Appropriate use of tocolytics

Appropriate use of tocolytics

พญ.ศิรินาถ ศิริเลิศ
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.พญ.เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ


บทนำ (Introduction)

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและทุพลภาพของทารก การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดทำได้ตั้งแต่การประเมินหาปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและให้การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น การใช้ยาโปรเจสเทอโรน การทำ cervical cerclage(1)เป็นต้น ตลอดไปจนถึงการดูแลภาวะการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

การวินิจฉัยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด(2)

  1. การเจ็บครรภ์คลอดที่มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงการเปิดของปากมดลูก
  2. ปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 1เซนติเมตร
  3. มีความบางตัวของปากมดลูก ร้อยละ 80

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุร้อยละ 50 ของการคลอดก่อนกำหนด แต่ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจะหายไปได้เอง น้อยกว่าร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะคลอดภายใน 7 วัน (3-7)

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ควรได้รับการรักษาโดยการใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก คือการเจ็บครรภ์คลอดที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจริง ส่วนการให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ยังไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว คือ มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดแต่ปากมดลูกปิดยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากพบว่ามีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ และมีเพียงร้อยละ 3 ที่คลอดภายใน 2 สัปดาห์(8) ดังนั้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีการหดรัดตัวของมดลูกก่อนกำหนดโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก โดยเฉพาะในรายที่ปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร ไม่ควรให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก(9)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (Benefit)

การใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกไม่สามารถยืดอายุครรภ์ออกไปได้มากนัก แต่อาจช่วย ยืดระยะเวลาการคลอดออกไปได้อย่างน้อย 48 ชั่วโมง(10-12) ซึ่งผู้ป่วยจะได้ประโยชน์จากการ

  1. ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
  2. ให้ corticosteroid เพื่อกระตุ้นปอดทารก
  3. ให้ magnesium sulfate เพื่อ neuroprotective effect
  4. รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เช่น การติดเชื้อต่างๆ

ดังนั้น การใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกจะเริ่มให้ในอายุครรภ์ที่ทารกเกิดมามีชีวิตรอด (ขึ้นกับความพร้อมของสถานพยาบาล) จนถึงอายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ (13)

ข้อบ่งห้ามต่อการให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (contraindication)(14)

  1. Intrauterine fetal demise
  2. Lethal fetal anomaly
  3. Non reassuring fetal status
  4. Severe preeclampsia or eclampsia
  5. Maternal bleeding with hemodynamic instability
  6. Chorioamnionitis
  7. Preterm premature rupture of membrane (หากไม่มี infection สามารถใช้ tocolytics ได้ เพื่อประโยชน์ในการให้ corticosteroid หรือส่งต่อผู้ป่วยเท่านั้น)
  8. Maternal contraindication to tocolytics (agent specific)

ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (Tocolytic drugs)

จากการศึกษาล่าสุดเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกพบว่า ยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือ ยากลุ่ม prostaglandin inhibitors รองลงมาคือยากลุ่ม calcium channel blockers แต่เนื่องจาก ยากลุ่ม prostaglandin inhibitors มีผลข้างเคียงต่อทารกมากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้เลือกใช้ยาใน 2 กลุ่มนี้เป็นยาตัวแรก (first-line therapy) โดยเลือกยากลุ่ม prostaglandin inhibitors ในอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ส่วนยากลุ่ม calcium channel blockers เลือกใช้ในอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยากลุ่ม prostaglandin inhibitors(15)

กลุ่มที่ 1 : calcium-channel blockers

ตัวอย่างยาและวิธีการใช้(16)

Loading dose :Nifedipine 10 mg oral ทุก 15 นาที 4 ครั้ง (ให้ยาได้ไม่เกิน 40 mg ใน 1 ชั่วโมงแรก)

Maintenance dose (start หลังได้ loading dose 4-6 hr) :

  • Nifedipine 20 mg oral ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง จากนั้นให้ nifedipine 30-60 mg oral วันละครั้ง หรือ
  • nifedipine 30-60 mg oral วันละครั้ง

ไม่ควรให้ nifedipine maintenance เกิน 7-10 วัน

** maximum dose 180 mg/day**

กลไกการออกฤทธิ์(pharmacodynamics)

