Management of symptomatic leiomyoma uteri การรักษาเนื้องอกมดลูกที่มีอาการ

 

พญ. ปาจรีย์  เรือนเป็ง
อ. พญ. วรชร ลัทธิวงศกร


เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ( Leiomyoma หรือ myoma uteri) เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของกล้ามเนื้อมดลูกที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง เป็นสาเหตุสำคัญในการผ่าตัดมดลูกของสตรี1 ซึ่งเป็นการผ่าตัดและรักษาจำเพาะเจาะจงของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อมดลูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลักษณะภายนอกจะมีลักษณะเป็น pseudocapsule หุ้มกล้ามเนื้องอกมดลูกอยู่ สามารถแยกกับมดลูกปกติได้ โดยลักษณะเนื้องอกหากตัดในแนวขวางจะเห็นเป็นลักษณะวง ( whorl-like)

ชนิดของเนื้องอกมดลูก

ตำแหน่งและความสัมพันธ์กับเยื่อบุโพรงมดลูกและพื้นผิวสัมผัสในมดลูกสามารถจำแนกชนิดเนื้องอกมดลูกได้ตาม The international Federation of Gynecology and Obstetric (FIGO) ดังภาพ

Diagram Description automatically generated

อุบัติการณ์

เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อย เกิดได้ประมาณ 70%. ของสตรีก่อนหมดประจำเดือน พบเพิ่มขึ้นตามอายุ และพบมากที่สุดที่อายุ 50 ปี , ไม่พบในระยะก่อนมีระดู และพบลดลงในระยะหมดประจำเดือน โดย อุบัติการณ์พบเนื้องอก 40% ในอายุ 35 ปี และพบมากถึง 70% ในอายุ 50 ปี2อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ที่แท้จริงนั้นยังไม่สามารถประมาณได้เนื่องจากผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้องอกมดลูกส่วนมมากนั้นไม่มีอาการ (asymptomatic) และไม่ได้รับการวินิจฉัย มีเพียงประมาณ 25% เท่านั้นที่มีอาการที่มาพบแพทย์หรือเข้ารับการรักษา เนื้องอกพบมากขึ้นตามอายุ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยสำคัญที่มีผลเพิ่มความเสี่ยงได้แก่

  • วัยก่อนหมดประจำเดือน พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน LH ซึ้งเป็นฮอร์โมนที่มี receptor คล้ายคลึงกับ hCG ที่พบในหญิงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก ที่พบอุบัติการณ์กล้ามเนื้องอกมดลูกเพิ่มขึ้นได้จากผลของฮอร์โมน Estrogen และ ​Progesterone
  • ประวัติครอบครัว
  • ระยะห่างระหว่างบุตรคนสุดท้าย พบว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าในคนที่บุตรคนสุดท้ายระยะห่างมากกว่า 5 ปี
  • ภาวะความดันโลหิตสูง และ ภาวะอ้วน

ปัจจัยที่มีผลลดความเสี่ยงได้แก่

  • จำนวนบุตรที่มาก การศึกษาพบว่า จำนวนที่มากเกินสามคน พบความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้องอกมดลูกลดลงถึง 5 เท่า 2
  • การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน

ลักษณะอาการ

อาการของกล้ามเนื้องอกมดลูกเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการมาก อาการแสดงอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของก้อน จำนวนของก้อน โดยอาการเลือดระดูออกมากและออกนาน เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด เป็นผลตามมาของการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจากกล้ามเนื้องอกมดลูก อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดจากกล้ามเนื้องอกมดลูก สามารถเรียกได้ว่า AUB-L อาการที่พบได้บ่อยอีกประการคืออาการจากการกดเบียดในอุ้งเชิงกราน เช่น อาการปัสสาวะบ่อยจากการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ท้องผูกขับถ่ายลำบากจากการกดเบียดลำไส้ใหญ่ทางด้านหลัง เป็นต้น ผู้ป่วยที่เข้าภาวะหมดระดูมักอาการบรรเทาลง เนื่องจากก้อนมักฝ่อลงไป แต่บางรายอาจมีอาการกลับเป็นอีกได้ จากการใช้ฮอร์โมน

วินิจฉัย

การวินิจฉัยกล้ามเนื้องอกมดลูกเบื้องต้นเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะการตรวจภายใน การตรวจพิเศษเพิ่มเติมโดยเฉพาะการตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด มีประโยชน์มากในการประเมินลักษณะของกล้ามเนื้องอกมดลูก เช่น saline infusion sonohysterography สามารถช่วยแยกระหว่างกล้ามเนื้องอกมดลูกชนิด submucous ที่ 0,1 และ 2 ได้ การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscope) ช่วยวินิจฉัยชนิด 2 และ 3 ได้ หรือการส่งตรวจทางรังสีอื่นๆ เช่น MRI มีความแม่นยำสูง สามารถช่วยวินิจฉัยเนื้องอกล้ามเนื้อมดลูกชนิด 4และ 5 ได้ นอกจากนั้นยังช่วยระบุตำแหน่งเนื้องอก ดูเส้นเลือดและ degeneration ได้ แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงพิจารณาเลือกใช้เป็นรายๆไป

ก่อนวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก จะต้องแยกจากโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์ การตรวจพบมดลูกโต หรือคลำได้มดลูกโตบางส่วน อาจแยกย้ายจากการตั้งครรภ์ ควรทำ pregnancy test ในผู้ป่วยที่สงสัย
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ในรายที่มาพบแพทย์ด้วยเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรคด้วยการขูดมดลูกตรวจ
  • Malignant sarcoma อาจพิจารณาลักษณะของเนื้องอกจากภาพอัลตราซาวน์หรือภาพรังสีอื่นๆ เพื่อช่วยประกอบการวินิจฉัย

การรักษา

การรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย อายุ และความต้องการมีบุตร การเลือกวิธีการรักษา ต้องเลือกโดยพิจารณาจากผู้ป่วยเป็นสำคัญ มีการแนะนำข้อดีข้อเสียและวางแผนร่วมกันกับผู้ป่วย

  1. การเฝ้าสังเกตอาการ (Expectant management) ในผู้ป่วยที่พบกล้ามเนื้องอกมดลูกโดยบังเอิญ ไม่มีอาการและไม่มีปัญหาใดๆ การสังเกตอาการเป็นทางเลือกที่เหมาะสม มีการศึกษาเทียบกันในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ได้รับการรักษาแบบสังเกตุอาการไปก่อน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับหัตถการรักษา ผลลัพธ์การรักษาในด้านลักษณะและปริมาณเลือดประจำเดือนที่ออก ระดับ hemoglobin ในเลือด และขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลา 1 ปี3 ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ สามารถแนะนำให้สังเกตอาการไปก่อนได้ในระยะยาวและสามารถแนะนำผู้ป่วยให้กลับมารักษาเมื่อมีอาการได้ เหมาะกับผู้ป่วยที่ใกล้หมดประจำเดือน โดยทั่วไปแล้วเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หากไม่ได้รับฮอร์โมนบำบัดก้อนมักจะเล็กลง
  2. การรักษาด้วยยา (Medical management) แนวทางการรักษาด้วยยามีจุดประสงค์ทั้งเพื่อลดอาการเลือดประจำเดือนออกมา และ ทั้งลดขนาดของก้อนเนื้องอกมดลูก การรักษาด้วยยาบางประการสามารถใช้ได้ระยะยาว บางประการใช้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อประสงค์ลดขนาดของก้อนเพื่อนำไปสู่การรักษาด้วยวิธีอื่นเช่น การผ่าตัด หรือรอเวลาเพื่อเข้าสู่ระยะวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยยาไม่มี 1st line therapy แต่ควรพิจารณาเลือกใช้ยาตามความเหมาะสม อาการของผู้ป่วย และเป้าหมายในการรักษา
    1. การรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการเลือดออก (bleeding symptom)
  • GnRH antagonist: การใช้ GnRH antagonist ร่วมกับ add-back therapy สามารถใช้เพื่อรักษาอาการประจำเดือนออกมากได้นานถึง 2 ปี โดยกลไลยับยั้งฮอร์โมน gonadotropin และ ovarian sex hormones โดยการใช้ Elagolix 300 mg twice daily ร่วมกับ add-back therapy ด้วย Estradiol 1 mg และ norethindrone acetate 0.5 mg ซึ่ง FDA ได้รับรองให้สามารถใช้เพื่อรักษาอาการเลือดออกมากจากผลของกล้ามเนื้องอกมดลูกได้ โดยการใช้ add-back therapy เพื่อลดผลข้างเคียงของภาวะ hypoestrogenic state เช่น อาการร้อนวูบวาบ การเพิ่มปริมาณไขมันในกระแสเลือด มวลกระดูกลดลง เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าภายใน 12 เดือน ปริมาณเลือดที่ออกลดลงเหลือน้อยกว่า 80 มิลลิลิตรต่อเดือนถึง 87.9 % และอาการดีขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มใช้ยาในเดือนแรกๆ 4
  • Levonorgestrel-Releasing intrauterine devices การใช้ห่วงอนามัยมีกลการลดปริมาณเลือดระดูได้จาก decidualization and atrophy of endometrium โดยเห็นผลทั้งในผู้ป่วยที่เลือดออกมาจากสาเหตุของกล้ามเนื้องอกมดลูกและสาเหตุอื่นๆ การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ใส่ห่วงอนามัยมีปริมาณเลือดที่ลดลงชัดเจนหลังใส่ 3 เดือน โดย 40% ของผู้ป่วยเกิดภาวะ amenorrhea และ 95% มีผล hemoglobin level เพิ่มขึ้น5 ปัญหาของการใส่ห่วงอนามัยพบมากในรายที่มีก้อนในมดลูกจนทำให้โพรงมดลูกมีลักษณะเปลี่ยนไป (uterine distortion) ทำให้ห่วงอนามัยหลุดออกจากโพรงมดลูก
  • Contraceptive steroid hormones ยาเม็ดคุมกำเนิดยอมรับใช้กันในการช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนในรายที่ไม่ใช่สาเหตุจากกล้ามเนื้องอกมดลูก แต่ก็ยังพิจารณาใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในการลดปริมาณเลือดประจำเดือนในผู้ป่วยกล้ามเนื้องอกมดลูก ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ยาคุมกำเนิดเทียบกับการใช้ห่วงอนามัยในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้องอกมดลูกขนาดน้อยกว่า 5 เซนติเมตรพบว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนได้ แต่ไม่เท่ากับการใช้ห่วงอนามัย6 ส่วน Depot medroxyprogesterone acetate พบว่าช่วยเรื่องลดปริมาณเลือดประจำเดือนได้เช่นกัน7
  • Tranexamic acid ออกฤทธิ์ antifibrinolytic agents ป้องกัน fibrin degradation สามารถช่วยลดปริมาณเลือดได้เช่นกัน
    1. การรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการเลือดออก (bleeding symptom) และลดขนาดก้อน (uterine enlargement)
    • GnRH agonist with or without add-back therapy แนะนำสำหรับ short-term treatment เพื่อลดขนาดก้อนสำหรับการรักษาด้วยหัตถการต่อไป (bridge to other treatment) GnRH agonist ทำให้เกิด hypogonadism ทำให้ปริมาณประจำเดือนลดลงจนถึงไม่มีประจำเดือน ผลการรักษาด้วย GnRH agonist มีผลทั้งลดปริมาณประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน ลดขนาดกล้ามเนื้องอกมดลูก เพิ่มคุณภาพชีวิต เมื่อหยุดให้ยา GnRH agonist ขนาดก้อนจะกลับมาเท่าเดิมในช่วงระยะ 3-9 เดือนหลังหยุด จึงนิยมใช้เป็นยาก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเพื่อ minimal invasive surgical route เพื่อลด morbidity and mortality นอกจากนี้การใช้ GnRH agonist ก่อนการผ่าตัดยังช่วยเรื่องเพิ่ม hemoglobin level โดยเฉลี่ย 0.88 g/dL เนื่องจากผลของ hypoestrogenic state การใช้ GnRH agonist พิจารณาใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือนในกรณีไม่มี add-back therapy และ 12 เดือนสำหรับร่วมกับ add-back therapy1
    • Selective progesterone Receptor modulators เช่น ulipristal acetate มีผลยับยั้งการตกไข่ มีประสิทธิภาพในการรักษา AUB-L ใช้ระยะสั้น แต่เนื่องจากพบผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ภาวะตับวายรุนแรง ขณะนี้ FDA จึงยังไม่ได้ยอมรับให้รักษาแพร่หลาย ส่วน mifepristone เป็น progesterone antagonist พบว่าสามารถช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ แต่ข้อมูลยังค่อนข้างจำกัดอยู่
  1. การรักษากล้ามเนื้องอกมดลูกด้วยหัตถการ
    1. Uterine artery embolization เป็นทางเลือกแนะนำให้ผู้ป่วยที่ต้องการ uterine preservation และต้องการรักษากล้ามเนื้องอกมดลูก แต่ผลด้าน reproductive outcome นั้นยังค่อนข้างจำกัด เทคนิคการทำโดยการใส่สายสวนผ่านเส้นเลือด femoral artery ผ่านไปยัง uterine artery ใช้ embolic agents เพื่อทำให้เนื้องอกเกิด devascularization and involution จากการติดตามพบว่าสามารถช่วยลดขนาดของเนื้องอกมดลูกและขนาดของมดลูกได้นานถึง 5 ปี ลดปริมาณเลือดออก เพิ่มคุณภาพชีวิตเทียบได้กับการผ่าตัด เป็นเทคนิครุกล้ำน้อย เจ็บปวดน้อยกว่า เสียเลือดระหว่างทำหัตถการน้อย ระยะนอนโรงพยาบาลสั้น แต่ยังมีความเสี่ยงในการต้องกลับมา reintervention ด้วยหัตถการลุกล้ำอื่นๆสูงถึง 19-38% 3 ในช่วง 2-5 ปีหลังทำหัตถการ เทียบเป็น 2-5 เท่าเทียบกับการทำการผ่าตัด นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในการเกิด minor complication มากกว่า เช่น อาการปวด ไข้ อาการคลื่นไส้อาเจียน รวมถึงมีความเสี่ยงการเกิด postembolization syndrome ตกขาวปนเลือด การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

