Combined oral contraceptive pills (COC)

Combined oral contraceptive pills (COC): ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม

พญ. อมราพร จันทร์กระจ่าง
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ.พญ. สายพิณ พงษธา


ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ประกอบไปด้วยฮอร์โมน estrogen และ progestin เป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและราคาถูก

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยา โดยพบว่า ผู้หญิงที่ใช้ COC เป็นเวลา 1 ปี พบอัตราการตั้งครรภ์ได้ ประมาณ 9 ใน 100 คน

กลไกการออกฤทธิ์ของ COC  

  1. ยับยั้งการตกไข่ เนื่องจาก estrogen ยับยั้งการหลั่ง follicle stimulating hormone (FSH) ทำให้กดการเจริญของ follicle และ progestin ยับยั้งการหลั่ง luteinizing hormone (LH) ทำให้ไม่มี LH surge จึงไม่เกิดการตกไข่ หากออกฤทธิ์คู่กันจะสามารถยับยั้งการหลั่ง GnRH จาก hypothalamus ได้
  2. Progestin ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน
  3. Progestin ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียวและทำให้อสุจิผ่านได้ยาก
  4. Progestin ทำให้ท่อนำไข่เคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งทำให้ไข่เคลื่อนผ่านได้ยาก

Estrogen ในร่างกาย มี 4 ชนิด ได้แก่

Estrogen Production Process Potency Half life
E1 (Estrone) non pregnant woman peripheral aromatization of androstenedione 1/10 x of E2 10-70 min
E2 (Estradiol) non pregnant woman ovary, adrenal gland most potent 1-2 hrs (17-beta),

10-12 hrs (micronized)

E3 (Estriol) pregnant woman fetus/placenta 1/100 x of E2 10 – 20 min
E4 (Estetrol) fetal liver in pregnant woman fetal liver 1/10 x of E2 20 – 28 hrs

ที่มา: Hugh S. Taylor, Patricia Geraghty, The next generation of oral contraception: Advances in estrogens: OBG management

เนื่องจาก  estradiol   มี potency มากที่สุด จึงได้รับความนิยม มีการผลิตเป็น hormone สังเคราะห์แบบต่างๆ เช่น mestranol, ethinyl estradiol, estradiol valerate เป็นต้น

Estrogen ที่นิยมใช้ในยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน คือ ethinyl estradiol และในปัจจุบัน มีการใช้ estrogen ตัวใหม่ คือ estetrol หรือ E4 ซึ่งมีข้อดีคือ มีการเลือกออกฤทธิ์จําเพาะตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ (Natural Estrogen with Selective Tissue activity : NEST) ซึ่งส่งผลดีต่อช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูก กระดูก และระบบไหลเวียนโลหิต และส่งผลเสียน้อยต่อตับและเต้านม หรือมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมี drug interaction กับยาในกลุ่มที่ผ่านตับที่เกี่ยวข้องกับ cytochrome 450 enzymes อีกด้วย

Progestin มี 4 generations ได้แก่

First generation Estranes derived from testosterone norethindrone, norethynodrel, norethindrone acetate, ethynodiol diacetate

Pregnanes derived from 17-OH progesterone
medroxyprogesterone acetate, chlormadinone acetate

Second generation Gonanes derived from testosterone
levonorgestrel, norgestrel
Third generation Gonane (Levonorgestrel) derivatives desogestrel, gestodene, norgestimate/norelgestromine, etonorgestrel
Fourth generation
Non ethylated estranes dienogest, drospirenone
Pregnanes (19-norprogesterones) nestorone, nomegestrol acetate, trimegestone

ที่มา : Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic and endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.

Progestin รุ่นหลังๆ จะถูกพัฒนาให้ลด androgenicity ของ progestin ทำให้เพิ่ม SHBG และลด free testosterone ทำให้ช่วยลดการเกิดสิวและขนดกได้ดีกว่ารุ่นก่อน โดย progestin บางชนิดจะมีฤทธิ์ anti androgenic effect เช่น drospirenone เป็นต้น

ชนิดของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

COC มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ​monophasic และ multiphasic pills

Monophasic pills คือ มีปริมาณฮอร์โมน estrogen + progestin ในปริมาณเท่ากันทุกเม็ดหรือมีระดับยาเป็นเป็นระดับเดียวกันในหนึ่งแผง

แบ่งตามปริมาณของ estrogen ซึ่งเป็น ethinyl estradiol (EE) เป็นดังนี้

very low dose EE 15-20 mcg

low dose EE 30-35 mcg

high dose EE > 50 mcg

Multiphasic pills คือ มีปริมาณฮอร์โมนแตกต่างกันเป็นหลายระดับในหนึ่งแผง เช่น 2 ,3 และ 4 ระดับ ใน biphasic, triphasicและ quadriphasic pills ตามลำดับ ฮอร์โมนที่แตกต่างกันเป็นได้ทั้ง estrogen, progestin หรือทั้งคู่ก็ได้ การทำแบบนี้เพื่อให้ระดับฮอร์โมนใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด

ตัวอย่างยี่ห้อ COC ที่มีในประเทศไทย

Monophasic pills

EE Progestin Trade name Active pills
15 mcg Gestodene 0.06 mg Minidoz

Minoz

24
20 mcg Gestodene 0.075 mg Meliane

Onjel 20

Lindynette 20 Annylyn

Ciclomex20

21
20 mcg Desogestrel 0.15 mg Mercilon Minny

Novynette

21
20 mcg Drospirenone3 mg Yaz

Herz

Synfonia

24
30 mcg LNG 0.15 mg Anna

Milly

R-Den

Zarine

Microgest Microgynon Microlenyn Cleo

Oralcon-F Nordette

21
30 mcg Norgestrel 0.15 mg Dior

Rigevidon

21
30 mcg Gestodene 0.075 mg Gynera

Govana Lindynette 30

21
30 mcg Desogestrel 0.15 mg Marvelon Daisy

Femine 30

21
30 mcg Clomadione acetate 2 mg Belara

Chariva

21
30 mcg Drospirenone 3 mg Yasmin

Justima

Melodia

Gveza

21
35 mcg Ciproterone acetate 2 mg Diane 35 Sucee

Preme Manoane

Annie

Cypress

Helen

LadyE35

Sasha

B-Lady

21
35 mcg Norgestimate 0.25 mg Cilest 21
Estetrol Progestin Trade name Active pills
15 mg Drospirenone 3 mg Nextstellis 24

Biphasic pills

Oillezz (22 active pills)

First 7 tabs EE 40 mcg Desogestrel 0.025 mg
Second 15 tabs EE 30 mcg Desogestrel 0.125 mg

Triphasic pills

Tricilest (21 active pills)

First 7 tabs EE 35 mcg Norgestimate 0.18 mg
Second 7 tabs EE 35 mcg Norgestimate 0.215 mg
Third 7 tabs EE 35 mcg Norgestimate 0.25 mg

Triquilar ED / Trigestrel (21 active pills)

First 6 tabs EE 30 mcg Levonorgestrel 0.05 mg
Second 5 tabs EE 40 mcg Levonorgestrel 0.075 mg
Third 10 tabs EE 30 mcg Levonorgestrel 0.125 mg

Quadriphasic pills

Qlaira (26 active pills)

First 2 tabs EV 3 mg Dinogest 0
Second 5 tabs EV 2 mg Dinogest 2 mg
Third 17 tabs EV 2 mg Dinogest 3 mg
Fourth 2 tabs EV 1 mg Dinogest 0

EV : estradiol valerate

รูปแบบการรับประทานยา

มีหลายรูปแบบ ได้แก่ 21/7, 24/4, extended cycle และ continuous cycle

ในยา 1 แผง อาจมี 21 เม็ด 24 เม็ด หรือ 28 เม็ด หากเป็นแบบ 21 เม็ด ให้รับประทานวันละ 1 เม็ด เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์และหยุด 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีประจำเดือนออกมาเป็นปกติ (withdrawal uterine bleeding) หากเป็นแบบ 28 เม็ด ให้รับประทานติดต่อกันทุกวันเพื่อป้องกันการหลงลืม ซึ่ง 7 เม็ดสุดท้ายจะไม่มีฮอร์โมน อาจเป็นแป้ง วิตามิน หรือธาตุเหล็กแทน (Pill free interval)

ในแผง 28 เม็ด จะมี 2 regimen  คือ แบบ 21/7 และ 24/4 โดย จะมีเม็ดที่เป็น active pills 21 และ 24 เม็ดตามลำดับ ซึ่งเม็ดที่เหลือจะเป็นเม็ดแป้ง

21/7 เปรียบเทียบกับ  24/4  regimen คือ 24/4 จะมีช่วงที่มี active pills มากกว่า จะทำมาใน low หรือ very low dose COC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเนื่องจากลด follicular development และลดผลข้างเคียงเลือดออกกะปริบกะปรอย

รูปแบบอื่นๆ ในการรับประทาน เช่น

Extended cycle คือ รับประทาน active pills ต่อเนื่อง 3 เดือน และเว้นให้มีประจำเดือน 1 สัปดาห์

Continuous cycle คือ รับประทาน active pills ต่อเนื่อง 1 ปี หรือมากกว่านั้น

การใช้แบบ extended cycle หรือ continuous cycle เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง หรือ มีอาการปวดระหว่างรอบเดือนที่ใช้ยาแบบ 28-day cycleแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือยังไม่พึงพอใจ

ข้อดีอื่นๆ ของ COC นอกจากการคุมกำเนิด

ได้แก่ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ ช่วยความคุมรอบประจำเดือน ลดปริมาณเลือดประจำเดือน ลดปวดประจำเดือน จึงมีการใช้ COC ในการรักษา endometriosis, dysfunctional uterine bleeding, dysmenorrhea, Mittelschmerz, hypothalamic amenorrhea และอาจช่วยรักษาภาวะ premenstrual syndrome  และลดการเกิด functional cyst ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม bone density และอาจช่วยลดการเกิด atherosclerosis ได้

หลักการรับประทาน COC ตามแนวทางของ US Selected Practice recommendations for Contraceptive Use, 2016

หญิงทั่วไป : เริ่มวันที่1-5 ของประจำเดือน ถ้าเริ่มวันที่มากกว่า 5 จำเป็นต้อง back up method เช่น งดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัย เป็นเวลาอีก 1 สัปดาห์

กรณีขาดประจำเดือน (ไม่ใช่หลังคลอด) : สามารถเริ่มได้เลยร่วมกับ back up method 1 อาทิตย์

กรณีหลังคลอด (ให้นมบุตร) : ไม่ควรใช้ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากผลข้างเคียงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และกระทบการหลั่งน้ำนม

กรณีหลังแท้ง : สามารถเริ่มภายใน 7 วันแรกหลังแท้งร่วมกับ back up method 1 สัปดาห์ ยกเว้นเริ่มทันทีหลังการแท้งไม่ต้อง back up method

เมื่อเปลี่ยนจากการคุมกำเนิดแบบอื่นมาเป็น COC

Intrauterine device (IUD) ควรเอาออกหลังจากเริ่มยาแล้ว 7 วันหรือ back up method 1 สัปดาห์

ในกรณีที่ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน สามารถเริ่มใช้ COC ต่อได้เลย ยกเว้น กรณีที่ยาคุมฉุกเฉินมี UPA (Ulipristal acetate) ควรเริ่มหลังใช้ยาคุมฉุกเฉินมี UPA ไปแล้วอย่างน้อย 5 วัน

การคัดกรองก่อนเริ่ม COC

  • CDC แนะนำว่าก่อนเริ่มรับประทานยา ควรมีการตรวจคัดกรองความดันโลหิต
  • Genetic testing for VTE

โรค inherited clotting disorder ที่พบได้บ่อยคือ factor V leiden mutation ซึ่งถ่ายทอดแบบ Autosomal dominant ทั้งนี้อุบัติการณ์ในคนเชื้อสายเอเชียพบได้น้อยมาก อาจพิจารณาตรวจแค่ในกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็น VTE หรือ เคยมีประวัติ VTE มาก่อน

คำถามที่พบบ่อย ถ้าใช้ COC ขณะตั้งครรภ์ ทารกจะผิดปกติไหม ?

COC ไม่เพิ่มความเสี่ยงความผิดปกติโดยกำเนิดของทารก โดยพบทารกที่มีความผิดปกติได้ 2-3 % เท่ากับ ความเสี่ยงโดยทั่วไปของผู้ที่ไม่ได้ใช้ COC ดังนั้น หากทราบว่าตั้งครรภ์ขณะใช้ COC สามารถหยุดยา แล้วฝากครรภ์ต่อตามปกติ

Flowchart กรณีลืมรับประทาน COC

ที่มา: Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic and endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.

ข้อระมัดระวัง การใช้ COC ในกลุ่มเสี่ยง

Conditions Recommendations
Hypertension หลีกเลี่ยงการใช้และห้ามใช้ใน Uncontrolled HT
Venous thromboembolism เพิ่มความเสี่ยง 3-5 เท่า

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติ DVT, PE หรือ ได้ Major surgery with prolonged immobilization หรือ known thrombogenic mutations เช่น factor V Leiden; prothrombin mutation; protein S, protein C, and antithrombin deficiencies

Migraine ไม่ควรใช้ในผู้ป่วย Migraine without Aura  ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป

ห้ามใช้ใน Migraine with aura

Metabolic diseases ไม่เพิ่ม lipid แต่เพิ่ม TG หาก TG > 750 mg/dl  ห้ามใช้ COC

ควรติดตาม lipid profile เป็นระยะ

Diabetes ไม่เพิ่มความเสี่ยง แต่ห้ามใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือผู้ป่วยที่เป็นมานานเกิน 20 ปี
SLE เพิ่มความเสี่ยง SLE exacerbation

ห้ามใช้ใน SLE with vascular disease associated or antiphospholipid positive

Breast cancer ห้ามใช้ COC

หลีกเลี่ยงในผู้ที่มีประวัติในครอบครัว

Liver disease ห้ามใช้ใน Acute hepatitis, Decompensated cirrhosis, HCC
Epilepsy ไม่เพิ่มการชัก แต่ยากันชักบางตัว จะลดประสิทธิภาพ COC

เช่น phenytoin, carbamazepine, barbiturates, primidone, topiramate, oxcarbazepine

COC จะเพิ่ม clearance ของยา lamotrigine, valproic acid

HIV สามารถใช้ได้ ไม่มี drug interaction with retroviral drugs
Smoking ห้ามใช้คนที่อายุ 35 ขึ้นไปที่สูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงในผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี แต่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 15มวน

หากหยุดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 1 ปี =  nonsmoker

ที่มา: Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic and endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของ COC 

  1. Breakthrough bleeding

ในช่วงแรก จะมีการปรับตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ แต่หากมีเลือดออกหลังจากใช้มานาน โดยเฉพาะในกลุ่ม extended หรือ continuous regimen มักเป็นผลของ endometrial decidualization จาก progestin อาจลองหยุดยาเพื่อปล่อยให้มี withdrawal bleeding หรือใช้ short course estrogen เช่น conjugated estrogen 1.25 mg หรือ estradiol 2 mg ต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 7วัน

  1. Amenorrhea

ในกรณีที่ใช้ COC เป็นเวลานาน เป็นผลของ endometrial decidualizationจาก  progestin

ส่วนผลข้างเคียงที่มักเข้าใจผิดโดยผู้ป่วย คือ น้ำหนักขึ้น สิวขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ COC และ COC ยังช่วยรักษาสิวและภาวะขนดกได้ด้วย

เมื่อไหร่จะสามารถหยุด COC ได้

เมื่อเข้าสู่วัยทอง โดยหากอายุ 50ปี อาจลองหยุด COC หรือตรวจ FSH โดยจะตรวจ Day 6 หรือ 7 ของ pill free week หาก FSH > 20 IU/L ถือว่าผู้ป่วยเข้าสู่วัยทองแล้ว อาจพิจารณาใช้ฮอร์โมนตามความเหมาะสม ( menopausal hormone therapy)

เอกสารอ้างอิง

  1. Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic and endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.
  2. Cunningham F, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, Spong CY, et al. Contraception In : Williams Obstetrics. 26th ed. McGraw Hill; 2022. p. 671-673.
  3. Berek JS, Novak E. Berek & Novak’s gynecology. 16th ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins, 2020.
  4. P. Kathryn M. Curtis, M. Tara C. Jatlaoui, M. Naomi K. Tepper, P. Lauren B. Zapata, M. Leah G. Horton, M. Denise J. Jamieson, et al. U.S. Selected Practice Recommendations for Contraceptive Use, 2016. MMWR recommendations and reports Vol. 65 p. 22-30.
  5. Camelia Davtyan, MD, FACP, Clinical Professor of Medicine, UCLA Comprehensive Health Program. Four Generations of Progestins in Oral Contraceptives. Proceedings of UCLA Healthcare -VOLUME 16 (2012)-
  6. Hugh S. Taylor, Patricia Geraghty, The next generation of oral contraception: Advances in estrogens: OBG management
  7. เอกสารประกอบบรรยาย เรื่อง Today’s game changer: What’s Novel Native Estrogen E4 with DRSP?
  8. World Health Organization Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use, 5th edition 2015
  9. Mathur, Ruchi & Levin, Olga & Azziz, Ricardo. (2008). Use of ethinylestradiol/drospirenone combination in patients with the polycystic ovary syndrome. Therapeutics and clinical risk management. 4. 487-92.
  10. .Wikipedia contributors. Estrogen. Wikipedia, The Free Encyclopedia. November 9, 2023, 20:12 UTC. Available at: https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Estrogen&oldid=1184336587. Accessed November 11, 2023.

 

Read More

Menopausal Hormonal Therapy (MHT)

Menopausal Hormonal Therapy (MHT)

พญ. ภัณฑิรา อนุรักษ์สุวรรณ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ. พญ. สายพิณ พงษธา


ภาวะหมดระดู คือการที่มีการขาดหายไปของระดูเกิดขึ้นติดต่อกัน 12 เดือน โดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงจะเข้าสู่ภาวะหมดระดูอายุประมาณ 51 ปี(1, 2) วัยหมดระดูนี้เกิดจากการลดลงของจำนวน ovarian follicle จากกระบวนการ apoptosis หรือ programmed cell death ส่งผลให้มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอร์โรน และ antimullerian hormone (AMH) ลดลง รวมถึง inhibin ซึ่งสร้างจาก granulosa cell ลดลง จึงทำให้การสร้าง FSH ที่ pituitary gland เพิ่มขึ้น (โดยปกติแล้ว inhibin จะกดการสร้างและการหลั่ง FSH) อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดจะยังคงมีอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการมี peripheral aromatization ที่เนื้อเยื่อไขมัน(1)

The STRAW (The Stage of Reproductive Aging Workshop) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงช่วงเปลี่ยนผ่านตั้งแต่ reproductive stage ไปจนถึง postmenopause stage โดยการแบ่งระยะของภาวะเจริญพันธุ์ ดังรูป (3)

รูปที่ 1: ระยะ (staging) ของภาวะเจริญพันธุ์ (reproductive aging)
ที่มา Harlow SD, Gass M, Hall JE, et al. Executive Summary of the Stages of Reproductive Aging Workshop + 10. J Clin Endocrinol Metab 2012.(3)

Menopause hormonal therapy (MHT)

ในความหมายคือ การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดูเป็นคำที่ใช้แทน hormonal replacement therapy หรือการให้ฮอร์โมนทดแทนที่ใช้เรียกกันในอดีต เป้าหมายในการใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการที่ vasomotor (VMS) หรือ/และ genitourinary syndrome of menopause (GSM) เป็นหลัก ไม่ได้ใช้ในหญิงวัยหมดระดูทุกคนเพื่อป้องกัน cardiovascular disease หรือ dementia อย่างที่เคยใช้ในอดีต(4)

หลักการของการรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดู คือการให้ในปริมาณฮอร์โมนน้อยที่สุดที่จะสามารถบรรเทาอาการเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนในวัยหมดระดูหรือใกล้หมดระดูได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้ฮอร์โมนทดแทนนั้นควรจะพิจารณาจำเพาะเป็นรายบุคคล อาศัยการพิจารณาจาก

  1. Clinical indication

  • Moderate to severe vasomotor symptoms

มีอาการร้อนวูบวาบโดยเฉพาะบริเวณหน้า คอ และอก อาจมีอาการเหงื่อออก ลำตัวเย็นชื้น วิตกกังวล หรือรู้สึกใจสั่นได้ อาการรุนแรงจนรบกวนการนอนหลับ รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

  • Genitourinary symptom

มีอาการทางระบบสืบพันธุ์โดยเฉพาะอาการช่องคลอดแห้ง ระคายเคือง รู้สึกแสบร้อน (จาก vulvovaginal atrophy) เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ อาการรุนแรงจนรบกวนกิจกรรมทางเพศได้ รวมไปถึงอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะแสบขัด

  • Prevention and treatment of osteoporosis โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะหมดระดูเร็ว (early menopause) หรือ premature ovarian insufficiency แต่อย่างไรก็ตามบางองค์กรระดับนานาชาติ ยังถือว่าเป็นเพียงประโยชน์ร่วมจากการใช้ MHT
  1. Patient age and year of post-menopause

“ควรเริ่มให้ยาฮอร์โมนทดแทน ในหญิงวัยหมดระดูที่อายุน้อยกว่า 60 ปี และอยู่ในช่วง 10 ปีหลังหมดประจำเดือน (window of opportunity หรือ timing hypothesis )”(5)

การศึกษาขนาดใหญ่ Women’s Health initiative (WHI) ได้เปรียบเทียบกลุ่มอายุที่เริ่มให้ยาและระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน พบว่าการให้ยาฮอร์โมน conjugated equine estrogen (CEE) +/- medroxyprogesterone acetate (MPA) ในหญิงวัยหมดระดูที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือ เริ่มให้ยาฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือนไปแล้วมากกว่า 10 ปี จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง coronary heart disease , stroke , breast cancer , colorectal cancer , endometrial cancer , hip fracture และเพิ่ม mortality (6)

  1. Patient’s risk for cardiovascular disease and breast cancer

เนื่องจากการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งเต้านม และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินความเสี่ยงก่อนพิจารณาให้ยา รวมไปถึงตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของตับ ตรวจระดับไขมันและน้ำตาลในร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจ mammography

จากการศึกษา WHI ที่ศึกษาต่อเนื่องนานถึง 18 ปี พบว่าการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่ได้รับ MHT เป็น CEE เพียงอย่างเดียวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ(6)

10-year ASCVD risk score

( By ACC/AHA guideline)*

Year since menopause onset Risk assessment
<10 year
Low (<5%) MHT
  • Age
  • Gender
  • Blood pressure
  • DM
  • Smoker
  • Total cholesterol
  • HDL
Moderate (5-10%) MHT (suggested transdermal)
High (>10%) Avoid MHT

*CVD risk calculated by ACC/AHA Cardiovascular Risk Calculator. Methods to calculate risk and risk stratification vary among countries.

ดัดแปลงจาก Stuenkel CA, Davis SR, Gompel A, et al. Treatment of symptoms of the menopause: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab 2015; 100:3975(7)

Risk category

5-year NCI breast cancer risk assessment*

Suggestion Risk assessment
Low (<1.67 %) MHT
  • Age
  • Patient’s personal medical
  • BRCA mutation
  • History of breast biopsy
  • Reproductive history
  • Menarche
  • Age at give birth
  • Family history of breast cancer
Intermediate (1.67-5%) Caution (counseling risk-benefit or nonhormonal therapy)
High (>5%) Avoid MHT

*Breast Cancer Risk Assessment Tool by national cancer institution

ดัดแปลงจาก Stuenkel CA, Davis SR, Gompel A, et al. Treatment of symptoms of the menopause: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab 2015; 100:3975(7)

Endocrine society’s 2015 treatment of the symptoms of menopause guideline แนะนำให้คำนวณความเสี่ยงต่อ cardiovascular disease และ breast cancer ก่อนเริ่มให้ยาฮอร์โมนในผู้ป่วยทุกราย (7)

  • Moderate risk for CVD (5-10% 10-year CVD risk) แนะนำให้ใช้ transdermal estrogen มากกว่า oral estrogen และหากยังมีมดลูกอยู่ แนะนำให้ใช้ micronized progesterone มากกว่า synthetic progestin
  • High risk for CVD (>10% 10-year CVD risk) , intermediate to high risk for breast cancer (>1.67% 5-year breast cancer risk assessment) ให้หลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมน

Contraindication ข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนในวัยหมดระดู(1)

  • เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • เป็นมะเร็งเต้านมหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • กำลังเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน (chronic heart disease , cerebrovascular disease , thromboembolic disorder)
  • โรคตับหรือถุงน้ำดีผิดปกติ
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

เมื่อพิจาณาข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ประโยชน์และความเสี่ยงในการได้รับฮอร์โมนในผู้ป่วยแต่ละรายแล้วตัดสินใจให้การรักษา ลำดับถัดไปให้พิจารณาการให้การรักษา ตารางแสดงสรุปการรักษาแบบต่างๆ เมื่อพิจาณาข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ประโยชน์และความเสี่ยงในการได้รับฮอร์โมนในผู้ป่วยแต่ละรายแล้วจึงตัดสินใจให้การรักษา ลำดับถัดไปให้พิจารณาการให้การรักษา ตารางแสดงสรุปการรักษาแบบต่างๆ

Hormone therapy FDA-approved
  • Unopposed estrogen therapy

Systemic estrogen

Vaginal/local estrogen (for GSM)

  • Combined estrogen-progestintherapy
    • Sequential combined estrogen-progestin therapy
    • Continuous combined estrogen-progestin therapy
  • Progestin therapy
  • Combined conjugated estrogen and estrogen agonist/antagonist (bazedoxifene)
  • Tibolone
  • Testosterone
  • Compounded bioidentical hormone
/

/

/

/

X

/

X

X

Nonhormonal therapy / Alternative treatment FDA-approved
  • Estrogen agonist/antagonist
    • Raloxifen and tamoxifen
    • Ospemifene (for GSM)
  • Alpha agonist: Clonidine
  • SSRI/ SNRI
    • Paroxetine
    • Venlafaxine
    • Escitalopram
  • GABA
X

/

X

/

X

X

X

Lifestyle Change and supplementation / Complementary medicine FDA-approved
  • Reducing body temperature
  • Maintaining healthy weight
  • Smoking cessation
  • Calcium 1,200 mg/day
  • Vitamin D 800-1000 IU/day
  • Regular weight-bearing and muscle-strengthening exercise
  • Cognitive behavioral therapy, hypnotic therapy
additional

ดัดแปลงจาก 1. Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2020. 431-444 p.(1)

2. ACOG Practice Bulletin No. 141: management of menopausal symptoms. Obstet Gynecol. 2014;123(1):202-16.(2)

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal therapy)

ฮอร์โมนทดแทนที่มีวิธีให้ที่แตกต่างกันอยู่สองชนิดคือ เอสโตรเจนตัวเดียว (unopposed estrogen therapy) และเอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน (combined estrogen-progestin therapy)

  1. เอสโตรเจนตัวเดียว (unopposed estrogen therapy)

พิจารณาให้ในรายที่ทำการตัดมดลูกไปแล้ว เนื่องจากการได้รับเอสโตรเจนเพียงตัวเดียวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในรายที่ยังมีมดลูก ไม่ว่าจะเป็นการให้แบบต่อเนื่องหรือการให้แบบเป็นรอบคือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน 3 สัปดาห์ และหยุดฮอร์โมนอีก 1 สัปดาห์ พบว่าต่างเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(8) และจากการศึกษาพบว่าในหญิงที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด thromboembolic event โดยเฉพาะในหนึ่งปีแรก แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม (6, 9)

  1. เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน (combined estrogen-progestin therapy)

การให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน ใช้ในหญิงที่ต้องการฮอร์โมนและยังมีมดลูก จะมีการให้อยู่สองแบบ คือ แบบเป็นรอบๆ (sequential) และแบบการให้ต่อเนื่อง (continuous)

  • เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน แบบเป็นรอบ (sequential combined estrogen-

progestin therapy) เป็นการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทุกวันร่วมกับการให้ฮอร์โมนโปรเจสติน 12-14 วันทุกเดือน เพื่อลดการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยการให้ฮอร์โมนวิธีนี้ทำให้มีระดูได้ร้อยละ 90 (10)

  • เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสตินแบบต่อเนื่องทุกวัน (continuous combined estrogen-progestin

therapy) วิธีนี้จะทำให้ส่วนใหญ่ขาดระดู เนื่องจากากรที่ฮอร์โมนโปรเจสตินทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ ยกเว้น 3-6 เดือนแรกหลังเริ่มใช้ฮอร์โมนซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อย โดยฮอร์โมนที่ให้อาจจะให้แยกกันหรือเป็นฮอร์โมนรวมในยาเม็ดเดียวกันก็ได้ โดยพบว่ามีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติได้(11) ทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป จากการศึกษาพบว่าการให้แบบ continuous regimen มีความเสี่ยงในการเกิด breast cancer มากกว่าแบบ sequential regimen แต่เป็นเพียงผลจากการศึกษาแบบ observation

ขนาดยาและรูปแบบการให้ยา

ฮอร์โมนทดแทนที่มีในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดและหลากหลายแหล่งผลิต เอสโตรเจนที่ให้มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบรับประทาน แบบแผ่นแปะหรือแบบเจลทาผิวหนัง พบว่าทุกวิธีสามารถลดอาการวัยทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) สรุปขนาดยาและรูปแบบการให้ยาเอสโตรเจนและโปรเจสตินข้อดีข้อเสีย ดังนี้

Estrogen รูปแบบการให้ยา
Equivalent dose Oral route Transdermal route Vaginal route
Standard dose:

  • CEE 0.625 mg
  • Ethinyl estradiol 5 mcg
  • Estradiol valerate 1 mg
  • Micronized estradiol-17β 1 mg
  • Transdermal estradiol-17β

0.0375–0.05 mg/d

  • Vaginal cream 0.5-1 gm twice a week
  • Vaginal tablet 10 mcg twice a week
  • Estradiol ring 7.5 mcg/d
  • ใช้ง่าย
  • สามารถลด total cholesterol, ลด LDL และเพิ่ม HDL แต่เพิ่ม triglyceride ในเลือด (12)
  • ระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดคงที่กว่า
  • ไม่เพิ่มไตรกลีเซอไรด์, C-reactive protein , sex hormone–binding globulin (12)
  • มีการศึกษาว่าการให้ทางผิวหนังนี้ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทั้ง deep vein thrombosis ,stroke และ myocardial infarction (13)
  • ใช้รักษา GSM จากการศึกษาพบว่าไม่ทำให้มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวเพิ่มขึ้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้โปรเจสตินร่วมด้วย (14)
Progestin รูปแบบการให้ยา
Equivalent dose (sequential regimen) Oral route Intrauterine
  • Micronized progesterone 100 mg
  • Medroxyprogesterone acetate 2.5 mg
  • Norethindrone aetatae 0.5 mg
  • Drospirenone 0.5 mg
  • Dydrogesterone 5 mg

*ควรเลือกใช้ชนิดที่ใกล้เคียงกับฮอร์โมนในร่างกายและมีฤทธิ์ androgenic effect ต่ำ (เนื่องจาก androgenic effect จะทำให้ผลดีของ estrogen ต่อ CVS ลดลง)

  • เป็นที่นิยม
  • เลือกใช้แบบ sequential หรือ

continuous

  • พบว่าการใช้ levonorgestrel (LNG-IUS) สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด endometrial hyperplasia และ cancer ได้เช่นกัน เทียบเท่ากับกลุ่มโปรเจสตินแบบรับประทานต่อเนื่อง และได้ผลดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้โปรเจสตินแบบเป็นรอบๆ(15)
  • แต่มีข้อจำกัดในการใช้เนื่องจากสรีระของหญิงวัยหมดระดูทำให้ใส่ได้ยากกว่า

