Anemia1

ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์

ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์

พญ. ชลธิชา ตานา
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์


บทนำ

ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแอฟริกา และเอเชียตอนใต้(1) โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก สถานการณ์ภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ไทยจากรายงานของกรมอนามัย พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ร้อยละ 20-30(2)

คำจำกัดความ

ตามข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลกภาวะโลหิตจางระหว่างการตั้งครรภ์ ถือเอาที่ระดับ Hb ต่ำกว่า 11 g/dl(1) ส่วน CDC แนะนำให้ถือ Hb หรือ Hct ที่ต่ำกว่าเปอร์เซนไตล์ที่ 5 ของแต่ละอายุครรภ์ คือ ในไตรมาสที่หนึ่งและสาม Hb ต่ำกว่า 11 g/dl Hct ต่ำกว่า 33% และHb ต่ำกว่า 10.5 g/dl Hct ต่ำกว่า 32% ในไตรมาสที่สอง)(2)

ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบโลหิต โดยในครรภ์เดี่ยวจะมีการเพิ่มปริมาณเลือดทั้งหมดประมาณ ร้อยละ 50 (1000 ml) โดยปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 25 (300 ml) ซึ่งการที่มีปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า ทำให้เกิดภาวะ hemodilution ซึ่งไม่ใช่ภาวะโลหิตจางที่แท้จริง และ Hb มักไม่ต่ำกว่า 10 g/dl(3)

ผลของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์

ผลต่อมารดา

  • การทำงานของหับใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยง heart failure
  • โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น
  • ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก หรือ heart failure ได้
  • สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

ผลต่อทารก

  • บางสาเหตุสามารถถ่ายทอดความเสี่ยงไปยังทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย
  • ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือทารกโตช้าในครรภ์ เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด และการคลอดก่อนกำหนด
  • มีเหล็กสะสมน้อยกว่าปกติ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริมหลังคลอด จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป(4)

สาเหตุของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์

ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด(hereditary)

  • ความผิดปกติของฮีโมโกลบิน เช่น ธาลัสซีเมีย Sickle cell disease
  • Hereditary hemolytic anemia เช่น G6PD deficiency

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง(acquired)

  • การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต หรือวิตามินบี12
  • การเสียเลือดออกจากร่างกาย เช่น การตกเลือดก่อนคลอด การมีพยาธิปากขอ
  • ภาวะโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง
  • Acquired hemolytic anemia เช่น autoimmune hemolytic anemia(AIHA), Paroxysmal Nocturnal hemoglobinuria
  • Aplastic anemia

1. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก Iron deficiency anemia

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ เกือบร้อยละ 80 (3) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการที่สูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

พยาธิสรีรวิทยา

ความต้องการธาตุเหล็กต่อการตั้งครรภ์ ประมาณ 1000 mg โดย 500 mg สำหรับสร้างเม็ดเลือดแดงที่จะเพิ่มขึ้น 450 ml (1 ml ของเม็ดเลือดแดง ใช้เหล็ก 1.1 mg ในการสร้าง) , 300 mg ให้ทารกและรก , 200 mg สูญเสียไปตาม normal excreation หลักๆคือ GI tract ดังนั้นโดยเฉลี่ยความต้องการธาตุเหล็กประมาณวันละ 6-7 mg ซึ่ง iron storage ในร่างกายมักจะไม่เพียงพอจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กเสริม และหากได้รับไม่เพียงพอก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางในแม่ได้ แต่ทารกจะไม่เกิดโลหิตจางเนื่องจากรกมีความสามารถในการขนส่งธาตุเหล็กไปให้ทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงแม้ว่า iron storage ในแม่จะไม่เพียงพอก็ตาม

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามลำดับดังนี้

  1. Iron stores depletion : เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการธาตุเหล็ก หรือการสูญเสียธาตุเหล็กที่เพิ่มขึ้น ร่างกายจะนำธาตุเหล็กจากแหล่งสะสมในรูป ferritin ที่ไขกระดูก ตับ ม้าม มาใช้ โดยจะวินิจฉัยได้จากการตรวจระดับ ferritin ในไขกระดูกแต่เป็นวิธีการที่รุกล้ำและราคาแพง จึงนิยมตรวจ serum ferritin แทน
  2. Iron deficiency erythropoiesis : เมื่อธาตุเหล็กสะสมหมดสิ้นลง ปริมาณเหล็กในเลือดเริ่มลดลง ร่างกายตอบสนองโดยกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่จับกับเหล็ก (transferrin) ทำให้วิสัยสามารถในการจับเหล็ก (total iron binding capacity: TIBC) เพิ่มขึ้นความอิ่มตัวของทรานสเฟอริน (transferrin saturation) ลดลง
  3. Iron deficiency anemia : เป็นระยะที่ธาตุเหล็กเหลือไม่เพียงพอต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง จนเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จะตรวจพบ Hb ตํ่าลง เม็ดเลือดแดงตัวเล็กและติดสีจาง hypochromic-microcytic RBCs จาก peripheral blood smear ค่าดัชนีของเม็ดเลือด เช่น MCV, MCH, MCHC ต่ำกว่าเกณฑ์

แนวทางการวินิจฉัย

  • สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะโลหิตจาง ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์
  • หากตรวจคัดกรองพบว่ามีภาวะโลหิตจาง ถึงแม้จะไม่มีอาการก็ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ

ประวัติ ที่บ่งบอกได้ถึงความรุนแรงของโรค เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซึม เป็นต้น นอกจากนี้ควรซักประวัติเพื่อหาสาเหตุเช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ การผ่าตัดลำไส้ ความผิดปกติของทางเดินอาหาร ประวัติการมีบุตรหลายคน การตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งประวัติเหล่านี้จะทำให้คิดถึงภาวะขาดธาตุเหล็กมากขึ้น

การตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของการขาดธาตุเหล็กอื่น ๆ เช่น glossitis, angular stomatitis

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. Primary screening of anemia: CBC (Hb, Hct, MCV)
2. Diagnosis of IDA (5)

  1. Microcytic-hypochromic (MCV <80fl, MCHC<30% , MCH <30 mch/L, RC <4.1 mil/mm3 , PBS)
  2. Evidence of depleted iron stores
    1. Low serum iron < 30 mcg/dl
    2. High total iron binding capacity (TIBC) > 350 mcg/dl
    3. Low transferrin saturation < 16 %
    4. Low serum ferritin <10-15 mcg/L (5)(****the highest sensitivity and specificity for diagnosis)

หมายเหตุ

  • ในสถานที่ที่ไม่สามารถตรวจ iron study ได้ให้ทดลองให้การรักษา (therapeutic trial) ด้วยเหล็กขนาดการรักษานาน 30 วันจะมี Hb เพิ่มขึ้น 1 g/dl ซึ่งแสดงว่าขาดธาตุเหล็กจริง ถือเป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการวินิจฉัยภาวะขาดธาตุเหล็ก (6)
  • serum ferritin เป็นตัวชี้วัดการขาดธาตุเหล็กที่มีความไวสูงที่สุด แต่มีผลลบลวงได้บ่อยเนื่องจาก ferritin จะสูงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อหรือการอักเสบ ดังนั้นจึงมักจะตรวจ serum iron และ transferrin ร่วมด้วย

สาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในประชากรไทย

  1. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ มังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์/เลือด/ตับ หรือรับประทานผักที่มีสารต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็กเป็นปริมาณมาก เช่น นมถั่วเหลือง ชา กาแฟ เป็นต้น
  2. การดูดซึมธาตุเหล็กผิดปกติ อาจเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารลดลง เช่น รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารนาน ๆ หรือผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอาลําไส้เล็กส่วนต้นออก
  3. การสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ มักเกิดจากการเสียเลือดเรื้อรัง ได้แก่ เลือดประจําเดือนมากและนานกว่าปกติในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เลือดออกในทางเดินอาหาร (แผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร มะเร็งลำไส้ พยาธิปากขอ)

การป้องกัน

  • แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการเสริมธาตุเหล็ก 60 mg ทุกวัน ตลอดการตั้งครรภ์ (5)ยกเว้น มีข้อห้ามในการให้ เช่น มีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย (hemochromatosis) (6)
  • ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กโดยให้ความรู้โภชนศึกษาแก่หญิงที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์

การรักษา

  1. ยาเสริมธาตุเหล็กชนิดรับประทาน เพื่อให้ได้เหล็กวันละ 200 mg โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้งรับประทานทุกวัน
  2. ตรวจเลือดติดตามค่า Hb หรือ CBC หลังการรักษา 4 สัปดาห์ หากการรักษาได้ผล Hb ควรสูงขึ้นเกิน 1 g/dl และให้ทานยาต่ออีก 60 วัน แล้วจึงลดขนาดการให้เป็น 60 mg เพื่อป้องกัน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซ้ำ
  3. หากรักษาด้วยการทานเหล็กแล้วไม่ได้ผล แสดงว่าผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคโลหิตจางจากสาเหตุอื่น ให้งดการเสริมธาตุเหล็ก และตรวจหาสาเหตุอื่น แต่ต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างถูกต้องแล้วและไม่มีการเสียเลือดเรื้อรังที่ยังไม่ได้รักษาอยู่
  4. การให้ blood transfusion (6)
    • ในช่วง antepartum ไม่ค่อยมีข้อบ่งชี้ ยกเว้นซีดรุนแรง Hb <6 g/dl ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดขาดออกซินเจนของทารก ทำให้มี non reassuring fetal heart rate patterns, น้ำคร่ำน้อย, fetal cerebral vasodilatation และเกิดเสียชีวิตในครรภ์ได้ จึงอาจเป็นข้อบ่งชี้ในการให้เลือด
    • ในช่วงคลอดหรือหลังคลอดแล้วมีการเสียเลือดมาก เพื่อป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลว
  5. การให้เหล็กทางเส้นเลือด ให้ได้ในกรณีที่ไม่สามรถ tolerate oral iron กินได้น้อย มีปัญหาการดูดซึม หรือผู้ป่วยโรคไตที่ต้องที่ dialysis เป็นต้น(6) ซึ่งมีความปลอดภัยและจะเพิ่มระดับ Hb ได้เร็วกว่ารูปแบบรับประทานในช่วงสัปดาห์แรก แต่หลัง 40 วันพบว่าผลไม่แตกต่างกัน ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ferrous sucrose และ iron dextran ( ร้อยละ 1 เกิดอาการแพ้หลังได้ iron dextran)

ตารางที่1. แสดงร้อยละของ elemental iron ของ ferrous iron salts ชนิดต่าง ๆ (Ineck et al., 2011)

Ferrous iron salts

ปริมาณ iron salts (mg)

% element iron

ปริมาณ element iron (mg)

Ferrous sulfate

300

20%

60

Ferrous gluconate

320

12%

36

Ferrous fumarate

200

33%

67

2. Megaloblastic Anemia

ภาวะโลหิตจางที่พบว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (MCV > 100fL) เกิดจากเซลล์ไขกระดูกไม่สามารถสร้าง DNA ได้ตามปกติ แต่ยังคงสร้าง RNA และโปรตีนได้ ทำให้ไซโตพลาสซึมมีนาดใหญ่แต่นิวเคลียสเล็ก เกิด “nuclear-cytoplasmic asynchronism” ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดวิตามินบี12 และขาดโฟเลต นอกจากนี้สาเหตุอื่น ๆ เช่น hyperlipidemia โรคตับ และการดื่ม alcohol ซึ่งผู้ที่ดื่ม alcohol แล้วมีภาวะ โลหิตจางร่วมด้วยประมาณ 90% จะเป็นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่

2.1 Folic Acid Deficiency anemia

ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ megaloblastic anemia ในสตรีตั้งครรภ์ โดยอุบัติการณ์แตกต่างกันไปทั่วโลก ประมาณร้อยละ1-30 อาการแตกต่างกับโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี12 คือจะไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทเกิดขึ้นในโรคโลหิตจางจากการขาดโฟเลต ส่วนผลต่อการตั้งครรภ์พบว่า ไม่ค่อยมีผลทำให้เกิดภาวะโลหิตจางกับทารกในครรภ์ แต่การขาดโฟเลตในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด neural tube defect แก่ทารกได้

ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ folic acid เองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากภายนอกเท่านั้น เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กและเก็บสะสม ไว้ในร่างกาย 5-10 mg ที่ตับ ซึ่งปริมาณที่สะสมนี้จะใช้หมดภายใน 2-4 เดือน

สาเหตุ

  1. ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอกับความต้องการที่สูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ 400 ไมโครกรัมต่อวัน (คนปกติ 50-100ไมโครกรัมต่อวัน) ซึ่งอาหารที่มีโฟเลตมากได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว เนื้อสัตว์ นม เป็นต้น ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เช่น
  2. ได้รับยาหรือสารบางชนิดที่รบกวนการดูดซึมของโฟเลต เช่น phenytoin phenobarbital sulfasalazine alcohol
  3. การดูดซึมอาหารบกพร่อง (malabsorption) เช่น sprue
  4. เพิ่มการใช้โฟเลตมากขึ้นในการแบ่งเซลล์ เช่น chronic hemolytic anemia มะเร็ง โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น Crohn’s disease, rheumatoid arthritis, psoriasis ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องท่า hemodialysis
  5. สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ dihydrofolate reductase ซึ่งมีฤทธิ์ในการเปลี่ยน dihydrofolate (DHF) เป็น active tetrahydrofolate (THF) เช่น methotrexate

การวินิจฉัย

  • serum folate < 2.0 mcg/L
  • red cell folate concentration <140-160 mcg/L
  • การตรวจ PBS จะพบ hypersegmented neutrophils และ macrocytic RBCs โดจจะช่วยในกรณีที่เกิดร่วมกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาจจะทำให้การตรวจ RBC indices ให้ผลปกติได้ ดังนั้นการตรวจแล้วพบ macrocytes จะช่วยในการวินิจฉัย
  • ตรวจไขกระดูกพบ megaloblastic erythropoiesis
  • ในรายที่มีการขาดโฟเลตรุนแรงอาจพบ thrombocytopenia leukopenia ร่วมด้วย

การป้องกัน : ควรมีการเสริมโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม ร่วมกับธาตุเหล็ก ในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการเกิด megaloblastic anemia และการให้ก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือน ช่วยลดโอกาสการเกิด neural tube defect (NTD)แก่ทารกได้ แต่หากเคยมีประวัติลูกเป็น NTD แนะนำให้ทานวันละ 4 มก.

การรักษา

  1. รับประทานโฟเลต ขนาด 1 มก.ต่อวัน ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มี folic acid สูง แต่ในรายที่มีภาวะ malabsorption หรือมีความต้องการมาก เช่น ครรภ์แฝด hemolytic anemia หรือ Crohn’s disease ให้รับประทานในขนาด 5 มก.ต่อวัน
  2. สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักที่มีผลท่าให้เกิด megaloblastic anemia อาจพิจารณาให้ low dose folic acid (500 ไมโครกรัมต่อวัน) ทุกวันจนกว่าจะหยุดยากันชัก แต่ทั้งนี้ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนเพราะ folic acid อาจลดฤทธิ์ของยากันชักลงโดยการเพิ่มกระบวนการ metabolism (enzyme inducer) ดังนั้นจึงควรติดตามอย่าง ใกล้ชิดจนกว่าจะหยุดยากันชัก

การติดตามการรักษา : อาการของผู้ป่วยควรดีขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของการรักษา ระดับของ reticulocyte ควรจะเพิ่มสูงขึ้นภายใน 5-8 วันหลังจากเริ่มใช้ยา และ Hb จะเพิ่มขึ้นภายใน 2 สัปดาห์และกลับเป็นปกติภายใน 2 เดือน

2.2 Vitamin B12 Deficiency anemia

ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มีสาเหตุจากการขาดวิตามินบี12 พบน้อย แต่มีความสำคัญเนื่องจากพบมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและมีอาการทางจิตร่วมด้วยได้ เช่น ชา การทรงตัวผิดปกติ(ataxia) ขาดสมาธิ เป็นต้น จากสมองและ spinal cord ถูกทำลาย

พยาธิสรีรวิทยา

ในสตรีตั้งครรภ์ปกติจะมีระดับของวิตามินบี12 ต่ำลงเนื่องจากการลดลงของ binding proteins ได้แก่ haptocorrin (transcobalamins I) และ transcobalamin II, III โดยจะลดลงต่ำสุดในช่วงใกล้คลอด และหลังคลอดจะกลับมาเท่าระดับปกติก่อนตั้งครรภ์ภายใน 3-5 สัปดาห์

สาเหตุ

รับประทานอาหารที่มีวิตามินB12 ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะมังสวิรัติ หรือมีภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะบกพร่องในดูดซึมวิตามินB12 เช่น คนไข้ผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วนหรือทั้งหมด มีความผิดปกติของลำไส้เช่น Crohn’s disease หรือ ขาด intrinsic factor ( pernicious anemia ) ซึ่งมีความจำเป็นในการดูดซึมวิตามินบี12

การวินิจฉัย

-serum vitamin B12 ต่ำกว่า 150 พิโคกรัมต่อมล. ร่วมกับการตรวจ RBC indices พบ macrocyte โดยมีค่า MCV มากกว่า 100 fL
-Schilling test เป็นการทดสอบเพื่อใช้ในการวินิจฉัยการดูดซึมที่ผิดปกติ โดยเฉพาะการขาด intrinsic factor หรือ pernicious anemia แต่ไม่แนะนำให้ทำในขณะตั้งครรภ์

การป้องกัน : รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี12 คือการป้องกันที่ดีที่สุด ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกไปทั้งหมดจะต้องได้รับวิตามินบี12 ทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1000 ไมโครกรัมเดือนละครั้ง ไปตลอดชีวิต

การรักษา : ให้รับประทานวิตามินบี12 ขนาด 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน ทุกวันเป็น เวลา 1-2 สัปดาห์จนระดับ Hb กลับเป็นปกติ จากนั้นให้วันละ 1 มิลลิกรัมร่วมกับการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินบี 12 สูง ส่วนอาการทางระบบประสาทจะกลับเป็นปกติได้อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงปี

3. ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นโรคพันธุกรรมทางโลหิตวิทยา ถ่ายทอดในลักษณะยีนด้อย (autosomal recessive) มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งความรุนแรงจะต่างกันไปตามชนิดของธาลัสซีเมีย ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงเกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง มีการเจริญเติบโตไม่สมอายุ เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับม้ามโต หัวใจวาย เป็นต้น หากเป็นชนิดรุนแรงมากจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ส่วนการรักษาให้หายขาดในปัจจุบันทำได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้จึงทำในเฉพาะบางรายเท่านั้น

อุบัติการณ์สูงในประเทศไทย โดยประชากรมียีน alpha (α) thalassemia ร้อยละ 20-30, ยีน beta (β) thalassemia ร้อยละ 3-9 ยีน hemoglobin E (Hb E) ร้อยละ 13 ซึ่งสูงมากขึ้นในภาคอีสานถึงร้อยละ 30-40 ส่วน Hb Constant Spring (Hb CS) พบร้อยละ 1-8 (7)

ชนิดของธาลัสซีเมีย

ที่พบบ่อยแยกตามชนิดของสาย α และ β โกลบิน ได้ดังนี้

Alpha (α) thalassemia

  1. Hb Bart’s hydrops fetalis หรือ homozygous α-thal 1 มี genotype เป็น α-thal 1/ α-thal 1 หรือเขียนเป็น –/– เป็นจางธาลัสชนิดที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด ปัญหาที่พบขณะตั้งครรภ์คือ ความดันโลหิตสูง บวม และครรภ์เป็นพิษ
  2. Hb H disease ที่พบบ่อยมี genotype 2 ชนิดใหญ่ๆคือ α -thal 1/ α -thal 2 หรือ –/-α และ α-thal 1/Hb CS หรือ –/ αcsα ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ อาการซีด เหลือง พบตับม้ามโตเล็กน้อย แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อจะมีภาวะซีดลงอย่างรวดเร็ว

Beta (β) thalassemia

  1. β thalassemia major หรือ homozygous β thalassemia disease ส่วนใหญ่มี genotype เป็น β0/β0 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซีดเร็วภายในอายุ 2 ปี อาการอื่น ๆ ที่พบได้ คือ ตับม้ามโต รูปโครงหน้าเปลี่ยน (thalassemia face) การเจริญเติบโตไม่สมอายุ หากไม่ได้รับเลือดจะมีอาการซีดมาก และหัวใจล้มเหลว แต่ในกลุ่มที่มี genotype β+/β+ มักจะมีอาการไม่รุนแรง
  2. β thalasemia/Hb E disease มี genotype เป็น β0/βE หรือ β+/βE อาการทางคลินิกพบได้ตั้งแต่ อาการรุนแรงมาก ปานกลาง และน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของ mutation

การแบ่งระดับของความรุนแรงของโรคตามการรักษา

  1. Thalassemia major (Transfusion-dependent thalassemia: TDT) คือ กลุ่มที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้เลือดเป็นประจำ แต่หากให้การรักษาระดับ Hb ให้อยู่ระหว่าง 9.5-10.5 g/dl ร่วมกับให้ยาขับธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอ สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 40 ปี
  2. Thalassemia intermedia (Non-transfusion-dependent thalassemia: NTDT) คือ กลุ่มที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง โดยในภาวะปกติจะมี Hb 7-10 g/dl เมื่อมี stress หรือภาวะติดเชื้อจะทำให้ซีดลง อาจได้รับเลือดเป็นบางครั้ง

ตารางที่ 2 แสดงระดับความรุนแรงของ thalassemia แบ่งตามอาการ ระดับความเข้มข้นของเลือดและชนิดของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย

Anemia1
ที่มา : Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndromes

การให้คำแนะนำปรึกษาก่อนตั้งครรภ์

หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือ TDT ที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรมีระดับ Hb ที่ 10 g/dL จากการได้รับเลือดสม่ำเสมอและได้รับการประเมินการทำงานของหัวใจก่อน และให้คำแนะนำดังนี้

  1. คู่สามีควรได้รับการตรวจค้นหาการเป็นพาหะหรือเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โดยตรวจชนิดของฮีโมโกลบินหรือชนิดของ mutation เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นธาลัสซีเมีย และหากพบว่ามีความเสี่ยงอาจเลือกหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคด้วยการวินิจฉัยก่อนคลอด ซึ่งทำได้ดังนี้ คือ
    • การเก็บตัวอย่างเซลล์ทารก โดยการเจาะน้ำคร่ำเก็บเซลล์ fibroblast หรือตัดชิ้นเนื้อรก (chorionic villi sampling) เพื่อนำมาวิเคราะห์ความผิดปกติในระดับยีน โดยใช้ recombinant DNA technique หรือ gene mapping
    • เก็บตัวอย่างเลือดจากสายสะดือทารกมาตรวจโดยใช้คลื่นความเสี่ยงสูงชี้นำ เพื่อนำมาตรวจ Hb typing
  2. ให้ความรู้ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ โดยความเสี่ยงขึ้นกับความรุนแรงของภาวะซีดและอวัยวะภายในที่เสียหน้าที่จากภาวะเหล็กเกินตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ทำให้อาการซีดรุนแรงมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจล้มเหลว การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อง่าย การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง การทำหัตถการช่วยคลอดหรือการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การตกเลือดหลังคลอดที่มารดาทนต่อการเสียเลือดได้น้อยจากภาวะเลือดจาง และการติดเชื้อหลังคลอด ส่วนภาวะแทรกซ้อนของทารกเหมืนกับโลหิตจางอื่น ๆ

