TH / EN 

เราค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์และสร้างนักวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ
นักศึกษาของเราได้รับการบ่มเพาะประสบการณ์การทำงานวิจัยที่เข้มข้น
ห้องปฏิบัติการ อ.ดร. ขวัญจิต ทำการแยกเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ดินในจังหวัดสงขลา
ห้องปฏิบัติการ รศ.ดร.สิริดา ย้อมแอนตีเมลานิน เชื้อ Curvularia sp.
ห้องปฏิบัติการ อ.ดร. สมสกุล พัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas
เชื้อไวรัสเฟจ phiST-W77 ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลล่า - ห้องปฏิบัติการ ผศ.ดร.นพ. ปารเมศ
Previous
Next

สารจากหัวหน้าภาค

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสอนและการวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 พันธกิจที่สำคัญของภาควิชาคือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างผลงานวิจัยด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกันที่มีคุณภาพในระดับสากล ทั้งนี้ภาควิชาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ในด้านงานวิจัย ภาควิชาได้ส่งเสริมให้คณาจารย์ทำงานวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ที่เกี่ยวข้องการก่อโรคของเชื้อจุลชีพ การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในโรคติดเชื้อและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มวิจัยที่ดำเนินการในภาควิชาแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของเชื้อก่อโรค กลุ่มที่ศึกษาพยาธิกำเนิดของโรคติดเชื้อ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์และเชื้อจุลชีพ กลุ่มพัฒนาชุดตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคติดเชื้อ กลุ่มการประยุกต์ทางจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และกลุ่มเทคโนโลยีโอมิกส์กับจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา โปรดเยี่ยมชมเว็ปไซต์ของภาควิชาเพื่อท่านจะรู้จักภาควิชาจุลชีววิทยาของเรามากยิ่งขึ้น

การศึกษาบัณฑิตศึกษา

ภาควิชาจุลชีววิทยาเน้นการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับจุลชีพก่อโรคในมนุษย์ ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา รวมทั้งภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อ และโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ที่เป็นปัญหาของประเทศไทยตลอดจนภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หลักสูตรปริญญาโทและเอก ของภาควิชาฯ มีการเรียนการสอนที่เข้มข้น ควบคู่ไปกับการฝึกฝนการทำวิจัยที่ใช้เทคนิควิจัยทางจุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน เซลล์วิทยา อณูชีววิทยา ระบาดวิทยา และเทคโนโลยีโอมิกส์ นักศึกษาจะมีโอกาสที่มากขึ้นที่จะเลือกทำงานวิจัยที่เหมาะกับความสนใจและเป้าหมายของตนเอง จากงานวิจัยที่หลากหลายของคณาจารย์ภายในภาควิลาฯ ดูเพิ่มเติม

ผลงานวิจัยเด่น

Dr. Wongpalee explains his most recent research, which involves engineering CRISPR-Cas12a for specific and rapid detection of pathogenic bacteria, Streptococcus suis. His project is funded by the Murata Science Foundation.

ดร.สมสกุล วงศ์ปาร์ลี

แสดงความยินดี

ภาควิชาจุลชีววิทยาขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.สิริดา ยังฉิม ที่ได้รับการอนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ และขอแสดงความยินดีกับ อ.ดร.พัชรินทร์ ธรรมสิทธิ์ ที่ได้รับการอนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566

ภาควิชาจุลชีววิทยา ขอแสดงความยินดี กับ นางสาวอริชาภัสร์ ตันติภัทรทรัพย์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ในโอกาสได้รับรางวัลนำเสนอโปสเตอร์งานวิจัย ยอดเยี่ยมอันดับ 3 งานประชุมวิชาการของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 ประจำปี พ.ศ. 2566 (TSB 2023) ภายใต้หัวข้อ “The 35 Annual Meeting of the Thai Society of Biotechnology and International Conference (TSB 2023)” ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ (Greenery resort Khao Yai) จังหวัดนครราชสีมา

ข่าวสาร/กิจกรรม

ภาควิชาจุลชีววิทยา ให้การต้อนรับนักศึกษาจาก Biomedical Laboratory Science, UCL University College, Denmark เข้าศึกษาดูงาน ภายในภาควิชาฯ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 โดยมี รศ.ดร.นพ.ปารเมศ เทียนนิมิตร และ รศ.ดร.ภัทรา คำรินทร์ ให้การต้อนรับและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระหว่างการศึกษาดูงาน

ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา และคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จาก ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พ.ค. 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมภาควิชาจุลชีววิทยา ชั้น 7 อาคารเรียนและปฏิบัติการ 50 ปี 

งานวิจัย

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.