Uptodate guideline Treatment of menopausal symptoms with hormone therapy แนะนำการเลือกใช้ยาในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก ตาม patient’s menopausal stage และกรณีต่างๆ ดังนี้(16)

      1. Late menopausal transition or early postmenopause (1-2 ปีหลังหมดประจำเดือน)

แนะนำ sequential combined regimen (17β estradiol ทุกวันและให้ sequential oral micronized progesterone 200 mg/day 12 วันต่อเดือน)

  • Moderate symptoms แนะนำให้เริ่ม estradiol วันละ 0.5 mg หรือ trandermal estradiol 0.025 mg
  • Severe symptoms แนะนำให้ estradiol วันละ 1 mg หรือ trandermal estradiol 0.05 mg

2. Women >2 -3 years post-final menstrual period

Continuous combined regimen สามารถให้ได้ทั้งแบบเม็ดรวม หรือให้แบบแยกมีผลในการรักษาพอๆกัน ขนาดที่แนะนำคือ

  • Standard dose of estrogen (oral 17β estradiol 1 mg หรือ transdermal estradiol 0.05 mg)
  • Progesterone (MPA 2.5 mg/day หรือ micronized progesterone 100 mg/day )

3. Pre- or perimenopausal women ที่ได้รับการตัดรังไข่ทั้งสองข้าง

  • แนะนำขนาดยาสูงกว่าทั่วไป คือ estradiol วันละ 2 mg หรือ transdermal estradiol 0.1 mg ต่อสัปดาห์ ใน 2-3 ปีแรกหลังผ่าตัด เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนขาดหายไปอย่างรวดเร็วจึงมีอาการรุนแรงกว่า(16) อย่างไรก็ตามการใช้ฮอร์โมนขนาดที่ต่ำกว่านี้ จะมีได้ประโยชน์ในด้านความปลอดภัยมากกว่า

4. Use oral contraception during menopausal transition

Low dose estrogen oral contraception (20 mcg of ethinyl estradiol) สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาอาการร้อนวูบวาบในช่วงใกล้หมดประจำเดือนได้ในผู้หญิงที่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อหวังผลคุมกำเนิดหรือใช้รักษาโรคทางนรีเวชเพื่อคุมควบอาการเลือดออกผิดปกติ (supraphysiologic dose of estrogen and progestin) (17) แต่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วย perimenopause ที่อ้วนหรือสูบบุหรี่เพราะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

แม้ว่าในช่วง perimenopause อัตราการตั้งครรภ์ต่ำมาก แต่พบว่าผู้หญิงช่วงอายุ 45-49 หากไม่ได้คุมกำเนิดมีโอกาสตั้งครรภ์ 2-3% และลดลงเหลือ 1 % หากอายุมากกว่า 50 ปี ในทางปฏิบัติจึงแนะนำให้หยุดใช้ยาคุมกำเนิดได้หากอายุมากกว่า 50 ปี โดยค่อยๆลดขนาดยาลงสัปดาห์ละ 1 เม็ด เนื่องจากถ้าหยุดทันทีอาจเกิดอาการร้อนวูบวาบได้ แต่หากมีอาการของภาวะหมดระดูให้ใช้ postmenopausal estrogen regimen เหมือนหญิงวัยหมดระดูทั่วไป(16)

5. Special consideration

    • Primary ovarian insufficiency

แนะนำให้เริ่มฮอร์โมนทดแทนไปอย่างต่อเนื่องจนถึงเมื่อหมดประจำเดือนเลย เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน และ cardiovascular disease โดยให้หยุดได้เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุเฉลี่ยของ menopause (50-51ปี) หากหยุดยาแล้วมีอาการให้พิจารณาเหมือนการเริ่มยาในหญิงวัยหมดระดูทั่วไป(16)

    • Breast cancer patient

HABITS trial (Hormonal replacement after breast cancer- Is it safe) ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าจะหมดระดูก่อนวัยอันควร เนื่องจากพบว่าการใช้ฮอร์โมนเพิ่มโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งเต้านมได้ แนะนำให้ใช้ยาทางเลือกแทน

    • Women with migraine

ฮอร์โมนทดแทนสามารถใช้รักษาอาการร้อนวูบวาบและ estrogen-associated migraine ได้ การศึกษาความเสี่ยงการเกิด stroke ในการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนของหญิงวัยหมดระดูที่เป็นโรคไมเกรนยังมีไม่มากพอ โรคปวดศีรษะไมเกรนจึงไม่ถือเป็นข้อห้ามที่ชัดเจนในการใช้ยาฮอร์โมนทดแทน แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังแนะนำให้ใช้เป็น low dose transdermal regimen (<50 mcg transdermal estradiol )(7, 18)

  1. Only genitourinary symptoms of menopause

แนะนำเป็นการให้ยาฮอร์โมนเฉพาะที่ แบบให้ทางช่องคลอด ทั้งในรูปแบบครีมทา วงแหวน หรือยาเม็ดสอดช่องคลอด หากอาการไม่ดีขึ้นให้ให้พิจารณาเพิ่มสารหล่อลื่น (vaginal lubricants) หรือสารเพิ่มความชุ่มชื่น (vaginal moisturizers) อาจจะช่วยทำให้อาการทางช่องคลอดดีขึ้นได้

มีการศึกษา meta-analysis ของ Cochrane ในหญิง 4,162 คนเกี่ยวกับการใช้เอสโตรเจนแบบเฉพาะที่ เทียบกับกลุ่มยาหลอก พบว่าไม่ทำให้มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติเพิ่มขึ้น ฉะนั้นการใช้เอสโตรเจนเฉพาะที่อาจไม่ต้องให้โปรเจสตินร่วมด้วย แต่หากหญิงที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่แล้วเกิดมีเลือดออกผิดปกติก็ควรจะต้องค้นหาสาเหตุของการเลือดออกผิดปกติด้วย(14)

ในหญิงที่มีประวัติเรื่องมะเร็งเต้านม ควรหลีกเลี่ยงการให้เอสโตรเจน รวมถึงการให้แบบเฉพาะที่ทางช่องคลอด ควรจะใช้วิธีอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น estrogen agonists–antagonists เช่น ospemifene 60 mg ต่อวัน ได้รับการรับรองจาก FDA ว่าช่วยในเรื่องช่องคลอดแห้งฝ่อได้ และช่วยรักษาในรายที่มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์(moderate-to-severe dyspareunia) โดยยาอาจจะมีผลข้างเคียงเรื่อง ร้อนวูบวาบ สารคัดหลั่งทางช่องคลอด เหงื่อออกมาก หรือมี muscle spasm ได้(19)

การตรวจติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่ใช้ฮอร์โมน

จากที่กล่าวข้างต้น หลักการของการให้ฮอร์โมนคือการให้ในปริมาณน้อยที่สุดที่จะสามารถบรรเทาอาการได้ และปรับขนาดยาขึ้นจนสามารถควบคุมอาการผู้ป่วยได้ คงขนาดยาดังกล่าวจนอาการคงที่ 3-5 ปี จึงเริ่มปรับลดขนาดยา(20) (ขึ้นกับอายุผู้ป่วยขณะนั้น ถ้าเริ่มยาตั้งแต่อายุน้อยไม่มีโรคประจำตัวอาจให้ยาติดต่อกันถึง 5 ปีแล้วเริ่มลดระดับยาได้)

Endometrial monitoring

ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำ routine transvaginal ultrasound เพื่อเฝ้าระวังเยื่อบุโพรงมดลูกหลังจาการใช้ฮอร์โมน หากมีเลือดออกผิดปกติจำเป็นต้อง ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และได้ชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจดูแน่ชัดว่าไม่มีภาวะ endometrial hyperplasia หรือ endometrial cancer โดยอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยหลังจากใช้ฮอร์โมนแบบ continuous combined regimen (unscheduled bleeding) อาจเกิดขึ้นได้ในช่วง 6 เดือนแรก

Mammography

ในทางปฏิบัติแนะนำให้ตรวจ routine mammography ทุก 1-2 ปีแม้ใช้ฮอร์โมนในระยะสั้น(16) ทั้งในผู้ป่วยที่รักษาด้วยฮอร์โมนแบบ estrogen therapy และ estrogen-progesterone therapy ในการศึกษาของ WHI พบว่า estrogen-progesterone therapy มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าและจะเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนไปมากกว่า 4 ปี(7)

การปรับลดขนาดยาและการหยุดยาฮอร์โมน

จากการศึกษาหลังจากหยุดยาแล้วมีโอกาสกลับมามีอาการซ้ำถึง 50% โดยขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาที่ใช้(2) ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากพอว่าวิธีการลดขนาดยาแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบหยุดยาทันทีลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่า(20) Uptodate แนะนำให้ลดขนาดยาแบบค่อยเป็นค่อยไปแบบลดสัปดาห์ละ 1 เม็ดติดต่อกัน 1 เดือน (เช่น ลดเหลือสัปดาห์ละ 6 เม็ด เดือนถัดไปเหลือสัปดาห์ละ 5 เม็ด ) เพื่อง่ายต่อการกลับไปเพิ่มขนาดยาที่สามารถคุมอาการได้(16)

The North American Menopause Society and ACOG แนะนำให้สามารถยืดระยะเวลาการให้ฮอร์โมนไปมากกว่า 5 ปีหรือให้หยุดอายุ 65 ปี โดยพิจารณาความรุนแรงของอาการ โรคประจำตัว และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคนเป็นรายๆไป(2, 18) เพราะพบว่า 40%ของผู้ป่วยช่วงอายุ 60-65 ปียังมีอาการร้อนวูบวาบจนรบกวนการนอนหลับและรบกวนชีวิตประจำวัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2020. 431-44 p.
  2. ACOG Practice Bulletin No. 141: management of menopausal symptoms. Obstet Gynecol. 2014;123(1):202-16.
  3. Harlow SD, Gass M, Hall JE, Lobo R, Maki P, Rebar RW, et al. Executive summary of the Stages of Reproductive Aging Workshop + 10: addressing the unfinished agenda of staging reproductive aging. J Clin Endocrinol Metab. 2012;97(4):1159-68.
  4. Marjoribanks J, Farquhar C, Roberts H, Lethaby A, Lee J. Long-term hormone therapy for perimenopausal and postmenopausal women. Cochrane Database Syst Rev. 2017;1(1):Cd004143.
  5. Hodis HN, Mack WJ, Shoupe D, Azen SP, Stanczyk FZ, Hwang-Levine J, et al. Methods and baseline cardiovascular data from the Early versus Late Intervention Trial with Estradiol testing the menopausal hormone timing hypothesis. Menopause. 2015;22(4):391-401.
  6. Manson JE, Chlebowski RT, Stefanick ML, Aragaki AK, Rossouw JE, Prentice RL, et al. Menopausal hormone therapy and health outcomes during the intervention and extended poststopping phases of the Women’s Health Initiative randomized trials. Jama. 2013;310(13):1353-68.
  7. Stuenkel CA, Davis SR, Gompel A, Lumsden MA, Murad MH, Pinkerton JV, et al. Treatment of Symptoms of the Menopause: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2015;100(11):3975-4011.
  8. Schiff I, Sela HK, Cramer D, Tulchinsky D, Ryan KJ. Endometrial hyperplasia in women on cyclic or continuous estrogen regimens. Fertil Steril. 1982;37(1):79-82.
  9. Rossouw JE, Anderson GL, Prentice RL, LaCroix AZ, Kooperberg C, Stefanick ML, et al. Risks and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal women: principal results From the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. Jama. 2002;288(3):321-33.
  10. Archer DF, Pickar JH, Bottiglioni F. Bleeding patterns in postmenopausal women taking continuous combined or sequential regimens of conjugated estrogens with medroxyprogesterone acetate. Menopause Study Group. Obstet Gynecol. 1994;83(5 Pt 1):686-92.
  11.  Weiderpass E, Adami HO, Baron JA, Magnusson C, Bergström R, Lindgren A, et al. Risk of endometrial cancer following estrogen replacement with and without progestins. J Natl Cancer Inst. 1999;91(13):1131-7.
  12. Vehkavaara S, Silveira A, Hakala-Ala-Pietilä T, Virkamäki A, Hovatta O, Hamsten A, et al. Effects of oral and transdermal estrogen replacement therapy on markers of coagulation, fibrinolysis, inflammation and serum lipids and lipoproteins in postmenopausal women. Thromb Haemost. 2001;85(4):619-25.
  13. Mohammed K, Abu Dabrh AM, Benkhadra K, Al Nofal A, Carranza Leon BG, Prokop LJ, et al. Oral vs Transdermal Estrogen Therapy and Vascular Events: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Clin Endocrinol Metab. 2015;100(11):4012-20.
  14. Bachmann G, Lobo RA, Gut R, Nachtigall L, Notelovitz M. Efficacy of low-dose estradiol vaginal tablets in the treatment of atrophic vaginitis: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol. 2008;111(1):67-76.
  15. Hampton NR, Rees MC, Lowe DG, Rauramo I, Barlow D, Guillebaud J. Levonorgestrel intrauterine system (LNG-IUS) with conjugated oral equine estrogen: a successful regimen for HRT in perimenopausal women. Hum Reprod. 2005;20(9):2653-60.
  16. Kathryn A Martin, Robert L Barbieri. Treatment of menopausal symptoms with hormone therapy. uptodate. 2020.
  17. Kaunitz AM. Clinical practice. Hormonal contraception in women of older reproductive age. N Engl J Med. 2008;358(12):1262-70.
  18. The 2012 hormone therapy position statement of: The North American Menopause Society. Menopause. 2012;19(3):257-71.
  19. Bachmann GA, Komi JO. Ospemifene effectively treats vulvovaginal atrophy in postmenopausal women: results from a pivotal phase 3 study. Menopause. 2010;17(3):480-6.
  20. Cunha EP, Azevedo LH, Pompei LM, Strufaldi R, Steiner ML, Ferreira JA, et al. Effect of abrupt discontinuation versus gradual dose reduction of postmenopausal hormone therapy on hot flushes. Climacteric. 2010;13(4):362-7.

 

Read More

Menopause and Cardiovascular risk

Menopause and Cardiovascular risk

พญ.พรปวีณ์ นิรันดร์รุ่งเรือง
อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์แพทย์หญิง สายพิณ พงษธา


วัยหมดระดู (Menopause) คือวัยที่ประจำเดือนหยุดอย่างถาวรจาก นาน 12 เดือนขึ้นไป ซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ โดยอายุของวัยหมดระดูอยู่ในช่วง 45-55 ปี และมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 51.4 ปี1

Definition2

  • Early menopause คือ วัยหมดระดูที่เกิดตั้งแต่อายุ 40-44 ปี
  • Surgical menopause คือ การสูญเสียการทำงานของรังไข่จากการผ่าตัดก่อนจะหมดระดูตามธรรมชาติ สาเหตุ เช่น การผ่าตัดตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
  • Premature ovarian insufficiency (POI) คือ การสูญเสียการทำงานของรังไข่ก่อนอายุ 40 ปี แต่อาจจะไม่ได้สูญเสียการทำงานอย่างถาวร สาเหตุ เช่น การได้รับสารพิษ ยาเคมีบำบัด การฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน ความผิดปกติทางพันธุกรรม การสูบบุหรี่ เป็นต้น

Menopause มีสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจาก hypothalamus และ pituitary gland โดยเกิดจากรังไข่มี ovarian follicles ลดลง ทำให้รังไข่ไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นของ Follicle-stimulating hormone (FSH) และ Luteinizing hormone (LH) จาก pituitary gland ได้ การสร้าง estrogen และ progesterone จึงลดลง แต่ FSH สูงขึ้นเนื่องจาก ovarian failure และไม่มี negative feedback มาจากรังไข่ Antimullerian hormone (AMH) ลดลงตาม ovarian follicles ที่ลดลง

รังไข่ยังคงสร้าง androgen ต่อ เนื่องจากชั้น stroma และ theca cells ของรังไข่ยังคงปกติ แต่ก็สร้างได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นและการทำงานของรังไข่และต่อมหมวกไต(adrenal gland) ลดลง ต่อมไขมัน (adipose tissue) จะเป็นแหล่งหลักในการเกิด aromatization เปลี่ยน androgen จากรังไข่และต่อมหมวกไตเป็น estrogen ทำให้ในวัยหมดระดูก็ยังคงมีปริมาณ estrogen ในระดับต่ำๆอยู่ ส่วนต่อมไขมันเมื่อกลายเป็นแหล่งหลักในการสร้างฮอร์โมนทำให้มีผลเรื่องโรคอ้วน (obesity) ตามมาในวัยหมดระดูได้ และโรคอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เป็นปัจจัยในการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้2

Stages of Reproductive Aging Workshop (STRAW) criteria2

ระยะของภาวะเจริญพันธุ์ถูกแบ่งออกตาม STRAW (stages of reproductive aging workshop) criteria (รูปที่ 1) ซึ่งเป็น gold standard ในการบ่งบอกลักษณะของการเปลี่ยนผ่านวัยเจริญพันธุ์เข้าสู่วัยหมดระดู

  • Early menopausal transition: ระยะห่างระหว่างรอบเดือน (intermenstrual interval) มากกว่า 7 วันจากปกติ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าเดิม
  • Late menopausal transition: ประจำเดือนขาดนานมากกว่าหรือเท่ากับ 60 วัน
  • Early postmenopause
  • Late postmenopause

รูปที่1: ระยะของภาวะเจริญพันธุ์ (STRAW criteria) ที่มา Harlow SD, Gass M, Hall JE, et al.
Executive Summary of the Stages of Reproductive Aging Workshop + 10. J Clin Endocrinol Metab 2012

Health concern after Menopause

  1. Vasomotor symptoms (VMS)

เป็นอาการที่เกิดจาก estrogen withdrawal พบได้ร้อยละ 75 ในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน (perimenopause) จะมีอาการอยู่นาน 1-2 ปีหลังหมดประจำเดือน ในบางรายอาจมีอาการได้นานกว่า 10 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการร้อนวูบวาบตามตัวทันที เริ่มเป็นที่หน้าอกส่วนบนและใบหน้า และกระจายไปทั่วตัว ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การนอนหลับ และการทำงาน ซึ่งเป็นอาการนำที่พาผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยที่สุด การรักษา VMS จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น2

  1. Genitourinary syndrome of menopause (GSM)

การขาด estrogen มีผลทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะเกิดความเปลี่ยนแปลง เกิด vulvovaginal atrophy (VVA) ทำให้อาการระคายเคืองบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แห้ง รู้สึกแสบร้อน และเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ซึ่งพบร้อยละ 50 % และค่อนข้างส่งผลต่อคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมีอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะเร่งรีบ (urinary urgency) ปัสสาวะแสบขัด มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ2

  1. Sexual dysfunction

พบร้อยละ 40 สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ปัญหาความสัมพันธ์ ความเครียด ความอ่อนเพลีย การถูกทำร้ายในอดีต ยาต่างๆ และปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเพศ ได้แก่ GSM ซึ่งทำให้ช่องคลอดแห้งและรู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์2, 3

  1. Osteoporosis

การมีมวลกระดูกต่ำและภาะกระดูกพรุนเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่นำไปสู่การเกิดกระดูกหัก ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักได้ด้วยการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การให้วิตามินดีและแคลเซียมเสริมในรายที่ได้ไม่เพียงพอ งดบุหรี่ ลดปริมาณการดื่มสุรา ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนบ้านให้มีความปลอดภัย รักษาเรื่องการมองเห็นในรายที่มีการมองเห็นผิดปกติ2

  1. Cardiovascular disease

เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในหญิงวัยหมดระดู ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจาก cardiovascular disease ในหญิงวัยหมดระดูมากกว่าอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อายุ ประวัติครอบครัว การใช้ชีวิตประจำวัน โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง การลดปัจจัยเสี่ยงและรักษาโรคประจำตัวเป็นสิ่งสำคัญในการลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด2, 4

  1. Breast cancer

มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสำคัญในหญิงวัยหมดระดู การได้รับเอสโตรเจนเป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมที่มากขึ้น การได้ menopausal hormone therapy (MHT) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเช่นกัน2

  1. Dementia

ในหญิงวัยหมดระดูจะมีกระบวนการคิดและการจดจำที่ลดลง การได้ MHT ไม่ช่วยการรักษาภาวะสมองเสื่อม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกาย รักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การเรียนรู้สิ่งต่างๆ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้2

Menopause and Cardiovascular risk4

Menopause เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะ estrogen withdrawal ส่งผลต่อการทำงานและ metabolism ของระบบหัวใจและหลอดเลือดเอง และมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงการกระจายของไขมัน (fat distribution) จาก gynoid pattern เป็น android pattern ทำให้น้ำหนักขึ้น เกิดโรคอ้วนตามมา
  • ลด glucose tolerance มี insulin resistance มากขึ้น
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ มี triglyceride และ lipoprotein สูงขึ้น มี HDL ต่ำลง
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • เพิ่ม sympathetic tone
  • Endothelial dysfunction
  • เกิดการอักเสบของหลอดเลือด

Menopausal hormone therapy (MHT) and cardiovascular risk

Cardiovascular effects of estrogen5

  • ประโยชน์จากการใช้ estrogen ได้แก่
    • Lipid profile ดีขึ้น เพิ่ม HDL ลด LDL (oral estrogen)
    • Endothelial function ดีขึ้น ซึ่งเกิดในหญิงอายุน้อย แต่ไม่พบผลนี้ในหญิงวัยหมดระดูที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ก่อนแล้ว
    • Insulin sensitivity ดีขึ้น แต่ข้อมูลยังไม่ชัดเจนมากนัก
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ estrogen ได้แก่
    • Triglyceride เพิ่มขึ้นจาการใช้ oral estrogen
    • Oral estrogen มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด โดยไปลด serum fibrinogen, factor VII และ antithrombin III (estrogen รูปแบบผ่านทางผิวหนังมีผลน้อยกว่า)

Cardiovascular effect of progestins5

Synthetic progestins เช่น medroxyprogesterone acetate (MPA) อาจต้านผลของ estrogen ต่อไขมันและ endothelial function ได้ (WHI trial and HERS) ส่วน natural progesterone ยังมีการศึกษาน้อยอยู่

MHT for primary prevention of cardiovascular disease

Women’s Health Initiative (WHI) trial แนะนำว่า MHT ไม่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกัน coronary heart disease (CHD) แบบปฐมภูมิ หนึ่งในการศึกษา มีการเปรียบเทียบ continuous combined estrogen-progestin regimen (CEE 0.625 mg และ MPA 2.5 mg/day) เทียบกับ placebo ในหญิงวัยหมดระดูจำนวน 16,608 คน อายุ 50-79 ปี ที่ยังมีมดลูกอยู่ ผลการศึกษาพบว่าการได้ MHT มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด breast cancer, stroke, CHD และ VTE เมื่อติดตามไป 5.2 ปี ทำให้ต้องถูกระงับไประหว่างการทดลอง แม้ว่าจะลดความเสี่ยงในการเกิด hip fracture และ colon cancer อย่างมีนัยสำคัญก็ตาม5, 6

WHI trial ในสูตรของ unopposed estrogen ได้ศึกษาเปรียบเทียบ conjugated equine estrogen (CEE 0.625 mg/day) กับ placebo ในหญิงวัยหมดระดูจำนวน 10,739 คน อายุ 50-79 ปี ที่ตัดมดลูกแล้ว ซึ่งถูกยุติการวิจัยก่อนกำหนด เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าการได้ unopposed estrogen เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด stroke และลดความเสี่ยงในการเกิด hip fracture แต่ไม่มีผลต่อการเกิด CHD5, 7

Continuous combined estrogen-progestin

จาก WHI trial เริ่มแรก พบว่าการใช้ MHT มีความเสี่ยงในการเกิด CHD8 แต่การศึกษาต่อๆมาพบว่าความเสี่ยงที่เพิ่มน่าจะเป็นจากอายุที่มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ปัจจัยร่วมอื่นๆ ได้แก่ BMI, VMS, coronary risk factor อื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประวัติครอบครัว และการสูบบุหรี่ โดยที่การรับประทานยา aspirin หรือ statin พบว่าไม่มีผลต่อ CHD risk ในคนที่ได้ MHT5

Women’s international study of long-duration oestrogen after menopause (WISDOM) ได้ทำการศึกษาคล้ายกับ โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้ continuous combined estrogen-progestin regimen (CEE 0.625 mg และ MPA 2.5 mg/day) เทียบกับ placebo ในหญิงวัยหมดระดู อายุ 50-69 ปี ซึ่งถูกระงับไปหลังจากติดตามได้ 12 เดือน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด CHD และ VTE5, 9

Unopposed estrogen

จาก unopposed estrogen trial ของ WHI ได้ทำการศึกษาในหญิงวัยหมดระดูที่ตัดมดลูกไปแล้ว อายุระหว่าง 50-79 ปี เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ CEE 0.625 mg/d และ placebo พบว่าความเสี่ยงในการเกิด CHD ลดลงในกลุ่มที่อายุระหว่าง 50-59 ปี5, 10 แสดงให้เห็นว่า progestin มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด CHD แต่การใช้ unopposed estrogen ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด stroke และ VTE5

Predictors of CHD risk

  • CVD, statin therapy, DM มีผลต่อ CHD events
  • LDL สูงมีความเสี่ยงในการเกิด CHD มากขี้นเมื่อใช้ MHT
  • การใช้ combined therapy ทำให้มี triglyceride, HDL เพิ่มขึ้น LDL ลดลง แต่ก็ไม่มีผลต่อ CVD risk5, 11

Timing of exposure

จากหลายการศึกษาพบว่าการได้ MHT ในช่วงที่หมดประจำเดือนระยะแรกๆ ไม่เพิ่ม CVD risk เมื่อเทียบกับการให้ MHT ในช่วงหมดประจำเดือนระยะหลังๆ (Timing hypothesis) เพราะ ยังไม่เกิดการสร้าง atherosclerotic plaque ในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า5

  • WHI HT trial ได้ทำการศึกษาระหว่าง CEE + MPA และ placebo ในหญิงวัยหมดระดูที่ยังมีมดลูก และศึกษาระหว่าง CEE และ placebo ในหญิงวัยหมดระดูที่ตัดมดลูกแล้ว อายุระหว่าง 50-79ปี พบว่า หญิงที่เริ่มให้ MHT ในช่วงใกล้หมดประจำเดือนมีความเสี่ยง CHD ต่ำกว่าการให้หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว12
  • WHI-Coronary Arterial Calcium Study ได้ทำการศึกษาระหว่าง CEE (0.625 mg/day) และ placebo ในหญิงวัยหมดระดูอายุ 50-59 ปีที่ตัดมดลูกแล้ว พบว่ากลุ่มที่ได้ unopposed estrogen เกิด atherosclerosis ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้ placebo13
  • Early versus late intervention trial (ELITE) เปรียบเทียบระหว่างการได้ oral 17β-estradiol (1 mg/day) ร่วมกับ progesterone (45 mg) และ placebo ในช่วง early menopause (menopause นานน้อยกว่า 6ปี) และ late menopause (menopause นานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี) พบว่า การเกิด atherosclerosis ในกลุ่มที่ได้ estrogen ในช่วง early menopause ช้ากว่า placebo แต่ในกลุ่มที่ได้ estrogen ในช่วง late menopause ผลไม่แตกต่างกับ placebo14

MHT for secondary prevention of cardiovascular disease

จากหลายการศึกษาไม่สามารถยืนยันได้ว่าการได้ MHT จะมีประสิทธิภาพในด้าน secondary prevention ได้5

  • HERS-I trial ได้ทำการศึกษาระหว่าง combined estrogen-progestin (CEE 0.625 mg + MPA 2.5 mg) และ placebo ในหญิงวัยหมดระดูที่เป็น CHD ที่มีอายุน้อยกว่า 80 ปี เป็นเวลาเฉลี่ย 4.1 ปี พบว่า5, 15
    • การเกิด CHD event ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
    • กลุ่มที่ได้ MHT เกิด CHD event มากกว่าในช่วง 1 ปีแรก และความเสี่ยงลดลงในปีที่ 4 และ 5
    • กลุ่มที่ได้ MHT มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานลดลง แต่ข้อมูลก็ไม่เพียงพอที่จะแนะนำการใช้ MHT เป็นการป้องกันโรคเบาหวานใน CHD ได้

จากการศึกษไม่แนะนำให้ใช้ MHT เพื่อป้องกันการเกิด CHD event

  • HERS-II trial: นำกลุ่มประชากรใน HERS-I มาติดตามต่ออีก 2.7 ปี พบว่า16
    • การเกิด CHD event ที่ลดลงในกลุ่มที่ได้ MHT ในปีที่ 4 และ 5 เมื่อตรวจติดตามต่อพบว่าการเกิด CHD event ไม่ได้ลดลง
    • การใช้ combined estrogen-progestin ไม่ลดความเสี่ยง CHD event ในสตรีที่มี CHD อยู่แล้ว
    • ในกลุ่มที่ได้ statin หรือ aspirin ก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน

จากการศีกษาพบว่า ไม่ควรให้ MHT เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด CHD event ในหญิงวัยหมดระดู

Unopposed estrogen

  • WHI trial ได้ศีกษาการได้ unopposed estrogen เทียบกับ placebo ในหญิงวัยหมดระดูที่เป็น CHD อยู่แล้วและหญิงวัยหมดระดูที่ไม่เป็น CHD พบว่าเกิด CHD event ไม่แตกต่างกัน5, 17
  • Esprit trial ได้ศึกษาการได้ unopposed estrogen เทียบกับ placebo ในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็น CHD อยู่แล้วและเคยเกิด myocardial infarction ครั้งแรก เป็นเวลา 2 ปี พบว่าเกิด reinfarction และ cardiac death ไม่แตกต่างกัน5, 18
  • Women’s estrogen-progestin lipid-lowering hormone atherosclerosis regression trial (WELL-HEART) เปรียบเทียบกลุ่มที่ได้ 17β-estradiol อย่างเดียวกับกลุ่มที่ได้ combined with MPA กับกลุ่มควบคุม พบว่า progression of atherosclerosis ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ19

จากการศึกษาต่างๆสรุปได้ว่าการได้ unopposed estrogen ไม่มีประสิทธิภาพใน secondary prevention5

Take home message

  • เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิด cardiovascular disease ที่มากขึ้นเนื่องจาก estrogen withdrawal
  • Cardiovascular disease เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญในหญิงวัยหมดระดู ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจาก cardiovascular disease นั้นมากกว่ามะเร็งเต้านมเสียอีก
  • จากการศึกษาแรกของ WHI พบว่า MHT เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด CHD แต่การศึกษาต่อมาพบว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นพบในกลุ่มหญิงวัยหมดระดูที่อายุมาก หรือได้ MHT หลัง menopause นานกว่า 10 ปี ตาม timing hypothesis
  • จากหลายการศึกษาไม่แนะนำการใช้ MHT เพื่อ primary และ secondary prevention of cardiovascular disease เนื่องจากไม่มีประโยชน์ด้านสุขภาพใดๆ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้ MHT

เอกสารอ้างอิง

  1. Kathryn A Martin RSR. Menopausal hormone therapy: Benefits and risks 2020 [updated 31 August 2020; cited 2021 Sep 25]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/menopausal-hormone-therapy-benefits-and-risks?search=menopause%20and%20cardiovascular%20risk&source=search_result&selectedTitle=3~150&usage_type=default&display_rank=3.
  2. Jan L. Shifren IS. Menopause. In: Jonathan S. Berek DLB, editor. Berek&Novak’s gynecology. 16 ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2020. p. 431-44.
  3. Casper RF. Clinical manifestations and diagnosis of menopause 2020 [updated 20 Mar 2020; cited 2021 Sep 25]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/clinical-manifestations-and-diagnosis-of-menopause?search=menopause&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1.
  4. Rosano GMC, Vitale C, Marazzi G, Volterrani M. Menopause and cardiovascular disease: the evidence. Climacteric. 2007;10(sup1):19-24.
  5. Kathryn A Martin RSR. Menopausal hormone therapy and cardiovascular risk 2021 [updated 27 April 2021; cited 2021 Sep 25]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/clinical-manifestations-and-diagnosis-of-menopause?search=menopause&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1.
  6. Rossouw JE, Anderson GL, Prentice RL, LaCroix AZ, Kooperberg C, Stefanick ML, et al. Risks and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal women: principal results From the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. Jama. 2002;288(3):321-33.
  7. Anderson GL, Limacher M, Assaf AR, Bassford T, Beresford SA, Black H, et al. Effects of conjugated equine estrogen in postmenopausal women with hysterectomy: the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. Jama. 2004;291(14):1701-12.
  8. Manson JE, Hsia J, Johnson KC, Rossouw JE, Assaf AR, Lasser NL, et al. Estrogen plus progestin and the risk of coronary heart disease. N Engl J Med. 2003;349(6):523-34.
  9. Shufelt CL, Johnson BD, Berga SL, Braunstein GD, Reis SE, Bittner V, et al. Timing of hormone therapy, type of menopause, and coronary disease in women: data from the National Heart, Lung, and Blood Institute-sponsored Women’s Ischemia Syndrome Evaluation. Menopause. 2011;18(9):943-50.
  10. Hsia J, Langer RD, Manson JE, Kuller L, Johnson KC, Hendrix SL, et al. Conjugated equine estrogens and coronary heart disease: the Women’s Health Initiative. Arch Intern Med. 2006;166(3):357-65.
  11. Rossouw JE, Cushman M, Greenland P, Lloyd-Jones DM, Bray P, Kooperberg C, et al. Inflammatory, lipid, thrombotic, and genetic markers of coronary heart disease risk in the women’s health initiative trials of hormone therapy. Arch Intern Med. 2008;168(20):2245-53.
  12. Rossouw JE, Prentice RL, Manson JE, Wu L, Barad D, Barnabei VM, et al. Postmenopausal hormone therapy and risk of cardiovascular disease by age and years since menopause. Jama. 2007;297(13):1465-77.
  13. Manson JE, Allison MA, Rossouw JE, Carr JJ, Langer RD, Hsia J, et al. Estrogen therapy and coronary-artery calcification. N Engl J Med. 2007;356(25):2591-602.
  14. Hodis HN, Mack WJ, Henderson VW, Shoupe D, Budoff MJ, Hwang-Levine J, et al. Vascular Effects of Early versus Late Postmenopausal Treatment with Estradiol. N Engl J Med. 2016;374(13):1221-31.
  15. Hulley S, Grady D, Bush T, Furberg C, Herrington D, Riggs B, et al. Randomized trial of estrogen plus progestin for secondary prevention of coronary heart disease in postmenopausal women. Heart and Estrogen/progestin Replacement Study (HERS) Research Group. Jama. 1998;280(7):605-13.
  16. Grady D, Herrington D, Bittner V, Blumenthal R, Davidson M, Hlatky M, et al. Cardiovascular disease outcomes during 6.8 years of hormone therapy: Heart and Estrogen/progestin Replacement Study follow-up (HERS II). Jama. 2002;288(1):49-57.
  17. Hulley SB, Grady D. The WHI estrogen-alone trial–do things look any better? Jama. 2004;291(14):1769-71.
  18. Cherry N, Gilmour K, Hannaford P, Heagerty A, Khan MA, Kitchener H, et al. Oestrogen therapy for prevention of reinfarction in postmenopausal women: a randomised placebo controlled trial. Lancet. 2002;360(9350):2001-8.
  19. Hodis HN, Mack WJ, Azen SP, Lobo RA, Shoupe D, Mahrer PR, et al. Hormone therapy and the progression of coronary-artery atherosclerosis in postmenopausal women. N Engl J Med. 2003;349(6):535-45.

