ค่านิยม

สามัคคี มีน้ำใจ มีวินัย ร่วมใจรับผิดชอบ กอปรด้วยคุณธรรม

วิสัยทัศน์ (vision)

เป็นภาควิชาชั้นนำ  มีผลงานเป็นที่ยกย่องในระดับสากล เป็นที่รักและศรัทธาของปวงชน

พันธกิจ (mission)

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และเป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัยทางจักษุวิทยาตามมาตรฐานสากลเพื่อชี้นำด้านสุขภาพ  ให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล

Core competency

1. ความสามารถในการบูรณาการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ กับการศึกษาและงานวิจัย

2. ความสามารถในการดำเนินการส่งมอบหลักสูตร งานวิจัย และการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ

3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัยและการให้บริการสุขภาพแบบสหสาขา

 

Member Login

หยากไย่ และแสงฟ้าแลบ

หยากไย่ และแสงฟ้าแลบ

โดย รศ.พญ.ประภัสสร ผาติกุลศิลา

 

เวลามองท้องฟ้าสีฟ้า  หรือมองผนังห้องแล้วเห็นเป็นจุด หรือเส้นลอยไปมาคล้ายหยากไย่  เรียกว่า "floater"    คนส่วนใหญ่จะมี floater แต่มักไม่สังเกต  นอกจากจะมีปริมาณมากขึ้น  หรือชัดขึ้น

 

ส่วนใหญ่ floater จะเป็นกระบวนการของความเสื่อมอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ  ลักษณะจะดูคล้ายใยแมงมุม  หรือแมลงที่บินไปมา  อาจเห็นเป็นเส้นหยัก ๆ  คล้ายกับอยู่หน้าตา  ทั้งที่ความจริงแล้วอยู่ภายในลูกตา  เมื่อคนเราอายุมากขึ้น   น้ำวุ้นตาซึ่งตอนอายุน้อยจะเป็นเจลใส  ก็จะมีการหดตัว  หลุดลอกออกจากจอประสาทตา  แล้วรวมกันเป็นกลุ่มอยู่ภายในตา  สิ่งที่มองเห็น  คือเงาของกลุ่มน้ำวุ้นตาที่บดบังจอประสาทตา  ซึ่งเป็นตัวรับภาพอยู่ด้านหลังลูกตา 
  
เมื่อมีการลอกตัวของน้ำวุ้นตาออกจากจอประสาทตา  วุ้นตาอาจดึงรั้งจอประสาทตาทำให้เห็นเป็นแสงคล้ายฟ้าแลบ  หรือดาวกระจาย  บางคนอาจเคยมองเห็นแล้วหากเคยถูกต่อยที่เบ้าตา  ก็จะเห็นดาวกระจายได้เช่นกัน

Floaters อาจมาบดบังการมองเห็นและรบกวนการใช้สายตาได้  โดยเฉพาะเวลาอ่านหนังสือ  อาจต้องกลอกตาขึ้น ๆ ลง ๆ เพื่อให้ floater ขยับให้พ้นจากแนวการมอง   เมื่อเวลาผ่านไป floaters จะค่อย ๆ จางหายไป  แม้ว่าจะไม่หายสนิทก็ตาม

บางกรณี  อาการที่มองเห็นหยากไย่ และแสงฟ้าแลบ  ก็สัมพันธ์กับการฉีกขาดของจอประสาทตาได้  เพราะเมื่อน้ำวุ้นตาหดตัว  และลอกออกจากจอประสาทตา  อาจดึงรั้งเอาจอประสาทตาให้ฉีกขาด  ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมา  คือจอประสาทตาลอก  เป็นเหตุให้ตาบอดได้   ดังนั้นหากท่านเห็น floaters เกิดขึ้นใหม่ ๆ หรือเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบ  ควรพบจักษุแพทย์ทันที

ความรู้สู่ประชาชน

กิจกรรมภาควิชาฯ

ติดต่อภาควิชา

  •    ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  •    เบอร์โทร : 053-935512
  •    แฟกซ์ : 053-936121
  •    อีเมล์ :  This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.