ผลของ UAE ด้าน reproductive outcome นั้นยังจำกัด บางการศึกษาพบว่าไม่มีผลต่อ ovarian reserve แต่บางการศึกษาพบว่า UAE เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด pregnancy loss, postpartum hemorrhage เป็นต้น

    1. Radiofrequency ablation โดยทำผ่านการส่องกล้อง (laparoscopic radiofrequency ablation) เป็นเทคนิคที่ FDA ยอมรับ ในผู้ป่วยที่ต้องการ uterine preservation แต่ข้อมูลด้าน reproductive outcome ยังจำกัด นอกจากนี้ RFA สามารถทำได้ทั้งทาง transvaginal และ trancscervical approach โดยใช้ ultrasound-guided การทำ RFA กลไกคือกระตุ้นการเกิด coagulative necrosis โดยผลการศึกษาพบว่าสามารถลดขนาดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกได้ 32-66% ที่ 12 เดือน และอุบัติการณ์การ reintervention ที่ 3 ปีอยู่ที่ 11.5 %8 ปัจจุบันการทำ RFA ยังไม่แพร่หลายมากนักเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญ
    2. Focused ultrasound การใช้คลื่นอัลตราซาวน์เฉพาะที่เป็นเทคนิคใหม่ที่มีการลุกล้ำน้อย ใช้ multiple high-intensity ultrasound wave เพื่อให้เกิด coagulative necrosis ที่บริเวณกล้ามเนื้องอกมดลูก ปัจจุบัน MR-guided focused ultrasound ได้รับการยอมรับ FDA อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการ reintervention ก็สูงถึง 53.9% ในช่วง 5 ปี
    3. Endometrial ablation ณ ปัจจุบัน ยังมีข้อมูลจำกัดและยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับเรื่องการรักษา AUB-L
  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด ทางเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด อาจพิจารณาในรายที่มีเลือดระดูออกมาก หรือมีอาการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงมาก ไม่แน่ใจเรื่องการวินิจฉัย หรือก้อนโตเร็ว ในวัยหมดระดู โอยพิจารณาเลือกการรักษาโดยดูความต้องการ uterine preservation or future pregnancy GnRH agonist มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดขนาดของเนื้องอกมดลูกก่อนการผ่าตัด รวมถึงการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วย เช่น hemoglobin level ก็มีส่วนสำคัญในการลด morbidity and mortality การพิจารณาผ่า มีทางเลือก ดังนี้
    1. Myomectomy เลือกผ่าตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกมดลูก เพื่อ uterine preservation เพื่อเป้าหมายการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งทาง Laparoscopic, robotic or laparotomy (abdominal) technique โดยมีความเสี่ยงในการเสียเลือดและเติมเลือดเท่ากัน เฉลี่ยที่ 0-5% การใช้ dilute vasopressin สามารถลดการเสียเลือดในระหว่างการผ่าตัดได้ โอการการตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนเนื้องอกมดลูก โดยการศึกษาพบว่า submucous type มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่า subserosal และ intramural type อย่างไรก็ตามหลังการทำ myomectomy โอกาสกลับเป็นซ้ำมีสูงถึง 25% ที่ 40 เดือนหลังผ่าตัด
      • Abdominal myomectomy พิจารณาในรายนี้ก้อนค่อนข้างใหญ่ ไม่สามารถผ่าตัดทางช่องคลอดได้
      • Vaginal myomectomy เหมาะกับเนื้องอกที่มีลักษณะยื่นพ้นปากมดลูกออกมา ก้อนเล็ก
      • Hysteroscopic myomectomy เหมาะกับ submucous type สามารถทำเป็น outpatient procedure ฟื้นตัวง่าย reintervention rate ประมาณ 7%
      • Laparoscopic myomectomy อาศัยความชำนาญ มีโอกาสต้องเปลี่ยนการผ่าตัดเป็นเปิดหน้าท้องถึง 4.5 เท่า ถ้าขนาดก้อนใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร และดูเข้าถึงค่อนข้างยาก
    2. Hysterectomy ถือเป็น definitive surgery สำหรับการรักษา AUB-L และอาการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรในอนาคต ข้อดีคือ สามารถเพิ่ม hemoglobin level , quality of life และ improve pressure symptom ข้อพิจารณาคือบางราย พิจารณาตัด oophorectomy ร่วมด้วย โดยการศึกษายังไม่สามารถสรุปได้ถึง cardiovascular risk ในรายที่ตัด oophorectomyร่วมด้วย แต่พบว่าไม่มีผลด้านการเพิ่มความเสี่ยงด้าน cardiovascular disease ในรายที่ovarian preservation

การพิจารณา route of surgery ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อน ลักษณะของ vagina ความชำนาญของผู้ผ่าตัด และความพร้อมของเครื่องมือร่วมด้วย

เอกสารอ้างอิง

1. Management of Symptomatic Uterine Leiomyomas: ACOG Practice Bulletin, Number 228. Obstet Gynecol. 2021;137(6):e100-e15.
2. Pavone D, Clemenza S, Sorbi F, Fambrini M, Petraglia F. Epidemiology and Risk Factors of Uterine Fibroids. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 2018;46:3-11.
3. Hartmann KE, Fonnesbeck C, Surawicz T, Krishnaswami S, Andrews JC, Wilson JE, et al. AHRQ Comparative Effectiveness Reviews. Management of Uterine Fibroids. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US); 2017.
4. Simon JA, Al-Hendy A, Archer DF, Barnhart KT, Bradley LD, Carr BR, et al. Elagolix Treatment for Up to 12 Months in Women With Heavy Menstrual Bleeding and Uterine Leiomyomas. Obstet Gynecol. 2020;135(6):1313-26.
5. Grigorieva V, Chen-Mok M, Tarasova M, Mikhailov A. Use of a levonorgestrel-releasing intrauterine system to treat bleeding related to uterine leiomyomas. Fertil Steril. 2003;79(5):1194-8.
6. Sayed GH, Zakherah MS, El-Nashar SA, Shaaban MM. A randomized clinical trial of a levonorgestrel-releasing intrauterine system and a low-dose combined oral contraceptive for fibroid-related menorrhagia. Int J Gynaecol Obstet. 2011;112(2):126-30.
7. Venkatachalam S, Bagratee JS, Moodley J. Medical management of uterine fibroids with medroxyprogesterone acetate (Depo Provera): a pilot study. J Obstet Gynaecol. 2004;24(7):798-800.
8. Lin L, Ma H, Wang J, Guan H, Yang M, Tong X, et al. Quality of Life, Adverse Events, and Reintervention Outcomes after Laparoscopic Radiofrequency Ablation for Symptomatic Uterine Fibroids: A Meta-Analysis. J Minim Invasive Gynecol. 2019;26(3):409-16.

 

 

Read More
PMS1

Premenstrual syndrome and Premenstrual dysphoric disorder

Premenstrual syndrome and Premenstrual dysphoric disorder (กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน)

พญ. ปาณิศา ฮันตระกูล
อาจารย์ แพทย์หญิง วรชร ลัทธิวงศกร


Premenstrual disorders หรือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ส่งผลต่อผู้หญิงถึงประมาณ 12%1 ทำให้ต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวชกรรมและด้านจิตวิทยา สำหรับการวินิจฉัยแยกโรคต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น premenstrual syndrome (PMS) หรือ premenstrual dysphoric disorder (PMDD) โดยโรคในกลุ่มนี้ จะมีอาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานต่างๆ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่ในช่วง luteal phase ของ menstrual cycle แต่จะหายไปได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ประจำเดือนมา การที่ผู้ป่วยสังเกตตัวเองและจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้น จะเป็นส่วนช่วยสำคัญสำหรับการวินิจฉัยแยกโรคเหล่านี้ออกจาก psychiatric และ physical disorders ได้ แพทย์ควรพิจารณาให้การรักษาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อที่จะได้สามารถช่วยพัฒนาปรับปรุงการใช้ชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

คำจำกัดความ (Definition)

Premenstrual syndrome (PMS) เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์จิตใจ โดยที่ไม่ได้มีปัญหาด้าน organic หรือมีโรคประจำตัวทางด้าน psychiatric disease มาก่อน โดยที่อาการเหล่านี้จะเกิดเฉพาะช่วง luteal phase ของแต่ละ menstrual cycle แล้วจะหายไปในช่วงที่มี menstruation ซึ่งตัวอย่างของอาการ PMS มีได้ทั้งทาง behavioral, psychologic และ physical symptoms ได้แก่

  • Behavioral symptoms: เหนื่อยง่าย, นอนไม่หลับ, ความสนใจทางเพศเปลี่ยนไป, ความอยากอาหารเปลี่ยน
  • Psychologic symptoms: กระสับกระส่าย, โกรธง่าย, ซึมเศร้า, ร้องไห้ง่าย, วิตกกังวล, เครียด, อารมณ์แปรปรวนง่าย, ไม่มีสมาธิ, สับสน, ลืมง่าย, ร้อนรน, รู้สึกโดดเดี่ยว, ความมั่นใจในตัวเองลดลง
  • Physical symptoms: ปวดศีรษะ, เจ็บบริเวณเต้านม, ปวดหลัง, ท้องอืด, ปวดท้องมากขึ้น, น้ำหนักขึ้น, แขนขาบวม, บวมน้ำมากขึ้น, คลื่นไส้, ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ

สาเหตุและความชุกของโรค (Etiology and Prevalence)

ในปัจจุบัน ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคกลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน แต่จากการศึกษาหลายฉบับที่ผ่านมากล่าวไว้ว่า การที่ระดับของ estrogen และ progesterone เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงของรอบเดือน จะไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการต่างๆ2-4 ในกลุ่มผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็น PMS มาก่อน เมื่อได้รับการรักษาด้วย cyclical progestogen แล้วจะมีอาการทางร่างกายและจิตใจกำเริบขึ้นมาได้2 นอกจากนั้นการยับยั้ง estrogen ด้วยการใช้ gonadotropin-releasing hormone analogues (GnRH analogues) ทำให้อาการของ PMS ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ3 สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์นั้น อาจเกิดจากการที่ estrogen และ progesterone ไปมีผลต่อระดับของ serotonin, γ-aminobutyric acid (GABA) และ dopamine รวมทั้งยังไปมีผลต่อ renin-angiotensin-aldosterone system ที่ทำให้สามารถอธิบายอาการท้องอืดและบวมได้ในระหว่าง luteal phase4 แต่อย่างไรก็ตาม ระดับของฮอร์โมนเพศอย่างเดียว ก็ไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิด premenstrual disorders ได้ทั้งหมด เพราะจากบางการศึกษา ผู้หญิงที่ถูกวินิจฉัยอยู่ในกลุ่มโรคนี้ ก็ไม่ได้มีระดับ estrogen หรือ progesterone สูงกว่าประชากรกลุ่มปกติ

สำหรับความชุกของโรคกลุ่มนี้ ผู้หญิง 4 ใน 10 คน (40%) เคยมีอาการของ PMS และ 5-8% มีอาการจนทั้งขั้นรุนแรง โดยความชุกของโรคจะลดลงในผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิด น้ำหนักตัวปกติ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การวินิจฉัย (Diagnosis)

สำหรับการวินิจฉัยภาวะ premenstrual syndrome จะต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยในการจดบันทึกอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน นิยมใช้เป็น Daily Record of Severity of Problems (DRSP)5 ดังรูปภาพที่ 1 ซึ่งมี positive predictive value 63.4% และมี negative predictive value 90%6 โดยการบันทึกจะเป็นแบบ prospective เนื่องจากถ้าบันทึกอาการแบบ retrospective recall จะทำให้ความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้อยลง ซึ่งการบันทึกอาการต่างๆลงในแบบบันทึกข้อมูลนั้นควรทำอย่างน้อย 2 cycles ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ diary บันทึกอาการนั้นอาจทำให้สับสนและไม่สามารถสรุปผลได้ จึงมีการแนะนำสำหรับการใช้ GnRH analogues ยับยั้ง cyclic ovarian function เพื่อที่จะสามารถแยกว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็น PMS จริงหรือไม่ โดยแนะนำให้ใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือนเพื่อที่จะได้วินิจฉัยกลุ่มอาการ PMS ได้อย่างชัดเจน

PMS1

รูปภาพที่ 1: Daily Record of Severity of Problems (DRSP)5

RCOG ได้มีการแบ่ง PMS ออกเป็นหลายประเภท7 ตามช่วงที่มีอาการ ช่วงที่ไม่มีอาการ และการส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังแผนภูมิที่ 1

PMS2

แผนภูมิที่ 1: Classification of PMS7

นอกจากนั้น ถ้ามีอาการทาง PMS แบบรุนแรงมาก อาจวินิจฉัยได้เป็น premenstrual dysphoric disorder (PMDD) ซึ่งมีเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัย โดยอ้างอิงตาม Diagnostic and Statistical Mental disorder fifth edition (DSM-V) ของ American Psychiatric Association8 ดังต่อไปนี้

A. In the majority of menstrual cycles, at least five symptoms must be present in the final week before the onset of menses, start to improve within a few days after the onset of menses, and become minimal or absent in the week postmenses.