ยับยั้งไม่ให้ calcium ผ่านเข้าสู่ cell membrane ของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ลดระดับแคลเซียมใน cytoplasm จึงช่วยยับยั้งการหดรัดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก

Half-life 2-3 ชั่วโมง, duration of action 6 ชั่วโมง, plasma concentration peak 30-60 นาที, metabolized ที่ตับและขับออกทางไต

ประสิทธิภาพ (efficacy)

จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก พบว่า nifedipine มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากกว่าและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาระงับการหดรัดตัวของมดลูกอื่นๆในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด(16) ในช่วงอายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ เป็นยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกตัวเดียวที่มีประสิทธิภาพในการลดโอกาสการคลอดใน 7 วัน(16)และช่วยลด neonatal morbidity ในเรื่อง respiratory distress syndrome, necrotizing enterocolitis, intraventricular hemorrhage, neonatal jaundice, admission to the neonatal intensive care ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (17)

ข้อบ่งห้าม (contraindication)

  1. ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 mmHg
  2. โรคหัวใจในกลุ่ม left ventricular dysfunction หรือ congestive heart failure
  3. การทำงานของตับบกพร่อง
  4. ได้รับยาลดความดันโลหิตตัวอื่นร่วมด้วย หรือระมัดระวังในกรณีได้รับยา magnesium sulfate ร่วมด้วยเนื่องจากอาจมีผลกดการหายใจได้
  5. แพ้ยา

ผลข้างเคียง(side effects)

อาการข้างเคียงในมารดา คือ อาการร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตต่ำลง แต่จากการศึกษาพบว่าการให้ nifedipine ในสตรีตั้งครรภ์ที่ความดันปกติ มีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลงได้ร้อยละ 17 แต่ไม่แสดงอาการทางคลินิก (18)

อาการข้างเคียงในลูกพบน้อยมาก อาจพบหัวใจเต้นเร็วได้

การเฝ้าระวัง

  1. วัดความดันโลหิตทุก 15 นาทีในช่วงให้ยา loading dose หากความดันโลหิตลดลงต่ำกว่า 90/60 mmHg ต้องหยุดให้ยา ให้สารน้ำทางหลอดเลือด และประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ในช่วงที่ความดันโลหิตลดลง
  2. เฝ้าระวังการหายใจ ในกรณีที่ให้ยาร่วมกับ magnesium sulfate

กลุ่มที่ 2 : beta adrenergic receptor agonists

ตัวอย่างยาและวิธีการใช้

ยาในกลุ่ม beta adrenergic receptor agonists ที่ได้รับการพิสูจน์จาก FDA (US Food and Drug Administration) แล้วว่ามีประโยชน์ในการ stop labor คือ Ritodrine แต่ในประเทศไทยยังนิยมใช้ Terbutaline (Bricanyl)

Bricanyl 0.25 mg (1/2 amp) IV then

Bricanyl 2.5 mg (5 amp) ผสมใน 5% D/W 500 ml (1 ml=5mcg) IV drip 30 drop/min (10 mcg/min) ปรับยาทุก 10 นาที เพิ่มยาครั้งละ 15 drop/min (5 mcg/min) จนไม่มี uterine contraction หรือ maximum dose คือ 75 drop/min (25 mcg/min) แล้วคง rate นี้ไปอีก 2 ชั่วโมง จากนั้นปรับลดยาลงครั้งละ 15 drop/min (5 mcg/min) ทุก 30 นาที จนถึงระดับน้อยที่สุดที่ทำให้ไม่มี contraction แล้ว maintain ต่อไว้อีก 8 ชั่วโมง then

Bricanyl 0.25 mg (1/2 amp) subcutaneous ทุก 4 ชั่วโมง อีก 6 ครั้ง

กลไกการออกฤทธิ์ (pharmacodynamics)

ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta adrenergic receptor เพิ่ม adenylcyclase ทำให้มีการเพิ่ม cAMP เพื่อกระตุ้น protein kinase มีผลทำให้เกิดการลดระดับ ionized calcium ในเซลล์ จึงลดโปรตีนที่ทำหน้าที่หดรัดตัวในเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก แต่ receptor จะถูก desensitized หลังจากถูกกระตุ้น เพราะฉะนั้นการใช้เป็นเวลานานจะยิ่งลดประสิทธิภาพลง (19-20)

ประสิทธิภาพ (efficacy)