 

Read More

Osteoporosis in menopause

Osteoporosis in menopause

พญ. ปานวาด หาญอมร
อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ. พญ. สายพิณ พงษธา


กระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือน คือภาวะที่มวลกระดูกลดลง มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในกระดูก เพิ่มความเสี่ยงของกระดูกหัก โดยมีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้นและการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่าทั่วโลกมีผู้หญิงที่มีการหักของกระดูกสะโพกประมาณ <100 – 600 ต่อ 100,000 คนต่อปี กระดูกสันหลังหักประมาณ <100 – 1,400 ต่อ 100,000 คนต่อปี(1, 2) การหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนจะเพิ่มอัตราการตายและทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและส่งตรวจค่ามวลกระดูก เพื่อประเมินว่าใครควรได้รับการรักษา จะช่วยลดและป้องกันการหักของกระดูกได้

การประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน

การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่นอกเหนือจากการตรวจมวลกระดูกจะช่วยบอกว่า บุคคลใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกหักและจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่

ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ อายุมาก เคยมีประวัติกระดูกหักจากความเปราะบาง ใช้ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ น้ำหนักน้อย มีประวัติบิดามารดากระดูกสะโพกหัก สูบบุหรี่ ดื่มสุราปริมาณมาก มีข้ออักเสบรูมาตอยด์ เชื้อชาติ เป็นต้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ อายุและประวัติกระดูกหักจากความเปราะบาง

ในปี คศ. 2008 ได้มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความเสี่ยงของกระดูกหักจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น เรียกเครื่องมือนี้ว่า “Fracture Risk Assessment Tool : FRAX score ” เพื่อใช้ทำนายโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักและกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนใน 10 ปี(3)

ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจค่ามวลกระดูก

National Osteoporosis Foundation(NOF)(4) แนะนำให้ตรวจใน ผู้หญิงที่อายุ ≥ 65 ปี หรือผู้ชายที่อายุ ≥ 70 ปี, ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ชายที่อายุ 50-69 ปี ที่มีความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก หรือมีประวัติกระดูกหักหลังจากอายุ 50 ปี

การวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุน

  1. มีประวัติกระดูกหักจากความเปราะบาง คือการหักของกระดูกที่เกิดขึ้นเองหรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง มักเกิดที่ตำแหน่งกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก กระดูกเชิงกราน ข้อมือ กระดูกต้นแขน และกระดูกซี่โครง
  2. T-score ≤ -2.5 SD จากการตรวจมวลกระดูก ซึ่งวัดด้วยวิธี dual-energy x-ray absorptiometry (DXA) (5)

การรักษาภาวะกระดูกพรุน

การรักษาภาวะกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือนประกอบไปด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และการรักษาด้วยยา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน (LIFESTYLE MEASURES)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการจะช่วยลดการเกิดภาวะสูญเสียมวลกระดูก และส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกได้ ดังต่อไปนี้

1. Calcium/vitamin D

ผู้หญิงวัยหมดระดูควรได้รับแคลเซียม 1200 mg ต่อวัน ซึ่งหากได้รับแคลเซียมที่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องให้แคลเซียมเสริม และควรได้รับวิตามินดี 800 IU ต่อวัน ซึ่งโดยส่วนมากจะต้องได้รับวิตามินดีเสริมเนื่องจากปริมาณที่มีในอาหารมักไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อวัน

2. Diet

การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในประมาณที่ร่างกายต้องการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารจะ

ช่วยลดการเกิดกระดูกพรุนได้ ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างกระดูกยังเป็นที่ขัดแย้งกัน จึงไม่แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงในปริมาณที่มากเกินไป

3. Exercise

แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่าช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกหักและช่วยเพิ่มมวลกระดูก

4. Cessation of smoking

การสูบบุหรี่จะเร่งให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก นอกจากนั้นยังทำให้ระดับเอสโตรเจนในเลือดต่ำ เป็นการลดประโยชน์ของฮอร์โมนเสริมที่หญิงวัยหมดระดูได้รับอีกด้วย

การรักษาด้วยยา (PHARMACOLOGIC THERAPY)

Candidates for therapy(4)

  1. ประวัติกระดูกหักจากความเปราะบาง(fragility fracture) หรือมีมวลกระดูก โดยวัดจากค่า T-score ≤ 2.5
  2. มวลกระดูก มีค่า T-score อยู่ระหว่าง -1.0 และ -2.5 และความเสี่ยงสูงต่อกระดูกหักในอนาคต(ค่า FRAX) ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงสูงเมื่อ โอกาสกระดูกสะโพกหักภายใน 10 ปี (10-year probability of hip fracture) ≥ ร้อยละ 3 หรือ โอกาสกระดูกหักโดยรวม (combined major osteoporotic fracture) ≥ ร้อยละ 20

Choice of drug

1. Bisphosphonates

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก (bone resorption) มีผลข้างเคียงน้อย ปลอยภัยเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน จากการศึกษาพบว่ายา Alendronate, Risedronate และ Zoledronic acid สามารถเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ป้องกันกระดูกสันหลังหักได้ดีเมื่อเทียบกับยาหลอก รวมทั้งลดความเสี่ยงของกระดูกสะโพกและกระดูกอื่น ๆ หักได้(6-8) จึงเป็นยากลุ่มแรกที่แนะนำให้ใช้รักษาภาวะกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดระดู

Oral bisphosphonate: Alendronate และ Risedronate

ยารูปแบบรับประทานดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้น้อยกว่าร้อยละ 1 จึงควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่างก่อนอาหารมื้อเช้า ดื่มน้ำเปล่าตามอย่างน้อย 240 ml และไม่ควรทานอาหารอื่น ๆ หลังจากรับประทานยา 30 นาที เพื่อให้การดูดซึมดีที่สุด

ในผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามใช้ยา แนะนำให้เลือกใช้ยา bisphosphonate รูปแบบรับประทานเป็นทางเลือกแรก โดยยาส่วนมากนิยมใช้ Alendronate มากกว่า Risedronate

Intravenous bisphosphonate: Zoledronic acid

สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากยา oral bisphosphonate

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา bisphosphonate

1. ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร (พบเฉพาะ oral bisphosphonate)

ยาในรูปแบบกินจะมีผลโดยตรงต่อเยื่อบุทางหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร(9) ดังนั้นจึงไม่ควรใช้

ยาในผู้ที่มีปัญหา ดังต่อไปนี้

  • โรคของหลอดอาหาร (Esophageal disorder) : achalasia, esophageal stricture, esophageal varices, Barrett’s esophagus
  • ไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ (GI intolerance)
  • ไม่สามารถทำตามคำแนะนำในการใช้ยาได้ เช่น ไม่สามารถนั่งอย่างน้อย 30 นาทีหลังรับประทานยา
  • เคยได้รับการรักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัด (Bariatic surgery) บางชนิดที่มีจุดเชื่อมต่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น Roux-en-Y gastric bypass

บางรายงานพบว่ายา bisphosphonate ในรูปแบบรับประทานทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารได้(10) โดยสันนิษฐานว่ายาทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหาร แต่ผลการศึกษายังขัดแย้งกันอยู่

2. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (Flu-like symptom) (พบเฉพาะ IV bisphosphonate)

ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ภายใน 24-72 ชม. หลังได้รับยา สามารถรักษาหรือป้องกัน

ได้ด้วย paracetamol หรือ Ibuprofen

3. แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

มักไม่มีอาการและเกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยา IV bisphosphonate(11)

โอกาสเป็นมากขึ้นในคนที่ขาดวิตามินดี ขาดแคลเซียม หรือมีภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ดังนั้นก่อนเริ่มยาผู้ป่วยควรได้รับวิตามินดี และแคลเซียมเสริมให้เพียงพอ อย่างไรก็ตามแคลเซียมที่เสริมอาจรบกวนการดูดซึมของ oral bisphosphonate ได้ จึงควรรับประทานแคลเซียมเสริมหลังจากได้รับยา bisphosphonate อย่างน้อย 1 ชม

4. ผลข้างเคียงต่อไต

ในผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง (GFR < 30-35 ml/min) ไม่ควรใช้ยากลุ่ม bisphosphonate นอกจากนั้นยังมีรายงายไตวายเฉียบพลันหลังการได้รับยา Zoledronic acid โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็น multiple myeloma และฉีดยาเร็วเกินไป จึงไม่ควรฉีดยาเร็วกว่า 30 นาที

5. ผลข้างเคียงต่อตา

พบค่อนข้างน้อย แต่มีรายงานว่าการใช้ยาทำให้เกิดอาการปวดตา มองเห็นภาพไม่ชัด ตาอักเสบ (conjunctivitis, uveitis และ scleritis)(12)

6. ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation)

พบได้น้อยมาก มีรายงานว่าการใช้ยา Zoledronic acid เพิ่มการเกิดภาวะดังกล่าว(13) แต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าเกิดจากการใช้ยา bisphosphonate ดังนั้นจึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหรือเคยเป็นภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมาก่อน

7. ภาวะกระดูกขากรรไกรตาย (Osteonecrosis of jaw : ONJ)

พบได้ประมาณ 1:10,000 -1:100,000 คนต่อปี ในผู้ป่วยที่ได้รับ oral bisphosphonate ความเสี่ยงสูงมากขึ้นใน ผู้ที่ใช้ IV bisphosphonate, เป็นมะเร็งและได้รับการรักษาอยู่, ใช้ยาในขนาดสูงและระยะเวลานาน, ต้องทำหัตถการเกี่ยวกับฟัน เช่น ถอนฟัน ทำรากฟันเทียม, ใช้ยาสเตียรอยด์, สูบบุหรี่, เบาหวาน(14)

ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยาควรรักษาความสะอาดในช่องปากและตรวจฟันอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ต้องทำหัตถการเกี่ยวกับฟัน ควรรอให้แผลที่ฟันหายดีก่อนประมาณ 2-3 เดือนแล้วจึงเริ่มยา bisphosphonate

หากผู้ป่วยได้รับยา bisphosphonate อยู่แต่จำเป็นต้องทำหัตถการเกี่ยวกับฟัน(dentoalveolar surgery) International task force on ONJ แนะนำให้หยุด bisphosphonate ก่อนทำหัตถการในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ONJ เช่น ได้รับยามานานกว่า 4 ปี เบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้ยาสเตียรอยด์ สูบบุหรี่ และทาง American association of oral & maxillofacial surgeon แนะนำว่า ควรหยุดยาก่อนทำหัตถการดังกล่าว 2 เดือน และเริ่มยาใหม่เมื่อแผลในช่องปากหายดี(15)

8. กระดูกต้นขาหักผิดแบบ (Atypical femoral fracture)

เป็นผลข้างเคียงจากยาที่พบได้น้อยมาก พบในกรณีที่ใช้ bisphosphonate มานานๆ เนื่องจากยา bisphosphonate ยับยั้ง osteoclast ส่งผลยับยั้งการสลายของกระดูก เป็นผลให้กระดูกเปราะบางหักง่าย เกิดการหักในตำแหน่งที่พบได้ไม่บ่อย เช่น subtrochanteric หรือ diaphyseal fracture(16)

ผู้ป่วยมักมีอาการนำมาก่อน เช่น มีอาการปวดแบบ dull & aching ที่บริเวณต้นขาหรือขาหนีบ ดังนั้นในผู้ป่วยที่ใช้ยา bisphosphonate มานาน หากมีอาการปวดดังกล่าว ควรส่ง x-ray โดยจะเห็น periosteal thickening, cortical lucency หากผู้ป่วยมี Atypical femoral fracture หรือมี Stress reaction จาก x-ray ควรหยุดยาทันที

ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักก่อนที่จะเริ่มใช้ยา ควรรอประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังผ่าตัดจึงเริ่มใช้ยาได้ บางคนมีความกังวลว่าการใช้ยา bisphosphonate จะทำให้การซ่อมแซมกระดูกล่าช้า แต่จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของ delay healing ของกระดูกที่หักเมื่อเทียบกับยาหลอก(17) และการเริ่มยาช้าหรือเร็วก็ไม่มีผลต่อการซ่อมแซมกระดูกเช่นกัน(18)

ระยะเวลาของการรักษา (Duration of therapy)

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา Alendronate หรือ Risedronate เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือได้รับยา Zoledronic acid เป็นระยะเวลา 3 ปี มีค่ามวลกระดูกที่คงที่ ไม่มีประวัติกระดูกสันหลังหักมาก่อน รวมทั้งประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงต่อกระดูกหักในอนาคตต่ำสามารถหยุดยาได้

หากผู้ป่วย มีประวัติกระดูกหักจากกระดูกพรุนก่อนได้รับหรืออยู่ในช่วงที่ได้ยา หรือค่า T-score < 3.5 ควรให้ยา Alendronate หรือ Risedronate ต่อไปจนถึง 10 ปี(19) ในผู้ป่วยที่ได้ยา Zoledronic acid ควรให้ยาต่อจนถึง 6 ปี(13) อย่างไรก็ตามควรประเมินผู้ป่วยเป็นรายบุคคลถึงความเหมาะสมในการใช้ยาต่อ

2. Parathyroid hormone/parathyroid hormone-related protein analog (PTHrP)

เป็นยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก (anabolic agent) ยาชนิดนี้สามารถเพิ่มค่ามวลกระดูกได้มากกว่ากลุ่ม

ยาอื่นๆ ฮอร์โมน PTH และ PTHrP จะออกฤทธิ์กระตุ้นการดูดกลับแคลเซียมที่ไต เพิ่มการสลายกระดูก เพื่อรักษาระดับแคลเซียมในเลือด นอกจากนั้นฮอร์โมน PTH ยังกระตุ้นการสร้าง 1,25 dihydroxyvitamin D ซึ่งเป็นตัวเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้อีกด้วย

PTH หรือ PTHrP ที่สูงเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ใน primary หรือ secondary hyperparathyroidism หรือ hypercalcemia of malignancy จะทำให้เกิดการสลายกระดูก แต่การให้ intermittent recombinant human PTH (Teriparatide) หรือ PTHrP (Abaloparatide) กลับพบว่าจะเพิ่มการสร้างและลดการหักของกระดูกได้

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา(20) คือ Severe osteoporosis และมีความความเสี่ยงสูงต่อกระดูกหัก (T-score ≤ -3.5 หรือ ≤ -2.5 ร่วมกับมี fragility fracture) , มีข้อห้ามในการใช้ยา bisphosphonate หรือไม่ตอบสนองต่อยารักษากระดูกพรุนชนิดอื่นๆ เช่น มีกระดูกหัก หรือค่ามวลกระดูกลดลง

ข้อห้ามใช้ยา PTH และ PTHrP

  • มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เช่น Primary หรือ secondary hyperparathyroidism หรือ Hypercalcemic disorder เช่น chronic granulomatous disorder, hypercalcemia of malignancy
  • มีความเสี่ยงของการเกิด Osteosarcoma เช่น Paget disease ของกระดูก, ระดับ ALP สูงไม่ทราบสาเหตุ, มะเร็งกระจายมาที่กระดูกหรือมะเร็งของกระดูก, มีประวัติเคยได้รับรังสีรักษาบริเวณกระดูก, เด็กที่ epiphyses ยังไม่ปิด
  • ในผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน มีนิ่วที่ไต หรือไตวาย หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรใช้อย่างระมัดระวัง

ระยะเวลาของการรักษา (Duration of therapy)

หลังจากใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปีแนะนำให้หยุดยา เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ในระยะยาวต่อกระดูกและความปลอดภัยของยายังมีจำกัด(21) อีกทั้งยามีราคาค่อนข้างแพง

หลังจากหยุดยาแล้วแนะนำให้ใช้ยากลุ่มยับยั้งสลายมวลกระดูกอื่น ๆ ต่อ จะช่วยรักษาระดับมวลกระดูกที่เพิ่มขึ้นได้ดี แต่ประโยชน์ในเรื่องป้องกันกระดูกหักยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

  1. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
    การฉีด Teriparatide เพียงเข็มเดียวทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 10 เท่า (22) จากนั้นค่าจะลดลงกลับสูปกติภายใน 4 ชม. อย่างไรก็ตามยาทำให้เกิด significant hypercalcemia (serum calcium>11 mg/dl) น้อยมาก
  2. ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง
    ยาอาจทำให้ระดับแคลเซียมในปัสสาวะสูงได้ แต่ยังไม่มีรายงานการเกิดนิ่วในไตจากยา
  3. มะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)
    ยา teriparatide ในปริมาณสูงทำให้เกิดมะเร็งกระดูกในหนูทดลอง(23) แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาในคนยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ายาทำให้เกิดมะเร็งกระดูกในคน

3. Denosumab

เป็น human monoclonal antibody ต่อ receptor activator of nuclear factor kappa-B

ligand (RANKL) ซึ่งเป็น receptor ของ osteoclast ยาออกฤทธิ์ยับยั้ง osteoclast ส่งผลลดการสลายกระดูก เพิ่มมวลกระดูก และลดการหักของกระดูกได้ Denosumab จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุน แต่มีข้อห้ามใช้ยา bisphosphonate หรือเมื่อใช้ยาตัวอื่นไม่ได้ผล

ยาไม่ได้ถูกกำจัดผ่านทางไต จึงสามารถใช้ได้ในคนไข้ที่มีภาวะไตวาย แต่ประโยชน์ในการป้องกันกระดูกหักในกลุ่มคนไข้ที่ค่าการกรองของไตน้อยกว่า 30 ml/min ยังไม่ชัดเจน(24) ยาจะทำให้เกิดแคลเซียมในเลือดต่ำได้ในคนไข้ที่มีภาวะไตวาย หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแคลเซียมในเลือดต่ำ เช่น ดูดซึมแคลเซียมไม่ดี, พาราไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น

ควรใช้ยา Denosumab อย่างต่อเนื่องและไม่ควรมีช่วงพักหยุดยา เนื่องจากค่ามวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วและเกิดกระดูกหักตามมาได้ ภายใน 8-16 เดือนหลังจากหยุดยา(25) ดังนั้นหากผู้ป่วยจำเป็นต้องหยุดยา ควรเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น เพื่อรักษาระดับมวลกระดูกและป้องกันการหักของกระดูกในภายหลัง

เนื่องจากยายับยั้งการสลายของกระดูก จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด osteonecrosis of jaw, atypical fracture และ delayed fracture healing ได้ แต่พบน้อยมาก นอกจากนั้นยายังออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

4. Selective estrogen receptor modulators(SERMs)

ยาตัวนี้จะจับกับ estrogen receptor แล้วออกฤทธิ์ยับยั้งหรือกระตุ้นแตกต่างกันในแต่ละอวัยวะ

ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ที่ใช้สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนได้แก่ Raloxifene, Bazedoxifene และ Tamoxifen เป็นต้น โดยยา Raloxifene เป็นตัวที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากการศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยหากใช้ยาต่อเนื่องนานถึง 8 ปี ยาจะมีฤทธิ์ estrogenic effect ที่กระดูก ป้องกันการสลายกระดูก เพิ่มมวลกระดูก และลดความเสี่ยงของกระดูกสันหลังหัก แต่ไม่ลดการหักของกระดูกในตำแหน่งอื่นๆ(26) ถือเป็นยาตัวเลือกในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ยา bisphosphonate หรือต้องการประโยชน์ในเรื่องมะเร็งเต้านมร่วมด้วย

ควรใช้ยา Raloxifene อย่างต่อเนื่อง และหากหยุดยาค่ามวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลง(27) จึงแนะนำให้ใช้

ยารักษาภาวะกระดูกพรุนตัวอื่น หากจำเป็นต้องหยุดยากลุ่ม SERMs

ยา Raloxifene ไม่มีผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ทำให้ช่องคลอดแห้ง และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

  1. ลิ่มเลือดอุดตัน (Venous thromboembolism)
    พบว่ายา Raloxifene เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา 1.5 เท่า และลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด 1.9 เท่า(28) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่พอ ๆ กับการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนติน
  2. โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Stroke)
    จากการศึกษาพบว่ายา Raloxifene ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงโดยรวมต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต 1.49 เท่า ความเสี่ยงจะสูงมากขึ้นถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองขาดเลือดอยู่แล้ว(29)
  3. ผลข้างเคียงอื่นๆ
    ยาทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ (ร้อยละ 8-25), ตะคริวที่ขา (ร้อยละ 5-10), และขาบวม(ร้อยละ5-14)

5. Estrogen/progestin therapy

ยาฮอร์โมนเสริมใช้รักษาโรคกระดูกพรุนได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการของวัยหมดระดู ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรก เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือดอุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด

ตารางที่ 1 แสดงชนิดและปริมาณยาที่ใช้รักษาภาวะกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน

Drug

Dose

Route

Duration of therapy

Alendronate

10 mg daily

70 mg once-weekly

Oral

5-10 ปี

Risedronate

5 mg daily

35 mg once-weekly

150 mg monthly

oral

5-10 ปี

Zoledronic acid

5 mg yearly

IV

3-6 ปี

Teriparatide (PTH1-34)

20 mcg daily

SC

2 ปี

Abaloparatide (PTHrP 1-34)

80 mcg daliy

SC

2 ปี

Denosumab

60 mg every 6 month

SC

No drug holiday

Raloxifene

60 mg daily

oral

No drug holiday

Response to therapy

International Society for Clinical Densitometry (ISCD)(30) แนะนำว่า ควรติดตามค่ามวลกระดูกด้วย DXA หลังจากให้การรักษา 1-2 ปี หากค่ามวลกระดูกเท่ากับหรือดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจติดตามค่ามวลกระดูกห่างออกได้ แต่หากค่ามวลกระดูกต่ำลง อาจต้องติดตามถี่มากขึ้น

a. กรณีที่ค่ามวลกระดูกต่ำลง

ควรประเมินปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้การรักษาล้มเหลว เช่น ผู้ป่วยใช้ยาไม่สม่ำเสมอ ทางเดินอาหารผิดปกติทำให้ดูดซึมยาได้ไม่ดี รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ หรือมีโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อลดมวลกระดูก

ในกรณีที่ไม่มีภาวะดังกล่าวข้างต้น หากค่ามวลกระดูกลดลง < ร้อยละ 5 สามารถให้การรักษาแบบเดิมต่อได้ และติดตามค่ามวลกระดูกอีก 2 ปี แต่หากค่ามวลกระดูกลดลง ≥ ร้อยละ 5 และสงสัยว่าเกิดจากการดูดซึมที่ไม่ดีแนะนำให้เปลี่ยนจาก oral bisphosphonate เป็น Zolendronic acid หรืออาจเปลี่ยนเป็นยากลุ่มอื่น เช่น Denosumab, Teriparatide เป็นต้น

b. กรณีกระดูกหักในระหว่างรับการรักษา

หากได้รับ Bisphosphonate แล้วมีกระดูกหัก ควรประเมินความสม่ำเสมอในการใช้ยา หรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้การดูดซึมยาไม่ดี หากไม่พบสาเหตุควรเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่น เช่น Denosumab, Teriparatide

เอกสารอ้างอิง

  1. Kanis JA, Oden A, McCloskey EV, Johansson H, Wahl DA, Cooper C, et al. A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporosis international : a journal established as result of cooperation between the European Foundation for Osteoporosis and the National Osteoporosis Foundation of the USA. 2012;23(9):2239-56.
  2. Ballane G, Cauley JA, Luckey MM, El-Hajj Fuleihan G. Worldwide prevalence and incidence of osteoporotic vertebral fractures. Osteoporosis international : a journal established as result of cooperation between the European Foundation for Osteoporosis and the National Osteoporosis Foundation of the USA. 2017;28(5):1531-42.
  3. Kanis JA. WHO Fracture Risk Assessment Tool (FRAX) [cited 2018 november,18]. Available from: http://www.shef.ac.uk/FRAX
  4. F. Cosman SJdBSLMLTRL. Clinician’s Guide to Prevention and Treatment of Osteoporosis. Osteoporosis International. 2014;25(10):2359–81.
  5. Organization WH. Assessment of fracture risk and its application to screening for postmenopausal osteoporosis. Geneva 1994 1994 [cited 2018 November 18]. Available from: http://whqlibdoc.who.int/trs/WHO_TRS_843.pdf
  6. J Y. A meta-analysis characterizing the dose-response relationships for three oral nitrogen-containing bisphosphonates in postmenopausal women. Osteoporosis International.24:253-62.
  7. Zhang J WR, Zhao YL, Sun XH, Zhao HX, Tan L, Chen DC, Hai-Bin X. Efficacy of intravenous zoledronic acid in the prevention and treatment of osteoporosis: a meta-analysis. Asian Pacific jounal of tropical medicine.5:743-8.
  8. Crandall CJ NS, Diamant A, Lim YW, Gellad WF, Booth MJ, Motala A, Shekelle PG. Comparative effectiveness of pharmacologic treatments to prevent fractures: an updated systematic review. Annals of internal medicine.161:711-23.
  9. IR R. Bisphosphonates in the treatment of osteoporosis: a review of their contribution and controversies. skelatal radiology.40:1191-6.
  10. DK. W. Oral bisphosphonates and oesophageal cancer. BMJ.341.
  11. Black DM, Delmas PD, Eastell R, Reid IR, Boonen S, Cauley JA, et al. Once-yearly zoledronic acid for treatment of postmenopausal osteoporosis. The New England journal of medicine. 2007;356(18):1809-22.
  12. Etminan M FF, Maberley D. Inflammatory ocular adverse events with the use of oral bisphosphonates: a retrospective cohort study. CMAJ.184:431-4.
  13. Black DM, Reid IR, Boonen S, Bucci-Rechtweg C, Cauley JA, Cosman F, et al. The effect of 3 versus 6 years of zoledronic acid treatment of osteoporosis: a randomized extension to the HORIZON-Pivotal Fracture Trial (PFT). Journal of bone and mineral research : the official journal of the American Society for Bone and Mineral Research. 2012;27(2):243-54.
  14. Khan AA MA, Hanley DA, Felsenberg D, McCauley LK, O’Ryan F, Reid IR, Ruggiero SL, Taguchi A, Tetradis S, Watts NB, Brandi ML, Peters E, Guise T, Eastell R, Cheung AM, Morin SN, Masri B, Cooper C, Morgan SL, Obermayer-Pietsch B, Langdahl BL, Al Dabagh R, Davison KS, Kendler DL, Sándor GK, Josse RG, Bhandari M, El Rabbany M, Pierroz DD, Sulimani R, Saunders DP, Brown JP, Compston J; International Task Force on Osteonecrosis of the Jaw. Diagnosis and management of osteonecrosis of the jaw: a systematic review and international consensus. Jounal of bone and mineral reseach : the official jounal of the american sociaty for bone and mineral research.30:3-23.
  15. Ruggiero SL, Dodson TB, Fantasia J, Goodday R, Aghaloo T, Mehrotra B, et al. American Association of Oral and Maxillofacial Surgeons position paper on medication-related osteonecrosis of the jaw–2014 update. Journal of oral and maxillofacial surgery : official journal of the American Association of Oral and Maxillofacial Surgeons. 2014;72(10):1938-56.
  16. Gedmintas L SD, Kim SC. Bisphosphonates and risk of subtrochanteric, femoral shaft, and atypical femur fracture: a systematic review and meta-analysis. Jounal of bone and mineral reseach : the official jounal of the american sociaty for bone and mineral research.28:1729-37.
  17. Lyles KW, Colon-Emeric CS, Magaziner JS, Adachi JD, Pieper CF, Mautalen C, et al. Zoledronic acid and clinical fractures and mortality after hip fracture. The New England journal of medicine. 2007;357(18):1799-809.
  18. Colón-Emeric C NL, Olson S, Major N, Boonen S, Haentjens P, Mesenbrink P, Magaziner J, Adachi J, Lyles KW, Hyldstrup L, Bucci-Rechtweg C, Recknor C; HORIZON Recurrent Fracture Trial. Association between timing of zoledronic acid infusion and hip fracture healing. Osteoporosis International.22:2329-36.
  19. Bone HG, Hosking D, Devogelaer JP, Tucci JR, Emkey RD, Tonino RP, et al. Ten years’ experience with alendronate for osteoporosis in postmenopausal women. The New England journal of medicine. 2004;350(12):1189-99.
  20. Hodsman A; Scientific Advisory Council of Osteoporosis Canada PACGC, Ann Cranney; Writing Group on the Systematic Review of Parathyroid Hormone for the Treatment of Osteoporosis. Clinical practice guidelines for the use of parathyroid hormone in the treatment of osteoporosis. CMAJ.175:48-51.
  21. Neer RM, Arnaud CD, Zanchetta JR, Prince R, Gaich GA, Reginster JY, et al. Effect of parathyroid hormone (1-34) on fractures and bone mineral density in postmenopausal women with osteoporosis. The New England journal of medicine. 2001;344(19):1434-41.
  22. Hodsman AB BD, Dempster DW, Dian L, Hanley DA, Harris ST, Kendler DL, McClung MR, Miller PD, Olszynski WP, Orwoll E, Yuen CK. Clinical practice guidelines for the use of parathyroid hormone in the treatment of osteoporosis. endocrine review.26:688-703.
  23. Vahle JL, Sato M, Long GG, Young JK, Francis PC, Engelhardt JA, et al. Skeletal changes in rats given daily subcutaneous injections of recombinant human parathyroid hormone (1-34) for 2 years and relevance to human safety. Toxicologic pathology. 2002;30(3):312-21.
  24. Jamal SA, Ljunggren O, Stehman-Breen C, Cummings SR, McClung MR, Goemaere S, et al. Effects of denosumab on fracture and bone mineral density by level of kidney function. Journal of bone and mineral research : the official journal of the American Society for Bone and Mineral Research. 2011;26(8):1829-35.
  25. Anastasilakis AD, Polyzos SA, Makras P, Aubry-Rozier B, Kaouri S, Lamy O. Clinical Features of 24 Patients With Rebound-Associated Vertebral Fractures After Denosumab Discontinuation: Systematic Review and Additional Cases. Journal of bone and mineral research : the official journal of the American Society for Bone and Mineral Research. 2017;32(6):1291-6.
  26. Cranney A, Tugwell P, Zytaruk N, Robinson V, Weaver B, Adachi J, et al. Meta-analyses of therapies for postmenopausal osteoporosis. IV. Meta-analysis of raloxifene for the prevention and treatment of postmenopausal osteoporosis. Endocrine reviews. 2002;23(4):524-8.
  27. Neele SJ, Evertz R, De Valk-De Roo G, Roos JC, Netelenbos JC. Effect of 1 year of discontinuation of raloxifene or estrogen therapy on bone mineral density after 5 years of treatment in healthy postmenopausal women. Bone. 2002;30(4):599-603.
  28. Adomaityte J, Farooq M, Qayyum R. Effect of raloxifene therapy on venous thromboembolism in postmenopausal women. A meta-analysis. Thrombosis and haemostasis. 2008;99(2):338-42.
  29. Barrett-Connor E, Mosca L, Collins P, Geiger MJ, Grady D, Kornitzer M, et al. Effects of raloxifene on cardiovascular events and breast cancer in postmenopausal women. The New England journal of medicine. 2006;355(2):125-37.
  30. ISCD. 2013 ISCD Official Positions – Adult [updated April 24, 2014; cited 2018 November 18].
Read More

