สรุปรายงานการเยี่ยมสำรวจ TQA ภาควิชา 2553

รายงานการตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินตนเอง
ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพ (TQA)
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันพุธ ที่ 25 สิงหาคม 2553 ณ. ห้องเรียน อ.กำจัด

********************

กรรมการตรวจเยี่ยม

  1. รศ.พญ อภิชนา โฆวินทะ
  2. รศ.ดร. พรงาม เดชเกรียงไกรกุล
  3. ผศ.นพ. วัฒนา ชาติอภิศักดิ์
  4. อ.พญมนธนา ปุกหุต

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. รศ.นพ.ชเนนทร์   วนาภิรักษ์
  2. ผศ.นพ.โอภาส  เศรษฐบุตร
  3. ศ.นพ.ธีระ      ทองสง
  4. รศ.พญ.สุพัตรา   ศิริโชติยะกุล      
  5. รศ.พญ.ประภาพร   สู่ประเสริฐ
  6. ผศ.นพ.ชัยเลิศ    พงษ์นริศร
  7. ผศ.นพ.ฉลอง  ชีวเกรียงไก
  8. ผศ.พญ.เฟื่องลดา  ทองประเสริฐ
  9. อ.นพ.ชำนาญ   เกียรติพีรกุล
  10. อ.พญ.สุชยา ลือวรรณ
  11. อ.พญ.เกษมศรี  ศรีสุพรรณดิฐ  
  12. 12 .นส.รัตติยา รัตนเดชากร
  13. 13. นส.สุรพร  ประจงแสงศรี
  14. 14. นางสายทิม  นิมะรังกูล
  15. 15. นางวราภรณ์ จันทรวงศ์
  16. 16. นางนริสา  ศรีบัณฑิตมงคล
  17. 17. นางรุ่งอรุณ  เศรษฐบุตร
  18. 18. นส. สุกัญญา  ยะนันโต

เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.

                                อ. ชเนนทร์ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ พร้อมนำเสนอ Power point แนะนำภาควิชาฯ (รายละเอียดตามรายงานการประเมินตนเอง (TQA) ภาควิชาฯ ประจำปีการศึกษา 2552)

                                อ. ธีระ นำเสนอการจัดการฐานข้อมูลหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพชั้นสูง โดยได้พัฒนาในทุกด้านของพันธกิจภาควิชาฯ ซึ่งใช้วิธีการกำหนด user name และ password ในการ log in เข้าระบบ  

 สรุปผลการประเมินจากคณะกรรมการตรวจเยี่ยม มีดังนี้

ด้าน OP

                1. คณะกรรมการกล่าวชื่นชม อ. ธีระ ที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีเยี่ยม   สมควรให้เป็นอาจารย์ต้นแบบแก่แพทย์รุ่นต่อไป และควรหาคนมาถอดแบบเพื่อให้มีอาจารย์ต้นแบบโดยยั่งยืนและถาวร

                2. ภาควิชาฯ ควรจะมีค่านิยมขององค์กรเสริมจากค่านิยมของคณะฯ ที่เป็นหลัก

                3.   ในรายงานการประเมินตนเอง (TQA) หน้า 9 ในตารางที่ 3 ไม่มีข้อมูลตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยของสาย ก.

                4. ในรายงานการประเมินตนเอง (TQA) หน้า 10 ในช่องความต้องการ ความคาดหวังที่สำคัญ   รายละเอียดยังไม่ชัดเจน ควรจะมีการระบุความคาดหวังให้ชัดเจนกว่านี้ โดยการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว และควรเพิ่มรายละเอียดของแผนการดำเนินงานภาควิชาฯ ลงในภาคผนวกของรายงานการประเมินตนเองของภาควิชาฯ

                5.   ควรจะแยกความคาดหวังในแต่ละชั้นปีให้ชัดเจนและละเอียดมากกว่านี้

                6.   การเรียนการสอนแบบ PBL และ POL ของภาควิชาฯ มีความแตกต่างกันอย่างไร

                7.   การแยก Segment แต่ละสายงาน ภาควิชาฯ เพื่ออะไร และมีการวางแผนไว้อย่างไรบ้าง เช่น ตำแหน่งที่เกษียณแล้ว มีกลยุทธ์จะหาคนมาทดแทนได้อย่างไร

                8.   การใช้คำศัพท์ สำหรับการกล่าวถึงสถาบันสมทบ จะใช้คำว่า partner หรืออะไร ควรกำหนดให้ชัดเจน และคำว่า แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควรกำหนด term

                9. จากปัญหาในกลุ่มสตรีศึกษาที่ยังไม่มีกลุ่มใดจับ เพราะเหตุใดจึงมีเรื่อง stem cell ในภาควิชาฯ

                10. หัวข้อความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ในรายงานการประเมินตนเอง (TQA) ยังคงเขียนไม่ถูกต้อง เพราะที่เขียนเป็นสถานการณ์ ไม่ใช่ความท้าทาย เช่น ทำอย่างไรให้จำนวนคลอดเพิ่มขึ้น และ จะทำอย่างไรหาก อ.ธีระ ต้องการที่จะ early retry

                11. พยาบาลวิจัย ควรมีรายละเอียด บาทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนมากขึ้น และควรมีการวิเคราะห์ Steak Holder ในส่วนของพยาบาลสูติฯ ให้ชัดเจน

                 12. จำนวนอาจารย์ที่ได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ต่อปี Balanced scorecard

                13. การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (TQA) ภาควิชาเป็นแบบเชิงบรรยายทำให้อ่านยาก ควรจะโดยใช้ table หรือ bullets

                14. พันธกิจด้านบริการวิชาชีพ คณะฯ ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ด้านสุขภาพ แทน

