Nutrition in menopause

พญ. ราชาวดี ตันวิสุทธิ์
ศ. พญ. สายพิณ พงษธา
ผศ. พญ. ศุภวรรณ บูรณพิร


Geriatric nutrition หรือโภชนาการในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปนับเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งจะรวมถึงกลุ่มสตรีวัยหมดระดู ปัจจุบันประชากรมีแนวโน้มอายุมากขึ้น อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง พบมากขึ้น และกลุ่มโรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหาร

เมื่ออายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่คงเดิม (total body weight) จะมีสัดส่วนของกล้ามเนื้อลดลง (lean body mass) และสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้น(sarcopenia) ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

Nutrition1

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการใช้พลังงานลดลงลดความไวต่อการออกฤทธิ์ของ insulin และสมรรถภาพในการดำรงชีวิตต่างๆ ลดลง มีแนวโน้มที่จะต้องใช้ไม้ค้ำยัน ไม้ช่วยพยุงมีโอกาสหกล้มได้สูงขึ้นกิจวัตรประจำวันต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสมรรถภาพทางกายไม่เอื้ออำนวย อาทิเช่น การไปซื้อของจ่ายตลาด เตรียมอาหาร รวมถึงการหาอาหารเพื่อหาเลี้ยงชีพตัวเองด้วยซึ่งท้ายสุดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะทุพลภาพต่างๆ

ภาวะวัยหมดระดู หรือ Menopause มีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญและภาวะเมตาโบลิกต่างๆ เพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคกลุ่ม cardio-metabolic เนื่องจากหลายสาเหตุได้แก่

  • ภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance)ลดการนำ glucose ไปใช้ และขณะเดียวกันการมีน้ำตาลในเลือดสูงเอง นำไปสู่การสร้าง insulin ที่มากขึ้นไปอีก ภาวะเหล่านี้นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานนอกจากนี้การมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเอง ร่วมกับการใช้พลังงานลดลง ก็นำไปสู่ภาวะดื้อ insulin ได้เช่นกัน
  •  ภาวะอ้วนลงพุง เนื่องจากมีการลดลงของ estrogen ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ androgen ทำให้สตรีวัยหมดระดูมีปัญหาอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ไขมันผิดปกติ ระดับ estrogen ที่ลดลงส่งผลทำให้ LDL สูงขึ้น และ HDL ลดลง
  • ความดันโลหิตสูง สืบเนื่องมาจากภาวะดื้อ insulin ทำให้ไตดูดซึม sodium กลับได้มากขึ้น และกระตุ้น sympathetic nervous system ทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นตามมา
  •  Pro-inflammatory cytokines, coagulation-fibrinolysis system และ cytokines ต่างๆ ได้แก่ IL-1, IL-6, IL-18, factor VII, fibrinogen และ PAI-1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • การลดลงของ adiponectin ที่สร้างจาก adipocyte ซึ่งมีผลต่อการออกฤทธิ์ของ insulin, anti-inflammatory และลดการสร้าง glucose จากตับ

Macronutrients

กลุ่มสารอาหารให้พลังงาน โดยการควบคุมปริมาณอาหารและพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโภชนาการที่ดี โดยทั่วไปแล้ว ในสตรีวัยหมดระดูเองก็ยังต้องการพลังงานไปใช้ในการดำรงชีวิต และกิจวัตรประจำวันต่างๆ หลักการคำนวณพลังงาน(EER, estimated energy requirement) อาศัยจากอายุ เพศ น้ำหนัก และกิจกรรมที่ทำ โดยคำนวณจากสูตร

EER = 354.1 – [(6.91*age (yr)] + [PAC * (9.36*Wt. (kg)] + [726*Ht. (m)]

โดยที่ PAC (Physical Activity Coefficient)

  • Sedentary 1.0
  • Low activity 1.12
  • Active 1.27
  • Very active 1.45

 

สารอาหารที่ให้พลังงานหลักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยควรเลือกรับประทานให้เป็นสัดส่วน

Nutrition2

 

Protein

โปรตีนเป็นสารที่ให้พลังงานประมาณ4 kcal/gโดยควรรับประทานโปรตีน ให้เป็นสัดส่วน 15% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ซึ่งในแต่ละช่วงอายุ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำแตกต่างกันไป ดังแสดงในตาราง

