L, et al. Ovarian metastases in early stage cervical cancer (IA2–IIA): A multicenter retrospective study of 1965 patients (a Cooperative Task Force study). Int J Gynecol Cancer. 2007;17:623–628.
  11. Zhou J, Chen Y, Zhang P, Lou H. Ovarian preservation in adenocarci- noma of the uterine cervix. J Ovarian Res. 2017;10:48.
  12. Plante M, Gregoire J, Renaud MC, Roy M. The vaginal radical tra- chelectomy: An update of a series of 125 cases and 106 pregnancies. Gynecol Oncol. 2011;121:290–297.
  13. Schmeler KM, Frumovitz M, Ramirez PT. Conservative management of early stage cervical cancer: Is there a role for less radical surgery? Gynecol Oncol. 2011;120:321–325.
  14. Park JY, Joo WD, Chang SJ, et al. Long-term outcomes after fertility- sparing laparoscopic radical trachelectomy in young women with early-stage cervical cancer: An Asan Gynecologic Cancer Group (AGCG) study. J Surg Oncol. 2014;110:252–257.
  15. National Comprehensive Cancer Network. Cervical Cancer (Version 5.2019). https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/cervical.pdf. Accessed September 16, 2019.
  16. Sedlis A, Bundy BN, Rotman MZ, et al. A randomized trial of pelvic radiation therapy versus no further therapy in selected patients with stage IB carcinoma of the cervix after radical hysterectomy and pelvic lymphadenectomy: A Gynecologic Oncology Group Study. Gynecol Oncol 1999;73:177-183.
  17. Cibula D, Abu-Rustum NR, Benedetti-Panici P, et al. New classification system of radical hysterectomy: emphasis on a three- dimensional anatomic template for parametrial resection. Gynecol Oncol 2011;122:264-268.
  18. Querleu D, Morrow CP. Classification of radical hysterectomy. Lancet Oncol 2008;9:297-303.
Read More
VTE T1

Venous Thromboembolism in Pregnancy

Venous Thromboembolism in Pregnancy

แพทย์หญิง ธาวินี กฤตสรรค์วงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์กุณฑรี ไตรศรีศิลป์ หมื่นพินิจ


Introduction

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำเป็นสาเหตุลำดับต้นๆในการเสียชีวิตของมารดาขณะตั้งครรภ์ ตามสถิติพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ 9.2 %[1] จัดเป็นอันดับที่ 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญหากมีการป้องกันอย่างถูกวิธี จึงนับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่เราสามารถป้องกันได้ ภาวะลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำอุดตันนั้นประกอบด้วย Deep Venous thrombosis และ Pulmonary embolism โดยที่พบว่า 80% เป็นภาวะ Deep Venous thrombosis และ มักพบในช่วงก่อนการคลอด ในขณะที่ Pulmonary embolism พบราว 20% [2-4]และ มักพบในช่วงหลังคลอดมากกว่า

Pathophysiology

เป็นที่ทราบกันดีว่าการตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสภาวะร่างกายของมารดามากมาย ทั้งกายภาพ และ สรีรเคมี โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นล้วนส่งเสริมให้เกิดการแข็งตัวของเลือดทั้งสิ้น ในการตั้งครรภ์ทำให้มดลูกมีการขยายขนาดที่ใหญ่ขึ้น และ กดเส้นเลือด Pelvic artery และ inferior vena cava ทำให้เกิดภาวะ Stasis[11] ของเลือด โดยมีการวัด Venous flow ที่ขา พบว่าลดลง 50% ในช่วงต้นของไตรมาสที่ 3 จนถึง 6 อาทิตย์หลังคลอด[5-6] ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญที่สุด อีกทั้งมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้เคลื่อนไหวลำบากส่งเสริมภาวะ immobility ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงที่มีการคลอดแรงเบ่ง และ ภาวะ stasis ของเลือดในเส้นเลือดจะทำให้เกิด Endothelial cell injury อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสรีรเคมีในช่วงตั้งครรภ์ พบว่าเพิ่มการสร้าง Clotting factor และ ลดการสร้าง Anticoagulant ทำให้เกิดภาวะ Hypercoagulation stage[7] โดยภาวะทั้งสามอย่างข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันตาม Virchow triad ทั้งสิ้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์นั้นมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำมากกว่าหญิงทั่วไปถึง 5 เท่า [8-10]

ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงระบบการแข็งตัวของเลือดขณะตั้งครรภ์[29]

VTE T1

Risk factor

ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ควรทำการซักประวัติคือ ประวัติการเคยเป็นลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำมาก่อน พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำนั้นเป็น หญิงที่เคยเป็นลิ่มเลืออุดตันมาก่อนสูงถึง 25-50%[12] ประวัติโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเลือดประเภท Thrombophilia พบว่ามีอุบัติการ์ณเกิดโรคที่สูงถึง 25-50% [2,10,13] เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น Multi-gestation ภาวะโลหิตจาง, Hyperemesis, การผ่าคลอด เพิ่มความเสี่ยง 2 เท่า ยิ่งไปกว่านั้นการติดเชื้อหลังคลอด, ภาวะตายปริกำเนิด, การตัดมดลูกขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป และ พบว่าความเสี่ยงสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 และ อาทิตย์แรกหลังคลอดมากที่สุด[9-10]

ความเสี่ยงเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตามที่ ACOG 2018 ได้มีการแนะนำไว้ให้ทำการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวในการฝากครรภ์ครั้งแรก[14]ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลรักษาระหว่างการฝากครรภ์ได้อย่างถูกต้อง และ ในหญิงที่มีประวัติสงสัยถึงภาวะ Antiphospholipid syndrome แนะนำในทำการค้นหาตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก โดยทำการเจาะเลือด Lupus anticoagulant, Anticardiolipin IgG, IgM antibody, Anti- beta2 glycoproteins IgG, IgM antibody หากผลเป็นบวก 1 ค่า แนะนำให้ตรวจเลือดอีกครั้ง 12 สัปดาห์ต่อมา หากผลเลือดยังเป็นบวกอยู่จึงวินิจฉัยภาวะนี้

Criteria Antiphospholipid syndrome[21]

VTE T2VTE T3

Anticoagulant

ยายับยั้งการแข็งตัวของเลือดนั้นมีหลายตัวด้วยกัน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผู้ป่วยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์เนื่องจากสามารถรับประทานได้ และ สามารถติดตามผลเลือดได้ คือ Warfarin พบว่ายาตัวนี้หากทานตอน อายุครรภ์ 6-9 สัปดาห์จะทำให้ทารกเกิดภาวะ Fetal warfarin syndrome มีลักษณะคือ Nasal and mid face hypoplasia, Strippled vertebral and femoral epiphyses และ หากทานตอนไตรมาสที่ สอง และ สาม อาจทำให้เกิด เลือดออกในทารก, ทารกโตช้าในครรภ์, ความผิดปกติของตา และ ระบบประสาท เช่น การหายไปของ Corpus Callosum และ อาจทำให้ตาบอดได้[15] จึงไม่แนะนำให้ยาตัวนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม Warfarin สามารถให้ได้ขณะให้นมบุตร

Heparin เป็นยายับยั้งการแข็งตัวของเลือดอีกตัวที่นิยมใช้เนื่องจากมีค่าครึ่งชีวิตที่สั้น อย่างไรก็ตามนิยมใช้น้อยกว่า Warfarin เนื่องจากเป็นยาที่ฉีดในชั้นไขมันนั่นเอง ยาตัวนี้ไม่ผ่านรก[16-17] และ แนะนำให้ใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ [18] แนะนำ Low molecular weight heparin มากกว่า Unfractionated Heparin[19] เนื่องจากมีการดูดซึมยาที่ดีกว่า มีค่าครึ่งชีวิตนานกว่า และ ผลข้างเคียงเรื่องเลือดออกน้อยกว่า นอกจากนี้ยาทั้งสองตัวนี้ยังสามารถใช้ระหว่างให้นมบุตรได้อีกด้วย ข้อเสียของยาชนิดนี้คือมีผลข้างเคียงที่น่ากลัว คือ ภาวะ Heparin induced thrombocytopenia เป็นภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ำลงมากกว่า 50% หรือ เกิดลิ่มเลือดอุดตันภายใน 5-10 วันหลังได้รับยา หากเกิดภาวะนี้แนะนำให้ใช้ Fondaparinux แทน