                15.   หัวข้อพันธกิจด้านวิชาชีพและวิชาการ ใช้คำว่า โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และพยาบาล Ward คำนี้กว้างไป

                16.   กลไกการสื่อสาร ควรจะมีการระบุรายละเอียดให้ลึกมากกว่านี้

                17.   ระดับความสัมพันธ์ ควรระบุให้ชัดเจน เช่น แพทย์ที่จบจากที่เราไปแล้ว ยังอยากกลับมาเยี่ยมเยือนที่ภาควิชาฯ หรือถ้าหากมีลูก ก็ยังคงต้องการให้ลูกศึกษาเป็นสูติแพทย์

                18. term ในการใช้คำศัพท์ ที่ยังคงเปลี่ยนไปมา

                19. อะไรคือความท้าทายเชิงกลยุทธ์ และควรมีการเรียงลำดับความสำคัญด้วย เช่นหุ่นจำลองไม่ใช่ของจริงจะแก้ไขอย่างไร หรือจะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มจำนวนหัตถการการทำคลอด

                20. แบบประเมินที่ใช้ประเมินอาจารย์โดยแพทย์ประจำบ้านดีแล้ว

                21. ควรมีการ Benchmark ของภาควิชาฯ กับมหาลัยภายนอกอื่น ๆ

                22. จุดเด่น หรือ ตลาดของภาควิชา ที่เป็นวิกฤตควรนำกลับมาเป็นโอกาส

หมวด 1

                23. หมวดแต่ละหมวด บางหมวดไม่สอดคล้องหรือสัมพันธ์กับพันธกิจ อาจจะมีคำขวัญของภาควิชาฯ ไปสอดคล้องกับค่านิยมของภาควิชาฯ

                24. ภาควิชาฯ มีการแต่งตั้งกรรมการแต่ละฝ่ายและสอดคล้องกับทุก Segment ของภาควิชาฯ

                25. การประเมินผล ยังขาดสาย ข. และ สาย ค. เข้าร่วมประเมินด้วยเพราะสาย ข. และ ค. ก็คงเป็นกลุ่ม steak holder ด้วยเช่นกัน

                26. การจดรายงานการประชุมควรเป็นหน้าที่ของเลขานุการ ไม่ใช่หน้าที่ของอาจารย์

                27. ภาควิชาฯ ควรจัดทำ Lead indicator ด้วย

                28. การสร้างความผูกพัน ควรจะมีอย่างอื่นเพิ่มเติมอีกนอกเหนือจากการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ของภาควิชาฯ

                29. ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนไปสู่กลไก

                30. แบบประเมินแพทย์ประจำบ้าน หน้า 78 ให้แก้ไข   พฤตินัย เป็น เจตคติ และแยกส่วนที่เป็น max, min, median , average และ standardize มาไว้ต่างหากจะจัดทำเป็น ตาราง หรือ bullets แทน

                31. ควรมีความคิดเห็นของบุคลากรสาย ข. และ สาย ค. บ้างในการประชุมของอาจารย์

                32. กรรมการยังมองไม่เห็นข้อมูลอ้างอิงด้านการศึกษาของภาควิชาฯ

หมวด 2-6

  1. 33.ยังไม่ได้กำหนดความท้าทายที่ชัดเจน
  2. 34.แผนปฏิบัติการมักเป็นแต่แผนกิจกรรม และไม่ได้ attach แผนมาด้วย
  3. 35.ไม่ได้กำหนดเป้าหมายหลักและรอง
  4. 36.มีการเปิดช่องทางการสื่อสาร
  5. 37.มีเจ้าหน้าที่ช่วยในการติดตามพฤติกรรมของนักศึกษาแพทย์แต่ละชั้นปี
  6. 38.บทบาทของอาจารย์ยังขาดบทบาทในความเป็นครู
  7. 39.ควรทำแผนภาพให้มีเส้นเปรียบเทียบระดับ และมีลูกศรชี้เพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบที่ชัดเจนมากขึ้น
  8. 40.เทคนิคในการทำ M Power ทำอย่างไร
  9. 41.การแบ่ง Gap เป็น 5 ด้าน ยังไม่มี standard , การส่งมอบ และ service

คำชื่นชม

                ภาควิชาสูติฯ เป็นภาควิชาที่มีคุณภาพ มีอาจารย์ที่เป็นต้นแบบหลายท่าน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงควรที่จะมาเรียนรู้ร่วมกัน เวลา 16.00 น. อ.ชเนนทร์ กล่าวขอบคุณคณะกรรมการตรวจเยี่ยมที่สละเวลามาตรวจสอบแลให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ภาควิชาฯ เพื่อทีจะได้นำไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป

เลิกประชุมเวลา 16.00 น..

(นางสาวรัตติยา รัตนเดชากร)                                                                                        

ผู้จดรายงานการประชุม 1                

 (นส.สุรพร ประจงแสงศรี)

ผู้จดรายงานการประชุม   2

 (รศ.พญ.สุพัตรา ศิริโชติยะกุล)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม                                                          

 

 

Read More

TQA

รายงาน TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปี พ.ศ.2551-2552

รายงาน TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปี พ.ศ.2552-2553

รายงาน TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปี พ.ศ.2553-2554

รายงาน TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ประจำปี พ.ศ.2554-2555

บางภาพตัวอย่างจากการเยี่ยมสำรวจ
เมื่อวันที่พุธที่ 25 สิงหาคม 2553 

 

Read More

Elecsys HE4

Elecsys HE4

เชิญอาจารย์และแพทย์ประจำบ้านทุกท่าน ร่วมรับประทานอาหาร และฟังการบรรยายเรื่อง

Elecsys HE4 (human epididymal protein 4): A tumor marker for ovarian cancer

ณ ห้องเรียน 1 เวลา 12.00 น. วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2554

Read More