Nutrition3

การรับประทานโปรตีนไม่พอเพียงเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะ sarcopenia ที่พบในผู้สูงอายุได้มากขึ้น มีงานวิจัยในสตรีวัยหมดระดูเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรตีนพอเพียง เทียบกับไม่พอเพียงเป็นเวลา 6 สัปดาห์พบว่าสัดส่วนของ lean body mass ลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ และพบว่ามากกว่า 10% ของผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกาบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอกับที่ RDA แนะนำ

โปรตีนสามารถได้จากเนื้อสัตว์ ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง หรือไข่ซึ่งเป็นอาหารทางเลือกที่ให้โปรตีนคุณภาพสูง และในกรณีที่สตรีไม่สามารถรับประทานอาหารได้พอเพียง อาจพิจารณาเสริมโปรตีนในรูปแบบอื่นๆ เช่น นมผง Whey protein ไข่ขาว หรือเต้าหู้

Carbohydrate

คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 kcal/g เช่นเดียวกับโปรตีน โดยสัดส่วนของพลังงานที่ควรได้รับจากคาร์โบไฮเดรตควรจะเป็น 50-60%ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักในชีวิตประจำวัน โดยสารอาหารกลุ่มนี้ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

หลักในการเลือกคือ แนะนำให้บริโภคอาหารที่มี low glycemic index และเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) โดย glycemic index (GI) คือ ดัชนีที่ใช้ตรวจวัดคุณภาพของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เท่ากันโดยภายหลังการบริโภค 2-3 ชั่วโมง จะสามารถเพิ่มระดับกลูโคสในเลือดได้มากหรือน้อย โดยมีค่า GIตั้งแต่ 0 ถึง 100 เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานคือ น้ำตาลกลูโคสหรือขนมปังขาวซึ่งมีค่า Gl เท่ากับ 100โดยจัดเป็น Low GI (≤ 55), Medium GI (56–69) และ High GI(≥ 70)

อาหารที่มีค่า Gl ต่ำ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 55 หรือ น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ในขณะที่สารที่มีค่า GI สูง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดมากซึ่งเมื่อนำไปใช้จริง พบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารเพียงอย่างเดียว แต่สัมพันธ์กับปริมาณด้วย ปัญหาของ Glycemic index คืออาหารแต่ละอย่างมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน การจะเปรียบเทียบกันจึงต้องใช้ glycemic load เข้ามาช่วย

Glycemic load = GI * Carbohydrate content in food (g)/100

แบ่งเป็น Low GL(≤ 10), Medium GL (11-19) และ High GL(≥ 20) เทียบกับระดับน้ำตาลจากการรับประทานขนมปังขาว 1 g โดยทั่วไป อาหารที่มี fiber มาก จะมีค่าglycemic load ต่ำ

 

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue_green.css]}

GL 10

GL 11 – 19

GL 20

          เนื้อสัตว์

          ถั่วเหลือง ถั่วดำ

          ผลไม้ที่มีใยอาหารมากเช่นแครอต, ถั่วเขียว, แอปเปิ้ล, แตงโม และส้มโอ

          ธัญพืชเม็ดมะม่วงหิมพานต์และถั่วลิสง

          ขนมปังธัญพืช

          น้ำมะเขือเทศ

          นม

          Pastaและขนมปังธัญพืช

          Oatmeal

          น้ำผลไม้สดที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล

          ข้าวกล้อง

          มันฝรั่งหวาน

          Graham crackers

         เครื่องดื่มที่มีรสหวาน

         ลูกอม

         น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำตาล

         ข้าวสวย

         White pasta

         มันฝรั่งทอดและมันบด

         Low-fiber cereals (high in added sugar)

         Macaroni และcheese

         ลูกเกดและอินทผารัม

  Fat

ไขมันเป็นสารที่ให้พลังงานมาก โดยให้พลังงานถึง 9 kcal/g โดยควรรับประทานให้ได้ 25-35% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ลักษณะของไขมันที่รับประทานนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญมากพอๆ กับปริมาณ โดยไขมันมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว

  • ไขมันอิ่มตัวมักพบในน้ำมันจากสัตว์และพืชบางชนิด ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มส่งผลต่อการเพิ่มระดับ total cholesterol เพิ่มระดับ LDL แต่ไม่ส่งผลต่อระดับ HDL
  • ไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนมากพบในน้ำมันที่ได้จากพืช แบ่งย่อยเป็น
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เป็นไขมันลักษณะดีที่ช่วยลด LDL triglyceride และไม่ส่งผลต่อระดับ HDLในประเทศแถบเมดิเตอเรเนียนที่มีการบริโภคน้ำมันมะกอกมาก และในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดภาวะ insulin resistance ได้ จึงแนะนำให้ใช้ไขมันชนิดนี้ทดแทนไขมันอิ่มตัว
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ประกอบด้วยโดยกรดไขมันจำเป็น เช่น linoleic acid, omega-3 พบในน้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันดอกคำฝอยน้ำมันปลา หรือปลาบางชนิด ได้แก่Salmon, Mackerel, Anchovies, Sardines, Herringการบริโภคน้ำมันเหล่านี้ลดระดับของtriglycerideซึ่งส่งผลให้ลดระดับ LDL ด้วยแต่มีผลลด HDL จึงจำกัดการใช้ไขมันชนิดนี้ด้วย
  • ในปัจจุบันมีไขมันอีกลักษณะที่เป็นอันตราย คือ Trans fat โดยมากพบในผลิตภัณฑ์เช่น มาการีนหรือเนยขาว ซึ่งได้มาจาก hydrogenation ของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ส่งผลต่อการเพิ่มระดับของ LDL ได้เล็กน้อย แต่กลับลดระดับ HDL อย่างมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าการบริโภคไขมันอิ่มตัวจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ต่างก็มีองค์ประกอบของกรดไขมันทั้ง 2 ชนิด เพียงแต่สัดส่วนจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพืชหรือสัตว์ที่นำมาเป็นน้ำมัน Dietary Guidelines for Americans ปี 2010 แนะนำเกี่ยวกับการบริโภคไขมันว่า ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ควรเลือกเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแทน บริโภค cholesterol น้อยกว่า 300 mg/day และเลือกบริโภค Trans fat ให้น้อยที่สุด หรือน้อยกว่า 1% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

โดนสรุป National heart lung and blood institute (NHBLI) แนะนำการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังตาราง

Nutrition4

Micronutrientand supplementations

Water

ในสภาวะปกติ ควรได้รับน้ำโดยขั้นต่ำ 1,600 ml ต่อวัน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย และถูกขับออกไปทางปัสสาวะ อุจจาระ การหายใจ และผิวหนัง โดยปริมาณน้ำที่ได้รับไม่ได้มาจากการดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว มาจากน้ำดื่มโดยประมาณ500 mlน้ำในรูปของอาหารต่างๆ 800 ml และจาก carbohydrateoxidation ในร่างกาย 300 ml

ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำหวาน หรือน้ำที่ปรุงแต่งรสต่างๆ เนื่องจากมีโอกาสได้รับน้ำตาลในปริมาณสูงซึ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

Sodium

ปัจจุบันพบว่าคนส่วนมากรับประทาน sodium โดยเฉลี่ย 3,300 mg/day ซึ่งมากเกินความจำเป็น และอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ Dietary Guidelines for Americans ปี 2010 แนะนำให้รับประทาน sodium ไม่เกิน 2,300 mg/day (100 meq/day) และในผู้ที่อายุมากกว่า 51 ปี มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต ควรลดปริมาณ sodium ไม่เกิน 1,500 mg/day

ตารางแสดงปริมาณ sodium ในอาหารแต่ละชนิด โดยสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย

อาหาร (1 ช้อนโต๊ะ)

ปริมาณ sodium

ซีอิ๊วขาว

ซอสหอยนางรม

กะปิ

เกลือ

ผงชูรส (1 ช้อนชา)

น้ำพริกเผา

น้ำพริกตาแดง

1160-1490

420-490

1430-1490

2000

492

410

560

Vitamin B12

พบการขาด Vitamin B12 ได้มากขึ้น โดยประมาณ10-20% ในกลุ่มผู้สูงอายุนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง รวมถึงอาจมีความผิดปกติของระบบประสาทได้ สาเหตที่พบ Vitamin B12 deficiency ได้มากขึ้น สัมพันธ์กับการขาด intrinsic factor, ภาวะ atrophic gastritis, gastric achlorhydria ซึ่งนำไปสู่การดูดซึม vitamin B12 ที่แย่ลง

ในบางที่แนะนำให้ตรวจคัดกรองระดับ vitamin B12 ในเลือด โดยอาศัยการแปลผลว่า ค่า Plasma B12 level ในระดับปกติ คือ >300 pg/mL และค่า <200 pg/mLให้สงสัยว่ามีภาวะขาด vitamin B12 ในขณะนี้ถ้าช่วงอยู่ในค่าก้ำกึ่ง ควรได้รับการตรวจ MMA level (methylmalonic acid)หากพบค่าสูง นึกถึงว่าน่าจะมีภาวะขาด vitamin B12 จริง หรืออาจส่งเสริมให้ผู้ที่อายุ >51 ปีทุกรายได้รับ vitamin B12 10-15 mcg/day โดยอาจมาจากการรับประทานอาทิเช่น ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ หรือในรูปแบบ supplement แต่ในผู้ที่มีภาวะ food cobalamin malabsorption-induced B12 deficiency แนะนำให้ได้รับเสริม 1,000 mcg/day