Unfractionated Heparin กลไกการทำงาน กระตุ้น Antithrombin ยับยั้ง Factor Xa, Thrombin การบริหารยาขึ้นกับอายุครรภ์ และ ข้อบ่งชี้ที่ใช้ อาทิ Prophylactic, Therapeutic มีการใช้ขนาดยาที่ต่างกัน ใช้ PTT ในการติดตามขนาดยาที่เหมาะสม keep 1.5 – 2.5 หลังฉีดยา 6 ชั่วโมง

Low molecular weight heparin กลไกการทำงาน กระตุ้น Antithrombin ยับยั้ง Factor Xa มากกว่า Thrombin ใช้ anti factor Xa ในการติดตามขนาดยาที่เหมาะสม keep 0.6 – 1.0 U/ml หลังฉีดยา 4 ชั่วโมง ควรมีการปรับขนาดยาหากมีการทำงานของไตที่ผิดปกติ และ ควรเพิ่มขนาดยาหากน้ำหนักมากเกินจาก Prophylactic dose เป็น Intermediate dose แทน

ตารางแสดงขนาดยาต้านการแข็งตัวของเลือด[29]

VTE T4

Direct anticoagulant เช่น Direct thrombin inhibitor, Factor Xa inhibitor ล้วนพบว่ายานั้นผ่านรกจึงไม่แนะนำให้ระหว่างการตั้งครรภ์ และ ช่วงให้นมบุตร [20]

Antepartum Period

ในการฝากครรภ์ครั้งแรกควรมีการประเมินความเสี่ยงด้วยการซักประวัติ และ ดูอาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ทำการตรวจเลือดในกรณีที่มีประวัติสงสัยภาวะ Antiphospholipid syndrome[21] และ ทำการค้นหาภาวะ Thrombophilia หากมีประวัติ

  • Prior VTE associate with non recurrent risk factor (Fracture, Surgery, Prolong immobility)
  • First degree relative with history of high risk Thrombophilia or VTE at age below 50 year without any risk factor

ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์นั้นมีประวัติเป็นลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน ควรถามหาสาเหตุถึงการเป็นลิ่มเลือดอุดตันครั้งนั้น หากเป็นสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ และ ไม่ปรากฏสาเหตุนั้นอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด แต่หากเป็นสาเหตุที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ หรือ เป็นสาเหตุจากฮอร์โมน หรือ เป็นลิ่มเลือดอุดตันในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนควรได้รับ Prophylactic dose anticoagulant [22-23]

ในกรณีผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรค Thrombophilia แยกออกเป็น High risk Thrombophilia (Homozygous Factor V Leiden, Homozygous G20210A mutation, Heterozygous Factor V Leiden with Heterozygous G20210A mutation, Antithrombin III deficiency ) และ Low risk Thrombophilia (Other thrombophilia ) ล้วนมีผลต่อการเลือกขนาดยาที่ใช้ในการป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน[26]

ในกรณีผู้ป่วยเป็นโรค Antiphospholipid syndrome แนะนำให้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Prophylactic dose ร่วมกับ low dose aspirin

ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่คือยา Warfarin แนะนำให้เปลี่ยนเป็นยา LMWH ตลอดการฝากครรภ์ ยกเว้นหญิงที่มี Mechanical Heart valve[19] เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดอุดตันบริเวณลิ้นหัวใจสูงการฉีดยา Heparin อาจไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้เปลี่ยนยาเป็น LMWH ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 – 12 แล้วจึงกลับมาใช้ยา warfarin ต่อจนกระทั่งช่วงใกล้คลอดจึงเปลี่ยนมาใช้ LMWH อีกครั้ง ยกเว้นผู้ป่วยลิ้นหัวใจเทียมที่มีลิ้นหัวใจเทียมแบบเก่าบริเวณลิ้นหัวใจไมทรัล หรือ เคยเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน แนะนำให้ใช้ Wafarin ตลอดการตั้งครรภ์อย่างไรก็ตามควรแนะนำผลที่ตามมาของทารกเกี่ยวกับการได้รับยา Warfarin ขณะการตั้งครรภ์[25]

Risk Assessment

Thromboprophylatic during ANC

Prior Provoked VTE

Clinical Vigilance

Prior Unprovoked VTE

(Include cause from hormone and pregnancy)

