ภาวะไม่มีระดู (Primary Amenorrhea)

ภาวะไม่มีระดู (Primary Amenorrhea)

จัดทำโดย: นพ .พีรเดช บูรณวรฐิติกุล
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี


กระบวนการเกิดประจำเดือนในผู้หญิง

ในกระบวนการพัฒนาสู่วัยหนุ่มสาวของเด็กหญิงนั้นจะเริ่มจาก adrenarche ก่อนเป็นอย่างแรก โดยจะเริ่มที่อายุ 7-8 ปี โดยมาพร้อมๆกับ growth spurt เป็นช่วงที่ต่อมหมวกไตชั้น Zona reticularis มีการผลิต Dehydroepiandrosterone sulfate ( DHEAS ) , Androstenedione, ( ADD ) ซึ่งเป็น adrenal androgen มากขึ้น ต่อมา estrogen ที่มากขึ้นส่งผลให้เริ่มมีการพัฒนาของเต้านมเกิดขึ้น (Thelarche) ตามมาด้วยการเจริญของขนบริเวณหัวหน่าว (Pubarche) หลังจากนั้นถ้ามีปริมาณฮอร์โมน estrogen ที่เหมาะสมทำให้มีการพัฒนาของ endometrium (endometrium proliferation) ส่งผลให้เกิดประจำเดือนครั้งแรก ( Menarche ) โดย menarche จะเกิดหลังช่วงที่เริ่มมี puberty ประมาณ 2-3 ปีโดยประมาณ(1) รูปที่ 1 แสดงลำดับของ pubertal milestones ตามปกติของเด็กผู้หญิง

A chart with a bar graph Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 1 แสดงลำดับ pubertal miles stone ของเพศหญิง
จาก Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.

 

การเกิดประจำเดือนแบบปกติได้นั้น ประกอบด้วยกลไกลที่ซับซ้อน อาศัยการทำงานของระบบต่างๆหลายอย่าง กล่าวคือ เริ่มจากระบบประสาทส่วนกลางคือ Hypothalamus ต้องสามารถหลั่ง Hormone GnRH ได้ โดยปกติจะหลั่งแบบเป็น Pulsatile หลังจากนั้น GnRH จะไปออกฤทธิ์กระตุ้น anterior Pituitary ส่งผลให้หลั่ง gonadotropin ซึ่งประกอบ FSH, LH ออกมาจาก anterior pituitary หลังจากนั้น Gonadotropin จะไปกระตุ้นรังไข่ให้เกิดการเจริญเติบโตของ follicle ใน ovary (Ovarian Follicle) ส่งผลให้เกิดกระบวนการตกไข่

(ovulation) ตามมา โดยรังไข่ที่ทำงานได้ตามปกตินั้นจะหลั่ง estrogenปริมาณมากก่อนที่จะตกไข่ หลังตกไข่ follicle จะถูกเปลี่ยนเป็น corpus luteum ซึ่งทำหน้าที่หลั่ง progesterone แทนที่ estrogen ในช่วงหลังตกไข่ progesterone จะทำหน้าที่เตรียมพร้อม endometrium ให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่ถ้าหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ปริมาณ estrogen และ progesterone จะต่ำลงอย่างมากส่งผลให้เกิดการสลายตัวของ endometrium เกิดภาวะ vasoconstriction ของ spiral artery เกิด shedding of endometrium หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนในแต่ละรอบ โดยประจำเดือนที่เกิดขึ้นนั้นจะออกมาได้ตามปกติต้องอาศัยช่องทางออกที่ปกติด้วย กล่าวคือต้องไม่มีความผิดปกติ อุดตันของช่องทางระบบสืบพันธุ์ (outflow tract) เช่น มดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด เยื่อพรหมจรรย์ (Hymen) (1, 2)

ดังนั้นถ้าหากส่วนประกอบส่วนใดเกิดความผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็น Hypothalamus, Pituitary, ovaries, uterus, outflow tract จะส่งผลให้เกิดภาวะประจำเดือนที่มาผิดปกติ รูปที่ 2 นี้แสดงกลไกการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบทำให้เกิดประจำเดือนตามปกติ (1)

Diagram of a diagram of a system Description automatically generated

รูปที่ 2 กลไกลทำให้เกิดประจำเดือนตามปกติ ซึ่งอาศัยการทำงานของ hypothalamus, anterior pituitary, Ovary และ uterus
(Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.)

นิยามของภาวะไม่มีระดู (Primary Amenorrhea)

ใน Berek & Novak’s gynecology 16 th edition (2) นิยามภาวะไม่มีระดู ไว้ดังนี้

  • ไม่มีประจำเดือนจนถึงอายุ 13 ปี โดยยังไม่มีมีการพัฒนาของ secondary sex characteristic
  • ไม่มีประจำเดือนถึงอายุ 15 ปี โดยมีพัฒนาการของ secondary sex characteristic แล้ว
  • ส่วนในหนังสือ Speroff’s clinical gynecologic endocrinology and infertility 9 th edition นิยามไว้ดังนี้
  • ไม่มีประจำเดือนจนถึงอายุ 14 ปี โดยยังไม่มีมีการพัฒนาของ secondary sex characteristic
  • ไม่มีประจำเดือนจนถึงอายุ 16 ปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีการการพัฒนาของ secondary sex characteristic หรือไม่

ซักประวัติและตรวจร่างกายในผู้ป่วยที่มาด้วย Amenorrhea (1)

จะกล่าวโดยรวม รวมถึงภาวะขาดประจำเดือน (secondary amenorrhea) ด้วย

History Taking (1, 3)

  • ประวัติประจำเดือน: ประจำเดือนขาดหรือไม่ ประวัติสงสัยโอกาสที่จะตั้งครรภ์
  • Cryptomenorrhea symptoms: เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากประจำเดือนที่สร้างออกมานั้นไม่สามารถออกมาทางช่องคลอดตามปกติได้เนื่องจากมีปัญหาการอุดตันของช่องทางภายนอก (outflow tract obstruction) ส่งผลให้มีเกิดการอุดตันของประจำเดือนที่อยู่เหนือต่อจุดอุดตันนั้น อาการที่พบได้เช่น ไม่เคยมีประจำเดือนก่อนหน้านี้ มีปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณหน้าท้อง
  • Onset of amenorrhea
  • ประวัติการทำหัตการขูดมดลูก การผ่าตัด uterine surgery ที่ involved endometrium
  • abnormal weight gain / weight loss
  • อาการที่บ่งชี้ถึงภาวะ androgen เกิน ( hyperandrogenism ) : เช่น มีสิวมากขึ้น ผิวมัน ขนแบบเพศชายขึ้นตามร่างกาย
  • น้ำนมไหลจากเต้านม ( Galactorrhea )
  • ภาวะ Psychological stress
  • อาการของภาวะ estrogen ต่ำ: hot flush , night sweat อาจบ่งชี้ถึงภาวะ premature ovarian insufficiency
  • อาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ : ปวดศีรษะ, ชัก, คลื่นไส้อาเจียน มองเห็นผิดปกติ
  • ประวัติการคุมกำเนิดก่อนหน้า
  • ยาประจำตัวที่ใช้

Physical Examination (1, 3)

  • ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ( BMI )
  • Sign of hyperthyroidism, hypothyroidism
  • Sign of insulin resistance: Acanthosis nigicran
  • Sign of hyper androgen: hirsutism, acne, virilization
  • Breast exam: milky discharge
  • Tanner staging: breast and pubic hair
  • Abdomen: suprapubic mass , ovarian mass
  • External genitalia / lower genital tract : pubic hair , clitoromegaly , ambiguous genitalia , vaginal patency , cervix
  • Atrophic appearance of external genitalia / loss of rugosity of vagina : sign of premature ovarian insufficiency

Approach to Primary Amenorrhea

การ approach primary amenorrhea มีหลากหลายวิธี แต่การ approach ที่ได้รับการนิยมอีกรูปแบบหนึ่งจะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น สี่ประเภท จำแนกโดยแยกว่า ผู้ป่วยมีมดลูกหรือไม่ และ มีการพัฒนาของ secondary sex characteristic ปกติหรือไม่ (3)ซึ่งสามารถประเมินได้จากการมีพัฒนาการของเต้านมซึ่งเป็นสัญญานแรกของการมีพัฒนาทางเพศขั้นที่สองที่ปกติ ดังนั้นจะสามารถแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสี่กลุ่มได้ดังนี้

  1. มีพัฒนาการของเต้านมปกติแต่ไม่มีมดลูก
  2. มีพัฒนาการของเต้านมปกติและมีมดลูก
  3. ไม่มีพัฒนาการของเต้านมตามปกติแต่มีมดลูก
  4. ไม่มีพัฒนาการของเต้านมตามปกติและไม่มีมดลูก

ซึ่งการส่งการสืบค้นเพิ่มเติมจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้ป่วยที่มีพัฒนาการของเต้านมปกติและมีมดลูกตามปกติจะใช้แนวทางสืบค้นเหมือนผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะขาดระดู (Secondary Amenorrhea) แต่จำเป็นต้องแยกโรคที่ส่งผลให้มีภาวะ Cryptomenorrhea ออกไปก่อนซึ่งประวัติที่ทำให้สงสัยภาวะนี้เช่น Primary Amenorrhea , cyclic pelvic pain , palpable abdominal mass รูปนี้แสดงแนวทางการ approach ผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหา Primary Amenorrhea (1, 3)

A diagram of a company Description automatically generated

รูปที่ 3 แสดงแนวทางการประเมินสาเหตุของผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะไม่มีประจำเดือน
จาก ธีระ ทองสง นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2016.

Cryptomenorrhea

จะสงสัยในผู้ป่วยที่มาด้วย Primary Amenorrhea , cyclic pelvic pain , palpable abdominal mass โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น imperforated hymen , transverse vaginal septum ,vaginal agenesis และ Mullerian agenesis ในบางราย เป็นต้น (3)

  1. Imperforated Hymen

โดยปกติ hymen เป็น structure ที่พัฒนามาจาก urogenital sinus โดยเกิดจาก invagination ของ posterior wall of urogenital sinus โดยปกติจะสลายหายไปในภายหลังเองในช่วง perinatal period ภาวะที่เกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่สลายไปตามปกตินั้นจะส่งผลให้เกิดการอุดตันของประจำเดือน ภาวะนี้ endometrium ซึ่งทำงานได้ตามปกติสร้างประจำเดือนออกมาทุกๆเดือนแต่ว่าเนื่องจากช่องทางถูกอุดตันด้วย imperforated hymen ทำให้เกิดการสะสมของประจำเดือนที่ค้างในทุกเดือน เกิดการอุดตันเกิดขึ้น ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังจากประจำเดือนที่สะสมมากขึ้น ประจำเดือนจะสะสมค้างอยู่ในช่องคลอด (Hematocolpos ) และถ้ามีปริมาณมากประจำเดือนจะท้นไปสะสมที่บริเวณมดลูก ( Hematometra ) ส่งผลให้ในบางรายอาจคลำได้ก้อนที่บริเวณหน้าท้อง มดลูกมีขนาดใหญ่ บางรายมีภาวะปัสสาวะไม่ออก ( acute urinary retention ) จาก hematocolpos ที่ไปกดเบียด urethra ถ้าวินิจฉัยได้ล่าช้าจะส่งผลให้เกิด severe endometriosis (4)

ตรวจร่างกายในภาวะ imperforated hymen จะพบว่า ไม่พบ vaginal orifice, อาจคลำได้ก้อนที่ท้อง ตรวจ perineum พบ bulging blue perineum membrane มี prominent bulging หากมีการเบ่ง

การรักษา ภาวะ imperforated hymen เป้าหมายก็คือลดอาการปวดท้องเรื้อรัง และที่สำคัญคือป้องกันภาวะ endometriosis ที่จะส่งผลต่อ infertility ของผู้ป่วยในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นจึงควรรักษาทันทีที่สามารถวินิจฉัยโรคได้เลย(4) (1, 3)

การรักษาที่เป็น gold standard ของโรคนี้คือ “Cruciate Incision” เป็นหัตการที่กรีด incision เป็นรูปกากบาทดังรูป โดยกรีดตำแหน่งที่มี bulging มากที่สุดเพื่อระบายเลือดที่ค้างออกมา ดังรูปที่ 4

Hands in gloves holding a person's buttocks Description automatically generated

รูปที่ 4 แสดงภาวะ imperforated hymen และตำแหน่งที่กรีด cruciate incision
จาก Management of Acute Obstructive Uterovaginal Anomalies: ACOG Committee Opinion, Number 779. Obstet Gynecol. 2019;133(6):e363-e71.

ในรายที่ไม่ต้องการทำ cruciate incision ( ในบางความเชื่อที่เชื่อว่า hymen เป็นสัญลักษณ์ของ virginity ) ทางรักษาทางเลือกอีกวิธีคือ “sterile punctured of hymen “ ทำได้โดยเจาะรูตรงกลาง hymen จากนั้นใส่ Foley Cath ค้างไว้นานประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อระบายเลือดที่ออกไว้ให้หมด และทา estrogen cream บริเวณ hymen ring เพื่อ promote epithelization (1)

  1. Transverse vaginal septum

เป็นภาวะที่ช่องคลอดไม่เกิด canalization of vaginal plate ในช่วง embryogenesis ซึ่งปกติจะเกิด canalization of vaginal lumen สมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการของ cryptomenorrhea จาก obstructed menstruation (5)

ตรวจร่างกายจะพบ vaginal orifice ตามปกติ แต่ว่ามี ความยาวช่องคลอดที่สั้น (short vaginal length ) ตรวจไม่พบ cervix ตรวจภายในมดลูกอาจโตได้จาก hematometra แยกจาก imperforated hymen ได้โดยในโรคนี้ถ้าเบ่ง ( valsava ) จะไม่มี bulging of membrane ออกมา (1) รูปที่ 5 แสดงลักษณะของ Transverse vaginal septum

A close-up of a vaginal bleeding Description automatically generated

รูปที่ 5 แสดงลักษณะ Transverse vaginal septum
จาก https://www.researchgate.net/figure/Transverse-vaginal-septum_fig1_275038825

การส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วย ultrasound ทางหน้าท้องจะตรวจพบ hydrosalpinx , hematocolpos และ hematometra อาจพิจารณาส่ง MRI pelvis เพิ่มเติมหากต้องการ รายละเอียดของ anatomy ที่ชัดเจนมากขึ้น (1)

การรักษาโรค เป็นการผ่าตัด Excision of septum or atresia segment โดยจะผ่าตัดนำส่วนที่อุดตันนั้นออก ส่งผลให้ vaginal lumen โล่งทำให้สามารถมีประจำเดือนตามปกติได้ หลังจากนำเนื้อ vaginal lumen ส่วนนี้ออกแล้ว ในบางรายอาจต้องใช้ vaginal graft เพื่อต่อความยาวส่วนนี้เพิ่มเติม หลังผ่าตัดจำเป็นต้องใส่ vaginal dilator เพื่อป้องกันช่องคลอดอุดตันหลังผ่าตัดด้วย (1)

  1. Cervical Artesia

เป็นภาวะที่ cervix อุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายประจำเดือนที่สร้างมากจาก endometrium ได้ โรคนี้เป็นภาวะที่รักษาได้ยากที่สุดในกลุ่มโรค outflow tract obstruction อื่นๆ ในอดีตมักรักษาด้วยการตัดมดลูกออก (hysterectomy) แต่ปัจจุบัน มีการรักษาที่เป็น gold standard สำหรับโรคนี้คือ laparoscopic uterovaginal anastomosis โดยจะมีข้อดีคือสามารถ preserve fertility ของผู้ป่วยไว้ได้ (1, 2)

ภาวะไม่มีประจำเดือน ที่มีพัฒนาการของเต้านมปกติแต่ไม่มีมดลูก

ในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยสองโรคคือ Mullerian agenesis และ androgen insensitivity syndrome โดยทั้งสองโรคนี้จะสามารถแยกจากกันโดยง่ายด้วย การส่ง karyotype (3)

  1. Mullerian Agenesis( Mayer-Rokitansky-Küster-Hauser syndrome)

สาเหตุเกิดจากการเจริญผิดปกติของ Mullerian structure ในช่วง embryological development ส่งผลให้ไม่มีการสร้าง Mullerian structure ตามปกติ ดังนั้นผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะไม่มีระบบท่อสืบพันธุ์ที่พัฒนามาจาก Mullerian structure เช่น uterus , cervix, upper part of vagina สาเหตุของ Mullerian structure ที่เจริญผิดปกตินี้ เชื่อว่าเกิดจาก mutation ของ gene ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Anti-Mullerian Hormone receptor ในบางการศึกษาพบว่าอาจเกิดจาก Mutation ของ GALT gene ( galactose-1-phosphate uridylyltransferase ) ส่งผลให้เกิด galactose metabolism exposure ของทารกในครรภ์ ซึ่งเชื่อว่ามีผลไปรบกวน Mullerian development โรคนี้โดยส่วนใหญ่เป็น sporadic case แต่ในบางรายจะสัมพันธ์กับ Chromosomal Translocation (1-3)

ใน Mullerian Agenesis จะตรวจพบ normal secondary sex characteristic ตรวจภายในจะพบ blinded pouch vagina เนื่องจาก upper part of vagina ไม่พัฒนา ไม่พบ cervix at vaginal apex ovary ของผู้ป่วยมักจะทำงานได้ตามปกติแต่ว่าจะมีตำแหน่งที่ผิดปกติจากเดิม กล่าวคือมักจะมีตำแหน่งที่สูงกว่าปกติ และจะมี inguinal hernia ได้บ่อย Mullerian Agenesis สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้ (1)

  • Type A: Symmetrical rudimentary uteri and normal fallopian tubes
  • Type B: Asymmetrical rudimentary uteri and normal fallopian tubes

พบว่า type B จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า เนื่องจากมักสัมพันธ์กับ associated anomaly ได้บ่อย ใน Mullerian Agenesis จะมี associated anomaly ที่พบร่วมกันได้คือ

  • urologic anomaly (15-40% ) : renal agenesis, ectopic/horse shoe kidney ,duplication of collecting system
  • skeletal malformation: vertebrae , ribs, pelvis , scoliosis

ดังนั้นควรส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อสืนค้นภาวะเหล่านี้ด้วย โดยแนะนำให้ส่ง renal ultrasound และ plain spinal x-rays(1) โรคนี้เป็นภาวะที่ต้องแยกจาก androgen insensitivity syndrome โดยวินิจฉัยแยกโรคได้ด้วยการส่ง karyotype ในผู้ป่วย Mullerian agenesis จะมี karyotype 46 XX (1)

การรักษา Mullerian Agenesis : เป้าหมายของการรักษาคือสร้างช่องคลอดที่สามารใช้งานได้ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ การรักษามาตรฐานคือใช้เครื่องมือสอดทางช่องคลอดเพื่อขยายช่องคลอด (progressive vaginal dilatation ) เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างช่องคลอดที่ใช้งานได้ขึ้นมาใหม่ (neovagina) โดยจะสร้าง functional vagina โดยใช้เวลาประมาณ 3- 6 เดือน โดยต้องสอดใส่ในช่องคลอดจนเกิดความรู้สึกไม่สะดวกสบายปานกลาง โดยทำประมาณ 20-30 นาทีต่อวัน การรักษาทางเลือกอื่นคือการผ่าตัดเพื่อสร้างช่องคลอดใหม่ที่สามารถใช้งานได้ขึ้นมาเอง โดยจะสงวนไว้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่ยินยอม ไม่สะดวกที่จะใช้ vaginal progressive dilatation โดยการผ่าตัดที่เป็น gold standard คือ Mc Indoe vaginoplasty (1, 2, 5-7)

  1. androgen insensitivity syndrome

เป็นภาวะความผิดปกติที่ ผู้ป่วยมี genotype 46 XY แต่แสดงลักษณะภายนอก ( phenotype ) เป็นผู้หญิง เนื่องจาก androgen ที่มีในกระแสเลือดไม่สามารถออกฤทธิ์ทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้ โดยเป็นภาวะ male pseudohermaphrodite ชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ากลไกที่ทำให้ androgen ออกฤทธิ์ไม่ได้นั้นเกิดจาก mutation ที่ยีนส์ที่ควบคุมการสร้าง androgen receptor ซึ่งอยู่ในโครโมโซม X แขนยาว ส่งผลให้ androgen receptor อวัยวะปลายทางออกฤทธิ์ไม่ได้ ไม่เกิด masculinization of genitalia เป็นผู้ชายดังนั้น อวัยวะเพศภายนอกจึงพัฒนาไปเป็นผู้หญิง รายที่เป็น complete form of AIS จะมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า testicular feminization (1, 3)

ผู้ป่วย AIS มี Y chromosome ดังนั้น SRY gene จะทำให้ gonad เจริญเป็น testes สร้าง Anti – Mullerian hormone ตามปกติ ส่งผลให้ยับยั้งการเจริญของ Mullerian structure ซึ่งเป็นระบบท่อของผู้หญิง ทางกลับกันเนื่องจากผู้ป่วยมี androgen insensitivity ทำให้ testosterone ออกฤทธิ์ไม่ได้ส่งผลให้ไม่เกิดการกระตุ้นการพัฒนาของ Wolffian duct จึงไม่มีระบบท่อสืบพันธุ์ของเพศชายเช่นกัน กล่าวคือในผู้ป่วย AIS จะไม่มีระบบท่อสืบพันธุ์ของทั้งชายและหญิงเลย testes ในผู้ป่วย AIS จะไม่สามารถทำงานสร้าง sperm ได้ตามปกติ อีกทั้งยังเกิดภาวะ undescended testes ซึ่งถ้าปล่อยไว้จะส่งผลให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะตามมา (1, 3)

ตรวจร่างกายในผู้ป่วย complete AIS จะพบลักษณะ breast development ได้เนื่องจาก testosterone ในเลือดสามารถมี peripheral conversion เป็น estrogen ที่ออกฤทธิ์ได้ แต่ว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย เช่น มี glandular tissue เพียงเล็กน้อยเท่านั้น , small nipples , pale Areola ซึ่งเป็นผลจากการขาดฮอร์โมน progesterone ผู้ป่วยมักจะมีลักษณะ สูงผิดปกติ มือและเท้าใหญ่ labia minora ไม่ค่อยเจริญมากนัก ตรวจร่างกายพบ blind pouch vagina เนื่องจากไม่มีการเจริญของ upper part of vagina ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Mullerian structure pubic hair และ axillary hair ของผู้ป่วยจะไม่เจริญหรือเจริญได้น้อยมากจากผลของ androgen insensitivity ซึ่งจะเรียกว่าผู้ป่วยมี “asymmetrical secondary sexual development” กล่าวคือมีการพัฒนาของเต้านม แต่ว่า pubic hair เจริญได้ไม่ดี โดยในส่วนนี้สามารถใช้วินิจฉัยแยกโรคจาก Mullerian agenesis ได้โดย Mullerian agenesis จะมีการพัฒนาของ pubic hair และ axillary hair ตามปกติ(1, 2) รูปที่ แสดงผู้ป่วย AIS จะสังเกตเห็นว่ามีพัฒนาการของเต้านม แต่ไม่มีขนบริเวณอวัยวะเพศ(2)

A person with no shirt Description automatically generated

รูปที่ 6 แสดง Asymmetrical secondary sex characteristic development ในผู้ป่วย Androgen Insensitivity syndrome
จาก Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth edition ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Philadelphia; 2020.

ในรายที่เป็น Incomplete AIS androgen ยังพอออกฤทธิ์ได้บ้างเพียงเล็กน้อยส่งผลให้มีลักษณะของความเป็นบุรุษเพศได้อยู่บ้าง เช่นจะตรวจพบอวัยวะเพศกำกวม ( ambiguous genitalia ) enlarged clitoris และมีการเจริญของ pubic hair ได้บ้าง (1, 2)

การส่งตรวจเพื่อสืบค้นเพิ่มเติม ควรส่ง karyotype เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ระดับ testosterone level จะสูงกว่าในผู้หญิงปกติเล็กน้อย มีระดับ serum LSH ที่สูง (1)

การรักษา AIS จะแบ่งการรักษาเป็นสองประเด็นดังนี้

  • สร้างช่องคลอดที่สามารถใช้งานได้ ( functional vagina creation): รายละเอียดจะเหมือนกับโรค Mullerian agenesis ที่เคยกล่าวไว้แล้ว(1)
  • ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังอัณฑะ: เนื่องจาก undescended testes ใน AIS จะเพิ่มความเสี่ยง gonadoblastoma 2-5 % จึงมีข้อบ่งชี้ผ่าตัด Gonadectomy โดยในรายที่มี complete AIS สามารถรอผ่าตัดจนพ้นช่วงวัย puberty ไปแล้วได้ แนะนำผ่าตัดที่อายุ 16-18 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เป็น Incomplete AIS แนะนำให้ผ่าตัดให้เร็วที่สุดเนื่องจากการผ่าตัดที่ช้าออกไปจะส่งผลให้เกิดมี virilization ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่พึงประสงค์ในอนาคตได้เนื่องจากช่วงหลัง puberty พบว่า androgen สามารถออกฤทธิ์ได้ดีมากขึ้นในช่วงหลัง(1, 2)

ภาวะมีพัฒนาการของเต้านมปกติและมีมดลูก

จะสืบค้นเหมือนกับ secondary amenorrhea จะไม่กล่าวถึงรายละเอียด ณ ที่นี้

ภาวะไม่มีประจำเดือนที่ไม่มีพัฒนาการของเต้านมตามปกติแต่มีมดลูก

ภาวะนี้ใน Berek Novak 16th edition ใช้นิยามว่า primary amenorrhea without secondary sex characteristic กล่าวคือผู้ป่วยมีมดลูกตามปกติแต่ว่าไม่มีการพัฒนาของ secondary sex characteristic(2) ซึ่งประเมินได้จาก breast development ซึ่งเป็น สัญญาณแรกของ secondary sexual development in female เป็น sign of estrogen exposure in puberty โดยจะแบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม โดยจำแนกได้ดังนี้ (3)

  • hypogonadotropic hypogonadism : low to normal FSH
  • hypergonadotropic hypogonadism : high FSH
  1. hypogonadotropic hypogonadism

เป็นภาวะที่มี hypogonadism คือมี low level of Gonadotropin hormone (Low FSH , LH) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางไม่ว่าจะเป็น การทำงานผิดปกติของ hypothalamus ในการหลั่ง GnRH หรือเกิดจากความผิดปกติของ anterior pituitary ในการหลั่ง FSH, LH ท้ายที่สุดความผิดปกติดังกล่าวนี้จะส่งผลให้มี low level FSH , LH ทำให้ ovary ไม่ถูกกระตุ้นตามมา สุดท้าย ovarian follicle ไม่ถูกกระตุ้นส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนในที่สุด โดยสาเหตุของภาวะ hypogonadotropic hypogonadism มีดังนี้ (2)

  • physiologic delay of puberty ( constitutional delayed of puberty)

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของ hypogonadotropic hypogonadism และยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะ delayed puberty อีกด้วย ซึ่งถือเป็น normal variant ที่เกิดจาก delayed reactivation of GnRH pulse generator ส่งผลให้มี low FSH , LH อยู่ผู้ป่วยจึงเข้าสู่ภาวะ puberty ได้ช้า ส่งผลให้มีประจำเดือนล่าช้ากว่าปกติตามมา (1, 2)

  • Kallman syndrome

เกิดจาก GnRH Neuron ใน hypothalamus มีความผิดปกติของ differentiation และ migration to hypothalamus ในช่วง embryonic development ส่งผลให้เกิดภาวะ GnRH deficiency ตามมา

โรคนี้มีความสัมพันธ์สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หลากหลายทั้ง X-linked recessive , autosomal dominant , autosomal recessive โดย มียีนที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้คือ FGFR1 ,KAL1 ,KAL2 ในผู้ป่วยชายที่เป็นโรคนี้จะมี triad คือ ดมกลิ่นไม่ได้ (Anosmia), hypogonadism และ color blindness

ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของร่างกายในส่วนอื่นอีกด้วยเช่น cleft lip/cleft palate , cerebellar ataxia , deafness, abnormal thirst and vasopressin release และ unilateral renal agenesis(1-3)

ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหา primary amenorrhea , delayed puberty ผู้ป่วยจะมี normal pubic hair development เต้านมจะเจริญได้น้อยมาก มักมีร่างกายที่สูงและมือเท้าโต (eunuchoid habitus) มีปัญหาดมกลิ่นได้ไม่ดีหรือไม่ได้กลิ่นเลย (hypoanosmia/anosmia) มีภาวะตาบอดสี (color blindness ) รูปที่ 7 แสดงผู้ป่วย Kallman syndrome ที่มีลักษณะของ eunuchoid habitus เต้านมไม่พัฒนา มี pubic hair development (2)

A person's buttocks with a hairy butt Description automatically generated

รูปที่ 7 ผู้ป่วย Kallman Syndrome
จาก Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth edition ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Philadelphia; 2020.

การรักษาภาวะนี้จะเป็นการให้ฮอร์โมน estrogen และ progestin เสริมเพื่อให้เข้าสู่ภาวะ puberty(1, 2)

  • GnRH receptor mutation

เกิดจาก mutation ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือส่งสัญญาณของ GnRH receptor ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของ GnRH โดยเชื่อว่ามีกลไกลหลายอย่างที่ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติดังกล่าว เช่น prevention of GnRH binding , interfere signal transduction และ ป้องกัน GnRH stimulation (2)

  • FSH deficiency

เป็นความผิดปกติที่ FSH ต่ำเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ปริมาณของ LH อยู่ในระดับที่ปกติ ระดับ FSH ที่ต่ำส่งผลให้ follicular development ผิดปกติไปทำให้มี hypoestrogenism รวมทั้งทำให้ theca cell production of androgen น้อยลง ทำให้ระดับ androgen ต่ำมากด้วย ส่งผลให้มี delayed puberty และ primary amenorrhea ตามมา(2)

  • disorder of anterior pituitary gland

ความผิดปกติของ anterior pituitary ส่งผลให้หลั่ง Gonadotropin ออกมาได้น้อยกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก Sellar /Parasellar mass ไปกดเบียดบริเวณ anterior pituitary ทำให้ anterior pituitary โดนกดเบียดจนแบน ไม่สามารถทำงานได้ เกิดภาวะ hypopituitarism คือฮอร์โมนจาก pituitary ทำงานผิดปกติไป เรียกโรคนี้ว่า Empty sellar syndrome (1)

Sellar/Parasellar mass ที่ไปกดเบียด anterior pituitary ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ benign Adenoma สาเหตุก้อนอื่นๆที่พบได้ เช่น Craniopharyngioma , Meningioma , Glioma เป็นต้น non neoplastic mass เช่น Cyst, Tuberculosis , Sarcoidosis , Internal carotid artery aneurysm(1)

  • Empty sellar Syndrome

เป็นความผิดปกติที่เกิดจากมี mass หรือ CSF fluid ไปกดเบียด anterior pituitary ส่งผลให้ anterior pituitary แบนลง เสียความสามารถในการหลั่งฮอร์โมนตามปกติไป(1) เกิด hypopituitarism บางรายเกิด hypogonadism จากการที่หลั่ง GnRH ได้น้อยลงส่งผลให้เกิด amenorrhea(1) ตามมาได้ empty sellar syndrome เป็นคำ misnomer เนื่องจาก sellar region ไม่ได้ว่างเปล่าจริงๆ แต่ที่จริงแล้วมี CSF fluid แทรกเข้าไปกดเบียดอยู่ใน sellar region แต่จาก MRI brain จะพบลักษณะ empty sellar

Empty sellar syndrome แบ่งได้เป็นสองชนิด

  1. Primary empty sellar syndrome: เป็น defect ของ diaphragmic sellar ที่ทำให้ CSF ไหลผ่านมากดเบียด anterior pituitary
  2. Secondary empty sellar syndrome: เป็น emptysellar syndrome ที่เกิดจากสาเหตุอื่นโดยเกี่ยวข้องกับ anterior pituitary gland เช่น Pituitary infarction / hemorrhage , หลังการผ่าตัดหรือฉายรังสีของ pituitary adenoma เป็นต้น (1)

hypergonadotropic hypogonadism

เป็น hypogonadism ที่เกิดจากการทำงานของรังไข่ผิดปกติที่ไม่สามารถสร้าง estrogen ได้เพียงพอที่จะทำให้เกิด secondary sex characteristic ดังนั้นปริมาณฮอร์โมน estrogen ที่ลดลงจึงไป positive feed back กระตุ้น anterior pituitary ให้หลั่ง FSH LH ออกมาเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองต่อภาวะ estrogen ที่ต่ำผิดปกติ ความผิดปกติของผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะเกิดจาก ovarian failure (1)

ความผิดปกติของผู้ป่วย hypergonadotropic hypogonadism จะแบ่งแยกได้สองแบบตามผลของ karyotype ดังนี้

  1. chromosome incompetent ovarian failure (CIOF): เป็นผู้ป่วยที่มี chromosome ผิดปกติ คือผู้ป่วยที่เป็นโรค Turner syndrome
  2. chromosome competent ovarian failure (CCOF) : เป็นผู้ป่วยที่มี normal karyotype

Chromosome incompetent ovarian failure (CIOF)

  • Turner syndrome (45 XO)

เป็นโรคที่มีความผิดปกติของ โครโมโซม X ที่หายไป หรือในบางรายเกิดจาก chromosome deletion , ring chromosome , isochromosome โดยปกติการพัฒนาของรังไข่ที่สมบูรณ์ต้องอาศัยความสมบูรณ์ของโครโมโซม X ทั้งสองโครโมโซม หากมีแขนใดแขนหนึ่งของโครโมโซม X ผิดปกติไปจะส่งผลให้รังไข่ฝ่อเสมอ(3) ในรายที่มีความผิดปกติ classic phenotype คือ มีรูปร่างเตี้ย( short stature) absent sexual development จาก streak ovaries ที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ส่งผลให้เกิดภาวะไม่มีประจำเดือนตามมา , webbed neck , low set ears , posterior hair line , wide spread nipples , Cubitus Vulgus (1-3) ดังรูปที่ 8

A child standing in a bathroom Description automatically generated

รูปที่ 8 แสดงผู้ป่วย Classic Phenotype ของ Turner Syndrome
จาก Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth edition ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Philadelphia; 2020.

ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้มีลักษณะ classic phenotype ดังกล่าวข้างต้น จะมาพบแพทย์ด้วยปัญหา primary amenorrhea และ delayed puberty โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Turner syndrome ที่เกิดจากกระบวณการ Mosaicism มักจะไม่ได้มีลักษณะ classic phenotype ของ Turner syndrome ครบทั้งหมดก็ได้

5% ของผู้ป่วยจะสามารถเข้าสู่ภาวะ puberty ได้ตามปกติ และมีประจำเดือนตามมาได้ (1, 3)

ในรายที่มี Y chromosome แฝงอยู่ด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงของ Gonadoblastoma 20-30 %

ผู้ป่วย Turner syndrome จะมีโรคร่วมต่างๆหลายประการดังนี้ (1)

  • cardiovascular system: bicuspid aortic valve , coarctation of aorta , mitral valve prolapse , aortic aneurysm, aortic dissection
  • renal anomalies : horshoe kidney , renal agenesis , pelvic kidney
  • autoimmune disease : Thyroiditis , autoimmune hepatitis, thrombocytopenia, celiac disease
  • hearing loss

    ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจสืบค้นหาโรคร่วมดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีภาวะ Turner syndrome ด้วยทุกราย (1)

    ผู้ป่วย Turner syndrome จะมีระดับสติปัญญาที่ปกติ การตั้งครรภ์ในผู้ป่วย Turner syndrome ถือว่าเป็น relative contraindication เนื่องจากจะมีอัตราเสี่ยงอัตราการเสียชีวิตของมารดาด้วยสาเหตุของ cardiovascular system เพิ่มขึ้นสูงมากเป็น 100 เท่าของการตั้งครรภ์ปกติ อีกทั้งการตั้งครรภ์ของผู้ป่วยนั้นจะเสี่ยงที่จะมี sex chromosome aneuploidy , หรือ abortion ได้มากขึ้น (1)

    การรักษาผู้ป่วย Turner syndrome ในแง่ของ delayed puberty จะรักษาด้วยการให้ low dose estrogen โดยอายุที่เหมาะสมที่ยังสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพคือก่อน 15 ปี เพื่อหวังผลที่จะมี sex maturation ที่สมบูรณ์ภายใน 2-3 ปี โดยสามารถเพิ่มขนาดของ estrogen ขึ้นเรื่อยๆทีละน้อยๆ ทุก 3-6 เดือน(1)

    ในผู้ป่วยที่มี Y chromosome ร่วมด้วยมีข้อบ่งชี้ผ่าตัด gonadectomy เพื่อที่จะป้องกัน ความเสี่ยงที่จะเป็น Gonadoblastoma ในอนาคต ประเด็นการรักษาอื่นเช่น โรคร่วมที่พบให้พิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาตามแต่ละโรคต่อไป (1)

    chromosome competent ovarian failure (CCOF)

    • Swyer syndrome (XY gonadal dysgenesis)

    ในเพศชาย โดยปกติ SRY gene (Sex Determining region y) จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมเพศเจริญเติบโตเป็นอัณฑะและสร้างลักษณะทางเพศของผู้ชายต่อไป แต่ในผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้เป็นภาวะที่ SRY gene ไม่ทำงานตามปกติ เนื่องจากเกิด mutation ของ SRY gene ที่อยู่บนโครโมโซม Y แขนสั้น ( Yp11.3 ) ทำให้ SRY gene ทำงานไม่ได้ ส่งผลให้ต่อมเพศที่จะพัฒนาเป็นอัณฑะฝ่อไปตั้งแต่ช่วงแรก (Streak gonads) ซึ่ง streak gonad of testes นี้จะไม่พัฒนา ไม่สามารถสร้าง androgen ได้ ส่งผลให้ไม่มี testosterone ไปกระตุ้นการสร้าง Wolffian duct ส่งผลให้ระบบท่อสืบพันธุ์ของผู้ชายไม่พัฒนา อีกทั้งระดับ testosterone ที่ต่ำจะไม่สามารถ masculinize external genitalia ให้เป็นผู้ชายได้ ดังนั้น external genitalia ของผู้ป่วยจึงเป็นลักษณะของผู้หญิงแทน เนื่องจาก streak gonad ของผู้ป่วยจะไม่สามารถผลิต anti Mullerian hormone ได้ ส่งผลให้ไม่สามารถยังยั้ง การเจริญของ Mullerian system ส่งผลให้เกิดการสร้างระบบท่อสืบพันธ์ของผู้หญิงตามมา ทำให้ผู้ป่วยมีมดลูก และช่องคลอดตามปกติเหมือนผู้หญิง ไม่ได้มีลักษณะ blind pouch vagina และเนื่องจากระดับ hormone เพศทุกตัวจะต่ำหมดส่งผลให้มีปัญหา delayed puberty ตามมา (1, 3)

    Swyer syndrome เป็นภาวะ male pseudo hermaphroditism ชนิดหนึ่ง คือเป็นผู้ป่วยที่มี chromosome XY แต่มี phenotype เป็นผู้หญิง จะมาด้วยภาวะไม่มีประจำเดือน และ delayed sexual maturation

    Streak gonad ของผู้ป่วยส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของ gonadoblastoma ดังนั้นการรักษาจึงจำเป็นต้องผ่าตัด gonadectomy เร็วที่สุดที่สามารถวินิจฉัยได้ (1)

    FMR1 premutation

    เกิดจากการมี mutation ของ ยีน FMR1 ซึ่งอยู่บนโครโมโซม X ตำแหน่ง Xq27.3 ที่มี CGG repeat 55-200 ชุด ซึ่งโดยปกติจะมี 30 ชุด ( แต่ถ้ามีมากกว่า 200 ชุด จะส่งผลให้เกิดโรค Fragile X syndrome ) ซึ่ง premutation ของยีนนี้จะส่งผลให้เกิดภาวะ premature ovarian insufficiency ตามมา(1, 3)

    resistant ovarian syndrome

    Gonadotropin ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าไม่สามารถออกฤทธิ์ที่ follicle ในรังไข่ได้ตามปกติ ซึ่งกลไกที่เป็นไปได้ของภาวะดังกล่าวอาจเกิดจาก mutation ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง FSH receptor , การส่งสัญญาณที่ผิดปกติของ gonadotropin ผู้ป่วยจะมีระดับ gonadotropin level ที่ปกติ (1, 3)

    Autoimmune Disorder (Autoimmune oophoritis)

    เป็นภาวะที่ร่างกายสร้าง antibody ต่อต่อมต่างๆหลายอย่างพร้อมกัน (Autoimmune polyendocrine syndrome : APS) โดนเฉพาะ antibody ต่อต่อหมวกไต โดยมักจะเกี่ยวข้องกับภาวะ adrenal insufficiency , hypoparathyroidism , Type I DM ซึ่งเป็นผลของ antibody ต่ออวัยวะต่างๆดังกล่าว

    เมื่อส่งพยาธิวิทยาของเนื้อรังไข่จะพบลักษณะ lymphocytic invasion ล้อมรอบ secondary and antral follicle แต่ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องส่งพยาธิวิทยาของเนื้อรังไข่เพื่อวินิจฉัย แต่การวินิจฉัยภาวะนี้สามารถยืนยันได้ด้วยการส่ง 21- hydroxylase antibody ถ้าให้ผลเป็นบวกจะสามารถวินิจฉัยภาวะนี้ได้ (1, 3)

    Rare Enzyme deficiency

    เอนไซม์ที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ถ้ามีความผิดปกติของเอนไซม์บางตัว จะส่งผลให้สังเคราะห์ estrogen ได้ลดลงส่งผลให้ เกิดภาวะ ovarian failure ต่อไปนี้จะเป็นความผิดปกติของเอนไซม์ดังกล่าวที่พบได้

    • congenital lipoid adrenal hyperplasia

    ในกระบวนการสังเคราะห์ steroid โดยปกติ cholesterol จะถูกนำเข้า mitochondria โดยใช้ protein ที่อยู่ ตัวช่วยชื่อว่า Steroidogenic acute regulatory protein (StAR )หลังจากนั้น Cholesterol จะถูกเปลี่ยนเป็น Pregnenolone ด้วยเอนไซม์ P450 SCC ต่อไป (2)

    ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกที่ cholesterol ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็น pregnenolone ได้ตามปกติ โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive สาเหตุเกิดจาก ความผิดปกติของ StAR protein ที่เกิดภาวะ mutation หรือ ในบางรายพบว่าขาดเอนไซม์ P450 SCC ส่งผลให้ระดับ aldosterone ปลายทางลดลงนำไปสู่

    hyponatremia , hyperkalemia , acidosis ผู้ป่วยจะมี phenotype เป็นผู้หญิงไม่ว่าจะมี genotype XX หรือ XY เนื่องจากขาด testosterone (2)

    • Mutation of CYP 17 gene

    ผู้ป่วยมี mutation ของ CYP17 gene ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์ 17 alpha-hydroxylase และ 17,20 Lyase mutation ดังกล่าวส่งผลให้เอนไซม์สองชนิดนี้ทำงานผิดปกติไป สังเคราะห์ estrogen และ testosterone ได้ลดลง มีระดับ gonadotropin level ที่มากขึ้น

    Cortisol level ที่ลดลง จะส่งผลให้ผู้ป่วยมี ACTH มากขึ้น มีระดับ mineralocorticoid สูงขึ้น ทำให้มีดูดโซเดียมกลับเข้ากระแสเลือดมากขึ้น เกิด hypertension ตามมา และเสียโพแพทสเซียมไปทางปัสสาวะมากขึ้นส่งผลให้เกิด hypokalemia (2)

    • Aromatase deficiency

    เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก mutation ของยีน CYP19A1 ที่สัมพันธ์กับการสร้างเอนไซม์ aromatase ซึ่งเอนไซม์นี้โดยปกติจะมีหน้าที่เปลี่ยน androgen ไปเป็น estrogen ดังนั้นถ้าเกิดความผิดปกติดังกล่าวส่งผลให้ไม่มีการทำงานของ aromatase ส่งผลให้ androgen เปลี่ยนไปเป็น estrogen ไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะ androgen ที่คั่งมากเกินไปในกระแสเลือด fetus ที่เป็นโรคนี้ ส่งผลให้ androgenที่สูงใน fetal circulation ไหลท้นเข้าสู่ placental circulation แต่เนื่องจาก placenta ไม่มี aromatase enzyme เช่นกัน ดังนั้น androgen จะไหลเข้าสู่ maternal circulation เกิดลักษณะของความเป็นบุรุษเพศในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ( maternal virilization during pregnancy ) (2)

    ทารกที่เป็นโรคนี้จะตรวจพบ clitoromegaly , ambiguous genitalia มาด้วยปัญหา primary amenorrhea , ไม่มีการพัฒนาของเต้านมเกิดขึ้น และจะมีลักษณะของบุรุษเพศ ( virilization ) มากขึ้นในภายหลัง (1, 2)

    Galactosemia

    เป็นสาเหตุของ premature ovarian insufficiency ที่พบได้น้อยมากๆ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความผิดปกติของการเมตาบอลิซึมของกลูโคลส โดยมีความผิดปกติของเอนไซม์ในกระบวณการเมตาบอลิซึมของกลูโคลส คือ Galactose-1-Phosphate Uridylyltransferase (GALT) ผู้ป่วยโรคนี้จะมีเอนไซม์ GALT น้อยกว่าปกติ (2)

    ผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่ช่วงแรกเกิด หลังจากได้รับประทาน cow milk feeding จะมี jaundice , vomiting, failure to thrive ผลจาก galactose metabolite ที่ไม่สมบูรณ์ สารดังกล่าวจะเป็นพิษต่อ germ cell จะรบกวนกระบวนการ germ cell migration และ gonadal survival ผู้ป่วยจะมี primordial follicle เหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่งผลให้เกิดภาวะ premature ovarian insufficiency ตามมา(1, 3)

    ภาวะไม่มีระดู ผู้ป่วยไม่มีพัฒนาการของเต้านมและไม่มีมดลูก

    กลุ่มผู้ป่วยนี้จะพบได้น้อยมาก สาเหตุที่เป็นได้เช่น ผู้ป่วยมี genotype 46 XY และมีความผิดปกติของเอนไซม์ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ เช่น P450SCC deficiency หรือ 17 alpha-hydroxylase และ 17,20 Lyase deficiency ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีมดลูกเนื่องจากว่า มีโครโมโซม Y ที่มี SRY gene ที่ทำงานได้ปกติทำให้ gonad เจริญเติบโตไป testes และสร้าง anti Mullerian hormone ไปยับยั้งการสร้าง Mullerian structure

    ส่วนสาเหตุอื่นของความผิดปกติในกลุ่มนี้ คือ โรค 5- alpha reductase deficiency (3)

    • 5- alpha reductase deficiency

    เป็นผู้ป่วยที่ genotype 46 XY ที่มีความผิดปกติในการสร้างเอนไซม์ 5- alpha reductase deficiency เมื่อขาดเอนไซม์ดังกล่าว testosterone จะไม่ถูกเสริมฤทธิ์จาก 5- alpha reductase deficiency ส่งผลให้ไม่สามารถ masculinize external genitalia ให้เป็นแบบผู้ชายได้สมบูรณ์ แต่ว่าด้วยผลของ testosterone ที่มีฤทธิ์ masculinization ได้เพียงเล็กน้อยจะส่งผลให้มี ambiguous genitalia (1)

    ผู้ป่วยจะมีลักษณะภายนอกเป็นผู้หญิง เป็น male pseudohermaphrodites ประเภทหนึ่ง AMH จาก testes จะหลั่งออกมาเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของ Mullerian duct ทำให้ไม่มีระบบท่อสืบพันธุ์ของเพศหญิง ไม่มีมดลูก testosterone ของผู้ป่วยยังสามารถทำงานได้ตามปกติ จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของ​ Wolffian duct ทำให้ระบบท่อสืบพันธุ์เป็นแบบเพศชาย (1)

    ลักษณะภายนอกของผู้ป่วยจะเป็นผู้หญิงที่มีภาวะ virilization มีการเจริญเติบโตของขนตามตัวแบบเพศชาย

    ( male hair growth pattern ) มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อแบบผู้ชาย เสียงทุ้มต่ำ เต้านมเจริญเติบโตได้ไม่ดี ลักษณะดังกล่าวต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก incomplete androgen insensitivity ที่จะสามารถมีลักษณะของบุรุษเพศในช่วงหลัง puberty ได้ โดยสามารถแยกจากกันได้โดยในผู้ป่วย 5- alpha reductase deficiency จะไม่มีพัฒนาการของเต้านมเหมือนในผู้ป่วย incomplete androgen insensitivity เนื่องจาก ในผู้ป่วย incomplete androgen insensitivity syndrome นั้น testosterone จะมี peripheral conversion เปลี่ยนเป็น Estrogen ทำให้เกิดพัฒนาการของเต้านมได้ (1)

    เอกสารอ้างอิง

    1. Taylor HS, Fritz MA, Pal L, Seli E. Speroff’s clinical gynecologic endocrinology and infertility. Ninth edition ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Philadelphia, PA; 2020.
    2. Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s gynecology. Sixteenth edition ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Philadelphia; 2020.
    3. ธีระ ทองสง นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2016.
    4. Management of Acute Obstructive Uterovaginal Anomalies: ACOG Committee Opinion, Number 779. Obstet Gynecol. 2019;133(6):e363-e71.
    5. Cunningham FG, Leveno KJ, Dashe JS, Hoffman BL, Spong CY, Casey BM. Williams Obstetrics, 26e. New York, NY: McGraw Hill; 2022.
    6. ACOG Committee Opinion No. 728: Müllerian Agenesis: Diagnosis, Management, And Treatment. Obstet Gynecol. 2018;131(1):e35-e42.
    7. Thompson JD, Rock JA, Te Linde RW, Mattingly RF. Te Linde’s operative gynecology. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Philadelphia; 1992.

     

    Read More

    กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน: Premenstrual syndrome

    กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
    Premenstrual syndrome

    นพ. หาญณรงศ์ ชูพูล
    อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ. ทวิวัน พันธศรี


    ประจำเดือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือนเกิดภายใต้อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในร่างกาย ซึ่งก่อนช่วงที่ผู้หญิงจะมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการที่แสดงออกทั้งทางกาย พฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ นั่นคือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่อาการเหล่านั้นจะดีขึ้นหรือหมดไปภายหลังประจำเดือนมา

    คำจำกัดความ (Definition)1

    กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) หมายถึงกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนของรอบเดือนนั้น และอาการจะหายไปได้เองในช่วงที่มีประจำเดือน

    สาเหตุและความชุกของโรค (Etiology and Prevalence)1-3

    ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน แต่จากการศึกษาพบว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน (estrogen and progesterone) ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของรอบเดือน ไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตาม ระดับฮอร์โมนเพศ ก็ไม่สามารถอธิบายสาเหตุการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ทั้งหมด เนื่องจากจากการศึกษา ในผู้หญิงที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ก็มีระดับฮอร์โมนเพศที่ปกติได้4 นอกจากนั้น สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสารสื่อประสาท เช่น Serotonin หรือ gamma-aminobutyric acid (GABA) system ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) จะมีระดับ serotonin ในเลือดลดลง4 และการเพิ่มขึ้นของระดับ Aldosterone และ plasma renin เป็นต้น

    ผู้หญิงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถพบกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ในในช่วงก่อนมีประจำเดือน และ 20-32 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) มักมีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate symptoms) และพบอาการระดับรุนแรงประมาณ 3-8 เปอร์เซ็นต์ โดยความชุกของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ไม่ได้สัมพันธ์กับอายุ การศึกษา รายได้ และการทำงาน

    อาการทางคลินิก ( Clinical manifestation) 2, 5

    กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) แบ่งอาการแสดงเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อาการทางร่างกาย (Physical symptoms) และอาการทางพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ (Behavioral and psychological symptoms)

    • อาการทางร่างกาย (Physical symptoms) ได้แก่ ท้องอืด (Abdominal bloating) คันตามร่างกาย (Body aches) เจ็บบริเวณเต้านม (Breast tenderness) เกร็งท้อง ปวดท้องมากขึ้น (Cramps/ Abdominal pain) เพลีย (Fatigue) ปวดศีรษะ (Headaches) คลื่นไส้ (Nausea) แขนขาบวม (Swelling of extremities) น้ำหนักขึ้น(Weight gain) เป็นต้น
    • อาการทางพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ (Behavioral and psychological symptoms) ได้แก่ โกรธง่าย หงุดหงิด (Anger, irritability) กังวล (Anxiety) ความอยากอาหารเปลี่ยน (Changes in appetite) ความสนใจทางเพศเปลี่ยนไป (Changes in libido) ไม่มีสมาธิ (Decreased concentration) ซึมเศร้า (Depressed mood) อารมณ์แปรปรวนง่าย (Mood swings) นอนไม่หลับ (Poor sleep or increase need for sleep) เครียด (Tension) เป็นต้น

    การวินิจฉัย (Diagnosis) 1, 2, 5

    การวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ตามแนะนำ ACOG ขึ้นกับการติดตามจดบันทึกอาการต่างๆที่เกิดขึ้น โดยใช้ “Daily Record of Severity of Problems (DRSP)” ดังตารางแสดงที่ 2 ซึ่งมีค่า Positive predictive value เท่ากับ 53.8 เปอร์เซ็นต์ และ Negative predictive value เท่ากับ 83.4 เปอร์เซ็นต์ โดยการบันทึกจะเป็นการบันทึกแบบไปข้างหน้า (Prospective) ติดต่อกันอย่างน้อย 2 รอบเดือน และต้องแยกกลุ่มอาการที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆออก เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ภาวะซีด (Anemia) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นต้น

    นอกจากนั้นตามคำแนะนำ ACOG (2014) แนะนำการวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ผู้ป่วยจะต้องมีอย่างน้อย 1 อาการจากอาการทางร่างกาย และอย่างน้อย 1 อาการจากอาการทางจิตใจ ดังแสดงในตารางที่ 1 ที่แสดงอาการภายใน 5 วันก่อนประจำเดือน อย่างน้อย 3 รอบเดือนติดต่อกัน และอาการจะต้องหายไปภายใน 4 วัน หลังจากเริ่มมีประจำเดือน และอาการที่แสดงจะต้องส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

    Affective symptoms Somatic symptoms
    Angry outbursts Abdominal bloating
    Anxiety Breast tenderness or swelling
    Confusion Headache
    Depression Joint or muscle pain
    Irritability Swelling of extremities
    Social withdrawal Weight gain

    ตารางที่ 1 Diagnostic criteria for premenstrual syndrome 1

    นอกจากนั้น หากผู้ป่วยมีอาการ premenstrual syndrome ชนิดรุนแรง อาจวินิจฉัยเป็น Premenstrual dysphoric disorder (PMDD) เกณฑ์การวินิจฉัยตาม Diagnostic and Statistical Mental disorder fifth edition (DSM-V) ของ American Psychiatric Association 1

    A. In the majority of menstrual cycles, at least five symptoms must be present in the final week before the onset of menses, start to improve within a few days after the onset of menses, and become minimal or absent in the week postmenses.

    B. One (or more) of the following symptoms must be present:

    1. Marked affective lability (e.g., mood swings; feeling suddenly sad or tearful, or increased sensitivity to rejection).
    2. Marked irritability or anger or increased interpersonal conflicts.
    3. Marked depressed mood, feelings of hopelessness, or self-deprecating thoughts.
    4. Marked anxiety, tension, and/or feelings of being keyed up or on edge.

    C. One (or more) of the following symptoms must additionally be present, to reach a total of five symptoms when combined with symptoms from Criterion B above.

    1. Decreased interest in usual activities (e.g., work, school, friends, hobbies).
    2. Subjective difficulty in concentration.
    3. Lethargy, easy fatigability, or marked lack of energy.
    4. Marked change in appetite; overeating; or specific food cravings.
    5. Hypersomnia or insomnia.
    6. A sense of being overwhelmed or out of control.
    7. Physical symptoms such as breast tenderness or swelling, joint or muscle pain, a sensation of “bloating,” or weight gain.

    NOTE: The symptoms in Criteria A–C must have been met for most menstrual cycles that occurred in the preceding year.

    D. The symptoms are associated with clinically significant distress or interference with work, school, usual social activities, or relationships with others (e.g., avoidance of social activities; decreased productivity and efficiency at work, school, or home).

    E. The disturbance is not merely an exacerbation of the symptoms of another disorder, such as major depressive disorder, panic disorder, persistent depressive disorder (dysthymia), or a personality disorder (although it may co-occur with any of these disorders).

    F. Criterion A should be confirmed by prospective daily ratings during at least two symptomatic cycles. (NOTE: The diagnosis may be made provisionally before this confirmation.)

    G. The symptoms are not attributable to the physiologic effects of a substance (e.g., a drug of abuse, a medication, other treatment) or another medical condition (e.g., hyperthyroidism).

    ตารางที่ 2 Daily Record of Severity of Problems (DRSP) 2

    การรักษา (Treatment) 1-3, 6-11

    การรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) มุ่งเน้นเพื่อลดอาการทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ในการรักษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    1. การรักษาแบบที่ไม่ใช้ยา (Non-Pharmacologic treatment)

    1.1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (life style modification) เช่น การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม และคาเฟอีนที่มีประมาณมาก เป็นต้น

    1.2 การรัปประทานแคลเซียมและวิตามินดี (Dietary Calcium and vitamin D intake) ผู้หญิงที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ในด้านอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Mood instability) มีความสัมพันธ์กับระดับแคลเซียมในร่างกาย แต่ไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด การศึกษา RCT จาก Tehran university1 พบว่า นักศึกษาที่ได้รับการวินิจฉัย Premenstrual syndrome จำนวน 179 คน พบว่า นักศึกษาที่ได้รับประทาน Calcium carbonate 1000 mg เป็นระยะเวลา 3 เดือน มีอาการซึมเศร้า เพลีย ลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อีกการศึกษาหนึ่ง 7 พบว่า ผู้หญิงที่รับประทาน calcium carbonate 1200 mg ต่อวันเทียบกับ placebo ในระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มีการลดลงทั้ง Somatic symptoms และ affective symptoms 48 เปอร์เซ็นต์

    การรับประทานวิตามินดี (Vitamin D supplementation) ในการรักษา Premenstrual syndrome จากการศึกษา cross-sectional analysis of a large study พบว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำลง ไม่ได้สัมพันธ์กับการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ที่เพิ่มมากขึ้น

    1.3 จิตบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เป็นการทำจิตบำบัดชนิดหนึ่งที่มีการใช้เทคนิค Psychotherapy เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ป่วยรายนั้น จากการศึกษา Meta-analysis 2009 (7 trial) 1 พบว่า การใช้ Cognitive Behavior Therapy ในการรักษา Premenstrual syndrome มีระดับคะแนนการทำงานและอาการซึมเศร้าที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในเรื่องของความถี่และระยะเวลาในการรักษา

    1.4 แพทย์ทางเลือก (Complementary and alternative therapies) จากการศึกษา Cochrane review 2010 1 พบว่า การใช้สมุนไพรจีนในการักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด นอกจากนั้น การศึกษา Systemic review 2009 (62 studies) 2 พบว่า การใช้ Gingko, Saffron, St. John’s wort, Soy และ vitamin E ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการรักษา แต่พบว่า Chasteberry (Vitex agnus-castus) และ Vitamin B6 สามารถช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) ได้ โดย Vitex agnus-castus ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด แต่การศึกษา in vitro พบว่า Vitex agnus-castus ไปจับกับ Dopamine-2 receptor และ Opioid receptor และไปมีผลต่อ estrogen receptor และ Vitamin B6 มีผลทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับ Serotonin Norepinephrine Histamine Dopamine และ Taurine ที่ช่วยลดอาการ Premenstrual syndrome 7 โดยแนะนำให้ใช้ vitamin B6 80 mg ต่อวัน

    2. การรักษาแบบที่ใช้ยา (Pharmacologic treatment)

    2.1 Serotonergic antidepressants ถือเป็นยาทางเลือกหลักในการรักษา Premenstrual syndrome (first line drugs) ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย SSRIs (selective serotonin reuptake inhibitors) เช่น Sertraline (Zoloft) Paroxetine (Paxil) Fluoxetine (Prozac) Citalopram (Celexa) Escitalopram (Lexapro) เป็นต้น และ SNRIs (serotonin – norepinephrine reuptake inhibitors) เช่น Venlafaxine (Effexor) เป็นต้น จากการศึกษา Cochrane review 2013 1 พบว่า การใช้ SSRIs เทียบกับ placebo มีการลดลงของอาการของ Premenstrual syndrome อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นมีการสนับสนุนว่า การใช้ SNRIs (serotonin – norepinephrine reuptake inhibitors) ในการรักษาผู้ป่วย PMDD ด้วย ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ และความรู้สึกทางเพศเปลี่ยนไป เป็นต้น

    2.2 Oral contraceptives ถูกนำมาใช้ในการรักษา Premenstrual syndrome โดยทางเลือกในการรักษา จะเป็นการใช้แบบ Continuous oral contraceptive ปัจจุบัน 4th generation combined oral contraceptive pill (drospirenone) เช่น Yasmin มีฤทธิ์ที่ประกอบไปด้วย antimineralocorticoid antiandrogenic progestogenic effect เพิ่มขึ้น จึงถูกนำมาใช้ในการรักษา Premenstrual syndrome จากการศึกษาพบว่า การใช้ continuous oral contraceptive (90 mcg levonorgestrel/ 20 mcg ethinyl estradiol) ส่งผลทำให้อาการทางร่างกายและอาการซึมเศร้าดีขึ้น ประมาณ 30-59 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นการศึกษา Cochrane review 2012 1 หลังจากใช้ OCP (3 mg Drospirenone / 20 mcg EE ) 3 เดือน พบว่า ผู้หญิงที่มี PMDD อาการดีขึ้น แตในกลุ่ม PMS ยังมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอ

    2.3 Progesterone จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการรักษา Premenstrual syndrome ยังไม่ชัดเจน

    2.4 GnRH agonists มีผลในการยับยั้งการสร้าง ovarian steroid จึงมีประสิทธิภาพในการลดอาการทางกายมากกว่าพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ แต่เนื่องจากการใช้ GnRH agonist ในระยะยาว ส่งผลต่อการเกิดกระดูกพรุน (Osteoporosis) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ GnRH agonists จึงไม่นิยมเป็นทางเลือกแรกในการรักษา Premenstrual syndrome

    2.5 Spironolactone เป็นยาในกลุ่ม Potassium-sparing diuretic ซึ่งมีฤทธิ์ Diuresis และ antiandrogenic effects ช่วยลดอาการปวดเต้านม (Breast tenderness) ท้องอืด (Bloating) น้ำหนักตัวเพิ่ม (Weight gain) และอารมณ์ซึมเศร้า (Depressed mood)

    3. การรักษาแบบการผ่าตัด (Surgical treatment)

    การผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง (Bilateral oophorectomy) เป็นการรักษาเพื่อยับยั้งการตกไข่อย่างถาวร ทำให้ Ovarian cycle ยุติลง ซึ่งข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ได้แก่

    • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น อาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (Severe Premenstrual dysphoric disorder)
    • ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา (Failed medical therapy)
    • ไม่สามารถใช้ยา GnRH agonist ในระยะยาวได้ (Unwilling to long term used of GnRH agonist)
    • มีบุตรเพียงพอแล้ว (Complete childbearing)

    Drugs Dose Adverse effects Symptoms targeted
    Nutritional and herbal supplements
    Calcium 1200 mg/d Constipation

    Nausea

    Renal stone (dose>2500 mg/d)

    Mood symptoms, breast tenderness, bloating/swelling pain, headache, food craving
    Vitamin B6 50-100 mg/d Neurotoxicity

    (dose >200 mg/d)

    Neuropathy

    Psychological
    Chasteberry Extract : 20/40 mg/d

    Capsules : 200-400 mg/d

    Nausea/vomiting

    Headache

    Bloating

    Breast tenderness, headache, irritability, anger, mood swings
    Vitamin E 150-400 IU/d No significant adverse effects Psychological and physical mastalgia
    Other
    Acupuncture None Physical symptoms
    Antidepressants (can be given continuously throughout cycle or just during luteal phase
    Citalopram 10-30 mg/d Anxiety

    Nausea

    Sleep disturbance

    Headache

    Sexual dysfunction

    Psychological
    Escitalopram 10-20 mg/d Psychological
    Fluoxetine 10-20 mg/d Psychological and physical
    Paroxetine CR 12.5-25 mg/d
    Sertraline 50-150 mg/d
    Venlafaxine 50-200 mg/d
    Hormonal
    Continuous oral contraceptive 3 mg drospirenone/20 mcg ethinyl estradiol daily Intermenstrual bleeding

    Nausea

    Breast pain

    Psychological
    90 mcg levonorgestrel

    /20mcg ethinyl estradiol daily

    Psychological and physical
    Progesterone 200-300 mg/d oral

    300 mg/d vaginal

    Drowsiness Psychological and physical

    ตารางที่ 3 แสดงการรักษา (Treatment) 7

    แผนภูมิที่ 1 แสดงแนวทางการรักษา (Treatment) 4

    บทสรุป (Summary)

    กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนของรอบเดือนนั้น และอาการจะหายไปได้เองในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งอาการเหล่านั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเป้าหมายหลักของการรักษาก็คือการลดอาการที่ผู้ป่วยประสบอยู่ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งการรักษามีทางเลือกหลากหลายวิธี ทั้งการใช้ยาในการักษา และการไม่ใช้ยาในการรักษา และหากการใช้ยาไม่สำเร็จผล จึงจำเป็นที่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษาต่อไป การดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วย แพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวชกรรมและด้านจิตวิทยา เพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะนี้ ยังมีข้อมูลน้อยและมักเป็นการศึกษาขนาดเล็กประกอบกับตัวชี้วัดด้านอาการของผู้ป่วยยังมีความหลากหลาย

    เอกสารอ้างอิง

    1. Hofmeister S, Bodden S. Premenstrual Syndrome and Premenstrual Dysphoric Disorder. Am Fam Physician. 2016;94(3):236-40.
    2. Biggs WS, Demuth RH. Premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder. Am Fam Physician. 2011;84(8):918-24.
    3. Berek JS, Berek DL. Chapter 23 Common psychiatric problems, Premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder. Berek & Novak’s Gynecology 16th edition. NewYork. Wolters Kluwer2020. 509-10 p.
    4. Yonkers KA, Casper RF. Epidemiology and pathogenesis of premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder UpToDate. Waltham, MA: UpToDate Inc. [Available from: https://www.uptodate.com. (Accessed on November 20, 2022.)
    5. Yonkers KA, CAsper RF. Clinical manifestations and diagnosis of premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder UpToDate. Waltham, MA: UpToDate Inc. [Available from: https://www.uptodate.com. (Accessed on November 20, 2022.)
    6. Casper RF, Yonkers KA. Treatment of premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder UpToDate. Waltham, MA: UpToDate Inc. [Available from: https://www.uptodate.com. (Accessed on November 20, 2022.)
    7. Danis P, Drew A, Lingow S, Kurz S. Evidence-based tools for premenstrual disorders. J Fam Pract. 2020;69(1):E9-e17.
    8. Kwan I, Onwude JL. Premenstrual syndrome. BMJ Clin Evid. 2015;2015.
    9. Dilbaz B, Aksan A. Premenstrual syndrome, a common but underrated entity: review of the clinical literature. J Turk Ger Gynecol Assoc. 2021;22(2):139-48.
    10. Ryu A, Kim TH. Premenstrual syndrome: A mini review. Maturitas. 2015;82(4):436-40.
    11. Ismaili E, Walsh S, O’Brien PMS, Bäckström T, Brown C, Dennerstein L, et al. Fourth consensus of the International Society for Premenstrual Disorders (ISPMD): auditable standards for diagnosis and management of premenstrual disorder. Arch Womens Ment Health. 2016;19(6):953-8.