การดูแลรักษาขณะตั้งครรภ์

การดูแลรักษาควรใช้ทีมแพทย์สหสาขาร่วมกัน หลักการดูแลรักษาด้านแม่ มีดังต่อไปนี้

  1. งดการรักษาด้วยยาขับเหล็ก
  2. ให้เลือดเพื่อรักษาระดับ Hb ให้อยู่ที่ระดับ ไม่ต่ำกว่า 7-10 g/dl โดยการเลือกเลือดที่ใหควรเปนเลือดที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาวนอย leukocyte poored PRC (LPCR) หรือ leukocyte depleted (LDPRC)
  3.  รับประทานกรดโฟลิกเสริม 5 มก.ต่อวัน ทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง งดสูบบุหรี่และสารเสพติด
  4.  เฝ้าระวังการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ให้การดูแลช่องปากและรักษาฟันผุ หลีกเลี่ยงการรับเชื้อจากผู้อื่น และระวังการติดเชื้อจากการรับเลือด
  5.  ตรวจคัดกรองหรือค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อตั้งครรภ์ ได้แก่ คัดกรองโรคเบาหวาน (glucose tolerance test) การประเมินการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน ในรายที่ตัดม้ามหรือได้รับเลือดไม่สม่ำเสมอจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน จึงควรพิจารณาให้ยาต้านเลือดแข็งตัวหลังคลอด
  6. เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม เช่น การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง การตกเลือดหลังคลอด กำหนดเวลาคลอดและวิธีคลอด พยายามให้คลอดทางช่องคลอด ยกเว้น มีข้อบ่งชี้จึงผ่าตัดทำคลอด
  7. หลังคลอดสามารถให้นมแม่ได้ถ้าแม่ไม่มีการติดเชื้อ เริ่มให้การรักษาด้วยยา ขับเหล็กและแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม

หลักการดูแลด้านลูก มีดังต่อไปนี้

  1. วินิจฉัยทารกก่อนคลอดกรณีที่บิดาและมารดาเป็นคู่เสี่ยงต่อการเกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
  2. เฝ้าระวังการเติบโตและตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์เป็นระยะ ทั้งทางคลินิก การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าทารกในครรภ์ (electronic fetal monitoring; EFM)
  3. หลังคลอดให้ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีแก่ทารกแรกเกิด

การเสริมธาตุเหล็กในผูที่เปนธาลัสซีเมีย

  • งดการเสริมธาตุเหล็กในผูที่เปนโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเหล็กเกินหรืออาจจะมีเหล็กเกินอยู่ก่อนแล้ว
  • เสริมธาตุเหล็กในผูที่เปนพาหะธาลัสซีเมีย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กไดเชนเดียวกับประชากรทั่วไปและไมมีความเสี่ยงที่จะสะสมธาตุเหล็กเกิน โดยปกติ Hb ของคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะอยูในเกณฑปกติ แม้ว่าขนาดของเม็ดเลือดแดงจะเล็ก ดังนั้นหากพบว่าผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียซีดอาจเกิดจากมีภาวะขาดธาตุเหล็กรวมดวย การเสริมธาตุเหล็กจะทําให Hb เพิ่มขึ้นเปนปกติได แต่มีข้อสังเกตคือขนาดเม็ดเลือดจะยังคงเล็กกวาปกติ

ตารางที่ 3 การเสริมธาตุเหล็กในผูที่เปนธาลัสซีเมีย

 

ชนิดธาลัสซีเมีย

ความชุกในไทย

ความเสี่ยงขาดเหล็ก

ความเสี่ยงเหล็กเกิน

คำแนะนำเสริมเหล็ก

α thalassemia trait

5-10%

เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

เช่นเดียวกับประชากรทั่วไป

ไม่เสี่ยงภาวะเหล็กเกิน

ควรเสริมธาตุเหล็ก

β thalassemia trait

0.1-7%

เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

เช่นเดียวกับประชากรทั่วไป

ไม่เสี่ยงภาวะเหล็กเกิน

ควรเสริมธาตุเหล็ก

Hb E trait

15-42%

เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

เช่นเดียวกับประชากรทั่วไป

ไม่เสี่ยงภาวะเหล็กเกิน

ควรเสริมธาตุเหล็ก

Homozygous HbE

0.1-16%

เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

น้อยกว่าประชากรทั่วไป

ไม่เสี่ยงภาวะเหล็กเกิน

ควรเสริมธาตุเหล็ก

Hb H, Hb H-CS disease

0.1-2.5%

มีรายงานขาดธาตุเหล็ก

ถ้าเลือดออกเรื้อรัง

เสี่ยงภาวะเหล็กเกินในวัยกลางคน

งดเสริมธาตุเหล็ก

β thal-Hb E disease

0.1-1.2%

ไม่เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

เสี่ยงภาวะเหล็กเกินในวัยรุ่น

งดเสริมธาตุเหล็ก

พึงระวังเหล็กเกิน

Homozygous β thalassemia

0.1-0.5%

ไม่เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

เสี่ยงภาวะเหล็กเกินในวัยรุ่น

งดเสริมธาตุเหล็ก

พึงระวังเหล็กเกิน

ที่มา : Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndromes

4.ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)

Hemolytic anemia คือ ภาวะที่เกิดการทําลายเม็ดเลือดแดงกอนอายุขัย ซึ่งโดยทั่วไปเม็ดเลือดแดงจะมี อายุราว 120 วัน ซึ่งการทําลายเม็ดเลือดแดงนี้อาจเกิดภายในหลอดเลือดหรือที่อวัยวะที่มีหนาที่ทําลายเม็ดเลือดแดง เชน มาม โดยสามารถแบ่งกลุ่มโรคตามสาเหตุการเกิดได้ดังนี้

Hereditary hemolytic anemia

  • Membrane disorders เช่น Hereditary spherocytosis, Hereditary stomatocytosis
  • Enzyme disorders เชน G-6-PD deficiency, Pyruvate kinase deficiency
  • Hemoglobin Disorders เช่น Sickle cell disease, Thalassemia

Acquired hemolytic anemia

  • Immune เช่น Autoantibody (Autoimmune hemolytic anemia: AIHA)
  • Non-immune เช่น Paroxysmal Nocturnal hemoglobinuria, malaria infection

4.1 Autoimmune Hemolytic anemia

พบได้ไม่บ่อย ประมาณ 1 ต่อ 140,000 ของการตั้งครรภ์ มีโลหิตจางเนื่องจาก 3 ปัจจัย คือ warm-active antibodies (ร้อยละ 80-90) , cold-active antibodies หรือร่วมกันทั้งสองแบบ โดยอาจจะเป็น primary(idiopathic) หรือ secondary จากโรคอื่นเช่น lymphoma, leukemia, connective tissue disease, drug-induced antibodies หรือการติดเชื้อ เป็นต้น สำหรับ cold-agglutinin disease นั้นสัมพันธ์กับการติดเชื้อ mycoplasma หรือ infectious mononucleosis(10)

การตั้งครรภ์อาจมีผลทำให้เพิ่มการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ทำให้อาการของโรคแย่ลงได้โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ และในรายที่เคย remission ไปแล้วอาจจะกลับมา relapse ได้ในช่วงตั้งครรภ์ ตัวของแอนติบอดีย์ IgG สามารถผ่านรกดังนั้นจึงมีผลทำลายเม็ดเลือดแดงของทารกได้

การตรวจ

  • peripheral blood พบสิ่งที่บงถึงการทําลายเม็ดเลือดแดง เช่น spherocytosis , polychromasia หรือ nucleated red cell
  • Direct antiglobulin test (DAT) หรือ direct Coombs’ test เป็นการตรวจหาแอนติบอดียบนเม็ดเลือดแดง
  • Indirect antiglobulin test (IAT) หรือ indirect Coombs’ test เปนการตรวจหาออโตแอนติบอดียอิสระในเซรั่ม
  • หากพบ thrombocytopenia ร่วมด้วยจะเรียกว่า Evans syndrome

การรักษา

การรักษาเหมือนกับรายที่ไม่ตั้งครรภ์ รับประทาน prednisone 1 มก.ต่อ กก.ต่อวัน ทางเลือกอื่นที่มีความปลอดภัยในคนตั้งครรภ์แต่ใช้ในกรณีที่การรักษาด้วย prednisolone ไม่ได้ผล เช่น IVIG , azathioprine และ การตัดม้าม แม้ว่า rituximab สามารถผ่านรกได้แต่ในรายงานที่ผ่านมายังไม่พบผลเสียต่อทารกในครรภ์(11,12) ส่วนการให้เลือดนั้นไม่มีความจำเป็นและมักมีปัญหาเม็ดเลือดแดงที่ได้รับถูกทำลายด้วยออโตแอนติบอดีย์ ยกเว้นจะให้ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรงและเฉียบพลันอันตรายต่อชีวิต ซึ่งการอุ่นเลือดให้มีอุณหภูมิเท่ากับร่างกาย จะช่วยลดการถูกทำลายจาก cold agglutinin ได้

นอกจากนี้ AIHA ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน จึงควรได้รับ thromboprophylaxis ด้วย LMWH ตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 สัปดาห์ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและมักจะเป็นรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การตั้งครรภ์หลายๆครั้งจึงไม่เหมาะสม

5. Aplastic anemia

พบน้อยในสตรีตั้งครรภ์แต่จัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก ความผิดปกติอยู่ที่มีการลด stem cells ในไขกระดูกลงอย่างมาก เซลล์ที่ไขกระดูกลดลงทั้งสามชนิด ( เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด) วินิจฉัยได้จากการที่พบว่ามีภาวะโลหิตจางร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำ รวมทั้งการมีจำนวนเม็ดเลือดในไขกระดูกลดลงอย่างมาก aplastic anemia อาจเป็นโดยกกำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ ชนิดที่เกิดขึ้นภายหลังอาจเกิดจากการได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด การติดเชื้อ โดนรังสี และภูมิคุ้มกันบกพร่อง และรวมถึง Fanconi anemia ซึ่งถ่ายทอดแบบ autosomal recessive

ส่วนใหญ่ของโรคไม่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากการตั้งครรภ์มีส่วนชักนำให้เกิดโรค (pregnancy-induced aplastic/ hypoplastic anemia) ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือหายได้ภายหลังคลอด และจะกลับมาเป็นอีกครั้งในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป

อันตรายสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือการตกเลือด และการติดเชื้อ ดังนั้นในระหว่างการตั้งครรภ์จะต้องติดตามดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และถ้ามีต้องให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทันที หลีกเลี่ยงการเสียเลือดให้มากที่สุดโดยเฉพาะในระยะคลอด

การรักษา
การปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) ได้ผลค่อนข้างดีช่วยยืดอายุได้ การตั้งครรภ์ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกมักจะไม่มีปัญหา แม้ว่าการ reject จะเพิ่มขึ้นบ้างจาการตั้งครรภ์ แต่ผลลัพธ์โดยรวมถือว่าใกล้เคียงครรภ์ปกติ
การให้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น anti-thymocyte globulin และ cyclosporine มีประสิทธิภาพดีพอสามควร
การให้ granulocyte ควรให้เฉพาะเวลาที่มีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน
การให้ testosterone หรือ androgen อื่น ๆ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์
การให้เม็ดเลือดแดงพิจารณาให้เมื่อมีอาการจากภาวะโลหิตจาง
ถ้าเกล็ดเลือดต่ำมากอาจต้องให้เกล็ดเลือด
การคลอดควรหลีกเลี่ยงการเสียเลือดให้มากที่สุด เช่น ให้คลอดทางช่องคลอด หลีกเลี่ยงแผลฉีกขาด ให้ยากระตุ้นให้มดลูกแข็งตัว ระมัดระวังการติดเชื้อ และตรวจรักษาโดยเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. World Heath Organization,World wide prevalence of anemia 1993-2005, WHO Global database on anaemia,2008, 7-12.
  2. CDC criteria for anemia in children and childbearing-aged women. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 1989;38(22):400-4.
  3. Koller O. The clinical significance of hemodilution during pregnancy. Obstet Gynaecol Surv 1982; 37(11):649-652.
  4. World Health Organization, Method of assessing iron status, Iron Deficiency Anemia Assessment, Prevention, and control A guide for program managers, 2001, 33-43.
  5. สํานักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,คูมือแนวทางการควบคุมและปองกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, 2556, 2.
  6. ACOG Practice Bulletin No. 95: Anemia in pregnancy. Obstetrics and gynecology. 2008;108(2):457-64.
  7. มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแหงประเทศไทย. Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndrome. 2006.
  8. ธีระ ทองสง,ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ . โรคทางโลหิตวิทยาในสตรีตั้งครรภ์. สูติศาสตร์ 2555 ;1:383-403.
  9. Centers for disease control and prevention, Recommendation to prevent and control iron deficiency in the unites states, MMWR Recomm Rep1998,47(RR-3):1-29.
  10. British Committee for Standards in Haematology: The Diagnosis and Mangement of Primary Autoimmune Haemolytic Anaemia.
  11. Chakravarty,E.F., Murray,E.R., Kelman,A., & Farmer,P. (2011) Pregnancy outcomes after maternal exposure to rituximab. Blood, 117, 1499-1506.
  12. Bussone,G., Ribeiro,E., Dechartres,A., Viallard,J.F., Bonnotte,B., Fain,O., Godeau,B., & Michel,M. Efficacy and safety of rituximab in adults’ warm antibody autoimmune haemolytic anemia: retrospective analysis of 27 cases. American Journal of Hematology, (2009),84, 153-157.
Read More
Nipt1