การใช้ยากลุ่ม beta adrenergic receptorในรูปแบบฉีดได้รับการยืนยันว่าสามารถยืดระยะเวลาการคลอดออกไปได้นานอย่างน้อย 48 ชั่วโมง และอาจช่วยยืดระยะเวลาออกไปได้อีก 7 วัน แต่ไม่มีผลในการช่วยลด morbidity and mortality ในทารกแรกคลอด(17) ส่วนรูปแบบกินไม่พบประโยชน์ดังกล่าว แต่จากการศึกษาพบว่า ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายาระงับการหดรัดตัวของมดลูกในกลุ่มอื่นๆ และยังมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่า (21)

ข้อบ่งห้าม (contraindication)

  1. โรคหัวใจ (structural heart disease, cardiac ischemia, dysrhythmia)
  2. tachycardia
  3. Hyperthyroidism
  4. เบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี
  5. ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี
  6. ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ
  7. Severe hypovolemia
  8. มีความเสี่ยงต่อการเกิดการเสียเลือดมาก เช่น placenta previa

ผลข้างเคียง (side effects)

ผลข้างเคียงในมารดาคือ มือสั่น ใจสั่น ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ ปัญหาทาง metabolic (hyperglycemia hypokalemia hypocalcemia) หายใจเร็ว lipolysis(21)และที่สำคัญคือ pulmonary edema หากได้รับยาต่อเนื่องกันนานๆ เช่น มากกว่า 24-48 ชั่วโมงหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย การมีภาวะครรภ์แฝดน้ำ การได้รับยากลุ่ม corticosteroids การได้รับสารน้ำปริมาณมาก(22-24)

ผลข้างเคียงด้านลูกเกิดได้เนื่องจากยากลุ่มนี้ผ่านทางรกได้ อาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายกับหญิงตั้งครรภ์ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้จะเกิด neonatal hypoglycemia ได้ เนื่องจากเกิดภาวะ hyperinsulinemia เพื่อตอบสนองต่อ maternal hyperglycemia(25)ส่วนผลข้างเคียงด้านการเกิด Intraventricular hemorrhage และ autism ผลสรุปยังไม่ชัดเจน (26-30)

การเฝ้าระวัง

  1. Heart rate มากกว่า 140 ครั้งต่อนาที
  2. Hypotension (systolic pressure ลดลงมากกว่า 20 mmHg, diastolic pressure ลดลงมากกว่า 10 mmHg)
  3. Pulmonary edema
  4. Fetal distress
  5. ให้ยา maximum dose แล้ว แต่ยังมี progressive cervical progression หรือยังมี contraction
  6. Fluid balance

กลุ่มที่ 3 : prostaglandin inhibitors

ตัวอย่างยาและวิธีการใช้

Indomethacin 50-100 mg oral then Indomethacin 25-50 mg oral ทุก 4-6 ชั่วโมง

**maximum dose 200 mg/day**

ไม่ควรให้ยานานเกิน 24-48 ชั่วโมง หากไม่สามารถ monitor น้ำคร่ำหรือภาวะ ductus arteriosus constriction ได้

กลไกการออกฤทธิ์ (pharmacodynamics)

ยาออกฤทธิ์ต้าน prostaglandins โดยการยับยั้งการเปลี่ยน arachidonic ไปเป็น prostaglandins ซึ่งจะยับยั้งการสังเคราะห์หรือยับยั้งการออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมาย จึงส่งผลต่อการหดรัดตัวของมดลูกซึ่งมี prostaglandins เป็นส่วนร่วมในกระบวนการเจ็บครรภ์คลอด

ประสิทธิภาพ (efficacy)

จากการศึกษาล่าสุดเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาระงับการเจ็บครรภ์ พบว่า prostaglandin inhibitor เป็นยากลุ่มที่ดีที่สุดที่ใช้ในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด (15) แต่เนื่องจากการมีผลข้างเคียงเรื่อง ductus arteriosus constriction จึงแนะนำให้ใช้ในอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์การ ส่วนการใช้ยาในกลุ่ม prostaglandin inhibitor ในผู้ป่วยที่มีภาวะ polyhydramnios เพื่อหวังประโยชน์ในการลดน้ำคร่ำนั้นยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพนี้อย่างชัดเจน แต่อาจมีประโยชน์ในด้านความสุขสบายของมารดา

ข้อบ่งห้าม (contraindication)