Nutrition in pregnancy

Nutrition in pregnancy

พญ. พรรณารัตน์ ขุนทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. พญ. สายพิณ พงษธา


 

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ย่อมเป็นการสงเสริมกระบวนการดังกล่าว ในขณะที่การได้รับสารอาหารที่น้อยหรือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์(1-5) เพื่อสุขภาพของมารดาและทารกที่สมบูรณ์ในบทความฉบับนี้จะได้กล่าวถึงภาวะโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ที่ควรทราบ

การประเมินภาวะโภชนาการ

การประเมินภาวะโภชนาการที่ดีนั้นควรเริ่มประเมินตั้งแต่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนด้านโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ โดยควรจะมีการประเมินร่วมกันเป็นทีมเพื่อผลลัพธ์ที่ดี ประกอบไปด้วย สูติแพทย์ และนักโภชนาการที่มีความรู้ด้านโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์รวมถึงระหว่างการตั้งครรภ์

ซักประวัติ

ประวัติทางการแพทย์และการผ่าตัด ประวัติทางการแพทย์สามารถบ่งบอกพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีหลายภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพและโภชนาการของมารดาและทารกในครรภ์ดังแสดงในตารางที่ 1 เช่น ผู้ที่รักษาโรคอ้วนด้วยวิธีผ่าตัด(Bariatric surgery) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารบางประเภทได้ และต้องการการดูแลเรื่องโภชนาการอย่างใกล้ชิด

Nutrition T1

ตารางที่ 1 Medical history that poses potential nutrition-related risks in pregnancy

ประวัติทางด้านสูติกรรม เช่น ประวัติครรภ์ก่อนทารกมีภาวะ Neural tube defect ซึ่งครรภ์นี้ควรได้รับ folic acid 4 mgต่อวันก่อนการตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงในครรภ์ต่อไป เป็นต้น

การบริโภคอาหาร สอบถามโดยการใช้แบบสอบถามอย่างย่อ(ตารางที่2) เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีความชำนาญด้านโภชนาการ(6) ซึ่งแบบสอบถามนี้ปรับมาเพื่อประเมินการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และให้คำแนะนำอย่างง่ายในการปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

Nutrition T2

ตารางที่ 2 Brief dietary assessment questionnaire

ตรวจร่างกาย

การตรวจวัดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์และส่วนสูงเพื่อนำมาคำนวณดัชนีมวลกาย(BMI)เป็นสิ่งสำคัญ โดยดัชนีมวลกายปกติอยู่ในช่วง18.5-24.9kg/m2 สำหรับชาว Caucasian, Hispanic, แล Black ส่วนสำหรับชาว Asians ควรน้อยกว่า 23kg/m2 (7)

ตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะของโรคหรือการขาดสารอาหารต่างๆ เช่น การมีต่อมน้ำลายพาโรติดโต และมีการกร่อนของสารเคลือบฟัน ในภาวะ Bulimia เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจลักษณะที่จำเพาะกับการขาดวิตามิน ซึ่งพบได้ในสถานที่ยากจน หรือในผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น alcoholism, malabsorption, inborn errors of metabolism, และ hemodialysis

การส่งต่อผู้ป่วย

หญิงตั้งครรภ์ที่ควรจะได้รับคำปรึกษาจากนักโภชนากรเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิด ได้แก่

  • Diabetes, hypertension, metabolic disorder or gastrointestinal disorder
  • Bariatric surgery
  • Overweight or obesity (8)
  • ผู้รับประทานอาหารรสหวานที่มีแคลอรี่สูง (high intake of sweetened beverages or foods)
  • ผู้ที่ภาวะทุพโภชนาการ
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ใช้สารเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เพื่อประเมินภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ โดยปกติจะตรวจค่าฮีโมโกลบินและค่าความเข้มข้นของเลือดในการฝากครรภ์ครั้งแรกและในช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองระดับวิตามินดี (serum 25-hydroxyvitamin D) ไม่จำเป็นต้องตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย(9, 10) ควรทำในรายที่มีความเสี่ยงในการขาดวิตามินดี เช่น คนอ้วน ผู้ที่ได้รับแสงแดดในปริมาณน้อย หรือผู้ที่มีประวัติทุพโภชนาการจากโรคต่างๆ (Celiac disease, inflammatory bowel disease) เป็นต้น

คำแนะนำภาวะโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์

  • ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ควรรับประทาน folic acid 0.4-0.8 mg ต่อวัน
  • ผู้หญิงที่มีภาวะ metabolic disease เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ควรได้รับการรักษาจนสามารถควบคุมโรคได้ดีก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากภาวะดังกล่าวเพิ่มภาวะแทรกซ้อนมากมาย ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน หรือความดันสูงขณะตั้งครรภ์(11) เพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตของทารกในครรภ์(12, 13) เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอด(14) เป็นต้น

คำแนะนำภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

น้ำหนักของมารดาก่อนการตั้งครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

คำแนะนำของ Institute of Medicine (IOM)ล่าสุดได้แนะนำเกณฑ์ที่เหมาะสมของน้ำหนักมารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวไว้ดังนี้ (15)

  • BMI < 18.5kg/m2 (underweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 12.5-18 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.5-16 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 7-11.5 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 5-9 kg
    (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)

น้ำหนักของมารดาก่อนตั้งครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักของทารกและระยะเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักพบในรายที่น้ำหนักขึ้นน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยในรายที่น้ำหนักขึ้นน้อยจะเสี่ยงต่อภาวะทารกตัวเล็ก และคลอดก่อนกำหนด สำหรับรายที่มีน้ำหนักขึ้นเยอะเสี่ยงต่อทารกตัวโต ซึ่งมักพบในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าได้กับภาวะ overweight และ obese (8) ดังนั้น The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) จึงแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มนี้ควรได้รับคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสม(2)

คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

Institute of Medicine (IOM) ได้แนะนำปริมาณของสารอาหารต่างๆที่ควรจะได้รับในระหว่างตั้งครรภ์ที่ครอบคลุมถึงร้อยละ 97ของประชากร

ปริมาณแคลอรี่ (Calories)

มารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวควรเพิ่มปริมาณแคลอรี่ 340kcal/day ในช่วงไตรมาสที่2 และเพิ่ม 450 kcal/dayในไตรมาสที่3(16) ส่วนในไตรมาสแรกไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณแคลอรี่

สารอาหารหลัก (Macronutrients)

Protein

หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการโปรตีนตลอดการตั้งครรภ์ 1kg เพื่อการเจริญของรกและตัวอ่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นต้องการในช่วง 6เดือนหลัง ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรที่จะเพิ่มปริมาณโปรตีนที่ได้รับต่อวันจาก 0.8g/kg/day เป็น 1.1g/kg/day

Carbohydrate

ความต้องการของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นเป็น 175g/day จากเดิม 130g/day ในหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยควรจะบริโภคอาหารประเภทไฟเบอร์วันละ 28 g ร่วมกับการรับประทานน้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก

Fat

ควรหลีกเลี่ยงไขมันประเภท Trans fatty acids เนื่องจากสามรถผ่านรกได้และรบกวนการเผาผลาญของไขมันประเภท Essential fatty acid ซึ่งเป็นไขมันที่มีบทบาทในการช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก (17) นอกจากนี้ Trans fatty acids ยังส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

สารอาหารรอง (Micronutrients)

ปริมาณวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอที่หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับในแต่ละวันดังแสดงในตารางที่ 3

Nutrition T3

ตารางที่3 Recommended Dietary Allowances (RDA) or Adequate Intake (AI) and Tolerable Upper Limit (UL) for adult pregnant and lactating women

ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานอาหารได้ครบถ้วนไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินบำรุงแก่หญิงตั้งครรภ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับไม่เพียงพอจากอาหาร จึงควรได้รับเสริมจากวิตามินบำรุงแกหญิงตั้งครรภ์ซึ่งควรจะประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มักได้รับไม่เพียงพอจาการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว เช่น

  • ธาตุเหล็ก 27 mg
  • แคลเซียมอย่างน้อย 250 mg(elemental calcium 1,000 mg/day)
  • โฟลิค อย่างน้อย 0.4 mg(o.6 mg ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม)
  • ไอโอดีน 150mcg
  • Vitamin D 200-600 IU(ยังไม่มีปริมาณที่แน่นอน)

สารอาหารรอง(micronutrient)ที่มีความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้

Iron

ธาตุเหล็กเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาของตัวอ่อนและรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของมารดา โดยการให้ธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ 15-30 mg/day เพียงพอสำหรับการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น CDC จึงแนะนำว่าควรให้ธาตุเหล็กเสริมในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก (18) สำหรับมารดาที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กควรได้รับการเสริมธาตุเหล็ก 30-120 mg/day จนกระทั่งความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Calcium

การเจริญของระบบกระดูกของทารกต้องการแคลเซียมทั้งหมดประมาณ 30g ซึ่งนับเป็นปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณแคลเซียมทั้งหมดของหญิงตั้งครรภ์ ร่วมกับการมีการดูดซึมแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ 49(19) โดยปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันของหญิงตั้งครรภ์ช่วงอายุ19-50ปี คือ 1,000 mg/day และ 1,300 mg/day สำหรับช่วงอายุ 14-18 ปี 50

การให้แคลเซียมไม่มีประโยชน์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพแข็งแรงที่สามารถรับประทานแคลเซียมได้อย่างเพียงพอ แต่อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในมารดาที่มีความเสี่ยงสูง(20)นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีผลในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หรือลดโอกาสการเกิดภาวะทารกตัวเล็ก (21)

Vitamin D

ในปี ค.ศ.2010 Institute of Medicine (IOM) ได้แนะนำปริมาณวิตามินDที่ควรได้รับเท่ากับ 600 IUในหญิงวัยเจริญพันธ์ รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ส่วน The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) แนะนำให้วิตามิน D เสริมแก่หญิงที่มาฝากครรภ์ทุกราย(10)โดยส่วนใหญ่มีปริมาณของวิตามิน D เป็นส่วนประกอบประมาณ 400 IU แต่บางชนิดอาจมีปริมาณวิตามิน D ที่แตกต่างกันตั้งแต่ 200-1,000 IU

อย่างไรก็ตามปริมาณวิตามิน D ที่หญิงตั้งครรภควรได้รับในแต่ละวัน และประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับประทานวิตามิน Dยังต้องการการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำ

Folic acid

หญิงที่วางแผนการตั้งครรภ์ควรได้รับการเสริมโฟลิค 0.4-0.8 mg/day เป็นเวลา 1เดือนก่อนการตั้งครรภ์และ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพื่อลดโอกาสการเกิด Neural tube defect ของทารก(22, 23) หลังจากนั้นรับประทานวันละ 0.6 mg เพื่อความต้องการในการเจริญเติบโตของทารกและรก

Choline

มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางและcognitive function ของทารก โดยปริมาณที่แนะนำคือ 450 mg/day

Iodine

ภาวะขาดไอโอดีนสามารถส่งผลเสียทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์โดยทำให้เกิดภาวะ hypothyroid ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดย The American Thyroid Association recommends แนะนำให้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์,หญิงตั้งครรภ์, หรือ หญิงให้นมบุตร รับประทานไอโอดินเสริมจากยาเม็ดบำรุงครรภ์ในปริมาณ 150mcg/day ในรูปของ potassium iodide (24)

ผลเสียจากการได้รับวิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆที่มากเกินไป

Vitamin A

การที่ได้รับวิตามินเอมากกว่า 10000 IU/day มีความเสี่ยงต่อการความผิดปกติของทารก(25) สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีผู้ขาดวิตามินเออยู่มากการให้วิตามินเอเสริมน้อยกว่า 10000 IU/day หรืออาทิตย์ละไม่เกิน 25000 IU อาจมีประโยชน์สำหรับสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารก เช่น ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์โดยไม่มีผลต่อความผิดปกติของทารก(26) แต่ไม่ได้ลดอัตราการตายของหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด(27)

Iodine

การได้รับไอโอดีนที่มากเกินไปสามารก่อให้เกิดโรคคอพอกในทารกได้(28-30) โดยที่ปริมาณที่มากเกินไปนั้นยังไม่ทราบปริมาณที่ชัดเจน

Vitamin D

ยังไม่ทราบปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างชัดเจนแต่ได้มีการประมาณไว้ว่าไม่ควรได้รับเกิน 4000 IU/day (10)

ปริมาณสารน้ำที่ต้องการ

ในระหว่างการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคน้ำวันละ 3ลิตร โดยได้จาการดื่มน้ำวันละ 2.3ลิตร และส่วนที่เหลือได้จากการบริโภคอาหาร

การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ความปลอดภัยด้านอาหาร

การหลีกเลี่ยงโรคที่มากับอาหาร

โรคที่มากับอาหารสามารถทำให้เกิดโรคในหญิงตั้งครรภ์รวมไปถึงภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนด ความพิการในทารก และทำให้ทารกตายได้ โดยเชื้อโรคที่มักมากับอาหาร ได้แก่ Toxoplasmosis มักมาจากอาหารดิบ, Listeria monocytogenes พบในอาหารสำเร็จรูป, Brucellosis พบในนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว หญิงตั้งครรภ์ควร :

  • มีสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือบ่อย
  • รับประทานอาหารปรุงสุก
  • รับประทานนม น้ำผัก และน้ำผลไม้ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • รับประทานผักและผลไม้ที่ผ่านการล้างอย่างน้อย 30วินาที
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบบางชนิดเนื่องจากมีเชื้อโรคปนอยู่โดยไม่สามารถล้างออกได้ เช่น หัวไชเท้า ถั่วเขียว เป็นต้น
  • ล้างมือ ภาชนะใส่อาหาร และเครื่องครัวให้สะอาด

การเลือกรับประทานปลา

เนื่องจาการรับประทานปลาอาจมีการปนเปื้อนของปรอทอยู่มาก ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายต่อระบบประสาทของทารก ดังนั้น FDA จึงแนะนำหญิงตั้งครรภ์ไว้ดังนี้ :

  • ควรงดรับประทานปลาฉลาม ปลาดาบ, king mackerel, และ tilefish ดังแสดงในตารางที่ 4
  • ควรรับประทานปลาที่มีปริมาณปรอทปนเปื้อนน้อย สัปดาห์ละ 12 ออนซ์(ประมาณสองมื้ออาหาร)เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแซลม่อน ปลาดุก ยกเว้นปลาทูน่าขาวที่ไม่ควรเกินอาทิตย์ละ 6ออนซ์ ดังแสดงในตารางที่ 4

Nutrition T4

ตารางที่ 4 FDA advice on fish consumption in women who are pregnant, might become pregnant, or are nursing

สำหรับการรับประทานปลาดิบ ที่ได้มีการแช่แข็งปลาเป็นอย่างดี เช่น การรับประทานซูชินั้นสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

Caffeine

ในปี ค.ศ. ACOG ได้แนะนำว่าในหญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคคาเฟอีนน้อยกว่า 200mgต่อวัน 150(31)เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร(32)

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาสมุนไพร และอาหารเสริมจากสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ (33, 34) ยกเว้น ขิง สามารถใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์

การบริโภคอาหารที่มีตับเป็นส่วนประกอบหลัก

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีตับเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณมากเนื่องจากทำให้ได้รับ vitamin A มากเกิน (35-40)

การตั้งครรภ์แฝด

ปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์แฝดเป็นดังนี้ (41)

  • BMI< 18.5kg/m2 (underweight) ควรได้รับ 4000 kcal/day
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรได้รับ 3000-3500 kcal/day
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรได้รับ 3250 kcal/day
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรได้รับ 2700-3000 kcal/day

น้ำหนักที่ควรเพิ่มในระหว่างการตั้งครรภ์แฝดเป็นดังนี้

  • BMI < 18.5kg/m2 (underweight) ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
  • BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 16.8-24.5 kg
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 14.1-22.7 kg
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.4-19.1 kg

เอกสารอ้างอิง

  1. Institute of Medicine Committee on Nutritional Status During P, Lactation. Nutrition During Pregnancy: Part I Weight Gain: Part II Nutrient Supplements. Washington (DC): National Academies Press (US)  Copyright (c) 1990 by the National Academy of Sciences.; 1990.
  2. ACOG Committee opinion no. 549: obesity in pregnancy. Obstet Gynecol. 2013;121(1):213-7.
  3. Ramakrishnan U, Grant F, Goldenberg T, Zongrone A, Martorell R. Effect of women’s nutrition before and during early pregnancy on maternal and infant outcomes: a systematic review. Paediatric and perinatal epidemiology. 2012;26 Suppl 1:285-301.
  4. Shaw GM, Wise PH, Mayo J, Carmichael SL, Ley C, Lyell DJ, et al. Maternal prepregnancy body mass index and risk of spontaneous preterm birth. Paediatric and perinatal epidemiology. 2014;28(4):302-11.
  5. Feodor Nilsson S, Andersen PK, Strandberg-Larsen K, Nybo Andersen AM. Risk factors for miscarriage from a prevention perspective: a nationwide follow-up study. BJOG : an international journal of obstetrics and gynaecology. 2014;121(11):1375-84.
  6. Widen E, Siega-Riz AM. Prenatal nutrition: a practical guide for assessment and counseling. Journal of midwifery & women’s health. 2010;55(6):540-9.
  7. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet (London, England). 2004;363(9403):157-63.
  8. Deputy NP, Sharma AJ, Kim SY. Gestational Weight Gain – United States, 2012 and 2013. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2015;64(43):1215-20.
  9. Holick MF, Binkley NC, Bischoff-Ferrari HA, Gordon CM, Hanley DA, Heaney RP, et al. Evaluation, treatment, and prevention of vitamin D deficiency: an Endocrine Society clinical practice guideline. The Journal of clinical endocrinology and metabolism. 2011;96(7):1911-30.
  10. ACOG Committee Opinion No. 495: Vitamin D: Screening and supplementation during pregnancy. Obstet Gynecol. 2011;118(1):197-8.
  11. Bodnar LM, Catov JM, Klebanoff MA, Ness RB, Roberts JM. Prepregnancy body mass index and the occurrence of severe hypertensive disorders of pregnancy. Epidemiology (Cambridge, Mass). 2007;18(2):234-9.
  12. Nohr EA, Bech BH, Davies MJ, Frydenberg M, Henriksen TB, Olsen J. Prepregnancy obesity and fetal death: a study within the Danish National Birth Cohort. Obstet Gynecol. 2005;106(2):250-9.
  13. Salihu HM, Dunlop AL, Hedayatzadeh M, Alio AP, Kirby RS, Alexander GR. Extreme obesity and risk of stillbirth among black and white gravidas. Obstet Gynecol. 2007;110(3):552-7.
  14. Dietz PM, Callaghan WM, Morrow B, Cogswell ME. Population-based assessment of the risk of primary cesarean delivery due to excess prepregnancy weight among nulliparous women delivering term infants. Matern Child Health J. 2005;9(3):237-44.
  15.  Institute of M, National Research Council Committee to Reexamine IOMPWG. The National Academies Collection: Reports funded by National Institutes of Health. In: Rasmussen KM, Yaktine AL, editors. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines. Washington (DC): National Academies Press (US) National Academy of Sciences.; 2009.
  16. Kaiser LL, Campbell CG. Practice paper of the Academy of Nutrition and Dietetics abstract: nutrition and lifestyle for a healthy pregnancy outcome. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 2014;114(9):1447.
  17.  Innis SM. Trans fatty intakes during pregnancy, infancy and early childhood. Atherosclerosis Supplements. 2006;7(2):17-20.
  18. Recommendations to prevent and control iron deficiency in the United States. Centers for Disease Control and Prevention. MMWR Recommendations and reports : Morbidity and mortality weekly report Recommendations and reports. 1998;47(Rr-3):1-29.
  19. Hacker AN, Fung EB, King JC. Role of calcium during pregnancy: maternal and fetal needs. Nutrition reviews. 2012;70(7):397-409.
  20. Hofmeyr GJ, Lawrie TA, Atallah AN, Duley L, Torloni MR. Calcium supplementation during pregnancy for preventing hypertensive disorders and related problems. The Cochrane database of systematic reviews. 2014(6):Cd001059.
  21. Buppasiri P, Lumbiganon P, Thinkhamrop J, Ngamjarus C, Laopaiboon M, Medley N. Calcium supplementation (other than for preventing or treating hypertension) for improving pregnancy and infant outcomes. The Cochrane database of systematic reviews. 2015(2):Cd007079.
  22. Folic acid for the prevention of neural tube defects: U.S. Preventive Services Task Force recommendation statement. Annals of internal medicine. 2009;150(9):626-31.
  23. Wolff T, Witkop CT, Miller T, Syed SB. Folic acid supplementation for the prevention of neural tube defects: an update of the evidence for the U.S. Preventive Services Task Force. Annals of internal medicine. 2009;150(9):632-9.
  24. Stagnaro-Green A, Abalovich M, Alexander E, Azizi F, Mestman J, Negro R, et al. Guidelines of the American Thyroid Association for the diagnosis and management of thyroid disease during pregnancy and postpartum. Thyroid : official journal of the American Thyroid Association. 2011;21(10):1081-125.
  25. Rothman KJ, Moore LL, Singer MR, Nguyen US, Mannino S, Milunsky A. Teratogenicity of high vitamin A intake. The New England journal of medicine. 1995;333(21):1369-73.
  26. Checkley W, West KP, Jr., Wise RA, Baldwin MR, Wu L, LeClerq SC, et al. Maternal vitamin A supplementation and lung function in offspring. The New England journal of medicine. 2010;362(19):1784-94.
  27. McCauley ME, van den Broek N, Dou L, Othman M. Vitamin A supplementation during pregnancy for maternal and newborn outcomes. The Cochrane database of systematic reviews. 2015(10):Cd008666.
  28. Connelly KJ, Boston BA, Pearce EN, Sesser D, Snyder D, Braverman LE, et al. Congenital hypothyroidism caused by excess prenatal maternal iodine ingestion. The Journal of pediatrics. 2012;161(4):760-2.
  29. Thomas Jde V, Collett-Solberg PF. Perinatal goiter with increased iodine uptake and hypothyroidism due to excess maternal iodine ingestion. Hormone research. 2009;72(6):344-7.
  30. Nishiyama S, Mikeda T, Okada T, Nakamura K, Kotani T, Hishinuma A. Transient hypothyroidism or persistent hyperthyrotropinemia in neonates born to mothers with excessive iodine intake. Thyroid : official journal of the American Thyroid Association. 2004;14(12):1077-83.
  31. ACOG CommitteeOpinion No. 462: Moderate caffeine consumption during pregnancy. Obstet Gynecol. 2010;116(2 Pt 1):467-8.
  32. Li J, Zhao H, Song JM, Zhang J, Tang YL, Xin CM. A meta-analysis of risk of pregnancy loss and caffeine and coffee consumption during pregnancy. Int J Gynaecol Obstet. 2015;130(2):116-22.
  33. Marcus DM, Snodgrass WR. Do no harm: avoidance of herbal medicines during pregnancy. Obstet Gynecol. 2005;105(5 Pt 1):1119-22.
  34. Friedman JM. Teratology society: presentation to the FDA public meeting on safety issues associated with the use of dietary supplements during pregnancy. Teratology. 2000;62(2):134-7.
  35. Nelson M. Vitamin A, liver consumption, and risk of birth defects. BMJ (Clinical research ed). 1990;301(6762):1176.
  36. Kolb E. [The problem of a high content of vitamin A in the liver of calves, cattle, sheep and swine for the consumer. Amount of accumulation and mechanism of teratogenic effect (review article)]. Berliner und Munchener tierarztliche Wochenschrift. 1994;107(10):342-7.
  37. Julkunen P, Hasunen K, Idanpaan-Heikkila J. [Health risks related to high content of vitamin A in liver]. Nordisk medicin. 1990;105(5):149-50, 53.
  38. Blomhoff R, Alexander J. [Vitamin A and toxicity. Should pregnant women and small children reduce their intake of liver products and vitamin A?]. Tidsskrift for den Norske laegeforening : tidsskrift for praktisk medicin, ny raekke. 1993;113(24):3037-9.
  39. Hartmann S, Brors O, Bock J, Blomhoff R, Bausch J, Wiegand UW, et al. Exposure to retinoic acids in non-pregnant women following high vitamin A intake with a liver meal. International journal for vitamin and nutrition research Internationale Zeitschrift fur Vitamin- und Ernahrungsforschung Journal international de vitaminologie et de nutrition. 2005;75(3):187-94.
  40. van den Berg H, Hulshof KF, Deslypere JP. Evaluation of the effect of the use of vitamin supplements on vitamin A intake among (potentially) pregnant women in relation to the consumption of liver and liver products. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 1996;66(1):17-21.
  41. Goodnight W, Newman R. Optimal nutrition for improved twin pregnancy outcome. Obstet Gynecol. 2009;114(5):1121-34.