Noninvasive Prenatal Testing (NIPT)

Noninvasive Prenatal Testing (NIPT)

พญ.ลินลดา วิจักขณ์อุรุโรจน์
รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์


 

เซลล์ลูกในเลือดแม่ มี 2 ชนิดคือ Intact fetal cell และ cell- free fetal DNA(1)

  1. Intact fetal cell คือเซลล์ลูกที่พบในเลือดแม่และคงอยู่ในกระแสเลือดแม่ได้ถึง 10ปี หลังคลอด เป็นเซลล์ที่พบได้ในปริมาณน้อย และเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดโรค autoimmune diseaseในแม่ เช่น SLE ,scleroderma, Hashimoto Thyroiditis เป็นต้นในทางปฏิบัติไม่สามารถนำมาใช้ในการ prenatal diagnosis ได้เนื่องจากเป็นเซลล์ที่มีปริมาณน้อย คงอยู่นานหลังคลอด และแยกจากเลือดแม่ได้ยาก
  2. Cell-free fetal DNA คือ สิ่งที่ปล่อยจาก apoptotic placental trophoblast เข้าสู่เลือดแม่ สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ และพบในกระแสเลือดแม่ถึง 3-6% และปริมาณจะเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ และขับออกจากกระแสเลือดแม่ภายใน1-2 ชั่วโมงหลังคลอด โดยเซลล์ชนิดนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ตรวจหา โรคทางพันธุกรรม( single gene disorder), หมู่เลือดในลูก( fetal Rh D genotype evaluation), เพศลูก(Fetal Sex determination) และ การตรวจคัดกรอง aneuploidy(NIPT)

NIPT ( Noninvasive prenatal testing )

 

เป็นวิธีหนึ่งในการตรวจคัดกรองเพื่อหาfetal aneuploidy โดยใช้ cell- free fetal DNA มา sequence DNA fragment เพื่อดูอัตราส่วนของ โครโมโซมที่สงสัยว่ามีปริมาณมากเกินปกติหรือไม่ เช่น หากทารกมีภาวะเป็น Trisomy 21 จะตรวจพบDNA sequence ของ โครโมโซมคู่ที่ 21 มากกว่าปกติ

วิธีนี้มี ความไวในการตรวจคัดกรอง(sensitivity) 98% และอัตราการเกิดผลบวกลวง(false positive rate)<0.5% ในการตรวจคัดกรองโรคกลุ่มดาวน์(Down’s syndrome)ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่มีdetection rate ที่สูงกว่าวิธีตรวจคัดกรองอื่นๆตามตารางที่1(1)

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_green.css]}

Screening Strategy Detection Rate(%)
First trimester screening (NT+PAPP-A+hCG) 79-87
NT alone 64-70
Triple test 61-70
Quadruple Test 74-81
Integrated screening 94-96
Stepwise sequential screen 90-95
Contingent sequential screen 88-94
Cell-free fetal DNA 98

ตามความเห็นจาก ACOG (American College of Obstetrician and Gynecologists) และ sMFM opinion ปี 2012 แนะนำว่าNIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพที่สุดในกลุ่ม high risk pregnancy ซึ่งข้อบ่งชี้ที่สามารถแนะนำให้ตรวจคัดกรองได้แก่(2)

  1. สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 35 ปี
  2. มีหลักฐานจาก ultrasound ตรวจพบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด aneuploidy
  3. มีประวัติบุตรคนก่อนเป็น fetal aneuploidy
  4. เคยตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่น เช่น serum marker แล้วพบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด fetal aneuploidy
  5. สตรีตั้งครรภ์หรือสามีตรวจพบเป็น balanced Robertsonian translocation ของโครโมโซมคู่ที่21หรือ13

Consensus statement จาก ISUOG (International Society of Ultrasound in Obstetrics and Gynecology) ได้กล่าวถึงประเด็นเพิ่มเติมดังนี้(3)

  1. หาก ทำ ultrasound anomaly screening แล้วพบว่ามี structural anomaly แนะนำให้ทำ fetal karyotyping แม้ว่าจะตรวจพบว่า ผล NIPT ปกติก็ตาม
  2. สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการทำ first-trimester ultrasound แม้ว่าจะทำ NIPT หรือไม่ก็ตาม
  3.  เสนอ 3 ทางเลือกเพื่อการประเมิน fetal trisomy 13,18,21 ได้แก่
    • Maternal age + NT+/-serum marker
    • PND in high risk group
    • NIPT เป็น primary screening แต่อย่างไรก็ตาม การใช้NIPT ใน low risk group ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่เพียงพอ อีกทั้งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มี PPV ต่ำอยู่แล้ว ปัจจุบันจึงแนะนำให้ใช้เฉพาะในกลุ่ม intermediate group
  4. หากทำ NIPT แล้วพบว่าผลปกติ จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ genetic sonogram (soft marker ของ Down’s syndrome ) เนื่องจาก มี false positive rate ที่สูงกว่าและมี PPV ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ NIPT
  5. ไม่แนะนำให้ใช้ NIPT แทนการทำ PND ในกลุ่ม high risk group จากการทำ serum marker screening
  6. หากผลตรวจ NIPT ปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ NTและ serum marker ซ้ำอีก
  7. ความแม่นยำในการใช้ NIPT ในกรณีที่เป็นครรภ์แฝด ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัด

Bioinformatics techniques in NIPT(4-9)

ตั้งแต่ ค.ศ.1999 มีการศึกษาพบว่าสามารถสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์เป็น Down’s syndrome จะมีปริมาณ fetal DNA ในเลือดแม่ในระดับที่สูงกว่าครรภ์ปกติ จึงมีการใช้เทคนิคต่างๆในการตรวจหาปริมาณ DNA ดังกล่าวได้แก่ DNA Methylation, circulating fetal RNA analysis ,allelic ratio measurement อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวต้องใช้ markerที่หลากหลายในการตรวจเนื่องจากไม่สามารถหา markerที่เป็นตัวแทนของทุกtest ได้ จึงทำให้การตรวจมีข้อจำกัดมาก(4)

ในปี ค.ศ.2007 ได้มีการศึกษาวิธีการตรวจโดยใช้ digital PCR techniqueซึ่งเป็นการนับปริมาณ DNA moleculeและหากยิ่งมีปริมาณมาก ประสิทธิภาพในการแยก DNA ก็จะสูงขึ้นตามลำดับดังนั้นการใช้วิธีนี้จะมีข้อจำกัดในรายที่มีปริมาณของ cffDNAน้อย(4, 8, 9)

ในปี ค.ศ.2008 มีการศึกษาเกี่ยวกับการนำ MPS(Massively parallel sequencing)มาใช้ในการหาปริมาณDNA ซึ่งพบว่ามีข้อดีกว่าการใช้ digital PCRเนื่องจาก digital PCR จะตรวจพบเฉพาะ DNA ที่จำเพาะต่อ RNA primer เท่านั้น ในปัจจุบัน MPSที่ใช้อย่างแพร่หลายมี 2 วิธีคือ 1.Shotgun sequencing 2.Targeted sequencing(4)

1. Shotgun sequencing(5)

หลักการ : DNA ใน maternal serum จะถูกนำมาsequence แบบสุ่มในรูปแบบอัตราส่วนของ DNA ของโครโมโซมที่เราสนใจกับ DNAของโครโมโซมอื่นใน genomeดังแสดงตามรูปที่1

ข้อดีคือ ขั้นตอนในการ DNA sequencingของโครโมโซมที่เราสนใจจะไม่ขึ้นกับ genomic location ทำให้สามารถตรวจพบ genomic aberration ทุกที่ใน genomeและสามารถหา fetal whole genome sequencing จาก maternal serum ได้

Nipt1

2. Targeted sequencing(6, 7, 10)

หลักการ:เป็นการเลือกsequenceเฉพาะ regionของgenomeที่มีโครโมโซมที่เราสนใจ(targeted region) เทียบกับ regionอ้างอิง ในปัจจุบัน มี 2วิธีที่ใช้คือ 1.ใช้ Digital Analysis of Selected Region essay (DANSR)(10)กับ targeted genome ที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล 2.ใช้วิธี allelic ratio analysis หากtargeted genome มี polymorphic ในกลุ่มประชากร ตามแสดงในรูปที่ 2

ข้อดี คือ sequencing power สูงและสามารถเลือก region ที่ต้องการให้ sequence ได้ แต่ข้อเสียคือ ต้องมี panel ที่จำเพาะต่อการทำ DNA hybridization probe, PCR primer

Nipt2

Nipt3

Possible causes of errors

RCOG( Royal College of Obstetricians and Gynaecologists )ได้กล่าวถึงข้อควรระวังในการใช้ NIPT ในกรณีต่างๆต่อไปนี้(4)

1. Early Gestational age

ปริมาณของ cffDNAเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ ดังนั้นหากตรวจในช่วง early gestation อาจพบปัญหา false negative ของ Y chromosome และ RhDในขณะที่ aneuploidy screening จะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้เมื่อมีปริมาณ fetal cell อย่างน้อย 4-5% หรือตั้งแต่หลัง GA 10 wkเป็นต้นไป ดังนั้นหากคนไข้ต้องการตรวจ NIPT ควรทำ ultrasound เพื่อยืนยันอายุครรภ์ก่อนทุกครั้ง

2. Maternal Obesity

จากการศึกษาพบว่าในมารดาที่น้ำหนักมากจะพบปริมาณของ cffDNAได้น้อยกว่าคนที่น้ำหนักปกติ โดยกลไกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการที่มีปริมาณของ maternal plasma DNA ที่เพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดจาก blood volume ที่มากขึ้นและเกิด hemodilutionจึงทำให้ปริมาณ cff DNA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นข้อที่ควรพิจารณาและแจ้งให้คนไข้ทราบก่อนทุกครั้ง

3. Multiple pregnancies

ในการตั้งครรภ์แฝดชนิด Monochorionการตรวจจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่า Singleton pregnancy เนื่องจากหากจะพบปริมาณ cff DNA ได้เป็น 2 เท่าของครรภ์ปกติ แต่ในรายที่เป็นครรภ์แฝดชนิด Dichorionการแปลผลจะทำได้ยากกว่าเนื่องจากอาจมีแฝดปกติและผิดปกติในครรภ์เดียวกันเช่นเดียวกับtwin pregnancy with one vanishing twin อย่างไรก็ตามมี 2การศึกษาที่รายงานว่าการใช้วิธี shotgun-MPS สามารถแปลผลในรายที่เป็น twin pregnancy ได้และยังสามารถบอก zygosityของ twinได้อีกด้วย