B. One (or more) of the following symptoms must be present:

  1. Marked affective lability (e.g., mood swings; feeling suddenly sad or tearful, or increased sensitivity to rejection).
  2. Marked irritability or anger or increased interpersonal conflicts.
  3. Marked depressed mood, feelings of hopelessness, or self-deprecating thoughts.
  4. Marked anxiety, tension, and/or feelings of being keyed up or on edge.

C. One (or more) of the following symptoms must additionally be present, to reach a total of five symptoms when combined with symptoms from Criterion B above.

  1. Decreased interest in usual activities (e.g., work, school, friends, hobbies).
  2. Subjective difficulty in concentration.
  3. Lethargy, easy fatigability, or marked lack of energy.
  4. Marked change in appetite; overeating; or specific food cravings.
  5. Hypersomnia or insomnia.
  6. A sense of being overwhelmed or out of control.
  7. Physical symptoms such as breast tenderness or swelling, joint or muscle pain, a sensation of “bloating,” or weight gain.

NOTE: The symptoms in Criteria A–C must have been met for most menstrual cycles that occurred in the preceding year.

D. The symptoms are associated with clinically significant distress or interference with work, school, usual social activities, or relationships with others (e.g., avoidance of social activities; decreased productivity and efficiency at work, school, or home).

E. The disturbance is not merely an exacerbation of the symptoms of another disorder, such as major depressive disorder, panic disorder, persistent depressive disorder (dysthymia), or a personality disorder (although it may co-occur with any of these disorders).

F. Criterion A should be confirmed by prospective daily ratings during at least two symptomatic cycles. (NOTE: The diagnosis may be made provisionally before this confirmation.)

G. The symptoms are not attributable to the physiologic effects of a substance (e.g., a drug of abuse, a medication, other treatment) or another medical condition (e.g., hyperthyroidism).

PMS versus PMDD

ผู้ป่วยสามารถมีอาการและอาการแสดงได้ในหลากหลายรูปแบบ โดยก่อนที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่ม premenstrual disorders แพทย์จำเป็นจะต้องมองหาโรคทางกายอย่างอื่นเพิ่มเติมด้วย ไม่ว่าจะเป็น thyroid disorders, anemia, perimenopausal symptoms และกลุ่มโรคทางจิตเวชต่างๆ เช่น major psychiatric disorder, major depressive disorder, minor depressive disorder หรือ dysthymic disorder เป็นต้น

ปัจจัยที่สำคัญต่อการวินิจฉัย PMS ก็คือ การที่มีอาการทางกายและทางอารมณ์ เกิดขึ้นทั้งสองอย่างพร้อมกัน โดยต้องไม่มีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย แต่สำหรับการวินิจฉัย PMDD นั้น อาจไม่พบอาการทางกายก็ได้ ร่วมกับอาจทำให้โรคจิตเวชที่เป็นอยู่เดิมนั้นมีอาการเพิ่มมากขึ้นได้ โดยมีแนวทางการวินิจฉัยแยกโรคดังแผนภูมิที่ 2

PMS3

แผนภูมิที่ 2: แนวทางการวินิจฉัยแยกภาวะ premenstrual symptoms, PMS และ PMDD9

การรักษา (Management)

การรักษา PMS และ PMDD นั้นจะมุ่งเน้นเพื่อลดอาการทางร่างกายและอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษา จุดมุ่งหมายเพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกาย โดยยับยั้งการตกไข่ แล้วยังมีกลุ่มยารักษาที่มีผลต่อระดับของสารสื่อประสาท (neurotransmitters) ในร่างกาย เช่น serotonin, norepinephrine หรือ dopamine เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก (Complementary therapies) อีกหลากหลายวิธี ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องเลือกวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคลไป เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Complementary therapies

ถึงแม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกในการรักษากลุ่มอาการ PMS ยังมีอยู่อย่างจำกัด แต่ผู้หญิงที่มีอาการ PMS ที่ได้รับการ holistic approach นั้นมีประโยชน์อยู่บ้าง มักจะใช้วิธีการรักษานี้ในกลุ่มผู้หญิงที่มีข้อห้ามสำหรับการใช้ hormonal therapy แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีความระมัดระวังในการใช้วิธีนี้ด้วย ตัวอย่างของวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ประโยชน์ รวมทั้งลักษณะการศึกษาที่ผ่านมา ปรากฎดังตารางที่ 1

Vitamin B610

Vitamin B6 มักถูกใช้รักษาอาการ PMS โดยที่ยังไม่ได้หลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับประโยชน์ของยา จากคำแนะนำของ Department of Health และ Medicine Control Agency ได้จำกัดปริมาณการให้ โดยสามารถให้ได้เพียง 10 mg/day

Magnesium10

มีการศึกษาเพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่พูดถึงการใช้ magnesium ใน PMS โดยบอกไว้ว่า การได้รับ magnesium อย่างเป็นประจำ อาจมีประโยชน์ต่อการรักษา PMS ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Calcium/vitamin D10

จากบางการศึกษาที่ผ่านมา บอกไว้ว่า ระดับของ calcium และ vitamin D จะต่ำลงในกลุ่มผู้หญิงที่มีอาการ PMS ดังนั้นการได้รับ calcium อาจช่วยลดอาการได้บ้าง นอกจากนั้นการที่ได้รับ total vitamin D สูง (median; 706 IU/d) จะมี relative risk 0.59 (95%CI; 0.40-0.86) เมื่อเทียบกับได้รับในปริมาณที่น้อยกว่า (median; 112 IU/d) [p-value = 0.01] นอกจากนั้นการได้รับ skimmed/low-fat milk ก็สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิด PMS ที่ลดลงด้วย (p-value <0.001) ดังนั้นการได้รับทั้ง calcium/vitamin D อาจมีผลช่วยลดการเกิด PMS และลดความเสี่ยงในการเกิด osteoporosis และมะเร็งบางชนิดในอนาคตอีกด้วย แต่ก็ยังต้องมีการศึกษาถึงประโยชน์ที่ชัดเจนต่อไป

Isoflavones10

มีการศึกษาผลของการใช้ isoflavones คือ ผู้หญิงที่มีอาการ menstrual migraine เมื่อได้รับ Soy isoflavones, Dong Quai และ Black Cohosh extracts จะมีอาการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ placebo นอกจากนั้นการได้รับ Red Clover isoflavones ช่วยให้ผู้หญิงที่มีอาการ severe PMS ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ placebo แล้ว ไม่ได้มีความแตกต่างของผลอย่างมีนัยสำคัญ อาจจำเป็นต้องมีการศึกษาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่กว่าเดิม

Agnus castus10

Vitex agnus castus L. หรือที่รู้จักกันคือ chasteberry ซึ่งประกอบไปด้วยสาร iridoids และ flavonoids โดยไปมีผลต่อการควบคุม stress-induced prolactin secretion ผ่านทาง dopamine โดยที่ไม่ได้ไปมีผลโดยตรงต่อ LH หรือ FSH ซึ่ง agnus castus นี้จัดเป็นวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่มีงานวิจัยรองรับว่าดีที่สุดสำหรับ PMS แต่ก็ยังขาด standardized quality controlled preparation โดยจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

St John’s Wort 7, 10

St John’s Wort หรือ Hypericum perforatum เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีผลช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาทาง clinical ที่ชัดเจนสำหรับผลของการรักษาอาการ PMS แต่คาดว่าจะช่วยลดอาการ physical และ behavioral symptoms ได้ โดยไม่ได้ช่วยลดอาการด้านอารมณ์หรือความเจ็บปวดใดๆ11 นอกจากนั้นที่สำคัญ St John’s Wort ยังไปมีผลกระทบต่อยาตัวอื่นๆ เช่น ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitors) และสมุนไพรชนิดนี้ยังส่งผลไปลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดด้วย

Evening primrose oil 7, 10

Evening primrose oil ประกอบไปด้วย γ-linoleic acid ปริมาณมาก ซึ่งถูกใช้เพื่อรักษาอาการ severe PMS มีการศึกษาแบบ meta-analysis บ่งชี้ว่าการใช้ evening primrose oil ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษา severe PMS แต่ช่วยเพียงลดอาการเจ็บเต้านมได้เท่านั้น

Complementary therapy

Benefit

Type of studies

Numbers in the study

Note

Exercise

Some benefit

Nonrandomised and randomized

72 (4 published studies)

High quality studies recommended.

Reflexology

Some benefit

Randomised

35

 

Vitamin B6

Mixed results

Double-blind

Randomised

Cross-over

1067 (13 published studies)

Peripheral neuropathy with high doses (most studies performed using higher doses).

Department of Health restricts the daily dose to 10 mg.

Magnesium

Mixed results

Double-blind

Randomised

Cross-over

153 (3 published studies)

Used in premenstrual phase.

Multivitamins

Unknown

400 (several published studies)

Unclear which are the active ingredients.

Calcium/vitamin D

Yes

Double-blind

Randomised

Cross-over

499 (2 published studies)

 

Isoflavones

Mixed results

Double-blind

Randomised

Cross-over

72 (2 published studies)

May benefit menstrual migraine.

Vitex agnus castus L.

Yes

Double-blind

Randomised

923 (7 published studies)

There is no standardized preparation.

St John’s Wort

Mixed results

Double-blind

Placebo-controlled

401 (4 published studies)

May benefit physical and behavioral symptoms.

Many withdrew from one study due to adverse effects.

Significant interactions with conventional medicines.

The British National Formulary advises avoid concomitant use with SSRIs.

Ginkgo biloba

Some benefit

Double-blind

Placebo-controlled

233 (2 published studies)

 

Saffron

Yes

Double-blind

Placebo-controlled

47

Further data before recommendation.

Evening primrose oil

Some benefit

Double-blind

Placebo-controlled

Cross-over

215 (4 published studies)

May benefit women with cyclical breast symptoms.

Acupuncture

Some benefit

Case-control

235 (10 published studies)

High risk of bias. Further data before recommendation.

Lemon balm

Some benefit

Double-blind

Placebo-controlled

100 (1 published study)

PMS severity quantified by PSST.

Further data before recommendation.

Curcumin

Some benefit

Double-blind

Placebo-controlled

70 (1 published study)

PMS severity quantified by an unvalidated symptom score.

Further data before recommendation.

Wheat germ

Some benefit

Triple-blind

Placebo-controlled

84 (1 published study)

PMS severity quantified by an unvalidated symptom score.

Further data before recommendation.

 

ตารางที่ 1: Complementary therapies7 (ดัดแปลงจาก Management of Premenstrual Syndrome. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2017;124(3):e73-e105.)

นอกจากนี้ Cognitive behavioral therapy (CBT)7, 10 เป็นการทำจิตบำบัดประเภทหนึ่ง มีการศึกษาถึงผลของการใช้ fluoxetine (20 mg daily) และการทำ CBT และ combined therapy (fluoxetine ร่วมกับ CBT) ในผู้ป่วย PMDD ปรากฎว่า อาการต่างๆของผู้ป่วยดีขึ้นทั้ง 3 กลุ่มหลังจากได้รับการรักษามา 6 เดือน โดยกลุ่มที่ใช้ fluoxetine อย่างเดียว สัมพันธ์กับการลดของอาการต่างๆได้รวดเร็วกว่า แต่เมื่อติดตามการรักษาไป การทำ CBT สัมพันธ์กับอาการที่ดีขึ้นอย่างคงที่มากกว่าการใช้ fluoxetine12 ดังนั้นแพทย์จึงควรพิจารณาการทำ CBT ในผู้ป่วย severe PMS ทุกราย

Medical treatment

กลุ่มยาสองประเภทที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มผู้หญิงที่มีอาการ moderate-to-severe PMS ได้แก่ กลุ่มยาที่ไปยับยั้งการตกไข่ และกลุ่มยา SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitors)

Combined oral contraceptive pill (COC)7, 10

จาก randomized prospective trials ในช่วงแรก combined pill ไม่ได้มีประโยชน์ในการรักษา PMS โดยอาจเกิดจากมีส่วนประกอบของ pill-free week และมี daily progestogen (second-generation pills; levonorgestrel) ที่ทำให้เกิด PMS-type symptoms ได้ แต่ในปัจจุบัน มีการคิดค้น new combined contraceptive pill นั่นก็คือ Yasmin ที่ประกอบไปด้วย anti-mineralocorticoid, anti-androgenic progestogen และ drospirenone ทำให้สามารถรักษากลุ่มอาการ severe PMS ได้ เพราะว่ามีการลดลงของผลข้างเคียงจาก progestogen และมีฤทธิ์ mild diuretic และ anti-androgenic effect นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาจาก Yasmin (30 mg ethinylestradiol/3 mg dropirenone โดยเป็นแบบ 21/7 regimen) มาเป็น Yaz® (20 mg ethinylestradiol/3 mg dropirenone โดยเป็นแบบ 24/4 regimen) การที่ลด hormone free interval มาเป็น 4 วันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด cycle-related symptoms ได้ แล้วมีการศึกษาอีกว่า การใช้ Yaz® นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า placebo เมื่อใช้รักษากลุ่ม PMDD ด้วย13, 14 ซึ่งการใช้ยาแบบต่อเนื่องได้ผลมากกว่าการใช้ยาเป็นรอบ cycle โดยได้ผลทั้งการจัดการกับอารมณ์ อาการปวดศีรษะ และปวดบริเวณเชิงกราน