 

Read More
Depression1

Depression in midlife women

Depression in midlife women

พญ. อลิน เพชโรภาส
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ.พญ. สายพิณ พงษธา


ผู้หญิงวัยกลางคนในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้หญิงวัยทองเป็นหลัก มักมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเข้ามาในชีวิต ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสังคมและครอบครัว คือ เลิกทำงานประจำ ลูกออกจากบ้านไปเพื่อศึกษาต่อหรือทำงาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและสรีระของร่างกาย คือ หมดประจำเดือนและหมดภาวะเจริญพันธุ์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจตามมาด้วย และปัญหาทางด้านจิตใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยนี้คือ ภาวะซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ในภาวะวัยทอง

ภาวะวัยทองนั้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะอารมณ์หลายๆยอย่าง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์นั้นๆไม่ได้เป็นผลมาจากอาการของภาวะวัยทอง เช่น อาการร้อนวูบวาบ หรือ ปัญหาการนอนไม่หลับ กลับพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะอารมณ์นั้นมีบางส่วนเกี่ยวกับความรู้สึกที่ต้องสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์ของตน (loss of fertility) หรือเกี่ยวกับการจากบ้านไปของลูกที่โตแล้วเพื่อออกไปเรียน หรือไปทำงาน (empty nest syndrome) แต่สำหรับผู้หญิงบางคนการที่ลูกกลับมาอยู่บ้านด้วยหรือการได้เลี้ยงหลานกลับทำให้เกิดภาวะซึมเศร้ามากขึ้น (1, 2)
ผู้หญิงที่เคยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือคนที่เคยมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้น พบว่ามีโอกาสที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนอื่นในช่วงวัยทอง ดังนั้นหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอารมณ์หรือสภาวะจิตในช่วงวัยทองควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อช่วยหาสาเหตุ และรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

Depression

หรือภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะทางจิตเวชที่พบมากที่สุด จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) พบว่าภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับ 11 ของความพิการและการเสียชีวิต(3) พบว่าในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 – 3 เท่า และช่วงอายุที่พบภาวะซึมเศร้ามากที่สุดคือช่วง 25 – 44 ปี(4, 5)
โดยภาวะซึมเศร้าหมายถึงภาวะที่ผู้ป่วยได้รับความทุกทรมานจากความซึมเศร้าอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปคือ อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป มีความเปลี่ยนแปลงทางการรับประทานอาหารและน้ำหนัก ไม่มีกำลัง ขาดสมาธิ รู้สึกด้อยค่าหรือรู้สึกผิด หรือมีความคิดเกี่ยวกับความตายและการฆ่าตัวตาย (6)
ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่มีการกลับเป็นซ้ำได้ โดยผู้ป่วยที่มี Major depressive episode 1 ครั้ง พบว่าผู้ป่วย 50 เปอร์เซ็นต์มีโอกาสเป็นซ้ำรอบที่ 2 และ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นซ้ำรอบที่ 3ได้และจะมีความรุนแรงมากขึ้นในทุกๆครั้งของการกลับเป็นซ้ำ
นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ถูกคัดกรองว่าเป็นโรคซึมเศร้าและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องนั้นเพิ่มโอกาสการฆ่าตัวตาย และยิ่งจะทำให้สุขภาวะย่ำแย่ลงหากพบว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าอาจมาแสดงอาการได้หลายแบบ ทั้งทางด้านอารมณ์ cognitive function, neurovegetative function หรืออาการแสดงทางกาย
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ผู้ป่วยมักมาด้วยอารมณ์เศร้า เครียดง่าย วิตกกังวล หรือรู้สึกไม่มีความสุข อยู่ไม่เป็นสุข การเปลี่ยนแปลงทางกาย เช่น ไม่มีแรง ไม่มีพลังงาน นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป ความอยากอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักลดหรือเพิ่มจนผิดปกติ แต่ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะแสดงออกทางกายแบบอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องหรือปวดท้องน้อย ปวดหลัง เป็นต้นทำให้ยากต่อการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า (7)

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า ( Major depressive disorder) ในปัจจุบันยึดตาม DSM-V criteria diagnosis (6) คือ

A. มีอาการมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ข้อต่อไปนี้ เป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ คือ

  1.  มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน โดยอาจจะมีอารมณ์ต่างๆ เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกว่างเปล่า ไม่มีความหวัง หรือมีผู้สังเกตเห็นอารมณ์ซึมเศร้านี้ เช่น ร้องไห้บ่อย
  2. ความสนใจต่อสิ่งต่างๆและกิจกรรมต่างๆ รอบตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
  3. น้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญโดยไม่ได้อดอาหาร หรือน้ำหนักขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (กล่าวคือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิมในระยะเวลา 1 เดือน) หรือมีความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปเกือบทุกวัน
  4. นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมาก เกือบทุกวัน
  5. มีความผิดปกติแสดงออกทาง psychomotor เช่น ดูเชื่องช้าลง หรือดูไม่อยู่นิ่ง
  6. อ่อนเพลียหรือหมดพลังเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
  7. มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า หรือมีความรู้สึกผิดที่มากเกินปกติ เป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
  8. ความสามารถในการคิด หรือมีสมาธิลดลง เกือบทุกวัน
  9. มีความคิดเกี่ยวกับความตาย การฆ่าตัวตายโดยที่ไม่ได้วางแผน มีการพยายามฆ่าตัวตายอยู่บ่อยๆ

B. อาการเหล่านี้เป็นสาเหตุให้การทำงานและการเข้าสังคมสูญเสียไป

C. อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการใช้ยาหรือโรคประจำตัวอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยง

โดยทั่วไปปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า คือ พันธุกรรม ยาที่ใช้ สภาวะแวดล้อม และสังคม นอกจากนี้ยังรวมถึง

  • ประวัติเคยมีภาวะซึมเศร้ามาก่อน
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีโรคซึมเศร้า
  • เพศหญิง
  • อยู่ในภาวะหลังคลอด
  • มีประวัติถูกทำร้ายในวัยเด็ก
  • ภาวะเครียด
  • ขาดคนคอยสนับสนุนทางจิตใจ
  • มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงหรือเรื้อรัง
  • การใช้สารเสพติด

ในแง่ของนรีเวชวิทยา มีการศึกษามากมายได้มีการรวบรวมและพยายามวัดค่าฮอร์โมนในเลือดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงหลังคลอด และช่วงวัยทอง พบว่าไม่มีฮอร์โมนตัวใดที่สัมพันธ์กับภาวะอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือน (Premenstraul dysphoria) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) หรือภาวะซึมเศร้าในวัยทอง (Depression in menopause) (8) แต่ในการศึกษาพบว่ามีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทำให้ผู้หญิงในกลุ่มนี้จะมีภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงหลังคลอด ช่วงวัยทอง หรือแม้กระทั่งช่วงที่ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดได้มากกว่าผู้หญิงทั่วไป (9-11)

 การตรวจคัดกรอง

การตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้านั้นมีความจำเป็นเนื่องจากภาวะซึมเศร้าสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในท้ายที่สุด และหากเราสามารถคัดกรองผู้ป่วยและรักษาได้อย่างทันท่วงทีในช่วงเริ่มแรกของภาวะนี้สามารถทำให้หายขาดจากภาวะซึมเศร้าได้
ในปัจจุบันมีชุดคำถามที่ถูกใช้เพื่อช่วยในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า โดยมี sensitivity 85 เปอร์เซ็นต์ และ specificity 74 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผลการคัดกรองของแต่ละชุดคำถาม (12) โดยที่มีใช้ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย คือ PHQ-2, PHQ-9, Beck Depression Inventory for Primary Care และ WHO-5 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ปัจจุบันใช้ PHQ-9
PHQ-9 (the Patient Health Questionnaire-9) เป็นชุดคำถามที่ใช้ทั้งการคัดกรองและการติดตามการรักษาของผู้ป่วยในภาวะซึมเศร้า (13-15) ชุดคำถามนี้มี sensitivity 88 เปอร์เซ็นต์ และ specificity 88 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนคะแนนทั้งหมดตั้งแต่ 0 ถึง 27 คะแนน หากคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มีความเป็นไปได้ที่จะมีภาวะซึมเศร้า (16)

Depression1

รูปที่ 1 : แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย-9 (PHQ-9)

การรักษา

เป้าหมายของการรักษาภาวะซึมเศร้าคือให้หายขาดจากโรคและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ การเริ่มรักษาแนะนำให้ใช้ยา (Pharmacotherapy) ร่วมกับการทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ซึ่งมีหลายการศึกษาพบว่าการใช้การรักษาร่วมกันทั้งสองวิธีได้ผลดีกว่าการเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว (17, 18)

การรักษาโดยการใช้ยา

ในปัจจุบันมียาที่ใช้สำหรับการรักษาภาวะซึมเศร้าที่หลากหลาย ดังตารางที่ 1 โดยกลุ่มยาที่แนะนำให้ใช้เป็นกลุ่มแรกคือ Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เนื่องจากมีประสิทธิภาพกว่าและผู้ป่วยสามารถทนต่อการใช้ยาได้มากกว่า ส่วนการเลือกใช้ยากลุ่มอื่นๆต่อมาต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายๆอย่างร่วมกัน กล่าวคือ ผลข้างเคียงของยา โรคประจำตัวของผู้ป่วย ยาอื่นๆที่ใช้ประจำ ความสะดวกในการใช้ยา ราคาของยา การตอบสนองของยาหลังได้รับการรักษา และประวัติครอบครัวหากมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยได้รับการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยยามาก่อน เป็นต้น (19)

 

Drugs

Therapeutic dosage range (mg/day)

Potentially  fatal drug interactions

Tricyclics

Amitriptyline

Clomipramine

Desipramine

Doxepin

Imipramine

Nortriptyline

Protriptyline

Trimipramine

 

75 – 300

75 – 300

75 – 300

75 – 300

75 – 300

40 – 200

20 – 60

75 – 300

 

 

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

Antiarrhythmics, MAO inhibitors

 

Heterocyclics

Amoxapine

Maprotiline

 

 

100 – 600

100 – 225

 

MAO inhibitors

MAO inhibitors

SSRI

Citalopram

Escitalopram

Fluvoxamine

Fluoxetine

Paroxetine

Sertraline

 

20 – 40

20 – 40

100 – 200

10 – 40

20 – 50

50 – 150

 

MAO inhibitors

MAO inhibitors

MAO inhibitors

MAO inhibitors

MAO inhibitors

MAO inhibitors

MAO inhibitors

Isocarboxazid

Phenelzine

Tranylcypromine

 

30 – 50

45 – 90

20 – 60

 

MAO inhibitors

 

5-HT2 antagonists

Trazodone

Nefazodone

 

150 – 600

300 – 500

 

Others

Bupropion

Mirtazaoine

Venlafaxine

Duloxetine

 

225 – 450

15 – 45

75 – 375

20 – 60 bid

 

MAO inhibitors (possibly)

 

ตารางที่ 1 : Pharmacology of Antidepressant Medications

Modified from Depression Guideline Panel. Depression in primary care: detection, diagnosis, and treatment. Quick reference guide for clinicians, no.5. Rockville, MD: U.S. Department of Health and Human Services, Public Health Service, Agency for Health Care Policy and Research; 1993:15; AHCPR pub. No.93-0552

ผลข้างเคียงของยารักษาภาวะซึมเศร้าที่พบได้บ่อยๆมีดังนี้ (20)

  1. ถ่ายเหลว พบมากใน Sertraline มากกว่าที่พบใน Bupropion, Citalopram, Fluoxetine, Fluvoxamine, Mirtazapine, Nefazodone, Paroxetine และ Venlafaxine
  2. คลื่นไส้ อาเจียน พบมากใน Venlafaxine
  3. สมรรถภาพทางเพศลดลง
  4. ง่วง หรืออยากนอนมากขึ้น พบมากใน Trazodone มากกว่าที่พบใน Bupropion, Fluoxetine, Mirtazapine, Paroxetine และ Venlafaxine
  5.  น้ำหนักเพิ่ม พบมากใน Mirtazapine

จิตบำบัด (Psychotherapy)

มีการดูแลด้วยจิตบำบัดหลายวิธีแต่จำเป็นต้องทำโดยจิตแพทย์ โดยจิตบำบัดที่มีในปัจจุบันคือ

  • Cognitive-behavioral therapy (CBT)
  • Interpersonal psychotherapy (IPT)
  • Behavioral activation
  • Family and couples therapy
  • Problem solving therapy
  • Psychodynamic psychotherapy
  • Supportive psychotherapy

การส่งต่อเพื่อรักษาอย่างเหมาะสม

โดยทั่วไปภาวะซึมเศร้าที่ไม่รุนแรงสามารถให้การรักษาโดยแพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้จบเฉพาะทางจิตเวชได้ แต่ในผู้ป่วยที่มีการพยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าผู้อื่น หรือมีอาการจิตเภทขึ้นมาอย่างฉับพลันควรพิจารณาส่งตัวให้จิตแพทย์ทันที (21)
ในผู้ป่วยรายอื่นๆหากแพทย์ทั่วไปตรวจติดตามแล้วผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือคิดว่าเกินความสามารถให้พิจารณาส่งพบจิตแพทย์ได้ โดยทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วยให้ดี เนื่องจากผู้ป่วยบางคนมักมีอคติหากทราบว่าจะต้องถูกส่งไปพบจิตแพทย์ มักจะมีความรู้สึกโกรธหรือต่อต้านได้ แพทย์ควรค่อยๆอธิบายเกี่ยวกับตัวโรคพร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำคัญที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทาง
ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะสังคมและครอบครัว โดยภาวะซึมเศร้าหากไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงตามมาได้จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ดังนั้นในฐานะแพทย์เราควรเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคัดกรองผู้ป่วย และหากสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าควรเริ่มให้การรักษาหรือส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เพื่อเริ่มการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากภาวะซึมเศร้าได้

เอกสารอ้างอิง

  1. McKinlay JB MS, Brambilla DJ. Health status and utilization behavior associated with menopause. Am J Epidemiol. 1987;125:110-21.
  2. JA H. Psychobiology in context: reproductive-related events in men’s and women’s lives (review of motherhood and mental illness). Contemp Psych. 1984;3:12-6.
  3. Kessler RC, Ormel J, Petukhova M, McLaughlin KA, Green JG, Russo LJ, et al. Development of lifetime comorbidity in the World Health Organization world mental health surveys. Archives of general psychiatry. 2011;68(1):90-100.
  4. Regier DA BJ, Burke JD Jr, et al. One-month prevalence of mental disorders in the United States-based on five epidemiologic catchment area sites. Archives of general psychiatry. 1988;45:977-85.
  5. Robins LN HJ, Weissman MN, et al. Lifetime prevalence of specific psychiatric disorders in three sites. Archives of general psychiatry. 1984;41:949-58.
  6. Association AP. Diagnosis and statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5). American Psychiatric Association, Arlington. 2013.
  7. Tylee A, Gandhi P. The importance of somatic symptoms in depression in primary care. Primary care companion to the Journal of clinical psychiatry. 2005;7(4):167-76.
  8. TB P. Hormones and depression: what are facts about premenstrual syndrome, menopause, and hormone replacement therapy. Am J Obstet Gynecol. 1995;173:646-53.
  9. Freeman EW, Sammel MD, Liu L, Gracia CR, Nelson DB, Hollander L. Hormones and menopausal status as predictors of depression in women in transition to menopause. Archives of general psychiatry. 2004;61(1):62-70.
  10. Harlow BL, Wise LA, Otto MW, Soares CN, Cohen LS. Depression and its influence on reproductive endocrine and menstrual cycle markers associated with perimenopause: the Harvard Study of Moods and Cycles. Archives of general psychiatry. 2003;60(1):29-36.
  11. Schmidt PJ, Haq N, Rubinow DR. A longitudinal evaluation of the relationship between reproductive status and mood in perimenopausal women. The American journal of psychiatry. 2004;161(12):2238-44.
  12. Williams JW, Jr., Pignone M, Ramirez G, Perez Stellato C. Identifying depression in primary care: a literature synthesis of case-finding instruments. General hospital psychiatry. 2002;24(4):225-37.
  13. Kroenke K, Spitzer RL, Williams JB, Lowe B. The Patient Health Questionnaire Somatic, Anxiety, and Depressive Symptom Scales: a systematic review. General hospital psychiatry. 2010;32(4):345-59.
  14. Huang FY, Chung H, Kroenke K, Delucchi KL, Spitzer RL. Using the Patient Health Questionnaire-9 to measure depression among racially and ethnically diverse primary care patients. Journal of general internal medicine. 2006;21(6):547-52.
  15. Malpass A, Shaw A, Kessler D, Sharp D. Concordance between PHQ-9 scores and patients’ experiences of depression: a mixed methods study. The British journal of general practice : the journal of the Royal College of General Practitioners. 2010;60(575):e231-8.
  16. Kroenke K, Spitzer RL, Williams JB. The PHQ-9: validity of a brief depression severity measure. Journal of general internal medicine. 2001;16(9):606-13.
  17. Cuijpers P, Sijbrandij M, Koole SL, Andersson G, Beekman AT, Reynolds CF, 3rd. Adding psychotherapy to antidepressant medication in depression and anxiety disorders: a meta-analysis. World psychiatry : official journal of the World Psychiatric Association. 2014;13(1):56-67.
  18. Cuijpers P, van Straten A, Warmerdam L, Andersson G. Psychotherapy versus the combination of psychotherapy and pharmacotherapy in the treatment of depression: a meta-analysis. Depression and anxiety. 2009;26(3):279-88.
  19. Gartlehner G, Thaler K, Hill S, Hansen RA. How should primary care doctors select which antidepressants to administer? Current psychiatry reports. 2012;14(4):360-9.
  20. Gartlehner G, Gaynes BN, Amick HR, Asher GN, Morgan LC, Coker-Schwimmer E, et al. Comparative Benefits and Harms of Antidepressant, Psychological, Complementary, and Exercise Treatments for Major Depression: An Evidence Report for a Clinical Practice Guideline From the American College of Physicians. Annals of internal medicine. 2016;164(5):331-41.
  21. Stotland NL GT. Manual of psychiatric consultation. American Psychiatric Press. 1990.
Read More
Meno-CVS1

Menopause and cardiovascular risk

Menopause and cardiovascular risk 

พ.ญ.มัลลิกา วงศ์ชนะ
อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์แพทย์หญิง สายพิณ พงษธา


 

วัยหมดระดู (Postmenopause) คือ วัยที่มีการหยุดของรอบประจำเดือน โดยจะต้องมีประวัติว่าประจำเดือนขาดหายเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน โดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติอื่นๆ วัยหมดระดูเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง จนภาวะเจริญพันธุ์สิ้นสุดลง เป็นผลให้เกิดภาวะ hypoestrogenemia มีการเพิ่มขึ้นของ FSH (follicle-stimulating hormone) โดยอายุเฉลี่ย 51.4 ปี [1]

ได้มีการแบ่งระยะของภาวะเจริญพันธุ์ (The Stage Of Reproductive Aging Workshop, STRAW) ดังรูป

Meno-CVS1

* Blood draw on cycle days 2 to 5.
• Approximate expected level based on assays using current international pituitary standard.

รูปที่ 1: ระยะ (staging) ของภาวะเจริญพันธุ์(reproductive aging) ที่มา Harlow SD, Gass M, Hall JE, et al. Executive Summary of the Stages of Reproductive Aging Workshop + 10. J Clin Endocrinol Metab 2012.[2]

อาการแสดงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เริ่มพบได้ตั้งแต่ในช่วง menopausal transition หรือ perimenopause ไปจนถึงช่วง post menopause อาการแสดงที่พบได้ มีดังนี้

  1. Hot flashes เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในช่วง menopausal transition และ menopause โดยพบได้ถึง 80% ของสตรี แต่มีเพียง 20-30 % เท่านั้นที่มาพบแพทย์เพื่อต้องการการรักษา พบว่าบางคนจะเริ่มจากมีอาการในช่วงมีประจำเดือนของระยะ late reproductive และอาการเป็นมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ระยะ early menopausal transition (40%), late menopausal transition และ early postmenopause (60-80%)
    โดยอาการเริ่มด้วยมีความรู้สึกร้อนบริเวณหน้าอกส่วนบน,ใบหน้า และค่อยๆไปทั่วลำตัว เป็นอยู่ 2-4 นาที มักมีเหงื่อและใจสั่นร่วมด้วย บางครั้งมี anxiety ตามมา อาการ hot flashes มักเป็นหลายครั้งต่อวัน โดยมักจะเกิดตอนกลางคืน(night sweats) นอกจากนี้อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี แต่มีรายงานพบว่ามีได้ไปจนถึงหลังอายุ 70 ปี(9%)
  2. Sleep disturbance มักเกี่ยวข้องกับอาการ hot flashes อาการดังกล่าวพบได้ 32-40% ในช่วง early menopausal transition, 38-46% ในช่วง late menopausal transition การให้การรักษา vasomotor symptoms อาจช่วยให้อาการ sleep disturbance ดีขึ้น
  3. Depression มักวินิจฉัยได้ในช่วง menopausal transition
  4. Vaginal drynessเนื่องจาก vagina และ urethra เป็น estrogen-dependent tissue การขาดเอสโตรเจน ทำให้เกิดการบางตัวของชั้น epithelium เป็นผลทำให้เกิด atrophic vaginitis ซึ่งจะมีอาการ vaginal dryness, itching และ dyspareunia อาการดังกล่าวพบได้ 3,4,21,และ 47% ของระยะ reproductive, early menopausal transition, late menopausal transition และ three years postmenopausal stage ตามลำดับ โดยอาการจะเป็นรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาที่ขาดเอสโตรเจน สำหรับอาการอื่นๆที่พบร่วมได้
    • Pale vagina with lack of the normal rugae
    • The external genitalia : scarce pubic hair, diminished elasticity and turgor of the vulvar skin, introital narrowing and fusion or resorption of the labia minora
  5. Sexual dysfunction เกิดเนื่องจากมีการลดลงของ blood flow ที่ไปยัง vagina และvulva เป็นผลเนื่องจากการขาดเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีการลดลงของ vaginal lubrication และเกิด sexual dysfunction มีความยืดหยุ่นของช่องคลอดลดลง ทำให้เกิดช่องคลอดสั้นและแคบลง การมีเพศสัมพันธุ์ต่อเนื่องพบว่าสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงขนาดของช่องคลอดได้แม้ไม่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน[3]
  6. Cognitive changes จะมีปัญหา memory loss และการ concentrate เกิดในช่วง menopausal transition, menopause
  7. Joint pain พบว่าการให้ combined estrogen-progesterone therapy หรือ unopposed estrogen สามารถลดอาการได้
  8. Breast pain พบบ่อยในช่วง early menopausal transition และจะหายไปในช่วง late menopausal transition ซึ่งเกิดจากการ fluctuation ของเอสโตรเจน

Long term consequence of estrogen deficiency

  1. Bone loss เริ่มเกิดในช่วงของ menopausal transition โดยอัตราการสูญเสียสูงสุดในช่วง 1ปีก่อนและ2ปี หลังfinal menstrual period(FMP)
  2. Cardiovascular disease ความเสี่ยงในการเกิดเพิ่มขึ้นหลังจากmenopause เป็นผลจาก estrogen deficiency และจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเอง เช่น lipid profile (LDL เพิ่มขึ้นในช่วง menopausal transition, HDL เท่าเดิมในช่วง early post menopause)
  3. Dementia The Women’s Health Initiative (WHI) รายงานว่า การให้ unopposed estrogen หรือ combined estrogen-progestin therapy ไม่ได้มีประโยชน์ในเรื่องglobal cognitive ในกลุ่มnon-demented postmenopausal women
  4. Body composition การได้ hormone replacement therapy ช่วยลด central fat distribution
  5. Skin change เกิดจาก collagen ลดลง แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่พบว่าเอสโตรเจน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงลดลง

General approach

– กลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี

Menopausal transition เกิดในช่วงอายุเฉลี่ย 47 ปี ดังนั้นในการประเมินว่าหญิงที่อายุมากกว่า 45 ปี เข้าสู่ menopausal transitionแล้วหรือยังนั้นจะใช้อาการของวัยหมดประจำเดือนร่วมกับการมีรอบประจำเดือนผิดปกติ สำหรับผล FSH พบว่ายังมีความแปรปรวน ทำให้แปลผลผิดพลาดได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ผลเลือดในการประเมิน
แต่หากไม่มีอาการของวัยหมดประจำเดือนแต่มีลักษณะของรอบประจำเดือนผิดปกติ การใช้ผล FSH (>25 IU/L) จะช่วยในการวินิจฉัยได้
นอกจากนี้หากสงสัยว่ามีภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการของรอบประจำเดือนผิดปกติได้ ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมด้วย เช่น thyroid disease, hyperprolactinemia

-กลุ่มอายุ 40-45 ปี

หญิงที่มาด้วยอาการรอบประจำเดือนไม่สม่ำเสมอร่วมกับมีหรือไม่มีอาการของ menopause ในช่วงอายุ 40-45 ปี ควรตรวจหาสาเหตุอื่นก่อนเสมอ เช่น pregnancy,hyperprolactinemia, hyperthyroidism

-กลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปี
ควรตรวจหาสาเหตุอื่นที่ทำให้รอบประจำเดือนผิดปกติ สาเหตุที่สำคัญคือ primary ovarian insufficiency

-กลุ่มที่มีปัญหารอบประจำเดือนผิดปกติมาก่อน

พบในกลุ่ม polycystic ovary syndrome(PCOS), hypothalamic amenorrhea ควรใช้ค่า FSH ช่วยในการวินิจฉัย

-กลุ่มที่กินยาคุมกำเนิด

การกินยาคุมกำเนิดมีผลให้ไม่มีความผิดปกติของรอบประจำเดือนและไม่มีอาการของmenopause เนื่องจากมีการกด hypothalamic-pituitary axis ทำให้ค่า FSH แปลผลไม่ได้หากเจาะขณะกินยา จึงควรเจาะหลังหยุดยาคุมกำเนิด 2-4 สัปดาห์ หากมีค่า≥ 25 IU/L แสดงว่าน่าจะเข้าสู่ช่วง menopausal transition

-กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดhysterectomy หรือ endometrial ablation

ให้ใช้อาการและผล FSH
Late postmenopausal transition : FSH > 25 IU/L
Postmenopause :FSH 70-100 IU/L

Hormone replacement therapy

เป้าหมายในการใช้ฮอร์โมนก็เพื่อรักษา vasomotor symptom เป็นหลัก ซึ่งให้ผลตอบสนองดีต่อการใช้เอสโตรเจน พบว่าในหญิงสุขภาพดี การได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนในช่วงปลายอายุ40หรือ50ปี เมื่อใช้เป็นเวลา5ปี ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ

Meno-CVS2

รูปที่ 2: Approach to the patient with VMS contemplating MHT. TIA,transien t ischemic attack [3]

ชนิดของฮอร์โมนทดแทน

ฮอร์โมนทดแทนมีทั้งชนิดรับประทานและแบบแผ่นแปะผิวหนัง(transdermal) พบว่า

  • เอสโตรเจนทุกรูปแบบมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการ vasomotor symptom เท่ากัน แต่ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง มีความเสี่ยงในการเกิด venous thromboembolism, stroke น้อยกว่า
  • แนะนำว่าควรเลือกใช้ชนิดแผ่นแปะที่มีเอสโตรเจน 17-beta estrial (Grade 2C)
  • ในสตรีที่ยังมีมดลูก ต้องให้โปรเจสเตอโรนร่วมด้วยเพื่อป้องกันภาวะ Endometrial hyperplasia, carcinoma
  • แนะนำว่าควรเลือกใช้โปรเจสเตอโรนชนิด micronized progesterone พบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงของทั้ง breast cancer,CHD แม้ว่ายังมีข้อมูลจำกัด(Grade 2C)
  • ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรัง ได้แก่ osteoporosis, CHD, dementia (Grade 2B)

Menopause and cardiovascular risk

มีการศึกษาในระยะแรกพบว่า หญิงในกลุ่ม Early natural menopause (อายุ≤44ปี ) จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ศึกษาทั้งในกลุ่มที่สูบและไม่สูบบุหรี่[4, 5]

ผลของเอสโตรเจนต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ

ข้อดี

  • Lipid profile ดีขึ้น (เอสโตรเจนชนิดรับประทาน)
  • เพิ่ม endothelial function (แต่ไม่พบในคนที่ประจำเดือนหมดเป็นเวลานานและมีโรคหลอดเลือดหัวใจ)
  • Improve insulin sensitivity แต่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน

ข้อเสีย

  • Triglyceride เพิ่มขี้น (เอสโตรเจนชนิดรับประทาน)
  • Serum fibrinogen, factor VII และ antithrombin III ลดลง (เอสโตรเจนชนิดรับประทาน) แต่มีผลน้อยหากเป็นชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
  • มีการเพิ่มการสร้าง vascular inflammatory marker ของตับ ได้แก่ C-reactive protein(CRP) โดยเฉพาะเอสโตรเจนชนิดรับประทาน[6]

ผลของโปรเจสตินต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ

พบว่า Synthetic progestin ได้แก่ medroxyprogesterone acetate มีผลต้านกับเอสโตรเจนในเรื่องของไขมันและหลอดเลือด สำหรับ natural progesterone นั้น มีการศึกษาน้อย แต่ก็ไม่พบว่ามีผลต้านกับเอสโตรเจนในเรื่องของไขมัน

นอกจากนี้ทั้ง unopposed conjugated estrogen และ combined conjugated estrogen-progestin therapy มีผลเพิ่ม C-reactive protein

Primary prevention

ในการศึกษาช่วงแรกพบว่าการให้ estrogen therapy แบบระยะยาว(มากกว่า 5 ปี) มีผลป้องกันการเกิดcoronary heart disease (CHD) เป็นผลจากของเอสโตรเจน
หลังจากนั้นทาง Women’s Health initiative (WHI) trial พบว่าการให้ hormone replacement therapy ไม่ช่วยในเรื่อง primary prevention ของโรคหลอดเลือดหัวใจ[7, 8] ซึ่งศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน อายุ 50-79 ปี

จากการศึกษาหนึ่งของ WHI ได้ศึกษาการให้ combined continuous estrogen-progesterone เทียบกับยาหลอก ได้ยุติไปเนื่องจากพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด breast cancer, stroke, CHD, venous thromboembolism(VTE) หลังจากติดตามไปเฉลี่ย 5.2 ปี ถึงแม้จะพบว่ามีประโยชน์ในเรื่องลดความเสี่ยงของการเกิดfracture และ colon cancer[9]
ได้มีการศึกษาของ WHI ในการให้ unopposed estrogen (conjugated estrogen 0.625 mg) เทียบกับยาหลอกในผู้หญิงที่ทำ hysterectomy พบว่าเมื่อติดตามไป1ปี ได้ยุติลงเนื่องจากพบความเสี่ยงของการเกิด stroke และไม่พบว่ามีข้อดีอื่นๆ[8]

Combined estrogen-progestin

จากรายงานในระยะแรกของ WHI พบความเสี่ยงของcoronary heart disease(hazard ratio = 1.24) แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่อๆมาพบว่า ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นผลจากอายุเยอะ นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ body mass index(BMI), vasomotor symptom, coronary risk factor, aspirin, statin พบว่าไม่มีผลต่อการ CHD risk ในคนที่ได้รับ hormone replacement therapy[10] นอกจากนี้ยังพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด stroke, breast cancer และ VTE เล็กน้อยแบบindividual
แต่ได้มีการศึกษาของ Women’s International Study of Long-Duration Oestrogen After Menopause (WISDOM) พบว่า เมื่อติดตามไป 12 เดือน มีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด CHD และ VTE แต่ไม่พบเพิ่มความเสี่ยงของ stroke แต่การศึกษาดังกล่าวไม่ได้วิเคราะห์เรื่องอายุและระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน[11]

Unopposed estrogen

จากรายงานของ WHI พบว่า hazard ration ต่อ CHD เท่ากับ 0.95 [8]ซึ่งเป็นผลป้องกันการเกิด CHD ในสตรีอายุ 50-59 ปี[12] ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า progestin เป็นตัวหลักที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อ CHD
ส่วนผลอื่นๆของ unopposed estrogen ได้แก่ stroke, VTE

Predictors of risk of CHD

  • การใช้ statin, diabetic mellitus, ค่า lipid markers, thrombotic markers, imflammatory marker มีผลต่อ CHD event
  • Baseline LDL cholesterol สูง พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของ CHD ในคนที่ได้ menopausal hormone therapy
  • Combined therapy มีผลกับ biomarker : CRP, HDL, triglycerides เพิ่มขึ้น, LDL ลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลกับความเสี่ยงของ CHD

Timing of exposure

จากหลายการศึกษาสรุปได้ว่าระยะเวลาที่ได้รับฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงของ CHD โดยหากได้รับหลังหมดประจำเดือนระยะแรกๆ พบว่าไม่ผลต่อความเสี่ยงของ CHD โดยมีความสัมพันธ์กับ subclinical atherosclerosis baseline โดยในคนที่อายุไม่มากจะมีลักษณะของ atherosclerotic plaque ที่ยังคงที่

มีการศึกษาของ WHIได้กล่าวถึงเรื่อง cardioprotective effect ของการให้ hormone therapy และ estrogen therapy ซึ่งเรียกว่า timing hypothesis กล่าวว่า สตรีที่เพิ่งหมดประจำเดือนจะได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยฮอร์โมนมากกว่ากลุ่มที่หมดประจำเดือนไปแล้ว ≥ 10 ปี หรืออายุมากกว่า 60 ปี หลังจากนั้นมีหลายการศึกษาหลัก ๆ ดังนี้

  • the HERS trial(1998), the HERS II trial(2002 ): พบว่าในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่เดิม การให้ hormone therapy ไม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดถึง 52%[13, 14]
  • WHI (ปี 2002): พบว่าการให้ hormone therapy ในคนที่สุขภาพดี เมื่อติดตามไป 5.2ปี จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่การศึกษาก็ได้ยุติลงเนื่องจากพบว่ามีผลเสียต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจและในเรื่อง global index (มีความเสี่ยงของการเกิด breast cancer, stroke, pulmonary embolism, endometrial cancer, colorectal cancer, hip fracture) และพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติการณ์ของหลอดเลือดหัวใจ 29% ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากเริ่มทำการศึกษา[9]
  • ET trial (Follow up ต่อของ WHI trial),(2004) : การได้ estrogen therapy อาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มที่ใช้เป็นเวลานาน แต่ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก[8]
  • The WHI Coronary Artery Calcium Study(2007) : ศึกษาในสตรี 1,064 คน อายุ 50-59 ปี ซึ่งเป็นคนที่เข้าร่วมการศึกษาของ WHI ในส่วนที่ได้รับ Estrogen therapy โดยได้ทำ computed tomography ของหัวใจ เพื่อดูระดับของ coronary artery calcium burden โดยพบว่าคนที่ได้รับ Estrogen therapy จะมีระดับดังกล่าวน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และในคนที่ได้รับฮอร์โมนต่อเนื่อง(80% ใช้นาน≥5ปี) ยังช่วยลดเรื่องของ coronary artery calcification [8]

Secondary prevention

ถึงแม้ว่ามีหลายการศึกษาบอกว่าในสตรีที่มี CHD จะได้รับประโยชน์หากได้รับการป้องกันการเกิด coronary event แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันของประโยชน์ชัดเจน
จากหลายการศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่า

Estrogen therapy

  • Estrogen therapy ไม่เพิ่มความเสี่ยงของ coronary heart disease หากเริ่มได้รับตั้งแต่อายุน้อยกว่า 60 ปี และอาจจะลดความเสี่ยงได้ด้วย[15]
  • การให้แบบ oral หรือ transdermal ไม่มีความแตกต่างของการเกิด coronary heart disease และขนาดของ estrogen ก็ไม่มีผล[15]

Combined estrogen progesterone therapy

  • สตรีที่เป็น early menopause และไม่มีความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ และมีอาการของวัย
  • หมดประจำเดือน ควรพิจารณาให้ estrogen therapy หรือ conjugated equine estrogenร่วมกับ progestin (medroxyprogesterone acetate or micronized progesterone)[16]
  • การให้ estrogen progesterone therapy ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจหากให้ตอนใกล้เข้าสู่วัยหมดระดู

เอกสารอ้างอิง

  1. RobertF Casper, M., Clinical manifestations and diagnosis of menopause,UpToDate. 2016.
  2. Harlow, S., et al. STRAW 10 Collaborative Group. in Executive summary of the Stages of Reproductive Aging Workshop.
  3. Cutler, W.B., C.R. Garcia, and N. McCoy, Perimenopausal sexuality. Archives of Sexual Behavior, 1987. 16(3): p. 225-234.
  4. Charalampopoulos, D., et al., Age at menarche and risks of all-cause and cardiovascular death: a systematic review and meta-analysis. American journal of epidemiology, 2014. 180(1): p. 29-40.
  5. Lakshman, R., et al., Early age at menarche associated with cardiovascular disease and mortality. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 2009. 94(12): p. 4953-4960.
  6. Brosnan, J.F., B.L. Sheppard, and L.A. Norris, Haemostatic activation in post-menopausal women taking low-dose hormone therapy: less effect with transdermal administration? Thrombosis and haemostasis, 2007. 97(4): p. 558-565.
  7.  Investigators, G.f.t.W.s.H.I., Risk and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal women: principal results from the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. JAMA, 2002. 288(3): p. 321-333.
  8. Anderson, G., et al., Women’s Health Initiative Steering Committee. Effects of conjugated equine estrogen in postmenopausal women with hysterectomy: the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. Jama, 2004. 291(14): p. 1701-1712.
  9. Investigators, W.G.f.t.W.s.H.I., Risks and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal women: principal results from the Women’s Health Initiative randomized controlled trial. Jama, 2002. 288(3): p. 321-333.
  10. Manson, J.E., et al., Estrogen plus progestin and the risk of coronary heart disease. New England Journal of Medicine, 2003. 349(6): p. 523-534.
  11. Vickers, M.R., et al., Main morbidities recorded in the women’s international study of long duration oestrogen after menopause (WISDOM): a randomised controlled trial of hormone replacement therapy in postmenopausal women. Bmj, 2007. 335(7613): p. 239.
  12. Hsia, J., et al., Conjugated equine estrogens and coronary heart disease: the Women’s Health Initiative. Archives of internal medicine, 2006. 166(3): p. 357-365.
  13. Hulley, S., et al., Randomized trial of estrogen plus progestin for secondary prevention of coronary heart disease in postmenopausal women. Jama, 1998. 280(7): p. 605-613.
  14. Grady, D., et al., Cardiovascular disease outcomes during 6.8 years of hormone therapy: Heart and Estrogen/progestin Replacement Study follow-up (HERS II). Jama, 2002. 288(1): p. 49-57.
  15. Stuenkel, C.A., et al., Treatment of symptoms of the menopause: an Endocrine Society Clinical Practice Guideline. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 2015. 100(11): p. 3975-4011.
  16. Manson, J.E. and S.S. Bassuk, Invited commentary: hormone therapy and risk of coronary heart disease—why renew the focus on the early years of menopause? American Journal of Epidemiology, 2007. 166(5): p. 511-517.