Prophylatic dose

Low risk Thrombophilia without prior VTE

Clinical Vigilance

Low risk Thrombophilia with prior VTE

Prophylatic dose

High risk Thrombophilia without prior VTE

Prophylatic dose

High risk Thrombophilia with prior VTE

Prophylatic dose or Therapeutic dose

High risk Thrombophilia with more or 2 episode of prior VTE

Intermediate dose

Antiphospholipid syndrome

Prophylatic dose With low dose Aspirin

Long term anticoagulant

Therapeutic dose LMWH or 75%LMWH

Mechanical heart valve with long term anticoagulant

Therapeutic dose LMWH At GA 6-12 wk and near delivery

 

Peripartum Period

ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แนะนำให้เปลี่ยนยาจาก LMWH เป็น UFH เนื่องจากยามีค่าครึ่งชีวิตที่สั้นกว่าจึงทำให้การบริหารยาในช่วงใกล้คลอดง่ายขึ้น และ ลดผลข้างเคียง Spinal hematoma จากการบล็อกหลัง นอกจากนี้ควรหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนการคลอด และ เมื่อหยุดยาควรมีการใส่ Pneumatic compression แทน [27]

หากเวลาในการหยุดยาไม่เพียงพอควรชั่งน้ำหนักระหว่าง ความเสี่ยงของการดมยาแบบ General anesthesia และ ความเสี่ยงของการเกิด Spinal hematoma การใช้ Protamine sulfate ไม่แนะนำเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน[28]

Low Molecular Weight Heparin

Prophylactic dose

12 hours

Before induction of labor or elective cesarean section + PTT

Therapeutic dose

24 hours

Before induction of labor or elective cesarean section + PTT

Unfractionated Heparin

7500 U BID or 10000 U OD

12 hours

Before induction of labor or elective cesarean section + PTT

> 10000 U OD

24 hours

Before induction of labor or elective cesarean section + PTT

 

ในการผ่าคลอดทางหน้าท้องแบบนัดล่วงหน้าควรทำในหญิงที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สูงมาก และควรได้รับการป้องกันโดยใส่ vena cava filter ช่วงก่อนคลอด และ นำออกช่วงหลังคลอดโดยมีข้อบ่งชี้คือ

  • • Proximal DVT or PE in 2-4 week before delivery
  • • Recurrent VTE even adequate anticoagulant

Postpartum Period

ในการคลอดทั้งทางช่องคลอด และ ผ่าคลอด แนะนำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว(Early ambulation) ในหญิงทุกรายเป็นการลดความเสี่ยงที่ง่ายที่สุด ในส่วนของการผ่าคลอดควรดูความเสี่ยงของผู้ป่วยว่าต้องการยาต้านเกล็ดเลือดหลังคลอดหรือไม่โดยแนะนำให้ LMWH prophylactic dose ในกรณีมีความเสี่ยงสูง คือ one major or two minor risk[29]

Major risk factor

Minor risk factor

Immobility (Bed rest > 1 week)

BMI > 30 kg/m2

Postpartum Hemorrhage > 1000 ml with surgery

Multiple pregnancy

Previous VTE

Emergency caesarean

Preeclampsia with IUGR

Smoking > 10 cigarettes/day

Thrombophilia : Antithrombin deficiency, Factor V Leiden, Prothrombin G20210A

Fetal growth restriction

Medical condition : SLE, Heart disease, Sickle cell anemia

Thrombophilia : Protein C/S deficiency

Blood Transfusion

Preeclampsia

Postpartum infection

 

 

Postpartum infection

หลังจากคลอดแล้วในหญิงที่ยังต้องการยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรได้ยาก่อน 4-6 ชั่วโมง ในการคลอดทางช่องคลอด และ 6-12 ชั่วโมง ในการผ่าคลอดทางหน้าท้อง ในส่วนของยาที่ได้กลับไปหากเป็น UFH ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังบล็อกหลัง และ นำสายสวนปัสสาวะออก หากเป็น Low dose LMWH ควรรออย่างน้อย 12 ชั่วโมง และ High dose LMWH 24 ชั่วโมง หลังบล็อกหลัง และ นำสายสวนปัสสาวะออกเช่นกัน นอกจากนี้หญิงที่มีลิ้นหัวใจเทียมควรได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดโดยให้เป็น Wafarin และ มีการ bridging with Heparin จนกระทั่ง INR 2.5 – 3.5 อยู่นาน 2 วันติดต่อกันจึงพิจารณานำ Heparin ออกได้[24]

