TH / EN

รศ.ดร.นพ.ปารเมศ เทียนนิมิตร

ผศ.ดร.นพ.ปารเมศ เทียนนิมิตร

อีเมล์

parameth.t@cmu.ac.th

ห้องทำงาน

อาคารเรียน และปฏิบัติการ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์, ห้อง 718

งานวิจัยที่สนใจ

ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไมโครไบโอตา และแบคทีเรียก่อโรค ตลอดจนวิธีการป้องกันหรือรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica Typhimurium (STM) และ uropathogenic Escherichia coli (UPEC)

ประวัติ

อ.ปารเมศ เทียนนิมิตร จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี พ.ศ.2547 จากนั้นได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2548 และได้รับทุนพัฒนาอาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาจุลชีววิทยา ณ มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เขตวิทยาเขตเดวิส (University of California Davis) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย อ.ปารเมศ ได้ทำการศึกษากับ Professor Andreas J Baumler และทีมวิจัยได้ค้นพบกลไกที่เชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร Salmonella ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหาร เพื่อการเจริญของตัวเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต่อมางานวิจัยนี้ได้รับรางวัลระดับยอดเยี่ยมในด้านวิทยานิพนธ์ทางการแพทย์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 หลังจากจบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย แล้ว อ.ปารเมศ ได้รับตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญา (postdoctoral fellowship) ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลไกการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินปัสสาวะ (uropathogenic E. coli) อ.ปารเมศ กลับมาทำงานที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ในปลายปี พ.ศ. 2557 และเริ่มทำงานวิจัยต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องเรื่อยมา และได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันนี้งานวิจัยของ อ.ปารเมศ เน้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างงจุลชีพกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลชีพในทางเดินอาหาร ทั้งที่ก่อโรค (Salmonella) และไม่ก่อโรคโดยตรง ที่เรียกว่า”ไมโครไบโอตา (microbiota)” เพื่อตอบโจทย์และปัญหาที่สำคัญทางการแพทย์ นอกจากนี้ อ.ปารเมศ ยังได้รับทุนวิจัยจากทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่อง และกำลังสร้างกลุ่มวิจัยเพื่อการทำงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ประเภทของงานวิจัย

Host-microbe interactions, Immunity to infection, Gut microbiota in infectious diseases

หัวข้องานวิจัยในปัจจุบัน

Host-microbe interplay in salmonellosis and urinary tract infection. Interventions in NTS and UTI.

ผลงานตีพิมพ์ใน Scopus