Vitamin D

RDA ของ vitamin D ในช่วงก่อนอายุ 70 ปีคือ 600 IU/day และเมื่ออายุมากขึ้น จะเพิ่มเป็น 800 IU/day โดยส่วนใหญ่ของ vitamin D ในร่างกายได้จากการเปลี่ยน pre-vitamin D3เป็น D3 form ที่ผิวหนังโดยการกระตุ้นด้วย UV อาหารที่มี vitamin D พบได้น้อย เช่น ตับปลา Cod ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น นม ธัญพืชบางชนิดมีการเสริม vitamin D

การขาด vitamin D สัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ กลุ่มที่อยู่แต่กับบ้าน ไม่ได้เผชิญแสงแดด หรือผู้ที่อาศัยแถบขั้วโลก คนอ้วน ผิวสีเข้ม มีภาวะกระดูกพรุน มีปัญหาทางด้านการดูดซึม โรคไต แม้ในผู้สูงอายุที่แข็งแรงอาจมีปัญหาได้ เนื่องจากประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูป pre-vitamin D3 ที่ผิวหนังลดลง

แนะนำให้ตรวจคัดกรองด้วย 25-OHD level ในกลุ่มมีความเสี่ยง โดยหาก ≥30 ng/ml ถือว่าปกติอาการของการขาด vitamin D อาจทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึมเศร้า และปัญหาสำคัญคือการเกิดปัญหาเรื่องของ relative hypocalcemia และ parathyroid hormone สูง ซึ่งเกี่ยวพันกับปัญหา กระดูกพรุนและหักตามมา

Calcium

พบว่าการดูดซึม calcium ลดลงอย่างชัดเจนหลังอายุ 60 ปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการขาด calcium สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนตามมาโดยพบว่าภาวะ hypoestrogenic state สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะ 5 ปีแรกหลังหมดระดูจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว

Adequate intake (AI) ของ calcium ในผู้อายุ >51 ปี คือ 800-1200 mg/dayโดยอาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มี calcium สูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ปลาที่ทานพร้อมกระดูกได้ เต้าหู้

Multivitamin supplementation

แนะนำให้ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เช่น อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่แนะนำให้เป็น routine supplementationเนื่องจากพบว่าในบางรายอาจมีปัญหาจากการได้รับ niacin, folic acid, vitamin A ในปริมาณที่มากเกินไป

Appetite stimulants

ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจน ยาบางตัวที่ใช้ เช่นmegestrol acetate หรือ progestational agent มีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความอยากอาหารในกลุ่มผู้ป่วย anorexia/cachexia และพบว่าสามารถเพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งได้ ผลข้างเคียงที่สำคัญของ megestrol acetate คือบวม และอาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดภาวะ adrenal insufficiency ได้

Alcohol drinking

โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในปัจจุบันพบว่าการดื่ม 1 standard drink/dayคือไวน์ 150 มล. วิสกี้ 45 มล. หรือ เบียร 360 มล. ในสตรีช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งต้องชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงเดิม อาทิเช่น เพศ อายุ หรือโรคประจำตัวอื่น ดังนั้นในผู้ที่ไม่ได้ดื่มเป็นประจำไม่แนะนำให้เริ่มดื่มเพื่อลดความเสี่ยงนั้น

Nutrition problems in geriatrics

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางโภชนาการอยู่แล้ว ทั้ง mal/overnutrition ซึ่งสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ โรคประจำตัว การเข้านอนโรงพยาบาล หรือปัญหาทางด้านเศรษฐานะ ที่ทำให้การเข้าถึงโภชนาการต่างๆ เป็นเรื่องยาก ซึ่งอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

Malnutrition

การศึกษาถึงความชุกของภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ พบถึง 22.8% โดยพบมากในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่บ้านพักคนชรา ในโรงพยาบาล และมีบ้านพักส่วนตัว คิดเป็น 17-65%, 15-40% และ 3-11% ตามลำดับ