Transdermal estradiol7, 10

มีงานศึกษา Placebo-controlled trials กล่าวไว้ว่าการใช้ implanted และ transdermal patch (17ß-estradiol) ร่วมกับ cyclical progestogen มีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาอาการ physical และ psychological ในผู้ป่วยกลุ่ม severe PMS แล้วยังมีการศึกษาว่าการใช้ 100 mcg patch มีผลเหนือกว่า placebo15 ซึ่งการใช้เป็นแบบ 100 mcg estradiol patches 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ผลในการลดอาการต่างๆได้ดี รวมไปถึงผลข้างเคียงที่น้อยกว่าการใช้เป็นแบบ 200 mcg patch 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสำหรับการใช้ในระยะยาวยังจำกัด รวมทั้งผลต่อ endometrium และ breast ด้วย

Progestogen intolerance7, 10

สำหรับการใช้ continuous estradiol นั้นจำเป็นต้องเพิ่ม cyclical progestogen (10-12 วัน/cycle) เข้าไปด้วย เพื่อป้องกันการเกิด endometrial hyperplasia ในผู้หญิงที่ยังมีมดลูกอยู่ โดยการใช้ progestogen-releasing system (LNG-IUS 52 mg; Mirena) จะมีประสิทธิภาพสูงในการลดอาการ PMS-like adverse effects นอกจากนี้ยังมีการใช้ micronized oral progesterone (100 หรือ 200 mg) มีผลทางด้าน androgenic น้อย แล้วยังมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ น้อยกว่ากลุ่ม progestogens พวก norethisterone และ levonorgestrel โดยที่ progesterone สามารถเป็น diuretic แลพ CNS anxiolytic จึงอาจไปช่วยลดอาการของ PMS ได้ด้วย

การใช้ cyclical progestogen ในปริมาณที่ต่ำ และระยะเวลาที่สั้น จะช่วยลดผลข้างเคียงต่างๆที่ไม่ต้องการได้ (micronized progesterone 100 mg หรือ norethisterone 2.5 mg) ควรใช้ในวันที่ 17-28 ของแต่ละรอบเดือน

Danazol7, 10

Danazol เป็น androgenic steroid มีผลในการยับยั้งการตกไข่ ซึ่งการใช้ danazol 200 mg วันละ 2 ครั้ง มีผลเหนือกว่าการใช้ placebo ในเรื่องของการลดอาการ severe PMS ได้16 แต่อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ก็มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น สิว น้ำหนักเพิ่มขึ้น ขนดก เสียงแหบ (masculinizing side-effects) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการศึกษาหนึ่งบอกไว้ว่า การรักษาด้วย danazol ในช่วง luteal phase นั้นจะช่วยลดอาการทางเต้านมเท่านั้น โดยไม่ได้มีผลไปลดอาการด้านอื่นๆ17

นอกจากนี้ การใช้ danazol ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เกิด cliteromegaly, labial fusion และ urogenital sinus abnormalities ในทารกเพศหญิง ทำให้ผู้หญิงที่รักษาด้วยยาชนิดนี้ จะต้องมีการคุมกำเนิดที่ดีด้วย

Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) analogues7, 10

GnRH analogues มีผลในการยับยั้งการสร้าง ovarian steroid โดยทั่วไปแล้ว ไม่นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษา PMS เนื่องจากผลข้างเคียงและราคาที่สูงของยา ซึ่งอาจพิจารณาใช้ในรายที่มีอาการแบบ most severe symptoms เท่านั้น ยาชนิดนี้จะไปมีผลลดอาการทางร่างกายมากกว่าพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ อาจรักษาโดยการใช้ hormone replacement therapy ร่วมด้วย เพื่อลด hypoestrogenic state และคงระดับของ bone mineral density (BMD) เอาไว้ ซึ่งแนะนำเป็น continuous combined therapy หรือใช้เป็น Tibolone แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วย PMS ด้วยการใช้ GnRH analogues ควรใช้ระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น (ถ้าใช้เพียงตัวเดียว) ในผู้ป่วยที่ต้องใช้แบบ long-term ควรตรวจ BMD ประจำปีด้วย (ตรวจโดย dual energy X-ray absorptiometry; DEXA) โดยถ้า BMD ลดลง ก็เป็นข้อบ่งชี้สำหรับหยุดการรักษาด้วย GnRH analogues

Progesterone and Progestogens7, 10

Meta-analysis สำหรับการศึกษาผลของ progestogen และ progesterone ที่มีต่อการรักษาอาการ PMS พบว่า ยากลุ่มนี้ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะใช้รักษา PMS ได้18 แล้วก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการใช้ LNG-IUS 52 mg เพียงอย่างเดียว จะช่วยลดอาการของ PMS ซึ่งการใช้ตัวนี้ อาจไปเพิ่มระยะเวลาในการเป็น PMS ในแต่ละรอบเดือนด้วย

Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)7, 10

เนื่องจากมีหลักฐานมากขึ้นว่า serotonin นั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการ PMS โดยในผู้หญิงที่มีอาการของ PMS จะมีระดับของ serotonin ต่ำกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป19 แต่ว่ากลไกของยาที่มีต่อการลดอาการนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง estrogen และ progesterone มีความสามารถในการควบคุมปริมาณของ serotonin receptors

Cochrane review ศึกษาแล้วว่าการใช้ SSRIs ไม่ว่าจะเป็น fluoxetine, paroxetine, sertraline, escitalopram และ citalopram ในปริมาณ moderate dose ช่วยทำให้อาการของ PMS ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ placebo (SMD -0.65, 95%CI -0.46 to -0.84)20 โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้เป็นแบบต่อเนื่อง และการใช้เฉพาะช่วง luteal phase พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ20 ยากลุ่มนี้สามารถลดได้ทั้งอาการทาง physical และ psychological symptoms นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้ serotonin-noradrenaline reuptake inhibitors (SNRIs) ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่ม PMDD ด้วย21

เมื่ออาการของผู้ป่วยดีขึ้นแล้ว ต้องการหยุดการใช้ SSRIs จะต้องค่อยๆลดปริมาณของยาลง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ withdrawal symptoms ไม่ว่าจะเป็น gastrointestinal disturbances, ปวดศีรษะ, วิตกกังวล, มีนงงสับสน, sleep disturbances, เหนื่อยง่าย, influenza-like symptoms และเหงื่อแตก

ยาในกลุ่ม SSRIs ที่ออกมาใหม่ เช่น citalopram พบว่าช่วยลดอาการ PMS ได้ดีกว่า SSRIs ตัวอื่นๆ โดยแนะนำเป็น citalopram หรือ escitalopram 20 mg/day เริ่มในวันที่ 15-28 ของแต่ละรอบเดือน10

มีการศึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มนี้ (SSRIs, SNRIs) ต่อความเสี่ยงในการเกิด birth defects ต่างๆ มีรายงานว่าพบความผิดปกติในหลายรูปแบบ ได้แก่ cardiovascular birth defects และ major congenital defects ต่างๆ (เช่น anal atresia, cystic kidneys, clubfoot, gastroschisis, hypospadias, limb reduction และ omphalocele) ทำให้ผู้หญิงที่รักษาด้วยยาชนิดนี้ จะต้องมีการคุมกำเนิดที่ดีด้วย ถ้าประจำเดือนเริ่มขาดไป ก็ควรหยุดยาในกลุ่มนี้

Spironolactone7

เนื่องจาก spironolactone จัดเป็นกลุ่มยา potassium-sparing diuretic โดยมีสูตรโครงสร้างโมเลกุลคล้ายคลึงกับ steroid hormone มีการศึกษาแล้วว่า ช่วยทำให้อาการทาง physical และ mood ดีขึ้นในผู้ป่วย PMS22, 23

Surgical treatment

Hysterectomy7, 10

การตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง (Hysterectomy and bilateral oophorectomy) เป็นรูปแบบการรักษาเพื่อยับยั้งการตกไข่อย่างถาวร โดยการตัดทั้งหมดออกไป ทำให้ยุติ ovarian cycle นอกจากนั้นหากตัดมดลูกออกไปด้วย ทำให้สามารถใช้ estrogen replacement ได้โดยไม่ต้องใช้ progestogen ร่วมด้วย สำหรับวิธีรักษาแบบนี้ ควรพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่เป็น severe PMS ที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยยา แล้วต้องรักษาด้วย long-term GnRH analogues

ก่อนที่จะรักษาผู้ป่วย PMS ด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับ preoperative GnRH analogues เพื่อทำนายแนวโน้มผลของการทำ oophorectomy ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดนั้น อายุน้อยกว่า 45 ปีแล้วไม่ได้มีข้อบ่งชี้อื่นๆในการตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้งสองข้างออก24

ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 45 ปีที่ได้รับ surgical treatment ควรได้รับ hormone replacement therapy โดยถ้าตัดเฉพาะรังไข่ทั้งสองข้างออก (ไม่ได้ตัดมดลูก) จำเป็นต้องได้รับทั้ง HRT และ progestogen ร่วมด้วย แต่ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิด PMS-like symptoms ได้เนื่องจาก progestogen จะไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการต่างๆได้

สรุป Premenstrual syndrome and Premenstrual dysphoric disorder หรือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน เป็นกลุ่มอาการที่แสดงออกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน อาการที่เกิดขึ้นจะอยู่ในช่วง luteal phase และหายไปได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ประจำเดือนมา โดยการรักษาก็มีทั้งการใช้แพทย์ทางเลือก การใช้ยาในกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น hormonal therapy หรือการใช้ยาในกลุ่ม SSRIs/SNRIs แล้วก็มีการรักษาในรูปแบบการผ่าตัด ซึ่งแนวทางในการรักษาเป็นไปดังแผนภูมิที่ 3 ตามคำแนะนำของ The National Association for Premenstrual Syndrome (NAPS) การดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้ป่วยเอง แพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวชกรรมและด้านจิตวิทยา เพื่อให้การรักษาเหมาะกับตัวผู้ป่วยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

PMS4

แผนภูมิที่ 3: แนวทางการรักษา PMS10

เอกสารอ้างอิง

  1. Hofmeister S, Bodden S. Premenstrual Syndrome and Premenstrual Dysphoric Disorder. Am Fam Physician. 2016;94(3):236-40.
  2. Hammarbäck S, Bäckström T, Holst J, von Schoultz B, Lyrenäs S. Cyclical mood changes as in the premenstrual tension syndrome during sequential estrogen-progestagen postmenopausal replacement therapy. Acta Obstet Gynecol Scand. 1985;64(5):393-7.
  3. Kumar P, Sharma A. Gonadotropin-releasing hormone analogs: Understanding advantages and limitations. J Hum Reprod Sci. 2014;7(3):170-4.
  4. Halbreich U. The etiology, biology, and evolving pathology of premenstrual syndromes. Psychoneuroendocrinology. 2003;28 Suppl 3:55-99.
  5. Endicott J, Nee J, Harrison W. Daily Record of Severity of Problems (DRSP): reliability and validity. Arch Womens Ment Health. 2006;9(1):41-9.
  6. Borenstein JE, Dean BB, Yonkers KA, Endicott J. Using the daily record of severity of problems as a screening instrument for premenstrual syndrome. Obstet Gynecol. 2007;109(5):1068-75.
  7. Management of Premenstrual Syndrome. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2017;124(3):e73-e105.
  8. American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association; 2013.
  9. Dickerson LM, Mazyck PJ, Hunter MH. Premenstrual syndrome. Am Fam Physician. 2003;67(8):1743-52.
  10. (NAPS) TNAfPS. NAPS Guidelines on Premenstrual Syndrome 2018 [cited 2020 SEP 26]. Available from: https://www.pms.org.uk/app/uploads/2018/06/guidelinesfinal60210.pdf.
  11. Canning S, Waterman M, Orsi N, Ayres J, Simpson N, Dye L. The efficacy of Hypericum perforatum (St John’s wort) for the treatment of premenstrual syndrome: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. CNS Drugs. 2010;24(3):207-25.
  12. Hunter MS, Ussher JM, Browne SJ, Cariss M, Jelley R, Katz M. A randomized comparison of psychological (cognitive behavior therapy), medical (fluoxetine) and combined treatment for women with premenstrual dysphoric disorder. J Psychosom Obstet Gynaecol. 2002;23(3):193-9.
  13. Coffee AL, Kuehl TJ, Willis S, Sulak PJ. Oral contraceptives and premenstrual symptoms: Comparison of a 21/7 and extended regimen. American Journal of Obstetrics & Gynecology. 2006;195(5):1311-9.
  14. Coffee AL, Sulak PJ, Kuehl TJ. Long-term assessment of symptomatology and satisfaction of an extended oral contraceptive regimen. Contraception. 2007;75(6):444-9.
  15. Magos AL, Brincat M, Studd JW. Treatment of the premenstrual syndrome by subcutaneous estradiol implants and cyclical oral norethisterone: placebo controlled study. Br Med J (Clin Res Ed). 1986;292(6536):1629-33.
  16. Hahn PM, Van Vugt DA, Reid RL. A randomized, placebo-controlled, crossover trial of danazol for the treatment of premenstrual syndrome. Psychoneuroendocrinology. 1995;20(2):193-209.
  17. O’Brien PM, Abukhalil IE. Randomized controlled trial of the management of premenstrual syndrome and premenstrual mastalgia using luteal phase-only danazol. Am J Obstet Gynecol. 1999;180(1 Pt 1):18-23.
  18. Wyatt K, Dimmock P, Jones P, Obhrai M, O’Brien S. Efficacy of progesterone and progestogens in management of premenstrual syndrome: systematic review. Bmj. 2001;323(7316):776-80.
  19. Ashby CR, Jr., Carr LA, Cook CL, Steptoe MM, Franks DD. Alteration of platelet serotonergic mechanisms and monoamine oxidase activity in premenstrual syndrome. Biol Psychiatry. 1988;24(2):225-33.
  20. Marjoribanks J, Brown J, O’Brien PM, Wyatt K. Selective serotonin reuptake inhibitors for premenstrual syndrome. Cochrane Database Syst Rev. 2013;2013(6):Cd001396.
  21. Cohen LS, Soares CN, Lyster A, Cassano P, Brandes M, Leblanc GA. Efficacy and tolerability of premenstrual use of venlafaxine (flexible dose) in the treatment of premenstrual dysphoric disorder. J Clin Psychopharmacol. 2004;24(5):540-3.
  22. Wang M, Hammarbäck S, Lindhe BA, Bäckström T. Treatment of premenstrual syndrome by spironolactone: a double-blind, placebo-controlled study. Acta Obstet Gynecol Scand. 1995;74(10):803-8.
  23. O’Brien PM, Craven D, Selby C, Symonds EM. Treatment of premenstrual syndrome by spironolactone. Br J Obstet Gynaecol. 1979;86(2):142-7.
  24. Wyatt KM, Dimmock PW, Ismail KM, Jones PW, O’Brien PM. The effectiveness of GnRHa with and without ‘add-back’ therapy in treating premenstrual syndrome: a meta analysis. Bjog. 2004;111(6):585-93.