 

Read More

Nutrition in menopause

Nutrition in menopause

พญ. ราชาวดี ตันวิสุทธิ์
ศ. พญ. สายพิณ พงษธา
ผศ. พญ. ศุภวรรณ บูรณพิร


Geriatric nutrition หรือโภชนาการในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปนับเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งจะรวมถึงกลุ่มสตรีวัยหมดระดู ปัจจุบันประชากรมีแนวโน้มอายุมากขึ้น อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง พบมากขึ้น และกลุ่มโรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหาร

เมื่ออายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่คงเดิม (total body weight) จะมีสัดส่วนของกล้ามเนื้อลดลง (lean body mass) และสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้น(sarcopenia) ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

Nutrition1

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการใช้พลังงานลดลงลดความไวต่อการออกฤทธิ์ของ insulin และสมรรถภาพในการดำรงชีวิตต่างๆ ลดลง มีแนวโน้มที่จะต้องใช้ไม้ค้ำยัน ไม้ช่วยพยุงมีโอกาสหกล้มได้สูงขึ้นกิจวัตรประจำวันต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสมรรถภาพทางกายไม่เอื้ออำนวย อาทิเช่น การไปซื้อของจ่ายตลาด เตรียมอาหาร รวมถึงการหาอาหารเพื่อหาเลี้ยงชีพตัวเองด้วยซึ่งท้ายสุดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะทุพลภาพต่างๆ

ภาวะวัยหมดระดู หรือ Menopause มีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญและภาวะเมตาโบลิกต่างๆ เพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคกลุ่ม cardio-metabolic เนื่องจากหลายสาเหตุได้แก่

  • ภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance)ลดการนำ glucose ไปใช้ และขณะเดียวกันการมีน้ำตาลในเลือดสูงเอง นำไปสู่การสร้าง insulin ที่มากขึ้นไปอีก ภาวะเหล่านี้นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานนอกจากนี้การมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเอง ร่วมกับการใช้พลังงานลดลง ก็นำไปสู่ภาวะดื้อ insulin ได้เช่นกัน
  •  ภาวะอ้วนลงพุง เนื่องจากมีการลดลงของ estrogen ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ androgen ทำให้สตรีวัยหมดระดูมีปัญหาอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ไขมันผิดปกติ ระดับ estrogen ที่ลดลงส่งผลทำให้ LDL สูงขึ้น และ HDL ลดลง
  • ความดันโลหิตสูง สืบเนื่องมาจากภาวะดื้อ insulin ทำให้ไตดูดซึม sodium กลับได้มากขึ้น และกระตุ้น sympathetic nervous system ทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นตามมา
  •  Pro-inflammatory cytokines, coagulation-fibrinolysis system และ cytokines ต่างๆ ได้แก่ IL-1, IL-6, IL-18, factor VII, fibrinogen และ PAI-1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • การลดลงของ adiponectin ที่สร้างจาก adipocyte ซึ่งมีผลต่อการออกฤทธิ์ของ insulin, anti-inflammatory และลดการสร้าง glucose จากตับ

Macronutrients

กลุ่มสารอาหารให้พลังงาน โดยการควบคุมปริมาณอาหารและพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโภชนาการที่ดี โดยทั่วไปแล้ว ในสตรีวัยหมดระดูเองก็ยังต้องการพลังงานไปใช้ในการดำรงชีวิต และกิจวัตรประจำวันต่างๆ หลักการคำนวณพลังงาน(EER, estimated energy requirement) อาศัยจากอายุ เพศ น้ำหนัก และกิจกรรมที่ทำ โดยคำนวณจากสูตร

EER = 354.1 – [(6.91*age (yr)] + [PAC * (9.36*Wt. (kg)] + [726*Ht. (m)]

โดยที่ PAC (Physical Activity Coefficient)

  • Sedentary 1.0
  • Low activity 1.12
  • Active 1.27
  • Very active 1.45

 

สารอาหารที่ให้พลังงานหลักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยควรเลือกรับประทานให้เป็นสัดส่วน

Nutrition2

 

Protein

โปรตีนเป็นสารที่ให้พลังงานประมาณ4 kcal/gโดยควรรับประทานโปรตีน ให้เป็นสัดส่วน 15% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ซึ่งในแต่ละช่วงอายุ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำแตกต่างกันไป ดังแสดงในตาราง

Nutrition3

การรับประทานโปรตีนไม่พอเพียงเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะ sarcopenia ที่พบในผู้สูงอายุได้มากขึ้น มีงานวิจัยในสตรีวัยหมดระดูเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรตีนพอเพียง เทียบกับไม่พอเพียงเป็นเวลา 6 สัปดาห์พบว่าสัดส่วนของ lean body mass ลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ และพบว่ามากกว่า 10% ของผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกาบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอกับที่ RDA แนะนำ

โปรตีนสามารถได้จากเนื้อสัตว์ ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง หรือไข่ซึ่งเป็นอาหารทางเลือกที่ให้โปรตีนคุณภาพสูง และในกรณีที่สตรีไม่สามารถรับประทานอาหารได้พอเพียง อาจพิจารณาเสริมโปรตีนในรูปแบบอื่นๆ เช่น นมผง Whey protein ไข่ขาว หรือเต้าหู้

Carbohydrate

คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 kcal/g เช่นเดียวกับโปรตีน โดยสัดส่วนของพลังงานที่ควรได้รับจากคาร์โบไฮเดรตควรจะเป็น 50-60%ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักในชีวิตประจำวัน โดยสารอาหารกลุ่มนี้ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

หลักในการเลือกคือ แนะนำให้บริโภคอาหารที่มี low glycemic index และเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) โดย glycemic index (GI) คือ ดัชนีที่ใช้ตรวจวัดคุณภาพของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เท่ากันโดยภายหลังการบริโภค 2-3 ชั่วโมง จะสามารถเพิ่มระดับกลูโคสในเลือดได้มากหรือน้อย โดยมีค่า GIตั้งแต่ 0 ถึง 100 เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานคือ น้ำตาลกลูโคสหรือขนมปังขาวซึ่งมีค่า Gl เท่ากับ 100โดยจัดเป็น Low GI (≤ 55), Medium GI (56–69) และ High GI(≥ 70)

อาหารที่มีค่า Gl ต่ำ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 55 หรือ น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ในขณะที่สารที่มีค่า GI สูง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดมากซึ่งเมื่อนำไปใช้จริง พบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารเพียงอย่างเดียว แต่สัมพันธ์กับปริมาณด้วย ปัญหาของ Glycemic index คืออาหารแต่ละอย่างมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน การจะเปรียบเทียบกันจึงต้องใช้ glycemic load เข้ามาช่วย

Glycemic load = GI * Carbohydrate content in food (g)/100

แบ่งเป็น Low GL(≤ 10), Medium GL (11-19) และ High GL(≥ 20) เทียบกับระดับน้ำตาลจากการรับประทานขนมปังขาว 1 g โดยทั่วไป อาหารที่มี fiber มาก จะมีค่าglycemic load ต่ำ

 

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue_green.css]}

GL 10

GL 11 – 19

GL 20

          เนื้อสัตว์

          ถั่วเหลือง ถั่วดำ

          ผลไม้ที่มีใยอาหารมากเช่นแครอต, ถั่วเขียว, แอปเปิ้ล, แตงโม และส้มโอ

          ธัญพืชเม็ดมะม่วงหิมพานต์และถั่วลิสง

          ขนมปังธัญพืช

          น้ำมะเขือเทศ

          นม

          Pastaและขนมปังธัญพืช

          Oatmeal

          น้ำผลไม้สดที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล

          ข้าวกล้อง

          มันฝรั่งหวาน

          Graham crackers

         เครื่องดื่มที่มีรสหวาน

         ลูกอม

         น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำตาล

         ข้าวสวย

         White pasta

         มันฝรั่งทอดและมันบด

         Low-fiber cereals (high in added sugar)

         Macaroni และcheese

         ลูกเกดและอินทผารัม

  Fat

ไขมันเป็นสารที่ให้พลังงานมาก โดยให้พลังงานถึง 9 kcal/g โดยควรรับประทานให้ได้ 25-35% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ลักษณะของไขมันที่รับประทานนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญมากพอๆ กับปริมาณ โดยไขมันมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว

  • ไขมันอิ่มตัวมักพบในน้ำมันจากสัตว์และพืชบางชนิด ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มส่งผลต่อการเพิ่มระดับ total cholesterol เพิ่มระดับ LDL แต่ไม่ส่งผลต่อระดับ HDL
  • ไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนมากพบในน้ำมันที่ได้จากพืช แบ่งย่อยเป็น
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เป็นไขมันลักษณะดีที่ช่วยลด LDL triglyceride และไม่ส่งผลต่อระดับ HDLในประเทศแถบเมดิเตอเรเนียนที่มีการบริโภคน้ำมันมะกอกมาก และในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดภาวะ insulin resistance ได้ จึงแนะนำให้ใช้ไขมันชนิดนี้ทดแทนไขมันอิ่มตัว
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ประกอบด้วยโดยกรดไขมันจำเป็น เช่น linoleic acid, omega-3 พบในน้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันดอกคำฝอยน้ำมันปลา หรือปลาบางชนิด ได้แก่Salmon, Mackerel, Anchovies, Sardines, Herringการบริโภคน้ำมันเหล่านี้ลดระดับของtriglycerideซึ่งส่งผลให้ลดระดับ LDL ด้วยแต่มีผลลด HDL จึงจำกัดการใช้ไขมันชนิดนี้ด้วย
  • ในปัจจุบันมีไขมันอีกลักษณะที่เป็นอันตราย คือ Trans fat โดยมากพบในผลิตภัณฑ์เช่น มาการีนหรือเนยขาว ซึ่งได้มาจาก hydrogenation ของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ส่งผลต่อการเพิ่มระดับของ LDL ได้เล็กน้อย แต่กลับลดระดับ HDL อย่างมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าการบริโภคไขมันอิ่มตัวจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ต่างก็มีองค์ประกอบของกรดไขมันทั้ง 2 ชนิด เพียงแต่สัดส่วนจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพืชหรือสัตว์ที่นำมาเป็นน้ำมัน Dietary Guidelines for Americans ปี 2010 แนะนำเกี่ยวกับการบริโภคไขมันว่า ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ควรเลือกเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแทน บริโภค cholesterol น้อยกว่า 300 mg/day และเลือกบริโภค Trans fat ให้น้อยที่สุด หรือน้อยกว่า 1% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

โดนสรุป National heart lung and blood institute (NHBLI) แนะนำการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังตาราง

Nutrition4

Micronutrientand supplementations

Water

ในสภาวะปกติ ควรได้รับน้ำโดยขั้นต่ำ 1,600 ml ต่อวัน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย และถูกขับออกไปทางปัสสาวะ อุจจาระ การหายใจ และผิวหนัง โดยปริมาณน้ำที่ได้รับไม่ได้มาจากการดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว มาจากน้ำดื่มโดยประมาณ500 mlน้ำในรูปของอาหารต่างๆ 800 ml และจาก carbohydrateoxidation ในร่างกาย 300 ml

ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำหวาน หรือน้ำที่ปรุงแต่งรสต่างๆ เนื่องจากมีโอกาสได้รับน้ำตาลในปริมาณสูงซึ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

Sodium

ปัจจุบันพบว่าคนส่วนมากรับประทาน sodium โดยเฉลี่ย 3,300 mg/day ซึ่งมากเกินความจำเป็น และอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ Dietary Guidelines for Americans ปี 2010 แนะนำให้รับประทาน sodium ไม่เกิน 2,300 mg/day (100 meq/day) และในผู้ที่อายุมากกว่า 51 ปี มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต ควรลดปริมาณ sodium ไม่เกิน 1,500 mg/day

ตารางแสดงปริมาณ sodium ในอาหารแต่ละชนิด โดยสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย

อาหาร (1 ช้อนโต๊ะ)

ปริมาณ sodium

ซีอิ๊วขาว

ซอสหอยนางรม

กะปิ

เกลือ

ผงชูรส (1 ช้อนชา)

น้ำพริกเผา

น้ำพริกตาแดง

1160-1490

420-490

1430-1490

2000

492

410

560

Vitamin B12

พบการขาด Vitamin B12 ได้มากขึ้น โดยประมาณ10-20% ในกลุ่มผู้สูงอายุนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง รวมถึงอาจมีความผิดปกติของระบบประสาทได้ สาเหตที่พบ Vitamin B12 deficiency ได้มากขึ้น สัมพันธ์กับการขาด intrinsic factor, ภาวะ atrophic gastritis, gastric achlorhydria ซึ่งนำไปสู่การดูดซึม vitamin B12 ที่แย่ลง

ในบางที่แนะนำให้ตรวจคัดกรองระดับ vitamin B12 ในเลือด โดยอาศัยการแปลผลว่า ค่า Plasma B12 level ในระดับปกติ คือ >300 pg/mL และค่า <200 pg/mLให้สงสัยว่ามีภาวะขาด vitamin B12 ในขณะนี้ถ้าช่วงอยู่ในค่าก้ำกึ่ง ควรได้รับการตรวจ MMA level (methylmalonic acid)หากพบค่าสูง นึกถึงว่าน่าจะมีภาวะขาด vitamin B12 จริง หรืออาจส่งเสริมให้ผู้ที่อายุ >51 ปีทุกรายได้รับ vitamin B12 10-15 mcg/day โดยอาจมาจากการรับประทานอาทิเช่น ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ หรือในรูปแบบ supplement แต่ในผู้ที่มีภาวะ food cobalamin malabsorption-induced B12 deficiency แนะนำให้ได้รับเสริม 1,000 mcg/day

Vitamin D

RDA ของ vitamin D ในช่วงก่อนอายุ 70 ปีคือ 600 IU/day และเมื่ออายุมากขึ้น จะเพิ่มเป็น 800 IU/day โดยส่วนใหญ่ของ vitamin D ในร่างกายได้จากการเปลี่ยน pre-vitamin D3เป็น D3 form ที่ผิวหนังโดยการกระตุ้นด้วย UV อาหารที่มี vitamin D พบได้น้อย เช่น ตับปลา Cod ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น นม ธัญพืชบางชนิดมีการเสริม vitamin D

การขาด vitamin D สัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ กลุ่มที่อยู่แต่กับบ้าน ไม่ได้เผชิญแสงแดด หรือผู้ที่อาศัยแถบขั้วโลก คนอ้วน ผิวสีเข้ม มีภาวะกระดูกพรุน มีปัญหาทางด้านการดูดซึม โรคไต แม้ในผู้สูงอายุที่แข็งแรงอาจมีปัญหาได้ เนื่องจากประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูป pre-vitamin D3 ที่ผิวหนังลดลง

แนะนำให้ตรวจคัดกรองด้วย 25-OHD level ในกลุ่มมีความเสี่ยง โดยหาก ≥30 ng/ml ถือว่าปกติอาการของการขาด vitamin D อาจทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึมเศร้า และปัญหาสำคัญคือการเกิดปัญหาเรื่องของ relative hypocalcemia และ parathyroid hormone สูง ซึ่งเกี่ยวพันกับปัญหา กระดูกพรุนและหักตามมา

Calcium

พบว่าการดูดซึม calcium ลดลงอย่างชัดเจนหลังอายุ 60 ปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการขาด calcium สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนตามมาโดยพบว่าภาวะ hypoestrogenic state สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะ 5 ปีแรกหลังหมดระดูจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว

Adequate intake (AI) ของ calcium ในผู้อายุ >51 ปี คือ 800-1200 mg/dayโดยอาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มี calcium สูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ปลาที่ทานพร้อมกระดูกได้ เต้าหู้

Multivitamin supplementation

แนะนำให้ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เช่น อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่แนะนำให้เป็น routine supplementationเนื่องจากพบว่าในบางรายอาจมีปัญหาจากการได้รับ niacin, folic acid, vitamin A ในปริมาณที่มากเกินไป

Appetite stimulants

ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจน ยาบางตัวที่ใช้ เช่นmegestrol acetate หรือ progestational agent มีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความอยากอาหารในกลุ่มผู้ป่วย anorexia/cachexia และพบว่าสามารถเพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งได้ ผลข้างเคียงที่สำคัญของ megestrol acetate คือบวม และอาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดภาวะ adrenal insufficiency ได้

Alcohol drinking

โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในปัจจุบันพบว่าการดื่ม 1 standard drink/dayคือไวน์ 150 มล. วิสกี้ 45 มล. หรือ เบียร 360 มล. ในสตรีช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งต้องชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงเดิม อาทิเช่น เพศ อายุ หรือโรคประจำตัวอื่น ดังนั้นในผู้ที่ไม่ได้ดื่มเป็นประจำไม่แนะนำให้เริ่มดื่มเพื่อลดความเสี่ยงนั้น

Nutrition problems in geriatrics

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางโภชนาการอยู่แล้ว ทั้ง mal/overnutrition ซึ่งสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ โรคประจำตัว การเข้านอนโรงพยาบาล หรือปัญหาทางด้านเศรษฐานะ ที่ทำให้การเข้าถึงโภชนาการต่างๆ เป็นเรื่องยาก ซึ่งอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

Malnutrition

การศึกษาถึงความชุกของภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ พบถึง 22.8% โดยพบมากในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่บ้านพักคนชรา ในโรงพยาบาล และมีบ้านพักส่วนตัว คิดเป็น 17-65%, 15-40% และ 3-11% ตามลำดับ

ในกรณีที่สตรีวัยหมดระดูมาตรวจ แล้วพบว่ามีน้ำหนักลดลง โดยถือว่าน้ำหนักที่ลดอย่างมีนัยสำคัญคือ มากกว่า 10% ใน 6 เดือน หรือ7.5% ใน 3 เดือน หรือ 5% ใน 1 เดือน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่ต้องคิดถึง ได้แก่ 1. ปัญหาจากการเข้าถึงอาหาร คนดูแล ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเบื่ออาหาร หรือภาวะซึมเศร้า 2. การที่กล้ามเนื้อฝ่อจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse or muscle atrophy) 3. Inflammatory effects of disease หรือโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น Hyperthyroidism, DM, COPD, renal disease, การติดเชื้อบางอย่าง เช่น TB 4. Malignancy โดยพบได้ถึง 9% ของผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยน้ำหนักลด และ 5. ปัญหาทางการกลืนหรือการดูดซึมของลำไส้

เมื่อพบผู้ป่วยมาปรึกษาด้วยเรื่องน้ำหนักลด สิ่งที่ควรทำคือ การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ รวมถึงด้านPsychosocial ส่วนของ Laboratory investigation อาจพิจารณาส่ง CBC, BUN, Cr, electrolytes, TFT, CRP และในกรณีที่ผลการตรวจเบื้องต้นปกติ การพิจารณา CT chest, abdomen ควรพิจารณาบางราย พิจารณาส่ง GI endoscopy ในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้าน GI symptoms เช่น อิ่มเร็ว ทานได้น้อย หรือประวัติ Bowel habit change

Over nutrition

ถือว่า overweight เมื่อ BMI ≥ 25 kg/m2 และอ้วนเมื่อ BMI ≥30 kg/m2พบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทาง cardio-metabolic ต่างๆ มากมาย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาทางเดินหายใจ obstructive sleep apnea และระบบอื่นๆ แต่ในปัจจุบันงานวิจัยหลังๆ แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักมาก เพิ่ม mortality เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับภาวะ malnutrition

สรุป

  • หลักในการรับประทานอาหารของหญิงวัยหมดระดูควรเน้นความพอดี ทั้งพลังงานรวมที่จะได้รับ และสัดส่วนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อสุขภาพที่ดี โดยประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในสัดส่วน 50%, 35%, 15% ตามลำดับ และควรเลือกประเภทของสารอาหารแต่ละชนิดดังที่กล่าวไป
  • รับประทานน้ำอย่างน้อย 1,600 ml/day
  • ควบคุมปริมาณของ sodium ในอาหาร ไม่ให้เกิน 2,300 mg/day
  • อาหารเสริมที่แนะนำในสตรีวัยหมดระดูที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนโดยรวม คือ Calcium800-1200 mg/day, Vitamin D 600-800 IU/day
  • ปัญหาต่างๆ ที่พบในผู้สูงอายุ อาทิเช่น กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ภาวะทุพลลภาพ ควรได้รับการสังเกต และติดตามเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Dietary and nutritional assessment in adults [Internet]. Aug 20, 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-and-nutritional-assessment-in-adults?source=search_result&search=nutrition&selectedTitle=3%7E150.
  2.  Dietary fat [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-fat?source=search_result&search=fat+diet&selectedTitle=1%7E150.
  3. Salt intake, salt restriction and primary (essential) hypertension [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/salt-intake-salt-restriction-and-primary-essential-hypertension?source=search_result&search=salt+diet&selectedTitle=4%7E150.
  4. Healthy diet in adults [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/healthy-diet-in-adults?source=related_link.
  5. Geriatric nutrition: Nutritional issues in older adults [Internet]. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/geriatric-nutrition-nutritional-issues-in-older-adults?source=search_result&search=Geriatric+nutrition%3A+Nutritional+issues+in+older+adults&selectedTitle=1%7E150.
  6. Dietary carbohydrate [Internet]. Uptodate. 2014 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-carbohydrates?source=search_result&search=carbohydrate+dietary&selectedTitle=1%7E77.
  7. จุลวิจิตรพงษ์ รนส. ความก้าวหน้าทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์. 1 ed: คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2012.
  8. Jan L. Shifren IS. Berek &Novak’s Gynecology. 15 ed: Department of Obstetrics and Gynecology, Stanford University School of Medicine; 2012.
  9. Overview of the management of osteoporosis in postmenopausal women [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/overview-of-the-management-of-osteoporosis-in-postmenopausal-women?source=search_result&search=osteoporosis&selectedTitle=1%7E150.
  10. Marilyn S. Edwards P, RD/LD, FACN Associate Professor. Nutritional and Preventive Medicine Handbook. The Albert Einstein College of Medicine Of Yeshiva University 2001.
Read More

Benefit and risk of postmenopausal hormone therapy

Benefit and risk of postmenopausal hormone therapy

พ.ญ. วสกร เสือดี
อ.ที่ปรึกษา ร.ศ. พ.ญ. สายพิณ พงษธา


ภาวะหมดระดู (Menopause )

ภาวะหมดระดู คือการที่มีการขาดหายไปของระดูเกิดขึ้นติดต่อกัน 12 เดือน โดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงจะเข้าสู่ภาวะหมดระดูอายุประมาณ 51 ปี (1, 2) ภาวะหมดระดูนี้ทำให้ผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะนี้มีอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งสร้างจากฟอลลิเคิลในรังไข่(2) โดยในหญิงวัยหมดระดูนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการที่รังไข่นั้นมีการหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอร์โรน อันเนื่องมาจากการเกิดการลดลงของตัวฟอลลิเคิลจากกระบวนการ apoptosis หรือ programmed cell death และจากการที่รังไข่ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนจะยังคงมีอยู่ในระดับต่ำ จากการที่มี peripheral aromatization จากเนื้อเยื่อไขมัน และจากการที่รังไข่มีการหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอร์โรนทำให้มี negative feedback ทำให้ฮอร์โมน FSH จากต่อมใต้สมองเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การที่ฟอลลิเคิลในรังไข่มีปริมาณลดลงทำให้ ลดการสร้าง inhibin ซึ่งสร้างจาก granulosa cell ทำให้ปริมาณของ inhibin ลดลงจึงทำให้การสร้าง FSH เพิ่มขึ้น (โดยปกติแล้ว inhibin จะกดการสร้างและการหลั่ง FSH)

ฉะนั้นการที่มีระดับ FSH สูงขึ้นและมีระดับ inhibin ที่ต่ำลงก็เป็นลักษณะเฉพาะที่พบได้เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดระดู(1)

Perimenopause, climacteric, menopausal transition คือหญิงวัยกำลังหมดระดู เป็นช่วงการที่กำลังจะหมดระดูคือการที่ฮอร์โมนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลดลง และการที่เอสโตรเจนเริ่มลดลงทำให้เริ่มมีรอบระดูผิดปกติ และมีอาการของวัยหมดระดูได้

ปัญหาที่สำคัญในหญิงวัยหมดระดู(1)

ในวัยภาวะหมดระดู ถ้าเกิดขึ้นเร็วพบว่าจะเพิ่มความเสี่ยต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ และโรคกระดูกพรุนได้ ส่วนการที่หมดระดูช้าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการได้รับเอสโตรเจน คือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม

เมื่อเข้าสู้วัยหมดระดู โรคเรื้อรังมักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น พบว่าเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ทั้งเรื่องโรคเมตาบอลิก โรคอ้วน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคข้อเสื่อม โรคความจำเสื่อม โรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังพบว่าวัยหมดระดูจะมีอาการ vasomotor symptoms และปัญหาทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ได้

ปํญหา Vasomotor symptoms

อาการ Vasomotor symptoms พบในหญิงวัยกำลังหมดระดูได้ร้อยละ 75 โดยอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะคงอยู่จนถึง 1-2 ปีหลังจากเข้าสู้วัยหมดระดู อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้อาจมีจนถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้นในหญิงบางราย โดยสาเหตุการเกิดอาการเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเอสโตรเจนที่ลดน้อยลง(3) ทำให้ซึ่งอาการ ร้อนวูบวาบ (hot flush ) เป็นปัญหาหลักที่ทำให้หญิงวัยหมดระดูมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

อาการ vasomotor symptoms มักมีอาการร้อนวูบวาบบริเวณลำตัวส่วนบน โดยเฉพาะบริเวณหน้า คอ และอก อาการมักจะเป็นประมาณ 1-5 นาที นอกจากนี้อาจมีอาการเหงื่อออก หนาวสั่น ลำตัวเย็นชื้น วิตกกังวล หรือรู้สึกใจสั่นได้(2) อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน และปัญหาต่อการนอนหลับได้

ปัญหาทางช่องคลอดและระบบปัสสาวะ (Urogenital atrophy)

ช่องคลอดแห้งฝ่อ (Vaginal atrophy)(2) สาเหตุจากการลดน้อยลงของเอสโตรเจนในวัยหมดระดู

The North American Menopause Society พบว่าหญิงวัยหมดระดู ร้อยละ 10-40 จะมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะหรือปัญหาช่องคลอดแห้งฝ่อ อาการที่พบได้เช่น อาการแห้งบริเวณปากช่องคลอด หรือภายในช่องคลอด การมีสารคัดหลั่งผิดปกติ อาการคัน รวมถึงอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

ปัญหาที่พบเกิดจากการบางลงของเยื่อบุ รอยย่นในช่องคลอดหายไป และความยืดหยุ่นในช่องคลอดลดลง การที่ช่องคลอดแคบลงและตื้นขึ้น เยื่อบุผิวบางและฉีกขาดได้ง่าย ไขมันบริเวณแคมใหญ่ลดลง ปัญหาต่างๆเหล่านี้ทำให้ปากช่องคลอดแคบลง แคมเล็กทั้งสองข้างติดกัน เกิดปัญหาต่อการปัสสาวะภายหลังได้ นอกจากนี้การที่ระดับความเป็นกรดในช่องคลอดลดลงจากการลดลงของเอสโตรเจน ทำให้แบคทีเรียที่ผิดปกติในช่องคลอดเพิ่มจำนวนขึ้นอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะได้

ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)