ข้อบ่งชี้ในการได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในช่วงหลังคลอดนั้นคล้ายกับช่วงก่อนคลอดนั่น คือ ประวัติเคยเป็นลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน ประวัติโรคประจำตัว Thrombophilia และ ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนตั้งครรภ์ แต่การบริหารยาในแต่ละข้อบ่งชี้มีความแตกต่างกันเล็กน้อยตามตารางด้านล่าง[25]

Risk Assessment

Thromboprophylatic during PP

Prior Provoked VTE

Prophylactic dose

Prior Unprovoked VTE

(Include cause from hormone and pregnancy)

Low risk Thrombophilia without prior VTE

Prophylactic dose

Low risk Thrombophilia with prior VTE

High risk Thrombophilia without prior VTE

Prophylactic dose

High risk Thrombophilia with prior VTE

Prophylactic dose or Therapeutic dose

High risk Thrombophilia with more or 2 episode of prior VTE

Therapeutic dose

Antiphospholipid syndrome

Prophylactic dose

Long term anticoagulant

Warfarin Keep INR 2-3

Mechanical heart valve with long term anticoagulant

Warfarin Keep INR 2.5-3.5

 

ควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดนาน 6 สัปดาห์ ยกเว้นผู้ที่เกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดในขณะการตั้งครรภ์ครั้งนี้ควรให้ยาอย่างน้อยรวมทั้งหมด 3 เดือน แต่หากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในช่วงหลังคลอด แนะนำให้ยานานถึง 6 เดือน