 

Read More
Emer Con1

Emergency contraception

Emergency contraception

น.พ.เลอเกียรติ คำประดิษฐ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.พ.ญ. วรชร ลัทธิวงศกร


คือการใช้ยาหรือเครื่องมือใด ๆ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือป้องกันแล้วแต่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงป้องกันแล้วแต่ล้มเหลว เช่น ถุงยางแตกรั่ว การลืมกิน หรือฉีดยาคุมกำเนิด1 แม้ว่าโอกาสตั้งครรภ์ของการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ห่างจากระยะไข่ตกมาก จะมีน้อย แต่ก็ยังแนะนำให้ใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉินเสมอ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์อยู่ในช่วงใดของรอบเดือนก็ตาม2

ข้อบ่งชี้ในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน3

  • เมื่อไม่ได้มีการคุมกำเนิดก่อนหน้ามีเพศสัมพันธ์ ภายใน 120 ชั่วโมง
  • เมื่อการคุมกำเนิดล้มเหลว หรือ ไม่ถูกวิธี ภายใน 120 ชั่วโมง รวมไปถึง
    • ถุงยางอนามัยแตกรั่ว เลื่อนหลุด หรือใช้ไม่ถูกวิธี
    • ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มี Ethinyl estradiol 30-35 mcg มากกว่า หรือเท่ากับ 3 ครั้ง ( มากกว่าหรือ เท่ากับ 2 ครั้ง สำหรับ 20 – 25 mcg )
    • รับประทานยา Progestrin – only pill (minipill) ช้าไป 3 ชั่วโมง
    • ฉีดยาคุมกำเนิด depot-medroxyprogesterone acetate ช้าไป 2 สัปดาห์หรือ มากกว่า
    • มีการเลื่อนหลุด แตก ฉีกขาด หรือเพิ่งถอด หมวกครอบปากมดลูก (cervical cap)
    • มีการเลื่อนหลุด แปะล่าช้า หรือเพิ่งถอด ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ หรือ vaginal ring
    • ล้มเหลวจากการหลั่งนอก ( เช่น มีการหลั่งในช่องคลอด หรือ อวัยวะเพศภายนอก )
    • ล้มเหลวในการใช้ยาฆ่าอสุจิ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์
    • คำนวณระยะปลอดภัยผิดพลาด
    • ห่วงคุมกำเนิดเลื่อนหลุด
  • ที่มา : World Health Organization fact sheet No. 244 on Emergency Contraception. 2016

ข้อบ่งห้ามในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน4

  • ผู้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคเกล็ดเลือดสูง
  • โรคไมเกรน
  • โรคตับ
  • กำลังให้นมบุตร
  • ข้อห้ามในการใช้ Cu IUD คือมีภาวะมดลูกบิดเบี้ยวรุนแรง(severe uterine distortion) มีภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ภาวะแพ้ทองแดง สงสัยว่าตั้งครรภ์

วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ได้รีบการยอมรับในปัจจุบัน มี 4 วิธี คือ

  1. Combined estrogen-progestin
  2. Progestin only
  3. Anti-progestin
  4. Copper intrauterine contraception

โดยแต่ละวิธีมีกลไกการออกฤทธิ์ ขนาดและวิธีการให้ ดังนี้

1. Combined estrogen-progestin

คือ การใช้ Ethinyl estradiol ร่วมกับ levonorgestrel (Yuzpe Method) เป็นวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ ปี 1974 เป็นการใช้ estrogen ขนาดสูง ethinyl estradiol 100 mcg ร่วมกับ levonorgestrel 0.5-1 mg รับประทาน ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน รับประทาน 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ประสิทธิภาพต่ำ รวมกับมีผลข้างเคียงสูง จากปริมาณ estrogen ที่สูง ทำให้เป็นวิธีที่ไม่ได้รับความนิยมนัก5,6

กลไกการออกฤทธิ์ estrogen และ progesterone ที่ใช้ร่วมกันมีผลรบกวนการทำงานปกติของรังไข่ ทำให้เกิดการตกไข่ช้าลง (Delaying ovulation) หรือไม่เกิดการตกไข่ไปเลยในรอบเดือนนั้น1

ผลข้างเคียง ไม่มีผลข้างเคียงเป็นอันตรายถึงชีวิต ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน 40% ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการรับประทานยาแก้อาเจียน อาการอื่น ๆ ที่พบได้ไม่บ่อย คือ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม และปวดท้องน้อย มันเป็นแค่เพียงชั่วคราว หายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง4

ตัวอย่างยา ไม่มียาในกลุ่ม estrogen-progestin ที่วางขายในท้องตลาดเพื่อการคุมกำเนิดฉุกเฉินโดยตรง ผู้ใช้สามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ให้ได้ปริมาณของ ethinyl estradiol รวม 100 mcg และ levonorgestrel 0.5 – 1 mg หรือ norgestrel 2 mg

2. Progestin only

Progestin ที่นำมาใช้คือ Levonorgestrel สามารถให้ได้ทั้งขนาด 0.75 mg 2 dose ห่างกัน 12 ชั่วโมงหรือ ขนาด 1.5 mg เพียง 1 dose ทั้ง 2 วิธีได้รับการรับรองจาก US FDA ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่างกัน รวมไปถึงผลข้างเคียงไม่ต่างกันด้วย Levonorgestrel ยังคงได้ผลดี แม้จะใช้หลังมีเพศสัมพันธ์ 3-5 วันก็ตาม WHO จึงแนะนำให้ใช้ Levonorgestrel 1.5 mg 1 dose ได้ถึง 120 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ป้องกัน7

กลไกการออกฤทธิ์1

  • มีผลต่อการเจริญของ follicles หลังจากมีการเลือก dominant follicle ก่อนการเพิ่มขึ้นของ LH เมื่อได้รับ LNG วันที่ 2-3 ก่อน LH peak LH peak จะถูกยับยั้งทำให้เกิดช้าลง ซึ่งอาจส่งผลเพียงแค่ทำให้ follicles เจริญช้าลง หรือ หยุดการเจริญ หรือไม่ตกไข่เลยก็ได้ ในทางตรงกันข้ามหากให้ LNG 1 วันหลัง LH peak จะไม่สามารถยับยั้งการตกไข่ได้
  • LNG มีผลต่อ cilia ในท่อนำไข่ของมนุษย์ ทำให้พัดโบกช้าลง อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนภายในท่อนำไข่ หากเกิดเร็วหรือช้าเกินไป จะทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันของระยะของตัวอ่อน และความพร้อมของผนังมดลูก เมื่อตัวอ่อนเดินทางไปถึง โพรงมดลูกทำให้การฝังตัวล้มเหลว
  • LNG มีผลต่อเมือกที่ปากมดลูก และ ในมดลูก แต่อาจไม่ใช่กลไกหลักในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน เพราะยังสามารถพบอสุจิ ในระบบสืบพันธ์ของเพศหญิงได้ใน 24 – 28 ชั่วโมง หลังการรับประทาน LNG

ผลข้างเคียง ไม่มีผลข้างเคียงเป็นอันตรายถึงชีวิต ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน 24% แต่เกิดน้อยว่าการใช้ estrogen-progestin

เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ ทางช่องคลอดได้ พบมีรายงาน ภาวะเลือดออกผิดปกติ ในสัปดาห์แรกหลังใช้ LNG ได้ 16 % 4

ตัวอย่างยา Postinor, Madonna, Marry pink, Norpak และ Ladynore

ช่วงเวลาเหมาะสมสำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ทั้ง 2 วิธีของการคุมกำเนิดที่กล่าวมาสามารถใช้ได้ผลดีเมื่อรับประทานยาภายในเวลา 72 ชั่วโมง (3 วัน) หลังการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เมื่อทำการศึกษาโดยวิธี randomized clinical trial8, 9 พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ต่ำสุดเมื่อรับประทานภายใน 12 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ และอัตราตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ห่างออก โดยจะต่ำกว่าร้อยละ 1 เมื่อรับประทานภายใน 12 ชั่วโมง และเพิ่มมากกว่าร้อยละ 3 เมื่อรับประทานใน 61-72 ชั่วโมงภายหลังร่วมเพศ ดังนั้น โดยทั่วไปจึงขอแนะนำให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้โดยเร็วที่สุด และไม่แนะนำในกรณีที่ระยะเวลาเกินกว่า 72 ชั่วโมงไปแล้ว

ผลของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินต่อประจำเดือน

โดยมากแล้วการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มักทำให้รอบเดือน ในเดือนนั้น ๆ สั้นลง ( ประจำเดือนมาเร็วขึ้น ) และจะกลับมาเป็นปกติในรอบเดือนถัดไป

ที่ผ่านมามีการศึกษาที่ออกแบบการศึกษาเพื่อ ประเมินผลของ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (LNG) ต่อรอบเดือนของผู้ใช้โดยเฉพาะ 3 การศึกษา ทั้ง 3 การศึกษาพบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีผลทำให้รอบเดือนของผู้ใช้สั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ10 แต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับว่า รับประทานยาในช่วงเวลาใดของรอบเดือนด้วย เช่น ในการศึกษาของ Gainer et al11 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ baseline cycle ในรอบเดือนที่ได้รับยา และหลังรับยา ในผู้ที่รับประทาน Levonogestrel 1.5 mg 1 ครั้ง พบว่า รอบเดือนสั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นระยะเวลาประมาณ 2 วัน เมื่อรับประทานยาช่วงหลังตกไข่ (Postovulatory phase) แต่หากรับประทานยาในช่วง 2 วันก่อนการตกไข่ จนถึง 2 วันหลังตกไข่ (Periovulatory phase) รอบเดือนจะไม่เปลี่ยนแปลง และ ระยะเวลาของการเป็นประจำเดือน นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในผู้ที่รับประทานยาในช่วง Postovulatory phase และ Periovulatory phase

3. Antiprogestin

3.1 Mifepristone (RU486)

เป็นยาต้าน progesterone เดิมที่เป็นยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ แต่มีประสิทธิภาพสูงในการคุมกำเนิดฉุกเฉินเช่นกัน ขนาดที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ คือ 200 mg แต่ขนาดที่ใช้ในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ 10 mg เท่านั้น12,13 เนื่องจาก Mifepristone เป็นยาที่ใช้ทำแท้งได้ผลดี จึงมีการควบคุมการใช้ในหลายประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) และขนาดที่มีออกมาให้ใช้ก็ไม่ใช่ขนาดที่เหมาะสมแก่การคุมกำเนิดฉุกเฉินอีกด้วย

3.2 Ulipristal

เป็นยากลุ่ม Progesterone receptor modulator ที่ถูกพัฒาขึ้นใหม่ใน สหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองทั้งจาก US FDA และ Europian union ในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน หลังมีเพศสัมพันธ์ได้ถึง 120 ชั่วโมง7 ขนาดยาที่ใช้คือ 30 mg เพียง 1 ครั้งเท่านั้น4 เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงต่ำ และ ค่อนข้างสะดวกในการใช้ ulipristal metabolized ผ่าน enzyme CYP3A4 ผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่ม Barbiturate, Rifampicin และกลุ่มยากันชัก อยู่ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ลดลง7

ในสหรัฐอเมริกา การจะใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีจำหน่ายทั้ง 2 ชนิด

กลไกการออกฤทธิ์1

  • การให้ mifepristone หรือ Ulipristal ก่อน LH peak มีผล การตกไข่เกิดขึ้นล่าช้า (Delay ovulation) และสำหรับ Ulipristal แม้จะรับประทานในวันที่ LH peak ก็ยังสามารถ Delay ovulation ออกไปได้ 24- 48 ชั่วโมง
  • การให้ mifepristone ใน Early luteal phase มีผลเปลี่ยนแปลงการเจริญ และ function ของ endometrium
  • Ulipristal มีผลยับยั้งการ down regulate ของ progesterone receptor ทำให้ลด Endometrium thickening และ delayed histological maturation ทำให้ไม่พ้อมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน

ผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน พบได้ประมาณ 12 % ซึ่งถือว่าเกิดน้อยว่าการใช้ยา ใน 2 กลุ่มที่ผ่านมา4