     

    Read More

    Gynecologic surgical consideration in COVID-19 pandemic

    Gynecologic surgical consideration in COVID-19 pandemic

    นพ.ธนวิชญ์ พูลสิน
    อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี


    โรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV2 (Severe acute respiratory syndrome-Coronavirus-2) โดยองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศโรคที่เกิดจาการติดเชื้อ SARS-CoV2 อย่างเป็นทางการโดยใช้ชื่อ COVID-19 ซึ่งคำว่า “COVID” หมายถึง Corona virus disease และ “19” หมายถึงปีค.ศ.2019 (1)ซึ่งเป็นปีที่พบผู้ป่วยรายแรกที่ประเทศจีน โดยองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศเป็นการระบาดเป็นวงกว้างในเดือนมีนาคมปี 2563

    จากการศึกษาในปัจจุบัน โรค COVID-19 สามารถแพร่การจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือผ่านทาง Air droplets(2) และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศ (Airborne)(3) ได้ในบางสถานการณ์ เช่น หัตถการที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ หรือในการผ่าตัดก็อาจเกิดขึ้นได้, อาการของโรค COVID-19 นั้นเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น โดยจะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 ที่จะมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องการการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตหรือ ICU, เมื่อผู้ป่วยโรค COVID-19 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนหอผู้ป่วย ICU มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนหอผู้ป่วยอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ในส่วนอื่นๆ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการใช้ชุด PPE ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจหรือส่วนประกอบของเลือด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัด (4)

    ข้อพิจารณาทั่วไปสำหรับการผ่าตัดในภาวการณ์ระบาดของโรค COVID-19(1, 5, 6)

    เชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถพบได้ในส่วนต่างๆของร่างกายรวมถึงช่องท้อง ซึ่งอาจแพร่กระจายได้ในแบบ Airborne ผ่านการใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ทำให้เกิดละอองฝอยหรือควันเช่นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจี้ (Electrosurgical instrument) มีการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถอยู่ในละอองได้นานถึง 3 ชั่วโมง(7) แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะสรุปได้ว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV2 สามารถแพร่กระจายผ่านการผ่าตัดทางหน้าท้องในห้องผ่าตัดได้

    การผ่าตัดทุกกรณีถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการอาจจะติดเชื้อไวรัส SARS-CoV2 และสามารถแพร่การจายเชื้อในห้องผ่าตัดได้ ดังนั้นการผ่าตัดจึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสให้มากที่สุด เช่นการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นในการตัดหรือหยุดเลือดระหว่างการผ่าตัด

    การประเมินความเสี่ยงต่อการติดโรค COVID-19 ควรจะประเมินในผู้ป่วยทุกรายที่จะได้รับการผ่าตัด โดยประเมินทั้งอาการของโรค COVID-19 หรือ URI symptom เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย หรือประเมินการสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 กับผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV2 ก่อนการผ่าตัดทุกรายไม่ว่าจะวิธี RT-PCR หรือ Serological test มีความจำเป็นเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ ในผู้ป่วยที่ผลการตรวจ COVID-19 เป็นบวก การผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนควรเลื่อนออกไปก่อน และจะต้องมีห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดในภาวะฉุกเฉิน ผู้ที่ทำงานในห้องผ่าตัดทุกคนควรจะได้รับการฝึกฝนการใช้ชุดป้องกัน PPE อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงการจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัด การจำกัดทางเข้าออก เพื่อป้องการการแพร่ระบาด(1)

    การคัดเลือกผู้ป่วยที่จะทำการผ่าตัด(8)

    American college of surgeon (ACS) ได้แบ่งช่วงเวลาของการระบาดเป็น 3 ระยะ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยและข้อจำกัดของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดดังตาราง โดยในระยะ Acute phase I ซึ่งยังมีผู้ป่วย COVID-19 ไม่มากนัก สามารถดำเนินการผ่าตัดตามปกติ แต่ควรให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดใน 3 เดือน ในระยะถัดมาอาจดำเนินการผ่าตัดเฉพาะผู้ป่วยเร่งด่วนเท่านั้น รวมถึงได้มีการศึกษาของ Ross (9) ได้แบ่งช่วงเวลาของการระบาดเป็น 4 ระยะ โดยในระยะ Alert ซึ่งยังไม่มีผู้ป่วย COVID-19 การผ่าตัดสามารถดำเนินการได้ตามปกติ แต่ในระยะต่อมาที่มีผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มมากขึ้น ควรลดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนออกไปร้อยละ 50 ไปจนถึงงดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนทั้งหมด

    ตารางที่ 1 ข้อแนะนำในการผ่าตัดในแต่ละช่วงเวลาระบาดของ COVID-19

    Guidelines ช่วงของการระบาด การจัดการ
    ACS Acute phase I : Semi-urgent setting
    ผู้ป่วย COVID-19 ยังไม่มาก
    ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าตัดใน 3 เดือน
    Acute phase II : Urgent setting, escalation phase
    ผู้ป่วย COVID-19 มากขึ้น ทรัพยากรณ์ถูกจำกัด
    ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าภายในไม่กี่วัน
    Acute phase III : Hospital resources are all directed to COVID-19 patient ดำเนินการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าภายในไม่กี่ชั่วโมง
    Ross et al. ALERT : ยังไม่มีผู้ป่วย COVID-19 การผ่าตัดดำเนินการปกติ
    LEVEL 2 : เริ่มมีผู้ป่วย COVID-19 – ลดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนลงครึ่งหนึ่ง

    – จัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัดที่เร่งด่วน

    LEVEL 1 : อัตราครองเตียงผู้ป่วยวิกฤติ >90% – งดการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนทั้งหมด
    CONDITION ZERO : อัตราครองเตียงผู้ป่วยวิกฤติ >100% – ผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น

    ดัดแปลงจาก Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8. (8)

    การจัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัดนั้น American college of surgeon (ACS) ได้จัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัดโดยใช้ Elective Surgery Acuity Scale ได้ดังนี้

    • Tier 1 : Low acuity surgery ได้แก่ Elective surgery
    • Tier 2 : Intermediate surgery ได้แก่ Urgency surgery
    • Tier 3 : High acuity surgery ได้แก่ Emergency surgery

    ตารางที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญในการผ่าตัด

    Priority Definition Action
    Tier 1a Low acuity surgery/healthy patient (Outpatient surgery; Not life-threatening illness) เลื่อนการผ่าตัดออกไป
    Tier 1b Low acuity surgery/unhealthy patient
    Tier 2a Intermediate acuity surgery/healthy patient (Not life-threatening but potential for future morbidity and mortality) เลื่อนการผ่าตัดถ้าสามารถเลื่อนได้
    Tier 2b Intermediate acuity surgery/unhealthy patient
    Tier 3a High acuity surgery/healthy patient ไม่สามารถเลื่อนการผ่าตัดได้
    Tier 3b High acuity surgery/unhealth patient

    ดัดแปลงจาก Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8. (8)

    จะเห็นได้ว่าการเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนในภาวะของการระบาดของโรค COVID-19 นั้น เป็นการเพิ่มทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หอผู้ป่วยวิกฤต รวมถึงเป็นการลดผู้ป่วยที่เดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ลดโอกาสการสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดสู่ชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม การเลื่อนการผ่าตัดผู้ป่วยนั้น จะต้องทำควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงที่โรคจะดำเนินต่อถ้าหากยังไม่ได้รับการผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กันไป รวมถึงการคัดเลือกผู้ป่วยในการผ่าตัด อาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์การระบาด

    การผ่าตัดผู้ป่วยทางนรีเวชในภาวการณ์ระบาดของ COVID-19(5, 10)

    American Association of Gynecologic Laparoscopists (AAGL) ได้ปรับรูปแบบของ Elective Surgery Acuity Scale ดังตารางที่แนบมา ให้เข้ากับการผ่าตัดทางนรีเวช เพื่อเป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัดทางนรีเวชในช่วงของการแพร่ระบาด แต่อย่างไรก็ตาม การจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ผู้ผ่าตัดร่วมกับลักษณะอาการทางคลินิกของผู้ป่วย และสถานการณ์การระบาดในแต่ละช่วงเวลา (10)

    ตารางที่ 3 ตัวอย่างการตัดลำดับการผ่าตัดตามความเร่งด่วนของโรค

    Tier Gynecology examples Urogynecology examples Reproductive examples
    Tier 1a/1b – Benign appearing adnexal mass, asymptomatic

    – Hysterectomy without anemia, stable symptom

    – Myomectomy, asymptomatic

    – Endometriosis stable symptom

    – Chronic pelvic pain requiring diagnosis (diagnostic laparoscopy)

    – AUB, without anemia, low suspicion malignancy

    – Bleeding requiring diagnosis (hysteroscopy)

    -Persistent PMP, low suspicion (neg EMB)

    – Stress urinary incontinence surgery

    – Surgery for asymptomatic prolapse in patients without other significant sequelae

    – Asymptomatic mesh exposure

    – Neuromodulation for urinary urgency incontinence, retention, or fecal incontinence

    – Diverticulectomy

    – Benign ovarian cyst aspiration
    Tier 2a/2b – AUB with secondary anemia, stable

    – AUB age >50 y with inability to sample in office

    – Endometriosis poorly controlled pain or fertility desired

    – Endometrial polyps age >50 y

    – Symptomatic ovarian cyst

    – Myomectomy symptomatic fibroid

    – Fistula repair

    – Mesh related complication (infection or severe pain)

    – Surgery for advance prolapse in patients with significant sequelae (urinary retention, recurrent UTI, pain)

    – Missed abortion <12 weeks
    Tier 3a/3b – Endometrial hyperplasia/EIN, highly suspicious for atypia/malignancy

    – Adnexal mass, complex, suspicious for torsion, malignancy

    – AUB, secondary anemia, unstable, worsening bleeding

    – Deeply infiltrating endometriosis with severe bower/bladder symptoms, intractable severe pain

    – CIN II, CIN III treatment

    – Symptomatic ovarian cyst, intractable, severe pain

    – Large fibroids, with hydronephrosis, debilitating pain, bulk symptoms, or urinary retention

    – Other potential GYN malignancy cases

    -Sterilization procedures for woman who are not LARC candidates

    – Mesh in a viscus

    – Advance stage prolapse with evidence of upper tract obstruction and unable to retain pessary

    – Obstructed voiding after MUS

    – Incarcerated prolapse

    – Myomectomy for infertility

    – Hysteroscopic metroplasy (for infertility)

    – Transvaginal oocyte aspiration in infertile woman

    – Embryo transfer

    – Ovarian cyst that is affecting ability to do egg retrieval

    – Myomectomy, asymptomatic but affecting uterine cavity in infertile woman or affecting ability to monitor and perform egg retrieval

    – Hysteroscopic polypectomy/myomectomy infertility

    Tier 4a Emergency surgery – Ruptured ectopic with hemodynamic instability

    – Hemorrhage from SAB, incomplete

    – Ruptured TOA

    – Ovarian torsion

    – Perforated viscus or complete bowel obstruction

    – Delayed postoperative hemorrhage

    – Termination of pregnancy

    – Wound dehiscence

    – Prolapsing fibroid

    – Hematocolpos/ hematometra

    – Hemorrhage post egg retrieval

    ที่มา Joint Statement on Re-introduction of Hospital and Office-based Procedures for the Practicing Urogynecologist and Gynecologist. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):1030-2.

    *Tier b หมายถึงผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรือโรคประจำตัว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถ้าหากติดโรค COVID-19 ซึ่งมีผลต่อการจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด

    จากการศึกษาและคำแนะนำต่างๆ ได้สรุปเป็นแนวทางสำหรับการผ่าตัดทางนรีเวชในโรคที่สำคัญต่างๆได้ดังนี้(5)

    1. การผ่าตัดฉุกเฉิน (Emergencies)
      เช่น Ovarian cyst with complication, Twist ovarian cyst, Ectopic pregnancies ไม่สามารถเลื่อนการผ่าตัดได้ อย่างไรก็ตาม ควรประเมินความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หรือตรวจหาเชื้อไวรัสตามแนวทางทุกราย
    2. Myoma Uteri
      ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยการใช้ยายังได้ผลดี ควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนั้นต่อไป ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยายังไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนการรักษาเป็นวิธีอื่นที่ยังไม่ต้องผ่าตัดก่อน แต่ถ้ายังคงมีอาการมาก สามารถดำเนินการผ่าตัดได้
    3. Endometriosis
      ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยการใช้ยายังได้ผลดี ควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนั้นต่อไป ในผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยายังไม่ได้ผล พิจารณาใช้ GnRH agonist เพื่อลดอาการของโรค แต่ถ้ายังคงมีอาการมาก สามารถดำเนินการผ่าตัดได้ในช่วงที่การระบาดของ COVID-19 เริ่มลดลง
    4. Ovarian lesions
      ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการประเมินความเสี่ยงตาม International Ovarian Tumor Analysis (IOTA) models โดยหากมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าร้อยละ 5 ไม่ควรเลื่อนการผ่าตัดออกไป ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่รังไขขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร ควรได้รับการผ่าตัดแม้ไม่มีอาการ การรักษาด้วยยาแนะนำสำหรับ functional cyst เท่านั้น
    5. Operation for infertility
      หัตถการเกี่ยวกับการรักษาผู้มีบุตรยาก ถูกประเมินให้อยู่ในกลุ่ม Tier 3
    6. Urogynecology
      การผ่าตัดทาง Urogynecology ส่วนใหญ่แล้วเป็นการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน ควรจะเลื่อนการผ่าตัดออกไปในช่วงเวลาที่มีการระบาดอย่างรุนแรง โดยสามารถเลือกใช้วีธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อนเป็นอันดับแรก การผ่าตัดควรพิจารณาในผู้ป่วยที่มีอาการมาก และสามารถผ่าตัดในช่วงที่การระบาดเริ่มมีแนวโน้มลดลง
    7. Endometrial cancer
      การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการผ่าตัดแบบ Type A Hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy สำหรับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองจะทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องนั้นจะมีประโยชน์ในการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล
    8. Cervical cancer
      ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป ในโรคระยะลุกลาม สามารถรักษาโดยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
    9. Vulva cancer
      ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไป ในโรคระยะลุกลาม สามารถรักษาโดยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี สำหรับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) และ Non-invasive Paget สามารถเลื่อนการผ่าตัดในช่วงการระบาดได้
    10. Ovarian cancer
      ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มต้น การผ่าตัดควรดำเนินการต่อไปตามแนวทางการรักษา สามารถส่งตรวจทางพยาธิวิทยาแบบ Frozen section ระหว่างการผ่าตัดได้เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

    การคัดเลือกผู้ป่วยในช่วงเริ่มต้นของการระบาด(6)

    • การผ่าตัดควรให้ความสำคัญกับกลุ่มโรค Time sensitive disease เช่น มะเร็งโพรงมดลูกในระยะเริ่มต้น (Early-stage endometrial cancer) หรือ มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น (Early-stage cervical cancer) ซึ่งในโรคกลุ่มนี้ถ้าหากการผ่าตัดถูกเลื่อนไปนาน อาจส่งผลต่อพยากรณ์โรคในอนาคตได้
    • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะช่วยลดเวลาการนอนโรงพยาบาลได้
    • ควรตรวจหาเชื้อ SARS-CoV2 ในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดทุกราย

    การคัดเลือกผู้ป่วยในช่วงที่มีการระบาดสูง(6)

    • ควรเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเลื่อนการผ่าตัดควรพิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

    หลังจากผ่านพ้นช่วงของการระบาดไปแล้ว สามารถเริ่มต้นการผ่าตัดได้มากขึ้นตามศักยภาพของโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงการตรวจหาเชื้อไรวัสก่อนการผ่าตัดต่อไป

    การเลือกช่องทางในการผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดส่องกล้อง(11)

    สิ่งที่เป็นที่น่ากังวลในการระบาดของเชื้อไวรัสระหว่างการผ่าตัด ได้แก่ควันที่เกิดจากการผ่าตัด (Surgical smoke) ซี่งเกิดจากการใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เช่นเครื่องจี้ไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดละอองฝอยได้ (Aerosol) แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะยืนยันได้ว่าสามารถพบเชื้อ SARS-CoV2 ในควันหรือละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัด จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าควันหรือละอองฝอยในห้องผ่าตัดที่เกิดจากการผ่าตัดทั้งแบบส่องกล้อง และผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้นไม่ได้แตกต่างกันหากมีระบบจัดการควันที่ดี(r) ทั้งนี้การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้น ละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัดสามารถฟุ้งกระจายภายในห้องผ่าตัด ในขณะที่การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นเป็นการผ่าตัดที่ใช้จี้ไฟฟ้าและแก๊สจำนวนมาก แต่ละอองฝอยที่เกิดจากการผ่าตัดนั้นจะอยู่ในช่องท้องไม่มีทางเปิดออกสู่ภายนอก ซึ่งการดูดควันจากการผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นจะผ่านระบบปิดซึ่งสามารถผ่านตัวกรองได้ และยังมีวิธีอื่นๆในการลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป เมื่อพิจารณาจากหลายๆปัจจัยในการป้องกันกันฟุ้งกระจายของละอองฝอย ร่วมกันการผ่าตัดส่องกล้องนั้นยังมีประโยชน์ในแง่ของระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่สั้นลง การฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

    แนวทางการผ่าตัดแบบส่องกล้องในช่วงของการระบาด(12, 13)

    การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดได้ในหลายๆกรณี เช่น การใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องซึ่งอาจมีการรั่วออกสู่ภายนอกได้ ละอองฝอยหรือควันจากการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า ในช่วงแรกของการระบาดนั้น หลายๆองค์กรได้มีคำแนะนำว่า การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องนั้นปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง แต่ในเวลาต่อมา การผ่าตัดแบบส่องกล้องสามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดได้ในหลายๆวิธีดังต่อไปนี้ จึงมีคำแนะนำถึงการผ่าตัดส่องกล้องมากขึ้น

    • แพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการผ่าตัด
      ควรให้แพทย์ผ่าตัดที่มีประสบการณ์สูงเป็นผู้ผ่าตัด และควรใช้เวลาผ่าตัดให้สั้นเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดโอกาสสัมผัสเชื้อให้มากที่สุด
    • การจัดการกับลมภายในช่องท้อง
      ควรใช้ความดันลมในช่องท้องลดลงจากภาวะปกติเพื่อป้องการการรั่วซึมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการศึกษาส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ความดันลมในช่องท้องประมาณ 10-12 mmHg ซึ่งต่ำกว่าความดันที่ใช้ปกติที่ 10-15 mmHg และไม่ควรปล่อยลมในช่องท้องออกเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ผ่าตัดออกจากช่องท้อง หรือปล่อยลมออกโดยไม่ผ่านตัวกรอง และหลีกเลี่ยงการจัดท่าแบบ Trendelenburg หากเป็นไปได้
    • การใช้ Trocar
      ได้มีการศึกษาและคำแนะนำเพื่อลดการรั่วของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์รอบๆ Trocar โดย ลดขนาดของแผลบริเวณหน้าท้อง เพื่อใส่ Trocar ได้แต่ไม่ให้แก้สรั่วออกมา หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ควรถอด Trocar หลังจากปล่อยแก๊สออกจากช่องท้องหมดแล้วเพื่อลดการรั่วของแก๊ส, ตรวจสอบการรั่วของ Trocar ก่อนเริ่มการผ่าตัดทุกครั้ง ควรต่อ Trocar เข้ากับระบบกรองอากาศเพื่อกรองควันที่จะถูกดูดออกมา
    • การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า
      ในหลายการศึกษาได้แนะนำให้ควรลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือลดพลังงานของเครื่องจี้ไฟฟ้าระหว่างการผ่าตัด แนะนำให้ใช้วิธี Sharp หรือ Blunt dissection มากขึ้น, Society of European Robotic Gynaecological Surgery แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ Ultrasonic sealing, ได้มีคำแนะนำจาก The Turkish Association of Endocrine Surgeons แนะนำว่าเครื่องจี้ไฟฟ้าแบบ Bipolar สามารถสร้างควันและละอองฝอยน้อยกว่าแบบ Monopolar จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ Monopolar
    • การดูดควันและแก๊สออกจากช่องท้อง

    ได้มีคำแนะนำจากหลายๆองค์กรแนะนำให้ใช้เครื่องดูดควันแบบระบบปิดที่ต่อเข้ากับระบบกรองอากาศ และแนะนำให้ดูดควันที่เกิดจากการผ่าตัดและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องออกให้หมดก่อนที่จะนำชิ้นเนื้อออกหรือนำเครื่องมือออกจากช่องท้อง การปิดช่องท้องควรทำหลังจากที่ดูดควันและแก้สออกจากช่องท้องทั้งหมดแล้ว

    • การดูแลหลังผ่าตัดส่องกล้อง
      พิจารณาให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น อาจให้ออกจากโรงพยาบาลในวันที่ผ่าตัดหากฟื้นตัวได้ดี เพื่อลดการสัมผัสภายในโรงพยาบาล แต่ต้องมีระบบติดตามผู้ป่วยที่ดี

    แนวทางผ่าตัดเปิดหน้าท้องในช่วงการระบาด(1)

    • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือลดการใช้ลง ควรใช้ Sharp หรือ Blunt dissection ให้มากขึ้นเพื่อลดการเกิดควันและละอองฝอย
    • หากจำเป็นต้องใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า ควรลดระดับความแรงลงและใช้เวลาในการจี้ลดลง
    • ใช้เครื่องดูดควันที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองอากาศ
    • พยายามลดการฟุ้งกระจายของเลือดและของเหลวต่างๆระหว่างการผ่าตัด

    แนวทางการส่องกล้องทางโพรงมดลูก (Hysteroscopy) ในช่วงการระบาด(14, 15)

    การส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้น เป็นหัตถการที่สามารถมองเห็นความผิดปกติและสามารถรักษาได้ในเวลาเดียวกัน เป็นการลดจำนวนครั้งในการมาโรงพยาบาลขอผู้ป่วยได้ และยังเป็นทางเลือกหลักในการรักษาความผิดปกติในโพรงมดลูก นอกจากนี้ การส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้นเป็นการทำหัตถการหรือใช้ห้องผ่าตัดแบบวันเดียว จึงส่งผลกระทบต่อทรัพยากรโดยรวมของโรงพยาบาลค่อนข้างน้อย โดยในช่วงที่มีการระบาดสูงสุด ควรเลือกส่องกล้องทางโพรงมดลูกในผู้ป่วยที่เร่งด่วนหรือมีอาการที่ส่งผลกระทบรุนแรง แต่ในช่วงที่การระบาดลดลงแล้ว สามารถส่องกล้องทางโพรงมดลูกในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงได้
    โดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จากการส่องกล้องทางโพรงมดลูกนั้นต่ำมาก เนื่องจากการส่องกล้องทางโพรงมดลูกจะมีการใส่น้ำเพื่อขยายโพรงมดลูก จึงเกิดละอองฝอยระหว่างการส่องกล้องทางโพรงมดลูกน้อย โดยมีแนวทางการส่องกล้องทางโพรงมดลูกดังนี้

    • ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัดที่จะทำ Hysteroscope โดยเฉพาะขณะที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจหรือถอดท่อช่วยหายใจ เจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องควรรอภายนอกห้องผ่าตัดเพื่อลดโอกาสการสัมผัส
    • แนะนำให้ใช้ Conscious sedation หรือ Regional anesthesia มากกว่า General anesthesia
    • ลดเวลาการทำหัตถการให้ได้มากที่สุด
    • แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เกิดควันหรือละอองฝอยในการทำหัตถการ เช่น กรรไกร ที่จับเนื้อเยื่อ
    • ใช้เครื่องดูดควันที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองอากาศ
    • ทำความสะอาดห้องผ่าตัดและอุปกรณ์การผ่าตัดอย่างเหมาะสม

    สรุป

    การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นั้นส่งผลต่อระบบสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในแง่ของทรัพยากรโรงพยาบาลที่จะถูกนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 รวมถึงส่งผลกระทบต่อการผ่าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน การจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด ถึงแม้ว่าการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนจะถูกเลื่อนออกไป แต่การผ่าตัดฉุกเฉินก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้เกิดมาตรการต่างๆมากมายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อย่างเช่นการคัดกรองหรือตรวจหาเชื้อไวรัสก่อนการผ่าตัด และการเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดน้อยที่สุด โรค COVID-19 ยังคงระบาดไปอีกระยะหนึ่ง และยังต้องการการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเพื่อปรับแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงของการระบาดได้ดียิ่งขึ้นไป

    เอกสารอ้างอิง

    1. Rosa ESJC, Ribeiro PA, Brito LGO, Gomes MTV, Podgaec S, Ribeiro H, et al. Gynecological Surgery and COVID-19: What is the Impact and How Should I Manage it? Rev Bras Ginecol Obstet. 2020;42(7):415-9.

    2. Li Q, Guan X, Wu P, Wang X, Zhou L, Tong Y, et al. Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia. N Engl J Med. 2020;382(13):1199-207.

    3. The Lancet Respiratory M. COVID-19 transmission-up in the air. Lancet Respir Med. 2020;8(12):1159.

    4. Wright JD, Advincula AP. Gynecologic surgical considerations in the era of COVID-19. Semin Perinatol. 2020;44(6):151296.

    5. Chiofalo B, Baiocco E, Mancini E, Vocaturo G, Cutillo G, Vincenzoni C, et al. Practical recommendations for gynecologic surgery during the COVID-19 pandemic. Int J Gynaecol Obstet. 2020;150(2):146-50.

    6. Thomas V, Maillard C, Barnard A, Snyman L, Chrysostomou A, Shimange-Matsose L, et al. International Society for Gynecologic Endoscopy (ISGE) guidelines and recommendations on gynecological endoscopy during the evolutionary phases of the SARS-CoV-2 pandemic. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2020;253:133-40.

    7. van Doremalen N, Bushmaker T, Morris DH, Holbrook MG, Gamble A, Williamson BN, et al. Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1. N Engl J Med. 2020;382(16):1564-7.

    8. Moletta L, Pierobon ES, Capovilla G, Costantini M, Salvador R, Merigliano S, et al. International guidelines and recommendations for surgery during Covid-19 pandemic: A Systematic Review. Int J Surg. 2020;79:180-8.

    9. Ross SW, Lauer CW, Miles WS, Green JM, Christmas AB, May AK, et al. Maximizing the Calm before the Storm: Tiered Surgical Response Plan for Novel Coronavirus (COVID-19). J Am Coll Surg. 2020;230(6):1080-91.e3.

    10. Joint Statement on Re-introduction of Hospital and Office-based Procedures for the Practicing Urogynecologist and Gynecologist. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):1030-2.

    11. Mintz Y, Arezzo A, Boni L, Baldari L, Cassinotti E, Brodie R, et al. The risk of COVID-19 transmission by laparoscopic smoke may be lower than for laparotomy: a narrative review. Surg Endosc. 2020;34(8):3298-305.

    12. Ghazali W, Nallaluthan P, Hasan RZ, Adlan AS, Boon NK. Gynecological Endoscopic Society of Malaysia Statement and Recommendations on Gynecological Laparoscopic Surgery during COVID-19 Pandemic. Gynecol Minim Invasive Ther. 2020;9(4):185-9.

    13. Tommaselli GA, Grange P, Ricketts CD, Clymer JW, Fryrear RS, 2nd. Intraoperative Measures to Reduce the Risk of COVID-19 Transmission During Minimally Invasive Procedures: A Systematic Review and Critical Appraisal of Societies’ Recommendations. Surg Laparosc Endosc Percutan Tech. 2021.

    14. Carugno J, Di Spiezio Sardo A, Alonso L, Haimovich S, Campo R, De Angelis C, et al. COVID-19 Pandemic. Impact on Hysteroscopic Procedures: A Consensus Statement from the Global Congress of Hysteroscopy Scientific Committee. J Minim Invasive Gynecol. 2020;27(5):988-92.

    15. Farkas Z, Krasznai ZT, Lampe R, Torok P. COVID 19 pandemic and minimally invasive gynecology: consequences and future perspectives. Minim Invasive Ther Allied Technol. 2021;30(5):311-6.

