Update American Cancer Society Guidelines for Screening Cervical Cancer (1)

พญ.เพ็ญพรรณ บุตรชัยงาม
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์


บทนำ

แนวทางล่าสุดในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก (precancerous lesions) และมะเร็งปากมดลูก

ในบทความนี้จะอ้างอิงของ American Cancer Society (ACS) ซึ่งมาจากการประชุมทบทวนอย่างเป็นระบบ(systematic evidence review) ของผู้เชี่ยวชาญจาก 25 องค์กร ทั้งจาก ACS, American Society for Colposcopy and Cervical Pathology(ASCCP) และ American Society for Clinical Pathology (ASCP) ซึ่งจะกล่าวถึงแนวทางการคัดกรองโดยแบ่งตามกลุ่มอายุ(age-appropriate screening) การใช้เซลล์วิทยา การใช้ HPV testing การติดตามการรักษา การจัดการถ้าผลคัดกรองเป็นบวก ระยะห่างในการคัดกรอง อายุในการหยุดคัดกรอง และการคัดกรองในผู้ที่ได้รับวัคซีน HPV 16,18 การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกถือว่าประสบความสำเร็จในการลดอุบัติการณ์และอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกเนื่องด้วย 1) เพิ่มการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก (early stages) ยิ่งเพิ่มอัตราการอยู่รอดในระยะ 5 ปี ได้ถึงเกือบ 92% 2) การตรวจพบและรักษารอยโรคก่อนมะเร็งทำให้ลดอัตราการเกิดมะเร็งปากปากมดลูกลงได้

เนื่องจากสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV ชนิดก่อมะเร็งหรือชนิดความเสี่ยงสูงที่

ปากมดลูก โดยพบ HPV type 16 เป็นสาเหตุมากที่สุดถึง 55 – 60% ของมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด พบ HPV18 รองลงมาประมาณ 10 – 15% ของมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดและเป็นชนิดความเสี่ยงสูงอื่นๆ 25 – 35%ของมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด อีกทั้งได้มีการศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับ ระบาดวิทยาและการก่อโรคของการเชื้อ HPV ทราบรูปแบบการก่อมะเร็ง (model cervical carcinogenesis) ว่าต้องมีการติดเชื้อ HPV แบบเรื้อรังแล้วจึงเกิดรอยโรคก่อนมะเร็ง และเกิดมะเร็งตามมา

(HPV acquisition, HPV persistence(vs clearance), progression to precancer, and invasion) อีกทั้งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจ Human papillomavirus (HPV) DNA testing ที่มีความแม่นยำสูงและมีการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกใหม่ๆ ACS จึงได้มีการประชุมปรับปรุง แนวทางในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามกลุ่มอายุ (age-appropriate screening) ขึ้น ดังตารางที่ 1 ข้อแนะนำนี้ใช้ได้กับประชากรทั่วไป ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่

  1. มีประวัติเคยเป็นมะเร็งปากมดลูก
  2. ได้รับสาร Diethylstilbestrol(DES) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  3. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV

ตารางที่ 1 : Summary of Recommendations

ที่มา : ดัดแปลงจาก (1)

Recommendations

ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 21 ปี

เริ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 21 ปี ไม่ต้องตรวจคัดกรองแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น เพราะมะเร็งปากมดลูกพบได้น้อยมากในกลุ่มนี้ รอยโรคที่ปากมดลูกในกลุ่มนี้มักหายได้เอง และตรวจคัดกรองในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 21 ปีจะนำไปสู่การส่งตรวจ หัตถการและรักษาที่เกินจำเป็น อาจเกิดผลเสียต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้ ในกลุ่มนี้ควรมุ่งเน้นไปที่การป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการฉีดวัคซีน HPV ก่อนการเริ่มมีเพศสัมพันธ์

ผู้หญิงอายุ 21-29 ปี

คัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) อย่างเดียวทุก 3 ปี ไม่ควรใช้ HPV testing อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับเซลล์วิทยา (cotest)ในการคัดกรอง เพราะในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปีอัตราการเกิด HPV สูงและเป็นแบบชั่วคราว การใช้ HPV testing ในการคัดกรองจึงไม่เหมาะสมและยังก่อให้เกิดผลเสียจากการส่งตรวจและรักษาที่เกินจำเป็นอีกด้วย ส่วนระยะเวลาในการตรวจคัดกรอง จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างในการลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกและรอยโรค

ขั้นสูง (CIN3+) ในกลุ่มที่คัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี ทุก 2 ปี และ ทุก 3 ปี จึงแนะนำให้คัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) อย่างเดียวทุก 3 ปีในกลุ่มนี้ หากพบผลตรวจคัดกรองผิดปกติให้ทำตาม ASCCP guidelines

ผู้หญิงอายุ 30-65 ปี

แนะนำให้ตรวจคัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) ร่วมกับการใช้ HPV testing (cotesting) ทุก 5 ปี หรือตรวจคัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) อย่างเดียวทุก 3 ปี

การตรวจคัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) อย่างเดียวถ้าผลการคัดกรองปกติหลังจากนั้นอีก 3 ปีจึงพบเซลล์ผิดปกติ แต่ถ้าเว้นระยะห่างนานทุก 5 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกจึงแนะนำว่าถ้าจะตรวจคัดกรองโดยเซลล์วิทยา(cytology) อย่างเดียว ให้ตรวจทุก 3 ปี

HPV testing และ cytology (cotest) จะเพิ่มความไวในการตรวจหารอยโรคขั้นสูง (CIN3+) และมะเร็งปากมดลูก มีคุณค่าในการทำนายผลลบสูงมากเกือบ 100% หากผลปกติจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก สามารถยืดระยะห่างของการตรวจคัดกรองอย่างปลอดภัยได้ทุก 5 ปี แต่หากใช้ cotest ตรวจบ่อยกว่าทุก 5 ปีหรือในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี จะมีข้อด้อยคือเพิ่มการตรวจคอลโปสโคปสูงขึ้นในสตรีที่ HPV testing มีผลเป็นบวก แต่ผลเซลล์วิทยาปกติซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีรอยโรคขั้นสูง

กรณีหญิงที่มีผล Cotest : HPV-Positive และ Cytology-Negative

ควรติดตามการรักษาตาม ASCCP guidelinesโดย

  1. ตรวจ Cotest ซ้ำอีก 12 เดือน หรือ
  2. ตรวจ HPV genotype-specific testing สำหรับ HPV16 อย่างเดียวหรือ HPV16/18 ทันที

หากผล Cotest ซ้ำอีก 12 เดือนผลบวกไม่ว่าจะเป็น HPV test หรือ cytology ผล LSIL ขึ้นไปควรส่งตรวจด้วยคอลโปสโคป หากผลลบ HPV test เป็นลบ และcytology ผล ASC-US หรือผลลบให้ตรวจคัดกรองตามปกติ (routine screening) หากเลือกตรวจ HPV genotype-specific testing ทันทีแล้วมีผลบวกของ HPV16 หรือ HPV16/18 ควรส่งตรวจด้วยคอลโปสโคป หากผลของ HPV16 หรือ HPV16/18 เป็นลบ ให้ตรวจ cotest ซ้ำอีก 12 เดือน

กรณีหญิงที่มีผล Cotest : HPV-Negative และผล Cytology-ASC-US

ควรคัดกรองตามปกติตามกลุ่มอายุ (routine screening as per age-specific guidelines) มีข้อมูลที่แสดงว่ากลุ่มที่ HPV test ผลลบและเซลล์วิทยาผลเป็น ASC-US มีความเสี่ยงต่อรอยโรคก่อนมะเร็ง(precancerous) น้อยมากและมีคุณค่าไม่ต่างจาก cotest ที่มีผลเป็นลบ

กรณีหญิงที่มีผล Cotest : HPV-Positive และผล Cytology-ASC-US ขึ้นไป

ควรส่งตรวจด้วยคอลโปสโคป

กรณีคัดกรองด้วย HPV Test อย่างเดียว

ในกลุ่มผู้หญิงอายุ 30-65 ปี ไม่ควรคัดกรองด้วย HPV test อย่างเดียว ถึงแม้ HPV test จะมีความไวในการตรวจหารอยโรคได้สูงแต่มีความจำเพาะต่ำ ผลจะบวกในกรณีรอยโรคที่เป็นชั่วคราวได้ด้วย หากตรวจ HPV test อย่างเดียวจะเกิดผลเสียในการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโดยไม่จำเป็น

ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี

หญิงอายุมากกว่า 65 ปี หากมีประวัติผลคัดกรองปกติคือตรวจคัดกรองเซลล์วิทยาปกติต่อเนื่อง 3 ครั้งหรือ 2 ครั้งภายใน 10 ปี และผลคัดกรองครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี ไม่มีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ CIN2+ ภายใน 20 ปี ไม่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อ แต่ต้องไม่มีประวัติ เช่นมีคู่นอนคนใหม่

ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปีที่มีประวัติเป็น CIN2, CIN3, หรือ Adenocarcinoma In Situ

ควรตรวจตัดกรองต่ออย่างน้อย 20 ปี

หญิงที่ตัดมดลูก (Hysterectomy) และไม่มีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ( CIN2+)

หญิงที่ตัดมดลูกพร้อมทั้งตัดปากมดลูก และไม่มีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ CIN2+ ไม่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อ แต่ต้องไม่มีประวัติ เช่นมีคู่นอนคนใหม่ แต่หากมีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติมากกว่า CIN2+ขึ้นไปควรตรวจตัดกรองต่ออย่างน้อย 20 ปี

การตรวจคัดกรองในกลุ่มที่ได้รับ HPV vaccination

ให้ตรวจคัดกรองตามกลุ่มอายุเหมือนสตรีทั่วไป

Referance

1. Saslow D, Solomon D, Lawson HW, Killackey M, Kulasingam SL, Cain J, et al. American Cancer Society, American Society for Colposcopy and Cervical Pathology, and American Society for Clinical Pathology screening guidelines for the prevention and early detection of cervical cancer. CA Cancer J Clin. 2012 ;62(3):147-72.