4. Copper intrauterine contraception

การใช้ copper IUD เพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีรายงานครั้งแรกในปี 1976 โดยการทดลองใช้ copper IUD ภายใน 7 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ป้องกัน พบว่าได้ผลดีกว่าการใช้ hormonal contraception ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดฉุกเฉินคือ 100% ในผู้ที่ใช้ภายใน 5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ และเกือบ 100% ในผู้ที่ใช้ภายใน 7 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยมากแล้ว copper IUD มักมีราคาไม่แพง และถือว่าคุ้มค่า เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน และผลในการคุมกำเนิดระยะยาว7

กลไกการออกฤทธิ์ 1

  • Copper ions ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจาก copper IUD ก่อให้เกิดการอักเสบ เพิ่มความเข้มข้นของของเหลวใน genital tract ของเพศหญิง ซึ่งเป็นพิษต่อ อสุจิ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว การทำงาน acrosome reaction และการปฏิสนธิของ อสุจิ
  • การเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของ copper ในของเหลวในมดลูก และท่อนำไข่ มีผลเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบของท่อนำไข่ รบกวนกระบวนการขนส่งตัวอ่อนที่จะไปฝังตัวที่โพรงมดลูก
  • Copper IUD ไม่มีผลต่อการเจริญของ endometrium ระหว่างรอบเดือน แต่มีผลเพิ่ม leukocyte ใน glandular lumina ซึ่งเป็น inflammation reaction มีผลเปลี่ยนแปลง endometrial cell เป็นอุปสรรคต่อการฝังตัวของ blastocyst

ผลข้างเคียง 4

  • เกิดความไม่สุขสบายในการใส่ copper IUD
  • มีความสี่ยงที่จะเกิดมดลูกทะลุได้ สามารถเกิดได้ประมาณ 1 ต่อ 1000 ของการใส่ copper IUD
  • อาจทำให้เกิดรอบเดือนที่นานขึ้น หรือ ปวดท้องประจำเดือนได้

ตาราง สรุปวิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีใช้ในปัจจุบัน 4

Emer Con1

ที่มา : ACOG practice bulletin, number 152 , September 2015

ประสิทธิภาพของวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน14

การศึกษาในเรื่องของประสิทธิภาพของวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยทั่วไปมักพบว่า Copper intrauterine contraception (IUD) คือวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน อัตราความล้มเหลวมีเพียง 0.04 – 0.19 % เท่านั้น ตามมาด้วยยาในกลุ่ม Antiprogestin ทั้ง mifepristone หรือ ulipristal acetate อัตราความล้มเหลวยู่ที่ประมาณ 1.4 % ส่วน Levonogestrel อัตราความล้มเหลวคือ 2-3 % หรืออีกนัยหนึ่ง หากใช้วิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน พบว่า Copper IUD ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 95% Ulipristal acetate ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 70% และ Levonogestrel ป้องกันได้ 50%

ประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการคุมกำเนิดฉุกเฉินที่น่าสนใจ

การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซ้ำ

การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซ้ำ (รับประทานทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้น) คล้ายกับการรับประทาน ยาเม็ดคุมกำเนิดปกตินั้น ข้อมูลอาจยังไม่เพียงพอต่อการให้คำแนะนำที่เหมาะสม แต่ก็ควรตระหนัก ว่า การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซ้ำ ๆ อาจมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย เพราะเป็นการได้รับฮอร์โมนขนาดสูง อาจทำให้เกิดรอบเดือนที่ผิดปกติได้3,4

การนัดติดตามอาการหลังการคุมกำเนิดฉุกเฉิน

การนัดติดตามอาการหลังการคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น ไม่มีความจำเป็นไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม การตรวจการตั้งครรภ์นั้น จะทำในกรณีที่ต้องการแยกภาวะตั้งครรภ์ในหรือ นอกมดลูก เมื่อมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เกิดขึ้น ภายใน 3-4 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดท้องร่วมกับมีเลือดออกผิดปกติ ซึ่งโดยปกติ ภาวะเลือดออกหลังการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์15,16

การคุมกำเนิดฉุกเฉินและภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก

ข้อมูลจาก 136 การศึกษา ที่ใช้ Levonogestrel หรือ Mifepristone ในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า ในผู้ที่ใช้ Mifepristone มี 3 คน จาก 494 คน (0.6%) เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก และ ในผู้ที่ใช้ Levonogestrel มี 3 คน จาก 307 คน (1%) เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งถือว่าน้อยกว่าอัตราการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกในประชากรปกติ ดังนั้น หากการคุมกำเนิดฉุกเฉิน สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ก็อาจสรุปได้ว่า การคุมกำเนิดฉุกเฉินลดความเสี่ยงในการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้เช่นกัน1

ยากลุ่มอื่นที่อาจใช้เพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินได้

ยากลุ่ม prostaglandin inhibitors ทั้งที่เป็น COX-1 และ COX-2 inhibitors เช่น meloxicam, celecoxib พบว่ามีผลรบกวนกระบวนการ oocyte maturation และ ovulation การใช้ยาดังกล่าวเพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น ยังอยู่ช่วงของการศึกษาทดลอง จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ด้วยข้อบ่งชี้นี้ จนกว่าจะมีหลักฐานว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ17,18

เอกสารอ้างอิง

  1. Gemzell-Danielsson K. Mechanism of action of emergency contraception. Contraception 2010; 82:404.
  2. Espinos JJ, Rodriquez-Espinosa J, Senosiain R, Aura M, Vanrell C, Gispert M, Vega C, et al. The role of matching menstrual data with hormonal measurements in evaluating effectiveness of postcoital contraception 1999:60:243-7.
  3. World Health Organization fact sheet No. 244 on Emergency Contraception. 2016
  4. Practice Bulletin No. 152: Emergency Contraception. Obstet Gynecol 2015; 126:e1. Reaffirmed 2018.
  5. Shen J, Che Y, Showell E, et al. Interventions for emergency contraception. Cochrane Database Syst Rev 2019; 1:CD001324.
  6. Yuzpe AA, Thurlow HJ, Ramzy I, Leyshon JI. Post coital contraception–A pilot study. J Reprod Med 1974; 13:53.
  7. Berek JS. Berek and Novak’s Gynecology: Wolters Kluwer Health; 2012.
  8. Von Hertzen H, Piaggio G, Ding J, Chen J, Song S, Bartfai G, et al. Low dose mifepristone and two regimens of levonorgestrel for emergency contraception: a WHO mulitcentre randomized trial. Lancet 2002; 360: 1803-10.
  9. Trussell J, Ellertson C, Rodriguez G. The Yuzpe regimen of emergency contraception: how after the morning after? Obstet Gynecol 1996; 88: 150-4.
  10. Trussell J, Raymond E, Cleland K. Emergency Contraception : A Last Chance to Prevent Unintended Pregnancy. OPR office of population research. 2019
  11. Gainer E, Kenfack B, Mboudou E, Doh AS, Bouyer J. Menstrual bleeding patterns following levonorgestrel emergency contraception. Contraception. 2006;74:118-24.
  12. Derman SG, Peralta LM. Postcoital contraception: present and future options. J Adolesc Health 1995;16:6-11.
  13. Haspels AA. Emergency contraception: a review. Contraception 1994;50:101-8.
  14. Glasier AF, Cameron ST, Fine PM, et al. Ulipristal acetate versus levonorgestrel for emergency contraception: a randomised non-inferiority trial and meta-analysis. Lancet 2010; 375:555.
  15. Festin MP, Bahamondes L, Nguyen TM, et al. A prospective, open-label, single arm, multicentre study to evaluate efficacy, safety and acceptability of pericoital oral contraception using levonorgestrel 1.5 mg. Hum Reprod 2016; 31:530.
  16. Wertheimer RE. Emergency postcoital contraception. Am Fam Physician 2000; 62:2287.
  17. Wu S, Dong J, Cong J, et al. Gestrinone compared with mifepristone for emergency contraception: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol 2010; 115:740.
  18. Massai MR, Forcelledo ML, Brache V, et al. Does meloxicam increase the incidence of anovulation induced by single administration of levonorgestrel in emergency contraception? A pilot study. Hum Reprod 2007; 22:434.
Read More

Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS)

Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS)

พญ. ชลธิชา ตานา
อาจารย์ที่ปรึกษา อ. พญ. วรชร ลัทธิวงศกร


 

บทนำ

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป หรือ ovarian hyperstimulation syndrome (OHSS) คือ ภาวะที่รังไข่มีการตอบสนองที่มากเกินไปต่อการกระตุ้นไข่ในกระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้ไม่บ่อย แต่มีความสำคัญเนื่องจากในรายที่รุนแรงจะมีรังไข่ที่โตมาก มีน้ำในช่องท้องและช่องอก ปัสสาวะออกน้อย ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดอุดตันและอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นไข่ด้วย gonadotropins แต่การเกิดอาการไม่ได้ขึ้นกับขนาดยา gonadotropins เพราะบางรายที่ได้ยาปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดอาการได้ นอกจากนี้ยังสามารถพบในการตั้งครรภ์เองได้ เช่นภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy) หรือครรภ์แฝด เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับการมีฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (hCG) สูง

อุบัติการณ์ของ OHSS มีความแตกต่างกันไปตามรายงาน โดยขึ้นอยู่กับคำจำกัดความและเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มความรุนแรง โดยส่วนใหญ่พบว่ามีอาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate OHSS)ร้อยละ 20-30 ส่วนกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมาก(severe OHSS) พบได้ประมาณร้อยละ 2-3 ของรอบการกระตุ้นไข่ทั้งหมด(1) โดยผู้ป่วยที่เป็น polycystic ovarian syndrome จะมีโอกาสพบความรุนแรงสูงมากกว่าปกติ

พยาธิกำเนิด

กลไกหลักที่ทำให้เกิดภาวะนี้เชื่อว่ามาจากการที่มีรังไข่มีการตอบสนองที่มากเกินไปต่อการถูกกระตุ้น ทำให้มีการพัฒนาของไข่หลายใบ ขนาดของรังไข่โตขึ้น มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenesis) และมีการสร้างสาร vasoactive substances ปริมาณมาก ทำให้เกิด vascular permeability ที่เสียไปเกิดการรั่วของสารน้ำออกมานอกหลอดเลือด(fluid shift to third space) ไปสะสมตามบริเวณต่าง ๆเช่น pleural effusion , ascites, pericardial effusion เป็นต้น ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก อืดแน่นท้อง การบีบตัวของหัวใจลำปาก ปริมาณเลือดในหลอดเลือดลดลงทำให้เลือดไหลเวียนไปไตลดลง ทำให้เกิด hypotension ปัสสาวะออกน้อยลง และไตวายในที่สุด ถึงแม้ว่าปริมาณเลือดจะลดลงแต่เลือดมีความเข้มข้นที่มากขึ้น (hemoconcentration) ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดง่ายขึ้น อาจเกิดการอุดตันของหลอดเลือดหรือเกิดการเคลื่อนที่ของก้อนลิ่มเลือดไปอุดตันตามเส้นเลือดที่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ (thromboembolism) เช่นปอด หัวใจ และสมองเป็นต้น ซึ่งในรายที่มีอาการรุนแรงมากนั้นอาจทำให้เกิด multiorgan failure ได้แก่ acute respiratory distress syndrome (ARDS), renal failure, liver failure และเสียชีวิตได้ในที่สุด

โดยสาร vasoactive substances ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเกิด OHSS คือ vascular endothelial growth factor (VEGF) โดยพบว่าปริมาณ VEGF ที่มากขึ้นสัมพันธ์โดยตรง severity ของ OHSS อย่างมีนัยสำคัญ และสัมพันธ์กับระดับของ hCG ที่สูงขึ้น ยิ่งที่ให้มีการสร้าง VEGF ที่มากขึ้น และ VEGF expression ที่ granulosa cells มากขึ้นด้วย VEGF มีผลต่อ follicular growth, angiogenesis และ corpus luteum function โดยจับกับ VEGFR2 บนผนังหลอดเลือดเพิ่ม vascular permeability เกิดภาวะต่าง ๆ ตามมาดังกล่าวข้างต้น ส่วน local vasoactive substance อื่น ๆที่มีผล เช่น interleukins ( IL-1B, IL6), renin-angiotensin system , angiotensin-II, insulin-like growth factor 1(IGF-1), epidermal growth factor(EGF), transforming growth factor (TGF) เป็นต้น (2)

อาการและอาการแสดง

การวินิจฉัยภาวะรังไข่ถูกกระต้นมากเกินไป (OHSS) นั้นจะใช้อาการเป็นหลัก (clinical diagnosis) โดยการส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจภาพทางรังสีนั้น อาจพิจารณาทำในเฉพาะบางรายที่ประเมินแล้วคิดว่ามีความจำเป็นเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆหรือสงสัยจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย โดยทั่วไปจะมีการจำแนกกลุ่มของอาการ( classification) ออกเป็น 2 แบบ คือ แบ่งตามช่วงเวลาที่แสดงอาการ และแบ่งตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้

1. แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดอาการ

1.1 Early onset OHSS หมายถึง มีอาการแสดงของ OHSS เกิดขึ้นภายใน 9 วันแรก หลังจากได้ยากระตุ้นการตกไข่ (oocyte triggering) โดยกลไกการเกิดในกลุ่มนี้มักจะสัมพันธ์กับการตอบสนองของรังไข่ต่อยาที่ใช้กระตุ้น ซึ่งหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรงและสามารถจะหายได้เอง