4. Placental mosaicism

เนื่องจาก cffDNAมาจาก apoptotic trophoblast ดังนั้นหากมีภาวะ CPM (Confined Placental Mosaicism )ซึ่งพบได้1% แต่หากมีภาวะนี้ จะส่งผลให้เกิดการแปลผลโครโมโซมผิดพลาดเกิดเป็น false positiveได้ทั้งที่ทารกปกติ ดังนั้นจึงต้องมีการทำ confirmatory test ด้วย PNDทุกครั้งหากผล NIPT ผิดปกติ

5. Maternal condition

หากมารดามีภาวะ mosaicism หรือมีmalignancy condition อยู่ จะทำให้เกิดfalse- positive ได้

Comparison between commercial NIPT

ในปัจจุบันได้มีการใช้ NIPT ในการ screening โดย commercial kit จากบริษัทที่มีในปัจจุบันได้แก่ NIFTY, NIPS, Harmony และ Panorama โดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันเล็กน้อยดังตาราง

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue_green.css]}

NIFTY NIPS Harmony Panorama
Chromosome coverage All All 13,18,21,X,Y 13,18,21,X,Y
Timing to Test GA10 wk (singleton) / GA12wk (Twin) GA10wk (both) GA10wk (both) GA9 wk
Available for twin Yes Yes(Monozygote) Yes No
Available for triplet Yes No No No
Surrogate mother Yes Yes Yes No
Insurance for false positive rate 1,000,000 baht 2,000,000baht No No
Resample 1-3% 1-3% 1-3% 5-12%
Time to report 10 days 8-12days 8-12days 10-14days

บทสรุป

  1. สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับคำแนะนำในการตรวจคัดกรองต่อความเสี่ยงในการมีลูกเป็นtrisomy
  2. มีการคัดกรองมีหลายรูปแบบ ควรเลือกตามความพร้อมของทรัพยากรและบุคคล
  3. NIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ได้รับการยอมรับว่ามี ความไวสูงสุดและผลบวกลวงน้อยที่สุด
  4. แม้ว่า NIPT จะเป็นวิธีการคัดกรองที่ได้ผลดีแต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้แทนการตรวจวินิจฉัยได้
  5. เนื่องจาก NIPT คือการตรวจหาปริมาณ cell free fetal DNA(cffDNA) ดังนั้นยิ่งอายุครรภ์มากก็จะตรวจพบได้ในปริมาณที่มากขึ้น ปกติแล้วจะแนะนำให้ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป
  6. นอกจากประโยชน์ในการตรวจคัดกรองเรื่อง fetal aneuploidy แล้ว NIPT ยังสามารถใช้ในการตรวจหา RhD blood group,Single gene disorder, fetal sex determination ได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. F.Gary Cunningham KJL, Steven L.Bloom,Catherine Y.Spong,Jodi S.Dashe,Barbara L. Hoffman,Brian M.Casey,Jeanne S. Sheffield. Williams obstetrics. 2014 ed. New York: McGraw-Hill Education; 2014.
  2. Committee Opinion No. 545: Noninvasive Prenatal Testing for Fetal Aneuploidy. Obstetrics & Gynecology. 2012;120(6):1532-4 10.097/01.AOG.0000423819.85283.f4.
  3. Salomon LJ, Alfirevic Z, Audibert F, Kagan KO, Paladini D, Yeo G, et al. ISUOG consensus statement on the impact of non-invasive prenatal testing (NIPT) on prenatal ultrasound practice. Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. 2014;44(1):122-3.
  4. Scientific Impact Paper No. 15: Non-invasive Prenatal Testing for Chromosomal Abnormality using Maternal Plasma DNA. The Obstetrician & Gynaecologist. 2014;16(2):148-.
  5. Chiu RWK, Chan KCA, Gao Y, Lau VYM, Zheng W, Leung TY, et al. Noninvasive prenatal diagnosis of fetal chromosomal aneuploidy by massively parallel genomic sequencing of DNA in maternal plasma. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 2008;105(51):20458-63. PubMed PMID: PMC2600580.
  6. Liao GJW, Chan KCA, Jiang P, Sun H, Leung TY, Chiu RWK, et al. Noninvasive Prenatal Diagnosis of Fetal Trisomy 21 by Allelic Ratio Analysis Using Targeted Massively Parallel Sequencing of Maternal Plasma DNA. PLoS ONE. 2012;7(5):e38154. PubMed PMID: PMC3362548.
  7. Zimmermann B, Hill M, Gemelos G, Demko Z, Banjevic M, Baner J, et al. Noninvasive prenatal aneuploidy testing of chromosomes 13, 18, 21, X, and Y, using targeted sequencing of polymorphic loci. Prenatal Diagnosis. 2012;32(13):1233-41.
  8. Lo YMD, Lun FMF, Chan KCA, Tsui NBY, Chong KC, Lau TK, et al. Digital PCR for the molecular detection of fetal chromosomal aneuploidy. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 2007;104(32):13116-21. PubMed PMID: PMC1934923.
  9. Fan HC, Quake SR. Detection of Aneuploidy with Digital Polymerase Chain Reaction. Analytical Chemistry. 2007 2007/10/01;79(19):7576-9.
  10. Sparks AB, Wang ET, Struble CA, Barrett W, Stokowski R, McBride C, et al. Selective analysis of cell-free DNA in maternal blood for evaluation of fetal trisomy. Prenatal Diagnosis. 2012;32(1):3-9.
Read More

Preterm Premature Rupture of Membranes

Preterm Premature Rupture of Membranes

นพ.สุชิน กันทาวงค์

Preterm PROM คือ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ ก่อนอายุครรภ์จะครบ 37สัปดาห์

Etiology

ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง อาจมีปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกันทำให้เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ เช่น การอ่อนแอของเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ มีแรงเฉือนจากการมีการหดรัดตัวของมดลูก เป็นต้น แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้

  1. การติดเชื้อในโพรงมดลูก
  2. มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน โดยเฉพาะการมีประวัติถุงน้ำคร่ำ แตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดในครรภ์ก่อนที่คลอดก่อนกำหนด
  3. มดลูกมีความตึงตัวมากกว่าปกติ เช่น ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
  4. ภาวะติดเชื้อโรคที่ช่องทางคลอด เช่น ติดเชื้อ หนองในที่คอมดลูก
  5. ผู้ป่วยเคยผ่าตัดทำ conization ของคอมดลูก
  6. สตรีตั้งครรภ์ที่เศรษฐานะต่ำ
  7. สตรีที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
  8. สตรีที่เคยได้รับการเย็บผูกคอมดลูกแบบฉุกเฉิน

นอกพบได้จากการเกิดตามหลังหัตถการเช่นการทำ cervical surgery, amniocentesis, chorionic villus sampling ซึ่งมักพบในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ โอกาสเป็นซ้ำในครรภ์ถัดไปพบได้ถึง 16 -32 % (1,2)

Clinical presentation and Diagnosis

การวินิจฉัยอาศัยจาก

  1. ประวัติ เช่น ให้ประวัติว่ามีน้ำใสๆ ไหลจากช่องคลอดเป็นปริมาณมาก ซึ่งต้องแยกจากสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะพบได้ เช่น ปัสสาวะไหล ตกขาวปริมาณมากเป็นต้น
  2. การตรวจร่างกาย โดยการใส่ dry sterilized speculum เข้าไปในช่องคลอด จะเห็นน้ำคร่ำขังอยู่ที่ posterior fornix หรือไหลออกมาจากปากมดลูกชัดเจน โดยเฉพาะเวลาให้ผู้ป่วยเบ่งหรือไอ (cough test)
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • 3.1 Fern test
    • เก็บตัวอย่างจาก posterior fornix ป้ายบน ลงบนแผ่น slide ทิ้งให้แห้ง นำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบผลึกรูป fern จากการที่น้ำคร่ำมี electrolyte โดยเฉพาะ NaCl
  • 3.2 Nitrazine paper test
    • เนื่องจากน้ำคร่ำมี pH อยู่ในช่วง 7.1 – 7.3 ขณะที่สารคัดหลั่งจากช่องคลอดมี pH อยู่ในช่วง 4.5 – 5.5 ดังนั้นเมื่อทดสอบด้วยกระดาษ nitrazine จะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน
  • 3.3 Nile blue test
    • เมื่อทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไปจะตรวจพบเซลล์จากต่อมไขมันของทารกได้ในน้ำคร่ำ เมื่อนำไปย้อมด้วย nile blue sulphate เซลล์เหล่านี้จะติดสีแสด
  • 3.4 Indigocarmine
    • ในกรณีที่ตรวจภายในแล้วไม่พบน้ำคร่ำในช่องคลอดแต่ยังมีข้อสงสัยว่าน้ำคร่ำอาจจะแตกจริง ทดสอบโดยการฉีดสี indigocarmine 1 cc ละลายใน NSS 9 cc ฉีดผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ แล้วให้สังเกตสีน้ำเงินของ indigocarmine ที่จะไหลผ่านเข้าไปในช่องคลอดหากมีถุงน้ำคร่ำแตกจริง

4.    Ultrasonography

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีประโยชน์ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีน้ำคร่ำน้อย ( oligohydramnios ) โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะของทารกและทารกไม่มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกจริง

Pregnancy complication

Chorioamnionitis : พบได้ประมาณ 13 – 60 % ใน preterm PROM (3-7) ซึ่ง Chorioamnionitis เอง อาจเป็นสาเหตุหรือเป็นผลลัพธ์จากการมีถุงน้ำคร่ำแตกก็ได้ มักเกิดในช่วงแรกๆที่มีน้ำเดิน โดย 1 ใน 2 ของผู้ป่วยจะเกิด Chorioamnionitis ในช่าง 7 วันแรกหลังน้ำเดินและหลังจาก 7 วันไปแล้วโอกาสการเกิดก็จะลดลง สามารถทำให้มารดาเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แต่พบได้น้อยหากมีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

Placental abruption : พบได้ 4 – 12 % พบได้บ่อยในรายที่อายุครรภ์น้อยๆ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด preterm PROM (8,9)

Cord prolapsed : พบได้น้อยในรายที่เป็น preterm PROM แต่ควรนึกถึงไว้เพราะหากเกิดแล้วมักมีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อทารกในครรภ์

Fetal death : อุบัติการณ์ค่อนข้างแตกต่างกันไปตามแต่ละรายงาน มีรายงานถึงความชุกพบว่าจะเกิดมากขึ้นหากอายุครรภ์น้อยๆ โดยที่อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์พบ 33% , อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์พบ 20% และหากอายุครรภ์มากกว่า 25 สัปดาห์ไม่พบว่ามีทารกเสียชีวิตในครรภ์ สาเหตุมักเกิดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด สายสะดือย้อย (cord prolapse) และการติดเชื้อในโพรงมดลูก (10)

Cesarean delivery : อัตราการผ่าตัดคลอดมักสูงขึ้น เนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายจากการพบอัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ การมี Chorioamnionitis และการที่มักพบว่าทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ

Postpartum endometritis : พบได้ 2-13 % (3,7) และพบได้มากถึง 40% ในกลุ่มที่เป็น midtrimester Preterm PROM แต่พบโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้น้อย