ไม่มีข้อบ่งห้ามที่ชัดเจน แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยโรคหอบหืด
  2. ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  3. ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติ GI bleeding
  4. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
  5. ผู้ป่วยที่มีภาวะ bleeding disorder หรือ platelet dysfunction
  6. การตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย
  7. ทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจหรือไตพิการ
  8. อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์

ผลข้างเคียง (side effects)

อาการข้างเคียงในมารดาพบน้อย และไม่รุนแรง เช่น ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะและอาจมีภาวะ platelet dysfunction ได้ ซึ่งเป็นผลจากการยับยั้ง COX 1 ในยากลุ่ม nonspecific COX inhibitor ส่วนการศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจ็บครรภ์ในยากลุ่ม selective COX-2 inhibitors เพื่อลดผลข้างเคียงของยายังมีการศึกษาไม่เพียงพอ

ผลข้างเคียงในทารก คือ มีโอกาสเกิดภาวะ ductus arteriosus constriction ได้ หากใช้ยานานมากกว่า 48 ชั่วโมง (31-32) โดยเฉพาะทารกที่มีอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ โดยจะเกิดได้ถึงร้อยละ 50 และหากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ จะเกิดได้ทุกราย ในขณะที่ทารกอายุครรภ์น้อยกว่า 27 สัปดาห์พบผลข้างเคียงนี้น้อยมาก (33) นอกจากนี้ indomethacin ยังทำให้ลดปริมาณของ urine output ในทารก ทำให้เกิด oligohydramnios ได้ โดยพบมากถึงร้อยละ 70 ในผู้ป่วยที่ใช้ยานานกว่า 72 ชั่วโมง (34) แต่อย่างไรก็ตามหากหยุดใช้ยา น้ำคร่ำก็จะกลับมาปกติได้ (33) ในทารกหลังคลอดที่ได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงก่อนคลอด อาจพบภาวะ necrotizing enterocolitis (NEC) Intraventricular hemorrhage (IVH) periventricular leukomalacia และ patent ductus ateriosus (PDA) ได้บ่อยขึ้น แต่จะพบภาวะดังกล่าวน้อยมากหากทารกคลอดหลังจากได้รับยามานานมากกว่า 7 วัน (33)

การเฝ้าระวัง

  1. ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ หากพบว่าน้ำคร่ำลดลงให้หยุดยา
  2. อัลตราซาวด์ประเมินภาวะ ductus arteriosus constriction
  3. ตรวจสุขภาพทารก เฝ้าระวัง fetal distress
  4. หากยังมี progression of labor และคาดว่าจะคลอดใน 48 ชั่วโมงให้หยุดยาทันที และแจ้งกุมารแพทย์ประเมินและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

กลุ่มที่ 4 : magnesium sulfate

ตัวอย่างยาและวิธีการใช้

10% MgSO4 40 ml (4 gm) IV slowly ในเวลา 15-30 นาที then

50% MgSO4 IV drip 2 gm/hr ขนาดยาสูงสุด ไม่เกิน 3.5 gm/hr ปรับเพิ่มลดตาม uterine contraction โดย therapeutic level 4-7 mEq/L

กลไกการออกฤทธิ์ (pharmacodynamics)

MgSO4ทำหน้าที่เป็น calcium antagonist จึงช่วยยับยั้งจากหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้

ประสิทธิภาพ (efficacy)

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง MgSO4กับ placebo ไม่พบความแตกต่างของการยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกหรือการยืดอายุครรภ์ (35) แต่การใช้ MgSO4จะใช้เพื่อหวังประโยชน์ในด้านการป้องกันภาวะ cerebral palsy (neuroprotective effect)โดยจากการศึกษาพบว่าช่วยภาวะนี้ได้ถึงร้อยละ 32 (36)

ข้อบ่งห้าม (contraindication)

  1. ผู้ป่วยโรค Myasthenia gravis
  2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  3. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ

ผลข้างเคียง (side effects)

อาการข้างเคียงในมารดาหากระดับยายังอยู่ใน Therapeutic level คือมีอาการร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน pulmonary edema และความดันโลหิตต่ำ แต่หากระดับยามากเกินไปมีผลให้เกิดการกดการหายใจ หัวใจเต้นผิดปกติ หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้