ภาวะกระดูกพรุน คือภาวะที่ความแข็งแกร่งของกระดูกลดลง ทำให้มีกระดูกหักได้ง่าย บริเวณที่มีกระดูกพรุ่นที่หักได้ง่าย ได้แก่บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ กระดูกเชิงกราน กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกไหปลาร้า กระดูกก้นกบ และกระดูกต้นแขน การหักของกระดูกเหล่านี้นำไปสู่ความพิการ เพิ่มความเจ็บป่วย และการเสียชีวิตได้ โดยพบว่าหญิงอายุมากกว่า 50 ปี มีถึง 1ใน 3 ที่เกิดกระดูกหักจากการมีภาวะกระดูกพรุน (4)

โดยปกติฮอร์โมนเอสโตรเจนจะช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและยับยั้งการละลายของกระดูก และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียม การขาดเอสโตรเจนจึงทำให้กระดูกพรุนได้

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mass density: BMD) จะช่วยในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน และเนื่องจากว่าประเทศไทยยังไม่สามารถทำการตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุนได้หญิงทุกคนได้ จึงต้องพิจารณาถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน โดยแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคกระดูกพรุน 2553 ไปสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ตามตารางที่ 1 และการการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนตามค่าความหนาแน่นกระดูกที่วัดด้วยเครื่อง Dual Energy X-ray Absorptionmetry (DXA) ตามตารางที่ 2

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคกระดูกพรุน 2553 โดยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย

ตารางที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

ตารางที่ 2 การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนตามค่าความหนาแน่นกระดูกที่วัดด้วยเครื่อง DXA

ปัญหาเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease)

โรคหัวในและหลอดเลือดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักๆ ซื่งความเสี่ยงมีทั้งเรื่องอายุ ประวัติครอบครัว การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน การที่ไม่ได้ออกกำลังกาย นอกจากนี้ภาวะทางอายุรกรรมที่ทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันในเลือดสูง

ฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy)

มีฮอร์โมนทดแทนที่มีวิธีให้ที่แตกต่างกันอยู่สองชนิดคือ เอสโตรเจนตัวเดียว (unopposed estrogen therapy) และเอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน (combined progestin-estrogen therapy)

หลักการของการให้ฮอร์โมนทดแทนคือการให้ในระดับที่ปริมาณน้อยที่สุดที่จะสามารถบรรเทาอาการเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้ฮอร์โมนทดแทนนั้นควรจะพิจารณาให้โดยเป็นบุคคลไป ทั้งข้อบ่งชี้ในการให้ การมีข้อห้ามในการให้ โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการได้รับฮอร์โมนทดแทน การให้ฮอร์โมนในปริมาณที่น้อยลงจะทำให้ผลข้างเคียงเรื่อง เจ็บเต้านม และเรื่องเลือดออกผิดปกติลดลง (5)

  1. เอสโตรเจนตัวเดียว (unopposed estrogen therapy) พิจารณาให้ในรายที่ทำการตัดมดลูกไปแล้ว เนื่องจากการได้รับเอสโตรเจนเพียงตัวเดียวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในรายที่ยังมีมดลูก โดยพบว่า การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวไม่ว่าจะเป็นการให้แบบต่อเนื่องหรือการให้แบบเป็นรอบคือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน 3 สัปดาห์ และหยุดฮอร์โมนอีก 1 สัปดาห์ พบว่าต่างเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อีกทั้งการที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบเป็นรอบ ในช่วงที่ทำการหยุดฮอร์โมนนั้นจะทำให้เกิด vasomotor symptoms ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงที่ยังมีมดลูกอยู่(6) หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวในการรักษาก็ควรให้เป็นแบบต่อเนื่อง
  2. เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน (combined progestin-estrogen therapy) มีการให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินจะมีการให้อยู่สองแบบ คือ แบบเป็นรอบๆ(cyclic) และแบบการให้ต่อเนื่อง (continuous)
    • เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสติน แบบเป็นรอบ( cyclic combined progestin-estrogen therapy) ใช้ในหญิงที่ต้องการฮอร์โมนทดแทนและยังมีมดลูก โดยเป็นการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับการให้ฮอร์โมนโปรเจสติน 12-14 วันทุกเดือน เพื่อลดการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน(7) โดยการให้ฮอร์โมนวิธีนี้ทำให้มีระดูได้ร้อยละ 90(7, 8)
    • เอสโตรเจนร่วมกับการให้โปรเจสตินแบบต่อเนื่องทุกวัน (continuous combined progestin-estrogen therapy )วิธีนี้จะทำให้ส่วนใหญ่ขาดระดู เนื่องจากากรที่ฮอร์โมนโปรเจสตินทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกที่ฝ่อ โดยฮอร์โมนที่ให้อาจจะให้แยกกันหรือเป็นฮอร์โมนรวมในยาเม็ดเดียวกันก็ได้ โดยพบว่ามีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติได้(9)

ข้อบ่งชี้ในการให้ฮอร์โมนทดแทน

  • มีอาการจากการเข้าสู่ภาวะหมดระดู คือมี moderate to severe vasomotor symptoms หรือมีอาการทางระบบสืบพันธุ์หรือระบบขับถ่ายปัสสาวะ(10)
  • ภาวะหมดระดูเร็ว (Early menopause) หรือ premature ovarian failure ที่ต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน

ข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Contraindications) (1)

  • เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • เป็นมะเร็งเต้านมหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • กำลังเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • โรคตับหรือถุงน้ำดีผิดปกติ
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

Relative contraindications

  • เป็นโรคหัวใจ
  • โรคไมเกรน
  • มีประวัติโรคตับหรือถุงน้ำดีผิดปกติ
  • มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • เคยมีประวัติโรคหลอดเลือดอุดตัน

ขนาดของฮอร์โมน

เอสโตรเจน ให้ในระดับที่ปริมาณน้อยที่สุดที่จะสามารถบรรเทาอาการเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

equivalent doses

0.625 mg of conjugated estrogens 0.625 mg esterified estrogens 0.625 mg estrone sulfate
1 mg of micronized estradiol 0.05 mg of transdermal estradiol 5 mcg of ethinyl estradiol

โปรเจสโตรเจน

การให้ โปรเจสโตรเจน เพื่อป้องกันความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก ปริมาณที่ให้ควรเริ่มให้จากปริมาณที่น้อย

1.5 mg medroxyprogesterone acetate 0.1 mg norethindrone acetate
0.5 mg drospirenone 100 mg micronized progesterone

equivalent doses ของฮอร์โมนทดแทน จาก guideline ของ Australasian menopause society 2014 มีจุดประสงค์เพื่อให้แพทย์ผู้ทำการรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนทดแทนได้ทราบขนาดของฮอร์โมนจากฮอร์โมนทดแทนที่มีอยู่หลากหลายชนิดและหลากหลายแหล่งผลิต เพื่อให้ง่ายต่อการปรับยาฮอร์โมนทั้งการเพิ่มและการลดฮอร์โมนทดแทน หรือปรับให้ได้ขนาดเท่าเดิมแต่เปลี่ยนวิธีการใช้

ฮอร์โมนเอสโตรเจน การให้เอสโตรเจนตัวเดียวหรือจะให้ร่วมกับโปรเจสติน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน แบบเม็ดฮอร์โมนรวม

โปรเจสโตรเจน

วิธีการให้ฮอร์โมน (Route of administration) (5)

เอสโตรเจนที่ให้มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบรับประทาน แบบแผ่นแปะหรือทาผิวหนัง แบบให้ทางช่องคลอด แบบสอดใส่ในช่องคลอด พบว่าทุกวิธีสามารถลดอาการ menopausal symptoms ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามปริมาณของฮอร์โมนในกระแสเลือดจะไม่เท่ากัน และพบว่าการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทางผิวหนังจะไม่เพิ่มไตรกลีเซอไรด์, C-reactive protein , sex hormone–binding globulin มีการศึกษาว่าการให้ทางผิวหนังนี้ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทั้ง deep vein thrombosis ,stroke และ myocardial infaction และการใช้เอสโตรเจนทางผิวหนังควรระมัดระวังการใช้ไม่ให้สัมผัสกับเด็ก

จากการศึกษา การให้โปรเจสโตรเจนร่วมกับเอสโตรเจนด้วยวิธีการรับประทาน เมื่อเปรียบเทียบกับการให้แผ่นแปะผิวหนังที่มีทั้งโปรเจสโตรเจนร่วมกับเอสโตรเจนพบว่า สามารถป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวได้

มีการศึกษาในการรับประทานเอสโตรเจนร่วมกับการใส่ห่วงอนามัยที่มี่โปรเจสติน พบว่าสามารถป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวได้เทียบเท่ากับกลุ่มโปรเจสตินแบบรับประทานต่อเนื่อง และได้ผลดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้โปรเจสตินแบบเป็นรอบๆ

ระยะเวลาในการรักษาด้วยฮอร์โมน

จาก WHI ได้กล่าวถึงความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมที่เพิ่มขึ้นหลังจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน หลังจากเริ่มใช้ฮอร์โมน 4-5 ปี ส่วนในฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวพบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตามจากการศีกษาระยะยาวในการใช้เอสโตรเจนตัวเดียว 15-20 ปีสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเช่นกัน และจากการที่ใช้ฮอร์โมนนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจได้ในรายที่เริ่มรักษาด้วยฮอร์โมนช้ากว่าอายุ 60 ปี หรือหลังหมดระดูนานเกิน 10 ปี ทำให้การใช้ฮอร์โมนนั้นควรคำนึงถึงผลดีที่ได้รับจากการใช้ฮอร์โมน กับความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ควรจะพิจารณาเป็นบุคคลไป โดยแพทย์ควรทำการอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ โดยการให้ฮอร์โมนในการรักษาต่อไปในรายที่

  • ได้รับผลดีจากการใช้ฮอร์โมนเนื่องจากมีอาการmenopausal symptoms หรือให้การรักษาต่อไปในรายที่ไม่สามารถหยุดยาฮอร์โมนได้เนื่องจากทำให้เกิดอาการกลับเป็นซ้ำ
  • หญิงวัยหมดระดูที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกระดูกหักที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาหรือวิธีอื่นได้

การหยุดยาฮอร์โมน(2)

หยุดการใช้ยาฮอร์โมนในรายที่ไม่มีอาการผิดปกติเรื่อง menopausal symptoms โดยพบว่าการหยุดยาฮอร์โมนอาจทำให้อาการกลับเป็นซ้ำได้ในหญิงหมดระดู ร้อยละ 50 โดยการหยุดฮอร์โมนนั้นยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ชัดเจนว่าการหยุดทันที กับการค่อยๆลดปริมาณฮอร์โมนวิธีไหนจะป้องกันการมีอาการเป็นซ้ำได้ดีกว่ากัน อย่างไรก็ตามควรทำการพิจารณาเป็นรายๆไป

ประโยชน์จากการได้รับฮอร์โมนทดแทน (Benefit of hormone therapy)

Vasomotor symptoms (1, 2, 5, 11)

การรักษาภาวะ vasomotor symptoms ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยมีการศึกษาหลายๆการศึกษาสนับสนุนประสิทธิภาพของฮอร์โมนนี้ โดยการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบ RCT เปรียบเทียบการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียว หรือเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน เทียบกับยาหลอก พบว่าอาการ hot flushes ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ยังไม่มีการศึกษาที่ว่าการให้โปรเจสตินตัวเดียวช่วยลดภาวะนี้

นอกจากฮอร์โมนช่วยในเรื่อง vasomotor symptoms แล้วยังทำให้คุณภาพชีวิต คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นอีกด้วยโดยองค์การ U.S. Food and Drug Administration (FDA) ได้รับรองยาที่ใช้ในการรักษาอาการ vasomotor symptoms ตามตารางข้างล่าง ได้แก่การให้เอสโตรเจน standard dose และ low dose ทั้งชนิดรับประทาน และชนิดให้ทางผิวหนัง รวมไปถึงการให้ในรูปแบบเจลหรือครีมทา และแบบพ่น ส่วน ultra-low dose ยังไม่ได้รับการรับรองเรื่องผลการรักษาจาก FDA (2)

ทางเลือกในการรักษา vasomotor symptoms

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จากการศึกษาพบว่าไม่ได้ทำให้อาการ vasomotor symptoms ดีขึ้น แต่กลับทำให้มีผลข้างเคียงเรื่องขนที่มากขึ้น สิว คริทอริสโตขึ้น และลดระดับ HDL(12) FDA จึงยังไม่รับรองฮอร์โมนชนิดนี้ในการรักษา vasomotor symptoms อย่างไรก็ตามบางการศึกษาพบว่าการเพิ่มเทสโทสเตอโรนไปร่วมกับการให้ฮอร์โทนทดแทนจะช่วยให้ sexual function scores และความพึงพอใจทางเพศดีขึ้นในหญิงหมดระดู(13)

Tibolone เป็น synthetic steroid ที่มี tissue-specific estrogenic and progestogenic effects สามารถจับกับ estrogen receptor ซึ่งมีผลดีต่อการรักษาเรื่อง vasomortor symptoms ช่องคลอดแห้งและป้องกันการสลายของกระดูกได้ โดยเกิดเลือดออกผิดปกติน้อยกว่าการให้ฮอร์โมน (14) อย่างไรก็ตามการศึกษายังพบว่า การใช้ tibolone อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการให้ฮอร์โมนรวม และการศึกษา LIBERATE study การใช้ tibolone เป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมในผู้ที่เคยมีประวัติมะเร็งเต้านมที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดภายใน 5 ปี พบว่ามีอัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม 15 ใน 1000 คนต่อปี ในการศึกษา 3.1 ปี (15)และมีการศึกษาที่พบว่าเพิ่มการเกิด stroke ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ในUS FDA ยังไม่ได้รับรองการใช้ tibolone

Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) และ Selective Serotonin-Norepinephrine Reuptake Inhibitors (SSNRIs) เป็นยา antidepressant ได้มีหลายๆการศึกษาแบบ RCT เทียบกับยาหลอกพบว่าได้ผลดีในการลดอาการ vasomortor symptoms ได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะมีผลข้างเคียงได้ในเรื่อง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ท้องผูก วิตกกังวล ง่วงซึม เหงื่อแตก หรืออาจมีปัญหา sexual dysfunction อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงจะลดลงเมื่อทำการปรับลดขนาดยา ยา Paroxetine (7.5 mg/d) เป็นยาตัวเดียวในกลุ่ม SSRIs ที่ FDA รับรองในการรักษา vasomotor symptoms

Clonidine เป็น alpha 2-agonist เป็นยา antihypertensive agent ที่พบว่าสามารถช่วยรักษาอาการ vasomotor symptoms ได้ประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอก อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาไม่เพียงพอ

Gabapentin เป็น gamma aminobutyric acid analogue เป็นยากลุ่ม anticonvulsant agent ได้มีการศึกษาการใช้ gabapentin (900 mg/d) สามารถลดอาการร้อนวูบวาบได้ทั้งความรุนแรงและจำนวนครั้ง ผลข้างเคียงที่พบ เช่น อาการเวียนศีรษะ อาการง่วงซึม อาการบวม

Urogenital atrophy(2, 5)

อาการช่องคลอดแห้งฝ่อ (atrophic vaginal symptoms) การรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพดี โดย FDA ได้รับรองการให้เอสโตรเจนทั้งในรูปแบบรับประทานในขนาด standard dose และ low dow ในการรักษาภาวะนี้ และการให้เอสโตรเจนเฉพาะที่แบบให้ทางช่องคลอด ทั้งในรูปแบบครีมทา วงแหวน หรือยาเม็ดสอดช่องคลอดว่า สามารถรักษาอาการนี้ได้ดี

โดยมีการศึกษา Cochrane meta-analysis ในหญิง 4,162 คนเกี่ยวกับการใช้เอสโตรเจนแบบเฉพาะที่ เทียบกับกลุ่มยาหลอก พบว่าไม่ทำให้มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติเพิ่มขึ้น ฉะนั้นการใช้เอสโตรเจนเฉพาะที่อาจไม่ต้องให้โปรเจสตินร่วมด้วย แต่หากหญิงที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่แล้วเกิดมีเลือดออกผิดปกติก็ควรจะต้องค้นหาสาเหตุของการเลือดออกผิดปกติด้วย

ในหญิงที่มีประวัติเรื่องมะเร็งเต้านม ควรหลีกเลี่ยงการให้เอสโตรเจน รวมถึงการให้แบบเฉพาะที่ทางช่องคลอด ควรจะใช้วิธีอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น Estrogen agonists–antagonists เช่น Ospemifene 60 mg/d ได้รับการรับรองจาก FDA ว่าช่วยในเรื่องช่องคลอดแห้งฝ่อได้ และช่วยรักษาในรายที่มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธุ์(moderate-to-severe dyspareunia ) โดยยาจะมีผลข้างเคียงเรื่อง ร้อนวูบวาบ สารคัดหลั่งทางช่องคลอด เหงื่อออกมาก หรือ มี muscle spasm ได้

นอกจากนี้ยังมีวิธี Vaginal lubricants , Vaginal moisturizers ช่วยทำให้อาการทางช่องคลอดดีขึ้นได้

โดยสรุปหากผู้ป่วยมี vaginal symptoms เพียงอย่างเดียว แนะนำให้รักษาแบบเอสโตรเจนเฉพาะในขนาดต่ำก่อนโดยต้องพิจารณาว่าไม่มีข้อห้ามในการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ทางเลือกในการรักษา Vaginal Symptoms

มีการศึกษาพบว่าการให้เอสโตรเจนเฉพาะที่จะช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะติดเชื้อซ้ำได้ อย่างไรก็ตามไม่แนะนำการให้ฮอร์โมนในเรื่องของรักษาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

Osteoporosis(5)

มีหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าการให้ฮอร์โมนช่วยลดการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในส่วนของกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกส่วนอื่นๆ และพบว่าฮอร์โมนสามารถทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกดีขึ้นหรือคงที่ได้ โดย FDA รับรองว่าการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเดียว หรือฮอร์โมนรวมช่วยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดระดู

อย่างไรก็ตามการรักษาภาวะกระดูกพรุนนั้นไม่ใช่ข้อบ่งชี้ในการเริ่มใช้ยาฮอร์โมน(16) เว้นแต่รายที่มีอาการ menopausal ร่วมด้วย โดยในรายที่การรักษาด้วยยาอื่นๆแล้วมีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ การให้ฮอร์โมนต่อไป (extended use) ก็เป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน

จากการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนที่ให้ในการช่วยเรื่องป้องกันภาวะกระดูกพรุนนั้นทั้งในรูปแบบรับประทาน และฮอร์โมนทางผิวหนังในรูปแบบแผ่นแปะก็ช่วยเรื่องป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้(17)

ในหญิงที่เข้าสู่วัยหมดระดูเร็ว (early menopause) ควรได้รับฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุมกำเนิด เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนจนถึงอายุที่ควรจะเข้าสู่วัยหมดระดูจึงมาพิจารณาข้อดีและความเสี่ยงอีกครั้งก่อนการให้ฮอร์โมน เพราะว่าการที่หมดระดูเร็วพบว่าจะทำให้มีความเสี่ยงต่อกระดูกหักจากการมีภาวะกระดูกพรุน

ความเสี่ยงจากการได้รับฮอร์โมนทดแทน (Risk of hormone therapy)

ปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease )

โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี Coronary heart disease (5)

จากการศึกษาแบบ Observational studies หลายๆการศึกษาพบว่าการได้รับฮอร์โมนของหญิงในวัยหมดระดูมีประโยชน์ในการลดการเกิด coronary heart disease แต่บางการศึกษา แบบ RCT กลับพบว่าการใช้ฮอร์โมนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของ Women’s Health Initiative (WHI) trials (18, 19) ซึ่งเป็นการศึกษาขนาดใหญ่มีผู้เข้าร่วมวิจัยอายุ 50-79 ปี เปรียบเทียบพบว่าในกลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินในวัยหมดระดู จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด coronary heart disease เพิ่มขึ้น 8 ราย ต่อ 10,000 รายต่อปี ต่อมา WHI ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าระยะเวลาของการเริ่มใช้ฮอร์โมนหลังจากหมดประจำเดือน และอายุที่เริ่มใช้ฮอร์โมนมีผลต่อความเสี่ยงเรื่องปัญหาหลอดเลือดและหัวใจ กล่าวคือ ทั้งการให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน หรือการให้เอสโตรเจนตัวเดียว หากเริ่มฮอร์โมนภายใน อายุน้อยกว่า 60 ปี และเริ่มให้ฮอร์โมนภายใน 10 ปีหลังจากเข้าสู่วัยหมดระดู จะทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิด coronary heart disease ได้ เรียกช่วงระยะเวลานี้ว่า “window-of-opportunity” (19)

โรคเส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (stroke)(5)

จากการศึกษาของ WHI พบว่ากลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ( 0.625 mg of conjugated equine estrogen )ร่วมกับโปรเจสติน (2.5 mg of medroxyprogesterone acetate) หรือกลุ่มที่ใช้เอสโตรเจนตัวเดียว ในวัยหมดระดู จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ischemic stroke ไม่เพิ่มเรื่องโรคเส้นเลือดสมองแตกโดยการศึกษาพบว่าในกลุ่มฮอร์โมนรวมมีความเสี่ยง stroke เพิ่มขึ้น 8 ราย ต่อ 10,000 รายต่อปี และในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวมีความเสี่ยง stroke เพิ่มขึ้น 11 ราย ต่อ 10,000 รายต่อปี ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มอายุ 50-59 ปีพบว่าการเกิดความเสี่ยงการเกิด stroke ไม่เพิ่มขึ้น

มีการศึกษาขนาดใหญ่ของ the Nurses’ Health Study [NHS] เป็นการศึกษาแบบ prospective cohort study ทำการศึกษาในหญิงอายุ 50-59 ปี พบว่าการใช้ฮอร์โมนรวมไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อ stroke แต่การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจสตัวเดียวเพิ่มความเสี่ยงการเกิด stroke ได้ และพบว่าการใช้เอสโตรเจนปริมาณต่ำ 0.3 mg conjugated estrogens ไม่เพิ่มความเสี่ยงนี้

ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Venous thromboembolism)(5)

จากการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ Venous thromboembolism เพิ่มขึ้น 18 รายใน 10,000 รายต่อปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวเพิ่มความเสี่ยงนี้ เพิ่มขึ้น 7 รายใน 10,000 รายต่อปี โดยความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มให้ฮอร์โมนในช่วง 1-2 ปีแรก โดยความเสี่ยงนี้จะลดลงเล็กน้อยในรายที่เริ่มใช้ยาฮอร์โมนในช่วงอายุน้อยกว่า 60 ปีคือฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ Venous thromboembolism เพิ่มขึ้น 11 รายใน 10,000 รายต่อปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวเพิ่มความเสี่ยงนี้ เพิ่มขึ้น 4 รายใน 10,000 รายต่อปี นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อภาวะโรคนี้ยังพบในผู้ที่อ้วน BMI >30 กก./ม2 พบว่าเพิ่มความเสี่ยงถึง 3 เท่า และพบว่าการหยุดใช้ฮอร์โมนจะทำให้ลดความเสี่ยงได้

พบว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทางผิวหนังไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Venous thromboembolism เนื่องมาจากการที่เอสโตรเจนที่ได้ทางผิวหนังนั้นไม่มีผลต่อ clotting proteins เนื่องจากไม่ต้องผ่านตับ จึงแนะนำการให้ฮอร์โมนทางผิวหนังมากกว่าการให้ชนิดรับประทานในรายที่มีความเสี่ยงเรื่อง venous thromboembolism (20)

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) (5)

พบมะเร็งเต้านมในรายที่ได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินหลังจากเริ่มใช้ 3-5 ปี ในการศึกษาของ WHI ผู้เข้าร่วมในกลุ่มฮอร์โมนรวม 16,608 คน พบว่าเพิ่มความเสี่ยง 5 รายใน 10,000 รายต่อปี การที่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมพบว่าสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเริ่มให้ฮอร์โมนหลังจากหมดประจำเดือน (gap time) กล่าวคือ ยิ่งระยะเวลาหลังหมดระดูจนถึงการเริ่มให้ฮอร์โมนน้อยกว่า 5 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้น และการศึกษาพบว่าจากการเฝ้าติดตามต่อในผู้ที่ทำการหยุดการใช้ฮอร์โมนไปแล้ว พบว่ายังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ใน 3 ปีหลังจากหยุดยา

ในการศึกษาแบบ observational พบว่าการให้โปรเจสตินแบบต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าแบบเป็นรอบ

อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องวิธีการให้โปรเจสตินกับการเกิดมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่เพียงพอ

การใช้ฮอร์โมนโดยเฉพาะในกลุ่มเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสตินทำให้เพิ่ม breast density ได้ แต่ไม่ได้มีการศึกษาทึ่ชัดเจนที่บอกว่าการที่มี breast density เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการปรับลดฮอร์โมนในรายที่มีอาการเจ็บเต้านม หรือมี breast dencity ที่เพิ่มขึ้น การที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมไม่ใช่ข้อห้ามในการได้รับฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู

ส่วนในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวนั้น WHI พบว่าไม่พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเรื่องมะเร็งเต้านมหลังจากใช้เป็นระยะเวลา 7.1 ปี

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (5)

การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียว ในรายที่มีมดลูกอยู่นั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับ โดยความเสี่ยงจะยังคงอยู่แม้จะหยุดการใช้ไปแล้ว เพราะฉะนั้นในรายที่ยังมีมดลูกอยู่จึงแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสติน

เอกสารอ้างอิง

  1. Jan LS. Menopause. Berek JS, editors. Berek & Novak’s gynecology. 14th ed. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins, 2007:1324-1340.
  2. ACOG Practice Bulletin No. 141: management of menopausal symptoms. Obstet Gynecol. Jan;123(1):202-16.
  3. Freedman RR. Pathophysiology and treatment of menopausal hot flashes. Semin Reprod Med. 2005 May;23(2):117-25.
  4. Lobo RA, Davis SR, De Villiers TJ, Gompel A, Henderson VW, Hodis HN, et al. Prevention of diseases after menopause. Climacteric. Jun 27:1-17.
  5. The 2012 hormone therapy position statement of: The North American Menopause Society. Menopause. Mar;19(3):257-71.
  6. Schiff I, Sela HK, Cramer D, Tulchinsky D, Ryan KJ. Endometrial hyperplasia in women on cyclic or continuous estrogen regimens. Fertil Steril. 1982 Jan;37(1):79-82.
  7. Whitehead MI, Townsend PT, Pryse-Davies J, Ryder T, Lane G, Siddle NC, et al. Effects of various types and dosages of progestogens on the postmenopausal endometrium. J Reprod Med. 1982 Aug;27(8 Suppl):539-48.
  8. Archer DF, Pickar JH, Bottiglioni F. Bleeding patterns in postmenopausal women taking continuous combined or sequential regimens of conjugated estrogens with medroxyprogesterone acetate. Menopause Study Group. Obstet Gynecol. 1994 May;83(5 Pt 1):686-92.
  9. Weiderpass E, Adami HO, Baron JA, Magnusson C, Bergstrom R, Lindgren A, et al. Risk of endometrial cancer following estrogen replacement with and without progestins. J Natl Cancer Inst. 1999 Jul 7;91(13):1131-7.
  10. Gass M. Highlights from the latest WHI publications and the latest North American Menopause Society position statement on use of menopausal hormone therapy. Cleve Clin J Med. 2008 May;75 Suppl 4:S13-6.
  11. de Villiers TJ, Gass ML, Haines CJ, Hall JE, Lobo RA, Pierroz DD, et al. Global consensus statement on menopausal hormone therapy. Climacteric. Apr;16(2):203-4.
  12. Nastri CO, Lara LA, Ferriani RA, Rosa ESAC, Figueiredo JB, Martins WP. Hormone therapy for sexual function in perimenopausal and postmenopausal women. Cochrane Database Syst Rev.6:CD009672.
  13. Somboonporn W, Davis S, Seif MW, Bell R. Testosterone for peri- and postmenopausal women. Cochrane Database Syst Rev. 2005(4):CD004509.
  14. Formoso G, Perrone E, Maltoni S, Balduzzi S, D’Amico R, Bassi C, et al. Short and long term effects of tibolone in postmenopausal women. Cochrane Database Syst Rev.2:CD008536.
  15. Kenemans P, Bundred NJ, Foidart JM, Kubista E, von Schoultz B, Sismondi P, et al. Safety and efficacy of tibolone in breast-cancer patients with vasomotor symptoms: a double-blind, randomised, non-inferiority trial. Lancet Oncol. 2009 Feb;10(2):135-46.
  16. Gambacciani M, Levancini M. Management of postmenopausal osteoporosis and the prevention of fractures. Panminerva Med. Jun;56(2):115-31.
  17. Lufkin EG, Wahner HW, O’Fallon WM, Hodgson SF, Kotowicz MA, Lane AW, et al. Treatment of postmenopausal osteoporosis with transdermal estrogen. Ann Intern Med. 1992 Jul 1;117(1):1-9.
  18. Prentice RL, Langer RD, Stefanick ML, Howard BV, Pettinger M, Anderson GL, et al. Combined analysis of Women’s Health Initiative observational and clinical trial data on postmenopausal hormone treatment and cardiovascular disease. Am J Epidemiol. 2006 Apr 1;163(7):589-99.
  19. Hodis HN, Mack WJ. Hormone replacement therapy and the association with coronary heart disease and overall mortality: clinical application of the timing hypothesis. J Steroid Biochem Mol Biol. Jul;142:68-75.
  20. Speroff L. Transdermal hormone therapy and the risk of stroke and venous thrombosis. Climacteric. Oct;13(5):429-32.
Read More

การคุมกำเนิดในวัยรุ่น

การคุมกำเนิดในวัยรุ่น

พ.ญ. ธิติกาญจน์ เลิศหิรัญวงศ์
อ.ที่ปรึกษา ร.ศ. พ.ญ. สายพิณ พงษธา


อัตราการตั้งครรภ์และการแท้งในวัยรุ่นของสหรัฐอเมริกามีอัตราส่วนสูงกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ เนื่องจากการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ต่อเนื่อง, ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้คุมกำเนิด ข้อมูลระดับชาติ (National data) จากการสำรวจในปี 2006-2008 พบว่า การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดในวัยรุ่น เนื่องจากสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ อัตราส่วนการใช้วิธีคุมกำเนิดมีดังนี้

  • ถุงยางอนามัย 95%
  • การหลั่งภายนอก 58%
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด 55%
  • ยาฉีดคุมกำเนิด 17%

นอกจากนี้ ในวัยรุ่นพบว่ามีการใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉิน 17%, แผ่นแปะคุมกำเนิด 13%, การใส่ห่วงในช่องคลอด (Vaginal ring) 7% การวางแผนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดของวัยรุ่นตอนต้นเป็นเรื่องยาก ถ้าไม่มีผู้ใหญ่คอยช่วยดูแลให้คำแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นตอนปลายจะสามารถวางแผนในการคุมกำเนิดและมีการตัดสินใจที่ดีกว่า

ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นต้องการการคุมกำเนิด คือ

  • รู้สึกว่าการตั้งครรภ์เป็นผลเสีย
  • วางแผนที่จะศึกษาต่ออีกเป็นระยะเวลานาน
  • อายุมากขึ้น
  • กลัวการตั้งครรภ์หรือเคยตั้งครรภ์มาก่อน
  • ครอบครัว เพื่อน หรือแพทย์ให้การสนับสนุนในการคุมกำเนิด

ปัจจัยที่มีผลทำให้วัยรุ่นไม่สามารถที่จะเริ่มการคุมกำเนิดได้

เกิดจากการไม่สามารถเข้ารับบริการอย่างเป็นส่วนตัวได้, กลัวการตรวจภายในเมื่อมารับบริการ หรือกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด เป็นต้น

