TH / EN

อ.ดร.สมสกุล วงศ์ปาลีย์

อ.ดร.สมสกุล วงศ์ปาลีย์

อีเมล์

pop.wongpalee@gmail.com

ห้องทำงาน

อาคารเรียน และปฏิบัติการ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์, ห้อง 720

งานวิจัยที่สนใจ

ห้องแลบของอาจารย์สมสกุล วงศ์ปาลีย์ศึกษาทางด้านอณูชีววิทยา (molecular biology) ของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Burkholderia pseudomallei (Bp.) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคติดเชื้อรุนแรงที่เรียกว่าเมลิออยโดซิส (melioidosis) เชื้อนี้เป็นเชื้อที่สามารถเข้าไปอาศัยอยู่ภายในเซลล์มนุษย์ และแพร่ไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ การศึกษาที่ผ่านมาได้บ่งชี้ให้เห็นว่ามีโปรตีนหลายๆตัวของเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ที่ทำให้ตัวมันเองมีความสามารถก่อโรค (virulence factor) ในจำนวนนั้นโปรตีน BsaN และ VgrG5 เป็นโปรตีนที่อาจารย์สมสกุลศึกษา

โปรตีน BsaN เป็น transcription factor ที่ควบคุมการสร้างหลายๆ virulence factors อย่างเช่น ระบบส่งออกโปรตีน (secretion system) ชนิดที่ 3 และ 6 ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื้อ Bp. ก่อโรคในคน อาจารย์สมสกุล ศึกษาว่า BsaN สามารถจับกับ DNA ได้อย่างไร และสารอะไรเป็น cofactor ที่ BsaN ใช้ในการจับกับ DNA

โปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือ VgrG5 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาวุธของ Bp. ที่ใช้ในการเจาะจากโฮสต์เซลล์หนึ่ง ไปอีกโฮสต์เซลล์หนึ่ง โปรตีนชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบส่งออกโปรตีนชนิดที่ 6 โดยตัวของมันเองทำหน้าที่เสมือนลำเข็มที่ใช้ในการเจาะเซลล์ อาจารย์สมสกุลศึกษาส่วนหนึ่งของโปรตีนชนิดนี้ที่อยู่ทางด้าน C terminus ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าบริเวณส่วนนี้พบได้เฉพาะใน Bp. และหน้าที่ของมันยังไม่มีใครรู้จัก หากแต่พบว่าเมื่อกำจัดบริเวณส่วนนี้ของโปรตีน VgrG5 ออก จะทำให้ Bp. หมดสภาพในการก่อโรค ห้องแลบของอาจารย์สมสกุลศึกษาหน้าที่ส่วน C terminus นี้โดยการใช้ molecular biology และ structural biology (การศึกษาโครงสร้างโปรตีน)

และนอกไปจากนั้น อาจารย์สมสกุล ยังวิจัยและพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดซิสโดยเทคโนโลยี CRISPR-Cas12a ในการตรวจหา Bp. ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำ ง่าย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่เดิมอาจใช้เวลาประมาณ 5 วัน มาเป็นภายใน 90 นาที ในการวินิจฉัย

ประวัติ

อาจารย์สมสกุล วงศ์ปาลีย์ หรือ อ.ป๊อป เป็นอดีตนักเรียนทุน พสวท. (พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อ.ป๊อปได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในระดับตรี-เอก  โดยในระดับปริญญาตรี อ.ป๊อปเข้าศึกษาระดับปริญญตรีที่ University of Virginia (UVa) และในช่วงเวลาดังกล่าว อ.ป๊อปได้ทำงานวิจัยโดจเลือกศึกษาเซลล์มะเร็ง และได้ค้นพบ non-coding RNA ชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อวัฏจักรชีวิตของเซลล์มะเร็ง อ.ป๊อปจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาชีววิทยา ด้วยเกียรตินิยมสูงสุด  หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ University of California Los Angeles (UCLA) ที่นั่น อ.ป๊อปมีโปรเฟสเซอร์ Douglas Black นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักอย่างดีในวงการ RNA เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ในช่วง 6 ปีที่เรียนปริญญาเอกนั้น อ.ป๊อปศึกษากลไกการเกิด pre-mRNA splicing และ exon definition complex โดยใช้วิธีการจำลองระบบที่ซับซ้อนนี้ขึ้นในหลอดทดลอง และใช้วิธีการทางชีวเคมี อณูชีววิทยา และ mass spectrometry ในการแปลผลการทดลอง  ในปี 2014 อ.ป๊อปได้รับรางวัล Paul D. Boyer teaching award ที่ให้กับนักษาผู้มีความเป็นเลิศด้านการสอน และในปี 2015 อ.ป๊อปได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาอณูชีววิทยา (molecular biology) จาก UCLA  หลังสำเร็จการศึกษา อ.ป๊อปได้เข้าไปทำงานหลังปริญญาเอกกับโปรเฟสเซอร์ Steven Jacobsen นักวิทยาศาสตร์ ณ UCLA ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการ epigenetics ของพืช  ด้วยความสนใจทางด้านหน้าที่ระดับโมเลกุลของโปรตีนและ RNA อ.ป๊อปได้ริเริ่มโปรเจคที่ช่วยไขกลไกการเกิด DNA methylation ในพืช (กลไก RNA-directed DNA methylation; RdDM) และในที่สุดด้วยความร่วมมือกับโปรเฟสเซอร์ Hong Zhou  อ.ป๊อปได้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างและกลไกการประกอบกันระดับโมเลกุลของโปรตีนคอมเพลคซ์สำคัญ ที่มีชื่อว่า DDR ได้สำเร็จโดยใช้เทคนิค cryoEM  ซึ่งโปรตีนคอมเพลคซ์นี้อยู่บนจีโนมของพืชและเป็นตัวกระตุ้นวัฏจักรของกระบวนการ RdDM

หลังจากที่ใช้เวลา 14 ปีศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา อ.ป๊อปได้กลับมารับตำแหน่งที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้มุ่งเน้นการวิจัยในหน้าที่ของโปรตีนหลายๆ ตัวของเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อรุ่นแรงที่เรียกว่า เมลิออยโดซิส (melioidosis) ที่พบมากในประเทศไทย  อ.ป๊อปยังชอบสอนนักศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่นอกเหนือไปจากหนักสือเรียนปกติ

ประเภทของงานวิจัย

Molecular biology, Structural biology, CRISPR diagnosis

หัวข้องานวิจัยในปัจจุบัน

1) Molecular characterization of a transcription factor BsaN

2) Molecular characterization of a transcription factor VgrG5

3) Development of CRISPR-Cas12a based assay for detection of B. pseudomallei

4) Development of CRISPR-Cas12a based assay for detection of S. suis

ผลงานตีพิมพ์ใน Scopus