อาการข้างเคียงในทารกที่พบได้ คือ ลด fetal heart rate baseline และ variability ลงได้ เซื่องซึมและอ่อนแรง (hypotonia) อาจกดการหายใจของทารก ความดันโลหิตต่ำ

การเฝ้าระวัง

เฝ้าระวังภาวะ MgSO4 toxicity โดย

  1. ตรวจ deep tendon reflex ต้องไม่ absent
  2. Respiratory rate ต้องมากกว่า 14 ครั้ง
  3. Blood pressure ต้องมากกว่า 90/60 mmHg
  4. Urine output ต้องมากกว่า 30 ml/hr
  5. MgSO4 level อยู่ในช่วง 4-7 mEq/L
  6. ควรมี 10% calcium gluconate ขนาด 1 gm (10 ml) ไว้แก้พิษของยา

นอกจากนี้ยังมียากลุ่ม oxytocin receptor antagonists และกลุ่ม nitric oxide แต่จะขอไม่กล่าวถึงในที่นี้

ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต้องได้รับการประเมินว่าเป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำเนิดจริงก่อนพิจารณาการใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก หากพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์และไม่มีข้อห้ามของการใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก จึงจะพิจารณาเลือกชนิดของยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกโดยพิจารณาจากข้อบ่งห้ามและความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนเป็นหลัก