Neonatal complication

  • Neonatal death : อัตราการเสียชีวิตของทารกหลังคลอดจะพบสูงขึ้นเมื่ออายุครรภ์ยิ่งน้อย และมีน้ำคร่ำเหลือน้อยโดยเฉพาะ Deep vertical pocket ( DVP ) < 2 cm (11) มีการศึกษารายงานว่าอัตราการรอดชีวิตของทารกที่อายุครรภ์มากกว่า 25 สัปดาห์ ถึง 84 % ขณะที่อายุครรภ์ระหว่าง 19 – 22 สัปดาห์ อัตราการรอดชีวิตของทารกมีแค่ 50% (10 )
  • Morbidity related to preterm birth : พบภาวะแทรกซ้อนของทารกที่คลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว เช่น respiratory distress syndrome , interventricular hemorrhage , necrotizing enterocolitis , neonatal sepsis ,patent ductus arteriosus , retionopathy of prematurity , bronchopulmonary dysplasia
  • Morbidity related to infection : พบภาวะแทรกซ้อนของทารกที่ตามมาจากการติดเชื้อในโพรงมดลูกสูงขึ้น เช่น neonatal pneumonia , developmental delay
  • Pulmonary hypoplasia : มีรายงานความเสี่ยงการเกิด pulmonary hypoplasia ในกลุ่มที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 16 – 26 สัปดาห์ แตกต่างกันไปตั้งแต่ 1- 27 % (7,12) ซึ่งการเกิดจะสัมพันธ์กับการที่ปอดของทารกถูกกดเป็นเวลานานร่วมกับการมีน้ำคร่ำาน้อยทำให้ปอดขยายตัวไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามการเกิด pulmonary hypoplasia ที่รุนแรงในรายที่อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์นั้นพบได้น้อย เชื่อว่าเนื่องจากปอดของทารกได้พัฒนาการสร้าง alveoli ได้เพียงพอแล้ว(13,14 )
  • Musculoskeletal development : การพัฒนาการของรยางค์ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึง 3 การมีแรงดันในโพรงมดลูกที่ไม่สมดุลและการจำกัดการเลื่อนไหวของทารกจากการมีน้ำคร่ำน้อย สามารถทำให้เกิดการผิดรูปของรยางค์ที่เคยพัฒนามาปกติแต่เดิมได้ ความผิดปกติเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตก ข้อมูลจากหลายการศึกษาพบว่าการที่มีน้ำคร่ำเหลือน้อยมาก และระยะเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตกจนถึงเวลาคลอดที่ยาวนานจะสัมพันธ์กับความผิดปกติดังกล่าว(15,16,17,18)

อย่างไรก็ตามความผิดปกติส่วนใหญ่เหล่านี้มักค่อยๆ ดีขึ้นเองได้เมื่อทารกโตขึ้น ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

Management

Initial management

1. รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อวินิจฉัยได้

2. ทบทวนเรื่องอายุครรภ์ และประวัติการฝากครรภ์

3. ตรวจหน้าท้องคะเนขนาดทารก และตรวจหาส่วนนำ

4. ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์

Timing of delivery

การตัดสินใจว่าจะให้ผู้ป่วยคลอดเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุครรภ์และสุขภาพของทารกในครรภ์ หากพบว่ามีการติดเชื้อในโพรงมดลูก มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือพบว่าทารกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายโดยเฉพาะจากการถูกกดทับของสายสะดือ ควรให้คลอดโดยเร็วโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์

ในกรณีที่ไม่มีภาวะที่ต้องรีบคลอดดังกล่าว ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการคลอดจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ซึ่งในปี 2007 ACOG ได้ให้คำแนะนำดังนี้(19)

  • กลุ่มที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้ชักนำให้คลอดเลย โดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องการติดเชื้อแบคทีเรีย group B Streptococccus ด้วย
  • กลุ่มที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32 – 33 สัปดาห์ หากนำน้ำคร่ำที่ได้จากช่องคลอดหรือจากการทำ amniocenthesis ไปทดสอบความเจริญของปอดแล้วพบว่าปอดของทารกเจริญดีแล้ว ให้พิจารณาชักนำให้คลอด เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าทารกจะมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการคลอดก่อนกำหนดค่อนข้างน้อยหากตรวจพบว่าปอดเจริญดีแล้ว (20) นอกจากนี้อุบัติการณ์ของการเกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกพบน้อยกว่ากลุ่มที่รักษาแบบประคับประคอง
    แต่ถ้าหากไม่สามารถทดสอบความเจริญของปอดของทารกได้ หรือทดสอบแล้วพบว่าปอดทารกยังไม่เจริญดีพอควรให้รักษาแบบประคับประคอง( expectant management ) โดยควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อยืดอายุครรภ์ด้วยหากไม่มีข้อห้าม ส่วนการให้ยากลุ่ม corticosteroid ยังไม่มีข้อสรุปถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการให้ แต่ก็มีการแนะนำให้ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่าน
  • กลุ่มที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 24 – 31 สัปดาห์ ควรให้การรักษาแบบประคับประคอง( expectant management )เป็นหลัก โดยพยายามยืดอายุครรภ์ให้ถึง 33 สัปดาห์ หากไม่มีข้อบ่งชี้ให้รีบคลอด เนื่องจากหากคลอดเลยในช่วงอายุครรภ์ขณะนี้จะมีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนดของทารกค่อนข้างมาก ทั้งภาวะ respiratory distress syndrome , interventricular hemorrhage , necrotizing enterocolitis , neonatal sepsis หรือภาวะแทรกซ้อนระยะยาวอย่าง เช่น retionopathy of prematurity , bronchopulmonary dysplasia หรือ neurodevelopmental delay
  • กลุ่มที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ ถือว่าเป็นช่วงที่ทารกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถเลี้ยงให้รอดได้หากคลอด สามารถให้ทางเลือกได้ทั้งการยุติการตั้งครรภ์หรือการรักษาแบบประคับประคอง โดยให้ผู้ป่วยเลือกหลังจากที่ได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยอย่างดีแล้วถึงการพยากรณ์โรค ข้อดีข้อเสียจากวิธีการรักษาแต่ละวิธีดังกล่าว

จากการศึกษาแบบ systematic review พบว่าการรักษาแบบประคับประคองทารกมีอัตรารอดชีวิต 21 % (21) บางรายงานบอกว่าสามารถยืดอายุครรภ์ได้โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10.6 – 21.5 วัน (22) โดย 57% จะคลอดหลังจากที่มีถุงน้ำคร่ำแตกภายใน 1 สัปดาห์ และ 22% จะสามารถยืดอายุครรภ์ไปได้ถึง 1 เดือนหรือมากกว่านั้น อัตราทารกตายคลอดหลังน้ำเดินตอนอายุครรภ์ 16 – 18 สัปดาห์อยู่ที่ 3.8 – 22% (23,24,25) ซึ่งสัมพันธ์กับการขาดออกซิเจนของทารกจากการที่สายสะดือถูกกดและการติดเชื้อในโพรงมดลูกและถุงน้ำคร่ำ ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาที่มีการรายงานอย่างชัดเจนได้แก่ การติดเชื้อในโพรงมดลูกและถุงน้ำคร่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด รกค้างหลังคลอด และการตกเลือดหลังคลอด ส่วนภาวะที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดของมารดานั้นพบน้อยประมาณ 1 % (12) ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารกนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ การติดเชื้อ ระยะเวลาตั้งแต่น้ำเดินจนคลอด และภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ การมีน้ำคร่ำน้อยร่วมกับการที่ปอดถูกกดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะ pulmonary hypoplasia ซึ่งมีรายงานว่าพบได้ 1-27% ในรายที่อายุครรภ์อยู่ในช่วง 16 – 26 สัปดาห์(7,12) นอกจากนี้การที่มีน้ำคร่ำน้อยเป็นเวลานานยังสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของใบหน้า แขนขา และการอยู่ในท่าที่ผิดปกติของทารก

Table 1.  Management of Premature Rupture of Membranes Chronologically Gestational Age Management

Term (37 weeks or more)

  • Proceed to delivery, usually by induction of labor
  • Group B streptococcal prophylaxis recommended

Near term (34 weeks to 36 completed term weeks)

• Same as for termweeks)

Preterm (32 weeks to 33 completed weeks)

  • Expectant management, unless fetal pulmonary maturity is documented
  • Group B streptococcal prophylaxis recommended
  • Corticosteroid—no consensus, but some experts recommend
  • Antibiotics recommended to prolong latency if there are no contraindications

Preterm (24 weeks to 31 completed weeks)

  • Expectant management
  • Group B streptococcal prophylaxis recommended
  • Single-course corticosteroid use recommended
  • Tocolytics—no consensus
  • Antibiotics recommended to prolong latency if there are no contraindications

Less than 24 weeks*

  • Patient counseling
  • Expectant management or induction of labor
  • Group B streptococcal prophylaxis is not recommended
  • Corticosteroids are not recommended
  • Antibiotics—there are incomplete data on use in prolonging latency

*The combination of birthweight, gestational age, and sex provide the best estimate of chances of survival and should be considered in individual cases

Expectant management

ผู้ป่วยที่มีแผนการรักษาแบบประคับประคอง( expectant management ) ควรได้รับการดูแลดังต่อไปนี้

  1. รับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
  2. ให้นอนพักบนเตียงเพื่อลดการไหลของน้ำคร่ำ ซึ่งในบางรายน้ำคร่ำอาจหยุดไหลได้เอง
  3. เก็บตัวอย่างน้ำคร่ำจากช่องคลอดไปเพาะเชื้อ และตรวจหาเชื้อClamydia trachomatis และ Neisseria gonorrhea
  4. งดการการตรวจภายในโดยใช้นิ้วมือ ให้ใช้ sterilized speculum แทนเมื่อสงสัยว่าจะมีการเปิดของปากมดลูกมากขึ้น
  5. เผ้าระวังและตรวจหาหลักฐานของการติดเชื้อในโพรงมดลูก จากประวัติและการตรวจร่างกายที่สงสัยภาวะ chorioamnionitis เช่น พบว่ามารดามีไข้ อุณหภูมิกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีการกดเจ็บที่มดลูก มีอัตราการเต้นของหัวใจของมารดาหรือทารกที่เร็วผิดปกติ เป็นต้น (4,26)
    ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น ERS , CRP , CBC with platelet เป็นระยะๆ
  6. การตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ ได้แก่การตรวจคลื่นหัวใจทารก ( fetal heart rate monitoring )เพื่อเฝ้าระวังภาวะทารกเสี่ยงอันตราย ( fetal distress) และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( ultrasonography ) เพื่อติดตามดูปริมาณน้ำคร่ำ โดยพบว่าการมีน้ำคร่ำปริมาณน้อย ( AFI < 5 cm หรือ DVP < 2 cm) มักสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนในทารก เช่น respiratory distress syndrome แต่ไม่ได้สัมพันธ์กับการติดเชื้อในมารดาและทารก(27) อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปว่าต้องตรวจถี่แค่ไหนจึงจะเหมาะสม
    มีการพูดถึงเรื่องการวัดความยาวของปากมดลูกเพื่อใช้ทำนายโอกาสความยาวนานในการยืดอายุครรภ์ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าความยาวของปากมดลูกที่สั้นหลังน้ำเดินจะทำให้เวลาที่ยืดอายุครรภ์ได้สั้นลงตาม อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาล่าสุดยังไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอเนื่องจากยังมีจำนวนประชากรในการศึกษาน้อยเกินไป(28-30)
  7. ให้ยากลุ่ม corticosteroid เพื่อกระตุ้นการเจริญของปอด
  8. ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อยืดอายุครรภ์
  9. พิจารณาให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดเพื่อยืดอายุครรภ์

Antenatal corticosteroid

  • มีการศึกษาแบบ meta-anlysis หลายๆการศึกษาที่มีข้อสรุปตรงกันว่าการให้ยา corticosteroid แก่ผู้ป่วยที่มีถุงน้ำคร่ำแตกตอนอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ในรายที่ไม่มีหลักฐานว่ามีการติดเชื้อในโพรงมดลูกมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเกิด respiratory distress syndrome , intraventricular hemorrhage , necrotizing enterocolitis โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อในมารดาและทารก(31-34) โดยที่ National Institutes of Health Consensus Development Panel ได้แนะนำว่าควรให้ยา corticosteroid 1 couses แก่ผู้ป่วยที่มีถุงน้ำคร่ำแตกตอนอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ (35,36)
  • ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีถุงน้ำคร่ำแตกในช่วงอายุครรภ์ 32 – 33 สัปดาห์ ประโยชน์ที่จะได้จากการกระตุ้นการเจริญของปอด และความเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อของมารดาและทารกยังไม่ชัดเจน จึงยังไม่มีข้อสรุปว่าควรจะให้หรือไม่(37)
  • ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีถุงน้ำคร่ำแตกในช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ มีข้อมูลน้อยมากที่สนับสนุนถึงประโยชน์ของการให้ยา corticosteroid เนื่องจากปอดทารกมีการพัฒนาอยู่ในระดับของ primitive alveoloi อยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่แนะนำที่จะให้ยา corticosteroid ในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Antibiotic administration