1. ต้องการความเป็นส่วนตัวและปิดเป็นความลับ

แพทย์ควรตระหนักว่าวัยรุ่นก็ต้องการการบริการที่เป็นความลับ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อวัยรุ่นวิธีหนึ่งก็คือการที่แยกดูแลวัยรุ่นโดยไม่ขึ้นกับพ่อแม่ (independent)

ผู้ปกครองและวัยรุ่นจำเป็นต้องได้รับทราบข้อมูลในการคุมกำเนิดร่วมกัน โดยที่วัยรุ่นเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ ต่างจากในวัยเด็กที่ผู้ปกครองจะเป็นผู้สื่อสารและตัดสินใจโดยตรง และในการเข้ารับบริการการที่แพทย์เปิดโอกาสพูดคุยกับวัยรุ่นเป็นการส่วนตัว โดยปราศจากพ่อแม่ ทั้งในเรื่องการซักประวัติทั่วไป ประวัติทางสูติกรรมและนรีเวช รวมทั้งเรื่องเพศสัมพันธ์ จะทำให้ทราบข้อมูลได้มากกว่าและอาจทราบพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงของวัยรุ่นได้ เพราะบางครั้งวัยรุ่นต้องการปิดเป็นความลับจากผู้ปกครอง

2. ทางด้านกฎหมาย

ในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันอยู่เรื่องกฎหมาย การเข้ารับบริการเกี่ยวกับการคุมกำเนิดของวัยรุ่น โดยที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่ด้วย บางรัฐวัยรุ่นสามารถเข้ารับบริการได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่บางรัฐจำเป็นต้องมีผู้ปกครองอยู่ด้วย และต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้เซ็นต์ใบยินยอม เป็นการขัดขวางการเข้ารับบริการด้านการคุมกำเนิดของวัยรุ่น

3. การตรวจภายใน

วัยรุ่นส่วนมากรู้สึกว่าการตรวจภายในเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่ต้องการเข้ารับบริการในการคุมกำเนิด และประสบการณ์ที่ดีในการตรวจภายในครั้งแรกก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับวัยรุ่น ด้วยเหตุนี้ FDA จึงไม่แนะนำว่ามีความจำเป็นในการตรวจภายแก่วัยรุ่นตั้งแต่การมารับบริการคุมกำเนิดครั้งแรกในวัยรุ่นที่ไม่มีปัญหาทางนรีเวช (เช่น ตกขาวผิดปกติ, คันหรือมีกลิ่นเหม็นในช่องคลอด เป็นต้น) วัยรุ่นเหล่านี้มักจะกลับมาตรวจภายในเอง ภายใน 3-6 เดือน

นอกจากการตรวจภายในแล้ว เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายทั่วไปแล้วพบการบาดเจ็บตามร่างกาย ต้องซักประวัติเกี่ยวกับการถูกทำร้ายร่างกายหรือทางเพศร่วมด้วย

4. การกังวลต่อผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
    วัยรุ่นมีความกังวลว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นแพทย์มีหน้าที่ที่จะอธิบายให้วัยรุ่นเข้าใจว่ายาเม็ดคุมกำเนิดไม่ได้มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่ม, การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) อาจจะมีผลทำให้น้ำหนักขึ้นได้ แต่ก็มีปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากยาฉีดคุมกำเนิด
  • มวลกระดูก
    ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) และยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ (20 mcg) มีผลต่อค่าสูงสุดของมวลกระดูกในวัยรุ่น เนื่องจากยาทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกหรือรบกวนการเพิ่มขึ้นของมวลกระดูก เอกสารกำกับยาได้เตือนให้ใช้อย่างระวังในการใช้ยาฉีดคุมคุมกำเนิดนานเกิน 2 ปี แต่ก็ยังไม่มีรายงานการเกิดกระดูกพรุน หรือกระดูกหักในผู้หญิงที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิด

ในเรื่องที่ว่า แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาฉีดคุมกำเนิดในวัยรุ่นตอนต้นก็ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่าการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมในวัยรุ่น เนื่องจากประโยชน์ของการคุมกำเนิดมีมากกว่าข้อเสียในเรื่องของมวลกระดูก

The Society for Adolescent Health and Medicine แนะนำว่า

1. ยาฉีดคุมกำเนิดสามารถใช้ต่อเนื่องได้ในวัยรุ่นที่ต้องการคุมกำเนิด

2. พิจารณาการตรวจติดตามค่ามวลกระดูกตามความเห็นสมควรของแพทย์และความกังวลของผู้ปกครอง

3. สามารถใช้ยาฉีดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี ได้

4. วัยรุ่นที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดอาจจะแนะนำให้ทาน แร่ธาตุแคลเซียมปริมาณ 1300 มิลลิกรัมต่อวัน และทานวิตามินดี 400 ยูนิตต่อวัน

5. ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมในวัยรุ่นที่สามารถคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาฉีดคุมกำเนิดและมีภาวะกระดูกบางหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกบาง ที่ไม่มีข้อห้ามในการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (Thromboembolism)
    การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ ความสัมพันธ์นี้ขึ้นอยู่กับขนาดของฮอร์โมนเอสโตรเจนและชนิดของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 30-50 มิลลิกรัม จะเพิ่มความเสี่ยงมากที่สุด และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนรุ่นที่สาม (third generation) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดน้อยที่สุด
    ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องซักประวัติเกี่ยวกับการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำในอดีตและประวัติในครอบครัว และความเสี่ยงต่างๆ ในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในผู้หญิงเหล่านี้
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
    มีการศึกษาพบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, ปากมดลูกอักเสบและมดลูกอักเสบ แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบของท่อนำไข่ จึงช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้ และไม่มีรายงานว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในคนที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
    การใส่ห่วงอนามัยไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน แต่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเพิ่มขึ้น
  • การมีบุตรยาก (Infertility)
    วัยรุ่นกังวลว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะมีผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ ทำให้มีบุตรยาก ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดมีผลทำให้มีบุตรยาก
  • ความกังวลของแพทย์
    การใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิดระยะยาวด้วยการฉีดยาคุมกำเนิด หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำในวัยรุ่นตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน จะมีผลต่อการลดลงของมวลกระดูก และการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ (Incomplete growth) ทำให้แพทย์มีความกังวลในการใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิดแก่วัยรุ่น

การเริ่มต้นคุมกำเนิด

สิ่งสําคัญที่สุดในการคุมกำเนิดในวัยรุ่นคือ”ความเชื่อใจ” ต้องรับฟังความคิดเห็นและต้องได้รับความยินยอมก่อนเริ่มต้นคุมกำเนิด

1. การซักประวัติ (History)
ก่อนการเลือกวิธีการคุมกำเนิด การซักประวัติอย่างครบถ้วนเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลจากการชักประวัติจะช่วยในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อห้าม หรือข้อบ่งชี้ในการเริ่มการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

2. การให้คำปรึกษา (Counseling)

  • เลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุดโดยประเมินจากประสิทธิภาพ, ความถี่ในการใช้การคุมกำเนิด, และความสะดวกในการใช้ การใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาว (LARC: Long-acting reversible contraception) เช่น ยาฝังคุมกำเนิด (implant) และการใส่ห่วงคุมกำเนิด (Copper and levonorgestrel) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
  • ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิควิธีการใช้การคุมกำเนิดให้ต่อเนื่อง
  • การใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเพื่อป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • แนะนำวิธีการที่ช่วยให้การคุมกำเนิดสามารถใช้ได้อย่างสะดวก เช่นการแนะนำให้พกถุงยางอนามัยไว้ในกระเป๋าสตางค์
  • ให้คำแนะนำในเรื่องการคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception)

โดยทั่วไปในวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ต้องการที่จะตั้งครรภ์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเริ่มคุมกำเนิดด้วยวิธีใด ในกรณีเช่นนี้ แพทย์ควรจะพูดถึงประเด็นเรื่องความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และการติดซื้อจากเพศสัมพันธ์ การยกตัวอย่างกรณีแม่วัยรุ่น โดยใช้บุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาจจะเป็นพี่สาว, น้องสาว หรือเพื่อนที่โรงเรียน ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความตระหนักมากขึ้น การกำหนดเป้าหมายระยะสั้นอาจช่วยให้ได้ผลมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้เงื่อนไขว่า ให้ผู้ป่วยป้องกันการตั้งครรภ์ไปจนกว่าจะจบการศึกษาในปีนี้ และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางการคุมกำเนิดฉุกเฉินและการใช้ถุงยางอนามัยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สําคัญในการพูดคุยแนะนำผู้ป่วย

ในบางกรณี ผู้ปกครองที่มีความกังวลสูงมากเกินไป อาจจะมาด้วยการต้องการให้บุตรหลานรับการคุมกำนิดแบบการใช้ฮอร์โมนทั้งที่ยังไม่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการที่บุตรหลานเริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม หรืออาจจะมีประสบการณ์แม่วัยรุ่นจากบุคคลที่รู้จักหรือใกล้ชิด ในกรณีเช่นนี้ แพทย์ต้องพูดคุยกับทั้งผู้ปกครองและวัยรุ่น ทั้งเรื่องการบอกถึงความกังวลของผู้ปกครอง ความเชื่อใจ และทักษะในการเฝ้าระวังให้กับผู้ปกครอง สิ่งที่สําคัญที่สุดคือการประเมินผลดีและผลเสียในการคุมกำเนิดโดยการใช้ฮอร์โมนเปรียบเทียบกับความเสี่ยงในการเกิดการตั้งครรภ์

3. ผลข้างเคียง (adverse effects)

การอธิบายถึงผลข้างเคียงจากการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เช่น เลือดออกกะปริบกะปรอย (Breakthrough bleeding), ประจำเดือนขาดจากการทานยาคุมกำเนิด, อารมณ์หงุดหงิดง่ายจากการใช้ยาคุมกำเนิด (DMPA: Depot Medroxyprogesterone acetate) หรือแผ่นแปะคุมกำเนิด ก่อนการเริ่มต้นคุมกำเนิด การให้คำแนะนำเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมาก ผื่นแดงคันหลังจากการใช้การคุมกำเนิดแบบแผ่นแปะอาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ใช้

จากการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นพบว่าประมาณ 35%ของผู้ใช้ประสบปัญหาการลอกหลุดของแผ่นแปะคุมกำเนิด และเมื่อเปรียบเทียบกับวัยผู้ใหญ่ที่พบว่ามีปัญหานี้ <5% และในวัยผู้ใหญ่ไม่พบปัญหาการหลุดลอกหากแปะไว้ที่บริเวณแขน ทั้งนี้น่าจะมีสาเหตุมาจากการที่วัยรุ่นน่าจะดูแลแผ่นแปะไม่ดีพอและ การเคลื่อนไหวร่างกายที่มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัยผู้ใหญ่

4. ประโยชน์ (benefits)

การพูดถึงประโยชน์นอกเหนือจากการคุมกำเนิดของ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน, ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA)และ แผ่นแปะคุมกำเนิด(Transdermal patch) ก็มีส่วนสําคัญในการตัดสินใจเช่นเดียวกัน

ยาเม็ดคุมกำเนิดและแผ่นแปะคุมกำเนิดมีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, ท่อนำไข่อักเสบ, ภาวะท้องนอกมดลูก, โรคของเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง, ปวดท้องประจำเดือน และป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็ก

ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) มีประโยชน์เช่นเดียวกันกับยาเม็ดคุมกำเนิด ยกเว้นประโยชน์ด้านการช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก

5. การให้ข้อมูลและเซ็นต์ยินยอม (Informed consent)

ไม่จำเป็นต้องเซ็นต์ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะเริ่มคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนในวัยรุ่น แต่ต้องบันทึกไว้ว่าได้อธิบายถึงข้อดีข้อเสียของการคุมกำเนิด

วิธีการคุมกำเนิด

ในวัยรุ่นที่เริ่มต้นคุมกำเนิด ควรให้เอกสารที่เข้าใจง่าย ประกอบด้วย ชื่อของคลินิก, รายชื่อติดต่อ, เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ในกรณีที่วัยรุ่นพบปัญหาเกี่ยวกับการคุมกำเนิด วัยรุ่นไม่ควรเชื่อถือข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านการคุมกำเนิดที่ได้จากเพื่อนหรือบุคคลในครอบครัว

1. ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptives)

ปัญหาที่พบได้บ่อยจากการทานยาเม็ดคุมกำเนิดเช่น ทานยาไม่สม่ำเสมอ, ลืมทานยา, เริ่มแผงถัดไปล่าช้า และไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นในกรณีที่การคุมกำเนิดโดยการทานยาล้มเหลว จากการศึกษาพบว่า วัยรุ่นจำนวน 33% จะลืมทานยาภายในช่วงเวลา 3 เดือน วัยรุ่นควรได้รับคำแนะนําในการทานยาคุมกำเนิดทั้งทางการพูดคุยและการเขียนคำแนะนำ การสาธิตด้วยแผงยาจริงหรือแผงยาตัวอย่างจะช่วยให้มีความเข้าใจในการทานยาเพิ่มมากขึ้น

สิ่งที่วัยรุ่นควรท่องจำให้ขึ้นใจ ได้แก่ 1.จะเริ่มทานยาเมื่อใด 2.ทานยาทุกวัน เวลาเดิม และช่วยให้จำได้ง่ายขึ้นหากทานยาพร้อมๆกับกิจวัตรที่ต้องทำทุกๆวันเช่นการแปรงฟัน 3.ติดต่อคลินิกหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคุมกำเนิด วัยรุ่นควรได้รับเอกสาร ที่มีข้อมูลสําคัญประกอบด้วย ชื่อคลินิก, รายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, วิธีการปฏิบัติตัวหากลืมทานยา

ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถเริ่มยาได้ทุกเวลา ในวัยรุ่นมักจะให้เริ่มยาเม็ดแรก ในวันแรกที่ประจำเดือนครั้งถัดไปเริ่มมา หรือเริ่มยาในวันอาทิตย์ หลังจากที่เริ่มมีประจำเดือน (Sunday start method) เนื่องจากต้องการให้แน่ใจจริงๆว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

2. การทานยาเม็ดคุมกำเนิดต่อเนื่อง (Extended-cycle or continuous pill use)

จุดประสงค์ของการคุมกำเนิดชนิดนี้เกิดจากความต้องการที่จะเลื่อนช่วงการมีประจำเดือนออกไป ในกลุ่มนักกีฬาที่อยู่ในช่วงการแข่งขัน, วัยรุ่นที่ต้องเข้าแคมป์ฤดูร้อน หรือในกลุ่มที่ไม่สะดวกในการที่จะต้องมีประจำเดือนทุกเดือน วิธีนี้จะทานยาต่อเนื่อง 84 วัน และมีเว้นช่วง 1 สัปดาห์ที่ไม่ต้องทานยาเพื่อให้ประจำเดือนมา ช่วยเพิ่มการทานยาที่ต่อเนื่อง

ปัจจุบันยาคุมกำเนิดชนิดที่ทำให้ประจำเดือนมาปีละครั้ง ได้รับการรับรองแล้วจาก องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกอบด้วย Levonorgestrel 90 mcg. และ Ethinyl estradiol 20 mcg. จากการศึกษาการใช้ยาคุมกำเนิดแบบรายปีดังกล่าวในกลุ่มผู้ใหญ่ พบว่าหนึ่งในสอง ถึงสองในสาม มีอัตราการลดลงของการเกิดเลือดออกกะปริบกะปรอย (Breakthrough Spotting or Bleeding) ในช่วง 2 เดือนหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนแรก

การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ทำให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ในช่วงเดือนแรก ทำให้การใช้ยาอย่างต่อเนื่องลดลง แต่การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ช่วยให้อาการปวดศีรษะและการปวดประจำเดือนดีขึ้น

3. ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA)

เริ่มฉีดครั้งแรกในช่วงที่มีประจำเดือนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และนัดวันฉีดครั้งต่อไปเพื่อความต่อเนื่องของการคุมกำเนิด แพทย์ควรอธิบายให้ทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อฉีดยาคุมกำเนิดเกินกำหนด ยาฉีดคุมกำเนิดมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักได้เมื่อเทียบกับวัยรุ่นทั้งไป แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักของวัยรุ่นจึงจำเป็นต้องอธิบายให้วัยรุ่นเข้าใจ

4. แผ่นแปะคุมกำเนิด (Transdermal patch)

การที่ต้องเปลี่ยนแผ่นแปะคุมกำเนิดทุกสัปดาห์ และการลอกหลุดของแผ่นแปะคุมกำเนิด ทำให้ความต่อเนื่องของการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ลดลง

5. การใส่ห่วงในช่องคลอด (Vaginal ring)

การใส่ห่วงในช่องคลอดจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนทุก 3 สัปดาห์ และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิดไม่ควรเอาห่วงออกจากช่องคลอดมากกว่า 3 ชั่วโมงในช่วง 3 สัปดาห์ ดังนั้นวัยรุ่นที่รู้สึกว่าการใส่ห่วงในช่องคลอดไม่สะอาดและต้องการล้างทำความสะอาดบ่อยๆ จะลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดและทำให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอดได้

6. ถุงยางอนามัย (Condoms)

การใช้ถุงยางอนามัยมีข้อดี คือ สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงจากการใช้ไม่ต่อเนื่องในวัยรุ่นที่ต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ควรจะได้รับถุงยางอนามัยกลับไปด้วยเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ใช้วิธีนี้อย่างต่อเนื่อง

7. ยาฝังคุมกำเนิด (Etonogestrel implant)

เป็นการคุมกำเนิดระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดอยู่ที่ 24 ชั่วโมงหลังจากฝังยาคุมกำเนิด และสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาไม่นานหลังจากเอายาฝังคุมกำเนิดออก

ยาฝังคุมกำเนิดทำให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยใน 3 เดือนแรก หลังจากนั้นทำให้ไม่มีประจำเดือน การที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทำให้ความต่อเนื่องในการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ลดลง การที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ NSAIDs ร่วมกับการทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเป็นช่วงสั้นๆ

การคุมกำเนิดด้วยวีนี้มีข้อดีในเรื่องของการป้องกันภาวะซีด(การไม่มีประจำเดือน), ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน แต่ผลต่อมวลกระดูกไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับการใส่ห่วงคุมกำเนิดหลังจากใช้ไปเป็นระยะเวลา 2 ปี

ยาฝังคุมกำเนิดไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักหรือมีผลพียงเล็กน้อย (แตกต่างจากการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด)

8. การใส่ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device) : ชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และชนิดที่มีทองแดง

การใส่ห่วงคุมกำเนิดสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่ยังไม่เคยคลอดลูกทางช่องคลอด

การใส่ห่วงคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในช่วง 20 วันแรกหลังจากใส่ห่วง หลังจากนั้นความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานจะเท่ากับคนที่ไม่ได้ใส่ห่วงคุมกำเนิด การติดเชื้อในช่วงแรกนี้สัมพันธ์กับการปนเปื้อนแบคทีเรียในขณะใส่ ไม่ได้เกิดจากตัวห่วงคุมกำเนิดเอง นอกจากนี้ห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนยังช่วยลดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากฮอร์โมนมีผลทำให้มูกบริเวณปากมดลูกหนาตัวและเยื่อบุโพรงมดลูกบางตัว

การใส่ห่วงคุมกำเนิดไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการมีบุตรยากหลังจากที่หยุดคุมกำเนิด แต่การที่ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อคลามีเดีย (Chlamydial antibodies) มีความสัมพันธ์ต่อการมีบุตรยาก

ขณะที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด วัยรุ่นควรได้รับการตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ เชื้อหนองใน, เชื้อคลามีเดีย ถ้าพบการติดเชื้อก็สามารถใส่ห่วงคุมกำเนิดได้และให้การรักษาเรื่องการติดเชื้อไปพร้อมกัน หรือถ้าพบการติดเชื้อหลังจากใส่ห่วงคุมกำเนิดก็สามารถให้การรักษาได้โดยที่ไม่ต้องเอาห่วงคุมกำเนิดออก แต่ไม่แนะนำให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การหลุดของห่วงคุมกำเนิด พบได้ 3-5% ในผู้ใช้ห่วงคุมกำเนิดทั้งหมด และพบ 5-22% ในวัยรุ่น

การใส่ห่วงคุมกำเนิดทำให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ในช่วงเดือนแรกหลังจากใส่ ห่วงคุมกำเนิดที่มีทองแดงอยู่จะทำให้ประจำเดือนมามาก ส่วนห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มีประจำเดือนได้ และสามารถเกิดเลือดออกกะปริบกะปรอย

การใส่ห่วงคุมกำเนิดไม่แนะนำในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, ปากมดลูกอักเสบเป็นหนองอยู่หรือเคยเป็นในระยะเวลา 3 เดือน หรือมีคู่นอนหลายคน วิธีนี้สามารถใช้ได้ในผู้หญิงที่มีประวัติติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในอดีตที่ในปัจจุบันไม่ได้มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์แล้ว

การใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาว (LARC: Long-acting reversible contraception)

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาว (การใส่ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือทองแดง และยาฝังคุมกำเนิด) จึงเป็นวิธีแรกในการใช้คุมกำเนิด (first-line method)

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ปี 2006 ให้การยอมรับการคุมกำเนิดในวัยรุ่นด้วยยาฝังคุมกำเนิด (etonogestrel single-rod contraceptive implant) เนื่องจากมีอัตราการใช้ต่อเนื่องใน 12 เดือนสูงในวัยรุ่นมากกว่าวิธีอื่น และมีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ ทางด้านวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะสั้น (short-acting contraceptive methods) ได้แก่ ถุงยางอนามัย, ยาเม็ดคุมกำเนิด, แผ่นแปะคุมกำเนิด, การใส่ห่วงในช่องคลอด และยาฉีดคุมกำเนิด เป็นทางเลือกในการคุมกำเนิดในวัยรุ่น วิธีเหล่านี้มีอัตราการใช้ต่อเนื่องใน 12 เดือนต่ำ และมีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าเมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาว โดยพบว่าอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาว 22 เท่า

อัตราการใช้การคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องใน 12 เดือน

  • ยาฝังคุมกำเนิด 82%
  • การใส่ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน 81%
  • การใส่ห่วงอนามัยที่มีทองแดง 76%
  • ยาฉีดคุมกำเนิด 47%
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด 47%
  • แผ่นแปะคุมกำเนิด 41%
  • การใส่ห่วงในช่องคลอด 31%

การคุมกำเนิดในกลุ่มเฉพาะ

วัยรุ่นที่มีความพิการทางสมอง

วัยรุ่นที่มีความพิการทางสมองและต้องการคุมกำเนิด การคุมกำเนิดด้วยวิธียาฉีดคุมกำเนิด, แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบต่อเนื่องและให้มีประจำเดือนมาทุก 3 เดือน เป็นวิธีที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และดูแลเรื่องความสะอาดในขณะที่มีประจำเดือนได้ดีขึ้น

วัยรุ่นที่มีโรคเรื้อรัง

วัยรุ่นที่มีโรคลิ้นหัวใจผิดปกติที่ต้องทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ในวัยรุ่นเหล่านี้สามารถคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด แต่ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการคั่งของสารน้ำในร่างกาย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

วัยรุ่นที่เป็นโรค Antiphospholipid antibody abnormalities, ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, โรคลมชัก หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสามารถคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด แต่ไม่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากยาหลายชนิดมีผลต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น anticonvulsants, rifampicin, griseofuvin เป็นต้น

ในวัยรุ่นที่มีโรคเรื้อรังเหล่านี้ มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น และเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่ทานได้ อธิบายถึงผลเสียของการตั้งครรภ์เมื่อมีโรคทางอายุรกรรม หรือยาที่รักษาโรคทางอายุรกรรมที่มีผลต่อความพิการของทารกซึ่งมีมากกว่าการความเสี่ยงจากการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด รวมทั้งอธิบายวิธีการควบกำเนิดฉุกเฉินให้วัยรุ่นทราบ

การคุมกำเนิดในแม่วัยรุ่น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. การคุมกำเนิดหลังคลอด ในแม่วัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงในการตั้งครรภ์ซ้ำภายใน 2 ปี แนะนำให้ใส่ห่วงคุมกำเนิดหรือฝังยาคุมกำเนิดทันทีหลังคลอดเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการคุมกำเนิด ในรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดทันทีหลังคลอดพบว่ามีโอกาสห่วงคุมกำเนิดหลุดสูงกว่าคนที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดตอนมาตรวจหลังคลอด
  2. การคุมกำเนิดหลังแท้ง การใส่ห่วงคุมกำเนิดหรือการใช้ยาฝังคุมกำเนิดทันทีหลังแท้ง ช่วยลดการเกิดการแท้งซ้ำได้ ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยในการใช้คุมกำเนิดหลังจากแท้งทุกชนิด ทั้งการแท้งใน first trimester/second trimester หรือการแท้งติดเชื้อ การใส่ห่วงคุมกำเนิดเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยในการใช้คุมกำเนิดหลังจากแท้งใน first trimester และ second trimester

การคุมกำเนิดในประเทศยากจน

จากข้อมูลของ UNICEF ปี 2006-2010 ในประเทศยากจน 81% ของหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์กับแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง, 67% ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการทำคลอดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการทำคลอด และมีส่วนน้อยที่มาตรวจติดตามหลังคลอด ส่งผลให้จำนวนผู้หญิงที่ได้รับการบริการเรื่องการคุมกำเนิดหลังคลอดบุตรน้อย จึงได้มีการให้บริการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาวตั้งแต่ขณะมาฝากครรภ์

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวระยะยาวมี 2 วิธีดังที่กล่าวข้างต้น คือ การใส่ห่วงอนามัยและการฝั่งยาคุมกำเนิด แต่การใส่ห่วงอนามัยถือเป็นข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นในประเทศยากจนจึงแนะนำการคุมกำเนิดโดยการฝั่งยาคุมกำเนิด(levonorgestrel implant)ตั้งแต่ขณะมาฝากครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ที่ทารกสร้างอวัยวะต่างๆเสร็จแล้ว ยาฝั่งคุมกำเนิดจะปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด 435 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีขนาดน้อยกว่าในยาคุมกำเนิดและพบว่าปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก ยาฝังคุมกำเนิดไม่ทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ แต่ผลต่อทารกในระยะยาวยังไม่ทราบแน่นอน ในประเทศยากจนเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์จากการฝั่งยาคุมกำเนิดแก่ผู้หญิงตั้งครรภ์ในช่วงมาฝากครรภ์ถือว่ามีประโยชน์มากกว่าผลเสียจากการที่ตั้งครรภ์ถี่

เอกสารอ้างอิง

  1. Mariam R Chacko, MD Contraception: Overview of issues specific to adolescents. In: UpToDate, Amy B Middleman, MD, MPH, MS (Ed), UpTaDate, Mary M Torchia, MD, Sep 2013.
  2. Committee opinion no. 539: adolescents and long-acting reversible contraception: implants and intrauterine devices. Obstetrics and gynecology. 2012;120(4):983-8. Epub 2012/09/22.
  3. Pittrof R, Filippi V, Some DA, Compaore G, Meda N. Antenatal contraception – simple, feasible, but is it safe and ethical in resource-poor environments? Contraception. 2013;88(3):337-40. Epub 2012/12/25.
  4. Beerthuizen R, van Beek A, Massai R, Makarainen L, Hout J, Bennink HC. Bone mineral density during long-term use of the progestagen contraceptive implant Implanon compared to a non-hormonal method of contraception. Human reproduction (Oxford, England). 2000;15(1):118-22. Epub 1999/12/28.
  5. Chen BA, Reeves MF, Hayes JL, Hohmann HL, Perriera LK, Creinin MD. Postplacental or delayed insertion of the levonorgestrel intrauterine device after vaginal delivery: a randomized controlled trial. Obstetrics and gynecology. 2010;116(5):1079-87. Epub 2010/10/23.
  6. Davtyan C. Evidence-based case review. Contraception for adolescents. The Western journal of medicine. 2000;172(3):166-71. Epub 2000/03/29.
  7. Goodman S, Hendlish SK, Reeves MF, Foster-Rosales A. Impact of immediate postabortal insertion of intrauterine contraception on repeat abortion. Contraception. 2008;78(2):143-8. Epub 2008/08/02.
  8. Alan Guttmacher Institute. Facts on American Teens’ Sexual and Reproductive Health. Alan Guttmacher Institute, New York 2011.
  9. Hatcher RA, Trussel J, Nelson AL, et al. Contraceptive Technology, 20th ed, Ardent Media, Inc, New York 2012.
  10. Espey E, Ogburn T. Long-acting reversible contraceptives: intrauterine devices and the contraceptive implant. Obstetrics and gynecology. 2011;117(3):705-19. Epub 2011/02/24.
  11. Mohllajee AP, Curtis KM, Peterson HB. Does insertion and use of an intrauterine device increase the risk of pelvic inflammatory disease among women with sexually transmitted infection? A systematic review. Contraception. 2006;73(2):145-53. Epub 2006/01/18.
  12. Braverman PK, Breech L. American Academy of Pediatrics. Clinical report–gynecologic examination for adolescents in the pediatric office setting. Pediatrics. 2010;126(3):583-90. Epub 2010/09/02.
  13. Bonny AE, Ziegler J, Harvey R, Debanne SM, Secic M, Cromer BA. Weight gain in obese and nonobese adolescent girls initiating depot medroxyprogesterone, oral contraceptive pills, or no hormonal contraceptive method. Archives of pediatrics & adolescent medicine. 2006;160(1):40-5. Epub 2006/01/04.
  14. Donovan P. Delaying pelvic exams to encourage contraceptive use. Family planning perspectives. 1992;24(3):136, 44. Epub 1992/05/01.
  15. Cromer BA, Scholes D, Berenson A, et al. Depot medroxyprogesterone acetate and bone mineral density in adolescents–the Black Box Warning: a Position Paper of the Society for Adolescent Medicine. J Adolesc Health 2006; 39:296.
  16. Rinehart W. WHO updates medical eligibility criteria for contraceptices. Info Reports. Johns Hopkins University population information program. Baltimore, MD, April 2004.
  17. Committee on Adolescent Health Care Long-Acting Reversible Contraception Working Group, The American College of Obstetricians and Gynecologists. Committee opinion no. 539: adolescents and long-acting reversible contraception: implants and intrauterine devices. Obstet Gynecol 2012; 120:983.
  18. Rosenstock JR, Peipert JF, Madden T, et al. Continuation of reversible contraception in teenagers and young women. Obstet Gynecol 2012; 120:1298.
  19. Andersson K, Odlind V, Rybo G. Levonorgestrel-releasing and copper-releasing (Nova T) IUDs during five years of use: a randomized comparative trial. Contraception. 1994;49(1):56-72. Epub 1994/01/01.
  20. Andersson K, Odlind V, Rybo G. Levonorgestrel-releasing and copper-releasing (Nova T) IUDs during five years of use: a randomized comparative trial. Contraception. 1994;49(1):56-72. Epub 1994/01/01.
  21. U S. Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use, 2010. MMWR Recommendations and reports : Morbidity and mortality weekly report Recommendations and reports / Centers for Disease Control. 2010;59(RR-4):1-86. Epub 2010/06/19.
  22. Grimes DA, Schulz KF. Antibiotic prophylaxis for intrauterine contraceptive device insertion. The Cochrane database of systematic reviews. 2000(2):CD001327. Epub 2000/05/05.
  23. Dilbaz B, Ozdegirmenci O, Caliskan E, Dilbaz S, Haberal A. Effect of etonogestrel implant on serum lipids, liver function tests and hemoglobin levels. Contraception. 2010;81(6):510-4. Epub 2010/05/18.
Read More