References

  1. Errol R Norwitz,MD, PhD, Louis E. Phaneuf, Aaron B Caughey : progesterone supplementation and the prevention of preterm birth. Obstet Gynecol. 2011 Summer ; 4(2) : 60-72
  2. ACOG practice bulletin. Management of preterm labor. Number 43, May 2003. Int J GynaecolObstet 2003;82:127-35
  3. King JF, Grant A, Keirse MJ, Chalmers I. Beta-mimetics in preterm labour: an overview of the randomized controlled trials. Br J ObstetGynaecol 1988; 95:211.
  4. Gazmararian JA, Petersen R, Jamieson DJ, et al. Hospitalizations during pregnancy among managed care enrollees. ObstetGynecol 2002; 100:94.
  5. Scott CL, Chavez GF, Atrash HK, et al. Hospitalizations for severe complications of pregnancy, 1987-1992. ObstetGynecol 1997; 90:225.
  6. McPheeters ML, Miller WC, Hartmann KE, et al. The epidemiology of threatened preterm labor: a prospective cohort study. Am J ObstetGynecol 2005; 192:1325.
  7. Fuchs IB, Henrich W, Osthues K, Dudenhausen JW. Sonographic cervical length in singleton pregnancies with intact membranes presenting with threatened preterm labor. Ultrasound ObstetGynecol 2004; 24:554.
  8. Management of preterm labor. ACOG Practice Bulletin No.43 . American college of Obstetricians and Gynecologist. Obstet Gynecol 2003 ; 82 : 127-35
  9. Management of preterm labor. ACOG Practice Bulletin No.127. American college of Obstetricians and Gynecologist. Obstet Gynecol 2012 ; 119 : 1308-17
  10. Haas DM, Imperiale TF, Kirkpatrick PR, et al. Tocolytic therapy: a meta-analysis and decision analysis. ObstetGynecol 2009; 113:585.
  11. Anotayanonth S, Subhedar NV, Garner P, et al. Betamimetics for inhibiting preterm labour. CochraneDatabase Syst Rev 2004; :CD004352.
  12. Simhan HN, Caritis SN. Prevention of preterm delivery. N Engl J Med 2007; 357:477.
  13. Effect of corticosteroids for fetal maturation on perinatal outcomes. NIH Consens Statement 1994; 12:1.
  14. American College of Obstetricians and Gynecologists, Committee on Practice Bulletins—Obstetrics. ACOG practice bulletin no. 127: Management of preterm labor. ObstetGynecol 2012; 119:1308.
  15. David M Haas, associate professor of obstetrics and gynecology, Deborah M Caldwell, MRC fellow population health science, Page Kirkpatrick, research associate, Jennifer J McIntosh, medical resident, Nicky J Welton, MRC research fellow. Tocolytic therapy for preterm delivery: systematic review and network meta-analysis. BMJ 2012;345:e6226 (Published 9 October 2012)
  16. Conde-Agudelo A, Romero R, Kusanovic JP. Nifedipine in the management of preterm labor: a systematic review and metaanalysis. Am J ObstetGynecol 2011;204:134.e1-20.
  17. Hunt MG, Martin JN Jr, Martin RW, et al. Perinatal aspects of abdominal surgery for nonobstetric disease. Am J Perinatol 1989; 6:412.
  18. Luewan S., Mahathep R, Tongsong T. Hypotension in normotensive pregnant woman treated with nifedipine as a tocolytic drug. Arch Gynecol Obstet.
  19. Perry KG Jr, Morrison JC, Rust OA, et al. Incidence of adverse cardiopulmonary effects with low-dose continuous terbutaline infusion.Am J ObstetGynecol 1995; 173:1273.
  20. Lamont RF. The pathophysiology of pulmonary oedema with the use of beta-agonists. BJOG 2000; 107:439.
  21. Takeuchi K, Mochizuki M, Moriyama T, et al. Pulmonary edema as an acute complication of ritodrine therapy in the presence of maternal intrauterine infection. ClinExpObstetGynecol 1998; 25:99.
  22. Golichowski AM, Hathaway DR, Fineberg N, Peleg D. Tocolytic and hemodynamic effects of nifedipine in the ewe. Am J ObstetGynecol 1985; 151:1134.
  23. Weintraub Z, Solovechick M, Reichman B, et al. Effect of maternal tocolysis on the incidence of severe periventricular/intraventricularhaemorrhage in very low birthweight infants. Arch Dis ChildFetal Neonatal Ed 2001; 85:F13.
  24. Ozcan T, Turan C, Ekici E, et al. Ritodrinetocolysis and neonatal intraventricular-periventricular hemorrhage. GynecolObstet Invest 1995; 39:60.
  25. Palta M, Sadek M, Lim TS, et al. Association of tocolytic therapy with antenatal steroid administration and infant outcomes. Newborn Lung Project. Am J Perinatol 1998; 15:87.
  26. 26. Groome LJ, Goldenberg RL, Cliver SP, et al. Neonatal periventricular-intraventricular hemorrhage after maternal beta-sympathomimetic tocolysis. The March of Dimes Multicenter Study Group. Am JObstetGynecol 1992; 167:873.
  27. Papatsonis DN, Kok JH, van Geijn HP, et al. Neonatal effects of nifedipine and ritodrine for preterm labor. ObstetGynecol 2000; 95:477.
  28. Witter FR, Zimmerman AW, Reichmann JP, Connors SL. In utero beta 2 adrenergic agonist exposure and adverse neurophysiologic and behavioral outcomes. Am J ObstetGynecol 2009; 201:553.
  29. Rodier P, Miller RK, Brent RL. Does treatment of premature labor with terbutaline increase the risk of autism spectrum disorders? Am J ObstetGynecol 2011; 204:91.
  30. Caritis SN, Simhan HN. Beta adrenergic agonists and neonatal outcome. Am J ObstetGynecol2010; 203:e16.
  31. Locatelli A, Vergani P, Bellini P, et al. Can a cyclo-oxygenase type-2 selective tocolytic agent avoid the fetal side effects of indomethacin? BJOG 2001; 108:325.
  32. Cornette J, Duvekot J, Roos-Hesselink J, et al. Maternal and fetal haemodynamic effects of nifedipine in normotensive pregnant women. BJOG 2010.
  33. Norton ME. Teratogen update: fetal effects of indomethacin administration during pregnancy. Teratology 1997;56:282-92
  34. Sood BG, Lulic-Botica M, Holzhausen KA, et al. The risk of necrotizing enterocolitis after indomethacin tocolysis. Pediatrics 2011; 128:e54.
  35. ACOG Committee Opinion No. 445: antibiotics for preterm labor. ObstetGynecol 2009; 114:1159.
  36. Doyle LW, Crowther CA, Middleton P, Marret S, Rouse D. Magnesium sulfate for woman at risk of preterm birth for neuroprotection of the fetus. Cochrane Database Syst Rev 2009: CD004661
Read More

งานปีใหม่ 2555

ปีนี้ภาควิชาจัดงานสังสรรค์เลี้ยงส่งปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ แบบประหยัด ไม่จัดที่โรงแรมเหมือนที่ผ่านมา เพื่อเก็บเงินไปบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อาจารย์-resident สูติฯ ร่วมรับประทานอาหารและสังสรรค์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ลานชั้นสองอาคารเรียนรวม  วันที่ 28 ธันวาคม 2554

Read More