  • มีการศึกษาแบบ randomized control trail หลายการศึกษาที่ให้ข้อสรุปตรงกันว่า การให้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วยจะสามารถช่วยยืดอายุครรภ์และป้องกันการติดเชื้อจากช่องคลอดขึ้นไปยังโพรงมดลูกได้(38,39)
  • The National Institutes of Child Health and Human Development Maternal Fetal Medicine Research Units (NICHD-MFMU) ได้ศึกษาและแนะนำให้ใช้ยา Ampicillin ร่วมกับ Erythromycin ในรูปแบบของยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ยา amoxicillin และ Erythromycinในรูปแบบของการรับประทานต่ออีก 5 วัน ในกลุ่มที่อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24 –32 สัปดาห์ ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุครรภ์ ลดการเกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูก และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกับทารก เช่น fetal dead, respiratory distress syndrome , interventricular hemorrhage , necrotizing enterocolitis ได้(26)
  • สำหรับยา Amoxicillin – clavulanic acid มีหลายการศึกษาพบว่าสัมพันธ์กับการเกิด necrotizing enterocolitis เพิ่มขึ้นได้ จึงไม่แนะนำให้ไช้(39)
  • มีหลายการศึกษาที่พยายามลดระยะเวลาของการใช้ยาปฏิชีวนะลง แต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าวเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน(40,41)
  • สรุปจากข้อมูลที่มีอยู่ แนะนำให้ใช้ยา Ampicillin ร่วมกับ Erythromycin ในรูปแบบยาฉีดแล้วเปลี่ยนเป็นยารูปแบบรับประทานรวมนาน 7 วัน
  • สำหรับในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ ยังไม่มีการศีกษาแบบ randomized control trail ว่าควรให้ยาปฏิชีวนะแบบไหน จึงยังไม่มีข้อสรุป แต่ในทางปฏิบัติแล้วส่วนใหญ่จะให้ยาตามผลการวิจัยผู้ป่วยกลุ่มที่อายุอายุครรภ์มากกว่า(21,43,44) ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มมีความเห็นว่าไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่อายุครรภ์น้อยกว่า 23 สัปดาห์ เพราะการยืดอายุครรภ์เพิ่มขึ้นได้อีก 1 สัปดาห์ไม่ได้มีประโยชน์ในการเพิ่มพัฒนาการของทารกโดยรวมและลดภาวะแทรกซ้อนของทารกได้อย่างชัดเจน(37)
  • ในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ group B streptococcus หรือเคยตรวจพบว่ามีการติดเชื้ออยู่แล้ว และกำลังจะคลอด ควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ group B streptococcus แม้ว่าจะเคยได้รับการรักษามาก่อนก็ตาม

Tocolytics

  • ในผู้ป่วยรายที่ยังไม่มีการเจ็บครรภ์ การให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์เพื่อจะยืดอายุครรภ์นั้นจะได้ผลแค่ช่วงสั้นๆ มีการศึกษาแบบ retrospective เปรียบเทียบผลการให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์ในผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้แบบ prophylaxsis อย่างเต็มที่ ( ได้ยา 84% ของจำนวนวันก่อนคลอด) กับกลุ่มที่ให้ยาเฉพาะเมื่อการหดรัดตัวของมดลูก นานแค่ 48 ชัวโมงแรก ( ได้ยา 7% ของจำนวนวันก่อนคลอด) พบว่าช่วยยืดอายุครรภ์ได้ไม่ต่างกัน ( 3.8 ต่อ 4.5 วัน , P = 0.16 ) (45)
  • สำหรับประโยชน์ของการให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์ เพื่อรอเวลาให้ได้ยา corticosteroid และยาปฏิชีวนะครบนั้นยังอยู่ระหว่างการศึกษาเก็บข้อมูลอยู่ ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องการให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์

Repair of leakage

  • มี case report รายงานเรื่องการใช้สารที่ tissue sealant เข้าไปอุดรูรั่วที่ถุงน้ำคร่ำ เช่น fibrin glue, gelatin sponge หรือ aminopatch แต่ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะรับรองถึงประสิทธิภาพหรือผลเสียจากการใช้สารต่างๆ เหล่านี้(46)
  • ยิ่งไปกว่านั้นการเกิด thrombin ยังอาจกระตุ้นเอนไซม์กลุ่ม metrix-metalloproteinase กระตุ้นการสร้างสาร cytokines ต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวรุนแรงมากขึ้นได้(48,49,50)
  • ส่วนการฉีด platelet และ cryoprecipitate เข้าไปในถุงน้ำคร่ำ(aminopatch) หลังการเกิด iatrogenic rupture of menbrane ก็มีรายงานถึงความสัมพันธ์กับการเกิด unexplained fetal dead ได้ (51,52)

Resealing and reaccumulation of fluid

  • พบว่า 14% ของผู้ป่วยที่มีน้ำเดินจะมีการหยุดไหลของน้ำคร่ำเองได้ จากการปิดรูรั่วที่ fetal membrane อย่างไรก็ตามบางท่านมีความเชื่อว่าที่น้ำคร่ำหยุดไหลไม่ได้เกิดจากกการเชื่อมกันของ membrane จริงๆ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ decidual และที่กล้ามเนื้อมดลูกแล้วทำให้น้ำคร่ำหยุดไหลมากกว่า(3,46,54,55)
  • ในรายที่เป็น iatrogenic preterm rupture of membrane ที่รอยรั่วปิดได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มักจะมี pregnancy outcome ที่ดี

Preterm PROM and a cervical cerclage

ในผู้ป่วยที่ทำ cervical cerclage แล้วมีน้ำเดินเกิดในช่วงก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดคลอด ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาแบบ prospective แต่ข้อมูลเดิมจากการศึกษาแบบ retrospective บอกว่าการตัด cerclage ออกหลังจากน้ำเดิน ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ทำ cervical cerclage (56,57) ส่วนการทิ้ง cerclage ไว้จะเพิ่มความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อในมารดามากกว่า(58-60) เนื่องข้อมูลยังไม่เพียงพอจึงยังไม่มีข้อสรุปว่าการไม่ตัด cerclage จะช่วยให้ neonatal outcome ดีขึ้นหรือไม่ และการไม่ตัด cerclage จนกว่าจะได้ยับยา corticosteroid เพื่อกระตุ้นการเจริญของปอดจนครบจะมีประโยชน์จริงหรือไม่

Preterm PROM and herpes simplex virus infection

การติดเชื้อของทารกแรกคลอดจะสัมพันธ์กับการได้รับเชื้อจากมารดาในระหว่างการคลอด ในมารดาที่มีการติดเชื้อแบบ primary infection ทารกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 34 – 80% ในขณะที่หากามารดารมีติดเชื้อแบบ secondary infection ทารกมีโอกาสติดเชื้อได้เพียง 1 – 5 % (61,62) จากข้อมูลเดิมในปี 1971 ที่พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อที่บริเวณช่องคลอด หากน้ำเดินนานมากกว่า 4 -6 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารก(63,64) อย่างไรก็ตามมี case series ล่าสุดรายงานว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีแผลจากการติดเชื้อในช่องคลอด อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ และมีปัญหาเรื่องน้ำเดิน 29 ราย ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง พบว่าไม่มีการติดเชื้อในทารกเลย(65) โดยที่ระยะเวลาตั้งแต่น้ำเดินจนกระทั่งคลอดอยู่ในช่วง 1- 35 วัน และรายที่จำเป็นต้องคลอดในขณะที่ยังมีแผลที่ช่องคลอดอยู่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ดั้งนั้นควรจะต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียของการรักษาแบบประคับประคองในผู้ป่วยเหล่านี้ และที่สำคัญควรให้ยาต้านไวรัส Acyclovir เพื่อป้องกันการติดเชื้อแก่ผู้ป่วยด้วยด้วย

Preterm PROM and HIV virus infection

มี case series ในปี ค.ศ. 2009 รายงานว่าพบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชี้อไวรัส เอช ไอ วี ที่มีปัญหาถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ที่อายุครรภ์อยู่ในช่วง 25 – 32 สัปดาห์จำนวน 7 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 291 คน พบว่ามีการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกเกิดขึ้นในผู้ป่วย 2 ราย โดยที่รายแรกแม่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสเลยทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และขณะเจ็บครรภ์คลอด ส่วนรายที่ 2 ได้รับการรักษาแบบ AZT monotherpy ในระหว่างการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว พบว่าในกลุ่มที่ได้รับยาต้านไวรัสแบบ multidrug regimen หรือ HAART regimen และในรายที่ viral load < 1000 copies/ml ไม่พบการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกเลย(66) มีการรายงานว่าผู้ป่วยที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์แล้วมีถุงน้ำคร่ำแตกนาน ( prolonged preterm PROM) มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกเกิดสูงกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตั้งครรภ์ครบกำหนด(67) แต่ก็มีบางการศึกษาที่รายงานว่าหากผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสแล้วและ viral load < 1000 copies/ml การที่มีน้ำเดินมากกว่า 4 ชั่วโมงไม่ได้เพิ่มอัตราการการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกมากขึ้น(68)