1.2 Late onset OHSS หมายถึง มีอาการแสดงของ OHSS เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ของการได้ยากระตุ้นการตกไข่เป็นต้นไป โดยกลไกการเกิดอาการในกลุ่มนี้สัมพันธ์กับฮอร์โมน hCG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองจาก trophoblast ของตัวอ่อน ซึ่งบ่งบอกว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ในกลุ่มนี้มักจะมีอาการที่รุนแรงกว่า คงอยู่นานกว่า และมีโอกาสที่จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มแรก

2.แบ่งตามความรุนแรง

การแบ่งอาการตามความรุนแรงจะใช้ อาการ ขนาดของรังไข่ การตรวจพบน้ำในช่องท้อง (ascites) ผลการตรวจความเข้มข้นของเลือด โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย(mild) รุนแรงปานกลาง(moderate) รุนแรงมาก(severe) และอาการวิกฤต(critical) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ดังแสดงในตารางที่1

ตารางที่1 การจำแนกความรุนแรงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป

 

OHSS stage

Clinical feature

Laboratory feature

Mild

 

Abdominal distension/discomfort

Mild dyspnea

Mild nausea/vomiting

Diarrhea

Enlarged ovaries

No important alterations

Moderate

Mild features

Ultrasonographic evidence of ascites

Hemoconcentration (Hct >41%)

Elevated WBC (>15,000 mL)

Severe

Mild and moderate feature

Clinical evidence of ascites

Severe dyspnea

Pleural effusion

Oliguria/anuria

Intractable nausea/vomiting

Low blood/central venous pressure

Rapid weight gain (> 1kg/24 h)

Severe abdominal pain

Syncope

Venous thrombosis

Severe hemoconcentration (Hct > 55%)

WBC > 25,000 mL

CrCl <50 mL/min

Cr > 1.6 mg/dL

Na <135 mEq/L

K > 5 mEq/L

Elevate liver enzyme

Critical

 

 

 

 

 

 

 

Anuria/Acute renal failure

Arrhythmia

Thromboembolism

Pericardial effusion

Massive pleural effusion

Arterial thrombosis

Adult respiratory distress syndrome

Sepsis

Worsening of finding

ที่มา : Practice Committee of the American Society for Reproductive Medicine. Prevention and treatment of moderate and severe OHSS. Fertil Steril 2016.(3)

ปัจจัยเสี่ยง

ภาวะ OHSS นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ได้รับการกระตุ้นไข่ด้วย gonadotropins แต่จากหลายการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า โอกาสการเกิดจะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนั้นการประเมินปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยก่อนที่จะเริ่มกระบวนการกระตุ้นไข่ ถือเป็นหลักการที่สำคัญที่จะป้องกันการเกิด OHSS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีประโยชน์ช่วยในการเลือกวิธีการและยาที่จะใช้ในการกระตุ้นไข่ โดยจะแบ่งปัจจัยเสี่ยงออกเป็นสองกลุ่ม คือ

1.ปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิ ได้แก่

ปัจจัยทางกายภาพ (demographics) เช่น อายุน้อยกว่า 35 ปี มีดัชนีมวลกายน้อย(BMI) มีภาวะ polycystic ovarian syndrome (PCOS) เชื้อชาติผิวดำ หรือเคยมีประวัติเป็น OHSS มาก่อน(4)

ปัจจัยทางชีวภาพ (biomarker) ได้แก่ ovarian reserve marker โดยพบว่าหากมีระดับของ AMH สูงกว่า 3.36 ng/ml ก่อนที่จะได้รับการกระตุ้นไข่เพิ่มโอกาสการเกิด OHSS อย่างมีนัยสำคัญและถือว่ามีความแม่นยำมากกว่าการใช้อายุและดัชนีมวลกายในการทำนาย คิดเป็นความไวร้อยละ 90.5 และความจำเพาะร้อยละ 81.3 (5) นอกจากนี้หากตรวจอัลตราซาวน์แล้วพบถุงไข่จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 24 ใบ จะเพิ่มโอกาสการเกิด OHSS ถึงร้อยละ 8.6(6)

2.ปัจจัยเสี่ยงทุติยภูมิ

คือปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากกระบวนการกระตุ้นไข่ได้ดำเนินไปแล้ว โดยเป็นการตรวจเพื่อดูการตอบสนองของรังไข่ต่อการกระตุ้น โดยจากการศึกษาพบว่าสิ่งที่จะช่วยทำนายการเกิด OHSS ได้แก่ การตรวจพบว่ามีการเจริญของ follicles ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มม. จำนวนมากกว่า 19 ใบ จำนวนไข่ที่เก็บได้มากกว่า 24 ใบ และ ระดับของ estradiol มากกว่า 3,500 pg/ml พบว่ามีความไวในการทำนาน OHSS ถึงร้อยละ 82 ความจำเพาะร้อยละ 90 (7)

การป้องกันการเกิดภาวะ OHSS

การป้องกันการเกิดภาวะ OHSS นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงทุกครั้งที่จะเริ่มให้การรักษาโดยการกระตุ้นไข่ แต่การจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเลยโดยสิ้นเชิงนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระบวนการกระตุ้นไข่นั้นจำเป็นต้องใช้ gonadotropins เพื่อเป้าหมายคือต้องการให้ได้ไข่จำนวนมากพอ และการศึกษาที่ผ่านมายังไม่สามารถกำหนดแบ่งชัดเจนถึงขนาดยาที่จะทำให้เกิดหรือไม่เกิดภาวะ OHSS ดังนั้นการป้องกันจึงมุ่งไปที่การลดโอกาสการเกิด OHSS ชนิดรุนแรงในรายที่ประเมินแล้วพบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยสามารถทำในแต่ละขั้นตอนของวิธีการช่วยการเจริญพันธุ์ ดังต่อไปนี้

1.ระยะการเตรียมและคัดเลือกคู่สมรส

1.1 ประเมินเพื่อคัดกรองหารายความเสี่ยงสูง เพื่อวางแผนการกระตุ้นไข่ที่เหมาะสม

1.2 ให้คำแนะนำทุกขั้นตอนของการรักษา

2.ระยะการกระตุ้นไข่ (controlled ovarian hyperstimulation)

2.1 GnRH antagonist protocol

การกระตุ้นไข่โดยทั่วไปจะใช้ยากระตุ้นไข่(gonadotropins) ร่วมกับการให้ยาต้านฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (prevent premature LH surge) ซึ่งสูตรยาที่ใช้ยับยั้งต่อมใต้สมองที่มีใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ GnRH agonist และ GnRH antagonist หากประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด OHSS ควรจะเลือกใช้ GnRH antagonist protocol เนื่องจากมีการศึกษาแล้วพบว่าเกิด OHSS น้อยกว่าสูตรอื่น Cochrane review ปี 2016 โดย Al-Inany และคณะพบว่าการใช้ GnRH antagonist protocol นั้นสามารถลดการเกิด OHSS ได้อย่างมีนัยสำคัญโดยที่ผล live birth rate ไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับ GnRH agonist protocol (8) เชื่อว่าสาเหตุเนื่องจาก GnRH antagonist นั้นจะสามารถยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองได้ทันทีที่ได้รับยาและมีระดับของ estradiol ที่ต่ำกว่า นอกจากนั้นการใช้ GnRH agonist แทน hCG ในขั้นตอน oocyte maturation ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนการลด OHSS ใน antagonist protocol อีกด้วย

2.2 ลดขนาดของ gonadotropins โดยให้ในขนาดที่ต่ำกว่าคนทั่วไปในรายที่มีความเสี่ยงสูง

2.3 Insulin sensitizing agents (Metformin)

ในรายที่มีประวัติเป็น polycystic ovarian syndrome (PCOS) จะมีภาวะ insulin resistance มีผลให้รังไข่สร้างฮอร์โมน androgen สูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งผลของฮอร์โมน androgen นี้จะทำให้รังไข่มีการตอบสนองต่อ gonadotropins ที่สูงกว่าปกติ (androgen priming theory) ทำให้ผู้ป่วย PCOS มีความเสี่ยงที่จะเกิด OHSS สูง ดังนั้นเชื่อว่าการให้ metformin ซึ่งเป็น insulin sensitizing agents จะช่วยลด การสร้าง androgen ของรังไข่ และลดการตอบสนองต่อ gonadotropins ตามมา การศึกษา meta-analysis ปี 2015 ของ Xiaman H.และคณะศึกษาการให้ metformin ในผู้ป่วย PCOS ที่เข้ารับการรักษา ART พบว่า metformin อาจไม่ช่วย improve pregnancy outcome แต่สามารถลดการเกิด OHSS ชนิดรุนแรงได้อย่างมีนัยสำคัญ(9)

2.4 ASA

สาร VEGF ที่เป็นตัวหลักในการเกิด OHSS นั้น สามารถกระตุ้น platelet ให้สร้างสาร vasoactive substance อื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ vascular permeability เกิดภาวะ OHSS ตามมา ดังนั้นจึงเชื่อว่าการให้ ASA ซึ่ง inhibit platelet function (inhibit COX-1) ทำให้ลดการหลั่งสาร histamine, serotonin, platelet derived growth factor, lysophosphatidic acid จึงลดการเกิด OHSS ได้ โดยขนาดของยาที่ใช้เป็นขนาดต่ำ 100 mg/day เริ่มตั้งแต่วันแรกที่มีการกระตุ้นไข่ การหยุดยานั้นหากในรอบที่ไม่มีการย้ายตัวอ่อนจะหยุดเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งถัดไป แต่หากมีการย้ายตัวอ่อนจะหยุดยาเมื่อพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวน์ (10)

2.5 การตรวจติดตามระหว่างการดำเนินการกระตุ้นไข่

การตรวจติดตามดูระดับของ estradiol ในเลือด และจำนวนไข่ที่ได้จากอัลตราซาวน์ หากมี estradiol สูงเกิน 3,500 pg/ml หรือ จำนวนไข่ที่มีขนาดโตกว่า 10 mm มากว่า 19 ใบ พบว่าความเสี่ยงในการเกิด OHSS จะสูงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งควรที่จะมีการลดขนาด gonadotropins หรือหยุดให้ไปช่วงหนึ่ง หรือ เปลี่ยนมาใช้ GnRH agonist ในการ trigger แทน hCG หรือหากฮอร์โมน estradiol สูงมาก ๆ ก็อาจจะต้องพิจารณาหยุดกระบวนการทั้งหมดในการกระตุ้นไข่รอบนั้น ๆไป

3. ระยะชักนำการตกไข่

3.1 GnRH agonist for triggering final maturation แทนการใช้ hCG

ยาที่ใช้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาขั้นสุดท้ายของไข่ (final maturation) ซึ่งเป็นการเลียนแบบการหลั่ง LH จากต่อมใต้สมอง (LH surge) ที่มีใช้ทั่วไปคือ ฮอร์โมน hCG ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับ LH จับ LH receptor แต่เนื่องจาก hCG มีค่าครึ่งชีวิตที่นานกว่าจึงออกฤทธิ์กระตุ้น corpus luteum หลังการเก็บไข่ได้นานและนำไปสู่การเกิด OHSS ได้ ดังนั้นหากประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด OHSS จึงควรเลือกใช้ยาตัวอื่นแทน ซึ่งก็คือ GnRH agonist ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการหลั่ง endogenous LH จากต่อมใต้สมอง จึงลดโอกาสเกิด OHSS ได้ Cochrane review ในปี 2014 รวบรวม 17 การศึกษา เปรียบเทียบการใช้ GnRH agonist กับ hCG ในการ trigger ovulation พบว่ากลุ่ม GnRH agonist ลดการเกิด OHSS ชนิดรุนแรงได้ทั้งใน donor cycle และ fresh cycle แต่มี live birth rate ที่ด้อยกว่าในกลุ่ม fresh cycle (11)

3.2 Dopamine agonist

Cabergoline ( dopamine agonist) สามารถออกฤทธิ์ยับยั้ง VEGF ได้โดยการจับจับ VEGF receptor2 (VEGFR-2) แล้วไปยับยั้งกระบวนการ phosphorylation มีผลให้ลด vascular permeability และลดการเกิด OHSS ได้ โดยการศึกษาของ Valeria M. ในปี 2014 พบว่าการให้ cabergoline 500 mcg/day เป็นเวลา 8 วันเริ่มทานในวันที่มีการให้ GnRH agonist หรือ hCG เพื่อ trigger ovulation สามารถลดการเกิด OHSS ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ยา โดยไม่มีผลต่อจำนวนไข่ที่เก็บได้หรือผลต่อการตั้งครรภ์ (12)

3.3 Coasting

คือการหยุด gonadotropins ระหว่างกระตุ้นไข่และเลื่อนการฉีด hCG ออกไป มักจะทำเมื่อมีการตรวจติดตามแล้วพบว่าระดับฮอร์โมน estradiol สูงเกิน 3,000 pg/ml เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิด OHSS แล้วรอให้ระดับ estradiol ลดลงมาต่ำกว่า 3,000 pg/ml จึงเริ่มการ trigger ovulation และเก็บไข่ต่อไป โดยใช้หลักการคือหากมีการหยุด gonadotropins ไปแล้ว ไข่ที่โตพอเป็น mature follicles จะยังคงสามารถเจริญต่อไปได้ แต่ small follicles จะเกิดการ apoptosis ไป ในระยะที่มีการหยุด FSH และรอนี้เรียกว่า “coasting period” ใช้เวลาตั้งแต่ 2-10 แต่จากศึกษา Cochrane review ในปี 2017 ยังไม่พบว่า coasting มีข้อเหนือกว่าวิธีการอื่นในการป้องกัน OHSS และหากระยะเวลา coasting มากกว่า 4 วันขึ้นไปยังลด pregnancy rate อีกด้วย(13)

