TH / EN

ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย

ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย

หัวหน้าภาควิชา

อีเมล์

hathairat.t@cmu.ac.th

ห้องทำงาน

อาคารเรียน และปฏิบัติการ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์, ห้อง 716

งานวิจัยที่สนใจ

ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย สนใจการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์และเชื้อจุลชีพ โดยเฉพาะการตอบสนองของภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate immunity) เชื้อที่สนใจทำการศึกษาคือ เชื้อ Streptococcus suis ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตามกลไกในการก่อโรคของเชื้อ S. suis ยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าจะมีการศึกษาและรายงานถึงปัจจัยก่อความรุนแรงของโรคเป็นจำนวนมาก ขณะนี้งานวิจัยที่กลุ่มวิจัยกำลังดำเนินการได้มุ่งไปที่กลไกการชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบไพรอปโทซิส (pyroptosis) ของเชื้อ S. suis สายพันธุ์ที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ทางกลุ่มวิจัยได้ประยุกต์ใช้การทำงานของ CRISPR-Cas12a เพื่อพัฒนาเป็นชุดตรวจเชื้อ S. suis โดยตรงจากสิ่งส่งตรวจ
งานวิจัยที่สนใจอีกด้านหนึ่งคือ ภูมิคุ้มกันบำบัดในโรคมะเร็ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมมือของหน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา กับหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรสาสตร์ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา CAR-T cell เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รวมถึงการค้นหา neoantigen ในผู้ป่วยมะเร็ง

ประวัติ

ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ธนัญชัย สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาเทคนิคการแพทย์จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาจุลชีววิทยา ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ภายหลังจากที่ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำสาขาภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว ต่อมาจึงได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร โดยทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง The role of NK cell and their receptors in HIV infection ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของ Professor Sarah Rowland-Jones และ Professor Tao Dong ซึ่งผลงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกนี้ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น ประจำปี 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ประเภทของงานวิจัย

Host-microbe interactions, Immunity to infection, Tumor immunology

หัวข้องานวิจัยในปัจจุบัน

1. Induction of pyroptotic cell death by Streptococcus suis
2. Development of CRISPR-Cas12a-based assay for rapid detection of Streptococcus suis

ผลงานตีพิมพ์ใน Scopus