เอกสารอ้างอิง

  1. Asrat T, Lewis DF, Garite TJ, et al. Rate of recurrence of preterm premature rupture of membranes in consecutive pregnancies. Am J Obstet Gynecol 1991; 165:1111.
  2.  Lee T, Carpenter MW, Heber WW, Silver HM. Preterm premature rupture of membranes: risks of recurrent complications in the next pregnancy among a population-based sample of gravid women. Am J Obstet Gynecol 2003; 188:209.
  3. Mercer BM. Management of premature rupture of membranes before 26 weeks’ gestation. Obstet Gynecol Clin North Am 1992;19:339–51. (Level III)
  4. Beydoun SN, Yasin SY. Premature rupture of the membranes before 28 weeks: conservative management. Am J Obstet Gynecol 1986;155:471–9. (Level II-3)
  5. Garite TJ, Freeman RK. Chorioamnionitis in the preterm gestation. Obstet Gynecol 1982;59:539–45. (Level II-3)
  6. Simpson GF, Harbert GM Jr. Use of beta-methasone in management of preterm gestation with premature rupture of membranes. Obstet Gynecol 1985;66:168–75. (Level II-2)
  7. Vergani P, Ghidini A, Locatelli A, Cavallone M, Ciarla I, Cappellini A. Risk factors for pulmonary hypoplasia in second-trimester premature rupture of membranes. Am J Obstet Gynecol 1994;170:1359–64. (Level II-3)
  8. Gonen R, Hannah ME, Milligan JE. Does prolonged preterm premature rupture of the membranes predispose to abruptio placentae? Obstet Gynecol 1989;74:347–50. (Level II-2)
  9. Mercer BM, Arheart KL. Antimicrobial therapy in expectant management of preterm premature rupture of the membranes [published erratum appears in Lancet 1996;347:410]. Lancet 1995;346:1271–9. (Meta-analysis)
  10. Major CA, Kitzmiller JL. Perinatal survival with expectant management of midtrimester rupture of membranes. Am J Obstet Gynecol 1990; 163:838.
  11. Hadi HA, Hodson CA, Strickland D. Premature rupture of the membranes between 20 and 25 weeks’ gestation: role of amniotic fluid volume in perinatal outcome. Am J Obstet Gynecol 1994; 170:1139.
  12. Moretti M, Sibai BM. Maternal and perinatal outcome of expectant management of premature rupture of the membranes in the midtrimester. Am J Obstet Gynecol 1988; 159:390–6. (Level II-3)
  13. Winn HN, Chen M, Amon E, Leet TL, Shumway JB, Mostello D. Neonatal pulmonary hypoplasia and perinatal mortality in patients with midtrimester rupture of amniotic membranes—a critical analysis. Am J Obstet Gynecol 2000;182:1638–44. (Level II-2)
  14. Shumway J, Al-Malt A, Amon E, Cohlan B, Amini S, Abboud M, et al. Impact of oligohydramnios on maternal and perinatal outcomes of spontaneous premature rupture of the membranes at 18–28 weeks. J Matern Fetal Med 1999;8:20–3. (Level II-2)
  15. Nimrod C, Varela-Gittings F, Machin G, et al. The effect of very prolonged membrane rupture on fetal development. Am J Obstet Gynecol 1984; 148:540.
  16. Bloott M, Greenough A. Neonatal outcome after prolonged rupture of membranes starting in the second trimester. Arch Dis Child 1988; 63: 11436.
  17. Rotschid A, Ling EW, Puterman ML, Farquharson D. Neonatatal outcome after pronlonged preterm rupture of the membranes. Am J Obstet Gynecol 1990; 162:46.
  18. Kilbride HW, Yesast J, Thibeault DW. Defining limits of survival: lethal pulmonary hypoplasia after midtrimester premature rupture of membranes. Am J Obstet Gynecol 1996; 175:675.
  19. Premature rupture of membranes. ACOG Practice Bulletin No. 80.American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2007;109:1007–19.
  20. Mercer BM, Crocker LG, Boe NM, Sibai BM. Induction versus expectant management in premature rupture of the membranes with mature amniotic fluid at 32 to 36 weeks: a randomized trial. Am J Obstet Gynecol 1993;169:775–82. (Level I)
  21. Dewan H, Morris JM. A systematic review of pregnancy outcome following preterm premature rupture of membranes at a previable gestational age. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2001;41:389–94. (Meta-analysis)
  22. Schucker JL, Mercer BM. Midtrimester premature rupture of the membranes. Semin Perinatol 1996;20:389–400. (Level III)
  23. Taylor J, Garite TJ. Premature rupture of membranes before fetal viability. Obstet Gynecol 1984;64:615–20. (Level II-3)
  24. Minkoff H, Grunebaum AN, Schwarz RH, Feldman J, Cummings M, Crombleholme W, et al. Risk factors for prematurity and premature rupture of membranes: a prospective study of the vaginal flora in pregnancy. Am J Obstet Gynecol 1984;150:965–72. (Level II-2)
  25. Bengtson JM, VanMarter LJ, Barss VA, Greene MF, Tuomala RE, Epstein MF. Pregnancy outcome after premature rupture of the membranes at or before 26 weeks’ gestation. Obstet Gynecol 1989;73:921–7. (Level II-3)
  26. Mercer BM, Miodovnik M, Thurnau GR, Goldenberg RL, Das AF, Ramsey RD, et al. Antibiotic therapy for reduction of infant morbidity after preterm premature rupture of the membranes. A randomized controlled trial. National Institute of Child Health and Human Development Maternal–Fetal Medicine Units Network. JAMA 1997; 278:989–95. (Level I)
  27. Mercer BM, Rabello YA, Thurnau GR, Miodovnik M, Goldenberg RL, Das AF, et al. The NICHD-MFMU antibiotic treatment of preterm PROM study: impact of initial amniotic fluid volume on pregnancy outcome. NICHD-MFMU Network. Am J Obstet Gynecol 2006; 194:438–45. (Level II-2)
  28. Tsoi E, Fuchs I, Henrich W, Dudenhausen JW, Nicolaides KH. Sonographic measurement of cervical length in preterm prelabor amniorrhexis. Ultrasound Obstet Gynecol 2004;24:550–3. (Level II-3)
  29. Rizzo G, Capponi A, Angelini E, Vlachopoulou A, Grassi C, Romanini C. The value of transvaginal ultrasonographic examination of the uterine cervix in predicting preterm delivery in patients with preterm premature rupture of membranes. Ultrasound Obstet Gynecol 1998;11:23–9. (Level II-2)
  30. Carlan SJ, Richmond LB, O’Brien WF. Randomized trial of endovaginal ultrasound in preterm premature rupture of membranes. Obstet Gynecol 1997;89:458–61. (Level I)
  31. Ohlsson A. Treatments of preterm premature rupture of the membranes: a meta-analysis. Am J Obstet Gynecol 1989;160:890–906. (Meta-analysis)
  32.  Crowley PA. Antenatal corticosteroid therapy: a metaanalysis of the randomized trials, 1972 to 1994. Am J Obstet Gynecol 1995;173:322–35. (Meta-analysis)
  33. Lovett SM, Weiss JD, Diogo MJ, Williams PT, Garite TJ. A prospective, double-blind, randomized, controlled clinical trial of ampicillin-sulbactam for preterm premature rupture of membranes in women receiving antenatal corticosteroid therapy. Am J Obstet Gynecol 1997;176: 1030–8. (Level I)
  34. Roberts D, Dalziel S. Antenatal corticosteroids for accelerating fetal lung maturation for women at risk of preterm birth. Cochrane Database of Systematic Reviews 2006,Issue 3. Art. No.: CD004454. DOI: 10.1002/14651858. CD004454.pub2. (Meta-analysis) 1999;89:865–70. (Level I)
  35.  Antenatal corticosteroids revisited: repeat courses— National Institutes of Health Consensus Development Conference Statement, August 17–18, 2000. National Institutes of Health Consensus Development Panel. Obstet Gynecol 2001;98:144–50. (Level III)
  36. Antenatal corticosteroid therapy for fetal maturation. ACOG Committee Opinion No. 273. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2002; 99:871–3. (Level III)
  37. Thomas Mc E. Midtrimester preterm premature rupture of membranes. Up To Date 2011.
  38. Egarter C, Leitich H, Karas H, Wieser F, Husslein P, Kaider A, et al. Antibiotic treatment in premature rupture of membranes and neonatal morbidity: a metaanalysis. Am J Obstet Gynecol 1996;174:589–97. (Meta-analysis)
  39. Kenyon S, Boulvain M, Neilson J. Antibiotics for preterm rupture of membranes. Cochrane Database of Systematic Reviews 2003, Issue 2. Art No.: CD001058. DOI: 10. 1002/14651858.CD001058. (Meta-analysis)
  40. Lewis DF, Adair CD, Robichaux AG, Jaekle RK, Moore JA, Evans AT, et al. Antibiotic therapy in preterm premature rupture of membranes: are seven days necessary? A preliminary, randomized clinical trial. Am J Obstet Gynecol 2003;188:1413–6; discussion 1416–7. (Level I)
  41. Segel SY, Miles AM, Clothier B, Parry S, Macones GA. Duration of antibiotic therapy after preterm premature rupture of fetal membranes. Am J Obstet Gynecol 2003;189:799–802. (Level I)
  42. Morales WJ, Talley T. Premature rupture of menbranes at < 25 weeks : a management dilemma. Am J Obstet Gynecol 1993; 168: 503
  43. Grisaru-Granovsky S, Ethan R, Kaplan M, Samueloff A. Expectant management of midtrimester premature rupture of membranes: a plea for limits. J Perinatol 2003; 23: 235.
  44. Xiao ZH, André P, Lacaze-Masmonteil T, et al. Outcome of premature infants delivered after prolonged premature rupture of membranes before 25 weeks of gestation. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2000; 90:67.
  45. Wolfensberger A, Zimmermann R, von Mandach U. Neonatal mortality and morbidity after aggressive longterm tocolysis for preterm premature rupture of the membranes. Fetal Diagn Ther 2006;21:366–73. (Level II-2)
  46. Devlieger R, Millar LK, Bryant-Greenwood G, et al. Fetal membrane healing after spontaneous and iatrogenic membrane rupture: a review of current evidence. Am J Obstet Gynecol 2006; 195:1512.
  47. Lockwood CJ, Toti P, Arcuri F, et al. Machanisms of abruption-induced premature rupture of the fetal membranes: thrombrin-enhanced interleukin-8 expression in term decidual. Am J Pathol 2005 : 167 : 1443.
  48. Mackenziee AP, Schatz F, Krikun G, et al. Machanisms of abruption- induced premature rupture of the fetal membrane: Thrombin enhanced decidual matrix metalloproteinase-3 ( stromysin-1 ) expression. Am J Obstet Gynecol 2004; 191: 1996
  49. Stephenson CD, Lockwood CJ, Ma Y, Guller S. Thrombin-dependent regulation of metrix metalloproteinase (MMP ) -9 level in human fetal menbranes. J Matern Fetal Neonatal Med 2005; 18:7.
  50. Young BK, Roqué H, Abdelhak YE, et al. Minimally invasive endoscopy in the treatment of preterm premature rupture of membranes by application of fibrin sealant. J Perinat Med 2000; 28:326.
  51. Quintero RA. New horizons in the treatment of preterm premature rupture of membranes. Clin Perinatol 2001; 28:861.
  52.  Cobo T, Borrell A, Fortuny A, et al. Treatment with amniopatch of premature rupture of
  53. membranes after first-trimester chorionic villus sampling. Prenat Diagn 2007; 253. Beydoun SN, Yasin SY. Premature rupture of the membranes before 28 weeks: conservative management. Am J Obstet Gynecol 1986; 155:471.
  54. Fortunato SJ, Welt SI, Eggleston MK Jr, Bryant EC. Active expectant management in very early gestations complicated by premature rupture of the fetal membranes. J Reprod Med 1994; 39:13.24:611.
  55. Shenker L, Reed KL, Anderson CF, Borjon NA.Significance of oligohydramnios complicating pregnancy.Am J Obstet Gynecol 1991; 164:1597.7:1024.
  56. Blickstein I, Katz Z, Lancet M, Molgilner BM. The outcome of pregnancies complicated by preterm rupture of the membranes with and without cerclage. Int J Gynaecol Obstet 1989;28:237–42. (Level II-3)
  57. Yeast JD, Garite TR. The role of cervical cerclage in the management of preterm premature rupture of the membranes. Am J Obstet Gynecol 1988;158:106–10. (Level II-3)
  58. Ludmir J, Bader T, Chen L, Lindenbaum C,Wong G. Poor perinatal outcome associated with retained cerclage in patients with premature rupture of membranes. Obstet Gynecol 1994;84:823–6. (Level II-3)
  59. Jenkins TM, Berghella V, Shlossman PA, McIntyre CJ, Maas BD, Pollock MA, et al. Timing of cerclage removal after preterm premature rupture of membranes: maternal and neonatal outcomes. Am J Obstet Gynecol 2000;183: 847–52. (Level II-3)
  60. McElrath TF, Norwitz ER, Lieberman ES, Heffner LJ. Perinatal outcome after preterm premature rupture of membranes with in situ cervical cerclage. Am J Obstet Gynecol 2002;187:1147–52. (Level II-3)
  61. Chuang T. Neonatal herpes: incidence, prevention, and consequences. Am J Prev Med 1988;4:47–53. (Level III)
  62. Amstey MS. Management of pregnancy complicated by genital herpes virus infection. Obstet Gynecol 1971;37: 515–20. (Level II-3)
  63. Nahmias AJ, Josey WE, Naib ZM, Freeman MG, Fernandez RJ, Wheeler JH. Perinatal risk associated with maternal genital herpes simplex virus infection. Am J Obstet Gynecol 1971;110:825–37. (Level II-3)
  64. Gibbs RS, Amstey MS, Lezotte DC. Role of cesarean delivery in preventing neonatal herpes virus infection. JAMA 1993;270:94–5. (Level III)
  65. Major CA, Towers CV, Lewis DF, Garite TJ. Expectant management of preterm premature rupture of membranes complicated by active recurrent genital herpes. Am J Obstet Gynecol 2003;188:1551–4; discussion 1554–5. (Level II-3)
  66. Kjersti MA, Monique QL, Virging L, Alan B Patrick SR. Preterm premature rupture of menbranes in HIV- infected woman: A novel casr series. Infect Disea in Ostet Gynocol 2006; 53234 : 1-7.
  67. Kuhn L, Steketee RW, Weedon J, et al. Distinct risk factors for intrauterine and intrapartum human immunodeficiency virus transmission and consequences for disease progression in infected children. The Journal of Infectious Diseases. 1999;179(1):52–58.
  68. Cotter A, Duthely ML, Gonzalez-Quintero V, Sullivan MJO. Duration of membrane rupture and vertical transmission of HIV: Does the four hour rule still apply? American Journal of Obstetrics and Gynecology. 2004;191(6 suppl 1):S56.
Read More