TH / EN 

เราค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์และสร้างนักวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ
นักศึกษาของเราได้รับการบ่มเพาะประสบการณ์การทำงานวิจัยที่เข้มข้น
ห้องปฏิบัติการ อ.ดร. ขวัญจิต ทำการแยกเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ดินในจังหวัดสงขลา
ห้องปฏิบัติการ รศ.ดร.สิริดา ย้อมแอนตีเมลานิน เชื้อ Curvularia sp.
ห้องปฏิบัติการ อ.ดร. สมสกุล พัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas
เชื้อไวรัสเฟจ phiST-W77 ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลล่า - ห้องปฏิบัติการ ผศ.ดร.นพ. ปารเมศ
Previous
Next

สารจากหัวหน้าภาค

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสอนและการวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 พันธกิจที่สำคัญของภาควิชาคือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างผลงานวิจัยด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกันที่มีคุณภาพในระดับสากล ทั้งนี้ภาควิชาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ในด้านงานวิจัย ภาควิชาได้ส่งเสริมให้คณาจารย์ทำงานวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ที่เกี่ยวข้องการก่อโรคของเชื้อจุลชีพ การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในโรคติดเชื้อและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มวิจัยที่ดำเนินการในภาควิชาแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของเชื้อก่อโรค กลุ่มที่ศึกษาพยาธิกำเนิดของโรคติดเชื้อ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์และเชื้อจุลชีพ กลุ่มพัฒนาชุดตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคติดเชื้อ กลุ่มการประยุกต์ทางจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และกลุ่มเทคโนโลยีโอมิกส์กับจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา โปรดเยี่ยมชมเว็ปไซต์ของภาควิชาเพื่อท่านจะรู้จักภาควิชาจุลชีววิทยาของเรามากยิ่งขึ้น

Research Highligh

Dr. Wongpalee explains his most recent research, which involves engineering CRISPR-Cas12a for specific and rapid detection of pathogenic bacteria, Streptococcus suis. His project is funded by the Murata Science Foundation.

ดร.สมสกุล วงศ์ปาร์ลี

การศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ " Postgraduate Program Medicine CMU "

รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญา โท-เอก สาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) ปีการศึกษา 2566

เปิดรับสมัคร 15 พฤศจิกายน 2565 – 25 เมษายน 2566

ข้อมูลเพิ่มเติม

แสดงความยินดี

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ

🔸รองศาสตราจารย์ ดร.แคทรียา คำทิพย์
อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา ในโอกาสได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ ช้างทองคำ ” ประจำปี 2565 นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องในพิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 25 มกราคม 2566 ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และในโอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ในสังกัด คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่
🔸ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.พญ.ลักขณา ไทยเครือ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ ช้างทองคำ ” ประจำปี 2565 นักเทคโนโลยีและนวัตกรรมดีเด่น ที่มีผลกระทบเชิงนโยบายสาธารณะ

🔸ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ ช้างทองคำ ” ประจำปี 2565 อาจารย์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ดร. หทัยรัตน์ ธนัญชัย หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ภาควิชาจุลชีววิทยา ร่วมแสดงความยินดีกับ นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกของภาควิชาฯ ในโอกาสเข้ารับพิธีมอบปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 57 ประจำปี 2565 วันที่ 24 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 ภาควิชาจุลชีววิทยา อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ นายสัตวแทย์ทรงพล พุทธศิริ นักศึกษาปริญญาโทได้แก่ นายพิชชากร เพ็งมา นางสาวชุติกาญจน์ สุขจ้อย และนางสาวอชิรญาณ์ มงคุณ

ข่าวสาร/กิจกรรม

ภาควิชาจุลชีววิทยา โดยผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา ผศ.ดร.กลิ่นเทียน วรรณพักต์ และหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย ให้การต้อนรับ Assistant Professor Dr. Stefano Angiari จาก Medical University of Graz ประเทศออสเตรีย ในโอกาสที่มาเยี่ยมเยือนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้ร่วมบรรยายให้ความรู้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 กระบวนวิชา 311392 วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 10.00-12.00น. ณ ห้องบรรยาย 2 (1035) ชั้น 1 อาคารบุญสม มาร์ติน

งานวิจัย