     

    Read More
    F implant1

    ยาฝังคุมกำเนิด Implant contraception

    ยาฝังคุมกำเนิด: Implant contraception

    นพ.นาวิน ศักดาเดช
    อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี


    บทนำ

    Long acting reversible contraception (LARC) เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคุมกำเนิดได้ในระยะยาว โดยประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน จึงลดโอกาสล้มเหลวของการคุมกำเนิด (1-3)

    การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์นาน ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 3 วิธี ได้แก่ ยาฝังคุมกำเนิด (implant), ยาฉีดคุมกำเนิด (injectable contraception) และ ห่วงคุมกำเนิด (intrauterine device) (4)

    ยาฝังคุมกำเนิด (Implant contraception)

    จัดเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์นานที่ได้รับความนิยม มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง โดยการฝังหลอดยาที่บรรจุฮอร์โมนเข้าไปใต้ผิวหนัง ฮอร์โมนจากแท่งยาจะค่อย ๆ ถูกปล่อยออกสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นระยะเวลานาน เมื่อครบกำหนดต้องเอาหลอดยาเดิมออก เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติสลายไปได้เอง(5)

    ชนิดของยาฝังคุมกำเนิด

    1. Levonorgestrel implant

    Norplant

    เริ่มจำหน่ายในปี พ.ศ. 2533 ประกอบด้วย levonorgestrel ซึ่งบรรจุใน silastic tube จำนวน 6 หลอด แต่ละหลอดมีฮอร์โมน 36 มิลลิกรัม (ทั้งหมด 216 มิลลิกรัม) จะหลั่งฮอร์โมนขนาด 85 ไมโครกรัมต่อวันในเดือนแรก หลังจากนั้นฮอร์โมนจะลดลงเหลือ 35 ไมโครกรัมต่อวัน และ 30 ไมโครกรัมต่อวัน หลังจาก 1 ปีและ 2 ปี ตามลำดับ ยาฝังชนิดนี้ไม่มีจำหน่ายแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เพราะความยุ่งยากในการฝังและถอดหลอดยา ประกอบกับมียาฝังรุ่นใหม่ที่ใช้งานสะดวกกว่า (4, 6)

    Jadelle

    เริ่มจำหน่ายในปี พ.ศ.2539 หลอดยาบาง ยืดหยุ่น ตัวยาบรรจุอยู่ใน silastic rod จำนวน 2 หลอด แต่ละหลอดจะมี levonorgestrel 75 มิลลิกรัม (ทั้งหมด 150 มิลลิกรัม) หลอดยามีขนาด 43 x 2.5 มิลลิเมตร จะหลั่งฮอร์โมนขนาด 100 ไมโครกรัมต่อวันในเดือนแรก หลังจากนั้นฮอร์โมนจะลดลงเหลือ 40 ไมโครกรัมต่อวัน และ 30 ไมโครกรัมต่อวัน หลังจาก 1 ปีและ 2 ปี ตามลำดับ สามารถคุมกำเนิดได้นาน 5 ปี ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงเหมือนกับ Norplant แต่การถอดหลอดยาจะทำได้ง่ายกว่า (4, 6)

    Sino-implant II

    หลอดยาจำนวน 2 หลอด ปริมาณ levonorgestrel และการออกฤทธิ์เหมือนกับ Jadelle แต่สามารถคุมกำเนิดได้ 4 ปี ผลิตในประเทศจีน จำหน่ายในเอเชียและแอฟริกา (6)

    2. Etonorgestrel implant

    Nexplanon

    หลอดยายืดหยุ่นได้ขนาดยาว 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ประกอบด้วย 3-ketodesogestrel (etonogestrel เป็น active metabolite ของ desogestrel) และ barium sulfate 15 มิลลิกรัม (สารทึบรังสี) มีอุปกรณ์สำหรับฝังยาเพื่อช่วยควบคุมตำแหน่งและความลึกของชั้นผิวหนัง (4, 6)

    Implanon / Implanon NXT

    Implanon เป็นยาฝังลักษณะคล้ายกับ Nexplanon มีขนาดและปริมาณยาเท่ากัน ต่างกันที่ไม่ได้เคลือบสารทึบรังสี แต่ปัจจุบันมีการผลิตยาฝังรุ่นใหม่ชื่อ Implanon NXT ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ มีอุปกรณ์บังคับไม่ให้ฝังยาลึกเกินไปเหมือน Nexplanon ส่วนประกอบและคุณสมบัติเหมือน Implanon เดิมทุกประการ และเพิ่มการเคลือบ barium sulfate ทําให้เห็นได้จาก x-ray

    ทั้ง Nexplanon และ Implanon จะปล่อยฮอร์โมน etonorgestrel วันละ 60-70 ไมโครกรัมในช่วงเดือนแรก หลังจากนั้นฮอร์โมนจะลดลงเหลือ 30 ไมโครกรัมหลังจาก 2 ปี สามารถยับยั้งการตกไข่ได้หลังจากฝังยา 8 ชั่วโมง ผลข้างเคียงไม่ต่างจาก Norplant และ Jadelle แต่จะมีเลือดออกน้อยกว่าและขาดประจำเดือนมากกว่า สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี (4, 6)

    ประสิทธิภาพของยาฝังคุมกำเนิด (1, 4, 7)

    • ประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าการทำหมันและการใส่ห่วงอนามัยและประสิทธิภาพดีกว่าการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดอื่น
    • อัตราการตั้งครรภ์ 0.2 ต่อ 100 women-years ในผู้ใช้ Norplant
    • จากการศึกษาไม่พบการตั้งครรภ์เลย ในผู้ใช้ etonorgestrel 942 ราย
    • ประสิทธิภาพของ Norplant และ Jadelle อาจจะลดลงเล็กน้อยในผู้ใช้ที่น้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัม เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน แต่ประสิทธิภาพก็ยังเหนือกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด
    • น้ำหนักอาจมีผลต่อระดับ etonogestrel เพียงเล็กน้อย แต่พบว่าไม่เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์นอกมดลูก

    อัตราการตั้งครรภ์นอกมดลูกในผู้ใช้ Norplant อยู่ระหว่าง 0.1-2.9 ต่อ 1,000 women-years ซึ่งค่อนข้างต่ำ แต่ถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในระหว่างที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดต้องระวังการตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยพบว่าร้อยละ 30 ของการตั้งครรภ์ในขณะใช้ Norplant และร้อยละ 2.3 ของการตั้งครรภ์ในขณะใช้ etonogestrel implant เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก (4)

    กลไกการคุมกำเนิด (4, 7)

    โปรเจสตินในหลอดยาฝังซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ดูดซึมเข้ากระแสเลือด กลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว

    1. ป้องกันการตกไข่ โดยฮอร์โมนโปรเจสตินจะกดการทำงานของไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง

    • ในผู้ใช้ Norplant พบว่า มีการตกไข่ประมาณร้อยละ 10 ในช่วง 2 ปีแรก และมากกว่าร้อยละ 50 หลังจาก 5 ปี
    • ในผู้ใช้ etonogestrel implant พบว่า หลังฝังยา 8 ชั่วโมง ระดับยาเพียงพอสำหรับป้องกันการตกไข่ และสามารถยับยั้งการตกไข่ได้ประมาณ 3 ปี แต่ช่วง 6 เดือนสุดท้ายจะเริ่มมีการตกไข่เกิดขึ้นบ้าง

    2. เปลี่ยนแปลงมูกปากมดลูกให้ข้น ปริมาณน้อย ไม่เหมาะต่อการเคลื่อนผ่านของอสุจิ จากการศึกษา พบว่า กรณีที่ใช้ Norplant หรือ Jadelle ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นอย่างน้อย 3 วันหลังฝังยา แต่ถ้าเป็น etonogestrel implant ไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย

    3. เปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูกให้ฝ่อ บาง ไม่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน

    ข้อบ่งชี้

    ยาฝังคุมกำเนิดเป็นทางเลือกการคุมกำเนิดที่ดีสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ ทีต้องการคุมกำเนิดต่อเนื่อง ระยะยาว โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ (4)

    1. ผู้ที่ต้องการเว้นระยะห่างของการตั้งครรภ์อย่างน้อย 2-3 ปี
    2. ต้องการการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และคุมกำเนิดได้นาน
    3. มีข้อห้ามหรือผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
    4. ผู้ที่มีโอกาสลืมกินยาบ่อย ๆ และมีข้อห้ามสำหรับการใส่ห่วงอนามัย
    5. มีบุตรเพียงพอแล้ว แต่ไม่ต้องการคุมกำเนิดแบบถาวร เช่น การทำหมัน
    6. มีประวัติซีดร่วมกับมีประจำเดือนมากผิดปกติ
    7. มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามสำหรับการตั้งครรภ์

    ข้อบ่งห้าม

    Absolute contraindication (1, 4)

    1. Active thrombophlebitis หรือหลอดเลือดอุดตัน
    2. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
    3. โรคตับเฉียบพลัน
    4. เนื้องอกหรือมะเร็งตับ
    5. สงสัยหรือเป็นมะเร็งเต้านม
    6. ตั้งครรภ์
    7. แพ้สารประกอบในยาฝังคุมกำเนิด

    Relative contraindication (4)

    1. สูบบุหรี่ (>15 มวน/วัน) ในหญิงอายุมากกว่า 35 ปี
    2. ประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก
    3. ไขมันในโลหิตสูง
    4. ความดันโลหิตสูง
    5. โรคหัวใจและหลอดเลือด (หัวใจขาดเลือด, หลอดเลือดสมองอุดตัน, ใส่ลิ้นหัวใจ)
    6. โรคถุงน้ำดี
    7. โรคเรื้อรัง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    **ภาวะดังต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อห้ามสำหรับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด แต่แนะนำให้ใช้วิธีอื่น

    • เป็นสิวมาก, ไมเกรนรุนแรง, ซึมเศร้ารุนแรง
    • กำลังใช้ยาที่มีผลเร่งการทำงานของเอ็นไซม์ตับ ได้แก่ carbamazepine, griseofulvin, nevirapine, phenobarbital, phenytoin, rifampicin, topiramate, vigabatrin เป็นต้น ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เนื่องจากทำให้ระดับโปรเจสตินในเลือดลดลง

    เวลาที่เริ่มใช้ยาฝังคุมกำเนิด (4, 7)

    • เริ่มใช้ภายใน 5 วันแรกของระดู (กรณีไม่ได้ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดมาก่อน)
    • สามารถฝังยาได้เลยในช่วง hormone-free interval (กรณีที่ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดมาก่อน)
    • กรณีที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินชนิดเดี่ยว เช่น ยาฉีด ให้ฝังยาในวันครบกำหนดนัดฉีดยาเข็มถัดไป
    • กรณีที่ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบต่อเนื่อง เช่น progestin-only pill สามารถฝังยาตอนไหนก็ได้
    • หลังแท้งบุตร เริ่มฝังยาได้ทันทีหรือหลังแท้งภายใน 5 วัน
    • หลังคลอดบุตร กรณีไม่ได้ให้นมบุตร ให้ฝังยาภายใน 4 สัปดาห์
    • หลังคลอดบุตร กรณีให้นมบุตร ให้ฝังยาในช่วง 4 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน อย่างไรก็ตาม สามารถฝังยาได้ทันทีหลังคลอดบุตร
    • ไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น หากฝังยาตามช่วงเวลาที่แนะนำข้างต้น แต่ถ้าฝังยานอกเหนือจากช่วงเวลาดังกล่าว แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นอย่างน้อย 3 วันหลังฝังยา

    ผลต่อประจำเดือน (4)

    ลักษณะเลือดออกจะมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของยาฝังที่ใช้

    Levonorgestrel implants

    • มีการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน เช่น ความถี่ของรอบเดือน, ปริมาณเลือดประจำเดือน, จำนวนวันที่เป็นหรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 80 ในปีแรก และจะลดลงเหลือร้อยละ 33 ในปีที่ 5 หลังฝังยา
    • รอบประจำเดือนมาน้อยหรือขาดประจำเดือนสามารถเกิดได้ แต่พบได้น้อยกว่าร้อยละ 10 หลังฝังยา 1 ปี

    Etonogestrel implants

    • การขาดประจำเดือนพบได้มากกว่า levonorgestrel implants โดยพบได้ร้อยละ 21 ในปีแรก หลังจากนั้นพบได้ร้อยละ 30-40
    • เลือดประจำเดือนจะออกน้อยลงและความถี่ลดลง
    • อาจเกิดเลือดออกผิดปกติ (irregular bleeding) ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของการหยุดใช้ยาฝัง

    *ในรายที่ไม่สามารถทนต่ออาการเลือดออกผิดปกติได้สามารถให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนวันละครั้งนาน 7 วัน (conjugated estrogen 1.25 mg หรือ estradiol 2 mg)

    *ในรายที่มีการตกไข่หรือมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอหลังฝังยา แล้วพบว่าขาดประจำเดือน ควรพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์

    ผลต่อเมทาบอลิซึม (4)

    • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าการทำงานของตับ, ค่าการแข็งตัวของเลือด, ระดับภูมิคุ้มกัน, ระดับคอร์ติซอล
    • มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของระดับไขมัน (lipoproteins) ในกรณีที่ใช้ยาฝังมานาน
    • ไม่มีผลต่อการทำงานของ insulin
    • ไม่มีผลต่อการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
    • มีผลเล็กน้อยต่อโรคถุงน้ำดีในผู้ใช้ Norplant
    • ไม่มีความแตกต่างของเมทาบอลิซึมในผู้ใช้ etonogestrel implants และ levonorgestrel implants

    อาการข้างเคียง (4)

    1. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก : มักมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าน้ำหนักลด อาจเกิดจากการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่จากการศึกษาไม่พบการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกายในผู้ใช้ Norplant
    2. เจ็บคัดตึงเต้านม : อาการเจ็บคัดตึงเต้านมทั้ง 2 ข้าง พบได้ประมาณร้อยละ 10 ในผู้ใช้ etonogestrel implants พบได้บ่อยช่วงก่อนมีระดูเป็นเพราะการคั่งของน้ำ ควรวินิจฉัยแยกสาเหตุอื่น เช่น การตั้งครรภ์ หากไม่พบสาเหตุอื่น อธิบายให้ความรู้และรักษาตามอาการ
    3. สิว : เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ใช้ levonorgestrel implants เป็นผลจาก androgenic effect และระดับ sex hormone binding globulin ลดลง ทำให้ free levonorgestrel และ free testosterone เพิ่มขึ้น แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใช้ etonogestrel implants การรักษาแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารและการดูแลความสะอาดของผิวหนัง
    4. น้ำนมไหล : พบได้บ่อยในผู้ใช้ Norplant หลังจากหยุดให้นมบุตร ควรหาสาเหตุอื่น เช่น การตั้งครรภ์ ตรวจระดับ prolactin ให้ความรู้ ความมั่นใจ แนะนำลดการกระตุ้นบริเวณเต้านมขณะมีเพศสัมพันธ์
    5. ถุงน้ำรังไข่ : พบได้บ่อยในผู้ใช้ levonorgestrel implants เนื่องจากระดับโปรเจสตินไม่สามารถกดฮอร์โมน FSH ได้ จึงมีการกระตุ้นการเจริญของฟองไข่ อย่างไรก็ตามมักเป็นถุงน้ำรังไข่ชนิดธรรมดา (simple cyst) ซึ่งจะหายไปได้เอง แต่หากมีขนาดโตขึ้นและมีอาการเจ็บควรตรวจประเมินเพิ่มเติม
    6. อาการข้างเคียงของการฝังยา เช่น แผลติดเชื้อ, อาการคัน, ผื่น, ปวดบวมบริเวณที่ฝังยา

    ภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังหยุดยา (4)

    • หลังถอดยาฝังออก ระดับของโปรเจสตินในกระแสเลือดจะลดต่ำมากภายใน 48 ชั่วโมง ส่วนระดับ etonogestrel จะไม่สามารถตรวจพบในกระแสเลือดภาย 1 สัปดาห์
    • ส่วนใหญ่พบว่ามีการตกไข่เกิดขึ้นใน 1 เดือนแรกหลังถอดยาฝัง
    • อัตราการตั้งครรภ์ใน 1 ปีแรกหลังถอดยาฝัง ไม่แตกต่างจากสตรีทั่วไปที่ไม่ได้คุมกำเนิด
    • ไม่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในระยะยาว

    ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด (4)

    • ปลอดภัย ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง และคุมกำเนิดได้นาน
    • ไม่ขัดขวางขั้นตอนต่าง ๆ ของการมีเพศสัมพันธ์
    • ไม่มีผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน
    • เหมาะสำหรับสตรีที่ให้นมบุตร ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณน้ำนม
    • ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาปกติภายในไม่กี่สัปดาห์หลังหยุดยา
    • ไม่รบกวนต่อเมตาบอลิซึมของร่างกาย
    • อาจใช้รักษาอาการที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
    • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

    ข้อด้อยของยาฝังคุมกำเนิด (4)

    • มีอาการข้างเคียง เช่น ระดูผิดปกติ
    • ผู้ให้บริการต้องเป็นแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการฝังและถอดยา
    • หลอดยาฝังอาจมองเห็นใต้ผิวหนัง
    • ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV, Herpes, gonorrhea
    • มีปฏิกิริยากับยากันชักและยาอื่น ๆ เช่น carbamazepine, phenytoin, phenobarbital, rifampicin, tetracycline เป็นต้น

    เทคนิคการฝังยา (4, 6)

    นอนหงายโดยให้กางแขนข้างที่ไม่ถนัดออกให้เห็นบริเวณท้องแขน งอข้อศอกและหงายฝ่ามือวางข้างศีรษะ หาตำแหน่งที่จะทำการฝังยาคือ ท้องแขนด้านในเหนือ medial epicondyle ของ humerus ขึ้นไป 8-10 เซนติเมตร (ดังรูปที่ 1) จุดตำแหน่งที่จะทำการฝังยา ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการฝังยา ฉีดยาชาให้ครอบคลุมตลอดทางที่จะแทง trocar ผ่าน แล้วจึงทำการฝังยา วิธีการฝังยาขึ้นอยู่กับชนิดของยาฝังคุมกำเนิด

    F implant1

    รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งที่จะทำการฝังยา

    Jadelle : ตัว trocar จะมีเส้นบอกระยะ 2 เส้น โดยเส้นที่ 1 จะเป็นตัวบอกตำแหน่งสุดที่จะใส่ trocar เข้าไปใต้ผิวหนัง ก่อนที่จะทำการบรรจุหลอดยา ส่วนเส้นที่ 2 บอกตำแหน่งที่จะถอย trocar ออกมาหลังจากฝังยาหลอดแรกเสร็จ แทง trocar เข้าไปตรงตำแหน่งที่จุดไว้ เมื่อแทงผ่านผิวหนังให้ยกปลาย trocar ขึ้นและดันราบไปกับผิวหนัง จนถึงเส้นบอกระยะที่ 1 ดึงแกนดันออก ใส่หลอดยาอันแรกเข้าไป จับแกนดันแล้วดึงเอา trocar ออกมาจนถึงเส้นบอกระยะที่ 2 ดัน trocar อีกแนวเป็นรูปตัว V จนถึงเส้นบอกระยะที่ 1 เอาแกนดันออกใส่หลอดยาอันที่ 2 จับแกนดันแล้วดึง trocar ออก แล้วปิดแผล

    F implant2

    รูปที่ 2 แสดงการฝังยา Jadelle
    ดัดแปลงจาก ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด. กรุงเทพฯ : ลักษมีรุ่ง จำกัด ; 2559.

    Implanon NXT : แกะตัวอุปกรณ์ออกมาและดึงปลอกหุ้มตัวเข็มออก ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือดึงผิวหนังตรงตําแหน่ง insertion site ให้ตึง แทงเข็มลงไปให้ทํามุม 30 องศากับผิวหนัง เมื่อผ่านผิวหนังแล้ว ลดอุปกรณ์ลงในแนวราบ กระดกปลายเข็มขึ้นให้ผิวหนังยกขึ้น แล้วดันเข็มขนานกับผิวหนังจนสุด ค้างอุปกรณ์ไว้ตําแหน่งเดิม แล้วดันตัวสไลด์ลงมาจนสุด ตัวเข็มจะถูกดึงกลับเข้าตัวอุปกรณ์ และหลอดยาจะหลุดอยู่ใต้ผิวหนัง

    F implant3

    รูปที่ 3 แสดงการฝังยา Implanon NXT

    เทคนิคการถอดยา (4)

    นอนหงายเหมือนตอนฝังยา คลำหาตำแหน่งหลอดยา ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการถอดยาฝัง ฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้มีดกรีดเปิดแผลประมาณ 2 มิลลิเมตร ใช้คีมเล็กแหวกจับปลายของหลอดยา อาจใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยขยับหลอดยาอีกด้านให้ปลายโผล่ออกมาที่แผล เพื่อให้จับและดึงออกง่าย หากมีพังผืดรอบ ๆ หลอดยา อาจใช้มีดกรีดพังผืดออกก่อน กรณีที่จะฝังยาหลอดใหม่สามารถใส่หลอดยาได้ในตำแหน่งแผลเดิมทันที หรือจะฝังยาแขนอีกข้างก็ได้

    เอกสารอ้างอิง

    1. Stoddard A, McNicholas C, Peipert JF. Efficacy and safety of long-acting reversible contraception. Drugs. 2011;71(8):969-80.
    2. Contraception, Reproductive Health: CDC; 2020 [October 4, 2020]. Available from: www.cdc.gov.
    3. Winner B, Peipert JF, Zhao Q, Buckel C, Madden T, Allsworth JE, et al. Effectiveness of long-acting reversible contraception. N Engl J Med. 2012;366(21):1998-2007.
    4. Taylor HS, Pal L, Seli E. Speroff’s Clinical Gynecologic Endocrinology and Infertility. 9, editor. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2019.
    5. Berek JS, Berek DL. Berek & Novak’s Gynecology. 16 ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2019.
    6. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Williams Obstetrics : Contraception. 25th ed. United state: Mc Graw Hill; 2018. p. 680-701.
    7. Practice Bulletin No. 186 Summary: Long-Acting Reversible Contraception: Implants and Intrauterine Devices. Obstet Gynecol. 2017;130(5):1173-5.

     

    Read More
    Fig1

    ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในหญิงวัยก่อนเจริญพันธุ์

    ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในหญิงวัยก่อนเจริญพันธุ์

    พันธุ์ชิตา พงศ์ศุภสมิทธิ์
    ทวิวัน พันธศรี


     

     

    วัยก่อนเจริญพันธุ์ (Prepubertal age) คือ ช่วงเวลาก่อนมีการพัฒนาของลักษณะเฉพาะทางเพศของแต่ละเพศ (Secondary sex characteristic) และ ก่อนเริ่มมีความสามารถในการสืบพันธุ์

     

    ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด

     

    ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงการมีประจำเดือนครั้งแรกซึ่งไม่ควรเกิดก่อนอายุ 9 ปี จำเป็นต้องได้รับการประเมิน อย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ hormone เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (1-3) โดยการมีประจำเดือนครั้งแรก (Menarche) มักเกิดในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเต้านมจะมีพัฒนาการอยู่ใน แทนเนอร์ระยะที่ 3-4

     

    สาเหตุของภาวะเลือดออกทางช่วงคลอดในวัยก่อนเจริญพันธุ์

    อวัยวะเพศภายนอก และ ปากช่องคลอด (Valvar and exernal)

    อวัยวะเพศภายนอก และ ปากช่องคลอดอักเสบ (Vulvitis with excoriation)

    การบาดเจ็บ (Trauma)

    ไลเคน สเคอโรซัส (Lichen sclerosus)

    หูด (Condylomas)

    หูดหงอดไก่ (Molluscum contangiosum)

    ช่องคลอด (Vagina)

    ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)

    สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด (Vaginal foreign body)

    การบาดเจ็บ (Trauma) เช่น การทารุณกรรมทางเพศ (Abuse) และการสอดใส่ (penetration)

    เนื้องอก(Vaginal tumor)

    มดลูก (uterine)

    ภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด (Precocious puberty)

    เนื่องอกรังไข่ (Ovarian tumor)

    Granulosa cell tumor

    Germ cell tumor

    เอสโตรเจนจากภายนอก (Exogenous estrogen)

    ชนิดทา (Topical)

    ชนิดรับประทาน (Enteral)

    อื่นๆ

    McCune-Albright syndrome

    ตารางที่ 1 แสดงสาเหตุของภาวะเลือดออกในวัยก่อนเจริญพันธุ์ ดัดแปลงจาก Berek & Novak’s Gynecology (2019)

    การวินิจฉัยแยกโรคภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในวัยก่อนเจริญพันธุ์

    ในเด็กวัยแรกเกิดสามารถมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ปริมาณเล็กน้อย จากผลของการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน หลังจากที่ได้รับฮอร์โมนนี้ในระดับสูงจากแม่ขณะอยู่ในครรภ์ หลังจากช่วงวัยแรกเกิด สาเหตุของเลือดออกทางช่องคลอดที่ควรคำนึงถึง คือ การทารุณกรรมทางเพศ ภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด ภาวะเนื้องอกของรังไข่ทั้งชนิดธรรมดา และ ที่เป็นมะเร็ง รวมไปถึง เนื้องอกและความผิดปกติของอวัยวะเพศภายนอก ปากช่องคลอด ช่องคลอด และ ปากมดลูก (4-5)โดยที่สาเหตุของเลือดออกนี้ในวัยนี้สามารถเป็นได้ทั้งภาวะปกติ จนถึงภาวะมะเร็งที่อาจเป็นอัตรายถึงชีวิต ซึ่งแหล่งที่ทำให้เกิดเลือดออกบางทีต้องแยกกับ เลือดออกจากทางเดินปัสสาวะและเลือดออกจากทางเดินอาหาร ซึ่งนั้นทำให้กุมารแพทย์จำเป็นต้องมองหาสาเหตุจากทางเดินปัสสาวะ และ ทางเดินอาหาร เช่นการมีท้องผูก รอยแตกบริเวณรูทวาร (Anal fissure) หรือแม้กระทั่งภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) อย่างไรก็ตามสาเหตุสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และได้รับการประเมินทุกครั้งในเด็กที่มาด้วยอาการของอวัยวะเพศภาวะนอก ปากช่องคลอด และ ช่องคลอด โดยเฉพาะในรายที่มีอาการมีเลือดออกจากอวัยวะเหล่านี้ คือ ภาวะทารุณกรรมทางเพศ (6) ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจทำให้เด็กอยู่ในภาวะอันตราย

    1. ความผิดปกติของอวัยวะเพศภายนอก และ ปากช่องคลอด (Vulvar lesion)

    การระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศภายนอก สามารถทำให้เกิดอาการคัน และผิวหนังหลุดลอก การเปื่อยยุ่ยของผิวหนัง หรือการแตกของผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดเลือดออกได้ สาเหตุของอื่นที่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอกของภาวะเลือดออกในวัยนี้ ได้แก่ ภาวะท่อปัสสาวะปลิ้น (Urethral prolapse ) หูด(Condyloma) ไลเคน สเคอโรซัส (Lichen sclerosus) หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

    1.1 ภาวะท่อปัสสาวะปลิ้น (Urethral prolapse ) สามารถมาด้วยก้อนกดเจ็บ ที่อาจจะเปราะ หรือ มีเลือดซึมออกมาเล็กน้อย เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดในเด็กสาวชาวแอฟริกันอเมริกันโดยภาวะนี้มักถูกสับสนกับก้อนของช่องคลอด อาการที่มาบ่อย คือ ก้อนรูปร่างเหมือนโดนัท ลักษณะสมมาตรอยู่รอบท่อปัสสาวะ การรักษา ทำได้โดยการใช้เอสโตรเจนทา แม้ว่านักเขียนบางท่านจะสนับสนุนการรักษาด้วยการผ่าตัดออก (7)

    1.2 หูด (Condyloma) หากพบภาวะนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการถูกทารุณกรรมทางเพสก่อนทุกครั้ง แม้ว่าการเกิดหูดในช่วงอายุ 2-3 ปีแรก อาจเกิดได้จากการติดเชื้อระหว่างคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อ Human papilloma virus ก็ตาม (8)

    1.3 ไลเคน สเคอโรซัส (Lichen sclerosus) ทำให้มีเลือดออกภายนอก ได้จากการถลอก และ การมีเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง (Blood blister) ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการทารุณกรรมทางเพศ (9) ภาวะนี้มักพบในหญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ก็สามารถพบในวัยก่อนเจริญพันธุ์ได้เช่นเดียวกัน ยังไม่เป็นที่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามักจะเกิดในครอบครัวเดียวกัน (10)

    2. สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด (Foreign body) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของ อาการตกขาวจากช่องคลอด ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นหนอง หรือมูกเลือด ในวัยเด็กเล็กจะมีการสำรวจรูเปิดต่างๆของร่างกาย รวมไปถึงช่องคลอด และอาจมีการนำสิ่งของขนาดเล็กสอดเข้าไป เช่น ของเล่นพลาสติก โดยที่บางครั้งสามารถคลำพบได้จากการตรวจสวนรูทวาร (per rectal examination) ซึ่งบางทีจะสามารถทำการรูดสิ่งของเหล่านี้ผ่านรูทวารออกมากทางปากช่องคลอดเพื่อนำออกมา สิ่งแปลกปลอมที่พบได้บ่อยที่สุดในช่องคลอด คือ กระดาษทิชชูชิ้นเล็กๆ (11)

    การพบสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอดอาจเป็นเครื่องบ่งบอกว่ามีการทารุณกรรมทางเพศ จึงถือเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงทุกครั้ง

    3. ภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด precocious puberty

    คือ ภาวะที่มีการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (Puberty) ได้แก่ การพัฒนาทางของลักษณะทางเพศ ก่อนอายุ 8 ปี อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษาใหม่จาก Pediatric Endocrine Society แนะนำในประเมินในเด็กหญิงผิวขาวที่อายุ น้อยกว่า 7 ปี และเด็กผู้หญิง แอฟริกัน-อเมริกัน ที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ที่มีการพัฒนาของ เต้านม หรือ ขนหัว

    เหน่า (12)

    การเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ในเด็กหญิงจะใช้เวลาประมาณ 4.5 ปี โดยที่สัญญาณแรกของการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะเกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ คือ ความสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะหน้าอกจะมีลักษณะตั้งเต้า (Breast budding) ซึ่งมักจะเป็นลักษณะแรกที่ถูกสังเกตได้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงของลักษณะขนหัวหน่าว ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงส่วนสูงที่มากที่สุด (Peak growth velocity) และ การมีประจำเดือนครั้งแรก โดยที่การที่มีเลือดอออกทางช่องคลอดโดยที่ไม่มีการแสดงลักษณะทางเพศ ทุติยภูมิ (secondary sex characteristic) อาจเกิดจากการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด (15-16)

    สาเหตุภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด (Precocious puberty)

    A. สาเหตุจากระบบประสาทส่วนกลาง Central (true) precocious puberty

    1. เกิดขึ้นเอง Constitutional (idiopathic) precocious puberty

    2. เนื้องอกของต่อมไฮโปทาลามัส Hypothalamic neoplasms (most commonly hamartomas)

    3. ความผิดปกติแต่กำเนิด Congenital malformations

    4. Infiltrative processes (Langerhans cell-type histiocytosis)

    5. การฉายรังสี After irradiation

    6. การบาดเจ็บ Trauma

    7. การติดเชื้อ Infection

    B. สาเหตุจากอวัยวะนอกระบบประสาทส่วนกลาง Precocious puberty of peripheral origin (precocious pseudopuberty)

    1. Autonomous gonadal hypersecretion

    a. Cysts

    b. McCune-Albright syndrome

    2. Congenital adrenal hyperplasia

    a. 21-Hydroxylase (P450c21) deficiency

    b. 11B-Hydroxylase (P450c11) deficiency

    c. 3B-Hydroxysteroid dehydrogenase deficiency

    3. Iatrogenic ingestion/absorption of estrogens or androgens

    4. Hypothyroidism

    5. Gonadotropin-secreting neoplasms

    a. Human chorionic gonadotropin secreting

    i. Ectopic germinomas (pinealomas)

    ii.Choriocarcinomas

    iii.Teratomas

    iv. Hepatoblastomas

    b. Luteinizing hormone-secreting (pituitary adenomas)

    6. Gonadal neoplasms

    a. Estrogen-secreting

    i. Granulosa-theca cell tumors

    ii. Sex-cord tumors

    b. Androgen-secreting

    i. Sertoli-Leydig cell tumors (arrhenoblastomas)

    ii. Teratomas

    7. Adrenal neoplasms

    a. Adenomas

    b. Carcinomas

    ตารางที่ 2 แสดงสาเหตุภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด (Precocious puberty) ดัดแปลงจาก Berek & Novak’s Gynecology (2019)

    Fig1

    แผนภาพที่ 1 แสดงแนวทางการประเมินเด็กที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนกำหนด

    ดัดแปลงจาก Berek & Novak’s Gynecology (2019)

    4. การบาดเจ็บ (Trauma)

    สามารถทำให้เกิดเลือดออกที่อวัยวะเพศได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องซักประวัติอย่างรอบคอบจากทั้งครอบครัว คนดูแล และตัวเด็กเอง เพราะการบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกทารุณกรรมทางเพศมักถูกมองข้าม หากมีการตรวจร่างกายที่ไม่ไปด้วยกันกับเหตุการณ์บาดเจ็บที่กล่าวอ้างควรคำนึงถึงการทารุณกกรมเด็ก และ ควรส่งปรึกษา หรือการส่งต่อกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องทารุณกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม (6) โดยปกติการบาดเจ็บจากการตกคร่อม (straddle injury) จะทำให้เกิดรอยบาดแผลบริเวณด้านหน้า และด้านข้างของอวัยวะเพศภายนอก เมื่อใดก็ตามที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นลักษณะถูกสอดใส่(Penetrating injury) ที่มีบาดแผลอยู่ที่ Fourchette หรือ บาดแผลลึกเข้าไปถึงบริเวณวงรอบของเยื่อพรหมจรรย์ (Hymen ring) มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดจากอุบัติเหตุธรรมดา (13)

    5. การทารุณกรรม (Abuse) การตรวจประเมินเด็กที่สงสัยจะถูกทารุณกรรมทางเพศ จะดีที่สุดหากทำโดยผู้ตรวจซึ่งมีประสบการณ์ ในการประเมินจาก การตรวจร่างกาย ผลทางห้องปฏิบัติการ คำให้การ และพฤติกรรมของเด็ก อย่างไรก็ตามเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางเพศส่วนมาก การตรวจร่างกายอวัยวะเพศมักปกติ หรือไม่จำเพาะ และมักจะไม่ได้มาด้วยการบาดเจ็บแบบฉับพลัน (6) รวมไปถึงรูปแบบการทารุณกรรมทางเพศบางอย่างเช่นการใช้นิ้วสอดใส่ และการลูบไล้ก็ไม่ทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก

    6. สาเหตุอื่น ที่สำคัญแต่พบได้น้อยของการเกิดเลือดออกทางช่องคลอด คือ เนื้องอกของช่องคลอด โดยเนื้องอกที่พบบ่อยในวัยก่อนเจริญพันธุ์ คือ เนื้องอกมะเร็งกล้ามเนื้อชนิด Rhabdomyosarcoma (Sarcoma botryoides) ซึ่งสัมพันธ์กับการมีเลือดออกทางช่องคลอด และพบก้อนลักษณะคล้ายพวงของผลองุ่น(Grape like cluster mass) เนื้องอกชนิดอื่นของช่องคลอดก็พบได้น้อยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงและทำการตรวจภายใต้การดมยาสลบผ่านกล้อง Vaginoscopy เมื่อไม่พบสาเหตุภายนอกอื่นของเลือดออกทางช่องคลอด

    เนื้องอกของรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนสามารถทำให้เกิดภาวะการเจริญของเยื่อบุผนังมดลูกมากขึ้นและเกิดการหลุดลอกเป็นสาเหตุของภาวะเลือดออกทางช่องคลอดได้ เช่นเดียวกันกับการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนสจากภายนอก ก็สามารถทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้ สาเหตุอื่นที่พบได้น้อย คือ การใช้ฮอร์โมน เอสโตรเจนแบบทาเป็นระยะเวลานาน เพื่อรักษาภาวะผนังช่องคลอดอักเสบ หรือ ภาวะแคมติดกัน (Labia adhesion) รวมถึงการทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนของฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบไม่ได้ตั้งใจ

    การวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในวัยก่อนเจริญพันธุ์

    การตรวจร่างกาย

    ถ้าหากไม่มีสาเหตุที่สามารถเหก็นได้จากภายนอก หรือบริเวณส่วนปลายของช่องคลอด การตรวจภายในสามารถทำได้ภายใต้การดมยาสลบโดยใช้กล้องส่องเพื่อดูลักษณะของช่องคลอด และปากมดลูกได้สมบูรณ์ ทั้งนี้การตรวจควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านนรีเวชของเด็กและวัยรุ่น

    ภาพถ่ายทางรังสี

    หากสงสัยภาวะเนื้องอกของรังไข่ หรือ ผนังมดลูก สามารถใช้วิธีการตรวจอัลตราซาว์อุ้งเชิงกรานผ่านทางหน้าท้อง (Transabdominal pelvic ultrasonographic) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์ โดยสามารถให้ข้อมูลของลักษณะรังไข่ทั้งสองข้าง (ลักษณะปกติของรังไข่ในวัยก่อนเจริญพันธุ์ ขนาด และ ปริมาตร การพัฒนาของฟอลลิเคิล ลักณะเป็นถุงน้ำ หรือเป็นเนื้อด้าน ) รวมถึงขนาดและลักษณะของมดลูก โดยที่มดลูกของวัยก่อนเจริญพันธุ์จะมีลักษณะที่พิเศษ คือจะมีสัดส่วนของปากมดลูก(Cervix) ที่เท่ากันกับส่วนของยอดมดลูก (Fundus) และจะมีขนาดความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และ กว้างประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร ส่วนยอดของมดลูกจะยืดขยายเมื่อได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากระตุ้น ทำให้เกิดลักษณะของมดลูกหลังมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งส่วนยอดมดลูกจะยาวกว่าปากมดลูก (14) การทำอัลตราซาวด์ควรพิจารณทำเป็นอันดับแรกของภาพถ่ายทางรังสี การทำภาพถ่ายทางรังสีอื่น เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging , MRI ) หรือ เอกเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan /CT scan) ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่ใช่เครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้เพื่อการวินิจฉัย (15)

    Fig2

    รูปแสดง Pelvic ultrasound (transabdominal) of a premenarchal 10-year-old-girl. U , Uterine corpus ; C , Cervix .
    Note that body of uterus is about the same size as the cervix

    ที่มา : Berek & Novak’s Gynecology (2019)

    แนวทางการดูแลรักษา

    การดูแลภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในวัยก่อนเจริญพันธุ์นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากภาวะเลือดออกที่เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดจากสาตุที่ไม่จำเพาะของการอักเสบของช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกยังคงมีอาการอยู่แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้ว ควรทำการตรวจเพื่อประเมินเรื่องของการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด

    ความผิดปกติของผิวหนัง (ภาวะระคายเคืองเรื้อรัง) และไลเคน สเคอโรซัส (Lichen sclerosus) อาจยากต่อการรักษา แต่สามารถรักษาด้วยการใช้สเตียรอยด์แบบทา โดยที่การรักษาไลเคน สเคอโรซัส (Lichen sclerosus) จะต้องใช้สเตียร์ที่มีความแรงสูง (high potency steroid) และต้องการการรักษาที่ต่อเนื่องเพื่อคุมอาการ

    เอกสารอ้างอิง

    1. Biro FM, Greenspan LC, Galvez MP. Puberty in girls of the 2Istcentury. J Pediatr Adolesc Gynecol 201 2:25(5):289-294.
    2. Herman-Giddens ME, Slora E.J, Wasserman RC, et al. Secondary sexual characteristics and menses in young girls seen in office practice: a study from the Pediatric Research in Office Settings network.Pediatrics 1997:99(4):505-512.
    3. Wolf RM, Long D. Pubertal development. Pediatr Rev 2016:37(7):292-300.
    4. Marshall WA, Tanner .JM. Variations in pattern of pubertal changes in girls. Arch Dis Child 1969:44(235):291-303.
    5. Harlan WR, Harlan EA, Grillo GP. Secondary sex characteristics of girls 12 to 17 years of age: the U.S. Health Examination Survey.J Pediatr1980:96:1074-1078.
    6. Adams JA, Kellogg ND, Farst KJ, et al. Updated guidelines for the medical assessment and care of children who may have been sexually abused. J Pediatr Adolesc Gynecol 2015:29(2):81-87.
    7. Eyk NV, Allen L, Giesbrecht E, et al. Pediatric vulvovaginal disorders: a diagnostic approach and review of the literature. J Obster Gynaecol Can 2009:31(9):850-862.
    8. Unger ER, Fajman NN, Maloney EM, et al. Anogenital human papillomavirus in sexually abused and nonabused children: a multicenter study. Pediatrics 2011;128(3):e658-e665.
    9. Powell J, Wojnarowska F. Childhood ขulval lichen sclerosus and sexual abuse are not mutually exclusive diagnoses. BMJ 2000;320(7230):31 1.
    10. Powell J, Wojnarowska F, Winsey S, et al. Lichen sclerosus premenarche: autoimmunity and immunogenetics. Br J Dermatol 2000;142(3):481-484.
    11. Smith YR, Berman DR, Quint EH. Premenarchal vaginal discharge:findings of procedures to rule out foreign bodies. J Pediatr AdolescGynecol 2002;15(4):227-230.
    12. Kaplowitz PB, Oberfield SE. Reexamination of the age limit fordefining when puberty is precocious in girls in the United States:implications for evaluation and treatment, Drug and Therapeutics and Executive Committees of the Lawson Wilkins Pediatric Endocrine Society. Pediatrics 1999;104(4 Pt 1):936-941.
    13. Iqbal CW, Jrebi NY, Zielinski MD, et al. Patterns of accidental genital trauma in young girls and indications for operative management. J Pediatr Surg 2010;45(5):930-933.
    14. Ersen A, Onal H, Yildirim D, et al. Ovarian and uterine ultrasonography and relation to puberty in healthy girls between 6 and 16 years in the Turkish population: a cross-sectional study. J Pediatr Endocrinol Metab 2012:25(5-6):447-451.
    15. Hillard, P. J. A. (2019). Pediatric and adolescent gynecology. Berek & Novak’s Gynecology. J. S. Berek. Philadephia, Lippincott Williams & Wilkins: 165-178.
    Read More
    GSM F1

    Genitourinary syndrome of menopause

    Genitourinary syndrome of menopause

    พญ.อภิชญา เตชะตา
    อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ. ทวิวัน พันธศรี


    วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (1) โดยทั่วไปจะวินิจฉัยเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 12 เดือน โดยทั่วไปอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนอยู่ที่ 52 ปี วัยทองเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง

    ในปัจจุบันอายุของเพศหญิงเพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต ในขณะที่ช่วงอายุที่หมดประจำเดือนยังอยู่ในช่วงอายุเดิม ดังนั้นจึงมีประชากรเพศหญิงจำนวนมากที่ต้องได้รับผลกระทบจากวัยหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยบางรายต้องอยู่กับภาวะหมดประจำเดือนมากถึง 30 ปี

    GSM F1

    ผลกระทบทางสุขภาพในวัยหมดประจำเดือน

    สามารถแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่

    1. Vasomotor symptoms
    2. Genitourinary syndrome of menopause
    3. Sexual dysfunction
    4. Osteoporosis
    5. Cardiovascular disease
    6. Breast cancer
    7. Dementia

    ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของ Genitourinary syndrome of menopause

    Genitourinary syndrome of menopause (GSM)

    เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยหมดประจำเดือน เป็นผลจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังจากที่ประจำเดือนหมด ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (labia) และช่องคลอด (vagina) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ (bladder)

    จากการศึกษา (3-6) พบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนเกินครึ่งต้องเผชิญกับภาวะ GSM โดยพบว่า prevalence ของการเกิด GSM อยู่ที่ร้อยละ 50-84 (6) และในการศึกษาแบบ longtitudinal, population-based study (7) ซึ่งศึกษาในหญิงชาวออสเตรเลีย 438 ราย รายงานว่าอาการช่องคลอดแห้งพบเพิ่มขึ้นตามระยะเวลานับจากการหมดประจำเดือน โดยพบว่าในกลุ่มใกล้หมดประจำเดือน (perimenopausal woman) พบร้อยละ 4, กลุ่มหมดประจำเดือน 1 ปีพบ GSM ร้อยละ 25 และ กลุ่มหลังหมดประจำเดือน 3 ปีพบ GSM มากถึงร้อยละ 47

    ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ GSM (8)

    1. วัยหมดประจำเดือน (menopause)
    2. ภาวะเอสโตรเจนต่ำ (nonmenopausal hypoestrogenism)
    3. การผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง (bilateral oophorectomy)
    4. การสูบบุหรี่ (cigarette smoking)
    5. การดื่มสุรา (alcohol abuse)
    6. การลดความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ (decreased frequency and sexual abstinence)
    7. ภาวะรังไข่ล้มเหลว (ovarian failure)
    8. การไม่ออกกำลังกาย (lack of exercise)
    9. การไม่เคยคลอดบุตรทางช่องคลอด (absence of vaginal childbirth)

    อาการและอาการแสดงของภาวะ GSM (7)

    อาการและอาการแสดงของภาวะ GSM สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

    1. อาการและอาการแสดงด้านการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ (external genitalia)
    2. อาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินปัสสาวะ (urological symptom and sign)
    3. อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (sexual symptom and sign)

    1. อาการและอาการแสดงด้านการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ (external genitalia)

    การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดภาวะ vulvovaginal atrophy (VVA) นอกจากทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อร่างกายของหญิงวัยนี้แล้ว ยังส่งผลทางด้านจิตใจและสังคม เนื่องจากการที่ช่องคลอดแห้งทำให้เกิดความรู้สึกสูงวัยมากขึ้น ความเป็นหญิงลดลง ก่อให้เกิดความกังวลและผิดหวังกับรูปลักษณ์ของตนเอง ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดหรือซึมเศร้าได้ (9) ซึ่งผลที่ตามมาในระยะยาวคือปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ทั้งนี้สามารถสรุปอาการ อาการแสดงและภาวะแทรกซ้อนของภาวะ VVA ได้ดังนี้

     

    อาการและอาการแสดง

    (Symptoms and signs)

    ภาวะแทรกซ้อน

    (Complication)

    • Vaginal/pelvic pain and pressure
    • Dryness
    • Irritation/burning
    • Tenderness
    • Pruritis vulvae
    • Decreased turgor and elasticity
    • Suprapubic pain
    • Leukorrhea
    • Ecchymosis
    • Erythema
    • Thinning/graying pubic hair
    • Thinning/pallor of vaginal epithelium
    • Pale vaginal mucous membrane
    • Fusion of labia minora
    • Labial shrinking
    • Leukoplakic patches
      on vaginal mucosa
    • Presence of petechiae
    • Fewer vaginal rugae
    • Increased vaginal friability
    • Labial atrophy
    • Vulvar atrophy and lesions
    • Atrophy of Bartholin glands
    • Intravaginal retraction of urethra
    • Alkaline pH (5-7)
    • Reduced vaginal and cervical secretions
    • Pelvic organ prolapse
    • Vaginal vault prolapse
    • Vaginal stenosis and shortening
    • Introital stenosis

    Gandhi. Genitourinary syndrome of menopause. AM J Obstet Gynecol 2016.

    2. อาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินปัสสาวะ (urological symptom and sign)

    นอกจากอาการ VVA พบว่าปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะถือเป็นปัญหาที่สำคัญของหญิงวัยหมดประจำเดือน พบว่าในกลุ่มที่มาพบแพทย์ด้วยอาการ VVA มักพบปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะรีบ ร่วมด้วย ซึ่งสามารถสรุปอาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินปัสสาวะ ได้ดังนี้

     

    อาการและอาการแสดง (Symptoms and signs)

    ภาวะแทรกซ้อน (Complication)

    • Frequency
    • Urgency
    • Postvoid dripping
    • Nocturia
    • Stress/urgency incontinence
    • Dysuria
    • Hematuria
    • Recurrent urinary tract infection
    • Ischemia of vesicle trigone
    • Meatal stenosis
    • Cystocele and rectocele
    • Urethral polyp /caruncle / prolapse
    • Urethral atrophy
    • Retraction of urethral meatus inside vagina
      associated with vaginal voiding
    • Uterine prolapse

    Gandhi. Genitourinary syndrome of menopause. AM J Obstet Gynecol 2016.

    3. อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (sexual symptom and sign)

    ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นตามอายุและการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการศึกษาพบว่า หญิงชาวอเมริกันที่มีช่วงอายุระหว่าง 50-74 ปีจำนวนมากถึง 9.7 ล้านคนต้องประสบกับปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ช่องคลอดแห้งจากวัยหมดประจำเดือน(10) โดยความยากของการแก้ปัญหาของอาการที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ คือ หญิงวัยหมดประจำเดือนเพียงร้อยละ 60 ที่มาปรึกษาแพทย์ ในขณะที่อีกกว่าร้อยละ 40 นั้นมักไม่แสดงออกถึงปัญหาและไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ (11) อาการและอาการแสดงของวัยหมดประจำเดือนที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่

     

    อาการและอาการแสดง (Symptoms and signs)

    • Loss of libido
    • Loss of arousal
    • Lack of lubrication
    • Dyspareunia
    • Dysorgasmia
    • Pelvic pain
    • Bleeding or spotting during intercourse

    Gandhi. Genitourinary syndrome of menopause. AM J Obstet Gynecol 2016.

    การวินิจฉัย (7)

    การวินิจฉัยภาวะ GSM อาศัยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก การส่งตรวจเพิ่มเติมอื่นๆอาจพิจารณาส่งตรวจเป็นรายๆไปตามความจำเป็นและความเหมาะสม ทั้งนี้การส่งตรวจเพิ่มเติม

    เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะ GSM ได้แก่

     

    การส่งตรวจเพิ่มเติม (Tests)

    ผลการส่งตรวจ (Findings)

    • การอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด
      (Transvaginal ultrasound)
      หรือการส่องกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopy)

                Endometrial stripe < 5 mm
    indicating loss of estrogenic stimulation

                Pelvic mass

    • การตรวจความเป็นกรดด่าง (pH test)

                Symptomatic pH: 5-7 (normal pH: 3.5-4.5)

    • การส่งตรวจทางเซลล์วิทยาของช่องคลอด
      (Vaginal cytology)

                Basal epithelial cells predominate and decreased percentage of superficial cells

    • การเตรียมสไลด์สด (Wet mount)

                Presence of leukocytes and paucity of Lactobacillus

    • การส่งตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก

                  (Pap test)

                Atrophy of cervix and stenosis of os

    • การส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณอุ้งเชิงกราน
      (MRI/CT scan)

                Pelvic and adnexal abnormalities

    การรักษาภาวะ GSM (2, 8, 12-14)

    การรักษาภาวะ GSM นั้นมีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย การใช้ฮอร์โมนทดแทนถือเป็นทางเลือกที่ควรพิจารณาให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการระดับปานกลางถึงรุนแรง ส่วนในกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อยพบว่าการใช้การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้น ให้ผลลัพธ์หลังการรักษาที่น่าพึงพอใจ(4, 15) ดังนั้นการรักษาภาวะ GSM จึงควรพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงอาการ อาการแสดงและความรุนแรงในผู้ป่วยแต่ละราย

    1. Lubricants

    ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้งและคันช่องคลอดได้ชั่วคราวระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ โดยออกฤทธิ์ได้ดีในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการใช้ ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือใช้ในช่วงแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อรอให้ผลจากฮอร์โมนออกฤทธิ์

    การใช้สารหล่อลื่นมีทั้งในรูปแบบ water, silicone ,mineral หรือ plant oil based วิธีการใช้คือ ป้ายบริเวณอวัยวะเพศด้านนอกและช่องคลอดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ โดยการเลือกใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าความเป็นกรดประมาณ 4.5 ซึ่งเป็นค่าที่มีความใกล้เคียงกับสารคัดหลั่งปกติของช่องคลอด และ osmolality ไม่เกิน 380 mOsm/kg เพื่อป้องกันการระคายเคืองและการทำลายเยื่อบุช่องคลอด

    2. Moisturizers

    สำหรับสารให้ความชุ่มชื้นมีประโยชน์ในการรักษาช่องคลอดแห้ง โดยการเพิ่มความชุ่มชื้น สามารถใช้ได้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่จำเป็นต้องให้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์

    3. Estrogen therapy

    เป็นการรักษาหลักของภาวะ GSM โดยเฉพาะ VVA จากการศึกษาพบว่า(16) การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยซ่อมแซมเยื่อบุช่องคลอด เพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่ง ลดภาวะความเป็นด่างของ

    ช่องคลอด และช่วยบรรเทาอาการ VVA ได้ทั้งหมด การให้การรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ควรพิจารณาเลือกใช้ในผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้าม และควรใช้ขนาดยาต่ำที่สุดที่ควบคุมอาการได้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงโดยเฉพาะการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

    1. Systemic estrogen therapy ได้แก่ ชนิดรับประทาน ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง และชนิดห่วงสอดทางช่องคลอด นอกจากประโยชน์ในการใช้รักษาอาการร้อนวูบวาบของหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว การให้ systemic estrogen therapy ยังสามารถรักษาอาการจากภาวะ GSM และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
    2. Topical estrogen therapy ได้แก่ การให้เอสโตรเจนทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่ North American Menopause Society (NAMS) และ International Menopause Society แนะนำเป็นการรักษาหลักของ

    ภาวะ GSM โดยพบว่าการให้ topical estrogen therapy ในขนาดต่ำๆ ใช้ในการรักษาภาวะ GSM โดยช่วยลดความเป็นด่างของช่องคลอด ทำให้เซลล์เยื่อบุช่องคลอดดีขึ้น และป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ topical estrogen therapy ยังช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องทางเดินปัสสาวะและปัญหาที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ช่วยในการรักษาอาการร้อนวูบวาบและไม่สามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ การให้ฮอร์โมนแบบเฉพาะที่ มีข้อดีคือไม่ผ่านระบบการดูดซึมของตับ (hepatic metabolism) ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมด้วยในรายที่มีมดลูก และไม่จำเป็นต้องติดตามความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้ป่วยที่ไม่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหากใช้ติดต่อกันน้อยกว่า 2 ปี

    ผลข้างเคียงจากการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบ systemicในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ คัดตึงเต้านม เลือดออกทางช่องคลอด คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง กรณีใช้ฮอร์โมนแบบแปะผิวหนังพบว่าอาจมีการระคายเคืองได้ในผู้ป่วยบางราย กรณีใช้ฮอร์โมนแบบสอดทางช่องคลอดอาจก่อให้เกิดอาการคันช่องคลอด หรือมีสารคัดหลั่งทางช่องคลอดมาก

    ข้อห้ามของการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย มะเร็งเต้านม โรคลิ่มเลือดอุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ความดันโลหิตสูง โรคตับหรือท่อน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ โรคไมเกรนที่มีอาการทางระบบประสาท หรือมีประวัติสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ > 35 ปี

    4. Intravaginal dehydroepiandrosterone

    Dehydroepiandrosterone หรือ DHEA เป็นฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่ง จากการศึกษาแบบ randomized double-blind controlled พบว่า การใช้ DHEA แบบสอดทางช่องคลอดวันละ 1 ครั้ง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดดีขึ้น ลดความเป็นด่างของช่องคลอด เพิ่มสารคัดหลังทางช่องคลอด และลดอาการปวดจากการ

    มีเพศสัมพันธ์ แต่ยังต้องการการศึกษาขนาดใหญ่ และการติดตามผู้ป่วยระยะยาว

    5. Selective estrogen receptor modulator

    Selective estrogen receptor modulator หรือ SERM เป็นทางเลือกในการรักษา GSM โดยเป็นยารูปแบบรับประทาน สามารถใช้ในการรักษา GSM ได้แก่ อาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และอาการช่องคลอดแห้ง ยาที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้แก่ ospemifene โดยให้พิจารณาเลือกใช้ในผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่สามารถให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

    จากการศึกษาที่ผ่านมากพบว่า ospemifene ช่วยรักษาอาการช่องคลอดแห้งและการปวดจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งระยะเวลาที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในปัจจุบัน คือ 52 สัปดาห์ โดยพบว่าไม่มีผู้ป่วยเกิดภาวะมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหลังจากที่ได้รับ SERM แต่พบว่ามีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 1 ที่พบการเจริญผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial hyperplasia)

    เนื่องจาก SERM อาจเพิ่มการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติหรือมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

    ผลข้างเคียงที่พบได้จากการใช้ยา ได้แก่ ร้อนวูบวาบ ตกขาว กล้ามเนื้อเกร็ง และเหงื่อออกมาก

    6. Synthetic steroid

    Tibolone ซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์สังเคราะห์ชนิดรับประทาน ถูกนำมาใช้ในการรักษา GSM โดยพบว่าทำให้เยื่อบุช่องคลอดของหญิงวัยหมดประจำเดือนดีขึ้น และเพิ่มความรู้สึกทางเพศ

    7. Oxytocin

    จากการศึกษาแบบ randomized double-blind controlled พบว่า การใช้ยา oxytocin แบบเจลทำให้เยื่อบุช่องคลอดดีขึ้นและลดความเป็นด่างของช่องคลอด โดยจากการศึกษานี้ยังไม่พบการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกภายหลังการใช้ oxytocin ในทางปฏิบัติอาจจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการใช้ oxytocin ในการรักษา GSM

    ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะ GSM (2)

     

    ชนิดยา

    ข้อบ่งชี้

    วิธีการบริหารยา

    ผลข้างเคียง

    ข้อห้าม

    1. Systemic estrogens

               อาการ VMS ระดับปานกลางถึงรุนแรง

               อาการ VVA ระดับปานกลางถึงรุนแรง

               รับประทาน

               แผ่นแปะ

               สอดช่องคลอด

               พบบ้าง : ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดท้อง ท้องอืด บวม ผมร่วง ติดเชื้อราในช่องคลอด คลื่นไส้อาเจียน

               พบน้อย:  โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ มะเร็งมดลูก
    มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ลิ่มเลือด ความจำเสื่อม
    ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง
    ความผิดปกติของตับ อาการแพ้รุนแรง

               เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย

               สงสัยมะเร็งที่มี
    เอสโตรเจนเป็น
    ตัวกระตุ้น
    เช่น มะเร็งเต้านม

               โรคลิ่มเลือดอุดตัน

               แพ้ยา

               ตั้งครรภ์

    2. Vaginal low dose estrogens

               อาการ VVA

               อาการปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ระดับปานกลางถึงรุนแรง

               สอดช่องคลอด

               พบผลข้างเคียงน้อยมาก
    หากเทียบกับกลุ่ม systemic estrogen
           เช่น เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
                  คัดตึงเต้านม ความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก

               มีผลต่อ metabolic syndrome น้อยกว่าการให้กลุ่ม systemic estrogen

    3. SERMs

               อาการปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ระดับปานกลางถึงรุนแรง

               อาการ VVA

               รับประทาน

               พบบ้าง

          ร้อนวูบวาบ ตกขาว
          เหงื่อออก กล้ามเนื้อเกร็ง

               พบน้อย

         โรคหลอดเลือดสมอง
          มะเร็งมดลูก ลิ่มเลือด

               เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยัง
    ไม่ได้รับการวินิจฉัย

               สงสัยมะเร็งที่มีเอสโตรเจนเป็นตัวกระตุ้น

               มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน

               แพ้ยา

               ตั้งครรภ์

    4. DHEA

               สอดช่องคลอด

               ตกขาว

               ผล papsmear ผิดปกติ

               เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย

                ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

    8. Laser therapies

    การรักษาด้วยเลเซอร์ (fractional microablative carbon-dioxide laser therapy) ถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษา GSM เนื่องจากทำให้เกิดการสะสมไกลโคเจน คอลลาเจน และเพิ่มความหนาของเยื่อบุช่องคลอด จากการศึกษาพบว่าหลังให้การรักษาด้วยเลเซอร์ 12 สัปดาห์ อาการช่องคลอดแห้ง คันช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด และอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ลดลง และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงจากการรักษา แต่ยังต้องการการศึกษารูปแบบและผลการรักษาระยะยาวเพิ่มขึ้น

    9. Lifestyle modifications

    การใช้อุปกรณ์ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของช่องคลอดหรือการเพิ่มจำนวนครั้งการมีเพศสัมพันธ์ สามารถใช้ในการรักษาภาวะ GSM โดยส่งผลให้มีเลือดไหลเวียนบริเวณช่องคลอดมากขึ้น ทำให้มีการยืดของผนังช่องคลอดและเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้น้ำอสุจิซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศ พรอสตาแกลนดิน และกรดไขมันจำเป็นนั้น ทำให้เยื่อบุช่องคลอดอยู่ในสภาวะปกติ

    การลดการสูบบุหรี่ช่วยลดอาการ GSM ได้ ดังนั้นจึงควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ ทั้งนี้การใส่ชุดชั้นในที่หลวมมากขึ้นพบว่าช่วยลดการเจริญของเชื้อโรคและลดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้

    การให้คำปรึกษาและให้ความรู้ (counseling and education) เกี่ยวกับการดูแลภาวะ GSM เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะที่เผชิญอยู่ ทราบแนวทางแก้ไขปัญหา และการให้คำปรึกษาจะทำให้แพทย์ที่ให้การดูแลสามารถดูแลได้ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

    การรักษา GSM ในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

    มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในวัยหมดประจำเดือน อายุเฉลี่ยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม คือ 62 ปี และมักพบผลบวกของ hormone receptor นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากถึงร้อยละ 60 มีอาการ GSM ร่วมด้วย แนวทางการดูแลจากคำแนะนำของ NAMS และ International Society for the Study of Women’s Sexual Health คือ หญิงกลุ่มนี้ให้เลือกใช้การรักษากลุ่มที่ไม่มีฮอร์โมนก่อน หากจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมน ให้พิจารณาจากผล estrogen receptor และความเสี่ยงของการให้ฮอร์โมนอื่นๆ ทั้งนี้ให้พิจารณาให้ฮอร์โมนเฉพาะที่ในขนาดต่ำที่สุด

    สรุป

    ภาวะ GSM เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในหญิงวัยหมดประจำเดือน และก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่รบกวนการใช้ชีวิตของหญิงวัยนี้ ดังนั้นแพทย์จึงควรที่จะต้องให้ความสำคัญและความใส่ใจในการดูแลภาวะ GSM โดยการวินิจฉัยสามารถทำได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงอาจมีการส่งตรวจพิเศษ และพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย

    เอกสารอ้างอิง

    1. La Rosa VL, Ciebiera M, Lin L-T, Fan S, Butticè S, Sathyapalan T, et al. Treatment of genitourinary syndrome of menopause: the potential effects of intravaginal ultralow-concentration oestriol and intravaginal dehydroepiandrosterone on quality of life and sexual function. Menopausal Review. 2019;18:116-22.
    2. Kagan R, Kellogg-Spadt S, Parish SJ. Practical Treatment Considerations in the Management of Genitourinary Syndrome of Menopause. Drugs & aging. 2019;36(10):897-908.
    3. Mac Bride MB, Rhodes DJ, Shuster LT. Vulvovaginal atrophy. Mayo Clinic proceedings. 2010;85(1):87-94.
    4. Management of symptomatic vulvovaginal atrophy: 2013 position statement of The North American Menopause Society. Menopause (New York, NY). 2013;20(9):888-902; quiz 3-4.
    5. Parish SJ, Nappi RE, Krychman ML, Kellogg-Spadt S, Simon JA, Goldstein JA, et al. Impact of vulvovaginal health on postmenopausal women: a review of surveys on symptoms of vulvovaginal atrophy. International journal of women’s health. 2013;5:437-47.
    6. Hodges AL, Holland AC, Dehn B, Pace DT. Diagnosis and Treatment of Genitourinary Syndrome of Menopause. Nursing for women’s health. 2018;22(5):423-30.
    7. Santoro N, Komi J. Prevalence and impact of vaginal symptoms among postmenopausal women. The journal of sexual medicine. 2009;6(8):2133-42.
    8. Gandhi J, Chen A, Dagur G, Suh Y, Smith N, Cali B, et al. Genitourinary syndrome of menopause: an overview of clinical manifestations, pathophysiology, etiology, evaluation, and management. American journal of obstetrics and gynecology. 2016;215(6):704-11.
    9. Nappi RE, Particco M, Biglia N, Cagnacci A, Di Carlo C, Luisi S, et al. Attitudes and perceptions towards vulvar and vaginal atrophy in Italian post-menopausal women: Evidence from the European REVIVE survey. Maturitas. 2016;91:74-80.
    10. Levine KB, Williams RE, Hartmann KE. Vulvovaginal atrophy is strongly associated with female sexual dysfunction among sexually active postmenopausal women. Menopause (New York, NY). 2008;15(4 Pt 1):661-6.
    11. Weinberger JM, Houman J, Caron AT, Patel DN, Baskin AS, Ackerman AL, et al. Female Sexual Dysfunction and the Placebo Effect: A Meta-analysis. Obstetrics and gynecology. 2018;132(2):453-8.
    12. Baber RJ, Panay N, Fenton A. 2016 IMS Recommendations on women’s midlife health and menopause hormone therapy. Climacteric : the journal of the International Menopause Society. 2016;19(2):109-50.
    13. Stuenkel CA, Davis SR, Gompel A, Lumsden MA, Murad MH, Pinkerton JV, et al. Treatment of Symptoms of the Menopause: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. The Journal of clinical endocrinology and metabolism. 2015;100(11):3975-4011.
    14. Simon JA, Goldstein I, Kim NN, Davis SR, Kellogg-Spadt S, Lowenstein L, et al. The role of androgens in the treatment of genitourinary syndrome of menopause (GSM): International Society for the Study of Women’s Sexual Health (ISSWSH) expert consensus panel review. Menopause (New York, NY). 2018;25(7):837-47.
    15. Rahn DD, Carberry C, Sanses TV, Mamik MM, Ward RM, Meriwether KV, et al. Vaginal estrogen for genitourinary syndrome of menopause: a systematic review. Obstetrics and gynecology. 2014;124(6):1147-56.
    16. Palacios S, Castelo-Branco C, Currie H, Mijatovic V, Nappi RE, Simon J, et al. Update on management of genitourinary syndrome of menopause: A practical guide. Maturitas. 2015;82(3):308-13.