3.4 Cycle cancellation

จะพิจารณาในกรณีที่ระดับฮอร์โมน estradiol สูงมาก ๆ หรือมี follicles โตปริมาณมาก หากดำเนินการกระตุ้นไข่ต่อไปหรือ trigger ovulation อาจจะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิด OHSS จึงอาจต้องพิจารณาหยุดกระบวนการทั้งหมดในการกระตุ้นไข่ไป และไม่ทำการเก็บไข่ในรอบนั้น วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่จะยับยั้งไม่ให้เกิด OHSS แต่จะพิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการไปแล้วเป็นภาระต่อผู้ป่วยนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย

4.ระยะเก็บไข่

4.1 Albumin

การให้ albumin ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่ม plasma oncotic pressure เพื่อหวังผลลดการเกิด fluid shift to extravascular space และยังอาจไปจับกับสารบางอย่างที่รังไข่สร้างขึ้นที่เป็นผลให้เกิด OHSS นั้นยังไม่แนะนำให้ทุกราย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่ามีประโยชน์ช่วยป้องกัน OHSS

4.2 Calcium gluconate

การให้ Calcium gluconate นั้นเพื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของ calcium ในกระแสเลือด ยับยั้ง cyclic AMP มีผลลดการหลั่ง renin และลดการเปลี่ยน angiotensinogen ไปเป็น angiotensin ลดการสร้าง VEGF โดยให้ 10% calcium gluconate 10 ml ภายใน30 นาทีหลังการเก็บไข่ หลังจากนั้นให้ต่อ อีก 3 วัน มีการศึกษาพบว่าสามารถลดการเกิด OHSS ได้โดยที่ไม่ส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์(14)

5.ระยะย้ายตัวอ่อน

5.1 Cryopreservation of all embryos

เนื่องจากการตั้งครรภ์นั้นทำให้เกิดภาวะ late onset OHSS ได้ ซึ่งจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและเป็นนานขึ้น ในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด OHSS หลังจากทำการเก็บไข่ (oocyte pick up) ผสมกับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะทำการแช่แข็งตัวอ่อนเก็บไว้ทั้งหมด ยังไม่ทำการย้ายตัวอ่อนในรอบการกระตุ้นไข่นั้น แล้วจึงค่อยนำมาย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกในรอบระดูถัดไป อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะไม่สามารถป้องกัน early onset OHSS ได้ แต่ป้องกัน late onset OHSS ได้ มีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าด้วยเทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อนที่พัฒนามากขึ้นทำให้อัตราการตั้งครรภ์โดยวิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจไม่แตกต่างจากการย้ายตัวอ่อนทันที

5.2 หลีกเลี่ยงการให้ hCG for luteal support

เนื่องจากในการกระตุ้นไข่นั้นมีการใช้ยาเพื่อกดการทำงานของต่อมใต้สมอง คือ ยากลุ่ม GnRH agonist หรือ antagonist ซึ่งหลังการหยุดยาแล้ว gonadotropins จะถูกยับยั้งต่อไปอีก 7-14 วัน เป็นผลให้อาจมีการขาด LH ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของ corpus luteum ทำให้ สร้างฮอร์โมน progesterone ได้ไม่เพียงพอต่อการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรับการตั้งครรภ์ การให้ฮอร์โมนพยุงการตั้งครรภ์ภายหลังการย้ายตัวอ่อน (luteal phase support) จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้

โดยทั่วไปยาที่นิยมใช้ ได้แก่ hCG และ progesterone แต่เนื่องจากพบว่า การใช้ hCG เพิ่มโอกาสการเกิด OHSS ดังนั้นในรายที่มีความเสี่ยงจึงควรหลีกเลี่ยงการให้ hCG ควรเลือกให้เป็น progesterone แทน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกที่มีการ trigger ovulation หรือวันที่เก็บไข่ หรือวันที่จะทำการย้ายตัวอ่อน และมักจะให้จนอายุครรภ์ประมาณ 8-12 สัปดาห์

การดูแลรักษาผู้ป่วย OHSS

หลักการสำคัญในการรักษาภาวะ OHSS คือการรักษาตามอาการ จนกระทั่งการดำเนินโรคค่อยๆดีขึ้นเอง ดังนั้นในรายที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate) มักจะสามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ และให้การตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงมาก (severe) มีความจำเป็นต้องให้การรักษาในโรงพยาบาล(15)

1.การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

ในกรณีที่ผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอาการ mild to moderate OHSS และสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาและประเมินตัวเองทุกวันได้ มารับการตรวจติดตามได้อย่างใกล้ชิด จึงสามารถให้การดูแลแบบผู้ป่วยนอกได้ ซึ่งหลักการในการให้การดูแลมีดังนี้

  • การให้คำอธิบายถึงการดำเนินโรค เพื่อให้ผู้ป่วยมีความตระหนักถึงความสำคัญในการประเมินอาการด้วยตนเองและการมารับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด
  • การให้ยาเพื่อรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ลดอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน หรือเกลือดแร่แทน เป็นต้น
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวัยละ 1 ลิตร
  • ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน เพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 0.91 กิโลกรัมต่อวัน
  • สังเกตปัสสาวะทั้งความถี่ และปริมาณปัสสาวะ
  • สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวใช้แรงมาก เนื่องจากรังไข่มีขนาดใหญ่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น บิดขั้ว (torsion) หรือ มีเลือดออก (hemorrhage) เป็นต้น แต่ไม่ควรนอนพักมากเกินไป เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ เช่นกัน
  • สังเกตอาการที่แสดงถึงการดำเนินโรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น อาการหายใจเหนื่อย อืดแน่นท้อง ท้องโตขึ้น ปวดท้องมากขึ้นมาฉับพลัน มีปัสสาวะออกน้อยลง มีอาการปวดขาและขาบวม เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ผู้ป่วยต้องมารับการตรวจประเมินที่โรงพยาบาลทันที
  • การนัดตรวจติดตามเพื่อประเมินอาการและผลการตรวจเลือดโดย อาจจะนัดทุก 2-3 วัน โดยจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อ
    • Hemoconcentration (Hct > 55%)
    • WBC > 25,000 mL
    • CrCl <50 mL/min
    • Cr > 1.6 mg/dL
    • Na <135 mEq/L
    • K > 5 mEq/L
    • Elevate liver enzyme มากกว่า 2 เท่าของ upper normal limit

2. การรักษาแบบผู้ป่วยใน

ในกรณีที่มีอาการรุนแรง (severe OHSS) หรือได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยมีแนวทางในการให้การดูแลดังนี้

  • การให้สารน้ำอย่างเหมาะสม
    • โดยเบื้องต้นจะให้ normal saline 500-1,000 ml intravenous bolus เพื่อแก้ไขภาวะ hemoconcentration หลังจากนั้นปรับ ให้ maintenance ต่อเพื่อให้มี urine output มากกว่า 0.5 ml/kg/hr
    • การให้ 25% Albumin 50-100 g และให้ซ้ำได้ทุก 4-12 ชั่วโมงตามความจำเป็น albumin เป็นสารในกลุ่ม volume expander สามารถให้ได้เมื่อไม่สามารถ หลังจากให้สารน้ำ normal saline อย่างเหมาะสมแล้ว
    • หลีกเลี่ยงการให้ dextran เนื่องจากทำให้เกิด acute respiratory distressได้
    • Diuretic มีข้อบ่งชี้ในการให้เมื่อไม่สามารถควบคุม urine output ให้ได้ตามเกณฑ์ หลังจากได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้ว และเริ่มมีอาการที่บ่งบอกว่าจะมีสารน้ำเกินในร่างกาย
  • การตรวจติดตามเลือดเป็นระยะ ได้แก่ CBC, electrolyte, creatinine, liver enzyme
  • การตรวจภาพทางรังสีทรวงอกและอัลตราซาวน์ ทำในรายที่สงสัย
  • ตรวจประเมิน เป็นระยะในเรื่องของ สัญญาณชีพ ปริมาณน้ำเข้า/ ออก น้ำหนักตัว รอบเอว ตรวจประเมินน้ำในท้อง ฟังปอด เป็นต้น
  • การป้องกันการเกิด thromboembolism เช่น
    • full length compressive venous stocking
    • low molecular weight heparin (LMWH) 5,000 unit subcutaneous วันละครั้ง พิจารณาให้เป็นบางรายที่มีความเสี่ยงสูงมาก เช่น มีประวัติภาวะลิ่มเลือดอุดตันง่าย (thrombophilia) ไม่สามารถเคลื่อนไหวลงเตียงได้ หรือ ภาวะ hemoconcentration ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หลังให้สารน้ำไปแล้ว 48 ชั่วโมง (hematocrit >50%)
    • โดยตามคำแนะนำของ American college of chest physician แนะนำให้ LMWH ต่อเนื่องไป 3 เดือน หลังเกิด severe OHSS
  • การเจาะระบายน้ำในช่องท้อง (abdominal paracentesis)
    • มีข้อบ่งชี้เมื่อ
      • มีอาการอืดแน่นท้องมากจาก tense ascites
      • ทำให้เกิดการหายใจลำบาก
    • การเจาะน้ำในท้องนั้นอาจะทำผ่านทางหน้าท้องหรือช่องคลอดก็ได้ แต่จะต้องทำภายใต้การทำอัลตราซาวน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะโดนรังไข่ที่มีขนาดใหญ่มาก
  • การเจาะระบายน้ำในช่องปอด
    • มีข้อบ่งชี้เมื่อ ยังมีน้ำในช่องปอดมากหลังจากเจาะน้ำในท้องไปแล้ว และทำให้การหายใจได้ไม่เต็มที่ ต้องการเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
    • สามารถทำได้โดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์ช่วย
  • ในรายที่ critical OHSS อาจมีความจำเป็นต้องพิจารณายุติการตั้งครรภ์ เพื่อยุติการดำเนินโรค

เอกสารอ้างอิง

  1. Papanikolaou EG, Pozzobon C, Kolibianakis EM, Camus M, Tournaye H, Fatemi HM, et al. Incidence and prediction of ovarian hyperstimulation syndrome in women undergoing gonadotropin-releasing hormone antagonist in vitro fertilization cycles. Fertil Steril. 2006;85(1):112-20.
  2. Whelan JG, 3rd, Vlahos NF. The ovarian hyperstimulation syndrome. Fertil Steril. 2000;73(5):883-96.
  3. Prevention and treatment of moderate and severe ovarian hyperstimulation syndrome: a guideline. Fertil Steril. 2016;106(7):1634-47.
  4. Luke B, Brown MB, Morbeck DE, Hudson SB, Coddington CC, 3rd, Stern JE. Factors associated with ovarian hyperstimulation syndrome (OHSS) and its effect on assisted reproductive technology (ART) treatment and outcome. Fertil Steril. 2010;94(4):1399-404.
  5. Lee TH, Liu CH, Huang CC, Wu YL, Shih YT, Ho HN, et al. Serum anti-Mullerian hormone and estradiol levels as predictors of ovarian hyperstimulation syndrome in assisted reproduction technology cycles. Hum Reprod. 2008;23(1):160-7.
  6. Jayaprakasan K, Chan Y, Islam R, Haoula Z, Hopkisson J, Coomarasamy A, et al. Prediction of in vitro fertilization outcome at different antral follicle count thresholds in a prospective cohort of 1,012 women. Fertil Steril. 2012;98(3):657-63.
  7. Kahnberg A, Enskog A, Brannstrom M, Lundin K, Bergh C. Prediction of ovarian hyperstimulation syndrome in women undergoing in vitro fertilization. Acta Obstet Gynecol Scand. 2009;88(12):1373-81.
  8. Al-Inany HG, Youssef MA, Ayeleke RO, Brown J, Lam WS, Broekmans FJ. Gonadotrophin-releasing hormone antagonists for assisted reproductive technology. Cochrane Database Syst Rev. 2016;4:CD001750.
  9. Huang X, Wang P, Tal R, Lv F, Li Y, Zhang X. A systematic review and meta-analysis of metformin among patients with polycystic ovary syndrome undergoing assisted reproductive technology procedures. Int J Gynaecol Obstet. 2015;131(2):111-6.
  10. Varnagy A, Bodis J, Manfai Z, Wilhelm F, Busznyak C, Koppan M. Low-dose aspirin therapy to prevent ovarian hyperstimulation syndrome. Fertil Steril. 2010;93(7):2281-4.
  11. Youssef MA, Van der Veen F, Al-Inany HG, Mochtar MH, Griesinger G, Nagi Mohesen M, et al. Gonadotropin-releasing hormone agonist versus HCG for oocyte triggering in antagonist-assisted reproductive technology. Cochrane Database Syst Rev. 2014(10):CD008046.
  12. Leitao VM, Moroni RM, Seko LM, Nastri CO, Martins WP. Cabergoline for the prevention of ovarian hyperstimulation syndrome: systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Fertil Steril. 2014;101(3):664-75.
  13. D’Angelo A, Amso NN, Hassan R. Coasting (withholding gonadotrophins) for preventing ovarian hyperstimulation syndrome. Cochrane Database Syst Rev. 2017;5:CD002811.
  14. El-Khayat W, Elsadek M. Calcium infusion for the prevention of ovarian hyperstimulation syndrome: a double-blind randomized controlled trial. Fertil Steril. 2015;103(1):101-5.
  15. Practice Committee of American Society for Reproductive M. Ovarian hyperstimulation syndrome. Fertil Steril. 2008;90(5 Suppl):S188-93.
Read More