ในกรณีที่สตรีวัยหมดระดูมาตรวจ แล้วพบว่ามีน้ำหนักลดลง โดยถือว่าน้ำหนักที่ลดอย่างมีนัยสำคัญคือ มากกว่า 10% ใน 6 เดือน หรือ7.5% ใน 3 เดือน หรือ 5% ใน 1 เดือน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่ต้องคิดถึง ได้แก่ 1. ปัญหาจากการเข้าถึงอาหาร คนดูแล ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเบื่ออาหาร หรือภาวะซึมเศร้า 2. การที่กล้ามเนื้อฝ่อจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse or muscle atrophy) 3. Inflammatory effects of disease หรือโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น Hyperthyroidism, DM, COPD, renal disease, การติดเชื้อบางอย่าง เช่น TB 4. Malignancy โดยพบได้ถึง 9% ของผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยน้ำหนักลด และ 5. ปัญหาทางการกลืนหรือการดูดซึมของลำไส้

เมื่อพบผู้ป่วยมาปรึกษาด้วยเรื่องน้ำหนักลด สิ่งที่ควรทำคือ การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ รวมถึงด้านPsychosocial ส่วนของ Laboratory investigation อาจพิจารณาส่ง CBC, BUN, Cr, electrolytes, TFT, CRP และในกรณีที่ผลการตรวจเบื้องต้นปกติ การพิจารณา CT chest, abdomen ควรพิจารณาบางราย พิจารณาส่ง GI endoscopy ในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้าน GI symptoms เช่น อิ่มเร็ว ทานได้น้อย หรือประวัติ Bowel habit change

Over nutrition

ถือว่า overweight เมื่อ BMI ≥ 25 kg/m2 และอ้วนเมื่อ BMI ≥30 kg/m2พบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทาง cardio-metabolic ต่างๆ มากมาย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาทางเดินหายใจ obstructive sleep apnea และระบบอื่นๆ แต่ในปัจจุบันงานวิจัยหลังๆ แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักมาก เพิ่ม mortality เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับภาวะ malnutrition

สรุป

  • หลักในการรับประทานอาหารของหญิงวัยหมดระดูควรเน้นความพอดี ทั้งพลังงานรวมที่จะได้รับ และสัดส่วนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อสุขภาพที่ดี โดยประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในสัดส่วน 50%, 35%, 15% ตามลำดับ และควรเลือกประเภทของสารอาหารแต่ละชนิดดังที่กล่าวไป
  • รับประทานน้ำอย่างน้อย 1,600 ml/day
  • ควบคุมปริมาณของ sodium ในอาหาร ไม่ให้เกิน 2,300 mg/day
  • อาหารเสริมที่แนะนำในสตรีวัยหมดระดูที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนโดยรวม คือ Calcium800-1200 mg/day, Vitamin D 600-800 IU/day
  • ปัญหาต่างๆ ที่พบในผู้สูงอายุ อาทิเช่น กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ภาวะทุพลลภาพ ควรได้รับการสังเกต และติดตามเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Dietary and nutritional assessment in adults [Internet]. Aug 20, 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-and-nutritional-assessment-in-adults?source=search_result&search=nutrition&selectedTitle=3%7E150.
  2.  Dietary fat [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-fat?source=search_result&search=fat+diet&selectedTitle=1%7E150.
  3. Salt intake, salt restriction and primary (essential) hypertension [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/salt-intake-salt-restriction-and-primary-essential-hypertension?source=search_result&search=salt+diet&selectedTitle=4%7E150.
  4. Healthy diet in adults [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/healthy-diet-in-adults?source=related_link.
  5. Geriatric nutrition: Nutritional issues in older adults [Internet]. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/geriatric-nutrition-nutritional-issues-in-older-adults?source=search_result&search=Geriatric+nutrition%3A+Nutritional+issues+in+older+adults&selectedTitle=1%7E150.
  6. Dietary carbohydrate [Internet]. Uptodate. 2014 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/dietary-carbohydrates?source=search_result&search=carbohydrate+dietary&selectedTitle=1%7E77.
  7. จุลวิจิตรพงษ์ รนส. ความก้าวหน้าทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์. 1 ed: คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2012.
  8. Jan L. Shifren IS. Berek &Novak’s Gynecology. 15 ed: Department of Obstetrics and Gynecology, Stanford University School of Medicine; 2012.
  9. Overview of the management of osteoporosis in postmenopausal women [Internet]. Uptodate. 2015 [cited Oct, 2015]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/overview-of-the-management-of-osteoporosis-in-postmenopausal-women?source=search_result&search=osteoporosis&selectedTitle=1%7E150.
  10. Marilyn S. Edwards P, RD/LD, FACN Associate Professor. Nutritional and Preventive Medicine Handbook. The Albert Einstein College of Medicine Of Yeshiva University 2001.