ประกาศนียบัตรการบริบาลแบบประคับประคอง

หลักสูตรหลังปริญญา

หลักสูตรการฝึกอบรมการบริบาลแบบประคับประคอง เพื่อประกาศนียบัตรประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง ระยะเวลา 1 ปี

เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมการบริบาลแบบประคับประคองสำหรับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองโดยราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญที่สามารถดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่มีความซับซ้อน ให้คำปรึกษาแก่แพทย์ทั่วไปหรือแพทย์สาขาอื่นในประเด็นที่เกี่ยวข้อ เป็นผู้นำในการประสานเครือข่ายการดูแล พัฒนาทีมสุขภาพและอาสาสมัคร และปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการด้านสาธารณสุขของประเทศไทย


(อ้างอิงตามหลักสูตรประกาศนียบัตรประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

คู่มือการฝึกอบรมประกาศนียบัตรประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง (coming soon)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

แพทย์ที่เข้าอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงการได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • สาขาจิตเวชศาสตร์
  • สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • สาขาอายุรศาสตร์และอนุสาขา
  • สาขาวิสัญญีวิทยา
  • สาขาสูตินรีเวชวิทยา
  • สาขาศัลยศาสตร์
  • สาขากุมารเวชศาสตร์
  • สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์
  • สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด

สาขาทางคลินิกอื่น ๆ ตามราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยพิจารณา

รูปแบบการปฏิบัติงานระยะเวลา 1 ปี ได้แก่

  • การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองในลักษณะผู้ป่วยนอก เช่น  คลินิก  Palliative care
  • การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองในลักษณะผู้ป่วยใน เช่น  การดูแลร่วมกันกับแพทย์เจ้าของไข้ การรับปรึกษาปัญหาเฉพาะ  และการเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อดูแลต่อที่บ้านหรือในชุมชน
  • การเยี่ยมบ้านและการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองภายในชุมชน
  • การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่อยู่ในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเฉพาะ (Palliative care unit/bed) หรือสถานดูแลอื่น ๆ  เช่น  Nursing  home,  Hospice
  • การปฏิบัติงานหมุนเวียน 5 สาขา ได้แก่ สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา สาขารังสีรักษา สาขาจิตเวชศาสตร์ สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และสาขาการระงับปวด

ประเมินผ่านการปฏิบัติงานและการสอบ

  • ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด และเวลาของการฝึกอบรมในแต่ละส่วนย่อยของหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • ผ่านการประเมินผลระหว่างการฝึกอบรมครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และกิจกรรมทางการแพทย์
  • ผ่านการประเมินรายงานผู้ป่วยที่รับผิดชอบ
  • ผ่านการสอบข้อเขียนโดยการสอบปรนัยและประเมินภาคปฏิบัติโดยการสอบ OSCE