     

    Read More
    Fig1

    Congenital adrenal hyperplasia (CAH)

    Congenital adrenal hyperplasia (CAH)

    พญ. รัญชิดา สุวรรณสาร
    อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. พญ. ทวิวัน พันธศรี


    Congenital adrenal hyperplasia หรือ CAH เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย (autosomal recessive) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการขาดเอนไซม์บางชนิดที่ใช้ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต โดยส่งผลให้มีการสร้าง cortisol ที่ลดลงร่างกายจึงตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมน adrenocorticotropic (ACTH) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ corticotropin จาก hypothalamus ที่มากขึ้นจนเกิดเป็น adrenal hyperplasia (1, 2)

    การค้นพบ CAH นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1865 โดยนายแพทย์ชาวอิตาลีนามว่า Luigi De Crecchio จากการชันสูตรศพผู้ป่วยชายที่เสียชีวิตจาก Addisonian crisis ซึ่งผู้ป่วยรายนั้นมีอวัยวะเพศภายนอกเป็นชายแต่มีอวัยวะสืบพันธุ์ภายในเป็นเพศหญิง และมีต่อมหมวกไตขนาดใหญ่ (2) อุบัติการณ์ของ CAH นั้นพบได้น้อยเพียง 1:14,000 ถึง 1:18,000 ต่อการคลอดเท่านั้น (3)

    อวัยวะต่างๆของร่างกายสามารถสังเคราะห์ Steroid hormonesชนิดแตกต่างกันได้ เช่น adrenal cortex สร้าง glucocorticoids และ mineralocorticoids, testis สร้าง androgens และ ovaries สร้าง estrogens เป็นต้น โดยอวัยวะที่สำคัญที่จะกล่าวถึงคือ ต่อมหมวกไต (adrenal gland) ซึ่งมี 2 ชั้นได้แก่ adrenal cortex และ adrenal medulla โดย adrenal cortex สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชั้น เรียงจากลำดับนอกสุดไปยังในสุดได้แก่

    1. zona glomerulosa คิดเป็นร้อยละ 15 ของน้ำหนักต่อมหมวกไตทั้งหมด
    2. zona fasciculata คิดเป็นร้อยละ 75 ของน้ำหนักต่อมหมวกไตทั้งหมด
    3. zona reticularis คิดเป็นร้อยละ 10 ของน้ำหนักต่อมหมวกไตทั้งหมด (2)

    ในแต่ละชั้นทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่แตกต่างกัน ดังแสดงในรูปที่ 1

    Fig1

    รูปที่ 1 แสดงชั้นต่างๆของต่อมหมวกไต (adrenal gland) และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องของแต่ละชั้น (4)

    การสร้างฮอร์โมนจากชั้นต่างๆของ adrenal cortex นั้นต้องอาศัยเอนไซม์หลายชนิด ดังแสดงในรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าเอนไซม์เหล่านี้มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ steroid hormone ซึ่งในผู้ป่วย CAH จะมีการขาดเอนไซม์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การสร้างฮอร์โมนเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ กล่าวคือมีการขาดของฮอร์โมนตัวถัดจากเอนไซม์ตัวที่หายไป (product) และมีการสะสมของฮอร์โมนตัวก่อนหน้า (substrate)

    Fig2

    รูปที่ 2 แสดงการสร้าง steroid hormone ชนิดต่างๆจาก adrenal cortex และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง(5)

    CAH สามารถจำแนกได้เป็น 6 ชนิดหลักดังนี้ (2)

    1. 21-hydroxylase deficiency (21-OHD)

    เป็น CAH ชนิดที่พบบ่อยที่สุด (ร้อยละ 95 ของ CAH ทั้งหมด) (6, 7) และเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสียชีวิตจากระบบต่อมไร้ท่อมากที่สุด เกิดจากการขาดเอนไซม์ 21-Hydroxylase หรือ P450c21 ที่ทำหน้าที่เปลี่ยน 17-hydroxyprogesterone (17-OHP) เป็น 11-deoxycortisol และเปลี่ยน progesterone เป็น 11-deoxycorticosterone ซึ่งเป็น pathway ในการสร้าง cortisol และ aldosterone ดังนั้นผู้ป่วยภาวะ 21-OHD จะมีการสะสมของ 17-OHP และมีการสร้าง androgen ที่มากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องอาศัย 21-Hydroxylase แต่ทำให้การสร้าง cortisol และ aldosterone ลดลงซึ่งระดับความรุนแรงนั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้

    • Classical form “Salt-wasting”: ผู้ป่วยมีการขาด cortisol และ aldosterone ในระดับรุนแรงพบได้ประมาณร้อยละ 75 ของ classical CAH ทั้งหมด เกิดจากการ mutation หรือ large deletion ที่รุนแรงของยีน CYP21A2 บนแขนสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 6 (6p21.3) จนเหลือการทำงานของ 21-hydroxylase เพียงน้อยกว่าร้อยละ 2 หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง โซเดียมในเลือดต่ำ โพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฮอร์โมน renin ในเลือดสูง น้ำหนักลด ชัก และเสียชีวิตในช่วง 1 ถึง 4 สัปดาห์หลังคลอดได้ การวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
      นอกจากนี้ทารกเพศหญิงยังสามารถมีอวัยวะเพศกำกวม (ambiguous genitalia) เช่น enlarged clitoris การเชื่อมกันและมีรอยย่นของ labia majora ท่อปัสสาวะและช่องคลอดไม่แยกจากกัน โดยสาเหตุนั้นมาจากการมีปริมาณ androgen ระดับสูงหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การเกิด progressive virilization ได้แก่ การมีขนขึ้นที่หัวหน่าวและรักแร้ก่อนวัย มี advanced skeletal age มีการปิดของ epiphyseal cartilage เร็วกว่าวัยรุ่นทั่วไป
    • Classical form “Simple virilizing”: คืออีกร้อยละ 25 ที่เหลือของ classical CAH มีการทำงานของ 21-Hydroxylase มากกว่า ชนิด salt-wasting จึงมีความรุนแรงน้อยกว่า สามารถสร้าง aldosterone ที่เพียงพอจนไม่เกิด adrenal crisis หรือ salt loss อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในกลุ่ม simple virilizing จะมี androgen สูงและมีอวัยวะเพศกำกวมได้
    • Non-classical form: เป็น 21-OHD รูปแบบที่รุนแรงน้อยที่สุด โดยประมาณร้อยละ 80 วินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 10 ถึง 40 ปี ซึ่งมีการทำงานของ 21-Hydroxylase ถึงร้อยละ 20-50 แต่ยังมีระดับ cortisol และ aldosterone ที่น้อยกว่าคนปกติจึงทำให้ ACTH อยู่ในระดับที่มากกว่าปกติจนกลายเป็น adrenal hyperplasia และ hyperandrogen อาการที่แสดงได้แก่ การมีขนขึ้นที่หัวหน่าว ก่อนวัย สิวขึ้น ขนดก ประจำเดือนมาผิดปกติ มีบุตรยาก(1, 3, 8)

    2. 11β – Hydroxylase deficiency

    เป็น CAH ที่พบได้อันดับสอง เกิดจาก mutation ของยีน CYP11B1 ซึ่งอยู่บนแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 8 (8q21-q22) ทำให้มีการขาดเอนไซม์ 11β – Hydroxylase (P450c11 หรือ CYP11B1) ทำหน้าทีเปลี่ยน 11-deoxycortisol เป็น cortisol และเปลี่ยน 11-deoxycorticosterone (DOC) เป็น corticosterone ซึ่งเป็น precursor ของการสร้าง aldosterone ส่งผลให้มี severe salt-wasting และ simple virilization ได้ อาการที่พบใน 11β-hydroxylase deficiency คือ ความดันโลหิตสูง โพแทสเซียมในเลือดต่ำ ฮอร์โมน renin ในเลือดต่ำ สาเหตุนั้นมาจากการมี DOC ที่สูงขึ้น ซึ่ง DOC นั้นมีฤทธิ์เป็น mineralocorticoid นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจมีขนดกหรือประจำเดือนมาผิดปกติ (9, 10)

    3. 3β – Hydroxysteroid dehydrogenase deficiency (3β-HSD)

    เป็นเอนไซม์ที่อยู่ใน glucocorticoid, mineralocorticoid และ androgen pathway ทำหน้าที่เปลี่ยน pregnenolone เป็น progesterone เปลี่ยน 17-Hydroxypregnenolone เป็น 17-Hydroxyprogesterone และเปลี่ยน Dehydroepiandrosterone (DHEA) เป็น androstenedione อาการแสดงของ CAH ชนิดนี้แบ่งได้เป็น salt-wasting และ non-salt-wasting form โดย salt -wasting นั้นสามารถวินิจฉัยได้ในช่วงเดือนแรกๆหลังคลอด ในขณะที่ non-salt-wasting มักเป็นในตอนโต อาจมาด้วยขนหัวหน่าว ขึ้นก่อนวัย หรือ hyperandrogenism (1)

    4. 17α – Hydroxylase deficiency

    เป็น CAH ที่พบได้น้อยมาก (1 ใน 50,000-100,000) คิดเป็นร้อยละ 1 ของ CAH ทั้งหมด เกิดจากความผิดปกติของยีน CYP17A1 บนโครโมโซมคู่ที่ 10 (10q24.3) ทำหน้าที่เปลี่ยน pregnenolone เป็น 17α-hydroxypregnenolone และเปลี่ยน progesterone เป็น17α-hydroxyprogesterone ผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์นี้จะมี 17α-hydroxypregnenolone, 17α-hydroxylprogesterone ลดลง ส่งผลให้การสร้าง DHEA, androstenedione, testosterone, 11-deoxycortisol, cortisol และ estrogen ลดลงด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยหญิงจะมี infantile female genitalia มี underdevelopment of secondary sexual characteristics หรือ อาจะมาด้วย primary หรือ secondary amenorrhea ได้

    นอกจากนี้การสะสมของ pregnenolone and progesterone จะไปเพิ่มการสร้าง mineralocorticoid pathway ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ 11-deoxycorticosterone, corticosterone และ18-hydroxycorticosterone ซึ่ง mineralocorticoid เหล่านี้จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงจากการคั่งของน้ำและโซเดียม และมีการสูญเสียโพแทสเซียม แต่จะมีปริมาณ plasma renin ต่ำ(5) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะไม่เกิด adrenal crisis จากการขาด cortisol เนื่องจากมี corticosterone ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน (7)

    5. P450 oxidoreductase (POR) deficiency

    POR เป็นโปรตีนที่เกาะอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ส่งผ่านอิเล็กตรอนให้แก่ P450c17, P450c21, P450aro และเอนไซม์P450s อื่นๆ อาการแสดงนั้นขึ้นกับตำแหน่ง mutation ซึ่งมีความหลากหลายมากในแต่ละประเทศ ความผิดปกติอื่นที่มักพบร่วมด้วยคือ Antley-Bixler syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติของการสร้างกระดูก ได้แก่ craniosynostosis, brachycephaly, radio-ulnar/radio-humeral synostosis, bowed femora, arachnodactyly, midface hypoplasia, proptosis and choanal stenosis เป็นต้น การขาด POR จะทำให้เกิดมี androgen และ cortisol ต่ำ ส่วน mineralocorticoid ปกติ (6, 11)

    6. Lipoid congenital adrenal hyperplasia (StAR deficiency)

    StAR (steroidogenic acute regulatory protein) ทำหน้าที่นำ cholesterol จาก outer mitochondria membrane เข้ามาสู่ inner mitochondria membrane เพื่อเปลี่ยนเป็น pregnenolone ขั้นตอนนี้ถือเป็น rate limiting step ของกระบวนการสังเคราะห์ steroid hormone ทั้งหมด การเกิด StAR mutation จะทำให้เกิด Lipoid CAH ซึ่งเป็นความบกพร่องในการสร้าง steroid ที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมาด้วย salt loss, ACTH และ plasma renin สูง รวมไปถึงการตอบสนองต่ำของการสร้าง steroid แม้ถูกกระตุ้นด้วย ACTH นอกจากนี้ยังมีต่อมหมวกไตขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วย cholesterol อาการแสดงนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดไปจนถึงช่วงวัยรุ่นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

    กลไกการเกิดคือ ในระยะแรกของ lipoid CAH เมื่อมีการขาด StAR ร่างกายยังสามารถสังเคราะห์ steroid บางส่วนได้จาก StAR-independent pathway แต่เกิดการสะสมของ cholesterol ภายในเซลล์ การสะสมนานเข้าจะสามารถก่อให้เกิดความเสียหายของ mitochondria และเซลล์ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์ steroid ได้อีกต่อไปดังแสดงในรูปที่ 3 ในผู้ป่วยหญิงจะมีการสร้าง estrogenได้ในช่วง early menstrual cycle แต่จะมีปัญหาในการสร้าง progesterone ใน late menstrual cycle ผู้ป่วยจึงอวัยวะเพศปกติ มีการพัฒนาของเต้านม และมีประจำเดือนจาก estrogen withdrawal bleeding (6, 12)

    Fig3

    รูปที่ 3 แสดงถึง lipoid CAH ในระยะต่างๆ(6)

    ผู้ป่วย CAH แต่ละชนิดจะมีระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติแตกต่างกันออกไป สรุปในตารางที่ 1

     

    Enzyme deficiency

    Substrate

    Product

    Mineralocorticoid

    Glucocorticoid

    Androgen

    21-Hydroxylase

    Progesterone,

    17- OHP

    Deoxycorticosterone,

    11-Deoxycortisol

    Decreased

    Decreased

    Increased

    11β-Hydroxylase

    Deoxycorticosterone

    Corticosterone

    Increased

    Decreased

    Increased

    3β-Hydroxysteroid dehydrogenase

    Pregnenolone, 17-OH pregnenolone, DHEA

    Progesterone,

    17-OHP,

    ADD

    Decreased

    Decreased

    Decreased

    17αHydroxylase

    Pregnenolone, Progesterone

    17-OH-pregnenolone,

    17-OHP

    Increased

    Decreased

    Decreased

    P450 oxidoreductase

    Pregnenolone, Progesterone

    DHEA,

    11-Deoxycortisol

    Same

    Decreased

    Antenatal increased, Postnatal Decreased

    StAR

    Cholesterol

    Decreased

    Decreased

    Decreased

     

    ตารางที่ 1 สรุปการขาดเอนไซม์ชนิดต่างๆและความผิดปกติของฮอร์โมนในแต่ละชนิด(2)

    การซักประวัติและการตรวจร่างกาย

    ประวัติที่สำคัญได้แก่ อายุของการมีขนขึ้นที่หัวหน่าว, growth spurt การมีประจำเดือน อาการที่แสดงถึงอาการขาดน้ำ หรือ electrolyte imbalance ต่างๆ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เกร็ง ชัก ท้องผูก น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หน้ามืดเป็นลม รวมไปถึงประวัติครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็น CAH การตรวจร่างกายที่สำคัญได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ความดันโลหิต ดูลักษณะของ hyperpigmentation และ virilization การตรวจ external genitalia อย่างไรก็ตามส่วนมากแล้วอาการแสดงจะหลากหลายและเรื้อรังขึ้นอยู่กับชนิดของ CAH ตามที่กล่าวไปข้างต้น CAH บางชนิดอาจมีอาการที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต ดังนั้นแพทย์ควรสามารถแยกความรุนแรงและสามารถส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยคร่าวได้ตามตารางที่ 2 (13)

     

     

    Adrenal insufficiency

    Adrenal crisis

    Symptoms

    Fatigue, Weight loss, Postural dizziness, Anorexia, Abdominal discomfort

    Severe weakness, Syncope, Abdominal pain, Nausea, vomiting, Back pain, Confusion

    Signs

    Hyperpigmentation, Low blood pressure, Failure to thrive in children

    Hypotension, Delirium

    Abdominal tenderness, Reduced consciousness,

    Lab results

    Hyponatremia, Hyperkalemia, Hypoglycemia, Hypercalcemia

    Hyponatremia, Hyperkalemia, Hypoglycemia, Hypercalcemia

     

    ตารางที่ 2 ความแตกต่างของ adrenal insufficiency และ adrenal crisis และการส่งตรวจที่เหมาะสม (13)

    การวินิจฉัย

    ทำได้โดยการเจาะฮอร์โมนที่จำเพาะกับเอนไซม์ที่ขาดดังนี้

    • 21- hydroxylase deficiency: Endocrine Society Clinical Practice Guideline ปี 2018 แนะนำให้เจาะ morning 17 -OHP (ควรตรวจก่อน 8 โมงเช้า ช่วง early follicular phase) ถ้า 17-OHP > 800-1,000 ng/dL (> 24- 30 nmol/L) สามารถวินิจฉัย 21-hydroxylase deficiency ได้เลย และคิดถึงน้อยถ้า 17-OHP < 200 ng/dL (< 6 nmol/L) ในกรณีที่ผลอยู่ระหว่าง 200-800 ng/dL ให้ทำ cosyntropin stimulation test ต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ในกรณีที่เป็น non-classical CAH 17-OHP จะมีค่า > 1,000-1,500 ng/dL หลังทำ ACTH stimulation test (1, 3)
    • 11β-hydroxylase deficiency จะพบ 11-deoycortisol, 11-deoxycoticosterone และ testosterone สูง
    • 3β-Hydroxysteroid dehydrogenase deficiency ให้ทำ ACTH stimulation test จะพบค่า 17α hydroxypregnenolone สูงขึ้น (1)
    • 17α-hydroxylase deficiency พบ cortisol, DHEA และ 17OHP ต่ำ แต่ DOC และ corticosterone สูง (7)

    การรักษาระหว่างตั้งครรภ์

    ในผู้ป่วย CAH ที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจ androstenedione, testosterone และ 17-OHP โดยเพิ่มปริมาณ glucocorticoid ได้เมื่อจำเป็นและควรพิจารณาเลือกเป็น hydrocortisone โดยเฉพาะในช่วงระหว่างรอคลอด ซึ่งพบว่าไม่เพิ่มอัตราการติดเชื้อหรือทำให้แผลหายช้า (1)

    การรักษาด้วยการให้ยา

    เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อป้องกันการเกิด adrenal crisis และ virilization และเพื่อให้ผู้ป่วยมีการเจริญเติบโตรวมไปถึงพัฒนาการที่ปกติ ในเด็กแรกเกิดหรือทารกควรได้ fludrocortisone (mineralocorticoid) และ sodium chloride supplement ร่วมด้วยและอาจให้ปริมาณยาที่มากกว่าปกติ เพื่อช่วยลด adrenal hormone อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิด Cushing syndrome ซึ่งเป็นผลจากการรักษา สำหรับในวัยที่ยังเจริญเติบโตอยู่ควรได้ hydrocortisone เนื่องจาก half-life สั้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย มีผลต่อการกดส่วนสูงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ prednisolone และ dexamethasone ในผู้ใหญ่ควรได้รับ hydrocortisone ร่วมกับ fludrocortisone ตามความรุนแรงของโรค (3)

    ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 เดือนควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วง 3 เดือนแรก และควรติดตามต่อทุก 3 เดือน เมื่ออายุมากกว่า 18 เดือนแล้วควรติดตามทุก 4 เดือน ในผู้ป่วยเด็กควรติดตามเรื่องส่วนสูง น้ำหนัก ความดันโลหิต โดยเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีควรตรวจ bone age จนกว่าจะโตเต็มที่ เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ควรได้รับการวัดความดันโลหิต คำนวณ body mass index และตรวจหาลักษณะของ Cushingoid และเจาะค่าฮอร์โมนเป็นระยะๆ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินและเฝ้าระวังอาการแสดงของการขาด mineralocorticoid หรือ glucocorticoid รวมไปถึง androgen excess ด้วย เป้าหมายของการติดตามการรักษาดังสรุปอยู่ในตารางที่ 3 (3)

     

    Markers

    Physiology

    Goals

    Plasma renin

    Volume status

    ค่าปกติหรือต่ำกว่าปกติ

    Potassium

    Mineralocorticoid replacement

    ค่าปกติ

    Sodium

    Glucocorticoid and mineralocorticoid replacement

    ค่าปกติ

    Testosterone

    Total androgens

    ค่าปกติ

    ADD

    Mostly adrenal origin

    ค่าปกติ

    Sex hormone-

    binding globulin

    Testosterone – binding protein

    ใช้คำนวณ free testosterone

    17-OHP

    Variable

    ค่าปกติ = overtreatment

    Follicular phase progesterone

    Mainly adrenal origin when elevated

    <0.6ng/mL (2nmol/l)

    ตารางที่ 3 การติดตามและเป้าหมายในการรักษาผู้ป่วย CAH (3)

    ในกรณีที่มี stress บางอย่าง เช่น อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5°C ท้องเสียรุนแรงจนเกิดภาวะขาดน้ำ การออกกำลังกาย มีการผ่าตัดใหญ่หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรงต้องเพิ่มปริมาณ glucocorticoid (3) นอกจากนี้มีการค้นพบว่า ในผู้ป่วย CAH ที่ได้รับการรักษาด้วย glucocorticoid อาจส่งผลให้เกิด insulin resistance ความดันโลหิตสูง ทั้ง systolic และ diastolic และมีโอกาสเกิดการหนาตัวของผนังหลอดเลือด carotid มากขึ้น (14)

    สำหรับเรื่องการรักษา hirsutism ใน CAH สามารถให้ oral contraception ร่วมกับ antiandrogen เช่น cyproterone acetate, spironolactone, finasteride, flutamide โดยยาแต่ละตัวให้ผลไม่แตกต่างกัน ขนาดยาตามแสดงในตารางที่ 4 (15)

     

    Anti-androgens

    Dosing

    Cyproterone acetate

    Day 5 -15: 50-100 mg/day, Day 5 -25: EE 20-35 mg

    Spironolactone

    100 – 200 mg/d (divided twice daily)

    Finasteride

    2.5 – 5 mg/d

    Flutamide

    250 – 500 mg/d (high dose), 62.5 – 250 mg/d (low dose)

    ตารางที่ 4 ปริมาณ antiandrogen ที่ใช้รักษา hirsutism (15)

    การรักษาด้วยการผ่าตัด

    การผ่าตัดมีเพื่อรักษาอวัยวะเพศกำกวม โดยก่อนผ่าตัดต้องมีการให้ stress dose hydrocortisone ตามตารางข้างต้น นอกจากนี้ยังอาศัย multidisciplinary ได้แก่ กุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ จิตแพทย์ กุมารศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ โดย position ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดคือ lithotomy position (16) การผ่าตัดหลักๆแล้วมีการทำ clitoroplasty หรือ vaginoplasty หรือทั้งสองอย่าง (17)

    ในกรณีที่ผู้ป่วยมี single urogenital opening แนะนำให้ผ่าตัด urogenital sinus repairing โดยเร็ว (ไม่มีอายุกำหนดที่แน่นอน (3, 16, 18) ดังแสดงในรูปที่ 4

    Fig4a

     

    Fig4b

    รูปที่ 4 single urogenital opening (ซ้าย) การทำ urogenital sinus repairing (ขวา)(3)

    การทำ Clitoroplasty ควรระวัง neurovascular bundle injury ที่อยู่ด้าน dorsal โดยมีการประยุกต์วิธีของ Kogan ซึ่งทำ subtunical reduction clitoroplasty ซึ่งจะเก็บ tunica albugenia ไว้ทั้งหมดเพื่อลดการเกิด glans atrophy และไม่เกิด neurovascular bundle injury ขั้นตอนเริ่มจากการผูกไหมที่ glans clitoris และลงมีดตามแนวรูป A ต่อมาให้ลอก clitoris ผูก tourniquet ที่ base ของ clitoris และลงมีดด้าน ventral ทั้ง 2 ด้านยาวออกให้เห็น corpora carvenosa ที่ถูกปอกออกมาจาก tunica albugenia (รูป B,C,D) ขั้นตอนต่อมาให้ผูกและตัดerectile tissue ด้าน proximal และผูก tunica albuginea ด้าน dorsal และ ventral เข้าด้วยกัน ด้วยไหม 5-0 polydioxanone (รูป E) ผูก glans เข้ากับด้าน ventral ของ tunica albuginea (รูป F) (16) ต่อมาทำ Vaginoplasty โดยการผ่าด้าน dorsal ของ clitoris เป็นแนวยาวเพื่อไปสร้างเป็น labia minora ส่วน clitoral hood ให้สร้างจากหนังด้าน dorsal shaft (16, 19)

    Fig5aFig5b

    Fig5cFig5d

    Fig5eFig5f

    รูปที่ 5 แสดงขั้นตอนการทำ clitoroplasty (16)

    มีการรายงานว่าปัญหาที่พบได้หลังการผ่าตัดได้แก่ ช่องคลอดตีบแคบ ปัสสาวะเล็ด ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ sexual dysfunction (20, 21)

    เอกสารอ้างอิง

    1. Fritz MA, Speroff L. Clinical Gynecologic Endocrinology and Infertility. 8th ed: Lippincott Williams & Wilkins (LWW); 2010.
    2. Podgórski R, Aebisher D, Stompor M, Podgórska D, Mazur A. Congenital adrenal hyperplasia: clinical symptoms and diagnostic methods. Acta Biochim Pol. 2018;65(1):25-33.
    3. Speiser PW, Arlt W, Auchus RJ, Baskin LS, Conway GS, Merke DP, et al. Congenital Adrenal Hyperplasia Due to Steroid 21-Hydroxylase Deficiency: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2018;103(11):4043-88.
    4. CNX Os. The adrenal glands. 2009. Available from: https://courses.lumenlearning.com/ap2/chapter/the-adrenal-glands/
    5. Simiao X, Shuhong H, Xuefeng Y, Muxun Z, Yan Y. 17α‑hydroxylase/17,20‑lyase deficiency in congenital adrenal hyperplasia: A case report. Molecular medicine reports. 2017;15(1):339-44.
    6. Miller WL. MECHANISMS IN ENDOCRINOLOGY: Rare defects in adrenal steroidogenesis. Eur J Endocrinol. 2018;179(3):R125-R41.
    7. Auchus RJ. Steroid 17-hydroxylase and 17,20-lyase deficiencies, genetic and pharmacologic. J Steroid Biochem Mol Biol. 2017;165(Pt A):71-8.
    8. Auchus RJ, Arlt W. Approach to the patient: the adult with congenital adrenal hyperplasia. J Clin Endocrinol Metab. 2013;98(7):2645-55.
    9. Wang D, Wang J, Tong T, Yang Q. Non-classical 11β-hydroxylase deficiency caused by compound heterozygous mutations: a case study and literature review. J Ovarian Res. 2018;11(1):82.
    10. Kamrath C, Wettstaedt L, Boettcher C, Hartmann MF, Wudy SA. Androgen excess is due to elevated 11-oxygenated androgens in treated children with congenital adrenal hyperplasia. J Steroid Biochem Mol Biol. 2018;178:221-8.
    11. Bai Y, Li J, Wang X. Cytochrome P450 oxidoreductase deficiency caused by R457H mutation in POR gene in Chinese: case report and literature review. J Ovarian Res. 2017;10(1):16.
    12. Bizzarri C, Pisaneschi E, Mucciolo M, Pedicelli S, Galeazzi D, Novelli A, et al. Lipoid congenital adrenal hyperplasia by steroidogenic acute regulatory protein (STAR) gene mutation in an Italian infant: an uncommon cause of adrenal insufficiency. Ital J Pediatr. 2017;43(1):57.
    13. Bornstein SR, Allolio B, Arlt W, Barthel A, Don-Wauchope A, Hammer GD, et al. Diagnosis and Treatment of Primary Adrenal Insufficiency: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2016;101(2):364-89.
    14. Tamhane S, Rodriguez-Gutierrez R, Iqbal AM, Prokop LJ, Bancos I, Speiser PW, et al. Cardiovascular and Metabolic Outcomes in Congenital Adrenal Hyperplasia: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Clin Endocrinol Metab. 2018;103(11):4097-103.
    15. Martin KA, Anderson RR, Chang RJ, Ehrmann DA, Lobo RA, Murad MH, et al. Evaluation and Treatment of Hirsutism in Premenopausal Women: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2018;103(4):1233-57.
    16. Kaefer M, Rink RC. Treatment of the Enlarged Clitoris. Front Pediatr. 2017;5:125.
    17. Sturm RM, Durbin-Johnson B, Kurzrock EA. Congenital adrenal hyperplasia: current surgical management at academic medical centers in the United States. J Urol. 2015;193(5 Suppl):1796-801.
    18. Eckoldt-Wolke F. Timing of surgery for feminizing genitoplasty in patients suffering from congenital adrenal hyperplasia. Endocr Dev. 2014;27:203-9.
    19. Fernandez-Aristi AR, Taco-Masias AA, Montesinos-Baca L. Case report: Clitoromegaly as a consequence of Congenital Adrenal Hyperplasia. An accurate medical and surgical approach. Urol Case Rep. 2018;18:57-9.
    20. Almasri J, Zaiem F, Rodriguez-Gutierrez R, Tamhane SU, Iqbal AM, Prokop LJ, et al. Genital Reconstructive Surgery in Females With Congenital Adrenal Hyperplasia: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Clin Endocrinol Metab. 2018;103(11):4089-96.
    21. Jesus LE. Feminizing genitoplasties: Where are we now? J Pediatr Urol. 2018.
    Read More
    Endomet1

    Medical treatment in endometriosis

    Medical treatment in endometriosis

    น.พ. ระพีพัฒน์ เอื้อกิจรุ่งเรือง
    ผ.ศ. พ.ญ. ทวิวัน พันธศรี


    นิยามของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ Definition

    คือการที่เนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูกมีการเจริญกระจายอยู่นอกมดลูก ซึ่งอาจแทรกตัวอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หรืออยู่ตามอวัยวะอื่นๆ เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อไต เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) หรือมีภาวะมีบุตรยากได้ (infertility)(1)

    ระบาดวิทยาของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (etiology)

    ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ และพบได้เล็กน้อยในหญิงวัยหมดระดูที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด

    ในผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยหรือมีภาวะมีบุตรยาก จะตรวจพบภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้มาก ส่วนในผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก โดยที่มีหรือไม่มีอาการปวดท้องน้อย จะตรวจพบภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้มากประมาณ ร้อยละ 50 โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (laproscopy) เป็นวิธีที่ควรเลือกใช้ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(1)

    ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค(1)

    • ภาวะมีบุตรยาก
    • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย (early menarche)
    • ระยะห่างแต่ละรอบเดือนสั้น (shorter menstrual cycle length)
    • ประจำเดือนมากมาก (hypermenorrhea)
    • ไม่เคยมีบุตร (nulliparity)
    • มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ (Mullerian anomalies)
    • น้ำหนักแรกคลอดน้อย (birth weight less than 7 pounds)
    • มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในครอบครัว
    • มีประวัติสัมผัสสาร เช่น Diethylstilbestrol, dioxin หรือ polychlorinated
    • รับประทานอาหารพวกไขมันและเนื้อแดง
    • มีประวัติเคยรกษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

    ปัจจัยป้องกันในการเกิดโรค(1)

    เคยมีบุตรมาแล้วหลายคน (multiparity)

    อยู่ในช่วงให้นมบุตร

    ค่าดัชนีมวลกายสูง

    ออกกำลังกาย

    รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงเช่น ผักและผลไม้

    กลไกการเกิดโรค(1)

    ในปัจจุบันเชื่อว่ากลไกการเกิดโรคมีทั้งสิ้น 3 ทฤษฎี คือ

    1. Transplantation theory คิดค้นโดย Sampson ในช่วงปี 1920 โดยเชื่อว่าภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากการฝังตัวของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไหลผ่านท่อนำไข่พร้อมกับการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนในระหว่างการมีประจำเดือนเข้าสู่อุ้งเชิงกราน โดยที่การไหลย้อนกลับของประจำเดือนพบได้มากร้อยละ70-90 ของหญิงทั้งหมด
    2. Coelomic metaplasia theory เชื่อว่าเกิดจากการพัฒนาของ coelomic epithelium ที่จะเจริญต่อไปเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกมีการพัฒนาที่ผิดปกติ
    3. Induction theory ถูกพัฒนามาจาก Coelomic metaplasia theory โดยเชื่อว่าเกิดจากสารชีวะโมเลกุลในร่างกายไปกระตุ้นให้เซลล์บริเวณผนังช่องท้อง มีการพัฒนาเจริญต่อไปเป็นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก

    อาการแสดงของโรค (clinical presentation) (2)

    ผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักจะมาแสดงด้วยอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน(dysmenorrhea) เจ็บลึกๆเวลามีเพศสัมพันธุ์(dyspareunia) ปวดท้องน้อยเรื้อรัง(chronic pelvic pain) รวมทั้งอาจแสดงด้วยภาวะมีบุตรยากก็ได้ และในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็เป็นได้เช่นกัน

    อาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนเป็นอาการที่ทำให้นึกถึงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มากที่สุด ได้มีงานวิจัยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับความปวดกับระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ลักษณะรอยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทุกชนิดมีความสัมกพันธ์กับอาการปวด แต่ความสัมพันธ์ของระดับความปวดกับระดับความรุนแรงของโรคพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ในผู้ป่วยบางรายมีรอยโรคในระดับน้อยแต่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนมาก ในผู้ป่วยบางรายมีรอยโรคในระดับรุนแรงแต่กลับไม่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือนหรือมีน้อย

    ภาวะมีบุตรยากเป็นอีกภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะทำให้เกิดพังผืด (adhesion) ซึ่งจะขัดขวางการเคลื่อนไหวของท่อนำไข่ทำให้ การดักไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ยาก เป็นผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะแท้งซ้ำซาก (recurrent pregnancy loss) กับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ พบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ว่าจะด้วยยาหรือการผ่าตัด สามารถช่วยลดอัตราการแท้งได้

    ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ถือเป็นภาวะโรคเรื้อรัง (chronic disease) และส่งผลต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการซึ่งจะรบกวน quality of life ของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

    การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

    Endomet1

    การรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ด้วยยา (medical treatment in endometriosis)

    การรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ด้วยยาเป็นการรักษาที่มักจะถูกใช้เป็นอันดับแรกเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยยานั้น เหมาะสมในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มการรักษา อาการไม่รุนแรง รวมทั้งใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดมาแล้วและต้องใช้ยาต่อเนื่องเพื่อกดรอยโรคไม่ให้กลับเป็นซ้ำ

    ก่อนการรักษาด้วยยาจำเป็นต้องผ่าตัดส่องกล้องเพื่อประเมินรอยโรคหรือไม่

    การผ่าตัดส่องกล้องไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกรายก่อนการเริ่มการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องน้อย ซึ่งรบกวน quality of life ดังนั้นควรเริ่มการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดก่อน ไม่ว่าผู้ป่วยรายนั้นจะมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ โดยที่ยาแก้ปวดที่ให้จะเป็นกลุ่มยาลดการอักเสบ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs) แต่หากผู้ป่วยได้รับยาลดการอักเสบแล้วอาการปวดไม่ทุเลาลงร่วมกับตรวจพบตุ่มนูนในช่องคลอดด้านหลัง หรือตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงแล้วพบถุงน้ำรังไข่ที่มีลักษณะเหมือนถุงน้ำเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จึงพิจารณาผ่าตัดส่องกล้องเพื่อประเมินรอยโรคและผ่าตัดเพิ่มเติม(3-5)

    ภาวะ primary dysmenorrhea

    การให้ยาแก้ปวด

    ในผู้ป่วยกลุ่ม primary dysmenorrhea คือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือน โดยที่ตรวจร่างกายไม่พบรอยโรคอื่นๆ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แฝงอยู่ จากการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs สามารถลดอาการปวดได้เมื่อเที่ยบกับ กลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา นอกจากนั้นยังมีการเปรียบเทียบยากลุ่ม NSAIDs ทั่วไป กับกลุ่ม selective COX2 inhibitors พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดไม่แตกต่างกัน(6)

    การรักษาด้วยยาคุมชนิดเม็ด (Oral contraceptives)

    ก่อนหน้านี้มีการศึกษาโดยใช้ OCs (50mcg estrogen) พบว่าสามารถลดอาการปวดได้เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา แต่ข้อมูลในการรักษาภาวะ primary dysmenorrhea โดยการใช้ modern low dose OCs ยังมีไม่เพียงพอ แต่บางงานวิจัยมีการศึกษาโดยใช้ low dose OCs (20 mcg ethinyl estradiol) พบว่าสามารถลดอาการปวดได้ดีกว่ากลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับยา(7) นอกจากนั้น OCs เป็นยาที่มีความปลอดภัยหากใช้ในหญิงที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นอาจพิจารณาการรักษาภาวะ primary dysmenorrhea ด้วย OCs ได้

    การรักษาอาการปวดท้องน้อยที่สัมพันธ์กับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

    ยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs

    เนื่องจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่มีกระบวนการอักเสบเรื้อรัง ดังนั้นยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs จึงสามารถลดอาการปวดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกนำมาใช้เป็นตัวเลือกแรก แต่งานวิจัยที่รองรับทฤษฎีนี้มียังน้อย

    ยากลุ่มฮอร์โมน (hormonal therapy)

    ยากลุ่มนี้ถูกออกแบบมาให้ออกฤทธิ์กดการสร้าง estrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นรอยโรคของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อตัวลง ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด

    • Oral contraceptives

    ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝอตัวลง ซึ่งจะลดอาการปวดท้องน้อยลดลง แต่ในบางราย estrogenic component ก็ส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญมากขึ้นทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยมากขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากเริ่มรักษา นอกจากนั้นการรักษาด้วยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดยังมีค่าใช้จ่ายน้อยด้วย

    การบริหารยาสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือการกินแบบเป็นรอบ และการกินแบบต่อเนื่อง โดยการกินแบบเป็นรอบคือกินยาเม็ดที่มีฮอร์โมนประมาณ 21 วันแล้วหยุดกิน 7 วันหรือกินเม็ดแป้ง 7 วันเพื่อให้มี withdrawal bleeding ซึ่งการกินยาแบบเป็นรอบจะทำให้เกิด withdrawal bleeding ซึ่งจะเพิ่มการเกิดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกรานได้ แต่จากงานวิจัยต่างๆเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาอาการปวดแล้วพบว่าสามารถอาการปวดได้ดีเมือเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฮอร์โมน(8, 9) ส่วนการกินแบบต่อเนื่องคือการกินยาเม็ดที่มีฮอร์โมนต่อเนื่องนาน 6-12 เดือน จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ pseudopregnancy ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอาการปวดลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฮอร์โมน(9-11) โดยที่ขนาดของ ethinyl estradiol ที่ให้ควรเป็น low dose คือ 30-35 mcg ร่วมกับ progestins

    • Oral progestins therapy

    Progestins เป็นยาที่ออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงและฝ่อลง ซึ่งยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับยากลุ่ม danazol หรือ GnRH analogues(12) แต่มีราคาถูกกว่า

    Medroxyprogesterone acetate

    เป็นยากลุ่มที่มีการศึกษามาก และพบว่าสามารถรักษาอาการปวดท้องน้อยจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ปริมาณเริ่มต้นที่ 30 mg ต่อวัน

    จากการศึกษาพบว่าการใช้ medroxyprogesterone acetate (MPA) ยังช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย(12, 13) นอกจากนั้นมีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ depot MPA 150 mg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน เทียบกับการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ดโดยบริหารยาเป็นรอบ และเทียบกับ danazol low dose พบว่า depot MPA สามารถลดอาการปวดได้มีประสิทธิภาพได้ดีที่สุด(14, 15)

    ข้อเสียของ depot MPA นั่นคือทำให้เกิดภากวะขาดระดู (amenorrhea) ไม่ตกไข่ (anovulation) และใช้เวลานานหลังหยุดยากว่าที่จะกลับมาตกไข่อีกครั้ง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากร่วมด้วยจึงไม่ควรใช้ยานี้ นอกจากนี้การใช้ DMPA เป็นเวลานาน ยังทำให้มวลกระดูกลดลงหลังใช้ 1- 2 ปี(16)

    Dienogest

    มีการศึกษาการใช้ dienogest 2 mg ต่อวันเป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เปรียบเทียบกับ depot leuprolide acetate และ intranasal buserelin acetate ซึ่งเป็น GnRH analogues พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดท้องน้อย ไม่แตกต่างกัน และมีข้อดีกว่าคือมีผลข้างเคียงน้อย(17, 18)

    Megestrol acetate

    ขนาดยาที่มีการศึกษาว่าสามารถลดอาการปวดท้องน้อยได้อยู่ที่ 40 mg ต่อวัน หรืออาจให้เป็น dydrogesterone 20-30 mg ต่อวันหรือ lynestrenol 10 mg ต่อวันสามารถลดอาการปวดท้องน้อยได้(19) แต่ยาในกลุ่มนี้มักพบผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักขึ้น รวมทั้งเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

    Intrauterine progesterone

    Levonorgestrel IUD จะปล่อย levonorgestrel 20 mcg ต่อวัน ซึ่งจะมีฤทธิ์ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกมีการฝ่อ ทำให้ลดอาการปวดท้องน้อยจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ รวมทั้งลดอาการเจ็บลึกๆขณะมีเพศสัมพันธ์ด้วย นอกจากนั้นในผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณเนื้อเยื่อระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก (rectovaginal endometriosis) ยังลดความรุนแรงลงด้วย(20)

    • Progesterone antagonist

    ออกฤทธิ์โดยการจับกับ progesterone receptor ทำให้ยับยั้งการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยไม่มีผลต่อระดับของ estrogen ทำให้ไม่มีผลเรื่องกระดูกบาง แต่เนื่องจากยานี้ไม่มีใช้ในสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับมากนัก

    Mifepristone

    เป็น potent antiprogestagen ขนาดยาที่แนะนำคือ 25-100 mg ต่อวัน แต่มีงานศึกษาบางงานศึกษาพบว่า ปริมาณยาเพียง 5 mg ต่อวันก็สามารถลดอาการปวดท้องจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้(21)

    • Gestrinone

    Gestrinone หรือ 19-nortestosterone derivative มีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของ progesterone estrogen และ GnRH ดังนั้นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะฝ่อลง ประสิทธิภาพของยา Gestrinone ใกล้เคียงกับกลุ่ม GnRH analogues หลังใช้ยาผู้ป่วยจะมีภาวะขาดระดูตามมาร้อยละ 50-100

    ขนาดของยาที่แนะนำคือ 2.5 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (เนื่องจากยามีค่าครึ่งชีวิตที่นาน 28 ชั่วโมง) นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเทียบกับขนาดยาที่ตำกว่า คือ 1.25 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพในการลดอาการปวดไม่แตกต่างกัน แต่ขนาดยา 2.5 mg 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีผลเพิ่มมวลกระดูกมากกว่า(22)

    • Danazol

    มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง โดยลดการหลั่ง GnRH ลด steroidogenesis และเพิ่มการขับออกของ estrogen และ progesterone ทำให้เกิดภาวะ estrogen ต่ำ และ androgen สูง มีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลง นอกจากนั้นยายังมีผลกับระดับภูมิคุ้มกันต่างๆในร่างกาย ควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับ autoimmune disease ขนาดของยาที่แนะนำคือ 400 mg ต่อวัน(23)

    ผลข้างเคียงของยาส่วนใหญ่คือ androgenic effect จากภาวะ androgen สูง ทำให้เกิดภาวะขนดก (hirsutism), มีสิว, ผิวมัน,ช่องคลอดแห้ง,ขนาดหน้าอกลดลง, อารมณ์ทางเพศลดลง รวมทั้งเสียงแตกคล้ายผู้ชาย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เมื่อหยุดยาแล้วจะไม่กลับเป็นเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังมีผลต่อตับ ทำให้เกิด hepatocellular damage

    ควรระวังการให้ยาในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง, หัวใจวายเรื้อรัง, ไตทำงานบกพร่อง, และคนไข้ที่ตั้งครรภ์

    • Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists

    ยาจะจับกับ GnRH receptor ทำให้เกิดการหลั่ง LH และ FSH จากนั้นจะสูญเสีย GnRH receptor ทำให้เกิด downregulation ส่งผลให้ LH และ FSH ลดลง ทำให้เกิดภาวะ pseudomenopause ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ leuprolide, buserelin, nafarelin, histrelin, goserelin, deslorelin, และ triptorelin ซึ่งการบริหารยามีทั้ง การกิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง รวมทั้งพ่นเข้าจมูก โดยการรักษาด้วย GnRH agonist 3 เดือน สามารถควบคุมอาการได้นานถึง 6 เดือน(24)

    แต่เนื่องจากยามีผลทำให้เกิดภาวะ pseudomenopause จะมีอาการ vasomotor symptom และ bone loss จึงจำเป็นต้องมี add back therapy เพื่อป้องกันภาวะเหล่านี้ ดังนั้นในหญิงที่ยังไม่ถึงช่วงอายุที่มวลกระดูกอยู่ในระดับสูงสุดจึงไม่ควรรักษาด้วยยานี้(25)

    • Aromatase inhibitors

    มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ aromatase enzyme ซึ่งมีผลลดการเปลี่ยน E1 ไปเป็น E2 ซึ่ง E1 มี potency ต่ำกว่า ทำให้ลดการเจริญของ เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกได้ ลดอาการปวดท้องน้อยได้(26) แต่ผู้ป่วยจะมีภาวะ estrogen ต่ำ ทำให้มีอาการช่องคลอดแห้ง, hot flush, bone loss ได้ นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังใช้ในการกระตุ้นการตกไข่ได้ ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้อาจมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น บางรายอาจตรวจพบถุงน้ำรังไข่หลังจากการใช้ยานี้ได้ เนื่องจากยามีราคาแพงจึงควรเลือกใช้ยานี้กรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมอาการปวดท้องน้อยได้

    • Selective Estrogen Receptor Modulators

    การใช้ยากลุ่ม SERM ในการรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน

    หากการรักษาด้วยยาแล้วไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติม เพื่อประเมินรอยโรคและตัดรอยโรคออกให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ซึ่งอาการปวดหลังจากการผ่าตัดมักจะดีขึ้นร้อยละ 50 และหลังจากการผ่าตัดก็จำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุมรอยโรคไม่ให้กลับเป็นซ้ำในเวลาที่เร็วเกินไป นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในการลดอาการปวดด้วย

    เอกสารอ้างอิง

    1. D’Hooghe tM. Endometriosis. Berek & Novak’s Gynecology. 2012;15:505-8.
    2. D’Hooghe TM. Endometriosis. Berek & Novak’s Gynecology. 2012;15:511-3.
    3. Sutton CJG, Ewen SP, Whitelaw N, Haines P. Prospective, randomized, double-blind, controlled trial of laser laparoscopy in the treatment of pelvic pain associated with minimal, mild, and moderate endometriosis**Supported by Birthright Research Grant (Ref:S3/90), Royal College of Obstetricians and Gynaecologists, London and Laserscope, Cwmbran, United Kingdom. Fertility and Sterility. 1994;62(4):696-700.
    4. Abbott JA. The effects and effectiveness of laparoscopic excision of endometriosis: a prospective study with 2-5 year follow-up. Human Reproduction. 2003;18(9):1922-7.
    5. Berlanda N, Somigliana E, Frattaruolo MP, Buggio L, Dridi D, Vercellini P. Surgery versus hormonal therapy for deep endometriosis: is it a choice of the physician? Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2017;209:67-71.
    6. Marjoribanks J, Proctor ML, Farquhar C. Nonsteroidal anti-inflammatory drugs for primary dysmenorrhoea. The Cochrane database of systematic reviews. 2003(4):Cd001751.
    7. Wong CL, Farquhar C, Roberts H, Proctor M. Oral contraceptive pill for primary dysmenorrhoea. The Cochrane database of systematic reviews. 2009(4):Cd002120.
    8. Harada T, Momoeda M, Taketani Y, Hoshiai H, Terakawa N. Low-dose oral contraceptive pill for dysmenorrhea associated with endometriosis: a placebo-controlled, double-blind, randomized trial. Fertil Steril. 2008;90(5):1583-8.
    9. Vercellini P, Buggio L, Berlanda N, Barbara G, Somigliana E, Bosari S. Estrogen-progestins and progestins for the management of endometriosis. Fertil Steril. 2016;106(7):1552-71 e2.
    10. Coffee AL, Sulak PJ, Kuehl TJ. Long-term assessment of symptomatology and satisfaction of an extended oral contraceptive regimen. Contraception. 2007;75(6):444-9.
    11. Vercellini P. Continuous use of an oral contraceptive for endometriosis-associated recurrent dysmenorrhea that does not respond to a cyclic pill regimen. Fertility and Sterility. 2003;80(3):560-3.
    12. Casper RF. Progestin-only pills may be a better first-line treatment for endometriosis than combined estrogen-progestin contraceptive pills. Fertility and Sterility. 2017;107(3):533-6.
    13. Muneyyirci-Delale O, Karacan M. Effect of norethindrone acetate in the treatment of symptomatic endometriosis. International journal of fertility and women’s medicine. 1998;43(1):24-7.
    14. Schlaff WD, Carson SA, Luciano A, Ross D, Bergqvist A. Subcutaneous injection of depot medroxyprogesterone acetate compared with leuprolide acetate in the treatment of endometriosis-associated pain. Fertil Steril. 2006;85(2):314-25.
    15. Crosignani PG, Luciano A, Ray A, Bergqvist A. Subcutaneous depot medroxyprogesterone acetate versus leuprolide acetate in the treatment of endometriosis-associated pain. Human reproduction (Oxford, England). 2006;21(1):248-56.
    16. Zeman S, Havlik P, Zemanova J, Nemec D. [Status of bone mineral density after the long-standing application of contraception Depo-Provera]. Ceska gynekologie. 2013;78(1):116-24.
    17. Harada T, Momoeda M, Taketani Y, Aso T, Fukunaga M, Hagino H, et al. Dienogest is as effective as intranasal buserelin acetate for the relief of pain symptoms associated with endometriosis–a randomized, double-blind, multicenter, controlled trial. Fertil Steril. 2009;91(3):675-81.
    18. Strowitzki T, Marr J, Gerlinger C, Faustmann T, Seitz C. Dienogest is as effective as leuprolide acetate in treating the painful symptoms of endometriosis: a 24-week, randomized, multicentre, open-label trial. Human reproduction (Oxford, England). 2010;25(3):633-41.
    19. Overton CE, Lindsay PC, Johal B, Collins SA, Siddle NC, Shaw RW, et al. A randomized, double-blind, placebo-controlled study of luteal phase dydrogesterone (Duphaston*) in women with minimal to mild endometriosist†. Fertility and Sterility. 1994;62(4):701-7.
    20. Petta CA, Ferriani RA, Abrao MS, Hassan D, Rosa ESJC, Podgaec S, et al. Randomized clinical trial of a levonorgestrel-releasing intrauterine system and a depot GnRH analogue for the treatment of chronic pelvic pain in women with endometriosis. Human reproduction (Oxford, England). 2005;20(7):1993-8.
    21. Zupi E, Marconi D, Sbracia M, Zullo F, De Vivo B, Exacustos C, et al. Add-back therapy in the treatment of endometriosis-associated pain. Fertil Steril. 2004;82(5):1303-8.
    22. Hornstein MD, Gleason RE, Barbieri RL. A randomized double-blind prospective trial of two doses of gestrinone in the treatment of endometriosis. Fertility and Sterility. 1990;53(2):237-41.
    23. Selak V, Farquhar C, Prentice A, Singla A. Danazol for pelvic pain associated with endometriosis. The Cochrane database of systematic reviews. 2007(4):Cd000068.
    24. Surrey ES, Hornstein MD. Prolonged GnRH agonist and add-back therapy for symptomatic endometriosis: long-term follow-up. Obstetrics and gynecology. 2002;99(5 Pt 1):709-19.
    25. Mitwally MF, Gotlieb L, Casper RF. Prevention of bone loss and hypoestrogenic symptoms by estrogen and interrupted progestogen add-back in long-term GnRH-agonist down-regulated patients with endometriosis and premenstrual syndrome. Menopause (New York, NY). 2002;9(4):236-41.
    26. Nawathe A, Patwardhan S, Yates D, Harrison GR, Khan KS. Systematic review of the effects of aromatase inhibitors on pain associated with endometriosis. BJOG : an international journal of obstetrics and gynaecology. 2008;115(7):818-22.

     

    Read More

    ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

    ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

    พญ.สุปรีชญา พันธุ์เสนีย์
    ผศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี


     

    ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome; PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เดิมทีนั้นมีชื่อว่า Stein and Leventhal syndrome เพื่อเป็นเกียรติแก่ Irving F. Stein และ Michael L. Leventhal ที่ได้บรรยายกลุ่มอาการดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 ซึ่งประกอบไปด้วย ภาวะรอบประจำเดือนมาน้อย รังไข่ขนาดโตร่วมกับมีถุงน้ำหลายใบ ขนดก มีสิวมากกว่าปกติและอ้วน อย่างไรก็ตาม คำว่า Polycystic Ovary syndrome หรือ PCOS นั้นไม่ได้แสดงถึงตัวโรคได้ดีนัก เนื่องจากการแสดงออกของโรคหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งอาการทางคลินิก กายวิภาคและผลตรวจทางชีวเคมี นอกจากนี้ PCOS ไม่จำเป็นต้องมี Polycystic Ovary ทุกราย โดยพบเพียงสามในสี่เท่านั้น
    อุบัติการณ์ สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 6 -10 ของประชากรทั่วโลก ตาม National institutes of Health (NIH) 1990 criteria อย่างไรก็ตามหากใช้การวินิจฉัยตาม Androgen excess and PCOS society (AE-PCOS) 2006 หรือ Rotterdam 2003 อาจพบอุบัติการณ์ได้มากกว่าโดยพบถึงร้อยละ 10-15 และ 6-21 ตามลำดับ
    การเกิด PCOS ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัด บางการศึกษาเชื่อว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ ซับซ้อน (multifactorial etiology) โดยมียีนที่เกี่ยวข้องหลากหลายไม่จำเพาะยีนใดยีนหนึ่ง เช่น CYP11a เป็นต้น รวมถึงมีบทบาทของสิ่งแวดล้อมและเชื้อชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางรายงานพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคในสตรีที่มีญาติสายตรงเป็นกลุ่มอาการ PCOS ได้ประมาณร้อยละ 32 ซึ่งสนับสนุนปัจจัยทางพันธุกรรมในการเกิดโรค
    พยาธิสรีรวิทยาของการเกิด PCOS ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติของหลายระบบเกี่ยวพันกันเป็นวงจรลูกโซ่ ทั้งต่อมใต้สมอง รังไข่ ต่อมหมวกไตรวมถึงไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งจำแนกเป็นหลักใหญ่ได้ดังนี้

    • ความผิดปกติของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (abnormal pituitary function)
    • ความผิดปกติของการสร้างสเตียรอยด์ (abnormal steroidogenesis)
    • ภาวะดื้อต่ออินซูลินและอินซูลินในเลือดสูง (Insulin resistance/hyperinsulinemia)

    Insulin growth factor (IGF) และ gonadotropins มีผลควบคุมการทำงานของรังไข่ในการสร้างสารสเตียรอยด์และการพัฒนาของฟองไข่ ภาวะอินซูลินในเลือดสูงทำให้แอนโดรเจนในเลือดเพิ่มมากขึ้น ทั้งกระตุ้นการสร้างจาก Theca cell ที่รังไข่โดยตรง หรือเพิ่มการหลัง LH ที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งแอนโดรเจนมีผลกดการสร้าง Insulin growth factor binding protein 1 (IGFBP-1) ทำให้ระดับ IGF เพิ่มขึ้น แอนโดรเจนที่มากเกินยังลดระดับ Sex hormone binding globulin (SHBG) ที่สร้างจากตับ ทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศชายอิสระเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มการผลิต estrone ที่ไขมันใต้ผิวหนัง (peripheral conversion) ส่งผลชักนำการหลั่ง LH แต่ไม่เพิ่มการหลั่ง FSH มีการกระตุ้นให้เกิดฟองไข่ขนาดเล็กจำนวนมากที่รังไข่ แต่ไม่สามารถพัฒนาจนถึงขั้นตกไข่ได้ ดังจะเห็นได้ว่า กลไกการเกิด PCOS ส่งผลกระทบเป็นวงจรลูกโซ่ โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มจากจุดใด6

    อาการและอาการแสดงทางคลินิก

    ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่าผู้ป่วย PCOS มีการแสดงออกของโรคที่หลากหลาย ดังนั้น ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการ ดังนี้

    1.  รอบประจำเดือนมาน้อย (Oligomenorrhea) คือ มาห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือไม่เกิน 6-8 รอบต่อปี รอบประจำเดือนขาด(Secondary amenorrhea) คือ ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเกิน 3 รอบในรายที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือไม่มาติดต่อกัน 6 เดือนในรายที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ ซึ่งแสดงถึงการไม่ตกไข่เรื้อรัง อย่างไรก็ตามอาจพบประจำเดือนมามาก มานานหรือมากะปริดกะปรอยได้ในบางรายที่มีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติจากภาวะ unopposed estrogen6
    2. ภาวะแอนโดรเจนเกิน จะแสดงอาการออกมาในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาวะขนดก (Hirsutism) อ้างอิงตาม Ferriman-Gallwey system โดยถือเอาคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 โดยจะพบได้ถึงร้อยละ 65 ในผู้ป่วยทั้งหมด มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ (moderate-severe acne) ศีรษะล้านแบบเพศชาย ส่วนมากเกิดบริเวณ Fronto-tempero-occiput (androgenic alopecia) หรือมีผิวมัน
    3. มีบุตรยาก (Infertility) ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมาพบแพทย์ด้วยเรื่องมีบุตรยาก สาเหตุจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบว่าในรายที่ตั้งครรภ์เกิดการแท้งในไตรมาสแรก เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์มากกว่าประชากรทั่วไปอีกด้วย
    4. ภาวะอ้วน (Obesity) โดยพบภาวะอ้วนประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนมากมักเป็นลักษณะอ้วนลงพุง (Central obesity) มีรอบเอวมากกว่า 88 เซนติเมตร หรืออัตราส่วนเอวต่อสะโพก(waist-hip ratio) มากกว่า 0.85
    5. ภาวะแทรกซ้อนและภาวะที่พบร่วมอื่นๆ
        • Insulin resistant/hyperinsulinemia ประมาณร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วย อาการแสดง เช่น Acanthosis nigricans, Metabolic disturbance, ความผิดปกติของการหายใจขณะนอนหลับ (sleep-disorder breathing) และไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (nonalcoholic fatty liver disease) ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน (diabetes mellitus type II) โรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต
        • Metabolic syndrome พบได้บ่อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค ได้ถึงร้อยละ 40 โดยไม่จำเป็นต้องมีภาวะอ้วนก็ได้ การศึกษาในประเทศไทยพบ Metabolic syndrome ในผู้ป่วย PCOS ร้อยละ 18-37 แล้วแต่รายงาน

      เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก รวมถึงมะเร็งเต้านม สาเหตุจาก unopposed estrogen อันเนื่องมาจากการไม่ตกไข่เรื้อรัง รายงานในประเทศไทยพบ Endometrial hyperplasia ประมาณร้อยละ 20 ในผู้ป่วย PCOS

    ตารางที่ 1 แสดงเกณฑ์การวินิจฉัย metabolic syndrome ตาม NCEP ATP III criteria(15)

    {tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_red_orange.css]}

    Criteria มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ใน 5 ข้อ
    1. Abdominal obesity Waist circumference >88 cm (35 inches); in south Asians >80 cm(15)
    2. Hyperglycemia Fasting blood sugar > 100mg/dL or treatment
    3. Dyslipidemia Triglycerides>150mg/dL or treatment
    4. Dyslipidemia HDL-C<50mg dl or treatment
    5. Hypertension SBP>130mmHg or DBP>85mmHg or treatment

    ซักประวัติ

    • ซักประวัติทั่วไป ประวัติครอบครัว ประวัติทางนรีเวช
    • ประวัติประจำเดือนโดยละเอียด
    • ประวัติลักษณะของแอนโดรเจนเกิน เช่น สิว ผิวมัน ขนดก และศีรษะล้าน
    • ประวัติการใช้ยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ เช่น อาหารเสริมเพิ่มกล้ามเนื้อ

    ตรวจร่างกาย

    • สัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว อัตราส่วนเอวต่อสะโพก(waist-hip ratio) คำนวณดัชนีมวลกาย (Body mass index)
    • ตรวจทั่วไปทุกระบบ เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่อาจคล้ายกลุ่มอาการ PCOS เช่น thyroid disease, Hyperprolactinemia, Cushing’s syndrome เป็นต้น
    • อาการแสดงของแอนโดรเจนเกิน ตรวจการกระจายตัวของขน หน้าสิว ผิวมัน ศีรษะล้าน ลักษณะบุรุษเพศ เช่น เสียงห้าว Clitolomegaly เป็นต้น
    • อาการดื้ออินซูลิน เช่น acanthosis nigricans เป็นผิวหนังที่หนาตัวขึ้นคล้ายกำมะหยี่และมีสีดำคล้ำ พบบริเวณหลังคอ ซอกข้อพับหรือตำแหน่งที่ลงน้ำหนัก
    • พัฒนาการทางเพศขั้นที่สอง
    • การตรวจภายใน

    การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่วินิจฉัยกลุ่มอาการ PCOS ได้แน่ชัด อย่างไรก็ตามมีวัตถุประสงค์ในการส่งตรวจ ดังต่อไปนี้6

    1. การตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัย

    • Gonadotropin level อาจพบ LH/FSH ratio มากกว่า 2 อย่างไรก็ตามไม่ใช้แล้วในปัจจุบัน เพราะมีความจำเพาะต่ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย PCOS มี LH/FSH ratio ในระดับปกติ
    • Androgen level อาจตรวจวัดเป็น Total testosterone หรือ free testosterone ก็ได้ โดยผู้ป่วย PCOS มักมีค่า total testosterone 50-150 ng/dL แต่หากตรวจพบสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 ng/dL ควรนึกถึงภาวะ androgen secreting tumor มากกว่า

    2. การตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค ที่สำคัญ ได้แก่

    • Thyroid stimulating hormone (TSH) เพื่อแยก thyroid disease
    • Prolactin level เพื่อแยกภาวะ hyperprolactinemia อย่างไรก็ตามในผู้ป่วย PCOS อาจมีระดับโปรแล็คตินสูงได้ประมาณ 1 ใน 3
    • 17-hydroxyprogesterone (17-OHP) เพื่อแยกภาวะ congenital adrenal hyperplasia ค่าปกติน้อยกว่า 200 ng/dL ถ้าระดับมากกว่า 500 ng/dL สามารถให้การวินิขฉัยได้เลย แต่หากอยู่ในช่วง 200-500 ng/dL ให้ส่งตรวจ ACTH stimulation test เพื่อ ยืนยันการวินิจฉัยต่อไป17
    • Dehydroepiandrosterone sulfate (DHEAS) เพื่อแยกเนื้องอกรังไข่หรือเนื้องอกต่อมหมวกไตที่ผลิตแอนโดรเจน
    • 24hour urine cortisol เพื่อแยกภาวะ Cushing’s syndrome

    3. การตรวจเพื่อค้นหาภาวะดื้อต่ออินซูลินและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นในระยะยาว โดยเฉพาะในการที่อ้วนหรือมีประวัติเบาหวานครอบครัว

    • fasting blood sugar ตรวจเพื่อคัดกรองเบาหวาน ค่าปกติน้อยกว่า 126 mg/dL
    • 75gram oral glucose tolerance test เพื่อหาภาวะดื้อต่ออินซูลิน ค่าปกติน้อยกว่า 140 mg/dL
    • Lipid profile มักพบมี total cholesterol, triglyceride, LDL เพิ่มขึ้น ส่วน HDL ลดลง

    4. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อาจพบ Polycystic ovary กล่าวคือ มีรังไข่อย่างน้อยหนึ่งข้างมีปริมาตรมากกว่า 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร (0.5×ความยาว×ความสูง×ความหนา) หรือพบมี antral follicles ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-9 มิลลิเมตร จํานวน 12 ใบขึ้นไป เรียงตัวกันที่ขอบนอกของรังไข่ มองดูคล้ายสร้อยไข่มุกหรือสร้อยลูกประคํา(string of pearls หรือ necklace-like pattern)

    การวินิจฉัย

    การวินิจฉัยอ้างอิงตามเกณฑ์ โดยอาศัยข้อมูลการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยหลายเกณฑ์ เช่น NIH, AE-PCOS แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ Rotterdam criteria หรือ ESHER/ARSM โดยต้องเข้าได้อย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อ ได้แก่
    1. รอบประจำเดือนมาน้อยหรือขาดไป เนื่องจากไม่ตกไข่เรื้อรัง (Chronic anovulatory dysfunction)
    2. ภาวะแอนโดรเจนเกิน (Hyperandrogenism/Hyperandrogenemia) โดยอาจจะมีอาการแสดงทางด้านร่างกาย เช่น ขนดกมากกว่าปกติ ผิวมัน ศีรษะล้านแบบเพศชาย(androgenic alopecia) มีสิวขึ้น หรือมีระดับแอนโดรเจนในเลือดเกินจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการก็ได้
    3. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงพบลักษณะ Polycystic ovary ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
    โดยจำเป็นต้องแยกโรคอื่นที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าวให้ได้ก่อนเสมอ ดังแสดงในตารางที่ 26

    ตารางที่ 2 แสดงโรคหรือภาวะที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคของ PCOS

    • Androgen secreting tumor
      • Adrenal gland
      • ovary
    • Exogenous androgen
    • non-classical Congenital adrenal hyperplasia
    • Cushing’s syndrome
    • Hyperprolactinemia
    • Thyroid disease
    • Hypogonadotropic hypogonadism
    • Primary ovarian syndrome

    แนวทางการรักษา

    ดังจะเห็นได้ว่า PCOS มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ ดังนั้นการวินิจฉัยโรคได้เร็ว สามารถให้การรักษาคนไข้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วย PCOS แบ่งออกเป็น
    1. รักษาตามอาการ ได้แก่ ลดอาการจากภาวะแอนโดรเจนเกิน ทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ ลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้คงที่ รวมถึงการกระตุ้นการตกไข่ในรายที่มีบุตรยากและต้องการมีบุตร
    2. การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว เช่น รักษาการดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น