เอกสารอ้างอิง

  1. Creanga AA, Syverson C, Seed K, et al: Pregnancy-related mortality in the United States, 2011-2013. Obstet Gynecol 130(2):366, 2017
  2. James AH, Jamison MG, Brancazio LR, Myers ER. Venous thromboembolism during pregnancy and the postpartum period: incidence, risk factors, and mortality. Am J Obstet Gynecol 2006;194:1311–5.
  3. Simpson EL, Lawrenson RA, Nightingale AL, Farmer RD. Venous thromboembolism in pregnancy and the puerperium: incidence and additional risk factors from a London perinatal database. BJOG 2001;108:56–60. (Level II-2)
  4. Blanco-Molina A, Rota LL, Di Micco P, Brenner B, Tru-jillo-Santos J, Ruiz-Gamietea A, et al. Venous thrombo-embolism during pregnancy, postpartum or during contraceptive use. RIETE Investigators. Thromb Haemost 2010;103:306–11. (Level II-3)
  5. Antony KM, Racusin DA, Aagaard K, Dildy GA III.Maternal physiology. In: Gabbe SG, Niebyl JR, Simpson JL, Landon MB, Galan HL, Jauniaux ER, et al, editors.Obstetrics: normal and problem pregnancies. 7th ed. Phil-adelphia (PA): Elsevier; 2017. p. 38–63. (Level III)
  6. Macklon NS, Greer IA. Venous thromboembolic disease in obstetrics and gynaecology: the Scottish experience.Scott Med J 1996;41:83–6. (Level III)
  7. Bremme KA. Haemostatic changes in pregnancy. Best Pract Res Clin Haematol 2003;16:153–68 and Medcalf RL,Stasinopoulos SJ. The undecided serpin. The ins and outs of plasminogen activator inhibitor type 2. Febs J 2005;272:4858–67.
  8. Chan WS, Spencer FA, Ginsberg JS. Anatomic distribution of deep vein thrombosis in pregnancy. CMAJ 2010;182:657–60. (Level III)
  9. Ray JG, Chan WS. Deep vein thrombosis during pregnancy and the puerperium: a meta-analysis of the period of risk and the leg of presentation. Obstet Gynecol Surv1999;54:265–71. (Meta-analysis)
  10. James AH, Tapson VF, Goldhaber SZ. Thrombosis during pregnancy and the postpartum period. Am J ObstetGynecol 2005;193:216–9. (Level III)
  11. Gherman RB, Goodwin TM, Leung B, Byrne JD, Hethumumi R, Montoro M. Incidence, clinical characteristics,and timing of objectively diagnosed venous thromboembolism during pregnancy. Obstet Gynecol 1999;94:730–4.(Level II-3)
  12. Pabinger I, Grafenhofer H, Kyrle PA, Quehenberger P,Mannhalter C, Lechner K, et al. Temporary increase in the risk for recurrence during pregnancy in women with a history of venous thromboembolism. Blood 2002;100:1060–2. (Level II-3)
  13. James AH. Venous thromboembolism in pregnancy. Arterioscler Thromb Vasc Biol 2009;29:326–31. (Level III)
  14. D’Alton ME, Friedman AM, Smiley RM, Montgomery DM, Paidas MJ, D’Oria R, et al. National Partnership for Maternal Safety: consensus bundle on venousthromboembolism. Obstet Gynecol 2016;128:688–98.(Level III)
  15. Cotrufo M, De Feo M, De Santo LS, Romano G, DellaCorte A, Renzulli A, et al. Risk of warfarin during pregnancy with mechanical valve prostheses. Obstet Gynecol 2002;99:35–40. (Level III)
  16. Flessa HC, Kapstrom AB, Glueck HI, Will JJ. Placental transport of heparin. Am J Obstet Gynecol 1965;93:570–3. (Level III)
  17. Harenberg J, Schneider D, Heilmann L, Wolf H. Lack of anti-factor Xa activity in umbilical cord vein samples after subcutaneous administration of heparin or low molecular mass heparin in pregnant women. Haemostasis 1993;23:314–20. (Level I)
  18. Greer IA, Nelson-Piercy C. Low-molecular-weight heparins for thromboprophylaxis and treatment of venousthromboembolism in pregnancy: a systematic review of safety and efficacy. Blood 2005;106:401–7. (Systematic Review)
  19. 19. Bates SM, Greer IA, Middeldorp S, Veenstra DL, Prabulos AM, Vandvik PO. VTE, thrombophilia, antithrombotic therapy, and pregnancy: antithrombotic therapy and prevention of thrombosis, 9th ed: American College of Chest Physicians evidence-based clinical practice guidelines. Chest 2012;141:e691S–736S. (Level III)
  20. Bates SM, Middeldorp S, Rodger M, James AH, Greer I.Guidance for the treatment and prevention of obstetric associated venous thromboembolism. J Thromb Thrombolysis 2016;41:92–128. (Level III)
  21. Antiphospholipid syndrome. Practice Bulletin No. 132. American College of Obstetricians and Gynecologists.Obstet Gynecol 2012;120:1514–21. (Level III)
  22. Brill-Edwards P, Ginsberg JS, Gent M, Hirsh J, Burrows R, Kearon C, et al. Safety of withholding heparin in pregnant women with a history of venous thromboembolism.Recurrence of Clot in This Pregnancy Study Group. N Engl J Med 2000;343:1439–44. (Level II-2)
  23. Lee AY, Levine MN, Baker RI, Bowden C, Kakkar AK,Prins M, et al. Low-molecular-weight heparin versus a coumarin for the prevention of recurrent venous thromboembolism in patients with cancer. Randomized Comparison of Low-Molecular-Weight Heparin versus Oral Anticoagulant Therapy for the Prevention of Recurrent Venous Thromboembolism in Patients with Cancer (CLOT) Investigators. N Engl J Med 2003;349:146–53.(Level I)
  24. Leffert L, Butwick A, Carvalho B, Arendt K, Bates SM,Friedman A, et al. The Society for Obstetric Anesthesia and Perinatology consensus statement on the anesthetic management of pregnant and postpartum women receiving thromboprophylaxis or higher dose anticoagulants.Members of the SOAP VTE Taskforce. Anesth Analg 2018;126:928–44. (Level III)
  25. Thromboembolism in Pregnancy. Practice Bulletin No. 196. American College of Obstetricians and Gynecologists.Obstet Gynecol 2018.
  26. Inherited thrombophilias in pregnancy. Practice Bulletin No. 197. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2018;132:e18–34. (Level III)
  27. Royal College of Obstetricians and Gynaecologists.Reducing the risk of venous thromboembolism during pregnancy and the puerperium. Green Top Guideline No. 37a. London (UK): RCOG; 2015. (Level III)
  28. Leffert LR, Dubois HM, Butwick AJ, Carvalho B, HouleTT, Landau R. Neuraxial anesthesia in obstetric patients receiving thromboprophylaxis with unfractionated or low-molecular-weight heparin: a systematic review of spinal epidural hematoma. Anesth Analg 2017;125:223–31.(Systematic Review)
  29. American College of Chest Physicians. VTE, Thrombophilia, Antithrombotic Therapy, and Pregnancy. Evidence-Based Clinical Practice Guidelines.2012;141:691-736.
Read More