คลินิกฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย (Transition Clinic)

คลินิกฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Transition Clinic : TC)

คลินิกฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ให้บริการการสอนพร้อมฝึกทักษะการทำหัตถการกับหุ่นจำลองให้กับผู้ดูแลหรือตัวผู้ป่วยเองที่ต้องการดูแลสุขภาพต่อเนื่องที่บ้าน โดยจะสอนและฝึกทักษะเกี่ยวกับการทำหัตถการจำเพาะที่พบบ่อยในผู้ป่วยเยี่ยมบ้านหรือผู้ป่วยติดเตียง เช่น การดูแลสายสวนปัสสาวะและการถ่ายเทน้ำปัสสาวะที่บ้าน การดูแลสายยางให้อาหารและการให้อาหารผ่านทางสายยางให้อาหาร การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ซึ่งการดูแลที่ถูกต้องตามหลักการจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยจากการมีภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการที่บ้าน และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล

วัตถุประสงค์ของคลินิก

  • เพื่อเชื่อมโยงการบริการระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล
  • เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในการดูแลที่บ้าน ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องดูแลระยะยาว
  • เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องดูแลระยะยาว

ผู้รับบริการเป็นใคร

  • ญาติผู้ป่วยหรือผู้ดูแล ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง หรือผู้ป่วยที่มีการทำหัตถการต่อเนื่องที่บ้าน

กิจกรรม

  • ให้ความรู้เรื่องการทำหัตถการเพื่อดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
  • ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่บ้าน
  • ฝึกการตรวจสอบอุปกรณ์และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  • ประเมินความเข้าใจความรู้และทักษะการทำหัตการจริงกับหุ่น

เวลาทำการ

  • ทุกวันจันทร์ และ ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

ค่าบริการ

  • ครั้งละ 150 บาท ต่อการสอน 1 หัตถการ (เรียนพร้อมฝึกทักษะใช้เวลาหัตถการละประมาณ 1 ชั่วโมง) + ค่าบริการผู้ป่วยนอก 100 บาทต่อครั้ง

ติดต่อสอบถาม

  • กรณีผู้ป่วยนอก : สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่แผนกผู้ป่วยนอกภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว หรือโทร 053 – 935463 (เวลา 13.00 – 15.00 น.)
  • กรณีผู้ป่วยใน : ปรึกษาผ่านระบบ E-consult

หากท่านสนใจเข้ารับบริการการฝึกทักษะเพื่อดูแลผู้ป่วย หรือปรึกษาปัญหาการดูแลผู้ป่วย สามารถเข้ารับการปรึกษาแพทย์และพยาบาลที่ห้องตรวจได้ และจะได้รับการนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการต่อไป

สื่อด้านล่างเป็นขั้นตอนการดูแลในภาวะต่างๆ ซึ่งท่านสามารถศึกษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

1. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

2. อาการที่พบได้เมื่อใกล้เสียชีวิต

3. การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ
4. การทำแผลที่บ้าน

5. การดูแลผู้ป่วยที่คาสายยางให้อาหารทางจมูกที่บ้าน

6. การดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

7. การดูแลทางเดินหายใจและให้ออกซิเจนที่บ้านในผู้ป่วยที่ไม่เจาะคอ

8. การดูแลทางเดินหายใจและให้ออกซิเจนที่บ้านในผู้ป่วยที่เจาะคอ

9. การพลิกตัวและจัดท่าผู้ป่วยที่ติดเตียงเพื่อป้องกันแผลกดทับที่บ้าน

แผ่นพับการทำหัตถการที่บ้าน