    การลดอาการจากภาวะแอนโดรเจนเกิน

    โดยเฉพาะภาวะขนดกซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด การรักษามีทั้งไม่ใช้ยา คือ การลดน้ำหนักหรือการใช้ยา ซึ่งประกอบไปด้วย

    • ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม มีผลกดการหลั่ง LH ลดการสร้าง androgen เอสโตรเจนจะเพิ่มการสร้าง SHBG และลด free testosterone ในทางปฏิบัติอาจเลือกใช้ ethinyl estradiol ขนาดต่ำ 20-30 microgram ร่วมกับโปรเจนตินที่มีฤทธิ์ต้านแอนโดนเจน เช่น cyproterone acetate, chromadione acetate หรือ drospirenone ถึงแม้การศึกษาพบว่าผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโปรเจสตินแต่ละชนิด
    • ยาต้านฤทธิ์แอนโดรเจน (antiandrogens, androgen, receptor antagonists) รบกวนการจับของแอนโดรเจนที่บริเวณ hair follicle ที่ใช้บ่อยได้แก่ spironolactone, flutamide, finasteride (5α-reductase inhibitor), ketoconazole
    • Ornithine Decarboxylase Inhibitors ในรูป 13.9% eflornitine hydrochloride ซึ่งสามารถใช้ทาบริเวณใบหน้าได้
    • การกำจัดขนเฉพาะที่ เช่น การแว็กซ์ การโกน การถอน กำจัดขนถาวรทำได้ด้วยการใช้ไฟฟ้า (electrolysis) หรือการใช้จี้ทำลาย hair follicle

    การรักษาประจำเดือนผิดปกติ

    เนื่องจากไข่ไม่ตกเรื้อรัง ทำให้มีรอบประจำเดือนผิดปกติ รวมถึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การรักษาโดยการให้ฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดโปรเจสตินชนิด Medroxyprogesterone acetate ขนาด 5-10 มิลลิกรัม เป็นเวลา 14 วัน ทุก 1-2 เดือน หรือในผู้ป่วยที่ยังไม่ต้องการมีบุตรอาจเลือกใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมซึ่งมีผลในการลดระดับแอนโดรเจนด้วย

    การกระตุ้นตกไข่ในรายที่มีบุตรยาก

    ยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรกคือ Clomiphene citrate เป็นยาในกลุ่ม Selective estrogen receptor (SERM) ออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมองและไฮโปธาลามัส มีผลเพิ่ม LH และ FSH ชักนำให้แอนโดนเจนเปลี่ยนเป็นเอสโตรเจนที่รังไข่ ชักนำให้เกิด LH surge เกิดการตกไข่ตามมา
    ในผู้ป่วยที่ Clomiphene citrate ล้มเหลว จะมีการใช้ยาในกลุ่ม gonadotropins สังเคราะห์ ได้แก่ human menopausal gonadotropin (hMG) หรือ recombinant FSH แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากการใช้ gonadotropins ในผู้ป่วย PCOS เสี่ยงต่อ ovarian hyper-stimulation syndrome มากขึ้น
    นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยการผ่าตัด คือ wedge resection ซึ่งจะลดเนื้อรังไข่และแอนโดรเจน แต่ทำให้เสียเนื้อรังไข่มากและเกิดพังผืดได้ อีกวีธีคือการจี้รังไข่ด้วยไฟฟ้า (laparoscopic ovarian drilling) ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว6 เนื่องจากการใช้ยามีประสิทธิภาพค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามอาจมีที่ใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย หากล้มเหลวจากการใช้ยา

    การรักษา metabolic syndrome

    1. การลดน้ำหนัก เป็นวิธิการรักษาที่มีประสิทธิภาพ หากสามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-10 จะมีผลลดระดับแอนโดรเจน ลดการดื้อต่ออินซูลิน เพิ่ม SHBG และ IGFBP-1 ทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ โดยแนะนำให้ออกกำลังกายและควบคุมอาหาร แต่ในรายที่อ้วนมาก อาจพิจารณาการผ่าตัดกระเพาะ (Bariatric surgery)
    2. การใช้ยา กลุ่มที่ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น (insulin-sensitizing agents)
      • Metformin กลุ่ม Biguanide มีผลลดการสร้างกลูโคสจากตับและเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้ ทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น ลดระดับแอนโดรเจนในเลือด รอบประจำเดือนมาปกติ นอกจากนี้หากใช้ร่วมกับ Clomiphene citrate เพื่อกระตุ้นการตกไข่จะทำให้การชักนำการตกไข่มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ผลข้างเคียงที่รุนแรงที่พบได้ คือ Lactic acidosis แต่พบได้ไม่บ่อย
      • rosiglitazone และ pioglitazone กลุ่ม thiazolidinedione ช่วยเพิ่มความไวของเนื้อเยื่อต่ออินซูลินและลดระดับแอนโดรเจนในเลือด สามารถใช้ทดแทนในรายที่ไม่ตอบสนองหรือไม่สามารถทนต่อการใช้ metformin ได้17

    ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นโรคที่พบบ่อยและมีการแสดงออกที่หลากหลาย ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถึงแม้ปัจจุบันกลไกการเกิดโรคหรือรายละเอียดของโรคบางส่วนยังไม่ทราบแน่ชัด ยังต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การรักษาได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ดังนั้น แพทย์ควรตระหนักถึงและวินิจฉัยโรคให้ได้ และให้การรักษาผู้ป่วยตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

    เอกสารอ้างอิง

    1. Ehrmann DA. Polycystic ovary syndrome. N Engl J Med 2005; 352:1223.
    2. Stein IF & Leventhal NL. Amenorrhea associated with bilateral polycystic ovaries. American Journal of Obstetrics and Gynecology 1935; 29: 181–191.
    3. March WA, Moore VM, Willson KJ, et al. The prevalence of polycystic ovary syndrome in a community sample assessed under contrasting diagnostic criteria. Hum Reprod 2010; 25:544.
    4. Lizneva D, Suturina L, Walker W, Brakta S, Gavrilova-Jordan L, Azziz R. Criteria, prevalence, and phenotypes of polycystic ovary syndrome. Fertil Steril. 2016 May 24.
    5. Kahsar-Miller MD, Nixon C, Boots LR, Go RC, Azziz R. Prevalence of polycystic ovary syndrome (PCOS) in first-degree relatives of patients with PCOS. Fertil Steril. 2001 Jan;75(1):53-8.
    6. ธีระ ทองสง. (2559). กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ:Polycystic ovary syndrome. นรีเวชวิทยา (หน้า545-556). กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่งจำกัด
    7. Practice Committee of American Society for Reproductive Medicine. Current evaluation of amenorrhea. Fertil Steril. 2008;90(5 suppl):S219–S225.
    8. Biro FM, Emans SJ. Whither PCOS? The challenges of establishing hyperandrogenism in adolescent girls. J Adolesc Health 2008;43(2):103–5.
    9. Speroff L, Fritz MA. Clinical Gynecologic Endocrinology and Infertility. 7th edition. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2005: 465-98.
    10. van Hooff MH, Voorhorst FJ, Kaptein MB, et al. Predictive value of menstrual cycle pattern, body mass index, hormone levels and polycystic ovaries at age 15 years for oligo-amenorrhoea at age 18 years. Hum Reprod 2004; 19:383.
    11. Wiksten-Almströmer M, Hirschberg AL, Hagenfeldt K. Prospective follow-up of menstrual disorders in adolescence and prognostic factors. Acta Obstet Gynecol Scand 2008; 87:1162.
    12. Legro RS. Polycystic Ovarian Syndrome. In: Leung PCK, Adashi EY, editors. The Ovary. 2nd edition. San Diego: Elsevier academic press, 2004:489-508.
    13. Indhavivadhana S, Wongwananuruk T, Rattanachaiyanont M, Techatraisak K, Leerasiri P, Tanmahasamut P, Popijan M. Prevalence of metabolic syndrome in reproductive-aged polycystic ovary syndrome Thai women. J Med Assoc Thai. 2010 Jun;93(6):653-60.
    14. Prakansamut N, Sirayapiwat P, Triratanachat S. The percentages of endometrial hyperplasia and endometrial cancer among polycystic ovary syndrome (PCOS) patients presenting with abnormal menstrual pattern. J Med Assoc Thai. 2014 Feb;97(2):159-64.
    15. The IDF consensus worldwide definition of the metabolic syndrome. [Last accessed on 2016 July 7]. Available from: http://www.idf.org/webdata/docs/IDF_Meta_def_final.pdf .
    16. อรสา เหมะจันทร. ภาวะถุงน้ำจำนวนมากที่รังไข่. Journal of Medicine and Health Sciences2007; 25-47
    17. Hann LE, Hall DA, McArdle CR, Seibel M. Polycystic ovarian disease: sonographic spectrum. Radiology 1984; 150: 531-4.
    18. The Rotterdam ESHRE/ASRMsponsored PCOS consensus workshop group. Revised 2003 consensus on diagnostic criteria and long-term health risks related to polycystic ovary syndrome (PCOS). Hum Reprod 2004; 19: 41-7.
    19. Porcile A, Gallardo E. Long-term treatment of hirsutism: desogestrel compared with cyproterone acetate in oral contraceptives. Fertil Steril 1991; 55: 877-81.
    20. Wiegratz I, Kutschera E, Lee JH, Moore C, Mellinger U, Winkler UH, et al. Effect of four different oral contraceptives on various sex hormones and serum-binding globulins. Contraception 2003; 67:25-32.
    21. Bako AU, Morad S, Atomo WA. Polycystic ovary syndrome: an overview. Rev Gynecol Prac 2005; 5:115-22.
    22. Crave JC, Fimbel S, Lejeune H, Cugnardey N, Dechaud N, Pugeat M. Effects of diet and metformin administration on sex-hormone binding globulin, androgens and insulin in hirsute and obese women. J Clin Endocrinol Metab 1995; 80: 2057-62.
    23. Nestler JE, Jakubowicz DJ, Evans WS, Pasqauli R. Effects of metformin on spontaneous and clomiphene-induced ovulation in the polycystic ovary syndrome. N Engl J Med 1998; 338: 1876-80.

     

     

    Read More
    AUB1

    Management of AUB in hormonal contraception

    Management of AUB in hormonal contraception 

    พ.ญ. หทัยรัตน์ เรืองเดชณรงค์
    อาจารย์ที่ปรึกษา ผ.ศ. พ.ญ. ทวิวัน พันธะศรี


    Introduction

    การคุมกำเนิดมีด้วยกันหลายวิธีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน (Non-hormonal contraception) และการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน (Hormonal contraception) ซึ่งจากสถิติ วิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.2008 คือ ยาเม็ดคุมกำเนิด (oral contraceptives) คิดเป็นร้อยละ 17.3 รองลงมาคือการทำหมันหญิง (female sterilization) คิดเป็น ร้อยละ 16.7  (1)สำหรับในประเทศไทยข้อมูลทางสถิติปีพ.ศ.2552 สถิติ วิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด (oral contraceptives) คิดเป็นร้อนละ 35 รองลงมาคือการทำหมันหญิง (female sterilization) คิดเป็น ร้อยละ 23.7 และยาฉีดคุมกำเนิดคิดเป็นร้อยละ 14 ตามลำดับ(2) จะเห็นได้ว่าการคุมกำเนิดในผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นเป็นการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์ขึ้น (synthetic estrogen and synthetic progesterone) ทำให้มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี แต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนที่พบได้บ่อยคือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น คลื่นไส้อาเจียน สิว ลักษณะประจำเดือนที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น ไม่มีประจำเดือน หรือเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกและความเสี่ยงต่อเส้นเลือดอุดตัน(1)

    ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (unscheduled bleeding /abnormal uterine bleeding) เป็นผลข้างเคียงจากการใช้การคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนที่พบบ่อยที่สุด เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่สร้างความกังวลให้กับสตรีที่ใช้และเป็นสาตุหลักของการหยุดคุมกำเนิดด้วยวิธีนั้นๆ และนำไปสู่ภาวะตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นหลังจากหยุดคุมกำเนิดด้วยวิธีเดิม (3)

    ภาวะเลือดออกผิดปกติมักจะเกิดในกลุ่ม progestin only contraception มากกว่ากลุ่ม combined hormone โดยลักษณะของภาวะเลือดออกผิดปกติมีหลายลักษณะดังนี้(4)

    Term

    Bleeding pattern

    Frequent bleeding

    5 bleeding episode

    Prolonged bleeding

    1 bleeding episodes lasting 14day or more

    Irregular bleeding

    Between 3 and 5 episodes lasting with fewer than 3 bleeding-free intervals of length 14 days or more

    Breakthrough bleeding

    Bleeding at unexpected time during menstrual cycle require use of tampon or sanitary napkin

    Spotting

    Unexpected bleeding no require tampon or sanitary napkin

    ตารางที่  1 แสดงลักษณะภาวะเลือดออกผิดปกติในสตรีอายุ 15-44 ปี 

     

    กลไกออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน (Mechanism of action of hormonal contraception)(1, 3, 4) 

     ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraception pills)

    กลไกออกฤทธิ์

    • มีส่วนประกอบของ Ethinyl estradiol (20 to 50 mcg) และ synthetic progestin (e.g., norgestrel, norethindrone, levonorgestrel,desogestrel)
    • ยับยั้งการตกไข่ (ovulation) และทำให้มูกปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น ลดโอกาสที่อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

    ผลข้างเคียง

    • เพิ่มความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) และโรคสมองอุดตัน (stroke) โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุมากขึ้น
    • เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้ระดับเอสโตรเจนที่ต่ำ low dose estrogen (ethinyl estradiol 20-30mcg/day) จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการรักษาความคงตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติได้บ่อย ซึ่งลักษณะมักจะเป็นแบบ Breakthrough bleeding
    • มักจะพบบ่อยในช่วง 3 เดือนแรกที่เริ่มรับประทานยา
    • การสูบบุหรี่และการติดเชื้อ C.trachomatis ในสตรีที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนชนิดรวมจะทำให้มีภาวะเลือดออกผิดปกติมากขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน (antiestrogenic effects) มีการศึกษาพบว่าร้อยละ 29 ของสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติจะตรวจพบ asymptomatic chlamydial cervicitis และ chronic endometritis (3)

    Progestin-only contraceptive method

    ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว (Progestin-only pills:POP) / minipills

    กลไกออกฤทธิ์

    • ทำให้มูกปากมดลูกเหนียวข้นขึ้นดังนั้นตัวอสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปเจอไข่ทั้งยังเปลี่ยนผนังบุมดลูก และอาจยับยั้งการตกไข่แต่ละเดือนได้
    • เหมาะสมกับสตรีให้นมบุตร
    • POP ออกฤทธิ์สั้นจึงต้องรับประทานยาให้ตรงตามเวลาเสมอ

    ผลข้างเคียง

    • มากกว่าครึ่งของสตรีที่ใช้ยาคุมชนิดโปรเจสโตเจนอย่างเดียวจะพบลักษณะของประจำเดือนจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งลักษณะประจำเดือนที่เปลี่ยนแปลงไปได้แก่ irregular cycle, short cycle และ amenorrhea

    ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด (Progestin injection)

    กลไกออกฤทธิ์

    • Depot-medroxyprogesterone acetate (DMPA) 150 mg IM ทุก 3 เดือนจะได้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากที่สุด
    • เนื่องจากเป็นโปรเจสตินระดับสูง จึงทำให้ยับยั้งการตกไข่

    ผลข้างเคียง

    • ลักษณะประจำเดือนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเริ่มจากเลือดออกผิดปกติแบบ spotting และ irregular intervals หลังจากนั้นส่วนใหญ่มักจะมีภาวะ amenorrhea เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี และร้อยละ 80 ภายใน 3 ปี
    • ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
    • ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก หรือ persistent irregular vaginal bleeding เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เลิกคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด

    ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง (Progestin implants)

    กลไกออกฤทธิ์

    • Levonorgestrel (Norplant),etonorgestrel (implanon)
    • ยับยั้งการตกไข่ (ovulation) และทำให้มูกปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนไปเพื่อลดโอกาสของการฝังตัวของตัวอ่อน

    ผลข้างเคียง

    • ลักษณะประจำเดือนเปลี่ยนไป หรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก(unscheduled bleeding)

    ลักษณะของประจำเดือนที่คาดว่าจะเกิดในการคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน (4)

    ในแต่ละการคุมกำเนิดจะมีลักษณะของประจำเดือนต่างกันไป ก่อนที่จะเริ่มให้การคุมกำเนิดชนิดนั่นๆ แพทย์และเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขควรจะมีการให้ข้อมูลสตรีก่อนจะเริ่มคุมกำเนิดดังที่แสดงในตาราง เพื่อที่จะได้เข้าใจผลของประจำเดือนที่เกิดจากการคุมกำเนิดชนิดนั่นๆ หากผิดไปจากที่คาดการณ์ไว้ควรจะต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม

    Contraceptive method Bleeding patterns in women in the first 3 months Bleeding patterns in women in the longer term
    Combined hormonal contraception(pill, patch, ring) >20% มี irregular bleedingไม่แตกต่างระหว่าง pill and patch ภาวะเลือดออกผิดปกติจะดีขึ้น เป็นรอบประจำเดือน
    Progestin-only pill 1 ใน 3 AUB, 1 ใน 10 จะมีลักษณะประจำเดือนมาบ่อยกว่าปกติ ภาวะเลือดออกผิดปกติจะดีขึ้นประมาณ 10-15%มีภาวะamenorrheaมากกว่า 50% regular bleeding30-40% irregular bleeding
    Progestin-only injectable ลักษณะประจำเดือนมักจะเปลี่ยนแปลงแบบSpotting, light ,heavyหรือ prolonged bleedingมากกว่า 30% amenorrhea มากกว่า 70% มีภาวะ amenorrhea ภายใน 1 ปี
    Progestin-only implant ลักษณะประจำเดือนมักจะเปลี่ยนแปลง หลังจาก 6 เดือน, 30% infrequent bleeding ,10-20%prolonged bleeding
    Levonorgestrel-releasing IUD Irregular, light ,heavy bleeding พบได้บ่อยและมักจะเป็น 6 เดือนแรก 65% มีภาวะ amenorrhea/reduce bleeding ใน 1 ปี90% ปริมาณประจำเดือนลดลงในคนที่ใช้มากกว่า 12 เดือน

    ตารางที่ 2 ตารางแสดงลักษณะของประจำเดือนที่คาดว่าจะเกิดในการคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน 

    แนวทางการดูแลรักษาสตรีที่มีภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติจากการใช้การคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน(3-5)

    ซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติ เพื่อประเมินอาการ ความรุนแรงและที่สำคัญคือเพื่อแยกสาเหตุอื่นๆ นอกเหนือฤทธิ์จากฮอร์โมน

    • ประวัติวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ปัจจุบัน วิธีการใช้ ระยะเวลา และการคุมกำเนิดที่เคยใช้
    • ประวัติความเสี่ยงต่อ Sexually transmitted infection (STD) เนื่องจาก โรค STD บางโรคทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติได้ เช่น Chlamydia trachomatis 80% ของสตรีที่ติดเชื้อ Chlamydia trachomatis จะมีอาการ asymptomatic abnormal bleeding ซึ่งความเสี่ยงต่อโรค STD คือ อายุน้อยกว่า 25 ปี และมีคู่นอนใหม่หรือมีคู่นอนมากกว่า 1 คนใน 1ปีที่ผ่านมา(4)
    • ประวัติการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
    • ประวัติโรคประจำตัว และอาการของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
    • ตรวจภายในเพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติได้ เช่น ปากมดลูกอักเสบ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกมดลูก (myoma uteri) เป็นต้น
    • โอกาสของการตั้งครรภ์ และตรวจการตั้งครรภ์ (Pregnancy test) ควรจะตรวจในสตรีการคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนแบบผิดวิธีมีอาการเลือดออกผิดปกติทุกราย

    Further investigation(4)

    • Endometrial biopsy : ทำเมื่อสงสัย endometrial cancer / hyperplasia ควรจะทำใน สตรีที่อายุ ≥ 45 ปีที่มีความเสี่ยงของ endometrial cancer เช่น PCOs ,obesity ที่มี persistent unscheduled bleeding หลังจากเริ่มคุมกำเนิดหรือเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดใหม่ 3 เดือน
    • Transvaginal ultrasound และ hysteroscopy พิจารณาทำในสตรีที่สงสัย uterine polyps, myoma uteri หรือ ovarian cysts
    • สาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Cause of abnormal uterine bleeding) (ACOG 2013) (6)

     AUB1

    การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกในสตรีที่คุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน(3-5)

    ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraception pills) (3, 4)

    • ช่วง 3 เดือนแรกของการใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้การรักษาเพิ่มเติมให้ใช้ยาตัวเดิม เนื่องจากพบได้ในช่วงแรกของการใช้ ให้อธิบายให้คำแนะนำ โดยให้รับประทานยาอย่าสม่ำเสมอ และตรงเวลา สังเกตอาการต่อจนครบ 3 เดือน หากยังมีภาวะเลือดออกผิดปกติพิจารณารักษา
    • เพิ่มขนาดของ Ethinyl estradiol ใน COC เช่น เดิมใช้ EE ขนาด 20 mcg พิจารณาเพิ่มเป็น 30-35 mcg เพื่อให้มี regular cycle ที่ไม่ควรเกิน 35 mcg แต่จากข้อมูลในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่สนับสนุน แต่ยังเป็นที่แนะนำในทางปฏิบัติ
    • การเปลี่ยนชนิดของ Progestin ใน COC สามารถช่วยลดภาวะเลือดออกผิดปกติได้
    • การใช้ biphasic และ triphasic COC ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอในเรื่องของการลดภาวะเลือดออกผิดปกติ

    Progestin-only contraceptive method

    ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว (Progestin-only pills:POP) / minipills(4)

    • ไม่มีข้อมูลหลักฐานในเรื่องของการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาภาวะ AUB ที่เกี่ยวกับ minipill
    • มีการศึกษาการรักษาด้วย estrogen และ antiprogestin เปรียบเทียบกับ placebo มีผลในการรักษาเล็กน้อย ไม่สามารสรุปเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ได้
    • ภาวะเลือดออกผิดปกติมักจะดีขึ้นแม้จะไม่ได้รับการรักษาใดใด

    ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด (Progestin injection)(3-5)

    • Estrogen therapy(5)
      • มีการศึกษา AUB ในกลุ่มสตรีที่ใช้ DMPA  โดยศึกษาให้การรักษาโดย EE 50 mcg, estrogen sulphate 2.5 mg และ placebo มีพียง EE เท่านั้นที่สามารถหยุดภาวะเลือดออกผิดปกติได้ ใน 14 วันของการรักษา และภายใน 3 เดือนยังมีประโยชน์ต่อAUBอยู่ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
      • การให้ estrogen for prophylaxis : มีการศึกษาการใช้ estrogen (oral diethylstilbestrol(DES), oral quinesterol, 17 β estradiol transdermal patch และ vaginal ring release estradiol acetate) เพื่อลด irregular cycle ที่เกิดจากฤทธิ์ DMPA (5)
        • การให้ DES 1 mg daily ทำให้มีลักษณะประจำเดือนที่ยอมรับได้มากขึ้น (acceptable bleeding pattern: bleeding episode < 8 days)
        • การให้ vagina ring  ทำให้จำนวนวันที่มีประจำเดือนขณะการรักษาลดลง
        • จากการวิเคราะห์โดยรวมแล้วพบว่า การให้ estrogen for prophylaxis ยังไม่มีประสิทธิภาพพอที่ช่วยให้มีการใช้ DMPA อย่างต่อเนื่อง
    • Non- steroidal anti-inflammatory drug (NSAID) : Mefenamic acid (5, 7)
      • การศึกษาแบบ RCT พบว่า Mefenamic acid (500 mg twice daily x 5วัน)  มีประสิทธิภาพในการลด Bleeding episode
      • 70% สามารถหยุดเลือดออกได้ภายใน 7 วันหลังเริ่มให้ยา Mefenamic acid(7)
      • เมื่อตามการรักษาไป 4 สัปดาห์หลังได้ยาจะพบว่าระยะเวลาที่ไม่มีประจำเดือน (bleeding free interval)ในกลุ่มที่ได้ Mefenamic acid นานกว่ากลุ่มควบคุม (16.1วัน กับ 12.39วัน) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(7)
      • ดังนั้นสรุปได้ว่า Mefenamic acid มีประสิทธิภาพในการรักษา AUB จาก DMPA แบบ short term แต่ไม่มีประสิทธิภาพใน long term (7)
    • Antiprogestin / Mifepristone(5)
      • มีการศึกษาการให้ Mifepristone (50 mg ) 1 เม็ด ทุก 14 วันจะช่วยลดภาวะ irregular bleeding ในคนที่เริ่มใช้ DMPA และลดร้อยละของการมี Breakthrough bleeding อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่ม placebo
    • Doxycyclin(5)
      • มีการศึกษาให้ Doxycycline (100 mg ) twice daily ในสตรีที่มีปัญหา AUB จาก DMPA พบว่าการให้ Doxycycline ไม่มีประโยชน์ในการหยุดภาวะเลือดออกผิดปกติภายใน 10 วันหลังได้การรักษา และยังพบว่ามีผลข้างเคียงจากยาอันได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียอีกด้วย
    • Antifribrinolytic / Tranexamic acid(5)
      • จากการศึกษาหนึ่งแบบ RCT เปรียบเทียบการให้ Tranexamic acid (100o mg 5วัน) กับกลุ่ม placebo ในตรีที่มี irregular bleeding จากผลของ DMPA  พบว่า Tranexamic acid ช่วยลดจำนวนวันที่มีเลือดออก และภาวะเลือดออกกระปิดกระปอยได้อย่างมีนัยสำคัญภายใน 4 สัปดาห์หลังการรักษา
    • Combined estrogen and progestin(4, 5)
      • การให้ low dose COCs ในสตรีที่ใช้ DMPA  และประจำเดือนหายไป 2 เดือน พบว่าเกิดภาวะamenorrhea น้อยกว่ากลุ่ม placebo อย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนที่เลิกใช้ DMPA น้อยกว่า
      • การให้ low dose COCs ในสตรีที่ใช้  DMPA และมีปัญหา AUB ยังไม่มีข้อมูลและหลักฐานมากพอ แต่ในแนวทางปฏิบัติก็มีการแนะนำการใช้ low dose COCs ไม่ว่าจะรักษาภาวะ light และ heavy bleedingได้
      • ตาม CEU guideline ของประเทศอังกฤษ แนะนำให้(4)
        • 1 st line option : combine oral contraceptive (COCs) ในสตรีที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ COCs โดยใช้ประมาณ 3 เดือนในขณะที่ยังใช้ DMPA สามารถให้ได้ทั้งแบบ cyclic manner คือมี withdrawal bleed หรือ continuously without pill free interval
        • ถ้ามีข้อห้ามในการใช้ COCs พิจารณาให้เป็น Mefenamic acid (500 mg twice or 3 times 5วัน)
    • ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง (Progestin only implants) :ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการศึกษา Levonorgestrel implant (Norplant) ในส่วนของ etonogestrel Implant (Implanon) ยังมีข้อมูลไม่มากพอ(4)
      • Estrogen therapy(4, 5)
        • มีประโยชน์ในการหยุดเลือดออกผิดปกติในกลุ่มสตรีที่ใช้ Norplant และช่วยลด irregular bleeding ขณะให้การรักษา
        • เนื่องจากวิธีนี้มีผลข้างเคียงจาก estrogen (estrogenic effects) ที่พบได้บ่อยคือคลื่นไส้อาเจียน จึงทำให้มีการเลิกใช้วิธีการรักษานี้
      • Combined estrogen and progestin(5)
        • การให้ oral EE  ร่วมกับ oral levonorgestrel  พบว่า continued irregular bleeding ลดลงขณะให้การรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม placebo และลด unacceptable bleeding หลังจากรักษาแล้ว ร่วมด้วย และจำนวนของสตรีที่การเลิกใช้ Norplant พบว่าไม่มีความแตกต่างกันกับกลุ่ม placebo รวมถึงผลข้างเคียงจากยาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่พบมากกว่ากลุ่ม placebo
      • Progestin(5)
        • มีการศึกษาการให้ progestin เพิ่มในสตรีที่ใช้ Norplant โดยมีการศึกษาให้ 0.03 mg levonorgestrel tablet twice a day เป็นระยะเวลา 20 วันเริ่มหลังจากวันที่ 8 ของการเริ่มมี bleeding พบว่ามีการลดลงของจำนวนวันที่มีเลือดออกผิดปกติ (total number of bleeding days) และเลือดออกผิดปกติตลอดทั้งปีอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่ม placebo
      • Antiprogestin / Mifepristone(5)
        • การให้ mifepristone ในสตรีที่ใช้ Norplant และมี irregular bleeding พบว่าระยะเวลาของเลือดออกสั้นลง (shorter episode of bleeding) และความถี่ของภาวะเลือดลดลงหลังจากติดตาม 1 ปี แต่เมื่อติดตามหลังการรักษา 3 เดือนและ 6 เดือนหลังการรักษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของจำนวนวันที่มีเลือดออก การเลิกใช้ Norplant ในกลุ่มที่ได้ mifepristone กับ placebo ไม่แตกต่างกัน
        • การศึกษาการให้ mifepristone กับ Implanon พบว่า การรักษาภาวะ irregular bleeding จาก Implanon ในกลุ่มที่ได้ mifepristone กับ placebo ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
      • Non-steroid anti-inflammatory drug(5)
        • มีการศึกษาการใช้ NSAID หลายขนาดและหลายชนิด อันได้แก่ oral ibuprofen 800 mg tid 5 วัน, ibuprofen 800 mg oral bid 5วัน , oral mefenamic acid 500 mg bid 5วัน ,oral ASA 80 mg/day 10 วัน และ celecoxib 200 mg/day 5 วัน
        • ในรายงานช่วงแรกๆ การให้ ibuprofen สามารถ จำนวนวันเฉลี่ยที่เลือดออกผิดปกติในช่วงแรกหลังจากได้รับการรักษา และจำนวนวันที่เลือดออกหรือเลือดออกกระปิดกระปอยก็ลดลงในช่วงระยะเวลา 1 ปี แต่ในรายงานต่อมา (Archer 2008) ในกลุ่มที่ได้ ibuprofen กับ placebo ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
        • การศึกษาการใช้ Mefenamic acid พบว่าในกลุ่มที่ได้รับ Mefenamic acid มีจำนวนวันที่เลือดออกผิดปกติน้อยกว่ากลุ่ม placebo และร้อยละของสตรีที่มี unacceptable bleeding หลังจากการรักษาในกลุ่มที่ได้ mefenamic acid น้อยกว่ากลุ่ม placebo อย่างมีนัยสำคัญ
        • การศึกษาหนึ่งใช้ celecoxib ในสตรีที่ใช้ Jadelle พบว่ามีภาวะ irregular bleeding น้อยกว่ากลุ่ม placebo อย่างมีนัยสำคัญ
      • Antifribrinolytic / Tranexamic acid(5)
        • มีการศึกษาเปรียบเทียบการให้ Tranexamic acid (500 mg twice/day 5 วันกับ placebo พบว่าร้อยละของสตรีที่เลือดออกผิดปกติหยุดภายใน 7 วันหลังจากรักษามากกว่ากลุ่ม placebo อย่างมีนัยสำคัญ
      • Doxycyclin(5)
        • มีการศึกษาการให้ Doxycycline 100 mg / twice daily ในสตรีที่ใช้ Implanon 2 การศึกษาพบว่าได้ผลที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาแรกพบว่า Doxycycline มีประสิทธิภาพในการรักษา irregular bleeding แต่ในการศึกษาต่อมาซึ่งมีกกลุ่มประชากรที่ใหญ่กว่าพบว่า ไม่มีความแตกต่างในเรื่องการรักษา irregular bleeding และจำนวนสตรีที่เลิกใช้ Implanon

    เอกสารอ้างอิง

    1. Berek JS. Berek & Novak ‘s Gynecology. 15 ed. Philadelphia,USA2012.
    2. รายงานการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2552.
    3. Schrager S. Abnormal uterine bleeding associated with hormonal contraception. American family physician. 2002;65(10):2073-80.
    4. Guidance FoSRHC. Management of Unscheduled Bleeding in woman using hormonal contraception. 2009.
    5. Abdel-Aleem H, d’Arcangues C, Vogelsong KM, Gaffield ML, Gulmezoglu AM. Treatment of vaginal bleeding irregularities induced by progestin only contraceptives. The Cochrane database of systematic reviews. 2013;10:CD003449.
    6. ACOG committee opinion no. 557: Management of acute abnormal uterine bleeding in nonpregnant reproductive-aged women. Obstetrics and gynecology. 2013;121(4):891-6.
    7. Tantiwattanakul P, Taneepanichskul S. Effect of mefenamic acid on controlling irregular uterine bleeding in DMPA users. Contraception. 2004;70(4):277-9. 
    Read More